ไต้ฝุ่น "เกย์"
(Typhoon GAY)
พายุลูกประวัติศาสตร์และทรงพลังที่สุดที่เข้าถล่มไทย







"ไต้ฝุ่นเกย์" พายุลูกประวัติศาสตร์และทรงพลังที่สุดที่เข้าถล่มไทย


             หากกล่าวถึงภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ประเทศไทยถือว่าประสบกับภัยธรรมชาติรุนแรงน้อยกว่าหลาย ๆ ประเทศ เนื่องจากตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างได้เปรียบ มักจะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติครั้งใหญ่อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะภัยจากพายุ เนื่องจากมีกำแพงธรรมชาติล้อมรอบ พายุจะลดกำลังลงก่อนเคลื่อนผ่าน อีกทั้งตั้งอยู่ในจุดที่การก่อตัวของพายุเกิดขึ้นได้ยาก จากข้อมูลสถิติการเกิดพายุตั้งแตปี 2528 ถึงปี 2548 โดย The Joint Typhoon Warning Center (JTWC) แสดงให้เห็นว่ามีพายุเคลื่อนตัวผ่านเข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพายุที่มีความรุนแรงในระดับไต้ฝุ่น .............. ยกเว้น พายุไต้ฝุ่น "เกย์" (GAY)

             ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2532 มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นที่บริเวณปลายแหลมญวน ชายฝั่งประเทศเวียดนาม และเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก หย่อมความกดอากาศต่ำนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นดีเปรสชัน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 บริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย และทวีกำลังแรงต่อเนื่องเป็นพายุโซนร้อนในเวลาต่อมา โดยถูกตั้งชื่อเรียกว่าพายุโซนร้อน “เกย์” ซึ่งยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอีกจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ต่อมาพายุไต้ฝุ่น “เกย์” ได้ทวีกำลังแรงขึ้น โดยมีอัตราเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุถึง 100 นอต หรือประมาณ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วของพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่บริเวณรอยต่อระหว่าง อ.ปะทิว กับ อ.ท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในตอนเช้าของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. แล้วเคลื่อนผ่านลงทะเลอันดามันในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 ต่อไปยังมหาสมุทรอินเดียเหนือและถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพายุไซโคลน KAVALI หลังจากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งไปยังรัฐอานธรประเทศ รัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศอินเดีย แล้วสลายตัวไปบริเวณเหนือเทือกเขากัตส์ตะวันตก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532

             สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย พายุไต้ฝุ่น "เกย์" ส่งผลทำให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ที่ อ.บางสะพานน้อย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.ท่าแซะ อ.ปะทิว จ.ชุมพร และจังหวัดใกล้เคียงตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย รวมถึงจังหวัดตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก มีผู้เสียชีวิตถึง 446 คน บาดเจ็บ 154 คน สูญหายมากกว่า 400 คน บ้านเรือน เสียหาย 38,002 หลัง ประชาชนเดือดร้อน 153,472 คน เรือกสวนไร่นาเสียหายมากกว่า 9 แสนไร่ เรือประมงจมลงสู่ใต้ท้องทะเลประมาณ 500 ลำ ศพลูกเรือลอยเกลื่อนทะเล และสูญหายไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งพายุลูกนี้ได้เคลื่อนตัวผ่านฐานขุดเจาะน้ำมันของบริษัทยูโนแคล ที่ตั้งอยู่ในอ่าวไทย ทำให้เรือขุดเจาะชื่อ “ซีเครสต์” (Sea Crest) พลิกคว่ำ มีเจ้าหน้าที่ประจำเรือเสียชีวิต 91 คน รวมมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 537 คน มูลค่าความเสียหายประมาณ 11,257,265,265 บาท นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับปะการังนอกชายฝั่งประเทศไทย พายุไต้ฝุ่นเกย์ถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยมากที่สุด นับตั้งแต่พายุโซนร้อนแฮเรียตถล่มแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2505 (ที่มา : สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน /วิกิพีเดีย)


ทำไม พายุไต้ฝุ่น "เกย์" (GAY) จึงเป็นพายุลูกประวัติศาสตร์ ?

1. เป็นพายุลูกแรกและลูกเดียว (ตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลจนถึงปี 2561) ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในขณะที่เป็นพายุไต้ฝุ่น
2. เป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรกและลูกเดียวก็ก่อตัวขึ้นในบริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นอ่าวที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่แคบ รวมทั้งยังอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร การก่อตัวของพายุไต้ฝุ่นเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างกะทันหันในพื้นที่ดังกล่าว จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน อุณหภูมิของน้ำทะเลจะต้องใกล้เคียงหรือมากกว่า 30 °C ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างอุ่น อีกทั้งช่วงความอุ่นของน้ำทะเลจะต้องอุ่นลึกลงไปมากพอที่คลื่นของน้ำที่เย็นกว่าจะไม่เข้ามาแทรกอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งอ่าวไทยเป็นอ่าวน้ำตื้น ต่างกับทะเลฟิลิปินส์ที่จะเกิดพายุได้ง่ายกว่า ส่วนลมเฉือนจะต้องมีกำลังน้อย เพราะหากเมื่อลมเฉือนมีกำลังมาก การพาความร้อน และการหมุนเวียนในพายุหมุนจะถูกทำให้กระจาย และส่งผลให้ทวีกำลังไม่สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น การพัฒนาตัวเป็นพายุไต้ฝุ่นจึงเป็นไปได้ยาก
3. เป็นพายุ 2 มหาสมุทร ในขณะที่เคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวไทย (ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก) ถูกตั้งชื่อว่า พายุไต้ฝุ่น "เกย์ (GAY) ซึ่งมีความแรงสูงสุดในเกณฑ์ ไต้ฝุ่นระดับ 3 หลังจากเคลื่อนผ่านภาคใต้ของไทยลงสู่ทะเลอันดามันและเคลื่อนตัวต่อไปยังมหาสมุทรอินเดีย ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นพายุไซโคลน Kavali ซึ่งความแรงสูงสุดในเกณฑ์ ซุปเปอร์ใต้ฝุ่นระดับ 5
4. เป็นไต้ฝุ่นกำลังแรงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าไต้ฝุ่นลูกอื่น ๆ ที่มีกำลังแรงเท่ากัน
5. เป็นพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดขณะขึ้นฝั่งเท่าที่เคยมีมาในคาบสมุทรมลายู


รวบรวมเนื้อหาประกอบจาก :
1.วารสารอุตุนิยมวิทยา ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2557
2.สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน
3.วิกิพีเดีย


ภาพสถิติการเกิดพายุตั้งแตปี 2528 ถึงปี 2548 โดย The Joint Typhoon Warning Center (JTWC) แสดงให้เห็นว่า
มีพายุเคลื่อนตัวผ่านเข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพายุที่มีความรุนแรงในระดับไต้ฝุ่น ซึ่งมีเพียง
พายุไต้ฝุ่น "เกย์" เพียงลูกเดียวเท่านั้น ที่เคลื่อนตัวผ่านเข้ามาในประเทศไทย


ภาพเส้นทางพายุบริเวณฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ปี 2532 โดย The Joint Typhoon Warning Center (JTWC) แสดงให้เห็นว่า
พายุ "เกย์" (GAY) ก่อตัวขึ้นในบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ซึ่งโดยปกติการก่อตัวขึ้นของพายุในบริเวณดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก
หากเปรียบเทียบกับพายุลูกอื่น ๆ จะพบว่ามักมีจุดกำเนิดอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้








เส้นทางพายุ




             ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2532 มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณปลายแหลมญวน ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันที่บริเวณอ่าวไทยตอนล่างในช่วงเช้าของวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 เวลาประมาณ 07.00 น. หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในช่วงเช้าของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2532 และถูกตั้งชื่อว่า พายุโซนร้อน "เกย์" (GAY) โดยพายุลูกนี้ยังคงเคลื่อนตัวต่อเนื่องไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น ระดับ 1 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 เวลาประมาณ 07.00 น. หลังจากนั้นในช่วงค่ำของวันเดียวกัน พายุไต้ฝุ่น "เกย์" ได้เพิ่มกำลังแรงต่อเนื่องเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 โดยมีทิศทางมุ่งตรงไปยังชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นในเช้าของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 เวลาประมาณ 07.00 น. ได้เพิ่มกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 โดยมีอัตราเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางถึง 100 นอต และมีทิศทางการเคลื่อนตัวเลื่อนตัวลงมาทางทิศใต้เล็กน้อย มุ่งตรงขึ้นฝั่งบริเวณรอยต่อระหว่าง อำเภอปะทิวกับอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เมื่อเวลา 10.30 น. ของวันเดียวกัน หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวต่อเนื่องไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย พร้อมลดกำลังลงอย่างรวดเร็ว จนเหลือความแรงของพายุอยู่ในระดับ 1 ในช่วงค่ำของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวต่อเนื่องมุ่งลงสู่ทะเลอันดามัน ซึ่งโดยปกติการเคลื่อนตัวลงทะเลจะทำให้พายุมีกำลังแรงขึ้น ซึ่งพายุไต้ฝุ่น "เกย์" ได้เพิ่มกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 อีกครั้ง ในช่วงเช้าของวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากเป็นการเคลื่อนตัวข้ามมหาสมุทร พายุไต้ฝุ่น "เกย์" จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพายุไซโคลน KAVALI ที่ยังคงเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องและเพิ่มกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลน ระดับ 3 ในเช้าวันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 และต่อมาได้เพิ่มกำลังแรงขึ้นเป็นไซโคลนระดับที่ 4 ในคืนวันเดียวกัน หลังจากนั้นพายุดังกล่าวได้เพิ่มความแรงเป็นไซโคลน ระดับ 5 ในคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2532 พร้อมเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งไปถล่มรัฐอานธรประเทศ รัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศอินเดีย และได้ลดระดับลงเป็นพายุไซโคลนระดับ 2 อย่างรวดเร็ว ในช่วงเช้าของวันที่ 9 พฤศจิกายน 2532 และลดกำลังลงอย่างต่อเนื่องเป็นพายุโซนร้อนและพายุดีเปรสชัน ตามลำดับ ภายในวันเดียวกัน แล้วสลายตัวไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 รวมระยะเวลาการเดินทางของพายุ "เกย์" และ "KAVALI" ทั้งหมด 10 วัน






แผนผังแสดงช่วงเวลาของการเกิดพายุแต่ละลูกในปี 2532 ซึ่งพบว่าพายุไต้ฝุ่น "เกย์" เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้นหากเทียบกับพายุไต้ฝุ่นลูกอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในปีเดียวกัน


source : wikipedia : https://en.wikipedia.org/wiki/Typhoon_Gay_(1989)#/media/File:Gay_1989_track.png
The background image is from NASA. Tracking data from the Joint Typhoon Warning Center




แผนที่เส้นทางการเกิดพายุ และตารางแสดงพิกัดและความแรงของพายุ จัดทำโดย weather.unisys.com

adv
date/time
latitude
longitude
wind
pressure
status
1
11/01/00Z 7.1 103.7 25 1008 TROPICAL DEPRESSION
2
11/01/06Z 7.7 103.1 25 1006 TROPICAL DEPRESSION
3
11/01/12Z 8 102.6 25 1006 TROPICAL DEPRESSION
4
11/01/18Z 8.1 102.4 30 1004 TROPICAL DEPRESSION
5
11/02/00Z 8.2 102.2 35 1002 TROPICAL STORM
6
11/02/06Z 8.3 102 35 994 TROPICAL STORM
7
11/02/12Z 8.7 101.9 35 994 TROPICAL STORM
8
11/02/18Z 9.1 101.8 45 992 TROPICAL STORM
9
11/03/00Z 9.3 101.5 65 990 TYPHOON-1
10
11/03/06Z 9.8 101.2 75 980 TYPHOON-1
11
11/03/12Z 10.2 100.8 90 975 TYPHOON-2
12
11/03/18Z 10.4 100.3 95 970 TYPHOON-2
13
11/04/00Z 10.5 99.9 100 960 TYPHOON-3
14
11/04/06Z 10.7 99.2 100 970 TYPHOON-3
15
11/04/12Z 11.2 98.3 65 975 TYPHOON-1
16
11/04/18Z 11.3 97.5 75 n/a TYPHOON-1
17
11/05/00Z 11.4 96.8 85 n/a TYPHOON-2
18
11/05/06Z 11.7 95.9 90 n/a TYPHOON-2
19
11/05/12Z 12 94.8 95 n/a TYPHOON-2
20
11/05/18Z 12.2 93.8 95 n/a TYPHOON-2
21
11/06/00Z 12.4 92.6 95 n/a TYPHOON-2
22
11/06/06Z 13 91.4 95 n/a TYPHOON-2
23
11/06/12Z 13.4 90.2 95 n/a TYPHOON-2
24
11/06/18Z 13.7 89.1 95 n/a TYPHOON-2
25
11/07/00Z 13.9 88.1 100 n/a TYPHOON-3
26
11/07/06Z 14.2 87.1 105 n/a TYPHOON-3
27
11/07/12Z 14.5 86.1 110 n/a TYPHOON-3
28
11/07/18Z 14.6 85 115 n/a TYPHOON-4
29
11/08/00Z 14.6 83.8 120 n/a TYPHOON-4
30
11/08/06Z 14.6 82.6 130 n/a TYPHOON-4
31
11/08/12Z 14.7 81.5 135 n/a SUPER TYPHOON-4
32
11/08/18Z 14.8 80.4 140 n/a SUPER TYPHOON-5
33
11/09/00Z 15.1 79.1 90 n/a TYPHOON-2
34
11/09/06Z 15.4 77.7 45 n/a TROPICAL STORM
35
11/09/12Z 15.8 76.5 35 n/a TROPICAL STORM
36
11/09/18Z 16.6 75.5 25 n/a TROPICAL DEPRESSION
37
11/10/00Z 17.6 74.6 20 n/a TROPICAL DEPRESSION
38
11/10/06Z 18.1 74 15 n/a TROPICAL DEPRESSION
source : http://weather.unisys.com/hurricanes, ค่า pressure จาก www.digital-typhoon.com










ภาพถ่ายดาวเทียม




             ภาพถ่ายจากดาวเทียม NOAA แสดงให้เห็นว่า ในช่วงวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2532 พายุใต้ฝุ่น "เกย์" ได้เคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวไทย ผ่านพื้นที่ภาคใต้ และลงสู่ทะเลอันดามัน ในขณะที่ความแรงของพายุอยู่ในระดับ 2 และระดับ 3 ตามลำดับ ซึ่งอิทธิพลของพายุส่งผลทำให้มีกลุ่มเมฆหนาปกคลุมเกือบทุกพื้นที่ของภาคใต้ รวมถึงในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกและภาคกลาง และในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2532 เป็นวันที่พายุมีกำลังแรงสูงสุดถึงไซโคลนระดับ 5 ซึ่งจากภาพจะเห็นว่ามีกลุ่มเมฆหนาปกคลุมบริเวณประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประเทศอินเดียเป็นอย่างมาก


3/11/2532

4/11/2532

8/11/2532

source : National Oceanographic and Atmospheric Administration : NOAA, www.digital-typhoon.org



วีดีโอแสดงการเคลื่อนที่ของกลุ่มเมฆตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน 2532




             ภาพถ่ายดาวเทียมจาก www.digital-typhoon.org แสดงให้เห็นถึงการก่อตัวของกลุ่มเมฆที่เกิดจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น "เกย์" ซึ่งพบว่าตั้งแต่วันที่ 28-30 ตุลาคม 2532 มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนากระจายตัวปกคลุมบริเวณภาคใต้และอ่าวไทยเป็นหย่อม ๆ และเริ่มมองเห็นการรวมตัวของกลุ่มเมฆอย่างชัดเจนในวันที่ 31 ตุลาคม 2532 โดยกลุ่มเมฆหนาที่รวมตัวกันจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น "เกย์" ได้แผ่ปกคลุมบริเวณภาคใต้และอ่าวไทยไปจนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 หลังจากนั้นกลุ่มเมฆหนาดังกล่าวได้เคลื่อนลงทะเลอันดามันในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2532 และเคลื่อนตัวต่อเนื่องผ่านอ่าวแบงกอล และขึ้นฝั่งที่ประเทศอินเดีย ก่อนกลุ่มเมฆดังกล่าวจะสลายตัวเบาบางลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2532

(คลิกที่ภาพเพื่อแสดงภาพใหญ่)

28/10/2532

29/10/2532

30/10/2532

31/10/2532

1/11/2532

2/11/2532

3/11/2532

4/11/2532

5/11/2532

6/11/2532

7/11/2532

8/11/2532

9/11/2532

10/11/2532

11/11/2532

source : www.digital-typhoon.org







ความกดอากาศ


             จากการรายงานข้อมูลความกดอากาศ ผ่านเว็บไซต์ www.digital-typhoon.org พบว่าช่วงเวลาที่พายุ "เกย์" เคลื่อนตัวอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2532 นั้น ในช่วงวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2532 ค่าความกดอากาศยังอยู่ในช่วง 1002 hPa - 1008 hPa ซึ่งเป็นช่วงที่ความแรงของพายุอยู่ในระดับดีเปรสชันและพายุโซนร้อน ตามลำดับ ต่อมาในช่วงบ่ายของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2532 จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 ค่าความกดอากาศยังคงลดลงต่อเนื่องเหลือประมาณ 990 hPa - 998 hPa ซึ่งพายุได้เพิ่มกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ต่อมาในช่วงบ่ายจนถึงช่วงค่ำของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 ค่าความกดอากาศยังคงลดลงอีก โดยเหลือประมาณ 975-980 hPa ซึ่งขณะนั้นพายุได้เพิ่มกำลังแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 2 และต่อมาในช่วงเช้าของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ค่าความกดอากาศได้ลดลงต่ำสุดที่ 960 hPa ซึ่งความแรงของพายุอยู่ในเกณฑ์ไต้ฝุ่นระดับ 3 หลังจากนั้นค่าความกดอากาศได้เริ่มเพิ่มสูงขึ้นจนถึงช่วงค่ำของวันเดียวกัน ซึ่งพายุได้ลดระดับความแรงลงเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1


Central Pressure Chart (Time Zone = UTC)


source : www.digital-typhoon.org



แผนที่อากาศระดับผิวพื้น (ชั้นระดับพื้นผิวน้ำทะเล 1000 hPa สูงขึ้นไปประมาณ 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล)
(คลิกที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

31/10/2532

1/11/2532

2/11/2532

3/11/2532

4/11/2532


แผนที่อากาศระดับ 850 hPa (ประมาณ 1,500 เมตร, ชั้นนี้ถือเป็นชั้นเมฆฝน )
(คลิกที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

31/10/2532

1/11/2532

2/11/2532

3/11/2532

4/11/2532

แผนที่อากาศระดับ 700 hPa (ประมาณ 3,500 เมตร, เป็นชั้นของมรสุมกำลังปานกลางในฤดูฝน)
(คลิกที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

31/10/2532

1/11/2532

2/11/2532

3/11/2532

4/11/2532

source : www.digital-typhoon.org







ความเร็วลม


พายุ "เกย์" เริ่มก่อตัวเป็นดีเปรสชัน ด้วยความเร็วลม 25 นอต และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนถึงระดับ 100 นอต ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ความแรงอยู่ในเกณฑ์ไต้ฝุ่น ระดับ 3 และหลังจากนั้นความเร็วลมลดลงอย่างรวดเร็วเหลือ 65 นอต ในช่วงค่ำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 และความเร็วลมได้กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังพายุเคลื่อนตัวลงมหาสมุทรอินเดีย โดยมีความเร็วลมสูงสุดที่ 140 นอต ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2532 หลังจากนั้นความเร็วลมลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพราะพายุได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่ประเทศอินเดีย และสลายตัวไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532



source : weather.unisys.com










ปริมาณฝน





             จากการสังเคราะห์ข้อมูลฝน โดยใช้ข้อมูลตรวจวัดจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 28 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 จะเห็นได้ว่ามีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพร รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่เกิดฝนตกหนักจากผลกระทบโดยอ้อมที่เกิดจากพายุลูกนี้ เช่น จังหวัดกระบี่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่มีสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่
ทั้งนี้ในช่วงเวลากลังกล่าวมีปริมาณฝนโดยเฉลี่ยทั้งภาคใต้ อยู่ที่ประมาณ 117 มิลลิเมตร ซึ่งในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากพายุโดยตรงประมาณวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2532 สามารถตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดได้ที่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีปริมาณฝนสะสม 120.9 มิลลิเมตร รองลงมาคือที่จังหวัดชุมพร ปริมาณฝนสะสม 88.8 มิลลิเมตร


สถานี
ตุลาคม 
พฤศจิกายน
รวม
28
29
30
31
1
2
3
4
5
560301-พัทลุง สกษ. จ.พัทลุง
14.4
0.8
34.5
20.7
33.7
5.9
0
0
0.3
110.3
561201-ตะกั่วป่า จ.พังงา
22.1
47.8
45.3
37.7
0
0
0
4
0
156.9
564201-ภูเก็ต จ.ภูเก็ต
1.6
10.1
0
1.6
0
0
0
0
11.6
24.9
564202-ภูเก็ต (ศูนย์ฯ) จ.ภูเก็ต
1.2
1.9
6
3.9
0.8
0
0
0
0.3
14.1
566201-เกาะลันตา จ.กระบี่
32.7
83.4
0
0.5
43.2
0
0
0
0
159.8
567201-ตรัง จ.ตรัง
52.4
21.1
4
0
0
0.1
0
0
0.3
77.9
568301-คอหงษ์ สกษ. จ.สงขลา
6.9
0
-
33.5
23.9
16.1
0
0
0
80.4
568501-สงขลา จ.สงขลา
15.6
0
0.3
45.9
77.4
25.3
0
0
0.1
164.6
568502-หาดใหญ่ จ.สงขลา
19.2
8.6
0.8
7.5
13.1
10.9
0
0
0.3
60.4
570201-สตูล จ.สตูล
40.4
40.6
43.6
0
0
7.2
9.3
1.1
0.6
142.8
580201-ปัตตานี จ.ปัตตานี
68.7
1
0
27.9
112.2
27.5
1.5
13
0
251.8
581301-ยะลา สกษ. จ.ยะลา
7.1
2.4
2.2
6.9
32.3
18.1
0
0
2.6
71.6
583201-นราธิวาส จ.นราธิวาส
6.1
8.2
11.7
30.3
35
9.7
3.6
0
0.2
104.8
465201-เพชรบุรี จ.เพชรบุรี
11.7
53.8
0.1
0
0
1.3
29.5
14
31.4
141.8
500201-ประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
0
14.6
0
0
0
0.5
50
120.9
3.8
189.8
500202-หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
6.5
15.6
0
0
0.1
16.7
11.7
27.1
2.4
80.1
500301-หนองพลับ สกษ. จ.ประจวบคีรีขันธ์
2
6.9
3.4
T
0
0.5
9.4
71.8
1.1
95.1
517201-ชุมพร จ.ชุมพร
0
0
0
10.2
50.1
1.6
28.9
88.8
3.2
182.8
517301-สวี สกษ. จ.ชุมพร
0
0
0
3.1
29.4
7.6
31.6
50.9
5.2
127.8
532201-ระนอง จ.ระนอง
0.2
11.3
5.5
0
1.5
0
79
42.1
1.7
141.3
551201-สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
0
0.9
0.4
2.3
31.1
22
15.9
2.2
0
74.8
551202-สถานีตรวจอากาศสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
20.2
0
0
0
41.3
16.3
4.1
3.3
0
85.2
551203-เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
0
0
0.3
25.6
29
69.9
74.5
1.3
1.8
202.4
552201-นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
7.5
0
15.5
12.2
25.4
28.7
2.8
0
8.5
100.6
552301-นครศรีธรรมราช สกษ. จ.นครศรีธรรมราช
5
5.3
10.9
10
38
22.3
1
35
14.3
141.8

ที่มา : สังเคราะห์ข้อมูลโดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยใช้ข้อมูลดิบจากกรมอุตุนิยมวิทยา

* หมายเหตุ  
เกณฑ์ปริมาณฝนที่ตกภายใน 24 ชั่วโมง ตามมาตรฐานของกรมอุตุนิยมวิทยา
ฝนตกเล็กน้อย (Light Rain) : 0.1-10.0 มิลลิเมตร
ฝนตกปานกลาง (Moderate Rain) : 10.1-35.0 มิลลิเมตร
ฝนตกหนัก (Heavy Rain) : 35.1-90.0 มิลลิเมตร
ฝนตกหนักมาก (Very Heavy Rain) : ตั้งแต่ 90.0 มิลลิเมตร ขึ้นไป






เขื่อนขนาดใหญ่




             ภัยพิบัติที่เกิดจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น "เกย์" มีลักษณะเป็นภัยที่เกิดจากลมเป็นหลัก หรือเรียกว่า "วาตภัย" จึงมีปริมาณน้ำฝนที่เกิดจากพายุไม่มากนัก ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุดเพียง 2.44 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 ส่วนเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุดเพียง 9.81 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532

กราฟแสดงปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่รายวัน


เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี
* หมายเหตุ : ข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 




ข่าว





วันนี้ในอดีต 4 พฤศจิกายน 2532 : พายุ “เกย์” ถล่มจังหวัดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ที่มา : SILPA-MAG.COM ฐานข้อมูลภาพมติชน

พายุไต้ฝุ่น “เกย์” ซึ่งเดิมเป็นพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในบริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย ได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น ก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่บริเวณรอยต่อระหว่าง อำเภอปะทิวกับอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. ทำให้มีผู้เสียชีวิต และเกิดความเสียหายอย่างมากในพื้นที่ของจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อจังหวัดใกล้เคียงตามชายฝั่งอ่าวไทย ตลอดจนจังหวัดตามชายฝั่งทะเลตะวันออก มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน สูญหายกว่า 400 คน ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท เรือประมงจมลงสู่ใต้ท้องทะเลประมาณ 500 ลำ นับเป็นการสูญเสียจากพายุไต้ฝุ่นครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ข้อมูลจาก โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)










ครบรอบ 27 ปี พายุทรงพลังที่สุดที่เข้าถล่มไทย “ไต้ฝุ่นเกย์” (อ้างอิง : JIMMY'S BLOG Thai Blog about Science, Technology and Maker Movement)
4 พ.ย. 2532 พายุไต้ฝุ่นเกย์ ขึ้นฝั่งที่จังหวัดชุมพร

                    ประเทศฟิลิปปินส์อาจโดนไต้ฝุ่นถล่มปีละหลายลูก แต่สำหรับไทยเรานั้น ด้วยทำเลที่ได้เปรียบ ต้องเรียกว่าหลายสิบปีถึงจะปรากฏว่าโดนไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งจริงๆ ซักลูก (ไต้ฝุ่นลินดาเมื่อปี 2540 ขึ้นฝั่งไทยตอนอ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนแล้ว) ช่วงปลายเดือนตุลาคมต่อเนื่องต้นเดือนพฤศจิกายนของปี พ.ศ. 2532 (ครบรอบ 29 ปีในปีนี้) มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวที่ปลายแหลมญวณ และเริ่มเคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทย ด้วยลักษณะที่ไม่เกิดโดยทั่วไป (ดูในรูปด้านล่างจะเห็นเส้นทางที่แยกต่างหากจากเส้นทางพายุปกติในปีนั้น) หย่อมความกดอากาศต่ำนี้ได้ทวีกำลังเป็นดีเปรสชัน และกลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลาต่อมา ได้ชื่อเรียกว่า “เกย์” จากนั้นก็ทวีกำลังขึ้นอีกจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งก็เป็นเรื่องไม่ปกติอีกเช่นกันที่จะเกิดเรื่องแบบนี้ในอ่าวไทย เพราะการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างกะทันหันจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องประกอบขึ้นจากหลายเงื่อนไขในพื้นที่นั้น คือ อุณหภูมิของน้ำจะต้องอุ่นอย่างมากคือต้องใกล้เคียงหรือมากกว่า 30 °C และอุณหภูมิของน้ำนี้ จะต้องมีช่วงที่ลึกมากพอที่คลื่นของน้ำที่เย็นกว่าจะไม่เข้ามาอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งอ่าวไทยเป็นอ่าวน้ำตื้นไม่เหมือนทะเลฟิลิปินส์ ส่วนลมเฉือนก็จะต้องมีกำลังน้อย เพราะหากเมื่อลมเฉือนมีกำลังมาก การพาความร้อน และการหมุนเวียนในพายุหมุนจะถูกทำให้กระจายทำให้ทวีกำลังไม่สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น
                    อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 08:30 ของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ศูนย์กลางไต้ฝุ่นเกย์ก็ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งไทยที่จังหวัดชุมพรด้วยความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุถึง 185 กม./ชม. (ความเร็วของไต้ฝุ่นในระดับ 3) และก่อความเสียหายมากมาย ความแปลกของไต้ฝุ่นเกย์ยังไม่จบ ไตฝุ่นเกย์กลายเป็นพายุ 2 มหาสมุทร 2 ชื่อ คือหลังถล่มไทย ก็ลงทะเลอันดามัน เปลี่ยนชื่อเรียก (เพราะข้ามโซน) เป็นพายุไซโคลน Kavali ไปถล่มรัฐอานธรประเทศ รัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดียต่อ ไต้ฝุ่นเกย์ยังแปลกไม่พอ มันยังเป็นไต้ฝุ่นกำลังแรงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าไต้ฝุ่นที่มีกำลังเท่ากันลูกอื่น พายุเกย์ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศไทย 446+ราย บาดเจ็บสูญหายอีกจำนวนมาก ไม่รวมของอินเดีย
เกย์เป็นพายุลูกเดียวในประวัติศาสตร์ที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยในความแรงระดับไต้ฝุ่น และถือเป็นพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดขณะขึ้นฝั่งเท่าที่เคยมีมาในคาบสมุทรมลายู (พายุโซนร้อนแฮเรียดที่ถล่มแหลมตะลุมพุกเมื่อ พ.ศ.2505 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าไต้ฝุ่นเกย์แม้มีกำลังลมเบากว่ามากเพราะเกิดกลางดึกและสมัยก่อนไม่มีการเตรียมรับมือใดๆ) อ้างอิง วิกิวิชวลลี วิกิพีเดีย






วีดีโอข่าวในช่วงที่เกิดพายุเกย์

วีดีโอ 1
วีดีโอ 2