บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ( กรกฎาคม 2556 )
ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ | ||||
![]() 7/7/2556[11GMT] |
![]() 8/7/2556[16GMT] |
![]() 15/7/2556[13GMT] |
![]() 16/7/2556[11GMT] |
![]() 19/7/2556[11GMT] |
![]() 20/7/2556[11GMT] |
![]() 22/7/2556[11GMT] |
![]() 23/7/2556[11GMT] |
![]() 27/7/2556[12GMT] |
![]() 28/7/2556[11GMT] |
![]() 7/7/2556 |
![]() 8/7/2556 |
![]() 15/7/2556 |
![]() 16/7/2556 |
![]() 19/7/2556 |
![]() 20/7/2556 |
![]() 22/7/2556 |
![]() 23/7/2556 |
![]() 27/7/2556 |
![]() 28/7/2556 |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php
ช่วงวันที่ 7-8 ก.ค. 56 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง
โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. 56 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้มีลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา
ช่วงวันที่่ 19-20 ก.ค. 56 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่พายุดีเปรสชันที่ทวีกำลังแรงขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด และระนอง
ช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. 56 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร นอกจากนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชายฝั่งตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา
ช่วงวันที่ 27-28 ก.ค. 56 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในอ่าวตังเกี๋ยได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม และเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเข้าปกคลุมพื้นที่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ทำให้ตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย และบึงกาฬ ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมภาคกลางและภาคตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนมาก
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||
![]() 7/7/2556 [20:03GMT] |
![]() 8/7/2556 [17:03GMT] |
![]() 15/7/2556 [13:03GMT] |
![]() 16/7/2556 [20:03GMT] |
![]() 19/7/2556 [05:03GMT] |
![]() |
![]() 20/7/2556 [08:03GMT] |
![]() 22/7/2556 [14:03GMT] |
![]() 23/7/2556 [07:03GMT] |
![]() 27/7/2556 [16:03GMT] |
![]() 28/7/2556 [13:03GMT] |
เรดาร์สัตหีบ รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||
![]() 7/7/2556 [12:00GMT] |
![]() 8/7/2556 [23:00GMT] |
![]() 15/7/2556 [02:00GMT] |
![]() 16/7/2556 [05:00GMT] |
![]() 19/7/2556 [11:00GMT] |
![]() |
![]() 20/7/2556 [15:00GMT] |
![]() 22/7/2556 [05:00GMT] |
![]() 23/7/2556 [03:00GMT] |
![]() 27/7/2556 [22:00GMT] |
![]() 28/7/2556 [16:00GMT] |
|
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม :http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rm_satradar.php หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของสำนักงานฝนหลวงและการบินเกษตร เรดาร์สัตหีบ รัศมี 240 กิโลเมตร พบว่าช่วงวันที่ 7-8 , 15-16, 19-20, 22-23, 27-28 ก.ค. 56 มีกลุ่มฝนกระจุกตัวหนาแน่นในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดตราด และจันทบุรี นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือน ก.ค. 56 กลุ่มฝนกระจุกตัวครอบคลุมถึงพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน |
![]() 7/7/2556 : 00UTC |
![]() 8/7/2556 : 00UTC |
![]() 15/7/2556 : 00UTC |
![]() 16/7/2556 : 00UTC |
![]() 19/7/2556 : 00UTC |
![]() 20/7/2556 : 00UTC |
![]() 2/7/2556 : 00UTC |
![]() 23/7/2556 : 00UTC |
![]() 27/7/2556 : 00UTC |
![]() 28/7/2556 : 00UTC |
![]() 7/7/2556 : 0000Z |
![]() 8/7/2556 : 0000Z |
![]() 15/7/2556 : 0000Z |
![]() 16/7/2556 : 0000Z |
![]() 19/7/2556 : 0000Z |
![]() 20/7/2556 : 0000Z |
![]() 22/7/2556 : 0000Z |
![]() 23/7/2556 : 0000Z |
![]() 27/7/2556 : 0000Z |
![]() 28/7/2556 : 0000Z |
mm.
![]() |
![]() 7/7/2556[00Z] |
![]() 8/7/2556[00Z] |
![]() 15/7/2556[00Z] |
![]() 16/7/2556[00Z] |
![]() 19/7/2556[00Z] |
![]() 20/7/2556[00Z] |
![]() 22/7/2556[00Z] |
![]() 23/7/2556[00Z] |
![]() 27/7/2556[00Z] |
![]() 28/7/2556[00Z] |
mm.
![]() |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากบริเวณภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-8 , 15-16, 19-20, 22-23, 27-28 ก.ค. 56
ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงเดือนกรกฎาคม 2556
บริเวณภาคตะวันออก พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง และสถานีที่ตรวจวัดปริมาณฝน
ได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน อยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและตราด
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
7/7/2013 | พลิ้ว | คมบาง | เมืองจันทบุรี | จันทบุรี | 104.5 |
คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 100.6 |
|
8/7/2013 | พลิ้ว | คมบาง | เมืองจันทบุรี | จันทบุรี | 116.4 |
ชลบุรี | หนองซ้ำซาก | บ้านบึง | ชลบุรี | 82.7 |
|
จันทบุรี | ตะเคียนทอง | กิ่ง อ. เขาคิชฌกู | จันทบุรี | 81.1 |
|
เกาะสีชัง | ท่าเทววงศ์ | เกาะสีชัง | ชลบุรี | 50.1 |
|
9/7/2013 | จันทบุรี | ตะเคียนทอง | กิ่ง อ. เขาคิชฌกู | จันทบุรี | 59.4 |
10/7/2013 | จันทบุรี | ตะเคียนทอง | กิ่ง อ. เขาคิชฌกู | จันทบุรี | 64.3 |
พลิ้ว | คมบาง | เมืองจันทบุรี | จันทบุรี | 56.3 |
|
15/7/2013 | คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 261.5 |
พลิ้ว | คมบาง | เมืองจันทบุรี | จันทบุรี | 106.0 |
|
16/7/2013 | พลิ้ว | คมบาง | เมืองจันทบุรี | จันทบุรี | 149.7 |
จันทบุรี | ตะเคียนทอง | กิ่ง อ. เขาคิชฌกู | จันทบุรี | 68.4 |
|
คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 62.7 |
|
18/7/2013 | คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 211.4 |
19/7/2013 | คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 144.4 |
21/7/2013 | คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 57.8 |
22/7/2013 | คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 230.0 |
จันทบุรี | ตะเคียนทอง | กิ่ง อ. เขาคิชฌกู | จันทบุรี | 73.7 |
|
พลิ้ว | คมบาง | เมืองจันทบุรี | จันทบุรี | 65.8 |
|
23/7/2013 | จันทบุรี | ตะเคียนทอง | กิ่ง อ. เขาคิชฌกู | จันทบุรี | 394.9 |
พลิ้ว | คมบาง | เมืองจันทบุรี | จันทบุรี | 205.8 |
|
คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 116.0 |
|
26/7/2013 | คลองใหญ่ | ไม้รูด | คลองใหญ่ | ตราด | 50.8 |
30/7/2013 | ชลบุรี | หนองซ้ำซาก | บ้านบึง | ชลบุรี | 58.8 |
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
2013-07-04 | หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 64.0 |
2013-07-05 | เปร็ดใน | ห้วงน้ำขาว | เมืองตราด | ตราด | 60.4 |
2013-07-06 | ปัถวี | ปัถวี | มะขาม | จันทบุรี | 65.2 |
หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 63.6 |
|
บ้านหนองไร่ | หนองไร่ | ปลวกแดง | ระยอง | 53.0 |
|
2013-07-07 | เมืองใหม่นายายอาม | นายายอาม | นายายอาม | จันทบุรี | 188.4 |
หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 97.2 |
|
บางเบ้า | เกาะช้างใต้ | กิ่งอำเภอเกาะช้าง | ตราด | 88.4 |
|
ตะเคียนทอง | ตะเคียนทอง | กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ | จันทบุรี | 84.6 |
|
บ้านหนองขอน | พลิ้ว | แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 79.6 |
|
ชุมชนประแส | ปากน้ำกระแส | แกลง | ระยอง | 72.6 |
|
เปร็ดใน | ห้วงน้ำขาว | เมืองตราด | ตราด | 64.6 |
|
2013-07-08 | เมืองใหม่นายายอาม | นายายอาม | นายายอาม | จันทบุรี | 103.4 |
บางเบ้า | เกาะช้างใต้ | กิ่งอำเภอเกาะช้าง | ตราด | 101.0 |
|
บ้านหนองขอน | พลิ้ว | แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 99.4 |
|
เปร็ดใน | ห้วงน้ำขาว | เมืองตราด | ตราด | 81.8 |
|
ชุมชนประแส | ปากน้ำกระแส | แกลง | ระยอง | 65.0 |
|
เขาระกำ | คลองใหญ่ | แหลมงอบ | ตราด | 64.4 |
|
ซอยวัดหนองปรือ | บึง | ศรีราชา | ชลบุรี | 57.0 |
|
วังรีรีสอร์ท | เขาพระ | เมืองนครนายก | นครนายก | 52.8 |
|
2013-07-09 | บ้านหัวนา | นาหินลาด | ปากพลี | นครนายก | 58.4 |
เมืองใหม่นายายอาม | นายายอาม | นายายอาม | จันทบุรี | 54.8 |
|
2013-07-14 | หนองบอน | หนองบอน | บ่อไร่ | ตราด | 80.0 |
2013-07-15 | หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 342.2 |
บ้านแหลมค้อ | ตะกาง | เมืองตราด | ตราด | 109.2 |
|
บ้านหนองขอน | พลิ้ว | แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 102.2 |
|
เขาระกำ | คลองใหญ่ | แหลมงอบ | ตราด | 80.6
|
|
บ้านด่านชุมพล | ด่านชุมพล | บ่อไร่ | ตราด | 69.4 |
|
สตอ | สะตอ | เขาสมิง | ตราด | 64.8 |
|
เปร็ดใน | ห้วงน้ำขาว | เมืองตราด | ตราด | 63.4 |
|
2013-07-16 | บ้านด่านชุมพล | ด่านชุมพล | บ่อไร่ | ตราด | 218.2 |
บ้านแหลมค้อ | ตะกาง | เมืองตราด | ตราด | 149.6 |
|
บ้านหนองขอน | พลิ้ว | แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 132.8 |
|
เขาระกำ | คลองใหญ่ | แหลมงอบ | ตราด | 112.4 |
|
เปร็ดใน | ห้วงน้ำขาว | เมืองตราด | ตราด | 74.8 |
|
สตอ | สะตอ | เขาสมิง | ตราด | 56.4 |
|
หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 55.0 |
|
2013-07-19 | หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 115.2 |
2013-07-21 | หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 91.2
|
2013-07-22 | เขาระกำ | คลองใหญ่ | แหลมงอบ | ตราด | 137.6 |
ปัถวี | ปัถวี | มะขาม | จันทบุรี | 126.6 |
|
วัดบ้านดง | สาริกา | เมืองนครนายก | นครนายก | 98.6 |
|
บ้านหัวนา | นาหินลาด | ปากพลี | นครนายก | 96.8 |
|
สตอ | สะตอ | เขาสมิง | ตราด | 81.6 |
|
บ้านด่านชุมพล | ด่านชุมพล | บ่อไร่ | ตราด | 80.2 |
|
บ้านแหลมค้อ | ตะกาง | เมืองตราด | ตราด | 74.4 |
|
บ้านหนองขอน | พลิ้ว | แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 71.4 |
|
วังท่าช้าง | วังท่าช้าง | กบินทร์บุรี | ปราจีนบุรี | 64.8 |
|
เปร็ดใน | ห้วงน้ำขาว | เมืองตราด | ตราด | 57.8 |
|
หนองบอน | หนองบอน | บ่อไร่ | ตราด | 56.2 |
|
2013-07-23 | บ้านหนองขอน | พลิ้ว | แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 197.4 |
หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 127.8 |
|
เปร็ดใน | ห้วงน้ำขาว | เมืองตราด | ตราด | 124.0 |
|
บ้านแหลมค้อ | ตะกาง | เมืองตราด | ตราด | 120.8 |
|
สตอ | สะตอ | เขาสมิง | ตราด | 106.2 |
|
เขาระกำ | คลองใหญ่ | แหลมงอบ | ตราด | 102.2 |
|
เมืองใหม่นายายอาม | นายายอาม | นายายอาม | จันทบุรี | 94.2 |
|
ท่างาม | ประจันตคาม | ประจันตคาม | ปราจีนบุรี | 92.4 |
|
บ้านด่านชุมพล | ด่านชุมพล | บ่อไร่ | ตราด | 91.8 |
|
บ้านหัวนา | นาหินลาด | ปากพลี | นครนายก | 83.6 |
|
เทศบาลวังน้ำเย็น | วังน้ำเย็น | วังน้ำเย็น | สระแก้ว | 71.2 |
|
โคคลาน | โคคลาน | ตาพระยา | สระแก้ว | 66.2 |
|
หนองบอน | หนองบอน | บ่อไร่ | ตราด | 65.4 |
|
ปัถวี | ปัถวี | มะขาม | จันทบุรี | 59.2 |
|
หินแร่ | ท่ากระดาน | สนามชัยเขต | ฉะเชิงเทรา | 58.4 |
|
อู่ทอง | บ้านนา | แกลง | ระยอง | 56.0 |
|
น้ำตกปางสีดา | หนองตะเคียนบอน | วัฒนานคร | สระแก้ว | 54.4 |
|
วังรีรีสอร์ท | เขาพระ | เมืองนครนายก | นครนายก | 50.4 |
|
2013-07-26 | หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 73.6 |
สตอ | สะตอ | เขาสมิง | ตราด | 68.4 |
|
บ้านด่านชุมพล | ด่านชุมพล | บ่อไร่ | ตราด | 65.8 |
|
2013-07-27 | หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 118.0 |
2013-07-29 | บ้านหัวนา | นาหินลาด | ปากพลี | นครนายก | 85.6 |
วัดบ้านดง | สาริกา | เมืองนครนายก | นครนายก | 80.0 |
|
น้ำตกปางสีดา | หนองตะเคียนบอน | วัฒนานคร | สระแก้ว | 70.6 |
|
2013-07-30 | หาดทับทิม | แหลมกลัด | เมืองตราด | ตราด | 60.4 |
หนองบอน | หนองบอน | บ่อไร่ | ตราด | 56.0 |
วันที่เตือนภัย |
เวลาเตือนภัย |
ช่วงเวลาฝนสะสม |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสม(มม.) |
ระดับการเตือนภัย |
24/7/2013 | 9:00:00 | ฝนวานนี้ | พลิ้ว | อ.พลิ้ว | จันทบุรี | 205.8 |
วิกฤต |
9:00:00 | ฝนวานนี้ | จันทบุรี | อ.เมือง | จันทบุรี | 394.9 |
วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | คลองใหญ่ | อ.คลองใหญ่ | ตราด | 116.0 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
23/7/2013 | 23:00:00 | ฝน07-23น. | ต.สะตอ | อ.เขาสมิง | ตราด | 95.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
20:00:00 | ฝน18-19น. | ต.นาหินลาด | อ.ปากพลี | นครนายก | 44.6 |
วิกฤต |
|
19:00:00 | ฝน18-19น. | ต.นาหินลาด | อ.ปากพลี | นครนายก | 40.0 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
18:00:00 | ฝน07-17น. | ต.ตะกาง | อ.เมืองตราด | ตราด | 98.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
17:00:00 | ฝน07-17น. | ต.แหลมกลัด | อ.เมืองตราด | ตราด | 95.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
17:00:00 | ฝน16-17น. | ต.ประจันตคาม | อ.ประจันตคาม | ปราจีนบุรี | 35.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
17:00:00 | ฝน07-16น. | ต.คลองใหญ่ | อ.แหลมงอบ | ตราด | 95.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
15:00:00 | ฝน07-15น. | ต.ห้วงน้ำขาว | อ.เมืองตราด | ตราด | 95.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
14:00:00 | ฝน07-14น. | ต.พลิ้ว | อ.แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 151.8 |
วิกฤต |
|
11:00:00 | ฝน07-11น. | ต.พลิ้ว | อ.แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 96.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
11:00:00 | ฝน10-11น. | ต.พลิ้ว | อ.แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 37.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | คลองใหญ่ | อ.คลองใหญ่ | ตราด | 230.0 |
วิกฤต |
|
22/7/2013 | 23:00:00 | ฝน22-23น. | ต.สาริกา | อ.เมืองนครนายก | นครนายก | 45.6 |
วิกฤต |
4:00:00 | ฝน22/07-23/03น. | ต.นาหินลาด | อ.ปากพลี | นครนายก | 95.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
3:00:00 | ฝน22/07-23/03น. | ต.คลองใหญ่ | อ.แหลมงอบ | ตราด | 95.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
3:00:00 | ฝน01-02น. | ต.วังท่าช้าง | อ.กบินทร์บุรี | ปราจีนบุรี | 43.8 |
วิกฤต |
|
3:00:00 | ฝน22/07-23/02น. | ต.ปัถวี | อ.มะขาม | จันทบุรี | 95.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
3:00:00 | ฝน01-02น. | ต.คลองใหญ่ | อ.แหลมงอบ | ตราด | 35.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
2:00:00 | ฝน01-02น. | ต.วังท่าช้าง | อ.กบินทร์บุรี | ปราจีนบุรี | 39.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน22/07-23/01น. | ต.สาริกา | อ.เมืองนครนายก | นครนายก | 95.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
20/7/2013 | 9:00:00 | ฝนวานนี้ | คลองใหญ่ | อ.คลองใหญ่ | ตราด | 144.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
19/7/2013 | 21:00:00 | ฝน07-20น. | ต.แหลมกลัด | อ.เมืองตราด | ตราด | 103.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
9:00:00 | ฝนวานนี้ | คลองใหญ่ | อ.คลองใหญ่ | ตราด | 211.4 |
วิกฤต |
|
17/7/2013 | 9:00:00 | ฝนวานนี้ | พลิ้ว | อ.พลิ้ว | จันทบุรี | 149.7 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
16/7/2013 | 15:00:00 | ฝนวานนี้ | พลิ้ว | อ.พลิ้ว | จันทบุรี | 106.0 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
14:00:00 | ฝนวานนี้ | คลองใหญ่ | อ.คลองใหญ่ | ตราด | 261.5 |
วิกฤต |
|
12:00:00 | ฝน07-11น. | ต.ตะกาง | อ.เมืองตราด | ตราด | 95.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
11:00:00 | ฝน07-11น. | ต.ด่านชุมพล | อ.บ่อไร่ | ตราด | 150.2 |
วิกฤต |
|
10:00:00 | ฝน07-09น. | ต.ด่านชุมพล | อ.บ่อไร่ | ตราด | 96.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
10:00:00 | ฝน09-10น. | ต.ด่านชุมพล | อ.บ่อไร่ | ตราด | 36.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
3:00:00 | ฝน16/07-17/02น. | ต.พลิ้ว | อ.แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 97.0 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน16/07-17/00น. | ต.คลองใหญ่ | อ.แหลมงอบ | ตราด | 97.0 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
15/7/2013 | 22:00:00 | ฝน20-21น. | ต.แหลมกลัด | อ.เมืองตราด | ตราด | 37.0 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
20:00:00 | ฝน07-20น. | ต.แหลมกลัด | อ.เมืองตราด | ตราด | 163.0 |
วิกฤต |
|
19:00:00 | ฝน07-19น. | ต.แหลมกลัด | อ.เมืองตราด | ตราด | 107.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
18:00:00 | ฝน17-18น. | ต.แหลมกลัด | อ.เมืองตราด | ตราด | 43.6 |
วิกฤต |
|
7:00:00 | ฝน15/07-16/06น. | ต.ตะกาง | อ.เมืองตราด | ตราด | 97.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
6:00:00 | ฝน15/07-16/06น. | ต.พลิ้ว | อ.แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 96.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
14/7/2013 | 3:00:00 | ฝน01-02น. | ต.หนองบอน | อ.บ่อไร่ | ตราด | 40.4 |
วิกฤต |
9/7/2013 | 9:00:00 | ฝนวานนี้ | พลิ้ว | อ.พลิ้ว | จันทบุรี | 116.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
8/7/2013 | 9:00:00 | ฝนวานนี้ | พลิ้ว | อ.พลิ้ว | จันทบุรี | 104.5 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
9:00:00 | ฝนวานนี้ | คลองใหญ่ | อ.คลองใหญ่ | ตราด | 100.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
6:00:00 | ฝน08/07-09/06น. | ต.เกาะช้างใต้ | อ.กิ่งอำเภอเกาะช้าง | ตราด | 95.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
5:00:00 | ฝน08/07-09/05น. | ต.พลิ้ว | อ.แหลมสิงห์ | จันทบุรี | 95.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน08/07-09/01น. | ต.นายายอาม | อ.นายายอาม | จันทบุรี | 95.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
7/7/2013 | 4:00:00 | ฝน07/07-08/04น. | ต.แหลมกลัด | อ.เมืองตราด | ตราด | 95.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
4:00:00 | ฝน07/07-08/04น. | ต.นายายอาม | อ.นายายอาม | จันทบุรี | 165.4 |
วิกฤต |
|
4:00:00 | ฝน02-03น. | ต.นายายอาม | อ.นายายอาม | จันทบุรี | 48.8 |
วิกฤต |
|
3:00:00 | ฝน07/07-08/03น. | ต.นายายอาม | อ.นายายอาม | จันทบุรี | 97.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
5/7/2013 | 4:00:00 | ฝน03-04น. | ต.ห้วงน้ำขาว | อ.เมืองตราด | ตราด | 44.4 |
วิกฤต |
4/7/2013 | 19:00:00 | ฝน17-18น. | ต.แหลมกลัด | อ.เมืองตราด | ตราด | 35.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
![]() 6/7/56 07.00 น. - 7/7/56 07.00 น. |
![]() 7/7/56 07.00 น. - 8/7/56 07.00 น. |
![]() 8/7/56 07.00 น. - 9/7/56 07.00 น. |
![]() 14/7/56 07.00 น. - 15/7/56 07.00 น. |
![]() 15/7/56 07.00 น. - 16/7/56 07.00 น. |
![]() 16/7/56 07.00 น. - 17/7/56 07.00 น. |
![]() 18/7/56 07.00 น. - 19/7/56 07.00 น. |
![]() 19/7/56 07.00 น. - 20/7/56 07.00 น. |
![]() 20/7/56 07.00 น. - 21/7/56 07.00 น. |
![]() 21/7/56 07.00 น. - 22/7/56 07.00 น. |
![]() 22/7/56 07.00 น. - 23/7/56 07.00 น. |
![]() 23/7/56 07.00 น. - 24/7/56 07.00 น. |
![]() 26/7/56 07.00 น. - 27/7/56 07.00 น. |
![]() 27/7/56 07.00 น. - 28/7/56 07.00 น. |
![]() 28/7/56 07.00 น. - 29/7/56 07.00 น. |
จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า
3 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ
WRF
ผลการคาดการณ์เมื่อวันที่ 6,14,18,21,26 ก.ค. 56 พบว่าช่วงวันที่ 7-8, 15-16, 19-20, 22-23, 27-28 ก.ค. 56 มีฝนมากในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดตราด และจันทบุรี
โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
เมื่อเปรียบเทียบกับภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
แผนภาพแสดงฝนสะสมของศูนย์วิจัยทหารเรืออเมริกา แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA และการตรวจวัดปริมาณฝนจากสถานีโทรมาตร
ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) |
![]() สถานี CHN001- เมืองจันทบุรี ต. จันทนิมิต อ. เมืองจันทบุรี จ. จันทบุรี |
ี ![]() สถานี CHN002-เขาคิชฌกูฏ ต. ชากไทย อ. กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จ. จันทบุรี |
จากการตรวจวัดระดับน้ำจากระบบโทรมาตร ของ สสนก. พบว่าจากเหตุการณ์ฝนตกหนักช่วงเดือนกรกฎาคม 2556
ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ดังนี้
1.
สถานี CHN001-เมืองจันทบุรี ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 2 ช่วง คือ ช่วงวันที่ 8-14 ก.ค. 56 วัดระดับน้ำสูงสุดได้ 2.32 ม.รทก. ณ วันที่ 11 ก.ค. 56 เวลา 12.10 น. และช่วงวันที่ 23-28 ก.ค. 56 วัดระดับน้ำสูงสุดได้ 2.73 ม.รทก. ณ วันที่ 25 ก.ค. 56 เวลา 4.30 น.
2. สถานี CHN002-เขาคิชฌกูฎ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2 ช่วง คือ ช่วงวันที่ 7-13 ก.ค. 56 วัดระดับน้ำสูงสุดได้ 15.94 ม.รทก. ณ วันที่ 10 ก.ค. 56 เวลา 03.20 น. และช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 56 วัดระดับน้ำสูงสุดได้ 14.46 ม.รทก. ณ วันที่ 24 ก.ค. 56 เวลา 7.40 น.
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
![]() |
รายงานสารวจข้อมูลภาคสนามจากภาพถ่ายมุมสูง กรณีเกิดภัยพิบัติ จ.จันทบุรี วันที่ 10-12 กรกฎาคม 2556 รายละเอียดเพิ่มเติม |
![]() |
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 เวลา 18.17 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดจันทบุรี และตราด รายละเอียดเพิ่มเติม |
![]() |
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 เวลา 18.59 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดจันทบุรี และตราด รายละเอียดเพิ่มเติม |
![]() |
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วมปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 05.45 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดจันทบุรี และตราด รายละเอียดเพิ่มเติม |
![]() |
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 18.31 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดจันทบุรี และตราด รายละเอียดเพิ่มเติม |
ข้อมูลด้านความเสียหาย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รายงานสถานการณ์สาธารณภัย ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 16.30 น.
(ตัดมาเฉพาะรายงานสถานการณ์อุทกภัย)
ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 16.30 น.
จังหวัดจันทบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 14.30 น. เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุด
ได้ที่ อบต.ทุ่งเบญจา 162.5 มม. ทำให้น้ำจากเขาลูกช้างไหลเอ่อเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำบางส่วนของอำเภอท่าใหม่
ตำบลทุ่งเบญจา (หมู่ที่ 4,6,9) ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซม. การสัญจรยังคงใช้ได้ตามปกติ เบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
และเสียชีวิต
ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 เวลา 16.30 น.
จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในอำเภอนายายอาม
2 ตำบล ได้แก่ ตำบลนายายอาม (หมู่ที่ 1,2) และตำบลสนามไชย (หมู่ที่ 1,3) บ้านเรือนราษฎรได้รับความเดือดร้อน
15 หลังคาเรือน ถนนชำรุด 1 สาย
ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 เวลา 07.30 น.
1) จังหวัดจันทบุรี ตามที่ได้เกิดฝนตกหนัก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 เวลา 05.00 น. วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่
อำเภอขลุง 205.5 มม. ทำให้น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขลุง ตำบลมาบไพ
(หมู่ที่ 3,5) ซึ้ง (หมู่ที่ 1-9) ตรอกนอง (หมู่ที่1-6) บ่อ (หมู่ที่ 5,8) วังสรรพรส (หมู่ที่ 1-9) ตะปอน (หมู่ที่ 2-3) และตำบล
วันยาว (หมู่ที่ 5,7) อำเภอแก่งหางแมว ตำบลเขาวงกต (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซม.
2) จังหวัดตราด เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 16 กรกฎาคม 2556 เกิดฝนตกหนัก วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่ อำเภอบ่อไร่
282.5 มม. ทำให้น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตราด ตำบลชำราก (หมู่ที่ 1,4,5)
ตะกาง (หมู่ที่ 1,4) ท่ากุ่ม (หมู่ที่ 3) วังกระแจะ (หมู่ที่ 2,3,6,8) และตำบลห้วยแร้ง (หมู่ที่ 6) อำเภอบ่อไร่ ตำบลด่านชุมพล
(หมู่ที่ 1-7) ถนนสายบ่อไร่-ด่านชุมพล น้ำท่วมสูง 20 ซม. และอำเภอเขาสมิง ตำบลวังตะเคียน (หมู่ที่ 2,6) ราษฎรได้รับ
ความเดือดร้อนรวม 155 ครัวเรือน
ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 16.30 น.
1) จังหวัดจันทบุรี วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลาประมาณ 02.30 น. (วัดปริมาณน้ำฝนรอบ 24 ชม. เฉลี่ยเกิน 100 มม.)
ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 5 อำเภอ 14 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 1,000 ครัวเรือน ดังนี้
- อำเภอมะขาม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลอ่างคีรี (หมู่ที่ 1-6) และตำบลมะขาม
- อำเภอขลุง 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลมาบไพ (หมู่ที่ 1-6) และตำบลวังสรรพรส
- อำเภอเมือง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลจันทนิมิต ท่าช้าง คลองนารายณ์ คมบาง และตำบลพลับพลา (หมู่ที่ 9) ส่งผลให้น้ำท่วมผิวจราจร
บริเวณถนนสายแยกบ่อเวฬุ ระดับน้ำสูง 70 ซม. รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ และถนนสายจันทบุรี-สระแก้ว เลยหน้าเทศบาลตำบลมะขาม
เมืองใหม่ ระดับสูง 50 ซม. รถเล็กไม่สามารถผ่านได้
- อำเภอท่าใหม่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าใหม่ และตำบลวังโตนด
- อำเภอแหลมสิงห์ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองน้ำเค็ม บางสระเก้า และตำบลพลิ้ว
2) จังหวัดตราด วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เกิดน้ำเอ่อล้นในพื้นที่ 3 อำเภอ ดังนี้
- อำเภอเมืองตราด เทศบาลเมืองตราด ระดับน้ำสูง 10-20 ซม. ถนนสุขุมวิท ปิดถนนฝั่งขาเข้าเมืองตราด ระดับน้ำสูงประมาณ 80 ซม.
ตำบลหนองเสม็ด บริเวณปั๊ม ปตท. และหน้า สภ.เมืองตราด ซอยแหลมตะโกย (หมู่ที่ 1) ท่วมบ้านเรือนราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2 ครัวเรือน
10 คน ระดับน้ำสูงประมาณ 50 ซม.
- อำเภอเขาสมิง ตำบลแสนตุ้ง (หมู่ที่ 1,3,4,6,8) ท่วมเส้นทางภายในหมู่บ้านระดับน้ำสูงประมาณ 80 ซม. รถไม่สามารถสัญจรไปมาได้
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 50 ครัวเรือน บริเวณแยกทางไปท่าโสม น้ำท่วมขังถนนแขวงการทางตราด รถวิ่งได้ช่องทางเดียว ระดับน้ำสูง
ประมาณ 40 ซม.
- อำเภอแหลมงอบ ตำบลบางปิด (หมู่ที่ 2,3,4,7,8) น้ำท่วมเส้นทางภายในหมู่บ้าน ระดับน้ำสูงประมาณ 50 ซม. ราษฎรได้รับ
ความเดือดร้อน 40 ครัวเรือน
ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2556 เวลา 07.00 น.
1) จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 02.30 น. เกิดฝนตกหนัก วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่ อำเภอเมือง 415.4 มม. ทำให้น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 9 อำเภอ 36 ตำบล 266 หมู่บ้าน 27 ชุมชน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 9,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย โรงเรียนในพื้นที่ประกาศปิด 27 แห่ง (ปิดระหว่างวันที่ 24-26 ก.ค.56) ความเสียหาย สะพาน 10 แห่ง ถนน 23 สาย ฝาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 10,817 ไร่ บ่อปลา 1 บ่อ บ่อกุ้ง 3 บ่อ ไก่ 8,000 ตัว (อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำลังดำเนินการเร่งสำรวจ ความเสียหาย) ดังนี้
(1) อำเภอเมืองจันทบุรี 8 ตำบล 69 หมู่บ้าน 12 ชุมชน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,230 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย คือ ด.ช.พีระวัฒน์ เอี่ยมจันทร์ อายุ 8 ปี (พลัดตกน้ำ) และนายปรัชญา วงษ์คำพา อายุ 26 ปี ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง (โดนไฟฟ้าช็อต) ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบล จันทนิมิต พลับพลา และตำบลท่าช้าง
(2) อำเภอขลุง 7 ตำบล 53 หมู่บ้าน 7 ชุมชน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,333 ครัวเรือน ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ่อ และตำบลวังสรรพรส
(3) อำเภอมะขาม 6 ตำบล 54 หมู่บ้าน ได้แก่ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 475 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรตำบลมะขาม
(4) อำเภอแหลมสิงห์ 3 ตำบล 19 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 400 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมี น้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรตำบลคลองน้ำเค็ม (หมู่ที่ 2)
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่ ปริมาณน้ำฝนลดลง ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วันนี้
2) จังหวัดตราด วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เกิดน้ำเอ่อล้นในพื้นที่ 3 อำเภอ 17 ตำบล สะพาน 2 แห่ง ถนน 111 สาย ฝาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 5,169 ไร่ (27 ก.ค.56) ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรอำเภอเขาสมิง 6 ตำบล 17 (หมู่บ้าน) ได้แก่ ตำบลทุ่งนนทรี (หมู่ที่ 2,5,7) เทพนิมิต (หมู่ที่ 1,3,6,7) ประณีต (หมู่ที่ 3,5) วังตะเคียน (หมู่ที่ 3,4,7) เขาสมิง (หมู่ที่ 2,3,4,6) และตำบลท่าโสม (หมู่ที่ 1) เนื่องจากบางพื้นที่ลุ่มต่ำ เส้นทางสายหลักสัญจรได้ เส้นทางภายในหมู่บ้านยังมีน้ำท่วมสูงบางพื้นที่
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่ ปริมาณน้ำฝนลดลง ระดับน้ำลดลง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
ข่าวจากหนังสือพิมพ์
--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมจันทบุรี 7 อำเภอยังอ่วม-แม่น้ำล้นตลิ่ง เร่งอพยพ [ ไอเอ็นเอ็น : 25 ก.ค. 56 ]
สถานการณ์น้ำท่วมจันทบุรี แม่น้ำเอ่อล้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมชุมชนริมน้ำทั้ง 2 ฝั่ง ชาวบ้านต้องยกสิ่งของไว้ในที่สูง อพยพเด็กและผู้สูงอายุออกจากพื้นที่ ด้าน ปภ. เผย 7 อำเภอยังท่วมหนัก
วันนี้ (25 กรกฎาคม 2556) สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.จันทบุรี ล่าสุด แม่น้ำจันทบุรี ที่เป็นจุดเสี่ยงที่อาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หลังระดับน้ำอยู่ในช่วงเลยจุดวิกฤติ วัดได้ที่ 3.85 เมตร น้ำเริ่มมีการไหลเชี่ยวมีสีแดงขุ่น เอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนในชุมชนริมน้ำทั้ง 2 ฝั่ง ชุมชนหลังวัดโรมัน และชุมชนบ้านลุ่มบาง ชาวบ้านเริ่มที่จะมีการยกสิ่งของไว้ในที่สูง และนำผู้สูงอายุ เด็ก ออกมาอยู่นอกพื้นที่ หรือตามบ้านญาติพี่น้องเป็นการชั่วคราว เพราะเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยกับปริมาณน้ำในแม่น้ำจันทบุรี ที่มีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้าน นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นห่วงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำจันทบุรี ทั้ง 2 ฝั่งเป็นอย่างมาก ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปพร. อาสาสมัครกู้ภัย ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนพื้นที่รอบนอกทั้ง 6 อำเภอ สถานการณ์น้ำเริ่มลดลงแต่ยังพบว่ามีบ้านเรือนชาวบ้าน พื้นที่การเกษตรอีกเป็นจำวนมาก ยังถูกน้ำท่วมสูงอยู่ อปท. เร่งให้การช่วยเหลือ พร้อมทั้งเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อที่จะได้จ่ายเงินเยียวยาต่อไปอีกด้วย
ขณะที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. รายงานสรุปสถานการณ์สาธารณภัย ประจำวันนี้ (25 กรกฎาคม) ว่า จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา เกิดวาตภัย 2 อำเภอ บ้านเรือนเสียหาย 109 หลัง โรงเรียน 1 แห่ง ส่วนสถานการณ์อุทกภัย เมื่อคืนที่ผ่านมา ประสบภัยเพิ่มอีก 2 จังหวัด คือ สระแก้ว เกิดฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ อำเภอวัฒนานคร ปัจจุบันสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติแล้ว และจังหวัดปราจีนบุรี น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี สูงประมาณ 50 ซม. เนื่องจากน้ำระบายไม่ทัน ปัจจุบันกลับสู่ภาวะปกติแล้วเช่นกัน
ส่วนสถานการณ์อุทกภัยต่อเนื่อง จังหวัดจันทบุรี ที่น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 7 อำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,763 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทั้ง 7อำเภอ โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมือง จึงยังต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนที่ จังหวัดตราด น้ำเอ่อล้นในพื้นที่ 3 อำเภอ ปัจจุบัน ยังคงท่วมในพื้นที่อำเภอเขาสมิง เนื่องจากน้ำทะเลหนุน ทำให้ระบายได้ช้า
--------------------------------------------------------------------------------------
พายุฝนกระหน่ำไม่เลิก น้ำท่วมขังย่านเศรษฐกิจตัวเมืองจันทบุรีขั้นวิกฤต สูงกว่า 70 เซนติเมตร [ ผู้จัดการออนไลน์ : 24 ก.ค. 56 ]
จันทบุรี - ฝนกระหน่ำไม่เลิก ทำน้ำท่วมขังย่านเศรษฐกิจถึงขั้นวิกฤต สูงกว่า 70 เซนติเมตร โรงพยาบาลศูนย์กลายเป็นเกาะ ต้องใช้รถยกสูง เรือท้องแบนช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ขณะย่านเศรษฐกิจเขตเทศบาลเมืองจันทบุรีถูกน้ำท่วมหมดแล้ว
เมื่อเวลา 08.00 น. วันนี้ (24 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพอากาศใน จ.จันทบุรี ว่า ยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะย่านเศรษฐกิจในตัวเมืองจันทบุรี ซึ่งเป็นแอ่งกระทะ มีปริมาณน้ำสะสมมากกว่าร้อยละ 70 ทำให้ระบบการระบายน้ำกลายเป็นอัมพาต ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ท่วมขังสูงกว่า70 เซนติเมตร และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะบริเวณตลาดน้ำพุ ตลาดพลอย ถนนโดยรอบตัวเมือง ถูกน้ำท่วมจนกลายสภาพเป็นทะเลสาบ ขณะผู้ประกอบการ ห้างร้าน ต่างเกณฑ์แรงงานยกสิ่งของขึ้นที่สูง ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อจากโรงพยาบาลต่างอำเภอ เข้ามาทำการรักษาที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเส้นทางที่จะเข้ามายังโรงพยาบาลถูกน้ำท่วมสูง จนรถพยาบาลไม่สามารถผ่านได้
เบื้องต้น ทางโรงพยาบาลได้ขอสนับสนุนเรือท้องแบนจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด และรถกระบะยกสูงมาช่วยถ่ายตัวผู้ป่วยเข้าไปรักษา ขณะที่โรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง ต้องใช้เรือท้องแบนในการให้บริการผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียน สถานศึกษาในเขตตัวเมืองจันทบุรี มีน้ำเอ่อเข้าท่วมสูงอีกกว่า 10 แห่ง ล่าสุด สถานศึกษาในเขตเมืองจันทบุรีประกาศให้ 14 โรงเรียนปิดการเรียนการสอนชั่วคราวแล้ว
ส่วนพื้นที่โดยรอบย่านชานเมืองจันทบุรีที่เป็นพื้นที่ต่ำ โดยเฉพาะหมู่บ้านไชยยันต์ หมู่บ้านธนาคม และหมู่บ้านคลองเตย ต.พลับพลา อ.เมือง ประชาชนต่างนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ขึ้นมาจอดไว้ริมถนนทางเข้าหมู่บ้าน เนื่องจากในหมู่บ้านถูกน้ำท่วมสูงกว่า 70 เซนติเมตร ส่งผลให้ถนนจันทบุรี-ตราด มีรถติดยาวกว่า 2 กิโลเมตร
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่กู้ภัยสมาคมสว่างกตัญญูธรรมสถาน จันทบุรี พร้อมเรือท้องแบน และรถยกสูงได้เข้ามาให้การช่วยขนย้ายข้าวของ และอพยพประชาชนออกมาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ล่าสุด ยังมีน้ำจากเขาไหลลงมาสมทบอย่างไม่ขาดสาย หากฝนยังตกอยู่ จะทำให้ จ.จันทบุรี ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่อีกครั้งในรอบ 14 ปี
ส่วนพื้นที่รอบนอกอีก 5 อำเภอ ระดับน้ำยังทรงตัว มีน้ำท่วมบ้านเรือนอยู่ สวนผลไม้ ถนนเข้าหมู่บ้าน ส่วนถนนสายหลักระดับน้ำเริ่มลดลง เช่น จันทบุรี-ตราด และจันทบุรี-สระแก้ว
ด้าน นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเร่งด่วน พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุกทกภัย เพื่อนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ทั้ง 6 อำเภอ พร้อมทั้งเน้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนอย่างใกล้ชิด รวมถึงพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ หากยังคงมีฝนตกลงมาอีกให้เร่งอพยพชาวบ้านมาอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านพื้นที่เสี่ยงภัยระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มด้วย
--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมจันทบุรีปิดเรียนแล้ว 14 แห่ง [ โพสต์ทูเดย์ : 24 ก.ค. 56 ]
น้ำท่วมจันทบุรียังวิกฤติโรงเรียนประกาศปิดแล้ว14แห่ง ปภ.เตือนระวังน้ำล้นตลิ่ง
สถานการณ์น้ำท่วม จ.จันทบุรี ยังวิกฤติหนัก ระดับน้ำยังท่วมสูงหลายพื้นที่ สั่งปิดโรงเรียน 14 แห่ง ปภ.เตือนประชาชนริมแม่น้ำให้ระวังน้ำล้นตลิ่ง
ฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของ จ.จันทบุรี ทำให้มีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ รวมทั้งในพื้นที่เขตเมืองจันทบุรี ขณะที่ถนนเข้าเขตตัวเมืองจันทบุรี ตั้งแต่ถนนสายพระยาตรัง สี่แยกพระยาตรัง ถนนตากสินตัดใหม่ สี่แยกตากสินตัดใหม่ ถนนสายจันทบุรี ถึงสี่แยกแสลง ถนนตรีรัตน์เข้าตัวเมืองจันทบุรีถูกตัดขาด
ส่วนในตลาดจันทบุรี ได้รับผลกระทบหลายแห่ง อาทิ ถนนสายมหาราช ถนนท่าแฉลบ ถนนเลียบเนิน ถนนรักศักดิ์ชมูล ถนนรอบขอบอ่างทุ่งนาเชยทั้งหมด หน้าสถานีขนส่ง วัดใหม่เมืองจันท์ ศูนย์การค้าเจพีไรวา รถยนต์ขนาดเล็กไม่สามารถผ่านสัญจรไปมาได้ ความสูงของน้ำตั้งแต่ 30 – 80 ซ.ม.
ขณะเดียวกันบรรดาร้านค้า โรงแรมที่พัก ปั๊มน้ำมันบางแห่งปิดให้บริการชั่วคราว ส่วนหนึ่งได้นำกระสอบทรายมาปิดกั้นป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าสร้างาครามเสีย หายภายในร้าน เมื่อ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี ได้แพร่ภาพสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัด แสดงปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ฝนตกลงอย่างหนักตั้งแต่เมื่อวานนี้
--------------------------------------------------------------------------------------
จันท์วิกฤตหนักน้ำท่วม 6 อำเภอถนนหลายสายในตัวเมืองสัญจรไม่ได้ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 ก.ค. 56 ]
จันทบุรี - จังหวัดจันทบุรี วิกฤตหนัก น้ำท่วม 6 อำเภอ ถนนหลายสายในตัวเมืองไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ขณะพื้นที่รอบนอกชาวบ้านกว่า 2,000 หลังคาเรือนเดือดร้อนหนัก โรงพยาบาลเอกชนถูกน้ำท่วมจนคนไข้ไม่สามารถเข้ารักษาตัวได้ ด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งอพยพชาวบ้านมาอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
วันนี้ (23 ก.ค.) สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี วิกฤตหนักหลังฝนตกหนักไม่หยุด ส่งผลให้ 6 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ท่าใหม่ มะขาม ขลุง แก่งหางแมว และอำเภอแหลมสิงห์ มีน้ำท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน และถนนสายหลัก เช่น สายสุขุมวิทจันทบุรี-ตราด สายจันทบุรี-สระแก้ว สายพระยาตรัง สายมหาราช สายหน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรี สายมะขาม-ขลุง และถนนโดยรอบชั้นในตัวเมืองจันทบุรี ระดับน้ำสูง 1.00-1.20 เมตร จนรถเล็ก และรถใหญ่ไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้แล้ว
พร้อมกันนี้ น้ำป่ายังไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านใน 6 อำเภอ กว่า 2,000 หลังคาเรือน ตลาดสดมะขาม ท่าใหม่ ถูกน้ำท่วมสูง สวนผลไม้หลายพันไร่ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย รวมถึงเหมืองพลอยตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ ได้เกิดดินสไลด์ลงมา ล่าสุด ยังไม่มีรายงานว่ามีชาวบ้าน หรือคนงานได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตแต่อย่างใด และโรงเรียน 4 แห่ง ในตัวเมืองจันทบุรีถูกน้ำท่วม ในเบื้องต้นทุกพื้นที่ ทุกอำเภอได้มีการนำเรือท้องแบนเร่งอพยพชาวบ้านออกมาอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย เป็นการชั่วคราวแล้ว
สำหรับพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหนักสุด คือ อำเภอเมือง เนื่องจากน้ำจะไหลมารวมที่อำเภอเมืองทั้งหมดชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำ จันทบุรี ทั้ง 2 ฝั่งคลอง ต้องมีการยกสิ่งของไว้ในที่สูงแล้ว ส่วนหมู่บ้านไชยยันต์ ที่อยู่ใจกลางเมือง มีน้ำท่วมเข้าบ้านแล้ว ชาวบ้านต้องนำรถออกมาจอดไว้ริมถนน และรีบยกสิ่งของไว้ในที่สูง
นอกจากนี้ ตลาดพลับพลา ก็ถูกน้ำท่วมสูงด้วยเช่นกัน ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนระดับน้ำอยู่ที่ .80-1.00 เมตร ประชาชนที่มาใช้บริการไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้แล้วต้องใช้เรือท้องแบน เท่านั้น รวมทั้งอำเภอมะขาม และอำเภอท่าใหม่ ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร บางจุด 1.50 เมตร ชาวบ้านหลายหมู่บ้านถูกตัดขาดเจ้าหน้าที่ต้องนำเรือเข้าช่วยเหลือเร่งอพยพ ชาวบ้านออกมาอย่างเร่งด่วน
ล่าสุด ฝนยังไม่หยุดตก และน้ำป่าเริ่มขยายพื้นที่ออกเป็นวงกว้างมากขึ้น จึงทำให้การช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในเบื้องต้น ทางศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 17 จันทบุรี ต้องระดมเรือกว่า 50 ลำ แจกจ่ายไปยังอำเภอที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมดแล้ว และแนวโน้มจังหวัดจันทบุรีอาจจะเกิดน้ำท่วมทั้ง 10 อำเภอ อย่างแน่นอนหากฝนยังไม่หยุดตก
--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่ายังไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน และสวนผลไม้เมืองจันท์อย่างต่อเนื่อง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 16 ก.ค.56 ]
จันทบุรี - น้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน และสวนผลไม้ใน อ.ขลุง ชาวบ้านเดือดร้อน 5 หมู่บ้าน 70 หลัง สวนผลไม้เสียหายกว่า 1,000 ไร่
วันนี้ (16 ก.ค.) เกิดฝนตกหนักเกิน 200 มิลลิเมตร ที่ ต.ตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี และเกิดน้ำป่าไหลลงจากเทือกเขาสระบาป เข้าท่วมบ้านเรือน หมู่ 1-5 ระดับน้ำ 1-1.20 เมตร น้ำท่วม 70 หลังคาเรือน สวนผลไม้กว่า 1,000 ไร่ นอกจากนี้ วัดตรอกนองล่าง ถูกน้ำท่วม รถไม่สามารถเข้าไปได้ ถนนเข้าหมู่บ้านหลายสายถูกน้ำท่วม ชาวบ้านไม่สามารถเข้า-ออก
ล่าสุด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำท้องถิ่น ได้ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่บ้านถูกน้ำท่วม 2 ราย ออกมาอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยแล้ว ซึ่งกระแสน้ำยังไหลเชียวกราก มีสีขุ่นแดง บางครัวเรือนไม่สามารถเก็บข้าวของได้ทันถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย ขณะที่จังหวัดสั่งเฝ้าระวังพื้นที่ทางน้ำไหล เชิงเขา เพราะเสี่ยงกับปัญหาดินโคลนถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก
ทั้งนี้ หากสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเร่งอพยพชาวบ้านออกนอกพื้นที่ทันที เนื่องจากน้ำป่าไหลหลากในครั้งนี้นับเป็นน้ำป่าที่เกิดขึ้นในรอบ 20 ปี และเป็นน้ำป่าระรอก 2 หลังจากเว้นไปเพียง 2 วันเท่านั้น
นางลม้าย สาณเสน อายุ 56 ปี อยู่บ้านเลขที่ 15/1 หมู่ 2 ต.ตรอกนอง กล่าวว่า ในรอบ 20 ปีไม่เคยเกิดขึ้นเลย ครั้งนี้ถือว่าหนัก และรุนแรงที่สุด มาเร็วจนตั้งตัวไม่ทัน ไหลแรง และชี่ยวมาก
--------------------------------------------------------------------------------------
เมืองจันท์ระทม น้ำท่วมสวนผลไม้สูง 2 เมตร [ ผู้จัดการออนไลน์ : 12 ก.ค. 56 ]
จันทบุรี - ชาวสวนระทมน้ำป่าหลากเข้าท่วมสวนเงาะ พื้นที่อำเภอนายายอาม จันทบุรี สูงกว่า 2 เมตร ยอมขาดทุนจ้างคนงานลงพายเรือเร่งเก็บเกี่ยวเกรงผลผลิตเสียหาย ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำจันทบุรีลดลงหลังไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม
วันนี้ (12 ก.ค.) ในพื้นที่หมู่ 7 บ้านวังใหม่ ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ถูกน้ำป่า และน้ำจากคลองวังโตนดไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และสวนผลไม้ เป็นเวลา 4 วันแล้ว ทำให้ชาวสวนที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องหาเรือ และจ้างแรงงานมาเร่งเก็บผลผลิต เกรงผลไม้จะได้รับความเสียหาย
โดยระดับน้ำในสวนผลไม้ของ นางศรรสุธางค์ ไตรรัตน์ หรือเจ๊ศร เกษตรกรชาวสวนหมู่ 7 มีระดับน้ำสูง 2 เมตร มีต้นเงาะกำลังออกผลผลิตสุกงอม ที่ต้องเร่งเก็บเกี่ยวรวม 20 ต้น จาก 100 ต้น ที่เก็บไปก่อนหน้าที่สวนจะถูกน้ำท่วม ซึ่งต้นทุนการเก็บผลผลิตในรอบนี้สูงกว่าปกติ ทั้งค่าแรงงานจากกิโลกรัมละ 2 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 4 บาท รวมทั้งค่ายาทาป้องกันน้ำ และแมลงสัตว์กัดต่อยของคนงาน
ตลอดจนค่าอาหาร ซึ่งหากไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงนี้ก็จะร่วงหล่นเสียหาย และไม้ได้ราคา ส่วนราคาเงาะในตลาดมีพ่อค้ามารับซื้อกิโลกรัมละ 22 บาท หากคิดค่าเช่าเรือด้วยเกษตรกรแทบไม่เหลือกำไร โชคดีที่ครอบครัวของ เจ๊ศร มีอาชีพทางประมงจึงพอมีเรือให้พายเก็บผลผลิต ไม่เหมือนของสวนเพื่อนบ้านที่ต้องอาศัยเรือจากสำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัด หรือเรือของเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เข้ามาช่วยขนของหนีน้ำท่วม
ขณะที่ระดับน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ หมู่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ หมู่ 9 ตำบลวังโตนด อำเภอนายยายอาม จังหวัดจันทบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม สวนผลไม้ของเกษตรกรเริ่มได้รับผลกระทบ
ขณะที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังโตนด ได้ร่วมกับ ปภ.จังหวัด รวมทั้งอาสาสมัครกู้ภัยสว่างกตัญญูธรรมสถาน เร่งให้การช่วยเหลือ พร้อมนำเครื่องอุปโภคบริโภคแจกจ่าย สวนผลไม้บางสวนระดับน้ำท่วมลึกกว่า 2 เมตร ชาวสวนต้องใช้เรือขนย้ายสิ่งของออกจากสวนไปฝากบ้านเพื่อนบ้านที่สูงกว่า ป้องกันทรัพย์สินเสียหาย
ขณะที่ระดับน้ำแม่น้ำจันทบุรี ลดลงอย่างต่อเนื่องหลังไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม แต่ทางจังหวัดยังไม่ประมาทให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากในช่วงอีก 2 วันข้างหน้า พื้นที่จังหวัดจันทบุรีจะมีปริมาณฝนตกชุกอีกระลอก
--------------------------------------------------------------------------------------
ระดับน้ำในแม่น้ำจันทบุรีเข้าสู่ขั้นวิกฤต คน 2 ฝั่งขนของหนีน้ำแล้ว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 11 ก.ค. 56 ]
จันทบุรี-ระดับน้ำแม่น้ำ จันทบุรี สูงขึ้นเข้าสู่จุดวิกฤต ชาวบ้านต่างยกสิ่งของไว้ในที่สูง หลังจังหวัดประกาศแจ้งเตือน ขณะเขื่อนกั้นน้ำบ้านหินดาษมีน้ำเอ่อล้นไหลแรงจนชาวบ้านไม่สามารถสัญจรผ่าน ไปมาได้ โดยบางพื้นที่เริ่มขาดแคลนน้ำในการอุปโภคแล้ว
วันนี้ (11 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านริมแม่น้ำจันทบุรี ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำจันทบุรีมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด วัดได้อยู่ที่ 3.30 เมตร จุดวิกฤตอยู่ที่ 3.45 เมตร เหลือเพียง 15 เซนติเมตร ก็จะเข้าสู่จุดวิกฤต ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมน้ำต่างออกมาดูปริมาณน้ำกันอย่างต่อเนื่อง เพราะกลัวว่าถ้ามีฝนตกลงมาซ้ำอีกจะทำให้น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมชุมชนริมน้ำ ทั้ง 2 ฝั่งอย่างแน่นอน
รวมทั้งจังหวัดได้ออกประกาศเตือนแล้ว ให้ชาวบ้านได้มีการยกสิ่งของไว้ในที่สูง เพราะอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้
ขณะนี้ชาวบ้านเริ่มยกสิ่งของไว้ในที่สูงกันบ้างแล้ว และเริ่มที่จะวิตกกังวลกับกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว และไหลแรง รวมทั้งระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะพื้นที่ต้นน้ำ คือ อำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอมะขาม น้ำจะไหลลงมาสู่แม่น้ำจันทบุรี และยังมีฝนตกต่อเนื่องอยู่ ในเบื้องต้นทางเทศบาลเมืองจันทบุรี ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่กู้ชีพ องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ ว่า เขื่อนกั้นน้ำบ้านหินดาษ ที่เป็นเขื่อนเชื่อมต่อระหว่างหมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ กับหมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม มีน้ำไหลบ่าแรงข้ามเส้นทางการสัญจรของชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านแล้ว ชาวบ้านไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้เนื่องจากกระแสน้ำไหลแรง
ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการถูกน้ำท่วมแล้ว 5 หมู่บ้าน เข้าสู่วันที่ 3 ชาวบ้านเริ่มขาดแคลนน้ำอุปโภคกันแล้ว โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ เตรียมที่จะนำน้ำไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้าน
ในเช้าวันนี้ นายพิพัฒน์ สมบูรณ์ เจ้าหน้าที่กู้ชีพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่น่าเป็นห่วงหลังมีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนแล้ว ใน 5 หมู่บ้าน และเริ่มที่จะขาดแคลนน้ำอุปโภค รวมทั้งเขื่อนกั้นมีน้ำไหลบ่าท่วมที่เป็นเส้นทางในการสัญจรของชาวบ้านก็ไม่ สามารถที่จะสัญจรได้แล้ว เพราะกระแสน้ำไหลแรง
ด้านนางเรลัย ผลสมบัติ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำจันทบุรี กล่าวว่า รู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมากเนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำจันทบุรีเพิ่มสูงขึ้น และไหลเชี่ยว ตนเองกลัวและนอนไม่หลับมาหลายคืนแล้ว ส่วนข้าวของก็ได้มีการเก็บ และยกไว้ในที่สูงหมดแล้ว ตนเองมั่นใจว่าจะเกิดน้ำท่วมอย่างแน่นอน
--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าทะลักท่วมเมืองจันท์ ทำ 3 หมู่บ้านท่าใหม่เดือดร้อน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 ก.ค. 56 ]
จันทบุรี - เกิดฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากไหลล้นตลิ่งคลองหนองคล้าเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน และสวนผลไม้ใน 3 หมู่บ้าน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
เมื่อเวลา 17.00 น. วันนี้ (8 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุสมาคมสว่างกตัญญูธรรมสถานจันทบุรี ว่า มีฝนตกหนักเกิดน้ำป่าไหลหลากไหลล้นตลิ่งคลองหนองคล้าเข้าท่วมบ้านเรือนใน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 20 หลังคาเรือน และสวนผลไม้ถูกน้ำท่วมเสียหายกว่า 20 ไร่
ในเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่อาสาหน่วยกู้ภัยสมาคมสว่างกตัญญูธรรมสถาน จันทบุรี และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลหนองคล้า และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา ได้นำเรือท้องแบนเข้าพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือชาวบ้านเป็นการเร่งด่วน แล้ว โดยระดับน้ำสูงประมาณ 80-1.00 เมตร กระแสน้ำไหลแรง และมีสีแดงขุ่น นอกจากนี้ น้ำป่ายังไหลหลากท่วมผิวการจราจร บริเวณถนนสายหนองคล้า-สะพานเลือก ประชาชนที่ใช้เส้นทางดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนสัญจรไปมาด้วยความยากลำบาก เพราะรถสามารถวิ่งได้เลนเดียว
ล่าสุด ระดับน้ำยังมีมาอย่างต่อเนื่องเพราะพื้นที่ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จะเป็นจุดรับน้ำไหลมาตามคลองต่อจากพื้นที่อำเภอนายายอาม และอำเภอแก่งหางแมว เนื่องจากทั้ง 2 อำเภอ มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ทางจังหวัดจันทบุรี ได้รับรายงานในเรื่องของน้ำป่าไหลหลากแล้ว และได้มีการจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนเฝ้าติดตามสถานการณ์ น้ำป่าไหลหลาก และปริมาณฝนอย่างใกล้ชิด
ในเบื้องต้น ได้ให้ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี ได้ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือชาวบ้าน และสำรวจความเสียหายในเบื้องต้นแล้ว และได้สั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่ได้มีการเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ หากในคืนนี้มีฝนตกลงมาอีก ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยไม่ว่าจะเป็นทางน้ำไหล บริเวณเชิงเขาขอให้เจ้าหน้าที่ได้มีการเร่งอพยพชาวบ้านออกมาอยู่ในพื้นที่ ที่ปลอดภัยทันที
สำหรับสาเหตุที่จังหวัดจันทบุรีเกิดฝนตกหนักนั้นเนื่องมาจากมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้ยังคงพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอน บน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนต่อเนื่อง 2-3 วันนี้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา ยังขอให้ประชาชนโดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนตกหนักในช่วงนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2556
เพราะมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี และพัทยา ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม 3 หมู่บ้านเมืองจันท์ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 7 ก.ค. 56 ]
จันทบุรี - ฝนตกหนักเกิดน้ำป่าไหลหลากลงจากเทือกเขาสระบาปไหลเข้าท่วมบ้านเรือน สวนผลไม้ ใน 3 หมู่บ้าน และท่วมผิวการจราจรในพื้นที่ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ได้รับความเสียหาย
ช่วงค่ำของวันที่ 6 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ว่า เกิดฝนตกหนักนานกว่า 3 ชั่วโมง ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากลงจากเทือกเขาสระบาปไหลเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 8 ได้รับความเดือดร้อนกว่า 20 หลังคาเรือน
โดยระดับน้ำอยู่ที่ 60-80 เซนติเมตร ชาวบ้านต้องยกสิ่งของไว้ในที่สูง บางบ้านยกข้าวของไม่ทันเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะบ้านของ นายอุดม แสงทอง อายุ 62 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9/9 หมู่ที่ 4 ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ถูกน้ำท่วมเข้าบ้าน และท่วมปุ๋ยเสียหายกว่า 10 ตัน
นอกจากนี้ มีบ้านของ นายสวัสดิ์ กิ้มพิมาย อายุ 75 ปี ที่นอนป่วยอยู่บนเตียงป่วยเป็นอัมพาตซีกซ้ายถูกน้ำท่วมบ้านด้านหลังครัว หากฝนยังตกอยู่ และระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นทางญาติพี่น้องต้องมีการอพยพผู้ป่วยออกนอกพื้นที่ ทันที พร้อมกันนี้ ยังมีสวนผลไม้ สวนยางพารา สวนกล้วยกว่า 100 ไร่ ถูกน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมเสียหายเป็นวงกว้าง
และน้ำป่ายังได้ไหลหลากเข้าท่วมถนนสายมะขาม-ขลุง ระดับน้ำอยู่ที่ 30-50 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ทางเจ้าหน้าที่อาสาหน่วยกู้ภัยสมาคมสว่างกตัญญูธรรมสถานจันทบุรี ต้องมาอำนวยความสะดวกในด้านการจราจรให้แก่ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา
และในเบื้องต้น ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี และเทศบาลตำบลอ่างคีรี ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือชาวบ้านในเบื้องต้นแล้ว พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ได้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากอย่างใกล้ ชิดตลอดทั้งคืน
ในส่วนนี้หากพบบ้านเรือนชาวบ้านรายใดอยู่ในพื้นที่เสี่ยงให้ทางเจ้า หน้าที่ได้มีการดำเนินการเร่งอพยพชาวบ้านออกนอกพื้นที่ทันที โดยจะมีการตั้งจุดช่วยเหลือให้ชาวบ้านมาอยู่ในเทศบาลตำบลอ่างคีรีเป็นการ ชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่าเกิดดินสไลด์ลงจากเขาที่บ้านบ่อเวฬุ หมู่ที่ 3 บ้านราชตำหนัก แต่ไม่มีรายงานว่ามีคนได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตแต่อย่างใด
--------------------------------------------------------------------------------------