บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556


ภาพเส้นทางพายุ โดย  University College London




ภาพเส้นทางพายุ โดย UNISYS Weather


รายละเอียดเพิ่มเติม : http://weather.unisys.com/hurricane/index.php


เดือนกันยายน มีพายุหมุนเขตร้อนจำนวน 8 ลูก เกิดขึ้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ ประกอบด้วย
1.พายุโซนร้อน "โทราจิ" (Tropical Storm TORAJI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 4 ก.ย. 56
2.พายุโซนร้อน "มานหยี่" (Tropical Storm MAN-YI)ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 16 ก.ย. 56
3.พายุไต้ฝุ่น "อุซางิ" (Super Typhoon-5 USAGI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 22 ก.ย. 56
4.พายุดีเปรสชั่น (Tropical Depression Eighteen) ก่อตัวและสลายตัวในวันเดียวกันคือ วันที่ 18 ก.ย. 56
5.พายุไต้ฝุ่น "ปาบึก" (Typhoon-2 PABUK) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 26 ก.ย. 56
6.พายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (Typhoon-2 WUTIP) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 30 ก.ย. 56
7.พายุโซนร้อน "เซอปัต" (Tropical Storm SEPAT) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 2 ต.ค. 56
8.พายุไต้ฝุ่น "ฟิโทว์ (Typhoon-2 FITOW) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 6 ต.ค. 56

ในจำนวนพายุทั้ง 8 ลูกนี้ มี 3 ลูก ที่เคลื่อนเข้ามาในบริเวณที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ((พื้นที่ครอบคลุมละติจูด 0 – 25 องศาเหนือ ลองจิจูด 90 - 120 องศาตะวันออก) ประกอบด้วย

1.พายุดีเปรสชั่น Eighteen
เริ่มก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ประมาณวันที่ 17 ก.ย. 56 และได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในคืนวันที่ 19 ก.ย. 56 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ในเช้าวันที่ 19 ก.ย. 56 และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดสุรินทร์ เมื่อเวลา 16.00 น. โดยหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม และนครราชสีมาในคืนวันที่ 19 ก.ย. 56 และสลายตัวที่บริเวณภาคกลางในวันที่ 20 ก.ย. 56 ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 56 

2.พายุใต้ฝุ่นอุซางิ (Usagi) เริ่มก่อตัวประมาณวันที่ 16 ก.ย. 56 ทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ และสลายตัวบริเวณมณฑลกวางสี ประเทศจีนประมาณวันที่ 22 ก.ย. 56 พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง

3.พายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) เริ่มก่อตัวประมาณวันที่ 26 ก.ย. 56 บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งเหนือเมืองเว้ ประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชั่นตามลำดับ และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครพนมในวันที่ 1 ต.ค. 56 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงอีกเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณรอยต่อของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ด้านตะวันออกและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งภาคเหนือด้านตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง บริเวณจังหวัดนครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

เดือนตุลาคม มีพายุหมุนเขตร้อนจ้านวน 6 ลูก เกิดขึ้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วย
1.พายุไต้ฝุ่น "ดานัส" (Super Typhoon DANAS) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 8 ต.ค. 56
2.พายุไต้ฝุ่น "นารี" (Typhoon-3 NARI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 15 ต.ค. 56
3.พายุไต้ฝุ่น "วิภา" (Typhoon-4 WIPHA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 15 ต.ค. 56
4.พายุไต้ฝุ่น "ฟรานซิสโก" (Super Typhoon-5 FRANCISCO) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 25 ต.ค. 56
5.พายุไต้ฝุ่น "เลกิมา" (Super Typhoon-5 LEKIMA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 26 ต.ค. 56
6.พายุไต้ฝุ่น "กรอซา" (Typhoon-5 KROSA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 4 พ.ย. 56

รวมทั้งยังคงมีพายุที่ก่อตัวขึ้นเมื่อปลายเดือนกันยายน และยังคงไม่สลายตัวจนถึงต้นเดือนตุลาคม อีก 2 ลูก คือ 1.พายุโซนร้อน "เซอปัต" (Tropical Storm SEPAT) และ พายุไต้ฝุ่น "ฟิโทว์" (Typhoon-2 FITOW) อย่างไรก็ตาม พายุ 2 ลูกนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ส่วนพายุที่ส่งผลกับประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2556 มีทั้งหมด 2 ลูก คือ

1.หย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (WUTIP)
ในวันที่ 1 ต.ค. 56 บริเวณจังหวัดนครพนม และส่งผลกระทบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

2.พายุไต้ฝุ่น "นารี" (NARI)
ก่อตัวบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก  และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 15 ต.ค. 56 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและเป็นพายุดีเปรสชันในวันเดียวกัน ขณะเคลื่อนตัวผ่านตอนล่างของประเทศลาว จากนั้นได้อ่อนกาลังลงอีกเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกาลังแรงก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และมหาสารคาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและตอนล่าง รวมถึงภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ในช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. 56 หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกและเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ส่งผลให้มีฝนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนบริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. 56

สรุป จากรายงานสถานการณ์พายุในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม จะเห็นได้ว่าพายุที่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งหมด 3 ลูก คือ พายุดีเปรสชั่น Eighteen ช่วงกลางเดือนกันยายน พายุ "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) ช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม และพายุ "นารี" (NARI) ช่วงกลางเดือนตุลาคม

ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ

4/9/2556[11GMT]

5/9/2556[11GMT]

6/9/2556[11GMT]

7/9/2556[11GMT]

8/9/2556[11GMT]

16/9/2556[11GMT]

17/9/2556[11GMT]

18/9/2556[11GMT]

19/9/2556[11GMT]

20/9/2556[11GMT]

29/9/2556[11GMT]

30/9/2556[11GMT]

1/10/2556[11GMT]

2/10/2556[11GMT]

3/10/2556[11GMT]

14/10/2556[11GMT]

15/10/2556[11GMT]

16/10/2556[11GMT]

17/10/2556[11GMT]

18/10/2556[11GMT]


ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556



หมายเหตุ :
เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php

จากภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT พบว่าในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเมฆหนาปกคลุมต่อเนื่องอยู่ 4 ช่วง คือ
1. ช่วงต้นเดือนกันยายน เป็นกลุ่มเมฆเกิดจากร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง

2. ช่วงกลางเดือนกันยายน เป็นกลุ่มเมฆที่เกิดจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น Eighteen ที่เคลื่่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และสลายตัวบริเวณจังหวัดสุรินทร์
3. ช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม เป็นกลุ่มเมฆที่เกิดจากอิทธิพลของพายุ "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) ที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครพนม และสลายตัวบริเวณรอยต่อของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
"นารี" (NARI) ที่สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง


แผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา


4/9/2556

5/9/2556

6/9/2556

7/9/2556

8/9/2556

17/9/2556

18/9/2556

19/9/2556

20/9/2556

21/9/2556

28/9/2556

29/9/2556

30/9/2556

1/10/2556

2/10/2556

13/10/2556

14/10/2556

15/10/2556

16/10/2556

17/10/2556

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php


เดือนกันยายน 2556 ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือนและมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องรุนแรงหลายพื้นที่ในประเทศไทยตอนบน จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดเดือน สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักมากเกิดขึ้น 2 ช่วง คือ
1. ช่วงต้นเดือนกันยายน เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ทำให้มีฝนตกมากกระจายในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดหนองคาย สกลนคร เลย เป็นต้น
2. ช่วงกลางเดือนกันยายน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น Eighteen ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา และชัยภูมิ มีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่
3. ช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนภาคเหนือมีฝนเล็กน้อย

เดือนตุลาคม 2556 ในระยะครึ่งแรกของเดือนร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับในช่วงต้นเดือนพายุดีเปรสชันที่อ่อนกาลังลงจากพายุโซนร้อน “หวูติ๊บ” (WUTIP 1321) ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณจังหวัดนครพนม และในช่วงวันที่ 16-17 ต.ค. 56 มีหย่อมความกดอากาศต่ากาลังแรงที่อ่อนกาลังลงจากพายุโซนร้อน “นารี” (NARI) เข้าปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางของประเทศไทย ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกาลังแรงขึ้นในช่วงดังกล่าว สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักมาก 2 ช่วง คือ
1.ช่วงต้นเดือนตุลาคม ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
2.ช่วงกลางเดือนตุลาคม ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ "นารี" (NARI) รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม รวมทั้งภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคเหนือในหลายพื้นที่



แผนภาพฝนรายเดือน โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

จากแผนภาพฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ยและแผนภาพปริมาณฝนรวมสูง-ต่ำกว่าค่าปกติ ของกรมอุตุนิยมวิทยา เปรียบเทียบช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 2556 หากพิจารณาเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นได้ว่า
เดือนกรกฎาคม มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 336 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 59% โดยมีฝนตกมากช่วงปลายเดือนเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "เชบี" (JEBI) และมีฝนสะสมมากบริเวณด้านตะวันออกของภาค
เดือนสิงหาคม มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 214 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าปกติ 20% เดือนนี้มีพายุที่ส่งผลกระทบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงต้นเดือนสองลูก คือ พายุ "เชบี" (JEBI) และ พายุ "มังคุด" (MUNGKHUT) รวมทั้งช่วงปลายเดือนมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ปริมาณฝนที่ได้ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
เดือนกันยายน มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 347 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 43% เดือนนี้มีฝนตกเกือบตลอดทั้งเดือน และตกมากช่วงกลางเดือนจนถึงปลายเดือนเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น และมีฝนสะสมมากบริเวณตอนล่างของภาค
เดือนตุลาคม มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 115 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าปกติ 2% เดือนนี้มีฝนตกมากช่วงกลางเดือนเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "นารี" และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง และเดือนนี้มีฝนสะสมรายเดือนน้อยที่สุด

สรุป
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ยมากที่สุดในเดือนกันยายน รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และตุลาคม ตามลำดับ และเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีฝนต่ำกว่าค่าปกติมากที่สุด โดยบริเวณที่เกิดฝนต่ำกว่าค่าปกติอยู่ทางด้านตะวันออกของภาค


ข้อมูลเพิ่มเติม : รายงานสภาวะอากาศรายเดือน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม



แผนภาพปริมาณฝนสะสมรายเดือนสังเคราะห์จากข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


กรกฎาคม 2556
ฝนสะสมเฉลี่ย 314 มิลลิเมตร

สิงหาคม 2556
ฝนสะสมเฉลี่ย 193 มิลลิเมตร

กันยายน 2556
ฝนสะสมเฉลี่ย 353 มิลลิเมตร

ตุลาคม 2556
ปริมาณฝนสะสมเฉลี่ย 105 มิลลิเมตร

จากแผนภาพฝนสะสมรายเดือนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าเดือนกันยายนมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และตุลาคม
โดยเดือนกรกฎาคมมีฝนตกมากกระจุกตัวอยู่ทางด้านตะวันออกของภาค เดือนสิงหาคมปริมาณฝนลดลงมากในทุกพื้นที่ ต่อมาในเดือนกันยายนมีฝนตกมากกระจุกตัวทางตอนล่าง ตอนกลาง
และตอนบนของภาคในบางพื้นที่ ส่วนเดือนตุลาคมปริมาณฝนลดลงมาก มีฝนตกมากในพื้นที่ตอนล่างของภาคบริเวณจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น





แผนที่ความกดอากาศและความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. เหนือระดับน้ำทะเล ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556
โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)





ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

เรดาร์สกลนคร รัศมี 240 กิโลเมตร

1/9/2556 [22:38GMT]

2/9/2556 [23:38GMT]

3/9/2556 [19:38GMT]

4/9/2556 [21:38GMT]

5/9/2556 [02:38GMT]

DBZ

17/9/2556 [11:38GMT]

18/9/2556 [14:38GMT]

19/9/2556 [05:38GMT]

20/9/2556 [04:38GMT]

21/9/2556 [13:38GMT]

29/9/2556 [23:38GMT]

30/9/2556 [14:38GMT]

1/10/2556 [20:38GMT]

2/10/2556 [04:38GMT]

3/10/2556 [11:38GMT]

14/10/2556 [11:38GMT]

15/10/2556 [22:38GMT]

16/10/2556 [09:38GMT]

17/10/2556 [09:38GMT]

18/10/2556 [21:38GMT]

เรดาร์ขอนแก่น รัศมี 240 กิโลเมตร

4/9/2556 [19:30GMT]

5/9/2556 [17:30GMT]

6/9/2556 [20:30GMT]

7/9/2556 [18:30GMT]

8/9/2556 [03:30GMT]

DBZ

17/9/2556 [10:30GMT]

18/9/2556 [20:30GMT]

19/9/2556 [05:30GMT]

20/9/2556 [11:30GMT]

21/9/2556 [17:30GMT]

28/9/2556 [01:30GMT]

29/9/2556 [14:30GMT]

30/9/2556 [15:30GMT]

01/10/2556 [01:30GMT]

14/10/2556 [01:30GMT]

14/10/2556 [01:30GMT]

15/10/2556 [17:30GMT]

16/10/2556 [05:30GMT]

17/10/2556 [08:30GMT]

18/10/2556 [11:30GMT]

เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 120 กิโลเมตร

7/9/2556 [14:33GMT]

8/9/2556 [00:33GMT]

9/9/2556 [01:33GMT]

10/9/2556 [11:33GMT]

11/9/2556 [05:33GMT]

DBZ

15/9/2556 [14:33GMT]

16/9/2556 [02:33GMT]

17/9/2556 [04:33GMT]

18/9/2556 [03:33GMT]

19/9/2556 [03:33GMT]

30/9/2556 [13:33GMT]

1/10/2556 [23:33GMT]

2/10/2556 [05:33GMT]

3/10/2556 [10:33GMT]

4/10/2556 [11:33GMT]

14/10/2556 [23:33GMT]

15/10/2556 [08:33GMT]

16/10/2556 [08:33GMT]

17/10/2556 [07:33GMT]

18/10/2556 [11:33GMT]
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์สกลนคร : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_sknradar.php
เรดาร์ขอนแก่น : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_kkn_radar.php
เรดาร์อุบลราชธานี : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_ubol120radar.php

จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์สกลนคร เรดาร์ขอนแก่น และเรดาร์อุบลราชธานี พบว่าช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันมาก ทั้งหมด 4 ช่วง

1. ช่วงต้นเดือนกันยายน เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเลย
2. ช่วงกลางเดือนกันยายน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น Eighteen ส่งผลใหเกิดน้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ เป็นต้น
3. ช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมซ้ำบริเวณเดิมและขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา
4. ช่วงกลางเดือนตุลาคม ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ "นารี" (NARI) รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณที่เกิดน้ำท่วมอยู่เดิมมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น และระบายได้ช้าเนื่องจากมีฝนตกเติมในพื้นที่ต่อเนื่อง




แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน สังเคราะห์จากข้อมูลปริมาณฝนรายชั่วโมงของ GSMaP
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
(องค์การมหาชน)


4/9/2556

5/9/2556

6/9/2556

7/9/2556

8/9/2556

15/9/2556

16/9/2556

17/9/2556

18/9/2556

19/9/2556

30/9/2556

1/10/2556

2/10/2556

3/10/2556

4/10/2556

14/10/2556

15/10/2556

16/10/2556

17/10/2556

18/10/2556


แผนภาพแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ GSMaP ในเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 พบว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากใน 4 ช่วงเวลา คือ 1)ช่วงต้นเดือนกันยายน 2)ช่วงกลางเดือนกันยายน 3)ช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม และ 4)ช่วงกลางเดือนตุลาคม



แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA


4/9/2556[00Z]

5/9/2556[00Z]

6/9/2556[00Z]

7/9/2556[00Z]

8/9/2556[00Z]

14/9/2556[00Z]

15/9/2556[00Z]

16/9/2556[00Z]

17/9/2556[00Z]

18/9/2556[00Z]

30/9/2556[00Z]

1/10/2556[00Z]

2/10/2556[00Z]

3/10/2556[00Z]

4/10/2556[00Z]

15/10/2556[00Z]

16/10/2556[00Z]

17/10/2556[00Z]

18/10/2556[00Z]

19/10/2556[00Z]
mm.

แผนภาพแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือน
โดย NASA

กรกฎาคม 2556

สิงหาคม 2556

กันยายน 2556

ตุลาคม 2556

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนกระจุกตัวกันมากใน 4 ช่วงเวลา ประกอบด้วย ช่้วงต้นเดือนกันยายน ช่วงกลางเดือนกันยายน ช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม ช่วงกลางเดือนตุลาคม เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
และหากพิจารณาดูข้อมูลเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม เห็นได้ว่าเดือนกรกฎาคมภาคตะวันออก
เฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณด้านตะวันออกของภาค ต่อมาในเดือนสิงหาคม ปริมาณฝนลดลงจากเดือนกรกฎาคมแต่ยังคงมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันอยู่บริเวณตอนบนของภาค ต่อมาในเดือนกันยายนปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นจากเดือนสิงหาคม แต่กลุ่มฝนกระจุกตัวเป็นหย่อม ๆ บริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาค และไม่กระจุกตัวเป็นบริเวณกว้างเหมือนเดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลงค่อนข้างมาก และมีกลุ่มฝนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม สิงหาคมและกันยายน




ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

         รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556
บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน
แสดงดังตารางด้านล่าง และสถานีที่ตรวจวัด
ปริมาณฝน ได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน อยู่ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ยโสธร
ชัยภูมิ และร้อยเอ็ด

วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
2013-09-04 หนองนาง หนองนาง ท่าบ่อ หนองคาย                                 87.6
บ้านทรายทอง หนองกวั่ง บ้านม่วง สกลนคร                                 62.2
2013-09-05 บ้านค่าย ลุ่มลำชี บ้านเขว้า ชัยภูมิ                                 88.0
สังคม สังคม สังคม หนองคาย                                 85.0
บ้านไผ่ ในเมือง บ้านไผ่ ขอนแก่น                                 79.2
ห้วยยาง หนองโพนงาม เกษตรสมบูรณ์ ชัยภูมิ                                 62.8
ชุมพร ชุมพร เมยวดี ร้อยเอ็ด                                 61.6
2013-09-06 โนนภูทอง วังทอง นาวัง หนองบัวลำภู                                 76.6
2013-09-07 นาสวง นาส่วง เดชอุดม อุบลราชธานี                                 81.4
สังคม สังคม สังคม หนองคาย                                 67.8
อบต.ตลาดไทร ตลาดไทร ชุมพวง นครราชสีมา                                 53.6
2013-09-08 เจาทอง โป่งนก เทพสถิต ชัยภูมิ                                 57.0
2013-09-11 บ้านห้วยยางดง โคกเครือ หนองกุงศรี กาฬสินธุ์                                 97.4
ลาดกรุงศรี นากอก ศรีบุญเรือง หนองบัวลำภู                                 60.6
บ้านมอดินแดง โพนทอง เมืองกาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์                                 60.4
2013-09-12 ลาดกรุงศรี นากอก ศรีบุญเรือง หนองบัวลำภู                                 56.6
โพนพิสัย จุมพล โพนพิสัย หนองคาย                                 51.6
2013-09-13 บ้านโคกสี่ โคกสี สว่างแดนดิน สกลนคร                                 82.2
บ้านหนองเม็ก สามัคคี เลิงนกทา ยโสธร                                 67.6
คำชะอี น้ำเที่ยง คำชะอี มุกดาหาร                                 60.4
2013-09-14 บ้านโคกสี่ โคกสี สว่างแดนดิน สกลนคร                                 88.8
ชุมพร ชุมพร เมยวดี ร้อยเอ็ด                                 82.2
ธาตุ ธาตุ รัตนบุรี สุรินทร์                                 67.4
ตลาดภูเรือ หนองบัว ภูเรือ เลย                                 65.8
บ้านทรายขาว ทรายขาว วังสะพุง เลย                                 62.6
ลาดกรุงศรี นากอก ศรีบุญเรือง หนองบัวลำภู                                 51.6
แยกบ้านขาม ขัวก่าย วานรนิวาส สกลนคร                                 50.4
2013-09-15 ดอนตาล ป่าไร่ ดอนตาล มุกดาหาร                                100.6
บ้านนาโพธิ์ทอง นาโพธิ์กลาง โขงเจียม อุบลราชธานี                                 86.0
ด่านม่วงคำ เชียงสือ โพนนาแก้ว สกลนคร                                 61.8
ทุ่งศรีอุดม โคกชำแระ ทุ่งศรีอุดม อุบลราชธานี                                 51.6
ระเว ระเว พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี                                 50.4
บ้านแก้ง แก้ง เดชอุดม อุบลราชธานี                                 50.2
2013-09-17 บ้านผือ บ้านผือ บ้านผือ อุดรธานี                                 56.0
บ้านผึ้ง บ้านผึ้ง เมืองนครพนม นครพนม                                 51.4
2013-09-18 ระเว ระเว พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี                                153.8
บ้านหัวเรือ หนองเหล่า ม่วงสามสิบ อุบลราชธานี                                107.2
ตระการพืชผล กระเดียน ตระการพืชผล อุบลราชธานี                                 98.0
นาสวง นาส่วง เดชอุดม อุบลราชธานี                                 95.4
หนองทัพไทย หนองทัพไทย พนมไพร ร้อยเอ็ด                                 94.8
บ้านหนองลุง กำแพง อุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ                                 86.0
นาตาล พะลาน กิ่งอำเภอนาตาล อุบลราชธานี                                 81.6
น้ำยืน สีวิเชียร น้ำยืน อุบลราชธานี                                 78.4
บ้านแก้ง แก้ง เดชอุดม อุบลราชธานี                                 66.6
เมนรูทกันทรารมย์ ยาง กันทรารมย์ ศรีสะเกษ                                 66.2
บ้านนาโพธิ์ทอง นาโพธิ์กลาง โขงเจียม อุบลราชธานี                                 65.6
บ้านนาแคน บ้านแมด บุณฑริก อุบลราชธานี                                 65.4
บ้านม่วง บึงแก มหาชนะชัย ยโสธร                                 61.6
ม.ราม อำนาจเจริญ แมด ลืออำนาจ อำนาจเจริญ                                 60.4
บ้านนายม นาหมอม้า เมืองอำนาจเจริญ อำนาจเจริญ                                 59.4
ชุมชนตูม กุดน้ำใส ค้อวัง ยโสธร                                 56.4
บ้านห้วยผอก น้ำอ้อม กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ                                 56.0
ทุ่งศรีอุดม โคกชำแระ ทุ่งศรีอุดม อุบลราชธานี                                 54.4
2013-09-19 ชุมชนหนองใหญ่ หนองใหญ่ ปราสาท สุรินทร์                                204.0
เมืองที ราม เมืองสุรินทร์ สุรินทร์                                199.0
ปราสาท กังแอน ปราสาท สุรินทร์                                158.4
บ้านใหม่สำเร็จกิจ สำโรงใหม่ ละหานทราย บุรีรัมย์                                139.2
ธาตุ ธาตุ รัตนบุรี สุรินทร์                                114.6
ห้วยราช ห้วยราช ห้วยราช บุรีรัมย์                                109.0
บ้านหนองจิก โบสถ์ พิมาย นครราชสีมา                                108.4
บ้านม่วง บึงแก มหาชนะชัย ยโสธร                                104.2
บ้านหนองลุง กำแพง อุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ                                 96.0
หนองกุง หนองโพธิ์ นาเชือก มหาสารคาม                                 87.2
บ้านโคกพลวง โคกสนวน ชำนิ บุรีรัมย์                                 75.8
ลำนางรอง ลำนางรอง โนนดินแดง บุรีรัมย์                                 74.4
บ้านนาแคน บ้านแมด บุณฑริก อุบลราชธานี                                 73.6
บ้านห้วยผอก น้ำอ้อม กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ                                 71.0
รพ.วังน้ำเขียว วังน้ำเขียว วังน้ำเขียว นครราชสีมา                                 70.6
นาสวง นาส่วง เดชอุดม อุบลราชธานี                                 70.2
บ้านเสาเดี่ยว ท่าอ่าง โชคชัย นครราชสีมา                                 69.2
บ้านดอนอะราง ดอนอะราง หนองกี่ บุรีรัมย์                                 68.8
ทุ่งศรีอุดม โคกชำแระ ทุ่งศรีอุดม อุบลราชธานี                                 68.2
ตลาดปากช่อง ขนงพระ ปากช่อง นครราชสีมา                                 67.8
บ้านนาโพธิ์ทอง นาโพธิ์กลาง โขงเจียม อุบลราชธานี                                 66.6
บ้านอังโกน บ้านใหม่ ครบุรี นครราชสีมา                                 62.2
สีสุก ศรีละกอ จักราช นครราชสีมา                                 61.4
หนองทัพไทย หนองทัพไทย พนมไพร ร้อยเอ็ด                                 58.8
บ้านแก้ง แก้ง เดชอุดม อุบลราชธานี                                 56.0
เมนรูทกันทรารมย์ ยาง กันทรารมย์ ศรีสะเกษ                                 55.2
บ้านกงรถ กงรถ ห้วยแถลง นครราชสีมา                                 54.8
อบต.ตลาดไทร ตลาดไทร ชุมพวง นครราชสีมา                                 52.0
แคนดง แคนดง กิ่งอำเภอแคนดง บุรีรัมย์                                 51.8
ชุมชนโกรกประดู่ โคกกลาง ลำปลายมาศ บุรีรัมย์                                 51.0
อุดมทรัพย์ อุดมทรัพย์ วังน้ำเขียว นครราชสีมา                                 50.0
2013-09-20 บ้านหนองจิก โบสถ์ พิมาย นครราชสีมา                                115.8
คง เมืองคง คง นครราชสีมา                                 63.6
2013-09-21 ช่องสามหมอ นาหนองทุ่ม แก้งคร้อ ชัยภูมิ                                112.6
เต่างอย นาตาล เต่างอย สกลนคร                                 84.2
ชุมพร ชุมพร เมยวดี ร้อยเอ็ด                                 76.6
บ้านนาโพธิ์ทอง นาโพธิ์กลาง โขงเจียม อุบลราชธานี                                 73.6
นาตาล พะลาน กิ่งอำเภอนาตาล อุบลราชธานี                                 63.6
หนองทัพไทย หนองทัพไทย พนมไพร ร้อยเอ็ด                                 63.4
เจาทอง โป่งนก เทพสถิต ชัยภูมิ                                 62.4
2013-09-22 ตระการพืชผล กระเดียน ตระการพืชผล อุบลราชธานี                                 86.8
นาตาล พะลาน กิ่งอำเภอนาตาล อุบลราชธานี                                 50.0
2013-09-23 บ้านนาโพธิ์ทอง นาโพธิ์กลาง โขงเจียม อุบลราชธานี                                 51.4
2013-09-24 โป่งชี โป่ง ด่านซ้าย เลย                                 73.0
โนนภูทอง วังทอง นาวัง หนองบัวลำภู                                 55.6
2013-09-25 ชุมพร ชุมพร เมยวดี ร้อยเอ็ด                                105.4
อนุบาลร้อยเอ็ด รอบเมือง เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด                                 50.0
สังคม สังคม สังคม หนองคาย                                 50.0
2013-09-26 บ้านโคกพลวง โคกสนวน ชำนิ บุรีรัมย์                                 62.4
ชุมชนหนองใหญ่ หนองใหญ่ ปราสาท สุรินทร์                                 54.8
เหล่ากอหก เหล่ากอหก นาแห้ว เลย                                 54.0
บ้านหัวเรือ หนองเหล่า ม่วงสามสิบ อุบลราชธานี                                 51.8
2013-09-27 ปราสาท กังแอน ปราสาท สุรินทร์                                 60.4
บ้านค่าย ลุ่มลำชี บ้านเขว้า ชัยภูมิ                                 57.4
บ้านกงรถ กงรถ ห้วยแถลง นครราชสีมา                                 51.0
2013-09-28 บ้านค่าย ลุ่มลำชี บ้านเขว้า ชัยภูมิ                                 55.0
คง เมืองคง คง นครราชสีมา                                 52.8
2013-09-30 บ้านปากอูน ศรีสงคราม ศรีสงคราม นครพนม                                 55.4
2013-10-02 คง เมืองคง คง นครราชสีมา                                 57.6
เจาทอง โป่งนก เทพสถิต ชัยภูมิ                                 56.2
2013-10-06 รพ.วังน้ำเขียว วังน้ำเขียว วังน้ำเขียว นครราชสีมา                                 76.2
อุดมทรัพย์ อุดมทรัพย์ วังน้ำเขียว นครราชสีมา                                 50.4
2013-10-07 ชุมชนหนองใหญ่ หนองใหญ่ ปราสาท สุรินทร์                                 58.2
บ้านใหม่สำเร็จกิจ สำโรงใหม่ ละหานทราย บุรีรัมย์                                 50.2
2013-10-15 บ้านแก้ง แก้ง เดชอุดม อุบลราชธานี                                 98.6
บ้านห้วยผอก น้ำอ้อม กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ                                 95.2
ทุ่งศรีอุดม โคกชำแระ ทุ่งศรีอุดม อุบลราชธานี                                 91.4
น้ำยืน สีวิเชียร น้ำยืน อุบลราชธานี                                 91.2
บ้านท่าอุด นิคมพัฒนา ขุขันธ์ ศรีสะเกษ                                 81.8
เมืองที ราม เมืองสุรินทร์ สุรินทร์                                 79.0
ชุมชนหนองใหญ่ หนองใหญ่ ปราสาท สุรินทร์                                 77.4
จอมพระ บ้านผือ จอมพระ สุรินทร์                                 64.4
บ้านนาแคน บ้านแมด บุณฑริก อุบลราชธานี                                 60.4
นาสวง นาส่วง เดชอุดม อุบลราชธานี                                 60.2
ระเว ระเว พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี                                 60.0
ปราสาท กังแอน ปราสาท สุรินทร์                                 59.2
เมนรูทกันทรารมย์ ยาง กันทรารมย์ ศรีสะเกษ                                 58.8
บ้านเสาเดี่ยว ท่าอ่าง โชคชัย นครราชสีมา                                 57.8
อุดมทรัพย์ อุดมทรัพย์ วังน้ำเขียว นครราชสีมา                                 51.0
บ้านอังโกน บ้านใหม่ ครบุรี นครราชสีมา                                 50.8
2013-10-16 พล โนนข่า พล ขอนแก่น                                 63.2
บ้านทรายทอง หนองกวั่ง บ้านม่วง สกลนคร                                 59.8
สังคม สังคม สังคม หนองคาย                                 58.2
บ้านบัว สว่าง พรรณานิคม สกลนคร                                 52.6
2013-10-17 นาซ่าว นาซ่าว เชียงคาน เลย                                 52.6
2013-10-18 สีสุก ศรีละกอ จักราช นครราชสีมา                                 81.6
อุดมทรัพย์ อุดมทรัพย์ วังน้ำเขียว นครราชสีมา                                 65.6
บ้านเสาเดี่ยว ท่าอ่าง โชคชัย นครราชสีมา                                 50.4

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร




ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหารชน)

            รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง และสถานีที่ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน
อยู่ในพื้นที่จังหวัดเลย อุบลราชธานี สุรินทร์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์


วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
2/9/2013 ศรีสะเกษ (1) ดวนใหญ่ วังหิน ศรีสะเกษ                                 70.8
3/9/2013 โชคชัย (2) โคกกรวด เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา                                 58.1
5/9/2013 เลย นาแขม เมืองเลย เลย                                107.2
โกสุมพิสัย หนองบอน โกสุมพิสัย มหาสารคาม                                 69.1
เลย (1) หนองบัว ภูเรือ เลย                                 61.6
6/9/2013 สุรินทร์ บ้านแร่ เมืองสุรินทร์ สุรินทร์                                 56.1
7/9/2013 สุรินทร์ บ้านแร่ เมืองสุรินทร์ สุรินทร์                                 70.8
ร้อยเอ็ด (1) ราชธานี ธวัชบุรี ร้อยเอ็ด                                 56.1
อุบลราชธานี (1) เอือดใหญ่ ศรีเมืองใหม่ อุบลราชธานี                                 54.7
อุดรธานี โพนงาม หนองหาน อุดรธานี                                 51.4
12/9/2013 กมลาไสย (2) ธัญญา กมลาไสย กาฬสินธุ์                                 72.2
17/9/2013 อุบลราชธานี (1) เอือดใหญ่ ศรีเมืองใหม่ อุบลราชธานี                                105.3
18/9/2013 ศรีสะเกษ (1) ดวนใหญ่ วังหิน ศรีสะเกษ                                 98.7
มุกดาหาร บ้านค้อ คำชะอี มุกดาหาร                                 92.3
19/9/2013 สุรินทร์ บ้านแร่ เมืองสุรินทร์ สุรินทร์                                279.5
สอท.ท่าตูม* ท่าตูม ท่าตูม สุรินทร์                                124.3
โชคชัย (2) โคกกรวด เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา                                122.8
นครราชสีมา พลสงคราม โนนสูง นครราชสีมา                                122.0
ศรีสะเกษ (1) ดวนใหญ่ วังหิน ศรีสะเกษ                                118.6
นางรอง (2) นางรอง นางรอง บุรีรัมย์                                102.4
ปากช่อง (1) กลางดง ปากช่อง นครราชสีมา                                 89.9
20/9/2013 ปากช่อง (1) กลางดง ปากช่อง นครราชสีมา                                 71.9
21/9/2013 โกสุมพิสัย หนองบอน โกสุมพิสัย มหาสารคาม                                 80.8
ชัยภูมิ โคกสูง เมืองชัยภูมิ ชัยภูมิ                                 51.4
25/9/2013 ร้อยเอ็ด ท่าม่วง เสลภูมิ ร้อยเอ็ด                                 72.1
26/9/2013 ชัยภูมิ โคกสูง เมืองชัยภูมิ ชัยภูมิ                                 61.1
27/9/2013 ร้อยเอ็ด ท่าม่วง เสลภูมิ ร้อยเอ็ด                                 56.8
ร้อยเอ็ด (1) ราชธานี ธวัชบุรี ร้อยเอ็ด                                 53.8
15/10/2013 โชคชัย (2) โคกกรวด เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา                                 90.0
สุรินทร์ (1) นาบัว เมืองสุรินทร์ สุรินทร์                                 71.3
ศรีสะเกษ (1) ดวนใหญ่ วังหิน ศรีสะเกษ                                 67.5
นครราชสีมา พลสงคราม โนนสูง นครราชสีมา                                 65.4
สุรินทร์ บ้านแร่ เมืองสุรินทร์ สุรินทร์                                 58.2
อุบลราชธานี (1) เอือดใหญ่ ศรีเมืองใหม่ อุบลราชธานี                                 52.4
17/10/2013 เลย นาแขม เมืองเลย เลย                                 58.0
18/10/2013 นครราชสีมา พลสงคราม โนนสูง นครราชสีมา                                100.4
ปากช่อง (1) กลางดง ปากช่อง นครราชสีมา                                 83.0

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/Interpolated/ShowImg.php




รายงานการเตือนภัยปริมาณฝนผ่าน sms โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

จากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่าช่วงที่เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556 มีการเตือนภัยปริมาณฝนในระดับเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤต

วันที่เตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
ระดับการเตือนภัย
15/10/2013 9:00:00 NARI Typhoon Cat 1 is 238 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
15/10/2013 7:00:00 ฝน15/07-16/06น. ต.โคกชำแระ อ.ทุ่งศรีอุดม อุบลราชธานี
90.6
เฝ้าระวังสูงสุด
15/10/2013 4:00:00 ฝน15/07-16/04น. ต.สีวิเชียร อ.น้ำยืน อุบลราชธานี
90.2
เฝ้าระวังสูงสุด
15/10/2013 4:00:00 ฝน15/07-16/04น. ต.น้ำอ้อม อ.กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ
91
เฝ้าระวังสูงสุด
15/10/2013 1:00:00 ฝน15/07-16/01น. ต.แก้ง อ.เดชอุดม อุบลราชธานี
90.4
เฝ้าระวังสูงสุด
30/9/2013 8:00:00 WUTIP Typhoon Cat 1 is 270 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
26/9/2013 19:00:00 ฝน18-19น. ต.โคกสนวน อ.ชำนิ บุรีรัมย์
45.8
วิกฤต
25/9/2013 18:00:00 ฝน17-18น. ต.รอบเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด
40.2
เฝ้าระวังสูงสุด
21/9/2013 3:00:00 ฝน21/07-22/03น. ต.นาหนองทุ่ม อ.แก้งคร้อ ชัยภูมิ
111
วิกฤต
21/9/2013 1:00:00 ฝน21/07-22/01น. ต.นาหนองทุ่ม อ.แก้งคร้อ ชัยภูมิ
95.2
เฝ้าระวังสูงสุด
20/9/2013 23:00:00 ฝน07-23น. ต.โบสถ์ อ.พิมาย นครราชสีมา
110.8
วิกฤต
20/9/2013 21:00:00 ฝน07-21น. ต.โบสถ์ อ.พิมาย นครราชสีมา
90.8
เฝ้าระวังสูงสุด
20/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
118.6
วิกฤต
20/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีโชคชัย-2 อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา
122.8
วิกฤต
20/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
122
วิกฤต
20/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีสอท.ท่าตูม* อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
124.3
วิกฤต
20/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีนางรอง-2 อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
102.4
เฝ้าระวังสูงสุด
20/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์
279.5
วิกฤต
19/9/2013 23:00:00 ฝน07-23น. ต.ธาตุ อ.รัตนบุรี สุรินทร์
110.6
วิกฤต
19/9/2013 21:00:00 ฝน07-21น. ต.ห้วยราช อ.ห้วยราช บุรีรัมย์
90.6
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 19:00:00 ฝน07-19น. ต.กังแอน อ.ปราสาท สุรินทร์
112
วิกฤต
19/9/2013 18:00:00 ฝน07-18น. ต.กังแอน อ.ปราสาท สุรินทร์
92.4
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 17:00:00 ฝน07-17น. ต.กำแพง อ.อุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ
91.4
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 17:00:00 ฝน07-17น. ต.บึงแก อ.มหาชนะชัย ยโสธร
94.4
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 15:00:00 ฝน07-14น. ต.ราม อ.เมืองสุรินทร์ สุรินทร์
94.2
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 15:00:00 ฝน07-15น. ต.ราม อ.เมืองสุรินทร์ สุรินทร์
114
วิกฤต
19/9/2013 14:00:00 ฝน07-14น. ต.ธาตุ อ.รัตนบุรี สุรินทร์
98.6
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีมุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร
92.3
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีศรีสะเกษ-1 อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
98.7
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 4:00:00 ฝน19/07-20/03น. ต.โบสถ์ อ.พิมาย นครราชสีมา
90.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18/9/2013 21:00:00 EIGHTEEN Tropical Depression is 367 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
18/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีอุบลราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
105.3
เฝ้าระวังสูงสุด
18/9/2013 6:00:00 ฝน18/07-19/06น. ต.กระเดียน อ.ตระการพืชผล อุบลราชธานี
91.2
เฝ้าระวังสูงสุด
18/9/2013 6:00:00 ฝน18/07-19/06น. ต.หนองทัพไทย อ.พนมไพร ร้อยเอ็ด
91.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18/9/2013 5:00:00 ฝน18/07-19/05น. ต.นาส่วง อ.เดชอุดม อุบลราชธานี
90.8
เฝ้าระวังสูงสุด
18/9/2013 5:00:00 ฝน18/07-19/05น. ต.หนองเหล่า อ.ม่วงสามสิบ อุบลราชธานี
90.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18/9/2013 3:00:00 ฝน18/07-19/03น. ต.ระเว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี
110.8
วิกฤต
18/9/2013 1:00:00 ฝน18/07-19/01น. ต.ระเว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี
90.6
เฝ้าระวังสูงสุด
15/9/2013 6:00:00 ฝน15/07-16/06น. ต.ป่าไร่ อ.ดอนตาล มุกดาหาร
90.8
เฝ้าระวังสูงสุด
15/9/2013 3:00:00 ฝน02-03น. ต.เชียงสือ อ.โพนนาแก้ว สกลนคร
45.6
วิกฤต
14/9/2013 20:00:00 ฝน18-19น. ต.ชุมพร อ.เมยวดี ร้อยเอ็ด
49
วิกฤต
14/9/2013 10:00:00 ฝน09-10น. ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ หนองคาย
41
เฝ้าระวังสูงสุด
13/9/2013 11:00:00 ฝน10-11น. ต.สามัคคี อ.เลิงนกทา ยโสธร
41
เฝ้าระวังสูงสุด
11/9/2013 5:00:00 ฝน11/07-12/05น. ต.โคกเครือ อ.หนองกุงศรี กาฬสินธุ์
91
เฝ้าระวังสูงสุด
7/9/2013 19:00:00 ฝน18-19น. ต.นาส่วง อ.เดชอุดม อุบลราชธานี
46.4
วิกฤต
6/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีสถานีเลย อ.เมือง จ.เลย
107.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/9/2013 5:00:00 ฝน04-05น. ต.สังคม อ.สังคม หนองคาย
53.8
วิกฤต
5/9/2013 2:00:00 ฝน01-02น. ต.หนองกุงธนสาร อ.ภูเวียง ขอนแก่น
40.8
เฝ้าระวังสูงสุด




แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)


คาดการณ์เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 56


4/9/56 19.00 น. - 5/9/56 19.00 น.

5/9/56 19.00 น. - 6/9/56 19.00 น.

6/9/56 19.00 น. - 7/9/56 19.00 น.

7/9/56 19.00 น. - 8/9/56 19.00 น.

8/9/56 19.00 น. - 9/9/56 19.00 น.

9/9/56 19.00 น. - 10/9/56 19.00 น.

10/9/56 19.00 น. - 11/9/56 19.00 น.


คาดการณ์เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 56

18/9/56 19.00 น. - 19/9/56 19.00 น.

19/9/56 19.00 น. - 20/9/56 19.00 น.

20/9/56 19.00 น. - 21/9/56 19.00 น.

21/9/56 19.00 น. - 22/9/56 19.00 น.

22/9/56 19.00 น. - 23/9/56 19.00 น.

23/9/56 19.00 น. - 24/9/56 19.00 น.

24/9/56 19.00 น. - 25/9/56 19.00 น.


คาดการณ์เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 56

29/9/56 19.00 น. - 30/9/56 19.00 น.

30/9/56 19.00 น. - 1/10/56 19.00 น.

1/10/56 19.00 น. - 2/10/56 19.00 น.

2/10/56 19.00 น. - 3/10/56 19.00 น.

3/10/56 19.00 น. - 4/10/56 19.00 น.

4/10/56 19.00 น. - 5/10/56 19.00 น.

5/10/56 19.00 น. - 6/10/56 19.00 น.


คาดการณ์เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 56

14/10/56 19.00 น. - 15/10/56 19.00 น.

15/10/56 19.00 น. - 16/10/56 19.00 น.

16/10/56 19.00 น. - 17/10/56 19.00 น.

17/10/56 19.00 น. - 18/10/56 19.00 น.

18/10/56 19.00 น. - 19/10/56 19.00 น.

19/10/56 19.00 น. - 20/10/56 19.00 น.

20/10/56 19.00 น. - 21/10/56 19.00 น.



     จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF
ผลการคาดการณ์ใน 4 วัน คือ วันที่ 4 ก.ย. 56 วันที่ 18 ก.ย. 56 วันที่ 29 ก.ย. 56 และวันที่ 14 ต.ค. 56 มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน 4 ช่วงเวลา คือ ช่วงต้นเดือนกันยายน
ช่วงกลางเดือนกันยายน ช่วงปลายเดือนกันยายนถึงช่วงต้นเดือนตุลาคม และช่วงกลางเดือนตุลาคม
   โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เมื่อเทียบกับแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ GSMap แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA
เรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา และการตรวจวัดปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา และสถานีโทรมาตรสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร  





สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทาน,การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนอุบลรัตน์

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนอุบลรัตน์

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิรินธร

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิรินธร

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนสิรินธร

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนลำปาว

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนลำปาว

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนลำปาว

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนลำพระเพลิง

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนลำพระเพลิง

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนลำพระเพลิง

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนลำตะคอง

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนลำตะคอง

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนลำตะคอง

จากเหตุการณ์ฝนตกหนักช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเกินระดับกักเก็บปกติ ประกอบด้วย เขื่อนลำพระเพลิง ลำนางรอง มูลบน และลำแซะ
รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางด้านล่าง และที่ : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
                                                                                                                                                                                                      หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
เขื่อน
ความจุอ่าง
ระดับกักเก็บปกติ
ความจุอ่าง ระดับกักเก็บสูงสุด
น้ำกักเก็บสูงสุด
ช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. 56
ไหลลงอ่างรายวันสูงสุด
สถานการณ์น้ำล้นเขื่อน
ลำปาว
1,980
2,450
1,085
(6-7 ต.ค.)
41.71 (15 ก.ย.)
ลำตะคอง
314
367
307
(31 ต.ค.) และเพิ่มขึ้นอีกในเดือน พ.ย.
21.65 (21 ก.ย.)
ลำพระเพลิง
110
242
132
(8 ต.ค.)
32.45 (21 ก.ย.)
ปริมาณน้ำเกินระดับกักเก็บปกติ
ช่วงเดือนตุลาคม
น้ำอูน
520
780
423
(3-6 ต.ค.)
8.77 (17 ก.ย.)
อุบลรัตน์
2,431
2,431
2,057
(30 ต.ค.)
79 (30 ก.ย.)
สิรินธร
1,966
1,966
1,873
(21 ก.ย.)
169.98 (19 ก.ย.)
จุฬาภรณ์
164
207
139
(31 ต.ค.) และเพิ่มขึ้นอีกในเดือน พ.ย.
8.67 (23 ก.ย.)
ห้วยหลวง
135
135
95
(31 ต.ค.) และเพิ่มขึ้นอีกในเดือน พ.ย.
2.62 (16 ก.ย.)
ลำนางรอง
121
197
132
(8-9 ต.ค.)
7.63 (5 ต.ค.)
ปริมาณน้ำเกินระดับกักเก็บปกติ
ช่วงเดือนตุลาคม
มูลบน
141
350
154
(21-25 ต.ค.)
10.16 (21 ก.ย.)
ปริมาณน้ำเกินระดับกักเก็บปกติ
ช่วงเดือนตุลาคม
น้ำพุง
166
166
79
(31 ต.ค. ) และเพิ่มขึ้นอีกในเดือน พ.ย.
2.75 (23 ก.ย.)
ลำแซะ
275
325
320
(19 ต.ค.)
18.32 (5 ต.ค.)
ปริมาณน้ำเกินระดับกักเก็บปกติ
ช่วงเดือนตุลาคม


ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำสะสมรายเดือน ปี 2556 พื้นที่ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
                                                                                   หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
เขื่อน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
ลำปาว     
127
301
464
134
ลำตะคอง     
13
25
97
147
ลำพระเพลิง     
7
9
82
102
น้ำอูน     
134
88
75
27
อุบลรัตน์     
242
241
914
898
สิรินธร     
333
462
1,043
316
จุฬาภรณ์     
9
11
55
36
ห้วยหลวง     
19
25
33
18
ลำนางรอง     
6
11
28
93
มูลบน     
8
12
36
88
น้ำพุง     
30
21
18
12
ลำแซะ     
26
37
88
141
รวม
952
1,242
2,933
2,011



จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างมาก
โดยเดือนกันยายนมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างมากที่สุด 2,933 ล้าน ลบ.ม. รองลงมาคือเดือนตุลาคม 2,011 ล้าน ลบ.ม. และหากพิจารณาเฉพาะเดือนกันยายนและตุลาคม
จะเห็นได้ว่าเขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมของเดือนตุลาคมมากว่าเดือนสิงหาคม ประกอบด้วยเขื่อนลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำนางรอง และลำแซะ ซึ่งอยู่ใน
เขตจังหวัดนครราชสีมาทั้งสิ้น สอดคล้องกับแผนภาพฝนสะสมรายเดือนทั้งของ NASA และของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่แสดงให้เห็นว่าเดือนตุลาคมปริมาณฝนในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือลดลงค่อนข้างมาก โดยมีฝนตกเฉพาะพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น




ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

รายงานการตรวจวัดระดับน้ำจากสถานีโทรมาตร พบว่าจากเหตุการณ์ฝนตกหนักช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในแม่น้ำมูล ชี และสงคราม รายละเอียดตามกราฟดังต่อไปนี้


  • สถานี CHI001-บ้านเขว้า
    ต. ภูแลนคา อ. บ้านเขว้า จ. ชัยภูมิ

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 22 ก.ย. 56 ถึง 5 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 211.50 ม.รทก. วันที่ 25 ก.ย. 56


    สถานี CHI002-หนองบัวระเหว
    ต. หนองบัวระเหว อ. หนองบัวระเหว จ. ชัยภูมิ

    เกิดน้ำล้นตลิ่งวันที่ 30 ก.ย. 56 และลดลงในวันเดียวกัน
    เกิดน้ำล้นตลิ่งธรรมชาติช่วงวันที่ 22 ก.ย. 56 ถึง 8 ต.ค. 56 และช่วงวันที่19-21 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 198.03 วันที่ 30 ก.ย. 56


    สถานี CHI003-เมืองชัยภูมิ
    ต. บ้านค่าย อ. เมืองชัยภูมิ จ. ชัยภูมิ

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 26 ก.ย. 56 ถึง 12 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 184.69 ม.รทก. วันที่ 2 ต.ค. 56
    สถานี CHI0006-บ้านแฮด
    ต. บ้านแฮด อ. กิ่งอำเภอบ้านแฮด จ. ขอนแก่น

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 12 ต.ค. 56 ถึง 2 พ.ย. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 154.00 ม.รทก. วันที่ 19 ต.ค. 56

    สถานี CHI011-เขื่องใน
    ต. เขื่องใน อ. เขื่องใน จ. อุบลราชธานี

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 28 ก.ย. 56 ถึง 20 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 117.15 ม.รทก. วันที่ 7 ต.ค. 56

    สถานี MUN001-โชคชัย
    ต. ทุ่งอรุณ อ. โชคชัย จ. นครราชสีมา

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 18 ต.ค. 56 ถึง 1 พ.ย. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 187.08 ม.รทก. วันที่ 23 ต.ค. 56

    สถานี MUN002-เฉลิมพระเกียรติ
    ต. หนองยาง อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. นครราชสีมา

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 27 ก.ย. 56 ถึง 4 พ.ย. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 169.23 ม.รทก. วันที่ 24 ต.ค. 56

    สถานี MUN003-ชุมพวง
    ต. ท่าลาด อ. ชุมพวง จ. นครราชสีมา

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 20 ก.ย. 56 ถึง 19 พ.ย. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 148.96 ม.รทก. วันที่ 1 ต.ค. 56

    สถานี MUN008-คูเมือง
    ต. ปะเคียบ อ. คูเมือง จ. บุรีรัมย์

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 24 ก.ย. 56 ถึง 5 ธ.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 110.78 ม.รทก. วันที่ 31 ต.ค. 56

    สถานี MUN009-เมืองสุรินทร์
    ต. ตระแสง อ. เมืองสุรินทร์ จ. สุรินทร์

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 20 ก.ย. 56 ถึง 2 พ.ย. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 138.97 ม.รทก. วันที่ 24 ก.ย. 56

    สถานี MUN012-ประโคนชัย
    ต. ไพศาล อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 20 ก.ย. 56 ถึง 24 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 150.77 ม.รทก. วันที่ 22 ก.ย. 56

    สถานี MUN013-ห้วยทับทัน
    ต. ห้วยทับทัน อ. ห้วยทับทัน จ. ศรีสะเกษ

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 21 ก.ย. 56 ถึง 6 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 130.20 ม.รทก. วันที่ 23 ก.ย. 56

    สถานี MUN016- ป่าติ้ว
    ต. เชียงเพ็ง อ. ป่าติ้ว จ. ยโสธร

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 19 ก.ย. 56 ถึง 1 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 105.15 ม.รทก. วันที่ 24 ก.ย. 56

    สถานี MUN017-เมืองอุบลราชธานี
    ต. หัวดอน อ. เขื่องใน จ. อุบลราชธานี

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 28 ก.ย. 56 ถึง 10 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 115.74 ม.รทก. วันที่ 3 ต.ค. 56

    สถานี SKM003-บ้านม่วง
    ต. ห้วยหลัว อ. บ้านม่วง จ. สกลนคร
    เกิดน้ำล้นตลิ่งธรรมชาติตั้งแต่ 14 ก.ค. 56 ถึง 5 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 153.06 ม.รทก. วันที่ 21 ก.ย. 56

    รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php

    แผนที่น้ำท่วมรายเดือนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)

    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 และ RADARSAT-2
    เปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายเดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ปี 2554 และ 2556 พบว่า
    ในปี 2556 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้ำท่วมน้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก และหากพิจารณา
    เฉพาะปี 2556 พบว่ามีน้ำท่วมในเดือนสิงหาคมไม่ถึงหนึ่งล้านไร่ แต่ได้เพิ่มเป็นเกือบสองล้านไร่ในเดือน
    กันยายน และเพิ่มอย่างต่อเนื่องเป็นเกือบสามล้านไร่ในเดือนตุลาคม รายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางด้านล่าง
    จังหวัด
    สิงหาคม
    กันยายน
    ตุลาคม
    ปี 2554
    ปี 2556
    ปี 2554
    ปี 2556
    ปี 2554
    ปี 2556
    นครราชสีมา
    0
    0
    358,693
    208,399
    315,379
    435,401
    บุรีรัมย์
    0
    0
    65,993
    136,718
    113,954
    202,766
    สุรินทร์
    2,195
    0
    140,359
    291,276
    202,145
    741,386
    ศรีสะเกษ
    1,104
    0
    305,495
    347,070
    177,160
    258,799
    อุบลราชธานี
    41,204
    0
    382,827
    272,156
    179,397
    80,814
    ยโสธร
    183,224
    955
    236,319
    113,999
    135,381
    119,599
    ชัยภูมิ
    0
    0
    286,835
    158,270
    240,281
    83,694
    อำนาจเจริญ
    71,155
    0
    60,123
    44,440
    6,128
    144,720
    หนองบัวลำภู
    14,630
    0
    19,978
    28
    9,140
    39,490
    ขอนแก่น
    0
    0
    149,025
    16,867
    309,168
    43,292
    อุดรธานี
    373,247
    66,635
    210,449
    33,302
    115,707
    5,600
    เลย
    0
    0
    0
    0
    771
    0
    หนองคาย
    225,419
    109,799
    218,252
    41,016
    107,872
    89,323
    มหาสารคาม
    920
    0
    120,303
    1,509
    188,803
    152,970
    ร้อยเอ็ด
    220,175
    7,349
    688,344
    97,680
    471,233
    234,124
    กาฬสินธุ์
    81,169
    0
    96,118
    1,060
    137,863
    62,414
    สกลนคร
    383,477
    195,344
    262,595
    65,926
    220,243
    112,797
    นครพนม
    478,505
    177,919
    425,297
    83,042
    290,539
    45,484
    มุกดาหาร
    76,261
    0
    0
    702
    0
    0
    บึงกาฬ
    343,766
    174,853
    193,821
    53,177
    119,739
    125,163
    รวม
    2,496,451
    732,855
    4,220,826
    1,966,637
    3,340,905
    2,977,836



    สิงหาคม 2554
    พื้นที่น้ำท่วม 2,496,451 ไร่

    สิงหาคม 2556
    พื้นที่น้ำท่วม 732,855 ไร่

    กันยายน 2554
    พื้นที่น้ำท่วม 4,220,826 ไร่

    กันยายน 2556
    พื้นที่น้ำท่วม 1,966,637 ไร่

    ตุลาคม 2554
    พื้นที่น้ำท่วม 3,340,905 ไร่

    ตุลาคม 2556
    พื้นที่น้ำท่วม 2,977,836 ไร่



    ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม
    โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1
    บันทึกภาพวันที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 05.57 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ และศรีสะเกษ

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 05.51 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อ้านาจเจริญ และยโสธร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 18.17 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี ชัยภูมิ และสระแก้ว

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 21 กันยายน 2556 เวลา 06.09 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ สกลนคร บึงกาฬ ร้อยเอ็ด อุดรธานี ยโสธร หนองคาย นครพนม อ้านาจเจริญ และบุรีรัมย์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2
    บันทึกภาพวันที่ 22 กันยายน 2556 เวลา 06.03 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครพนม สกลนคร อ้านาจเจริญ บึงกาฬ และร้อยเอ็ด

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 23 กันยายน 2556 เวลา 05.46 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อ้านาจเจริญ และมุกดาหาร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 26 กันยายน 2556 เวลา 06.03 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อ้านาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร
    บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 18.14 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ นครราชสีมาสุรินทร์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ยโสธร สกลนคร
    บึงกาฬ อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น อ้านาจเจริญ อุบลราชธานี นครพนม และหนองบัวล้าภู

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1
    บันทึกภาพวันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 06.03 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร หนองคาย บุรีรัมย์ อุบลราชธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ นครพนม อ้านาจเจริญ และขอนแก่น

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 05.38 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครนายก
    นครราชสีมา ชลบุรี สระแก้ว ลพบุรี และสระบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 3 ตุลาคม 2556 เวลา 05.54 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์
    นครพนม สกลนคร อ้านาจเจริญ บึงกาฬ อุดรธานี ชัยภูมิ หนองคาย ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 4 ตุลาคม 2556 เวลา 18.10 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครพนม อ้านาจเจริญ สกลนคร และบึงกาฬ

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1
    บันทึกภาพวันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลา 06.07 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ชัยภูมิ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา นครนายก ขอนแก่น สระแก้ว อุดรธานี หนองคาย และบุรีรัมย์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 6 ตุลาคม 2556 เวลา 17.51 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร อ้านาจเจริญ สุรินทร์ ศรีษะเกส และอุบลราชธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 7 ตุลาคม 2556 เวลา 18.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี พิจิตร ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก สุโขทัย นครนายก ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครราชสีมา อ่างทอง ชัยนาท นครปฐม สระบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กรุงเทพมหานคร สระแก้ว นนทบุรี บุรีรัมย์ อุตรดิตถ์ ก้าแพงเพชร ระยอง อุทัยธานี และจันทบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 8 ตุลาคม 2556 เวลา 18.27 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดกรุงเทพมหานคร ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ นครนายก นครราชสีมา ปทุมธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว และสระบุรี

    [ รายละเ้อียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1
    บันทึกภาพวันที่ 11 ตุลาคม 2556 เวลา 18.10 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด และอ้านาจเจริญ

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 18.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

    [ รายละเอียดเพิ่มเ้ติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 06.03 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยภูมิ นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สระแก้ว สุรินทร์ และอุบลราชธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 14 ตุลาคม 2556 เวลา 18.17 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ ชลบุรี สุรินทร์ สระบุรี ปทุมธานี และสระแก้ว

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 20 ตุลาคม 2556 เวลา 06.00 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครพนม สกลนคร บึงกาฬ
    ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองบัวล้าภู

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 21 ตุลาคม 2556 เวลา 18.31น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สกลนคร บึงกาฬ ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย มหาสารคาม ศรีสะเกษ ยโสธรและอุบลราชธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-3
    บันทึกภาพวันที่ 26 ตุลาคม 2556 เวลา 18.22 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และสุรินทร์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 27 ตุลาคม 2556 เวลา 05.55 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ชัยภูมิ และร้อยเอ็ด

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 28 ตุลาคม 2556 เวลา 18.09 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 30 ตุลาคม 2556 เวลา 06.09 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก สุพรรณบุรี นครราชสีมา ลพบุรี อ่างทอง นครปฐม ขอนแก่น สระบุรี บุรีรัมย์ ชลบุรี ปทุมธานี ชัยภูมิ สิงห์บุรี กรุงเทพมหานคร สุรินทร์ นนทบุรี สมุทรปราการ นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
       



    ข้อมูลด้านความเสียหาย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    สรุปสถานการณ์อุทกภัย วันที่ 30 กันยายน 2556

    จากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ  เคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังระบายไม่ทัน และน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 มีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ประสบภัย รวมทั้งสิ้น 32 จังหวัด 233 อำเภอ 1,384 ตำบล 11,033 หมู่บ้าน 809,646 ครัวเรือน 2,789,398 คน
  • ผู้เสียชีวิต รวม 22 ราย(จ.สุรินทร์ 9 ราย/จ.ศรีสะเกษ 6 ราย/จ.นครนายก 2 ราย/จ.ยโสธร 2 ราย/จ.ปราจีนบุรี 2 ราย /จ.สระแก้ว 1 ราย)
  • ยังคงมีสถานการณ์ 25 จังหวัด 224 อำเภอ 1,321 ตำบล 10,704 หมู่บ้าน 793,208 ครัวเรือน 2,734,925 คน อพยพ 4,416 ครัวเรือน 15,254 คน (จ.อุบลฯ/จ.ศรีสะเกษ)
  • คลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พะเยา และแม่ฮ่องสอน

  • พื้นที่ประสบภัยทั้งหมด แยกเป็นลักษณะการเกิดอุทกภัยจาก 2 กรณี ดังนี้

    อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำระบายไม่ทัน จำนวน 28 จังหวัด 212 อำเภอ ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ภาคเหนือ 6 จังหวัด ภาคกลาง 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด
    คลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด 9 อำเภอ ประกอบด้วย กาญจนบุรี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ กาฬสินธ์ นครราชสีมา พะเยา และแม่ฮ่องสอน ยังคงมีสถานการณ์ 21 จังหวัด 203 อำเภอ ดังนี้

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด
    1) จังหวัดสุรินทร์ พื้นที่ประสบภัย 17 อำเภอ (เมือง สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ เขวาสินรินทร์ ศีขรภูมิ  ท่าตูม รัตนบุรี สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์ ชุมพลบุรี พนมดงรัก) 137 ตำบล 1,454 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 9 ราย (อ.ปราสาท 3 ราย/อ.สังขะ 3 ราย/อ.ศรีณรงค์ 1 ราย/อ.ห้วยทับทัน 1 ราย/อ.กาบเชิง 1 ราย) ประชาชนได้รับผลกระทบ 250,989 ครัวเรือน 771,729 คน บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 3,137 หลังคาเรือน ถนน 448 สาย สะพาน 55 แห่ง วัด 11 แห่ง โรงเรียน 83 แห่ง สถานที่ราชการ 25 แห่ง คันดิน 74 แห่ง ท่อระบายน้ำ 97 แห่ง และพื้นที่การเกษตร 493,443 ไร่ บ่อปลา-กุ้ง 200 แห่ง ปศุสัตว์ (เป็ด/ไก่/หมู/วัว/) 856,964 ตัว บ่อน้ำ 604 บ่อ ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 4 อำเภอ (ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี โนนนารายณ์) ปัจจุบันระดับเพิ่มสูงขึ้น
    2) จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ประสบภัย 22 อำเภอ (ขุนหาญ ภูสิงห์ ปรางค์กู่ อุทุมพรพิสัย วังหิน ไพรบึง ห้วยทับทัน โนนคูณ ขุขันธ์ เบญจลักษ์ ศรีรัตนะ พยุห์ เมือง น้ำเกลี้ยง ราษีไศล โพธิ์ศรีสุวรรณ เมืองจันทร์ กันทรลักษ์ ศิลาลาด ยางชุมน้อย กันทรารมย์ บึงบูรพ์) 162 ตำบล 1,584 หมู่บ้าน 15 ชุมชน มีผู้เสียชีวิต 6 ราย (อ.ไพรบึง 2 ราย/อ.ขุขันธ์ 1 ราย/อ.พยุห์ 1 ราย/อ.อุทุมพรพิสัย 1 ราย/อ.ห้วยทับทัน 1 ราย) ประชาชนได้รับผลกระทบ 107,589 ครัวเรือน 515,346 คน  อพยพ 1,784 ครัวเรือน 5,634 คน บ้านพักอาศัย 196 หลัง ถนน 510 สาย สะพาน 15 แห่ง ทำนบ 23 แห่ง  ท่อระบายน้ำ 210 แห่ง วัด 16 แห่ง โรงเรียน 7 แห่ง สถานที่ราชการ 12 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง และพื้นที่การเกษตร 572,696 ไร่ บ่อปลา 510 บ่อ คอกสัตว์ 4 แห่ง  ปัจจุบันระดับน้ำลดลงได้ช้า เนืองจากระดับน้ำในแม่น้ำมูลสูง
    3) จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ประสบภัย 23 อำเภอ (เมือง ดอนมดแดง ตระการพืชผล สำโรง น้ำยืน ตาลสุม บุณฑริก สิรินธร พิบูลมังสาหาร เดชอุดม ศรีเมืองใหม่ นาเยีย วารินชำราบ นาจะหลวย เหล่าเสือโก้ก โขงเจียม สว่างวีระวงศ์ ม่วงสามสิบ เขื่องใน โพธิ์ไทร นาตาล ทุ่งศรีอุดม น้ำขุ่น) 114 ตำบล 3 เทศบาล 1,131 หมู่บ้าน/ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92,243 ครัวเรือน 402,810 คน ประชาชนอพยพ 2,632 ครัวเรือน 9,820 คน ถนน 109 สาย สะพาน 17 แห่ง  ท่อระบายน้ำ 12 แห่ง วัด 6 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง พื้นที่การเกษตร 281,390 ไร่ บ่อปลา 2,049 บ่อ มวลน้ำจาก จ.ศรีสะเกษ ไหลลงสู่แม่น้ำมูล ส่งผลให้ระดับน้ำที่ อ.วารินชำราบ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    4) จังหวัดอำนาจเจริญ พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ (เมือง ชานุมาน พนา เสนางคนิคม ลืออำนาจ หัวตะพาน) 1 เทศบาล 28 ตำบล 213 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,269 ครัวเรือน ถนน 65 สาย สะพาน 5 แห่ง พนังกั้นน้ำ 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร ประมาณ 37,947 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ (พนา ลืออำนาจ หัวตะพาน) ระดับน้ำทรงตัว
    จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ประสบภัย 12 อำเภอ (เฉลิมพระเกียรติ ปะคำ บ้านกรวด ละหานทราย โนนดินแดง ประโคนชัย พลับพลาชัย กระสัง นางรอง หนองกี่ ชำนิ สตึก) 65 ตำบล 618 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,454 ครัวเรือน 188,600 คน พื้นที่การเกษตร 61,305 ไร่ ถนน 77 สาย ฝาย 5 แห่ง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มอบสิ่งของ พระราชทาน จำนวน 1,250 ชุด ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ (กระสัง พลับพลาชัย นางรอง) ระดับน้ำลดลง
    จังหวัดยโสธร พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (เมือง ป่าติ้ว ไทยเจริญ คำเขื่อนแก้ว ทรายมูล เลิงนกทา มหาชนะชัย กุดชุม ค้อวัง) 66 ตำบล 468 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 40,314 ครัวเรือน 175,626 คน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.กุดชุม 2 ราย) ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรริมแม่น้ำชี ลำเซบาย และลำน้ำยัง ยังคงมีน้ำท่วมขัง อำเภอป่าติ้ว ปัจจุบันระดับทรงตัว
    จังหวัดชัยภูมิ น้ำจากแม่น้ำชีเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ (เกษตรสมบูรณ์ บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต หนองบัวระเหว คอนสาร ภักดีชุมพล บ้านเขว้า ภูเขียว บ้านแท่น จัตตุรัส ซับใหญ่ เมือง เนินสง่า) 75 ตำบล 730 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 61,249 ครัวเรือน 174,230 คน วัด/โรงเรียน 4 แห่ง ถนน 815 สาย ฝ่าย 48 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 15 แห่ง ท่อระบายน้ำ 8 แห่ง บ่อปลา 1,766 บ่อ พื้นที่การเกษตร 231,314 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น (รับน้ำจากที่อื่น)
    จังหวัดมุกดาหาร พื้นที่ประสบภัย 7 อำเภอ (ดงหลวง คำชะอี หนองสูง นิคมคำสร้อย หว้านใหญ่ เมือง ดอนตาล) 42 ตำบล 281 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 35,626 ครัวเรือน 106,678 คน ถนน 248 สาย สะพาน 5 แห่ง ท่อระบายน้ำ 8 แห่ง ฝาย 7 แห่ง ทำนบดิน 5 แห่ง พื้นที่การเกษตร 6,950 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ (เมือง นิคมคำสร้อย) ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

    ภาคเหนือ 6 จังหวัด

    1) จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (นครไทย วังทอง ชาติตระการ บางกระทุ่ม เมือง บางระกำ  เนินมะปราง วัดโบสถ์)  35 ตำบล 121 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,814 ครัวเรือน 6,272 คน ถนน 7 สาย สะพาน 2 แห่ง ฝาย 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง บ่อปลา 10 บ่อ พื้นที่การเกษตร 12,383 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร
    2) จังหวัดพิจิตร พื้นที่ประสบภัย 11 อำเภอ (ทับคล้อ ดงเจริญ เมือง สากเหล็ก บึงนาราง วังทรายพูน สามง่าม ตะพานหิน วชิรบารมี โพธิ์ประทับช้าง บางมูลนาก) 39 ตำบล 290 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,111 ครัวเรือน 23,826 คน โรงเรียน 12 แห่ง วัด 2 แห่ง พื้นที่การเกษตร 19,166 ไร่ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
    3) จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (เมือง ไทรงาม ทรายทองวัฒนา) 17 ตำบล 89 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,060 ครัวเรือน 24,973 คน พื้นที่เกษตร 4,045 ไร่ บ่อปลา 65 บ่อ ถนน 32 สาย ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่
    4) จังหวัดเพชรบูรณ์ พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ (วังโป่ง ชนแดน หนองไผ่ วิเชียรบุรี ศรีเทพ เมือง) 32 ตำบล 186 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,347 ครัวเรือน 3,810 คน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมและเพิ่มสูงขึ้น
    5) จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ประสบภัย 12 อำเภอ (ลาดยาว แม่เปิน แม่วงก์ หนองบัว โกรกพระ พยุหคีรี ไพศาลี ท่าตะโก ชุมตาบง เมือง ตาคลี บรรพตพิสัย) 43 ตำบล 303 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,665 ครัวเรือน 58,269 คน พื้นที่ทางการเกษตร 74,758 ไร่ บ่อปลา/กบ17 บ่อ ท่อระบายน้ำ 31 แห่ง คอสะพาน 5 แห่ง ฝาย 3 แห่ง คันคลอง /คันเหมือง 27 จุด ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 5 อำเภอ (บรรพตพิสัย เมือง พยุหคีรี โกรกพระลาดยาว) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
    6) จังหวัดอุทัยธานี พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (เมือง สว่างอารมณ์ หนองขาหย่าง ทัพทัน หนองฉาง ลานสัก ห้วยคต บ้านไร่) 64 ตำบล 435 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,514 ครัวเรือน 32,372 คน บ้านพักอาศัย 1,607 หลัง พื้นที่ทางการเกษตร 11,793 ไร่ ถนน 205 สาย โรงเรียน 1 แห่ง ยุ้งข้าว 10 หลัง วัด 2 แห่ง ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 1 อำเภอ (ทัพทัน) ระดับน้ำลดลง

    ภาคกลาง 3 จังหวัด
    1) จังหวัดสระบุรี พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 9 อำเภอ (เมือง แก่งคอย มวกเหล็ก เฉลิมพระเกียรติ วิหารแดง บ้านหมอ เสาไห้ หนองแซง หนองแค) 53 ตำบล 1 เขตเทศบาล 285 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,069 ครัวเรือน 20,963 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
    2) จังหวัดลพบุรี พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (เมือง ชัยบาดาล โคกสำโรง สระโบสถ์ ท่าหลวง หนองม่วง โคกเจริญ ลำสนธิ บ้านหมี่) 56 ตำบล 439 หมู่บ้าน 19 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,976 ครัวเรือน 78,151 คน      ยานพาหนะ 12 คัน ปศุสัตว์ 935 ตัว พื้นที่การเกษตร 76,596 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 568 บ่อ ถนน 306 สาย สะพาน 21 แห่ง      วัด 18 แห่ง โรงเรียน 16 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง ทำนบ 13 แห่ง ยังคงมีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ (บ้านหมี่ และโคกสำโรง) ระดับน้ำทรงตัว
                       *** เมื่อวันที่ 29 ก.ย.56 ปริมาณน้ำอ่างป่าสักชลสิทธิ์ 801 ล้าน ลบ.ม. (102%)  เกินความจุของอ่างฯ
    3) จังหวัดชัยนาท พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (วัดสิงห์ หันคา หนองมะโมง เนินขาม) 19 ตำบล 192 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,620 ครัวเรือน 37,812 คน บ้านเรือนเสียหาย 399 หลัง พื้นที่ทางการเกษตร 24,742 ไร่ ถนน 231 สาย บ่อปลา 20 บ่อ ปศุสัตว์ 120 ตัว ฝาย/คลองระบายน้ำ 4 แห่ง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

    ภาคตะวันออก 4 จังหวัด
    1) จังหวัดนครนายก พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (บ้านนา เมือง ปากพลี องครักษ์) 34 ตำบล 3 เทศบาลตำบล 267 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15,295 ครัวเรือน 41,907 คน พื้นที่การเกษตร 58,237 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.องค์รักษ์ 2 ราย) วัด 5 แห่ง โรงเรียน 8 แห่ง ถนน 376 สาย สะพาน 7 แห่ง วัด 2 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 6 ท่อ บ่อปลา 170 บ่อ พื้นที่การเกษตร 20,696 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
                       ***เมื่อวันที่ 29 ก.ย.56 ปริมาณน้ำในอ่างขุนด่านปราการชล 210 ล้าน ลบ.ม. (94%) รับได้อีก 14 ล้าน ลบ.ม.
    2) จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 2 อำเภอ (พนมสารคาม บ้านโพธิ์) 7 ตำบล 43 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,545 ครัวเรือน 4,635 คน พื้นที่การเกษตร 1,560 ไร่ บ่อปลา 3 ไร่ ถนน 2 สาย สถานการณ์ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    3) จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่ประสบภัย 7 อำเภอ (กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ์ เมือง นาดี ประจันตคาม บ้านสร้าง ศรีมโหสถ) 58 ตำบล 503 หมู่บ้าน 3 เทศบาลตำบล 37 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,775 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 102,786 ไร่ บ่อปลา 784 ไร่ สัตว์เลี้ยง 77,979 ตัว  ถนน 445 สาย สะพาน 6 แห่ง วัด 51 แห่ง โรงเรียน 57 แห่ง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.บ้านสร้าง 1 ราย /อ.ศรีมหาโพธิ 1 ราย) ยังคงมีน้ำท่วม 2 อำเภอ (น้ำจาก อ.กบินทร์บุรี และ อ.ศรีมหาโพธิ) ปัจจุบันระดับน้ำอ.กบินทร์บุรี และอ.ศรีมหาโพธิ มีแนวโน้มลดลง มวลน้ำไหลเข้าสู่ อ.ประจันตคาม
    4) จังหวัดสระแก้ว พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (วัฒนานคร โคกสูง ตาพระยา วังน้ำเย็น เมือง  เขาฉกรรจ์ อรัญประเทศ คลองหาด วังสมบูรณ์) 56 ตำบล 478 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,934 ครัวเรือน โรงเรียน 8 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง ถนน 417 สาย สะพาน 7 แห่ง ฝาย 10 แห่ง วัด 3 แห่ง ท่อระบายน้ำ 10 แห่ง บ่อปลา 206 บ่อ พื้นที่การเกษตร 34,666 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (อ.ตาพระยา) น้ำไหลไปอำเภอกบินทร์บุรี ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
          
    อุทกภัยจากน้ำล้นตลิ่ง
    จำนวน 4 จังหวัด 21 อำเภอ
    1) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (เสนา บางบาล ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน ท่าเรือ นครหลวง) 96 ตำบล 2 เทศบาลเมือง 550 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,923 ครัวเรือน 83,410 คน พื้นที่การเกษตร 3,955 ไร่ สัตว์ปีก 400 ตัว ถนน 3 สาย สะพาน 7 แห่ง วัด 34 แห่ง โรงเรียน 27 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง จังหวัดยังไม่ได้ประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติแต่อย่างใด ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 6 อำเภอ (เสนา บางบาล ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน) ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    2) จังหวัดอ่างทอง พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (เมือง ป่าโมก โพธิ์ทอง) 27 ตำบล 128 หมู่บ้าน 1 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,204 ครัวเรือน 4,061 คน เกษตรกร 344 คน พื้นที่การเกษตร 2,835 ไร่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น       
    3) จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (เมือง อู่ทอง บางปลาม้า สองพี่น้อง) 26 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,283 ครัวเรือน 29,776 คน จังหวัดแจ้งเตือนให้ประชาชนริมแม่น้ำท่าจีนให้ขนของขึ้นที่สูง ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
    4) จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (อินทร์บุรี เมือง พรหมบุรี) 19 ตำบล 97 หมู่บ้าน 6 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 805 ครัวเรือน 2,761 คน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น

    สรุปสถานการณ์อุทกภัย ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2556

    จากรายงานการเกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังระบายไม่ทัน และน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2556 รายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ประสบภัย รวมทั้งสิ้น 47 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ราชบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี และจังหวัดนครปฐม รวม 360 อำเภอ 2,350 ตำบล 19,941 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,212,643 ครัวเรือน 4,088,516 คน
  • ผู้เสียชีวิต รวม 80 ราย ประกอบด้วย จังหวัดปราจีนบุรี 16 ราย สุรินทร์ 16 ราย ศรีสะเกษ 11 ราย ฉะเชิงเทรา 7 ราย ขอนแก่น 5 ราย นครราชสีมา 4 ราย ชัยภูมิ 4 ราย ยโสธร 4 ราย สระบุรี 3 ราย นครนายก 2 ราย สระแก้ว 2 ราย จันทบุรี 1 ราย นครสวรรค์ 1 ราย ลพบุรี 1 ราย อุบลราชธานี 1 ราย สมุทรปราการ 1 ราย และจังหวัดระยอง 1 ราย
  • ความเสียหาย พื้นที่การเกษตร 3,644,986 ไร่ ถนน 6,086 สาย สะพาน 299 แห่ง ท่อระบายน้ำ 521 แห่ง ฝาย/ทำนบ 565 แห่ง บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 47,811 หลัง โรงเรียน 342 แห่ง วัด 528 แห่ง สถานที่ราชการ 81 แห่ง บ่อปลา/กุ้ง 51,002 บ่อ ปศุสัตว์ 4,234,387 ตัว ฯลฯ
  • ยังคงมีสถานการณ์ ทั้งสิ้น 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา ศรีสะเกษ นครนายก สมุทรปราการ สุพรรณบุรี นครปฐม และจังหวัดลพบุรี รวม 48 อำเภอ 346 ตำบล 2,747 หมู่บ้าน 140,287 ครัวเรือน 438,165 คน โดยแยกเป็นจังหวัดที่มีสถานการณ์รุนแรง 1 จังหวัด ปานกลาง 3 จังหวัด และเล็กน้อย 8 จังหวัด ดังนี้



    ที่

    จังหวัด

    จำนวนพื้นที่ประสบภัย

    จำนวนผู้ประสบภัย

    พื้นที่การเกษตร

    แนวโน้มสถานการณ์

    อำเภอ

    ตำบล

    หมู่บ้าน

    ครัวเรือน

    คน

    อพยพ(คน)

    รุนแรง

    1

    ฉะเชิงเทรา

    5

    13

    105

    5,197

    15,591

    -

    12,870

    ระดับน้ำลดลง

    ปานกลาง

    2

    นครราชสีมา

    7

    37

    387

    4,314

    14,413

    -

    29,327

    ระดับน้ำลดลง

    3

    บุรีรัมย์

    7

    43

    361

    20,955

    80,316

    -

    129,599

    ระดับน้ำลดลง

    4

    ปราจีนบุรี

    6

    58

    543

    40,869

    102,119

    -

    218,649

    ระดับน้ำลดลง

    เล็กน้อย

    5

    อุบลราชธานี

    2

    24

    245

    1,379

    5,168

    4,336

    445,831

    ระดับน้ำลดลง

    6

    พระนครศรีอยุธยา

    6

    84

    535

    28,872

    96,344

    -

    3,955

    ระดับน้ำลดลง

    7

    ศรีสะเกษ

    5

    26

    187

    6,067

    20,277

    325

    572,695

    ระดับน้ำลดลง

    8

    นครนายก

    2

    10

    112

    5,132

    13,864

    -

    58,237

    ระดับน้ำลดลง

    9

    สมุทรปราการ

    1

    3

    25

    265

    1,070

    -

    788

    ระดับน้ำลดลง

    10

    สุพรรณบุรี

    4

    38

    206

    21,845

    75,640

    -

    570

    ระดับน้ำลดลง

    11

    นครปฐม

    2

    4

    4

    2,285

    4,760

    -

    75

    ระดับน้ำลดลง

    12

    ลพบุรี

    1

    6

    37

    3,107

    8,603

    -

    76,596

    ท่วม พท.การเกษตร

    รวม 12 จังหวัด

    48

    346

    2,747

    140,287

    438,165

    4,661

    1,603,345

     



    ข่าวจากหนังสือพิมพ์
    ------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำป่าภูหลวงไหลบ่าท่วมแล้วหลายหมู่บ้าน หวั่นดินโคลนถล่ม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 13 ก.ย. 56 ]
    เลย-ฝนตกติดต่อกันหลายวัน ทำน้ำป่าภูหลวงเอ่อไหลท่วมหลายหมู่บ้านในอำเภอวังสะพุง สูงกว่า 30 เซนติเมตร บ้านเรือน และไร่นาได้รับความเสียหายจมอยู่ในน้ำ ชาวบ้านต้องผลัดเวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. หวั่นเกิดเหตุดินโคลนถล่ม
           
           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพที่ฝนตกลงมาในพื้นที่ อ.ภูเรือ อ.ภูหลวง อ.วังสะพุง อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายวันที่ผ่านมา จนถึงเช้าวันนี้ (13 ก.ย.) ส่งผลทำให้น้ำป่าไหลหลากลงสู่น้ำฮวย ไหลเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎรในบ้านเล่า บ้านตากแดด เหล่าแปน หนองงิ้ว ในอำเภอวังสะพุง 10 หมู่บ้าน ชาวบ้านต้องผลัดเวรกันเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพราะวิตกจะเกิดเหตุดินโคลนถล่ม
           
           ล่าสุด เมื่อบ่ายวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา นายบุญเลิศ ลันทนา ปลัดอำเภอวังสะพุง ได้ลงพื้นที่และระบุถึงสภาพน้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะมีฝนตกหนักใน พื้นที่ตลอดทั้งคืน จนทำให้น้ำในแม่น้ำสายหลักโดยเฉพาะแม่น้ำฮวย ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ตำบลหนองงิ้ว และตำบลเขาหลวง ไหลหลากเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎร จนทำให้ถนนที่ใช้สัญจรในหมู่บ้าน และพื้นที่การเกษตรนาข้าวในพื้นที่หมู่บ้านถูกท่วมหมด
           
           โดยเฉพาะในตำบลหนองงิ้ว ได้แก่ บ้านน้ำจันทร์ หมู่ที่ 4 บ้านตากแดด หมู่ที่ 2 บ้านเล้า หมู่ที่ 3 บ้านหนองงิ้ว หมู่ที่ 1 บ้านกกบก หมู่ที่ 5 ตำบลเขาหลวง ได้แก่ บ้านนาซำแซง หมู่ที่ 5 บ้านแก่งหิน หมูที่ 4 บ้านโนนผาพุง หมู่ที่ 12 บ้านนาหนองบง หมู่ที่ 3 เบื้องต้นพบว่า มีราษฎรประสบความเดือดร้อนประมาณ 40-50 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ประมาณ 500 ไร่
           
           นายบุญเลิศ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ทางอำเภอ/อบต./อปพร. ได้ร่วมกันเร่งให้ความช่วยเหลือในการขนย้ายสิ่งของขึ้นสู่ที่สูงแล้ว โดยในตอนนี้น้ำได้ท่วมถนนสายนาซำแซง-สานตม บริเวณบ้านตากแดด หมู่ที่ 2 ต.หนองงิ้ว ต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังน้ำเหนือจากป่าภูหลวงเป็นพิเศษ วิตกกันว่าหากน้ำป่ายังไหลบ่าไม่หยุดอาจเกิดกรณีปัญหาดินโคลนถล่มอีกก็ได้



    ------------------------------------------------------------------------------------
    สุรินทร์อ่วม! น้ำท่วมหนักในรอบ 40 ปี [ เดลินิวส์ : 20 ก.ย. 56 ]

    เมื่อวันที่ 20 ก.ย.  ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สุรินทร์ หลังจากเกิดฝนหนักตลอดทั้งวันทั้งคืนที่ผ่านมา จากพิษ"พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ "  ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตรทั้ง 17 อำเภอของจังหวัดสุรินทร์ และหมู่บ้านในพื้นที่ลุ่มต่ำแล้วบางส่วน

    โดยเฉพาะที่บริเวณ 4 แยกเลี่ยงเมืองเทพธานี ต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์  ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่ประชาชนใช้สัญจรผ่านไปยังกรุงเทพฯและเดินทางผ่านไป ยัง จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี ถูกน้ำท่วมขังสูงกว่า 60-80 ซ.ม.รถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านได้  ขณะที่รถทัวร์โดยสารและรถยนต์ส่วนบุคคลของประชาชนต่างจอดชะงักติดยาวเหยียด เพื่อรอกลับรถเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นเนื่องจากไม่สามารถสัญจรผ่านเข้าไปยัง ตัวเมือง จ.สุรินทร์ได้ ขณะที่รถยนต์บางคันพยายามจะฝ่ากระแสน้ำแต่ต้องจอดตายอยู่กลาง 4 แยกก็มี

    ทั้งนี้น้ำท่วมตั้งแต่ 4 แยกเลี่ยงเมืองเทพธานี ไปจนถึงถนนในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ โดยเฉพาะบริเวณวิทยาลัยอาชีวะศึกษาสุรินทร์ โรงเรียนสิรินธร โรงพยาบาลสุรินทร์ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองและถนนรวมถึงชุมชนหลายชุมชนก็ถูกน้ำเข้าท่วมหนักอย่างไม่ เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 40 ปี

    อย่างไรก็ตามได้มีการประกาศปิดโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมือง สุรินทร์จนกว่าสถานการณ์จะกลับคืนสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้มีรายงานว่าหมู่บ้านในเขต ต.ตั้งใจ อ.เมือง ก็ถูกน้ำท่วม รวมถึงถนนและเส้นทางต่างๆในพื้นที่ ต.เมืองที อ.เมือง จ.สุรินทร์ ก็ถูกน้ำท่วมตัดขาดอีกด้วย

    -ขณะที่เมื่อเวลา เวลา 21.05 น.ของคืนที่ผ่านมา (19 ก.ย.) มีรายงานว่าน้ำจากเทือกเขาพนมดงรักชายแดนไทย-กัมพูชา กำลังไหลบ่าทะลักเข้ามาสมทบในพื้นที่ อ.สังขะ ทำให้ถนนหลายสายมีน้ำท่วมสูง 30 -50 ซ.ม.ขึ้นไป โดยเฉพาะที่บริเวณ 4 แยกป้อมตำรวจทางหลวง อ.สังขะ-4 แยกต้นตาลเขตเทศบาลตำบลสังขะ ที่มีน้ำท่วมถนนสูงกว่า 50 ซ.ม. ส่วนถนนสาย 24 โชคชัย-เดชอุดม ก่อนขึ้นเนิน ตชด.214 เป็นเส้นทางที่น้ำจากเทือกเขาพนมดงรักตัดผ่านมีความแรง ประชาชนผู้สัญจรต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษหวั่นเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

    ส่วนเส้นทางจากบ้านตาพราม-บ.อามุย ต.เทพรักษา อ.สังขะ น้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ มีรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อช่วงเช้ามืด ชาวบ้านพยายามขับขี่รถจักรยานยนต์ฝ่ากระแสน้ำบริเวณดังกล่าวแต่ถูกน้ำซัดรถ จักรยานยนต์หายไปพร้อมทั้งคนขับคนซ้อน แต่ทั้ง 2 คนสามารถว่ายน้ำขึ้นฝั่งรอดมาได้อย่างหวุดหวิดอีกด้วย นอกจากนี้ พบว่า มี 4 หมู่บ้านในตำบลพระแก้ว และหมู่บ้านตะเคียน ต.สังขะ อ.สังขะฯได้ถูกน้ำเอ่อเข้าท่วมบ้าน สูงกว่า 40 ซ.ม.แล้ว ชาวบ้านต่างเร่งเก็บสิ่งของไว้ที่สูง ส่วนถนนระหว่าง อ.สังขะ-อ.ศรีณรงค์-อ.ศรีขรภูมิ น้ำท่วมถนนสูงในหลายจุดระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร

    สำหรับ อ.ที่กำลังประสบอุทุกภัยในขณะนี้ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.สังขะ ศรีณรงค์ ศีขรภูมิ สำโรงทาบ รัตนบุรี และอ.จอมพระ ส่วน อ.ท่าตูม และอ.ชุมพลบุรี ปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลเริ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าภายใน 2-3 วันนี้ จะมีน้ำจาก จ.นครราชสีมา ไหลมาสมทบอีกระลอก อาจส่งผลกระทบให้นาข้าวและหมู่บ้านที่อยู่ติดแม่น้ำมูลถูกน้ำท่วมได้ ทั้งนี้หากฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดคาดว่าเมืองช้างจะประสบอุทกภัยอ่วมใน หลายพื้นที่ ซึ่งถือว่าหนักสุดในรอบ 40 ปี

    ------------------------------------------------------------------------------------

    สุรินทร์จมบาดาล น้ำไหลบ่าจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง [ ประชาไท : 21 ก.ย. 56 ]

    เมืองสุรินทร์จมบาดาล ชาวบ้านผวาน้ำท่วมซ้ำ น้ำไหลบ่าจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ท่วมหนัก บ้านเรือนประชาชน ถนนสายหลักสองสาย น้ำท่วมสูงการสัญจรลำบาก

    21 ก.ย. 56 - ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานว่า อิทธิพลพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวตอนล่างเข้า สู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ และภาคตะวันออกบริเวณจังหวัด สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราดมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 19-21 กันยายน 2556

    โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ มีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน ทำให้อ่างเก็บน้ำห้วยเสนงมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น120% แล้ว น้ำล้นสปิลเวย์ ท่วมถนน บ้านเรือนประชาชน โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ต้องประกาศหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวจน กว่าฝนจะหยุดตกและปริมาณน้ำที่ท่วมขังลดลงเบาบางก่อน

    ร้อยเอกณัฐชัย ม่านชเขต อายุ 44 ปี นายทหารยานยนตร์ จังหวัดทหารบกสุรินทร์ กล่าวว่า ตนได้รับหน้าที่ไปช่วยเหลือประชาชน หมู่บ้านทนง-หมู่บ้านซิตี้แสนด์ ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เข้าไปได้ประมาณ 800-900เมตร เพราะน้ำท่วมสูง เข้าไปช่วยยกรถที่น้ำท่วมขังของประชาชนออกมาด้านนอก และยังโดยสารประชาชนเข้า-ออกหมู่บ้านด้วย ยังมีประชาชนที่รอคอยความช่วยเหลืออีกมาก ตนได้รับหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 19 ที่ผ่านมา ส่วนวันนี้ก็ยังมีประชาชนต้องการความช่วยเหลืออยู่อีกมาก

    นายบุญเรือง เมฆอรุณ อายุ 61 ปี อยู่ซอย 1 บ้านซิตี้แสนด์ ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ กล่าวว่า ตนอยู่ซอย 1พื้นถนนจะสูงกว่าซอยถัดไประดับน้ำจึงต่ำกว่าเกือบศอก ตนอยู่หมู่บ้านนี้มาเกือบ 10 ปีแล้ว ยังไม่เคยเห็นน้ำท่วมขนาดนี้มาก่อน ตนก็ได้แต่นำกระสอบทรายมาปิดกั้นบ้านแล้ววิดน้ำออก ตนได้เอาเครื่องใช้ไฟฟ้ามาไว้บนที่สูงได้ทันเลยไม่เสียหาย

    ด้าน น.ส.ดารัน ปิติมังสาวงค์ อายุ 28 ปี ซอย 4 หมู่บ้านซิตี้แลนด์ ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ กล่าวว่า ตนอยู่บ้านหลังนี้มา 5 ปีแล้วไม่เคยเจอเหตุการณ์หนักขนาดนี้มาก่อน น้ำท่วมทะลักเข้ามาเร็วมาก ปกติท่วม 1 ขั้นบันได หรือประมาณเลยตาตุ่มนิดหน่อย ตามพยากรณ์แจ้งมาว่ามีฝนตก 2 วัน คือวันที่ 19 - 20 กันยายน ห้วยเสนงประกาศปล่อยน้ำประมาณตี 1 ของคืนวันที่ 20 ประมาณ 2 ชั่วโมงน้ำได้ทะลักเข้าท่วมบ้านตน มาแบบไม่ทันตั้งตัวเลย เก็บข้าวของไม่ทันเสียหายหนัก

    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าในอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง น้ำเอ่อล้นสปิลเวย์ช่วงเวลา 04.00 น. ของวันที่ 20 กันยายน และเวลา 00.00 น. วันที่ 21 ก.ย.56ได้ปล่อยน้ำระบายออกจากอ่าง เพื่อรองรับน้ำที่ยังไหลเข้าอ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในหลายพื้นที่เขตอำเภอเมืองสุรินทร์มีระดับน้ำท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะพื้นที่รับน้ำหมู่บ้านใกล้เคียงบริเวณโกลบอลเฮาส์หลายหมู่บ้าน กว่า 500 หลังคาเรือนกำลังได้รับความเดือดร้อนหนัก ลำรางห้วยเสนงทางระบายน้ำไม่ทันน้ำหนุนท่วมสูงทุกขณะ และหมู่บ้านทนง-หมู่บ้านซิตี้แสนด์ ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เข้าท่วมจมบ้านเรือน ร้านค้า รถยนต์ ถนนขาดหลายแห่งทำให้การเดินทางเข้า-ออกจากตัวเมืองสุรินทร์ เป็นไปได้ยาก ถนนบางสายเช่น ถนนสุรินทร์-ศีรขรภูมิ บริเวณ สี่แยกเทพธานีปิดการจารจรมา 2 วันแล้ว ถนนเลี่ยงเมืองสุรินทร์ สายบุรีรัมย์-ปราสาท ผ่านหน้าเรือนจำสุรินทร์ มีถนนขาดสัญจรไม่ได้ ประกอบกับฝนที่ตกมาอย่างต่อเนื่อง อบจ.สุรินทร์และเทศบาลเมืองสุรินทร์ เร่งประกาศหาอาสาสมัครช่วยกรอกกระสอบทรายและนำน้ำดื่มสะอาดข้าวกล่องนั่ง เรือท้องแบนและรถบรรทุกของทหารเข้าไปมอบให้ผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน พร้อมประกาศเตือนจุดเสี่ยงภัย ให้ย้ายออกไปพักอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวด่วนก่อนที่น้ำระลอกใหม่จะมาถึง ขณะที่น้ำท่วมในบางจุดระดับน้ำลดปริมาณลงบางแล้วใกล้กลับสู่ภาวะปกติโดย เฉพาะพื้นที่ที่ไม่ได้รองรับน้ำหลากจากการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง แต่ชาวบ้านยังผวาน้ำท่วมซ้ำอีกระลอก

    น้ำไหลบ่าจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ท่วมหนัก บ้านเรือนประชาชน ถนนสายหลักสองสาย น้ำท่วมสูงการสัญจร ลำบาก

    ตั้งแต่เช้าตรู่วันนี้ (21 ก.ย.) น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง รับน้ำจากเมือกเขาพนมดงรัก และฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อ่างเก็บน้ำ รับน้ำเกินความจุ น้ำได้ไหลสปิลเวย์ และลงสู่ บ้านเรือนประชาชน น้ำท่วมหมู่บ้านหนองเต่า บ้านละเอาะ ระดับน้ำท่วมสูง กว่า 2 เมตร ทหาร จทบ.สุรินทร์ อาสาสมัครกู้ภัยสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ปภ.จังหวัด เร่งอพยพชาวบ้านไปยังศูนย์ อพยพ จทบ.สุรินทร์ ขณะเดียวกัน น้ำท่วมถนนเข้าเมืองสุรินทร์ จากบายพาสหนองเต่า ระยะทางกว่า 2 กม.รถเล็กผ่านไม่ได้

    ส่วนที่ อ.ศีขรภูมิ อ.สังขะ ระดับน้ำยังท่วม สูง ท่วมบ้านเรือนประชาชน ได้รับความเดือดร้องอย่างหนัก ส่วนในเขตตัวเมืองเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ระดับน้ำเริมลดลง ใกล้สู่ภาวะปรกติ แต่มวลน้ำจำนวนมาก ยังท่วมหนัก ในเขตรอบนอกเมือง ทั้งตำบลสลักได ต.นอกเมือง ต.แกใหญ่ น้ำยังท่วมหนัก อ.ปราสาท น้ำจากเทือกเขาพนมดงรักไหลเข้าท่วม สี่หมู่บ้าน บ้านห้วยเสนง บ้านกวล บ้านหนองใหญ่ บ้านสวายสะพึง ต.หนองใหญ่ ประชาชนเดือดร้อนหนัก หลายฝ่ายเร่งช่วยเหลือ

    ล่าสุดเมื่อเวลา 11.30 น. (21 ก.ย.) เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองสุรินทร์ เข้าตรวจสอบเส้นทาง สาย 226 ช่วง หน้าสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ เอ็นบีที ถึง ด้านหน้า ร้านอาหาร อ.กุ้งเผา ระยะทาง 900 เมตร เส้นทางเข้าบุรีรัมย์ ไม่สามารถสัญจร ได้ น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ไหลบ่าเข้าท่วม ระดับน้ำท่วมสูง 30-50 เชนติเมตร ขณะนี้ รถเล็ก ผ่านไม่ได้ รถใหญ่ยังพอผ่านได้ คาดว่า บ่ายวันนี้ การสัญจรเส้นทางถูกตัดขาดแน่นอน เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองสุรินทร์ ได้ทำป้ายแนะนำเส้นทางไว้ หรือสอบถาม เส้นทางกับตำรวจภูธรเมืองสุรินทร์ 044-511007

    ขณะนี้ฝนยังตก เป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง และระดับล้นสปิลเวย์ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง สูงถึง 50 เชนติเมตร ยังไหลบ่าลง เข้าสู่พื้นที่ชุมชนบ้านเรือนประชาชน อย่างหนัก คาดว่าบ่ายวันนี้ น้ำจากเทือกเขาพนมดงรัก ไหลจาก อ.พนมดงรัก อ.กาบเชิง เข้าสู่อย่างเก็บน้ำห้วยเสนง มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ มีมวลน้ำจำนวนมาก เข้าสู่บ้านเรือนประชาชน

    ทั้งนี้ผู้ที่จะเดินทางเข้าสู่จังหวัดสุรินทร์ ให้ใช้เส้นทางสาย 24 สีคิ้ว-เดชอุดม และเข้าเส้นทาง อ.ลำดวน หรือ อ.สังขะ เข้าสู้จังหวัดสุรินทร์ได้



    ------------------------------------------------------------------------------------

    “สำโรงทาบ” สุรินทร์ท่วมหนัก บ้านเรือน รพ. ที่ว่าการอำเภอจม-รางรถไฟพัง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 ก.ย. 56 ]

    สุรินทร์ - มวลน้ำป่าเทือกเขาพนมดงรักมหาศาลไหลบ่าถึง อ.สำโรงทาบ สุรินทร์ ทะลักเข้าท่วมเขตเทศบาลสำโรงทาบ ทำให้โรงพยาบาล ที่ว่าการอำเภอ เทศบาลฯ และบ้าน ปชช.จมน้ำเป็นบริเวณกว้าง อีกทั้งกระแสน้ำพัดรางรถไฟเชื่อม จ.ศรีสเกษพังเป็นระยะทางยาวต้องหยุดเดินรถทุกขบวน ส่วนถนนสายหลักถูกน้ำท่วมตัดขาด
           
           วันนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สุรินทร์ว่า ล่าสุดมวลน้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา ไหลผ่านเขต อ.สังขะ อ.ศรีณรงค์ และมวลน้ำอีกจำนวนหนึ่งมาจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำลำพอก อ.ศีขรภูมิ นั้น ขณะนี้ได้ทะลักเข้าพื้นที่ อ.สำโรงทาบซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับ จ.ศรีสะเกษแล้ว ส่งผลให้พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลสำโรงทาบถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร (ซม.) พร้อมท่วมเส้นทางเข้าที่ว่าการอำเภอสำโรงทาบ, ที่ทำการเทศบาลตำบลสำโรงทาบ, โรงพยาบาลสำโรงทาบ และบ้านเรือนประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสำโรงทาบเป็นบริเวณกว้าง ขณะที่ฝนยังตกลงมาอย่างต่อเนื่อง
           
           ทางโรงพยาบาลสำโรงทาบได้จัดตั้งพื้นที่ด้านนอกโรงพยาบาล บริเวณทางเข้ากองช่างเทศบาลตำบลสำโรงทาบ เป็นสถานที่รับผู้ป่วยนอกเพื่อให้การตรวจรักษา และจ่ายยา ขณะที่เทศบาลตำบลสำโรงทาบ และอำเภอสำโรงทาบได้ตั้งหน่วยช่วยเหลือผู้ประสบภัย รับบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมตลอดทั้งวัน
           
           ขณะที่ตระเวนชายแดนที่ 21 (ตชด.21), ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์, กรมทหารราบเฉพาะกิจที่ 23 พัน.3 และจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ได้นำกำลังพล รถยนต์ เรือท้องแบน ไปให้บริการประชาชนในการเดินทางเข้าและออกหมู่บ้าน และรับส่งผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย เข้าไปยังโรงพยาบาลสำโรงทาบ
           
           ส่วนรางรถไฟจาก อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์-อ.หัวยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ระยะทาง 3 กิโลเมตร (กม.) ถูกน้ำท่วมสูง และน้ำไหลแรง พัดเอาก้อนหินหนุนรางรถไฟหลุดออกเป็นจำนวนมาก รถไฟไม่สามารถวิ่งได้ต้องหยุดรถในช่วงดังกล่าวทุกขบวน
           
           นายสมพันธ์ เอี่ยมสนธิ นายสถานีรถไฟสำโรงทาบ กล่าวว่า น้ำท่วมรางรถไฟสูงระดับ 1 ฟุตขึ้นไปเป็นระยะทาง 3 กม. ช่วงที่น้ำท่วมสูงระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 146/1-148/1 และหนักสุดประมาณ 1.5 กิโลเมตร กระแสน้ำพัดเอาหินหนุน หมอนรถไฟออกไปหมด ซึ่งขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยพยายามเร่งทำการกู้รางรถไฟด้วยการนำหินก้อน ใหญ่ไปเทในจุดที่น้ำท่วม ซึ่งได้ทำไปแล้วครั้งหนึ่งแต่น้ำไหลแรงพัดเอาหินไปหมด
           
           ขณะนี้วางแผนนำบิ๊กแบ็กไปปิดกั้นแทน ซึ่งล่าสุดได้นำรถบรรทุกหินรถอัดหินมารอแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าจะเข้าดำเนินการได้เมื่อไหร่เพราะกระแสน้ำไหลแรงมาก
           
           สำหรับขบวนรถไฟที่มาจากกรุงเทพฯ สามารถเดินรถมาถึงแค่สถานีรถไฟศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ เท่านั้น จากนั้นการรถไฟฯ ได้นำรถบัสมารับผู้โดยสารไปส่งต่อยังสถานีปลายทาง ซึ่งต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น เพราะถนนทางหลวงหมายเลข 226 ช่วงห้วยทับทัน เขตรอยต่อระหว่าง อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ กับ อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ถูกน้ำท่วมตัดขาดไม่สามารถเดินทางข้ามไปได้
           
           ทางด้าน นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ตามที่จังหวัดสุรินทร์ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556 ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 281 มิลลิเมตร ถือว่ามีปริมาณมากที่สุด จึงทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและน้ำหลาก ราษฎรได้รับความเดือดร้อนเป็นบริเวณกว้าง รวม 15 อำเภอ จาก 17 อำเภอนั้น
           
           ในขณะนี้ยังมีพื้นที่ที่มีสถานการณ์น่าเป็นห่วงและต้องเฝ้าระวัง อย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1. บริเวณท้ายอ่างห้วยเกาะแก้ว, อ่างเก็บน้ำลำพอก ได้แก่ อ.สำโรงทาบทั้งอำเภอ ระดับน้ำยังคงท่วมสูง โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว 2. อ.ศีขรภูมิ ระดับน้ำยังมีปริมาณมาก บางแห่งลดลงแล้ว และ 3. บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง โดยโครงการชลประทานจังหวัดสุรินทร์จำเป็นต้องระบายน้ำและยกบานประตูระบายน้ำ 3 เมตร ขณะนี้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงลดลงเฉลี่ยชั่วโมงละ 0.1 เมตร และยังล้นสปิลเวย์ 0.24 เมตร โดยน้ำจะไหลลงสู่ลำน้ำห้วยเสนง ลำน้ำชีน้อย และแม่น้ำมูลต่อไป
           
           ทั้งนี้ จังหวัดฯ ได้นำรถแบ็กโฮเปิดทางน้ำเพื่อให้น้ำระบายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 3 จุด ได้แก่ บริเวณเกาะกลางถนนบริเวณสี่แยกหนองเฒ่า บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์ และบริเวณลำน้ำห้วยเสนงด้านข้างบริษัทโกลบอลเฮ้าส์
           
           สำหรับจุดที่ยังมีน้ำท่วมสูงในเขต อ.เมืองสุรินทร์ ได้แก่บริเวณหมู่ 2 บ้านทำเนียบ, หมู่ 8 บ้านถนน, หมู่ 13 หนองเต่า, หมู่ 18 บ้านละเอาะ น้ำท่วมสูงเฉลี่ย 1-3.5 เมตร และระดับน้ำลดลงเล็กน้อย บริเวณถนนสายสุรินทร์-บุรีรัมย์ (เส้นลำชี) บริเวณหน้าสถานีโทรทัศน์ NBT สุรินทร์-ร้านอาหาร อ.กุ้งเผา ระยะทาง 300 เมตร รถไม่สามารถจราจรได้ แต่ส่วนพื้นที่อื่นของ ต.เฉนียง ระดับน้ำลดลง ต.คอโค พื้นที่โดยส่วนใหญ่ระดับน้ำยังมีปริมาณมาก บางแห่งลดลงเล็กน้อย ต.ท่าสว่าง บางส่วน ได้แก่ บ้านกะเพอสกวม หมู่ 17 บ้านอังกัญ หมู่ 6 บ้านโคกมะกะ หมู่ 19 บ้านระเภา หมู่ 12 และบ้านจะแกโกน หมู่ 15
           
           ที่ อ.ท่าตูม ได้แก่ หมู่ 4, 13, 14 ตำบลบะ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หมู่บ้านมีสภาพเป็นเกาะต้องใช้เรือสัญจรเข้าออก
           
           ส่วนพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำมากแต่มีแนวโน้มลดลงในขณะนี้ คือ อ.สังขะ อ.ศรีณรงค์ อ.ลำดวน และ อ.จอมพระ
           
           นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำลดลงแล้ว และกำลังเข้าสู่ภาวะปกติ ได้แก่ อ.ปราสาท อ.กาบเชิง อ.บัวเชด อ.สนม และในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ได้แก่ ชุมชนดองกระเม็ด ชุมชนหมอกวน สำหรับพื้นที่ที่อยู่ท้ายน้ำ ได้แก่ อ.รัตนบุรี อ.ชุมพลบุรี ขณะนี้สถานการณ์ยังปกติ แต่อย่างไรก็ตาม จังหวัดสุรินทร์ยังต้องมีการเฝ้าระวังน้ำที่ไหลหลากมาจากจังหวัดอื่นๆ เนื่องจากพื้นที่ลุ่มต่ำในบางอำเภอและในเขตลุ่มน้ำต่างๆ ด้วย




    --------------------------------------------------------------------------------------

    กำแพงกระสอบทรายป้องเมืองศรีสะเกษแตก!-น้ำทะลักท่วมหลายชุมชน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 ก.ย. 56 ]

    ศรีสะเกษ - กำแพงกระสอบทรายกว่า 2 แสนกระสอบป้องกันน้ำท่วมเมืองศรีสะเกษแตกแล้ว! ทำให้น้ำป่าจากลำห้วยสำราญไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน ปชช.เสียหายหลายชุมชน พากันขนย้ายข้าวของอพยพหนีน้ำท่วมโกลาหล เทศบาลฯ ตั้งศูนย์อพยพรองรับ ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษเผยทั้งจังหวัดมีน้ำท่วม 18 อำเภอ เดือดร้อนกว่า 3 แสนคน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย

           
           เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษล่าสุด มีหลายชุมชนถูกน้ำจากลำห้วยสำราญเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตรแล้ว เช่น ชุมชนโนนสวรรค์ ถูกน้ำท่วมถนนที่ใช้เข้าออกชุมชน ทำให้ประชาชนต้องอาศัยนั่งเรือในการเดินทางเข้าออกเท่านั้น ส่วนที่ชุมชนโนนสำนักถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1-2 เมตรเช่นกัน ขณะที่โรงเรียนบ้านโนนสำนัก ผู้บริหารต้องสั่งปิดโรงเรียนอย่างไม่มีกำหนด ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมต้องพากันขนของหนีน้ำกันอย่างโกลาหล ส่วนกองทรายจำนวนมากที่ทาง จ.ศรีสะเกษได้นำมากองไว้เพื่อกรอกใส่กระสอบทรายเตรียมรับมือน้ำท่วมนั้นไม่ สามารถกรอกทรายใส่กระสอบได้ทันเป็นจำนวนมาก
           
           ขณะที่กำแพงกระสอบทรายกว่า 2 แสนกระสอบที่ทาง จ.ศรีสะเกษได้นำมาตั้งเป็นกำแพงป้องกันน้ำจากห้วยสำราญไหลเข้าท่วมตัวเมือง ศรีสะเกษ ในช่วงระหว่างชุมชนโนนกลางทางไปมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปรากฏว่าขณะนี้กำแพงกระสอบทรายดังกล่าวได้ถูกน้ำเซาะจนแตกแล้ว ทำให้น้ำที่ถูกกั้นเอาไว้ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านในชุมชน โนนกลาง ชุมชนหนองอุทัย และถนนเส้นที่จะไปมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ รถยนต์เล็กไม่สามารถผ่านไปได้ นักศึกษาที่จะเดินทางไปเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษไม่สามารถผ่านเส้น ทางนี้ได้ ต้องเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่นแทน
           
           โดยเฉพาะที่ชุมชนโนนสำนัก ต.หญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ชาวบ้านต้องพากันขนย้ายข้าวของเพื่ออพยพหนีน้ำท่วมอย่างโกลาหล ขณะที่ประชาชนบางส่วนต้องไร้ที่อยู่อาศัย ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้เตรียมศูนย์อพยพชั่วคราวไว้ให้ประชาชนที่ได้รับผล กระทบในครั้งนี้แล้ว พร้อมทั้งได้เตรียมเรือท้องแบนไว้สำหรับขนย้ายสิ่งของ ทรัพย์สินมีค่าไว้ด้วย
           
           ขณะเดียวกัน ที่บริเวณชุมชนหนองอุทัย ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร นักศึกษาวิชาทหาร ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนชาว จ.ศรีสะเกษ ได้ช่วยกันนำเอากระสอบทรายไปซ่อมแซมจุดที่ได้รับความเสียหายเพื่อไม่ให้น้ำ ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนมากกว่าเดิม ซึ่งการทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากมีมวลน้ำไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก การปิดกั้นกระสอบทรายจึงไม่สามารถทำได้ง่าย
           
           ในเบื้องต้นประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมือง ศรีสะเกษ ทาง จ.ศรีสะเกษได้จัดสถานที่ในหอประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ให้เป็นสถานที่อพยพชั่วคราว ซึ่งในขณะนี้ได้มีประชาชนบางส่วนเดินทางมาจับจองพื้นที่ไว้แล้ว
           
           นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ระดับน้ำที่สะพานขาวที่ลำห้วยสำราญไหลผ่าน ระดับน้ำเมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (23 ก.ย.) อยู่ที่ 12.20 เมตร ล้นตลิ่งอยู่ 3.20 เมตร และระดับน้ำยังคงสูงขึ้น โดยคาดว่าปริมาณน้ำจะสูงสุดประมาณ 13 เมตร ถึง 13.50 เมตรในวันที่ 25-26 ก.ย.นี้
           
           ขณะนี้ จ.ศรีสะเกษมีพื้นที่ประสบอุทกภัยจำนวน 18 อำเภอ 108 ตำบล 1,006 หมู่บ้าน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจำนวน 75,438 ครัวเรือน 306,596 คน มีชาวบ้านเสียชีวิตแล้วจำนวน 3 ราย ส่วนบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ คือ อ.ขุนหาญ และ อ.ภูสิงห์ ระดับน้ำได้ลดระดับลงแล้ว โดยมวลน้ำในขณะนี้กำลังเข้าสู่พื้นที่ตอนกลางของจังหวัด ได้แก่ อ.ขุขันธ์ อ.วังหิน อ.ปรางค์กู่ และ อ.อุทุมพรพิสัย และได้ไหลเข้า อ.เมืองศรีสะเกษ เพื่อลงสู่แม่น้ำมูลที่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ต่อไป



    --------------------------------------------------------------------------------------
    อุบลฯอ่วม!น้ำขึ้นต่อเนื่อง ท่วมสะพานข้ามไปวารินชำราบ [ ไทยรัฐ : 28 ก.ย. 56 ]

    สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อุบลราชธานียังมีแนวโน้มสูงขึ้น ล่าสุด น้ำท่วมสะพานอุบลฯ-วารินชำราบ ขณะที่ 23 อำเภอประสบภัยพิบัติแล้ว โดยเฉพาะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำมูล…

    ผู้สื่อข่าว จ.อุบลราชธานี รายงานเมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 28 ก.ย.56 ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยที่สะพานเสรีประชาธิปไตย สะพานข้ามลำน้ำมูล กั้นกลางระหว่าง อ.เมืองอุบลราชธานี และ อ.วารินชำราบ ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้วัดได้ 8.71 เมตร สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.71 เมตร เพิ่มขึ้นจากวานนี้ (27 ก.ย.) 23 ซม.

    ทั้ง นี้ จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 23 อำเภอ 112 ตำบล 2 เทศบาล 1,130 หมู่บ้าน 91,357 ครัวเรือน 396,602 คน ราษฎรอพยพ จำนวน 1,161 ราย อำเภอที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี, ดอนมดแดง, ตระการพืชผล, สำโรง, น้ำยืน, ตาลสุม, บุณฑริก, สิรินธร, พิบูลมังสาหาร, เดชอุดม, ศรีเมืองใหม่, นาเยีย, วารินชำราบ, นาจะหลวย, เหล่าเสือโก๊ก ,สว่างวีระวงศ์, โขงเจียม, ม่วงสามสิบ, เขื่องใน, โพธิ์ไทร, นาตาล, ทุ่งศรีอุดม และน้ำขุ่น มีบ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,115 หลัง ถนน 81 สาย สะพาน 14 แห่ง วัด 6 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง พื้นที่การเกษตร คาดว่าจะเสียหาย 155,057 ไร่ บ่อปลา 2,049 บ่อ

    สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังริมฝั่งแม่ น้ำมูล โดยเฉพาะพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี มีชุมชนถูกน้ำท่วมแล้ว 12 ชุมชน มีบ้านถูกน้ำท่วม 1,398 ครอบครัว อพยพแล้ว 269 ครอบครัว ส่วนเทศบาลเมืองวารินชำราบ บ้านเรือนประชาชนถูกน้ำมูลไหลเอ่อเข้าท่วมแล้ว 14 ชุมชนประชาชนอพยพแล้ว 536 ครัวเรือน มาอยู่ ณ จุดอพยพที่ทางราชการจัดไว้ให้ที่ด้านหลังสำนักงานที่ดินอำเภอวารินชำราบ ท้ายบ่อบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองวารินชำราบ ด้านหลังตลาดแสนสบาย บริเวณวัดหาดสวนยา เชิงสะพานเสรีประชาธิปไตย บริเวณศาลากลางบ้านชุมชนวัดวาริน และถนนด้านหน้าประตูแดง มทบ.22 ซึ่งจุดอพยพบริเวณเชิงสะพานเสรีประชาธิปไตย เจ้าหน้าที่ต้องนำป้ายจราจรขนาดใหญ่มาแจ้งเตือนประชาชนที่สัญจรผ่านเส้นทาง ดังกล่าว เพื่อข้ามระหว่าง อ.วารินชำราบ กับ อ.เมืองอุบลราชธานี ให้ลดความเร็วและใช้ความระมัดระวังในการขับขี่เพราะเกรงจะเกิดอุบัติเหตุ

    ขณะ ที่บริเวณสะพานกุดปลาขาว อ.วารินชำราบ ซึ่งเป็นเส้นทางลัดอีกฝั่ง เพื่อข้ามไปสู่สะพานข้ามแม่น้ำมูลแห่งใหม่คือ สะพาน 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ เพื่อมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นถนนที่มีความลาดต่ำ ถูกน้ำจากลำน้ำมูลเอ่อล้นไหลเข้าท่วม ความสูง 30-50 ซม.รถเล็กไม่สามารถข้ามได้แล้ว เจ้าหน้าที่ได้นำป้ายมาปิดประกาศห้ามเข้าแล้ว แต่ก็ยังมีบางคันพยายามจะใช้เส้นทาง ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหายของเครื่องยนต์


    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำทะลักท่วม 2 หมู่บ้านบุรีรัมย์ซ้ำอีกระลอก ติดเกาะเป็นสัปดาห์ที่ 2-โรงเรียนปิดไร้กำหนด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 29 ก.ย. 56 ]
    บุรีรัมย์ - ฝนตกหนักสองวัน น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง จ.สุรินทร์ ล้นสปิลเวย์ รวมทั้งน้ำชีหนุนสูงต่อเนื่องทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วม 2 หมู่บ้าน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ซ้ำอีกระลอก หลังท่วมมานานกว่า 1 สัปดาห์เพิ่งลดระดับลงได้วันเดียว ทำให้ชาวบ้านต้องติดเกาะเป็นสัปดาห์ที่ 2 โรงเรียนปิดต่อไร้กำหนด คาดนาข้าว 1 หมื่นไร่จมน้ำนานเน่าตายเกลี้ยง
           
           วันนี้ (29 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังฝนตกหนักติดต่อกันสองวันที่ผ่านมาส่งผลให้น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง จ.สุรินทร์ มีปริมาณเกินระดับกักเก็บจนล้นสปิลเวย์ ประกอบกับน้ำชีที่มีปริมาณมากหนุนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน วัด โรงเรียน ถนน และนาข้าวของเกษตรกรบ้านสวายสอ และบ้านสวรรค์น้อย ต.ชุมแสง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ต้องจมอยู่ใต้น้ำอีกระลอก หลังเมื่อวานนี้ (28 ก.ย.) ระดับน้ำที่ท่วมขังทั้ง 2 หมู่บ้านมาเป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์เริ่มลดลงได้แค่เพียงวันเดียว ต้องกลับมาถูกน้ำท่วมซ้ำอีกรอบ
           
           โดยเพียงวันเดียวระดับน้ำท่วมสูงขึ้นกว่า 30 เซนติเมตร (ซม.) ทำให้ชาวบ้านต้องติดเกาะเป็นสัปดาห์ที่ 2 โดยเฉพาะนาข้าวในเขตพื้นที่ ต.ชุมแสงที่กำลังตั้งท้องเกือบ 10,000 ไร่ได้ถูกน้ำท่วมขังมาเป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว คาดว่าจะเน่าตายเสียหายทั้งหมด
           
           ด้าน นายเฉลิม บุญโก่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสวายสอ ไกรปัญญานุเคราะห์ ระบุว่า หลังน้ำได้ทะลักเข้าอาคารเรียน และรอบบริเวณโรงเรียนซ้ำอีกระลอก ทางโรงเรียนจำเป็นต้องประกาศปิดการเรียนการสอนออกไปอีกโดยไม่มีกำหนด จากที่ก่อนหน้านี้ได้ปิดเรียนไปแล้วเป็นเวลา 3 วัน
           
           อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบดังกล่าวได้รายงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ให้รับทราบแล้ว พร้อมจะได้หารือถึงแนวทางแก้ปัญหา หรือจัดหาสถานที่เรียนชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์น้ำจะลดลงเข้าสู่สภาวะปกติ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผลการเรียนของเด็กนักเรียน
           
           ทั้งนี้ จากสถานการณ์น้ำที่ท่วมขังในหลายพื้นที่ทำให้เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายต้องทำงาน กันอย่างหนักเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งการนำเรือไปให้บริการรับส่งในพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้รถสัญจรเข้า-ออก หมู่บ้านได้ รวมถึงการนำถุงยังชีพ น้ำดื่มเข้าไปแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง ด้วย



    --------------------------------------------------------------------------------------
    หมู่บ้านริมชีขอนแก่นเริ่มท่วม หลังน้ำไหลบ่าจากชัยภูมิ นาข้าวจมน้ำกว่า 6 พันไร่ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 ต.ค. 56 ]

    ศูนย์ข่าวขอนแก่น - แม่น้ำชีไหลบ่าจากชัยภูมิเข้าขอนแก่น ท่วมนาข้าวแวงน้อยกว่า 6 พันไร่ บ้านเรือนถูกน้ำท่วมสูง ต้องใช้เรือสัญจร
           
           วันนี้(8 ต.ค.)รายงานข่าวจากจ.ขอนแก่น แจ้งว่าขณะนี้น้ำเอ่อล้นตลิ่งแม่น้ำชี ทะลักเข้าท่วมหลายหมู่บ้านในต.ท่านางแนว อ.แวงน้อย โดยเฉพาะนาข้าวในที่ลุ่มริมฝั่ง และหนุนสูงเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ใกล้พื้นที่นาข้าว
           
           ขณะที่ถนนชัยภูมิ-อำเภอพล ถูกน้ำท่วมเป็นระยะ ตั้งแต่หน้าที่ทำการอบต.ท่านางแนว ถึงสะพานข้ามแม่น้ำชี โรงสูบน้ำของการประปาอ.พล ถูกน้ำท่วมบริเวณโดยรอบเช่นกัน
           
           นายกรณ์ มาตย์นอก นายอำเภอแวงน้อย กล่าวว่า น้ำจาก แม่น้ำชี ไหลบ่าเข้าเอ่อท่วมบ้านเรือนในที่ลุ่ม ที่บ้านท่านางแนว หมู่ 1 , 3 , 8 , 9 และ 10 ท่วมนาข้าวซึ่งกำลังใกล้ออกรวง บ่อปลา รวมพื้นที่ประสบภัยกว่า 6,000ไร่
           
           ทั้งนี้ บ้านโนนเขวา หมู่ 10 และ 1 ต.ท่านางแนว เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ถูกน้ำชีล้นตลิ่งเข้าท่วมสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านกว่า 30 ครัวเรือน ต้องใช้เรือในการเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้าน




    --------------------------------------------------------------------------------------
    ชาวชุมชนศรีสะเกษผวา “พายุนารี” ถล่มท่วมระลอก 2 ล่าสุดฝนตกต่อเนื่อง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 15 ต.ค. 56 ]
    ศรีสะเกษ - ชาวชุมชนเมืองศรีสะเกษผวาอิทธิพลพายุนารีถล่มซ้ำเติมทำน้ำท่วมระลอก 2 ขณะระดับน้ำท่วมปัจจุบันเริ่มลดลงแต่ยังไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่ในบ้านได้ ต้องปักหลักนอนริมถนนมานานร่วมเดือนแล้ว เผยล่าสุด พื้นที่ จ.ศรีสะเกษมีฝนตกต่อเนื่อง
           
           วันนี้ (15 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ได้มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในเขตพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ เนื่องจากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่นนารีที่กำลังพัดเข้าประเทศเวียดนามตอนกลาง และอ่อนกำลังลงเป็นความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่งผลให้ประชาชนชาวศรีสะเกษในหลายชุมชนเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษซึ่งกำลัง ประสบปัญหาน้ำท่วม และระดับน้ำเริ่มลดลง ต่างพากันหวั่นเกรงว่าจะเกิดน้ำท่วมสูงซ้ำเติมอีกเป็นระลอกที่ 2
           
           โดยระดับน้ำท่วมในชุมชนต่างๆ ขณะนี้ลดลงเฉลี่ยวันละประมาณ 10-15 เซนติเมตร (ซม.) แต่ประชาชนหลายครอบครัวยังไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเรือนได้ เนื่องจากน้ำยังท่วมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ชุมชนหนองหมู ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ น้ำยังคงท่วมบ้านเรือนของประชาชนร่วม 100 หลังคาเรือน ต้องพากันมาปักหลักอาศัยอยู่ริมถนน ซึ่งเป็นที่สูงใกล้ชุมชนเพื่อคอยดูแลบ้านเรือนของตัวเองที่ถูกน้ำท่วมดัง กล่าว
           
           นางสุภาภรณ์ บุตรมาตร์ อายุ 59 ปี อยู่บ้านเลขที่ 321/125 หมู่ 8 ชุมชนหนองหมู ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า การที่มีพายุนารีพัดเข้ามาอีก และทำให้มีฝนตกในช่วงนี้ ตนและชาวบ้านคนอื่นๆ ต่างพากันหวาดผวาว่าอาจทำให้น้ำท่วมสูงมากขึ้นอีก โดยขณะนี้ระดับน้ำได้เริ่มลดลงแล้ว แต่บ้านของตนซึ่งอยู่ติดกับลำห้วยสำราญน้ำยังคงท่วมสูงถึงหลังคาบ้าน หากฝนตกลงมาอีกจะทำให้ทรัพย์สินที่ยกขึ้นไปไว้ที่สูงภายในบ้านจะถูกน้ำท่วม เสียหายได้
           
           ทั้งนี้ ชุมชนหนองหมูถูกน้ำท่วมตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา รวมเป็นเวลามานานร่วม 1 เดือนแล้ว ซึ่งหลังจากน้ำท่วมลดลงอยากให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลช่วยเหลือ ในเรื่องค่าวัสดุอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านด้วย เพราะชาวบ้านในเขตชุมชนหนองหมูที่ถูกน้ำท่วมบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน ส่วนมากมีฐานะยากจน และต้องใช้เงินซ่อมแซมบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก



    --------------------------------------------------------------------------------------
    จังหวัดมุกดาหารเตือนภัยพายุไต้ฝุ่น นารี [ ผู้จัดการออนไลน์ : 16 ต.ค. 56 ]
    มุกดาหาร-รองผู้ว่าฯมุกดาหาร เตือนรับมือผลกระทบจากอิทธิพายุไต้ฝุ่นนารีผล ภาคอีสาน-ตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมแรง แนะผู้ที่จะเดินทางไปเมืองดานังประเทศเวียดนามตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทาง
           
           นายบุญยืน คำหงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า จังหวัดมุกดาหารได้รับแจ้งจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้ติดตามตรวจสอบ สถานการณ์และสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พายุไต้ฝุ่น “นารี” (NARI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 380 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 15.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
           
           กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 15-16 ตุลาคม2556 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลม แรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปเมืองดานังประเทศเวียดนาม ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย
           
           อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงอีกละรอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวัน ที่ 16 ตุลาคม 2556 ทำให้บริเวณ จังหวัดมุกดาหาร มีสภาพอากาศท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมกรรโชกแรง และฝนตกปรอย ๆ
           
           จังหวัดมุกดาหาร จึงขอแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดจากสภาพอากาศดังกล่าว



    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำล้นเขื่อนลำนางรองท่วม 3 หมู่บ้านบุรีรัมย์ ต้องอพยพ 70 ครัวเรือนรอบสอง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 ต.ค. 56 ]
    บุรีรัมย์ - น้ำยังล้นเขื่อนลำนางรอง อ.โนนดินแดง บุรีรัมย์ต่อเนื่อง หลังฝนตกอีกและน้ำป่าจากเทือกเขาไหลมาสมทบลงเขื่อนจนเกินระดับกักเก็บกว่า 9 ล้าน ลบ.ม.ส่งผลน้ำทะลักท่วม 3 หมู่บ้านสูงเกือบ 1 เมตร ต้องอพยพชาวบ้านกว่า 70 ครัวเรือนเป็นรอบที่สอง โอดต้องทิ้งบ้านและขาดรายได้กว่า 2 สัปดาห์วอนรัฐเยียวยา
           
           วันนี้ ( 23 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ล่าสุดยังคงมีน้ำล้นออกจากสปิลเวย์ สูงประมาณ 38 เซนติเมตร (ซม.) และยังเหลือน้ำที่เกินระดับกักเก็บอยู่อีกกว่า 9 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หลังมีฝนตกติดต่อกันหลายวันประกอบกับได้มีน้ำป่าจากเทือกเขาในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ไหลลงมาสมทบในพื้นที่เขื่อน ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและล้นออกสปิลเวย์ทะลักเข้าท่วมพื้นที่ 3 หมู่บ้านใน ต.ส้มป่อย ประกอบ บ้านส้มป่อย ม.2 บ้านโคกตะแบง ม.4 และบ้านโคกตะคร้อ ม.7 ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและทางน้ำไหลผ่านซ้ำอีกระลอก
           
           โดยบ้านเรือนมีระดับน้ำท่วมสูงตั้งแต่ 50 - 80 เซนติเมตร นาข้าวสูงประมาณ 2 เมตร ประกอบกับกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้ทางอำเภอต้องอพยพชาวบ้านในพื้นที่เสี่ยงอันตรายกว่า 70 ครัวเรือน ไปอยู่ที่วัดหนองกก ต.ส้มป่อย ซึ่งเปิดเป็นศูนย์อพยพชั่วคราวเป็นรอบที่สอง
           
           นอกจากนี้น้ำยังได้หลากเข้าท่วมถนนในหมู่บ้าน และถนนสายละหานทราย -โนนดินแดง สูงประมาณ 30 เซนติเมตรและไหลเชี่ยวแรง ทำให้รถที่สัญจรไปมาต้องใช้ความระมัดระวัง
           
           ด้าน นางสุเพียบ บุญมามอญ อายุ 45 ปี ชาวบ้านบ้านโคตะคร้อ ม.7 ต.ส้มป่อย บอกว่า ครั้งนี้เป็นรอบที่สองแล้ว ที่ต้องทิ้งบ้าน และทรัพย์สินอพยพมาอยู่ที่วัด เนื่องจากน้ำที่ล้นสปิลเวย์เขื่อนลำนางรองได้ทะลักเข้าท่วมบ้านซ้ำอีกระลอก จากผลกระทบดังกล่าวนอกจากบ้านเรือนจะจมน้ำไม่มีที่อยู่อาศัยแล้ว นาข้าวยังเสียหายทั้งหมด ทั้งยังต้องขาดรายได้มานานกว่า 2 สัปดาห์เพราะไม่สามารถไปทำงานได้เนื่องจากเป็นห่วงครอบครัว และทรัพย์สิน ถึงแม้ทางหน่วยงานราชการจะนำถุงยังชีพ และอาหารมาแจกจ่ายก็เยียวยาได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น แต่อยากเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐได้จ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือทั้งบ้านเรือน นาข้าว และรายได้ที่ขาดหายไปตามความเสียหายจริงด้วย



    --------------------------------------------------------------------------------------
    มวลน้ำ “ลำตะคอง” ทะลักท่วมเมืองโคราชอ่วมจม 2 เมตร-ต่างอำเภอเป็นทุ่งทะเล [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 ต.ค. 56 ]

    ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - มวลน้ำ “ลำตะคลอง” ทะลักท่วมเมืองโคราชอ่วม เผยชุมชนมิตรภาพ ซ. 4- ตรอกสำโรงจันทร์ เทศบาลนครนครราชสีมา หนักสุดท่วมบ้านชั้นแรกมิด จม 2 เมตร ขณะหมู่บ้านวีไอพี และ ร.ร.อัสสัมชัญ น้ำผุดขึ้นตามท่อท่วมถนนและพื้นที่ล้อมรอบเพิ่มระดับต่อเนื่อง ด้านฝนหลวงน้ำสื่อบินสำรวจสภาพน้ำท่วมพบหลายอำเภอโคราชกลายเป็นทุ่งทะเลขยาย วงกว้าง
           
           วันนี้ (23 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดนครราชสีมาว่า ล่าสุดมวลน้ำสะสมในลำตะคองจากพื้นที่ต่างๆ ด้านใต้เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว ปริมาณมากได้ไหลทะลักเข้าเขต อ.เมืองนครราชสีมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำลำตะคอง และลำบริบูรณ์ เอ่อล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ติดริม น้ำในระดับสูงและขยายวงกว้าง โดยเฉพาะชุมชนมิตรภาพซอย 4 เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ใกล้โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา น้ำจากลำตะคองได้เอ่อเข้าท่วมสูง 80 เซนติเมตร (ซม.) รถยนต์ทุกชนิดไม่สามารถสัญจรเข้าออกชุมชนได้
           
           เช่นเดียวกับชุมชนท่าตะโก, ตรอกสำโรงจันทร์ หรือเกาะลอย บริเวณหลังห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา น้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ประชาชนต้องย้ายขึ้นไปอยู่ชั้น 2 ของบ้าน และชุมชนตรอกโรงเจ, ชุมชนบุมะค่า น้ำท่วมสูงเช่นกัน ส่วนหมู่บ้านวีไอพี และโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ติดถนนมิตรภาพใกล้สะพานข้ามลำตะคอง เทศบาลนครนครราชสีมา น้ำได้ผุดขึ้นตามท่อไหลท่วมถนนภายในหมู่บ้าน และถนนบริเวณรอบโรงเรียนอัสสัมชัญ และเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
           
           นายบุญเหลือ เจริญวัฒน์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา กล่าวว่า น้ำจากลำตะคองได้ทะลักเข้าท่วมชุมชนต่างๆ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาที่อยู่ริมน้ำมากกว่า 10 ชุมชน ตั้งแต่เมื่อคืนนี้ประชาชนเดือดร้อนกว่า 300 หลังคาเรือน และกำลังขยายวงกว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง คาดว่าในวันนี้มวลน้ำปริมาณมากจะไหลเข้ามาเพิ่มเติมอีก ทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10-20 ซม.
           
           ขณะนี้ทางเทศบาลนครนครราชสีมาได้จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ออกไปประจำ จุดที่ถูกน้ำท่วมเพื่อช่วยเหลือประชาชนร่วมกับฝ่ายทหารและฝ่ายปกครอง ในการรับส่งประชาชนเข้าออกตามหมู่บ้านและช่วยขนย้ายทรัพย์สินสิ่งของหนีน้ำ ท่วมขึ้นสูง สำหรับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ล่าสุดเช้าวันนี้ระดับน้ำลำตะคองที่ไหลผ่านยังอยู่ต่ำกว่ากำแพงอีกมาก ฉะนั้นจึงไม่น่าห่วงมากนัก
           
           “ทั้งนี้ คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะสามารถระบายน้ำท่วมออกจากตัวเมืองนครราชสีมาได้หมดและกลับเข้า สู่ภาวะปกติ หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติมอีก” นายบุญเหลือกล่าว
           
           ส่วนที่สนามบินกองบิน 1 กองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ จ.นครราชสีมา นายปณิธิ เสมอวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นำสื่อมวลชนขึ้นเฮลิคอปเตอร์เบล 407 บินสำรวจสถานการณ์น้ำท่วมในเขต อ.เมืองนครราชสีมา และ อ.โนนไทย พบว่า น้ำลำตะคองได้เอ่อเข้าท่วมชุมชนและถนนตลอดลำน้ำ และขยายวงกว้างต่อเนื่อง ซึ่งจุดที่มีปริมาณน้ำสูง เช่น ชุมชนมิตรภาพซอย 4 และชุมชนท่าตะโก เทศบาลนครนครราชสีมา
           
           ขณะที่พื้นที่ลุ่มน้ำลำเชียงไกร โดยเฉพาะ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา พบว่ามีน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ทางการเกษตรหลายหมื่นไร่จมน้ำกลายเป็นทุ่งทะเล และต้นข้าวที่กำลังออกรวงเริ่มเน่าตายเนื่องจากแช่น้ำท่วมมานานหลายวัน ขณะที่ทางอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง อ.โนนไทย ยังคงระบายน้ำออกจากอ่างที่ล้นขนาดความจุอย่างต่อเนื่อง





    --------------------------------------------------------------------------------------
    เมืองโคราชยังท่วมทรงตัวระดับสูง เหตุเหลือมวลน้ำท่วมทุ่งอีก 100 ล้าน ลบ.ม. [ ผู้จัดการออนไลน์ : 25 ต.ค. 56 ]
    ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- ชลประทานระบุมวลน้ำก้อนใหญ่ “ลำตะคอง” ผ่านเมืองโคราชแล้ว แต่น้ำยังท่วมทรงตัวระดับสูงและลดลงช้า เดือดร้อนหนักทั้งคนและสัตว์เลี้ยง เหตุยังเหลือน้ำท่วมทุ่งอีกกว่า 100 ล้าน ลบ.ม.ที่ไหลลงลำตะคอง คาดใช้เวลากว่า 15 วันจึงแห้งทั้งหมด ขณะ อ.เฉลิมพระเกียรติ พื้นที่ท้ายน้ำเมืองโคราชอ่วม ถูกมวลน้ำลำตะคอง และแม่มูลที่รับน้ำล้นจากหลายเขื่อนใหญ่เข้าโจมตีหนัก คาดทะลักถึง อ.พิมาย-ชุมพวง ปลายเดือนนี้วิกฤตแน่
           
           วันนี้ (25 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์มวลน้ำลำตะคองปริมาณมากทะลักเข้าท่วมชุมชนและ บ้านเรือนประชาชนใน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ว่า ล่าสุดในเขตตัวเมืองนครราชสีมาระดับน้ำท่วมยังทรงตัวในระดับสูง และลดลงเล็กน้อยในบางจุด โดยเฉพาะจุดที่มีน้ำท่วมสูงติดลำตะคอง เช่น ชุมชนท่าตะโก ชุมชนตรอกสำโรงจันทร์ หรือเกาะลอย และชุมชนมิตรภาพซอย 4 เทศบาลนครนครราชสีมา ประชาชนยังต้องใช้เรือและรถบรรทุกของเจ้าหน้าที่ในการสัญจรเข้าออกชุมชนและ เดินทางออกไปทำงาน
           
           นายจักรกฤษ แจ้งกรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 5 โครงการของ จ.นครราชสีมา วันนี้มีปริมาณน้ำรวม 968.87 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 103.28% ความจุที่ระดับเก็บกักรวม 938.12 ล้าน ลบ.ม. โดย 4 เขื่อนใหญ่น้ำเกินขนาดความจุและล้นสปิลเวย์ ยกเว้นเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 293 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 93 ของความจุที่ระดับเก็บกัก 314 ล้าน ลบ.ม.
           
           ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางของ จ.นครราชสีมาจำนวน 22 โครงการ มีปริมาณน้ำรวม 230.68 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 101.74 ของความจุที่ระดับเก็บกักรวม 226.74 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 1,199.54 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 102.98% ความจุที่ระดับเก็บกัก
           
           สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในเขตตัวเมืองนครราชสีมานั้น ยืนยันว่าทางเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว ไม่ได้ปล่อยน้ำลงมาแต่อย่างใด แต่เป็นน้ำที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ใต้เขื่อน ซึ่งแตกต่างจากปี 2553 ที่ จ.นครราชสีมาประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ โดยในปีนั้นน้ำเกินความจุของเขื่อนลำตะคองจึงจำเป็นต้องระบายน้ำเพื่อรักษา เสถียรภาพของเขื่อนเอาไว้
           
           อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มวลน้ำช่วงปริมาณมากที่สุดได้ผ่านเขตตัว เมืองนครราชสีมาไปแล้วและไหลเข้าสู่พื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ ก่อนลงลำมูลไหลต่อไปยังพื้นที่รับน้ำ อ.พิมาย อ.ชุมพวง ฉะนั้นในเขตเมืองนครราชสีมาน้ำจะทรงตัวต่อไปประมาณ 2-3 วัน และลดระดับลงเรื่อยๆ คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในทุกจุดต้องใช้เวลานานประมาณ 15 วัน เนื่องจากยังมีน้ำค้างทุ่งอยู่อีกปริมาณมากที่จะไหลลงลำตะคอง จึงทำให้น้ำเอ่อหนุนกัน ซึ่งขณะนี้มีน้ำค้างทุ่งในพื้นที่เหนือ อ.เมืองนครราชสีมา กว่า 1.8 แสนไร่อยู่ประมาณ 100 ล้าน ลบ.ม.ที่จะไหลลงลำตะคอง
           
           สำหรับ อ.เฉลิมพระเกียรติ ขณะนี้มีน้ำท่วมสูงในพื้นที่ริมน้ำลำตะคอง และแม่น้ำมูล ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมหนักกว่าเขตตัวเมืองนครราชสีมาเนื่องจากต้องรับน้ำที่ ล้นเขื่อนจากลำพระเพลิง ลำแชะ และลำมูลบน ไหลลงแม่น้ำมูล ประกอบกับน้ำลำตะคองจาก อ.เมืองนครราชสีมาได้ไหลลงไปสมทบกันที่แม่น้ำมูลอีก จึงเป็นจุดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมสูงอยู่ในขณะนี้
           
           “จากนั้นมวลน้ำทั้งหมดจะไหลลงไปที่ อ.พิมาย และ อ.ชุมพวง ในช่วงปลายเดือนนี้ ในช่วงนั้น อ.พิมายจะมีน้ำท่วมสูงอีก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 50 ซม. ถึง 1 เมตร ต้องใช้เวลานานกว่า 1 เดือนระดับน้ำในลำคลองต่างๆ ของ จ.นครราชสีมาจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ” นายจักรกฤษกล่าว
           
           ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะที่หลายหน่วยงานได้ระดมความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยล่าสุด นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ประธานกลุ่ม “เพื่อนสุวัจน์” พร้อมด้วยสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา และผู้นำชุมชนได้ตระเวนนำข้าวกล่อง น้ำดื่มไปแจกจ่ายแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยที่ถูกน้ำท่วมสูง เช่น ชุมชนเกาะลอย ชุมชนท่าตะโก เขตเทศบาลนครนครราชสีมา เป็นต้น
           
           ช่วงสายวันเดียวกันนี้ (25 ต.ค.) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมารับฟังสรุปสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ จ.นครราชสีมา ที่เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว ก่อนเดินทางมาตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่ชุมชนมิตรภาพซอย 4 เขตเทศบาลนครราชสีมา และเดินทางไปที่ อ.พิมาย
           
           ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.พิมาย ซึ่งเกิดจากลำน้ำจักราชและแม่น้ำมูลเอ่อท่วมมานานหลายวัน ล่าสุดวันนี้ (25 ต.ค.) ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องประมาณ 10-15 ซม. ขณะที่เทศบาลตำบลพิมายได้ระดมกระสอบทรายทำกำแพงกั้นน้ำเพิ่มอีกที่บริเวณ ปราสาทหินพิมาย และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เพื่อรับมือน้ำก้อนใหญ่ที่จะไหลจาก อ.เมืองนครราชสีมามาถึง อ.พิมายในช่วงปลายเดือนนี้ และไม่ให้กระทบต่อการจัดงานเทศกาลเที่ยวพิมายและแข่งเรือยาว ในวันที่ 7-10 พฤศจิกายน 2556 นี้ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางมาเป็นประธานเปิดการแข่งขันเรือยาวในวันที่ 9 พ.ย.
           
           ขณะที่บริเวณตลาดสดเมืองใหม่พิมาย เทศบาลตำบลพิมายปริมาณน้ำท่วมลดลงเช่นกันเหลืออยู่ที่ประมาณ 10-15 ซม. พ่อค้าแม่ค้าบางส่วนเริ่มขนสิ่งของกลับเข้ามาขายภายในตลาดแล้ว




    --------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อมูลอ้างอิง

  • ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th
  • เดลินิวส์ http://www.dailynews.com
  • ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th
  •