บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานี (กันยายน 2552)
ภาพดาวเทียม GOES-9 | |||||||||
|
![]() 2/9/2009 20GMT |
![]() 3/9/2009 11GMT |
![]() 4/9/2009 10GMT |
![]() 5/9/2009 17GMT |
![]() 6/9/2009 16GMT |
![]() 7/9/2009 11GMT |
![]() 8/9/2009 07GMT |
||
![]() 9/9/2009 17GMT |
![]() 13/9/2009 113GMT |
![]() 14/9/2009 11GMT |
![]() 15/9/2009 12GMT |
![]() 16/9/2009 12GMT |
![]() 17/9/2009 10GMT |
![]() 21/9/2009 20GMT |
![]() 22/9/2009 13GMT |
||
![]() 23/9/2009 12GMT |
![]() 24/9/2009 09GMT |
![]() 25/9/2009 10GMT |
![]() 26/9/2009 13GMT |
![]() 27/9/2009 18GMT |
![]() 28/9/2009 19GMT |
![]() 29/9/2009 17GMT |
![]() 30/9/2009 07GMT |
||
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าในเดือนกันยายนมีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยคอนข้างต่อเนื่องโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษเป็นพื้นที่หนึ่งที่ีมีกลุ่มเมฆปกคลุมค่อนข้างหนาและค่อนข้างต่อเนื่อง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างมาก และส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ประกอบกับในช่วงปลายเดือน พายุ "กีสน่า" ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทย ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวที่มีน้ำท่วมอยู่แล้วเกิดน้ำท่วมเพิ่มเป็นบริเวณกว้างมากยิ่งขึ้น โดยทางจังวัดอุบลราชธานีได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยบฉุกเฉินทั้งหมด 23 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.วารินชำราบ อ.ตระการพืชผล อ.โพธิ์ไทร อ.ตาลสุม อ.เดชอุดม อ.กุดข้าวปุ้น อ.โขงเจียม อ.ม่วงสามสิบ อ.น้ำขุ่น อ.เขมราฐ อ.พิบูลมังสาหาร อ.ดอนมดแดง อ.นาเยีย อ.เหล่าเสือโก้ก อ.น้ำยืน อ.ทุ่งศรีอุดม อ.สำโรง อ.นาจะหลวย อ.นาตาล อ.ศรีเมืองใหม่ อ.สิรินธร และ อ.สว่างวีระวงษ์ ส่วนจังหวัดศรีสะเกษเกิดพื้นที่น้ำท่วมในอำเภออุทุมพรพิสัย ภูสิงห์ ไพรบึง ขุขันธ์ ปรางค์กู่ ห้วยทับทัน ราศีไศล ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ | |||||||||
![]() 1/9/2009 |
![]() 2/9/2009 |
![]() 3/9/2009 |
![]() 4/9/2009 |
![]() 5/9/2009 |
![]() 7/9/2009 |
![]() 8/9/2009 |
|||
![]() 9/9/2009 |
![]() 14/9/2009 |
![]() 15/9/2009 |
![]() 16/9/2009 |
![]() 21/9/2009 |
![]() 22/9/2009 |
![]() 23/9/2009 |
|||
![]() 24/9/2009 |
![]() 25/9/2009 |
![]() 26/9/2009 |
![]() 27/9/2009 |
![]() 28/9/2009 |
![]() 29/9/2009 |
![]() 30/9/2009 |
|||
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีร่องความกดอากาศพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงปลายเดือน โดยช่วงปลายเดือนพายุกีสน่าได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | |||||||||
เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 120 กิโลเมตร | |||||||||
![]() อุบลราชธานี 1/9/2009 22:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 2/9/2009 15:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 3/9/2009 22:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 4/9/2009 08:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 5/9/2009 14:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 6/9/2009 20:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 7/9/2009 18:33GMT |
|||
![]() อุบลราชธานี 8/9/2009 21:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 9/9/2009 17:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 14/9/2009 15:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 15/9/2009 10:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 16/9/2009 13:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 21/9/2009 20:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 22/9/2009 17:33GMT |
|||
![]() อุบลราชธานี 24/9/2009 07:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 25/9/2009 15:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 26/9/2009 14:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 27/9/2009 16:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 28/9/2009 23:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 29/9/2009 17:33GMT |
![]() อุบลราชธานี 30/9/2009 01:33GMT |
|||
ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยาเรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 120 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบว่าในเดือนกันยายนมีฝนตกในพื้นที่ดังกล่าวค่อนข้างมากและค่อนข้างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษที่เกิดน้ำท่วมหนัก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ปริมาณฝนสะสม | ||||||
![]() 1/9/2009 00am |
![]() 2/9/2009 12am |
![]() 3/9/2009 00am |
![]() 4/9/2009 12am |
![]() 6/9/2009 12am |
![]() 7/9/2009 12am |
![]() 8/9/2009 00am |
![]() 9/9/2009 00am |
![]() 15/9/2009 12am |
![]() 16/9/2009 00am |
![]() 17/9/2009 00am |
![]() 22/9/2009 00am |
![]() 29/9/2009 12am |
![]() 30/9/2009 12am |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในเดือนกันยายนมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างต่อเนื่องในบริเวณจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานี ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ประกอบกับในช่วงปลายเดือน พายุ "กีสนา" ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทยทางฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบให้มีฝนเพิ่มมากขึ้นอีก และทำให้ระดับน้ำท่วมเพิ่มมากยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม |
แผนภาพปริมาณฝนสะสมจาก NASA | ||
![]() ประมาิณฝนสะสมช่วงวันที่ 1-7 กันยายน 2552 |
![]() ประมาิณฝนสะสมช่วงวันที่ 8-14 กันยายน 2552 |
|
![]() ประมาิณฝนสะสมช่วงวันที่ 15-21 กันยายน 2552 |
![]() |
|
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมราย 7 วัน จาก NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษตลอดทั้ง 4 สัปดาห์ของเดือนกันยายน โดยเฉพาะช่วงสัปดาห์แรกที่มีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากกว่าสัปดาห์อื่น |
ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา | ||
![]() 2/9/2552 |
![]() 6/9/2552 |
![]() 7/9/2552 |
![]() 8/9/2552 |
![]() 29/9/2552 |
![]() 30/9/2552 |
ภาพแสดงข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าที่สถานีอุบลราชธานี สกษ.อุบลราชธานี และ สกษ.ศรีสะเกษ ตรวจพบปริมาณฝนค่อนข้างมากในวันที่ 2, 6, 7, 8, 29, 30 กันยายน โดยเฉพาะวันที่ 28 กันยายน ซึ่งเป็นวันที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ปริมาณฝนสะสมรายวันของทั้งสามสถานีอยู่ที่ 92.8, 77.7 และ 43.6 มิลลิเมตรตามลำดับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ข้อมูลน้ำล้นตลิ่งจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน | ||
![]() บ้านเมืองคง จ.ศรีสะเกษ (ระดับตลิ่ง 8.1 ม.) |
![]() บ้านหนองหญ้าปล้อง จ.ศรีสะเกษ (ระดับตลิ่ง 7.78 ม.) |
![]() บ้านโนนศรีไศล จ.ศรีสะเกษ (ระดับตลิ่ง 9.49 ม.) |
![]() ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ (ระดับตลิ่ง 6.0 ม.) |
|
|
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งอยู่หลายจุด้วยกัน โดยเฉพาะที่สถานีห้วยทับทัน และสถานีบ้านหนองหญ้าปล้อง จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีระดับน้ำล้นตลิ่งค่อนข้างสูง โดยที่สถานีห้วยทับทันระดับน้ำน้ำสูงสุดอยู่ที่ 9.42 เมตร ในวันที่ 13 ก.ย. ในขณะที่ระดับตลิ่งสูงเพียงแค่ 6.0 เมตร ส่วนสถานีหนองหญ้าปล้องระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 11.67 เมตร ในวันที่ 18 ก.ย. ในขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 7.78 เมตร |
ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ |
![]() ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิรินธร |
จากกราฟแสดงปริมาณไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร พบว่าช่วงต้นเดือนปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรค่อนข้างมาก และได้ลดลงตามลำดับ และในช่วงสิ้นเดือนปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มสูงขึ้นถึง 114.63 ล้าน ลบ.ม. อันเป็นผลมาจากพายุดีเปรสชั่น "กีสน่า" |
ข้อมูลด้านความเสียหาย |
สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 8-14 กันยายน 2552) |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- ศรีสะเกษน้ำทะลักกว่า2พันครอบครัว [ ไทยรัฐ : 12 ก.ย. 52 ] รองผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ ลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วม อ.อุทุมพรพิสัย พบน้ำท่วมแล้ว 4 ตำบล ราษฎรได้รับผลกระทบ 2,345 ครอบครัว ... เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (12 ก.ย.) นายวิศว ศะศิสมิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับนายสุขสันต์ บุญโทแสง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดศรีสะเกษ และ นายวิจักขณ์ ชินโคตรพงศ์ นายอำเภออุทุมพรพิสัย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางเข้าพื้นที่ อ.อุทุมพรพิสัย ซึ่งต้องนั่งรถอีแต๋น เข้าไป เนื่องจากน้ำท่วมสูง เพื่อสำรวจดูความเสียหายจากการถูกน้ำท่วม ปรากฏว่า น้ำได้เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ 4 ตำบล รวม 2,345 หมู่บ้าน ไร่นา และ พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมไปแล้ว 7,000 ไร่ -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำท่วม“อุทุมพรพิศัย”ศรีสะเกษจม 500 หลัง – ร.ร.หลายแห่งสั่งปิดไร้กำหนด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 14 ก.ย. 52 ]
-------------------------------------------------------------------------------------- อุบลฯ-น้ำท่วมพื้นที่ 3 ชุมชนเมืองขยายวงกว้างมากขึ้น
[ ครอบครัวข่าว : 14 ก.ย. 52 ] --------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------- -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำท่วมศรีสะเกษ ขยายวงกว้าง 19 อำเภอ [ ไทยรัฐ : 22 ก.ย. 52 ]
นายสุขสันต์ บุญโทแสง หน.สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ศรีสะเกษ มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 19 อำเภอ 137 ตำบล 1,228 หมู่บ้าน มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน กว่า 67,000 ครัวเรือน ส่วนพื้นที่การเกษตร มีที่นาถูกน้ำท่วมแล้วกว่า 153,000 ไร่ สำหรับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งองค์กร มูลนิธิต่างๆ ได้นำเครื่องอุปโภคบริโภค ช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย แล้วจำนวน 11,450 ชุด
-------------------------------------------------------------------------------------- |
ข้อมูลอ้างอิง |