บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ (21-27 ต.ค. 48)

ภาพดาวเทียม GOES-9    
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
21 /10/2005 : 07GMT
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
22/10/2005 : 07GMT
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
23/10/2005 : 07GMT

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
24/10/2005 : 07GMT

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
25/10/2005 : 07GMT

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
26/10/2005 : 07GMT
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
27/10/2005 : 00GMT
ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม จนถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2548 มีกลุ่มเมฆปกคลุมภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกหนัก บริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัด ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



แผนที่อากาศ
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
21/10/2005

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
22/10/2005

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
23/10/2005
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
24/10/2005
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
25/10/2005

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
26/10/2005

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
27/10/2005

รายงานจากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 21-27 ตุลาคม 2548 ร่องความกดอากาศต่ำในทะเลอันดามันผ่านภาคใต้ตอนกลาง และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เช่น จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต

ในวันที่ 26 ต.ค. กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ยังมีร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านอยู่ในภาคใต้ และจะกลับมีกำลังแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 28-30 ต.ค. คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวจากมหาสมุทรแปซิฟิกผ่านประเทศฟิลิปปินส์ สู่ทะเลจีนใต้ วันที่ 29 ต.ค. และพายุลูกนี้อาจจะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 



ปริมาณฝนสะสม    
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
21/10/2005
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
22/10/2005
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
23/10/2005
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
24/10/2005
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
25/10/2005
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
26/10/2005
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
27/10/2005
ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าและสีเขียวแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน พบว่าในวันที่ 21-27 ตุลาคม 2548 มีปริมาณฝนสะสมหนาแน่นในบริเวณอ่าวไทย และ ตอนใต้ของประเทศไทย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 



ปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา  

23/10/2005

25/10/2005

27/10/2005

การติดตามปริมาณฝน ณ เวลา 7.00 น. โดยใช้สถิติของการกระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาร์ และ ค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก พบว่า ช่วงวันที่ 21-27 ตุลาคม 2548 รายงาน ณ เวลา 7.00 น. มีฝนตกหนักบริเวณตอนใต้ของประเทศไทย โดยวัดปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุดที่จ. นครศรีธรรมราช มีปริมาณฝนสะสม 91.8 มิลลิเมตร ในวันที่ 22 ต.ค. รองลงมา คือ จ.สงขลา ในวันที่ 21 ต.ค. ปริมาณฝนสะสม 74.7 มิลลิเมตร และ ที่ตะกั่วป่า ในวันที่ 25 ต.ค. ปริมาณฝนสะสม 74.5 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนที่เพชรบุรี สูงสุดในวันที่ 26 ต.ค. โดยมีปริมาณฝนสะสม 70.2 มิลลิเมตร ที่หัวหิน ปริมาณสูงสุดในวันที่ 25 ต.ค. โดยมีปริมาณฝนสะสม 66.9 มิลลิเมตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์หัวหิน
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
21/10/2005 23:29 (เรดาร์หัวหิน)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
22/10/2005 04:29 (เรดาร์หัวหิน)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
23/10/2005 16:29 (เรดาร์หัวหิน)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
24/10/2005 22:29 (เรดาร์หัวหิน)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
25/10/2005 00:29 (เรดาร์หัวหิน)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
26/10/2005 14:28 (เรดาร์หัวหิน)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
27/10/2005 01:29 (เรดาร์หัวหิน)
   
เรดาร์ชุมพร
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
21/10/2005 23:30 (เรดาร์ชุมพร)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
22/10/2005 03:30 (เรดาร์ชุมพร)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
23/10/2005 09:30 (เรดาร์ชุมพร)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
24/10/2005 04:30 (เรดาร์ชุมพร)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
25/10/2005 03:30 (เรดาร์ชุมพร)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
26/10/2005 11:30 (เรดาร์ชุมพร)
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
27/10/2005 00:30 (เรดาร์ชุมพร)
               
ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์หัวหินและเรดาร์ชุมพร จะพบว่า ตั้งแต่วันที่ 21-27 ตุลาคม 2548 บริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบนมีฝนตกหนัก โดยเฉพาะจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชุมพร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์หัวหิน เรดาร์ชุมพร


ภาพเรดาร์ฝนหลวง    
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
23/10/2005 : 19:30pm
คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
24/10/2005 : 21:48pm

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
25/10/2005 : 06:48am

คลิกเพื่อดูภาพเต็ม
26/10/2005 : 03:48am
 
ภาพเรดาร์จากระบบเครือข่ายของศูนย์ฝนหลวง พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์ชะอำจะพบว่าในวันที่ 23-26 ตุลาคม มีกลุ่มฝนบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณดังกล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลน้ำในเขื่อน  


ปริมาณน้ำเก็บกักเขื่อนปราณบุรี


ปริมาณน้ำเก็บกักเขื่อนแก่งกระจาน

รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนของกรมชลประทาน จะพบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนปราณบุรี และ เขื่อนแก่งกระจานได้เพิ่มสูงขึ้น

ในวันที่ 24 ตุลาคม เขื่อนปราณบุรี มีปริมาณน้ำ 282 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถรับน้ำได้อีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เขื่อนยางชุม ความจุ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำ 39.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 96.28 เปอร์เซ็นต์ อ่างเก็บน้ำคลองบึง 22.2 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำอยู่ 16.6 ล้านลูกบาศก์เมตร คลองช่องลมจุน้ำได้ 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำ 5.05 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำคลองจะกระรับน้ำได้ 10.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำ 9.37 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในวันที่ 26 ตุลาคม 2548 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน อยู่ในระดับ 82% หรือ 584 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุอ่าง 710 ล้าน ลบ.ม. และยังมีฝนเหนืออ่างอย่างหนัก ขณะที่เขื่อนเพชร อ.ท่ายาง ต้องเร่งระบายน้ำออก 434 ลบ.ม.ต่อวินาที และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 450-470 ลบ.ม.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลปริืมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ  


สถานีวังไกลกังวล


สถานีหน้าเขื่อนแก่งกระจาน

สถานีเขื่อนเพชรบุรี

รายงานจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ แสดงข้อมูลปริมาณฝนทุก 1 ชั่วโมง ณ สถานีวังไกลกังวล สถานีหน้าเขื่อนแก่งกระจาน และ สถานีเขื่อนเพชรบุรี พบว่ามีฝนตกในปริมาณมากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นผลให้เกิดน้ำท่วม





ข่าวจากหนังสือพิมพ์

ผู้ว่าฯชุมพรประกาศ8พื้นที่ประสบอุทกภัย อุตุฯเตือนอีก5จว.ใต้อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน [ มติชน : 23 ต.ค. 48 ]

สภาพน้ำท่วมถนนสายชุมพร-ระนอง ช่วงจากตัวเมืองชุมพรถึงสี่แยกปฐมพร เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม หลังเกิดพายุฝนถล่มอย่างหนักตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 21 ตุลาคม
สรุปสถานการณ์ความเสียหาย
จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอคือ
-อ.เมืองชุมพร น้ำท่วม 16 ตำบล 161 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 600 คน บ้านเรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง 3 หลัง ถนน 14 สาย ท่อระบายน้ำ 31 แห่ง คูระบายน้ำ 6 สาย บ่อปลา 41 แห่ง โค 1 ตัว เป็ด/ไก่ 86 ตัว ถนนสายเอเชีย 41 ช่วงหลัก กม.ที่ 3 ใกล้โครงการชุมพรเมืองใหม่ ต.ขุนกระทิง อ.เมืองชุมพร ห่างจากสี่แยกปฐมพรประมาณ 2.5 กิโลเมตร มีน้ำท่วมสูงประมาณ 80 เซนติเมตร เป็นระยะทางประมาณ 1 กม. นอกจากนี้ ถนนเพชรเกษม สายชุมพร-ระนอง บริเวณหน้าค่ายเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดทหารบกชุมพร มีน้ำท่วมผิวการจราจรสูงประมาณ 50 เซนติเมตร

-อ.ท่าแซะ มีพื้นที่ประสบภัย 4 ตำบล 10 หมู่บ้าน ถนน 16 สาย คอสะพาน 1 แห่ง

-อ.ปะทิว ได้เกิดพายุหมุนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ในพื้นที่หมู่ 2 ต.ปากคลอง ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายบางส่วน 2 หลัง สะพานข้ามคลองวังช้างในพื้นที่ ต.ชุมโค ถูกกระแสน้ำพัดคอสะพานขาด


ด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ ฝั่งตะวันออก แจ้งว่า ขณะนี้ร่องมรสุมพัดผ่านภาคใต้ ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่วันที่ 20-24 ตุลาคมนี้ ใน จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง อาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และมีคลื่นลมแรง

.........................................................................................................

4 อภ.ชุมพร วิกฤติ – 5 ตำบล บางสะพาน เขตพิบัติ [ ไทยรัฐ : 24 ต.ค. 48 ]

สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ชุมพร หลังพายุฝนพัดกระหน่ำติดต่อกัน ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหล่บ่าท่วมพื้นที่หลายอำเภอ
สรุปสถานการณ์ความเสียหาย
- อ.ท่าแซะ ล่าสุดถูกน้ำท่วมแล้ว 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน ถนนเสียหาย 47 สาย

- อ.เมืองชุมพร มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 16 ตำบล 161 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,200 คน บ้านถูกน้ำท่วมทั้งหลัง 5 หลัง ถนน 71 สาย โดยเฉพาะหมู่ 4, 5 และ 6 ต.ตากแดด ระดับน้ำสูงกว่า 1.2 เมตร

- อ.ปะทิว ถูกน้ำท่วมแล้ว 7 ตำบล 20 หมู่บ้าน ถนนเสียหาย 180 สาย

- อ.สวี จำนวน 5 ตำบล 11 หมู่บ้าน ชาวบ้านเดือดร้อน 1,408 ครัวเรือน จำนวน 5,086 คน

ในส่วนเขตเทศบาลเมืองชุมพร ซึ่งเป็นย่านธุรกิจ หากฝนตกลงมาไม่หยุดทั้งวัน แม่น้ำท่าตะเภาที่เป็นสายหลักที่ระบายน้ำลงสู่ทะเลจะรับน้ำไม่ไหว อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันในตัวเมืองได้ เพราะขณะนี้เหลือระดับน้ำอีกประมาณ 30 ซม. น้ำในแม่น้ำท่าตะเภาก็จะล้นตลิ่ง

-อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถูกน้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลท่วม 3 ตำบล คือ ต.พงศ์ประศาสน์ ต.กำเนิดนพคุณ และ ต.แม่รำพึง ส่งผลให้ ราษฎรเดือดร้อนกว่า 250 หลังคาเรือน ถนนสายฝ่ายท่า-ถ้ำม้าร้อง เส้นทางเชื่อมระหว่าง อ.บางสะพานและ อ.บางสะพานน้อย เขต ต.พงศ์ประศาสน์ มีน้ำท่วมขังราว 50 ซม. เป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร ขณะที่ฝายน้ำบ้านชัยหงษ์ หมู่ 6 ต.พงศ์ประศาสน์ น้ำเริ่มล้นสันอ่าง ส่วนเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ ที่เป็นชุมชนเมืองน้ำจากคลองบางสะพานได้ไหลเข้าท่วมวัดเขาโบสถ์และวัดห้วยทรายขาว ระดับน้ำสูงถึง 40 ซม. และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง สำหรับจุดวิกฤติที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุดในขณะนี้คือพื้นที่โรงพยาบาลบางสะพาน และได้มีประกาศให้ พื้นที่ 5 ตำบล ของอำเภอบางสะพานเป็นเขตภัยพิบัติแล้ว

กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยจากอิทธิพล ร่องความกดอากาศต่ำในทะเลอันดามันผ่านภาคใต้ตอนกลาง และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมภาคใต้ และอ่าวไทย ว่า ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และภูเก็ต ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรงลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

.......................................................................................................

'หัวหิน' อ่วมนํ้าท่วมฉับพลัน [ เดลินิวส์ : 25 ต.ค. 48 ]

ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับภาวะอุทกภัย เมื่อวันที่ 24 ต.ค. มีรายงานว่า ได้เกิดฝนตกหนักที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่งผลให้ถนนหลายสาย เช่น ถนนเพชรเกษม ถนนเดชานุชิต และถนนพูลสุข ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน มีน้ำท่วมสูงถึง 40 ซม.
พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ หมู่บ้านเขาตะเกียบ เนื่องจากได้รับอิทธิพลน้ำทะเลหนุนเข้ามาสมทบกับปริมาณน้ำฝน ชาวบ้านนับร้อยครัวเรือนจมอยู่ในน้ำสูงถึง 60 ซม.

- อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เหตุการณ์น้ำท่วมเข้าสู่สภาวะปกติ รายงานความเสียหายจาก อบต.พงศ์ประศาสน์ ว่าหลังจากน้ำล้นสปิลเวย์ของอ่างเก็บน้ำบ้านเขาชัยหงส์ ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตร มีไร่สับปะรด เสียหายกว่า 500 ไร่ ถนนหมู่บ้านเสียหาย 24 สาย และบ่อเลี้ยงปลา 10 บ่อ

- จ.ชุมพร ระดับน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ต่าง ๆ ของ อ.ปะทิวเริ่มลดลงแล้ว แต่ยังมีพื้นที่บางส่วนที่มีน้ำท่วมขังคือ ต.สะพลี และ ต.บางสน หากไม่มีฝนตกลงมาอีกสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติภายในวันนี้ ส่วนที่ อ.ละแม มีน้ำป่าไหลหลากพัดพาดินโคลนลงมาทับถนนสายหลังสวน-ละแม ช่วงบ้านเขาเสด็จ หมู่ 1 ต.ทุ่งหลวง ระยะทางประมาณ 30 เมตร นอกจากนั้นยังมีน้ำท่วมในเขตเทศบาลตำบลละแม ทำให้ถนนสายละแม-สี่แยกแม่โจ้ มีระดับสูงประมาณ 80 ซม. เป็นระยะทาง 500 เมตร รถยนต์ทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ เทศบาลตำบลละแมและ อบต.ละแม ได้นำเครื่องจักรกลเข้าทำการขุดเปิดทางน้ำ 3 จุด จนสามารถสัญจรได้ตามปกติแล้ว ขณะเดียวกันบริเวณสะพานยวนไทร หมู่ที่ 18 ต.ละแม และสะพานเขา ชะมด หมู่ที่ 6 ต.ละแม ระดับน้ำเริ่มสูงขึ้น พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือ อ.เมืองชุมพร อ.ปะทิว อ.ท่าแซะ และบางส่วนของ อ.สวี โดยเฉพาะ อ.ท่าแซะ ได้รับผลกระทบมากที่สุด

- จ.สงขลา หลังจากมีฝนตกหนักติดต่อกันในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เกิดเหตุแผ่นดินยุบตัวขึ้นในพื้นที่บ้านเขาตกน้ำ หมู่ 14 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ พบว่าแผ่นดินเกิดการยุบตัวและแยกจากกันหลายจุด โดยจุดที่ใหญ่ที่สุดเป็นหลุมกว้าง ประมาณ 3 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร

กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเมื่อเวลา 17.00 น. ว่า ร่องความกดอากาศต่ำพาดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลอันดามัน เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ของ จ.ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

...............................................................................................................

ฝนถล่มจมหัวหิน อพยพหนีอลหม่าน [ ข่าวสด : 25 ต.ค. 48 ]

เมื่อวันที่ 24 ต.ค.กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฉบับที่ 20 (111/2548) เรื่อง หย่อมความกดอากาศต่ำ ระบุว่า ร่องความกดอากาศต่ำพาดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลอันดามัน เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนัก และน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ของจ.ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์

- อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในพื้นที่อ.หัวหิน-ปราณบุรี เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก เป็นเหตุให้น้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมตามหมู่บ้านต่างๆในเขตเทศบาลเมืองหัวหินและบริเวณรอบนอกอย่างหนัก หลายหมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำเช่น หมู่บ้านพงศ์นเรศ หมู่บ้านสะพานขี้เหล็ก ซอยเจริญพัฒนา 1-2 หมู่บ้านหนองแก หมู่บ้านเขาตะเกียบ ต่อมาเวลา 08.45 น. เจ้าหน้าตำรวจเริ่มปิดการจราจรบนถนนเพชรเกษมตั้งแต่หน้าตลาดหัวหิน ไปจนถึงหน้าวัดพุทธไชโย เป็นระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร เนื่องจากมีน้ำท่วมบนผิวการจราจรเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ระดับ 10-60 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้ โดยเฉพาะบริเวณเชิงสะพานต่างระดับไปจนถึงหน้าวัดพุทธไชโย มีน้ำท่วมสูงในระดับ 40-80 เซนติเมตร นอกจากนี้บริเวณรอบนอกเกิดน้ำท่วมในพื้นที่หมู่บ้านหนองของ ต.หินเหล็กไฟ หมู่บ้านทับใต้ ต.ทับใต้ ในระดับ 50-70 เซนติเมตร ส่วนที่ถนนสายบายพาส อ.ชะอำ-หัวหิน-ปราณบุรี ที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอหัวหิน น้ำได้ไหลเข้าท่วมบนพื้นผิวถนนเช่นกันที่ระดับประมาณ 20 เซนติเมตร

ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ในวันที่ 24 ต.ค. ต.หนองตาแต้ม อ.ปราณบุรี วัดระดับน้ำได้สูงสุดในจ.ประจวบคีรีขันธ์ ถึง 204 มิลลิเมตร ที่อ.กุยบุรี ต.สามกระทาย 100 มิลลิเมตร กิ่งอ.สามร้อยยอด 103 มิลลิเมตร เขื่อนปราณบุรีที่สามารถบรรจุน้ำได้ 545 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 282 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถรับน้ำได้อีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เขื่อนยางชุมความจุ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีน้ำ 39.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 96.28 เปอร์เซ็นต์ อ่างเก็บน้ำคลองบึง 22.2 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำอยู่ 16.6 ล้านลูกบาศก์เมตร คลองช่องลมจุน้ำได้ 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีน้ำ 5.05 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำคลองจะกระรับน้ำได้ 10.40 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีน้ำ 9.37 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ อ.กุยบุรี กิ่งอ.สามร้อยยอด อ.ปราณบุรี และอ.หัวหิน พื้นที่ใน 4 อำเภอมีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากกว่า 100 มิลลิเมตร
ต่อมาเวลา 12.00 น. น้ำป่าไหลเข้าท่วมหมู่บ้าน ต้นโพธิ์หนองแก- ซอยหัวหิน 102 ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน มีระดับความสูงของน้ำมากถึง 1.30 เมตร นอกจากนี้ยังไหลเข้าท่วมถนนสายบ้านหัวนา- บ้านทับใต้ ระดับน้ำสูง 60 เซนติเมตร จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ เส้นทางหัวหิน-หนองพลับ บริเวณบ้านหนองขอน ก็ถูกน้ำท่วมเส้นทางที่ระดับ 20 เซนติเมตร

หลังจากฝนตกหนักมาตลอดทั้งวัน ในเขตอ.ปราณบุรี และกิ่งอ.สามร้อยยอด ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ทำให้น้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านในเขตต.วังก์พง ต.หนองตาแต้ม และต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี และกิ่งอ.สามร้อยยอด ได้รับความเสียหายหลายแห่ง อีกทั้งยังไหลเข้าท่วมถ.เพชรเกษม ระหว่างหลักกิโลเมตร ที่ 249-250 บ้านหนองหอย หมู่ 4 ต.วังก์พง ระยะทางยาวกว่า 300 เมตร ถนนเพชรเกษมฝั่งขาเข้า กม.ที่ 258-259 บ้านหนองตาเย็น หมู่ 9 ต.หนองตาแต้ม เป็นระยะทางกว่า 300 เมตร, กม.ที่ 262-263 บ้านหนองคาง หมู่ 3 ต.ศิลาลอย ยาวประมาณ 200 เมตร และกม.ที่ 272-273 หมู่ 4 ต.ศาลาลัย กิ่งอ.สามร้อยยอด ยาวประมาณ 400 เมตร รวม 4 จุด ระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 20-40 เซนติเมตร แต่รถยังสามารถผ่านขึ้นลงได้

- จ.ชุมพร มีพื้นที่ประสบภัย 5 อำเภอ ประกอบด้วยอ.เมืองชุมพร ยังคงมีน้ำท่วมขัง 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,297 ครัวเรือน อ.สวี มีพื้นที่ประสบภัย 7 ตำบล 26 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,184 ครัวเรือน 7,425 คน ถนนเสียหาย 24 สาย คอสะพาน 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 2 แห่ง ประเมินมูลค่าความเสียหายในเบื้องต้นได้ประมาณ 4,690,000 บาท อ.ท่าแซะ มีพื้นที่ประสบภัย 10 ตำบล 166 หมู่บ้าน มีน้ำท่วมขัง 4 ตำบล 27 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,458 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตรถูกน้ำท่วม 5,000 ไร่ บ่อปลา 12 บ่อ ถนนได้รับความเสียหาย 48 สาย สระน้ำ สปก. 23 แห่ง บ่อน้ำตื้น 42 บ่อ ฝายกั้นน้ำ 1 แห่ง

...........................................................................................................

เพชรฯ-ประจวบฯ-ราชบุรียังอ่วม [ มติชน : 26 ต.ค. 48 ]

- อ.แก่งกระจาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน อยู่ในระดับ 82% หรือ 584 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) จากความจุอ่าง 710 ล้าน ลบ.ม. และยังมีฝนเหนืออ่างอย่างหนัก

- อ.ท่ายาง จ. เพชรบุรี เขื่อนเพชรฯ ต้องเร่งระบายน้ำออก 434 ลบ.ม.ต่อวินาที และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 450-470 ลบ.ม. ล่าสุดเริ่มมีน้ำท่วมขังที่ ต.ตำหรุ อ.บ้านลาด หากยังมีฝนตกต่อเนื่องจะเอ่อท่วมไปยังเขต อ.ท่ายาง อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม สำหรับความเสียหายขณะนี้ที่ อ.แก่งกระจาน มี 2 หมู่บ้าน 70 หลัง อ.เขาย้อย 3 หมู่บ้าน

- อ.กุยบุรี กรณีระบายน้ำจากเขื่อนยางชุม 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงในคลองกุยบุรี อาจจะมีผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลอง และเกิดน้ำท่วมในที่ลุ่ม 2 ฝั่งคลองกุยบุรี

- จ.ราชบุรี เวลา 03.00 น. น้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหลลงสู่แม่น้ำลำภาชี อ.สวนผึ้ง เข้าท่วมพื้นที่ ต.ด่านทับตะโก อ.จอมบึง ในหมู่ 2, 9 และ 10 และไหลบ่าไปสู่ ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง เข้าสู่ ต.ด่านมะขามเตี้ย อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี นอกจากนี้ยังมีน้ำป่าเข้าท่วมบ้านเรือนหมู่ 3-5 ต.อ่างทอง และ ต.ดอนตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี

สรุปความเสียหายจากอุทกภัย
-อ.ปะทิว ประมาณ 43,830,000 บาท
-อ.เมือง อ.ละแม อ.หลังสวน และ อ.ท่าแซะ อยู่ระหว่างตรวจสอบมูลค่าความเสียหาย
-อ.สวี ประมาณ 5,700,000 บาท
-ค่าความเสียหายในภาพรวมอาจสูงถึง 200 ล้านบาท

..............................................................................................................

กาญจนบุรี-ราชบุรีท่วมหนัก [ ไทยรัฐ : 26 ต.ค. 48 ]

-จ. ราชบุรี หลังฝนถล่มหนัก ในหลายพื้นที่ี ส่งผลให้พื้นที่ อ.เมือง อ.ปากท่อ อ.จอมบึง และ อ.สวนผึ้ง เกิดน้ำท่วมหลายหมู่บ้าน นอกจากนี้ น้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรี ที่ไหลลงสู่แม่น้ำภาชี ทำให้ระดับน้ำสูง ทะลักท่วมบ้านเรือน ประชาชนหมู่ที่ 2, 9 และ 10 ต.จอมบึง อ.จอมบึง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน พืชผักทางการเกษตรเสียหายยับเยิน

-จ.กาญจนบุรี พื้นที่ อ.ด่านมะขามเตี้ย ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ถูกน้ำท่วมหนัก โดยน้ำป่าได้ทะลักเข้าท่วมหลายหมู่บ้านใน ต.หนองไผ่ สำหรับความเสียหายในพื้นที่ ต.หนองไผ่ ถนนราว 20 สาย มีน้ำท่วมขังสูง ในจำนวนนี้มี 8 สาย ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และถนนสายหลักด่านมะขามเตี้ย-ท่ามะกา บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 46-47 ระดับน้ำสูงบ้านเรือนเสียหายประมาณ 400 ครัวเรือน จำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบกว่า 2 พันคน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 4 พันกว่าไร่

-จ.ชุมพร ระดับน้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ใน อ.เมืองกับ อ.ท่าแซะ จากการตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้นมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท
สรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นใน จ.ประจวบคีรีขันธ์และชุมพร มีราษฎรเดือดร้อน 10,485 คน มีถนนเสียหาย 355 สาย สะพาน 8 แห่งและบ่อน้ำ 65 บ่อ

กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ยังมีร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านอยู่ในภาคใต้ และจะกลับมีกำลังแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 28-30 ต.ค. คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวจากมหาสมุทรแปซิฟิกผ่านประเทศฟิลิปปินส์ สู่ทะเลจีนใต้ วันที่ 29 ต.ค. และพายุลูกนี้อาจจะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยได้

...................................................................................................


ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th
  • มติชน : http://www.matichon.co.th/matichon/
  • ข่าวสด : http://www.matichon.co.th/khaosod/