บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม 2546

ภาพเรดาร์จากดาวเทียม GOES-9

13/09/03
14/09/03
22/09/03
15/10/03
ภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าในช่วงเดือนกันยายนมีกลุ่มเมฆปกคลุม ในบริเวณประเทศไทย ในภาคเหนือ ภาคกลาง อ่าวไทยและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้เกิดฝนตกหนัก ในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ปริมาณฝนสะสม


ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดย สถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าแสดง ปริมาณฝนสะสมรายวัน พบว่า ในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือและภาค ตะวันออกของ ประเทศไทยมี ประมาณฝน สะสมปริมาณมาก โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนกันยายน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

13/09/03
15/09/03
22/09/03
15/10/03

เรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา

13/09/03
19/09/03
23/09/03
14/10/03
ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มี ฝนตก ซึ่งพบว่าช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ปริมาณฝนรวมในช่วง 24 ชั่วโมงจากสถานีตรวจวัดอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

14/09/03
21/09/03
15/10/03
การติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ โดยใช้สถิติของการกระจายตัว ของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาห์ และค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจอากาศ ของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตก หนัก

จากภาพจะพบว่าในช่วง ต้นเดือนถึงกลางเดือนกันยายนมีฝนตกชุกในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเริ่ม เข้าสู่ภาคกลางและภาคตะวันออกในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม
ในช่วงวันที่ 13-17 กันยายน เกิดฝนตกอย่างหนักบริเวณจังหวัดเชียงราย ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำลาวเพิ่มสูงขึ้น ส่วนในช่วงปลายเดือนกันยายน เกิดฝนตกและน้ำป่าไหลหลากในจังหวัดปราจีนบุรี ในภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม กระแสน้ำเชี่ยวกราก และในวันที่ 1 ตุลาคม เกิดฝนตกหนักทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แผนที่อากาศและแผนที่วิเคราะห์เส้นทางและความแรงของพายุ


22/09/03
ดเส้นทางพายุเพิ่มเติม

24/09/03
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ในช่วงกลางเดือนกันยายนร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพัดผ่าน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประัเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น และพบพายุโซนร้อน "ฉอยหวั่น" และพายุโซนร้อน "เมมิ" ใกล้บริเวณประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายเดือนกันยายน ความกดอากาศสูงจากประเทศ จีน ปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคกลางตอนบนและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้น เกิดสภาวะน้ำหลากและน้ำ ล้นตลิ่ง

 

สภาพของน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
แผนผังแสดงสภาพน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
โดยเริ่มจากปริมาณฝนสะสม 14 วันสูงสุด เหนือเขื่อน และปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อน ภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ จากนั้นแสดงภาพ การไหลไปยังประตูระบายน้ำต่าง ๆ ในลุ่มน้ำ เจ้าพระยา เขื่อนเจ้าพระยา และลงสู่อ่าวไทย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

 

รายงานสภาพน้ำในเขื่อน

ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือน ตุลาคม ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนน้ำเต็มระดับกักเก็บของเขื่อนในวันที่ 12 ตุลาคม 2546 โดยมีปริมาณน้ำ 790 ล้าน ลบ.ม.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กราฟแสดงระดับน้ำในเขื่อน

กราฟสดงปริมาตรระบายของเขื่อนเจ้าพระยา

กราฟสดงปริมาตรกักเก็บน้ำของเขื่อนป่าสัก

กราฟสดงปริมาตรน้ำไหลเข้าเขื่อนป่าสัก

กราฟสดงปริมาตรน้ำระบายเขื่อนป่าสัก

กราฟแสดงปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนป่าสัก ปริมาตรกักเก็บ และปริมาณน้ำที่ระบายออก เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว พบว่าช่วงตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม 2546 มีปริมาณน้ำไหลลงมากขึ้นเนื่องจากฝนตกในพื้นที่เหนือเขื่อน ทำให้ปริมาตรกักเก็บเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและถึงระดับกักเก็บของอ่างในวันที่ 12 ตุลาคม 2546 และมีการระบายน้ำออกอย่างต่อเนื่องเพื่อให้อยู่ในระดับกักเก็บของอ่าง ส่วนเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการระบายน้ำสูงในช่วงปลายเดือนกันยายน


 

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

น้ำคลั่งทะลักเหนือ - อีสาน [ 14 กันยายน 2546 ]
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ อุทกภัยเมื่อวันที่ 13 ก.ย.ว่า ที่ จ.เชียงราย ตลอดทั้งคืนมีฝนตกลง มาอย่างหนักทำให้ระดับน้ำ เพิ่มสูงขึ้นอีก ไหลท่วมถนนสายหลักหลายสาย โดยเฉพาะถนนพหลโยธิน สายเชียงราย-แม่สาย มีน้ำสูงกว่า 1 เมตร ส่งผลให้รถเล็กผ่านไม่ได้ การจราจรเป็นอัมพาต จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เริ่มลดลงบ้างแล้ว หลังทางเทศบาลได้นำ กระสอบทรายไปเสริมริมแม่น้ำปิง พร้อมกับระดมเครื่องสูบน้ำไปติดตั้ง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ก็ยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะระดับน้ำในแม่น้ำปิงยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีน้ำเหนือไหลมา อย่างต่อเนื่อง จ.แพร่ น้ำป่าเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนชาวบ้านและโรงเรียนบ้านศรีภูมิ ทำให้อาคารเรียนทุกหลังมีน้ำท่วมขัง จ.สุโขทัย ส่วนราชการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ศาลากลางจังหวัด กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด และศาลจังหวัด มีน้ำท่วม สูงทั้งหมด ที่ จ.ลำปาง ฝนที่ตกหนักเกือบทั้งคืน ปรากฏว่าน้ำได้ไหลท่วมขยายวงกว้างมีชาวบ้านเดือดร้อนแล้ว 195 ครอบครัว พื้นที่เกษตรเสียหายกว่า 200 ไร่ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในภาคอีสานก็เริ่มวิกฤติเช่นกัน จ.อุดรธานี น้ำในแม่น้ำสงครามเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 50 หลังคาเรือน ที่นาเสียหาย 5,000 ไร่ ที่ จ.กาฬสินธุ์ ระดับน้ำในเขื่อนลำปาวได้เพิ่มสูงขึ้นเกือบเต็มความจุของเขื่อน ล่าสุดปริมาณอยู่ที่ 1,282.8 ล้านลูกบาศก์เมตร จากที่สามารถรองรับได้ 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร อำเภอที่เสียหายมากที่สุด คือ อ.หัวตะพาน ตัวเลขความเสียหายภาพรวม ทั้งจังหวัดเท่าที่สำรวจพบเสียหายไปแล้วกว่า 15,000 ไร่

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศประจำวันที่ 13 ก.ย.ว่า สภาวะอากาศทั่วไปร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ของที่ราบลุ่มและ พื้นที่เสี่ยงภัย จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังภัยธรรมชาติในบริเวณดังกล่าวด้วย สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง เนื่องจากมีพายุโซนร้อน "เมมิ" อยู่ใกล้บริเวณดังกล่าว

 

ฝนถล่มเหนือ-แพร่อ่วมยโส-อุดร-กาฬสินธุ์จม [17 กันยายน 2546]

หลายจังหวัด ในภาคเหนือและอีสาน ยังเผชิญกับภาวะ น้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 16 ก.ย.ว่า ที่ จ.เชียงราย ล่าสุด ระดับน้ำในแม่น้ำลาว ได้เพิ่มสูงขึ้น จากเดิมอีก 5-10 ซม.หลังจากเมื่อ คืนที่ผ่านมา มีฝนตกลงมาอย่างหนัก ในพื้นที่ อ.แม่สรวย ทำให้น้ำใน อ่างเก็บน้ำ แม่สรวยไหลลงสู่แม่น้ำลาว ส่งผลให้พื้นที่เขตเทศบาลเมืองเชียงราย มีน้ำเพิ่มขึ้นอีก ถนนสายเชียงราย-เวียงชัย และสายห้าแยก-ป่ายางมน มีน้ำท่วมผิวถนนสูง 50-80 ซม. รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้


สุโขทัยท่วมหนักจมตายแล้ว 2 ศพ [18 กันยายน 2546]

พายุฝนที่กระหน่ำหนักติดต่อกัน หลายวัน ทำให้หลายจังหวัด ในภาคเหนือจม อยู่ใต้บาดาล ล่าสุดเกิดเหตุสลดใน เมื่อน้ำป่า ที่เชี่ยวกรากได้คร่าชีวิต ชาวบ้าน ตายอนาถ โดยรายแรกเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 ก.ย. พ.ต.ท.ยงยุทธ คัชมาต สารวัตรเวร สภ.อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย รับแจ้งมีเหตุคนจมน้ำเสียชีวิตบริเวณ ชุมชนสวรรค์เรือนแพ ถนนหน้าเมือง ต.ในเมือง รุดไปที่เกิดเหตุ พบว่าสภาพพื้นที่มีระดับน้ำท่วมขังสูง พบศพผู้เสียชีวิตลอยน้ำอยู่ใต้ถุนบ้าน ทราบชื่อนายนพเกล้า ประสาท อายุ 32 ปี จึงช่วยนำศพขึ้นบนฝั่ง ตายมาแล้วหลายชั่วโมง สอบสวนทราบว่าก่อนเกิดเหตุนายนพเกล้าออกไปหาปลาแล้วถูกน้ำป่าพัดจมน้ำหายไป กระทั่งศพมาโผล่ใต้ถุนบ้านของชาวบ้าน


น้ำเหนือทุเลากาฬสินธุ์ยันชัดเขื่อนไม่แตก [20 กันยายน 2546]

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อวันที่ 19 ก.ย. ว่า ที่ จ.สุโขทัย น้ำได้ลดลงเกือบเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว โดยถนนหนทางต่างๆสามารถใช้สัญจรไปมาได้ ส่วนภาคอีสาน ที่ จ.กาฬสินธุ์ ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,519 ล้านลูกบาศก์เมตร เกินกว่าที่เขื่อนจะรับได้ที่ 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ก็ได้มีการเร่งระบายน้ำออกจึงไม่น่ามีปัญหาหรือหวั่นวิตกว่าเขื่อนจะแตกร้าว เพราะตัวเขื่อนยังมั่นคงแข็งแรงดีอยู่ ส่วนการปล่อยน้ำนั้น พื้นที่ที่อาจได้รับผลบ้างก็คงพวกที่อยู่ใต้เขื่อน แต่คงไม่มาก

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานลักษณะอากาศวันที่19 ก.ย. ว่า ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนกระจาย ส่วนสภาวะน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งยังคงเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ ของภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังภัยธรรมชาติในระยะนี้ สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางด้วย เนื่องจากมีพายุโซนร้อน "ฉอยหวั่น" กำลังจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้บริเวณดังกล่าว

 

รายงานกรมอุตุนิยมวิทยา [22 กันยายน 2546]

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ว่า ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมถึงตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องฝนพาดผ่านภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น ทำให้สภาวะน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่ง ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีต่อไปอีก ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังภัยธรรมชาติในระยะนี้ สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง เนื่องจากมีพายุไต้ฝุ่น "ฉอหวั่น" กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้บริเวณดังกล่าว ส่วนกรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางพื้นที่

 

น้ำทะลักกรุงเก่าปิดน้ำตกนครนายกกบินทร์บุรีวิกฤติหนัก [23 กันยายน 2546]

หลายพื้นที่ของประเทศ ยังคงอ่วม อรทัย หลังเกิด ฝนตกหนักและเกิด น้ำท่วมฉับพลัน โดยผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่า ที่ จ.ปราจีนบุรี น้ำป่าได้ไหลทะลักเข้าท่วม เขตเทศบาลตำบลกบินทร์บุรี อ.กบินทร์บุรี และมีแนวโน้มเพิ่มสูง ขึ้นเรื่อยๆ ถนนหลายสายจมอยู่ใต้น้ำ การสัญจรเป็นไปอย่างทุลักทุเล ประชาชนต้องนำกระสอบทรายมา วางเป็นแนวกั้นน้ำ เจ้าหน้าที่ได้ ระดมกำลังเข้า ไปช่วยอพยพ ข้าวของไว้ในที่สูง และประกาศสั่งปิดโรงเรียนเทศบาล 1 และเทศบาล 2 ชั่วคราว ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำปราจีนอยู่ในภาวะวิกฤติเช่นกัน เนื่องจากระดับน้ำสูงจนน่าเป็นห่วง จ.พระนครศรีอยุธยา มีรายงานว่าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเอ่อล้นตลิ่ง ในขณะที่นายศิริศักดิ์ อยู่สุข นายช่างโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักฯยังรองรับน้ำได้อีกเป็นจำนวนมาก ระดับน้ำในอ่างขณะนี้มีเพียง 462.40 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2545 ในเดือนเดียวกันมีระดับน้ำถึง 1,034.40 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อเป็นเช่นนี้เขื่อนป่าสักฯก็ยังรับน้ำได้อีก ภาคเหนือ จ.สุโขทัย ภาวะน้ำท่วมที่เริ่มจะคลี่คลายกลับมาวิกฤติอีกครั้ง เมื่อเกิดพายุฝนกระหน่ำหนัก ทำให้ มีน้ำสะสมในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำยม ได้ไหลทะลักลงในพื้นที่ จ.สุโขทัย อีกระลอก ภาคอีสาน ที่ จ.กาฬสินธุ์ จ.ร้อยเอ็ด และ จ.มหาสารคาม พบว่ากระแสน้ำมีความเชี่ยวกราก

 

อยุธยาสั่งรับมือน้ำท่วม [24 กันยายน 2546]

สถานการณ์น้ำท่วมในเขต ภาคกลาง เริ่มคลี่คลาย หลังเหตุการณ์น้ำป่าจาก เทือกเขาใหญ่ ไหลหลาก เข้าถล่ม หลายพื้นที่ใน จ.ปราจีนบุรี และ นครนายก ล่าสุดระดับน้ำลดลง ใกล้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยเมื่อช่วง เช้าวันที่ 24 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงาน จาก อ.กบินทร์บุรีจ.ปราจีนบุรี ว่า ระดับน้ำบริเวณตลาดสดเทศบาล ตำบลกบินทร์ ได้ลดลงสู่ภาวะปกติ ส่วนบริเวณชุมชนตลาดเก่า ยังคง มีน้ำท่วมขังในบางจุด ระดับน้ำสูง 1.5-1.8 เมตร โดยรองผู้ว่าฯกล่าวถึงการแก้ปัญหาน้ำท่วมว่า จะเสนอให้สร้างอ่างเก็บ น้ำขนาดใหญ่ 2 อ่าง คืออ่างห้วยโสมง และอ่างไสน้อย-ไสใหญ่ ใน อ.นาดี เพื่อรับน้ำจากเขาใหญ่ในช่วงน้ำหลากและกักเก็บใช้ในช่วงแล้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศ เมื่อวันที่ 24 ก.ย.ว่า ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่าน ภาคกลาง-ตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุก อนึ่ง สภาวะน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่เสี่ยงภัยภาคเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกยังคงมีต่อไปอีก ขอให้ประชาชนระวังภัยในระยะนี้ ส่วน กทม. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางพื้นที่

 

เตือนภัยทะเลหนุนฝนตกหนักกทม.อ่วมจมบาดาล [ 2 ตุลาคม 2546]

นายธีรเดช ตั้งประพฤทธิ์กุล รอง ผอ.สำนักการระบายน้ำ กทม. เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า เมื่อเช้าวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา เกิดฝนตกทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ แต่ปริมาณฝนไม่เกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง จึงไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง เพราะเร่งสูบน้ำลงคลองและแม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็ว อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำฝนในขณะนี้วัดปริมาณรวมได้ 1,442 มิลลิเมตรแล้ว ในขณะที่ฝนตกทั้งปีจะมีปริมาณ 1,500 มิลลิเมตร ถือว่ายังเหลือปริมาณฝนที่จะตกลงมาอีกไม่มาก ไม่น่าจะเกิน 1,600 มิลลิเมตร ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนเคยตกมากที่สุด เมื่อปี 2543 มีประมาณ 1,700 มิลลิเมตร รอง ผอ.สำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวต่อไปว่า ส่วนน้ำเหนือ จากการประสานงานกับกรมชลประทาน มีการปล่อยน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนพระราม 6 มาถึงกรุงเทพฯ ในแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนี้ 1,987 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความสามารถที่จะรับได้ประมาณ 2,300-2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนป่าสัก ก็สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สถานการณ์น้ำเหนือจึงไม่น่าห่วง นายธีรเดชกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 ต.ค. นี้ จะมีน้ำทะเลหนุนสูง 1.8 เมตร วันที่ 15 ต.ค. 1.13 เมตร และวันที่ 28 ต.ค. สูง 1.35 เมตร ในขณะที่ระดับน้ำปัจจุบันอยู่ที่ .99 เมตร ซึ่งจะมีผลให้บ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำนอกคันกั้นน้ำ และจุดที่ กทม.ยังก่อสร้างเขื่อนไม่เสร็จ ได้รับผลกระทบให้น้ำเอ่อล้นบริเวณพื้นราบและซึมนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกแล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีปริมาณฝนตกหนักลงมาในช่วงนั้นด้วย อาจจะกระทบกับบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำมากขึ้น จึงต้องอพยพของไว้ที่สูง ซึ่งได้วางกระสอบทรายหนุนไว้แล้ว 1.5 แสนใบ โดยวางสูง 1.80 เมตร และสำรองไว้อีก 5 แสนใบ รวมทั้งประสานกับทางเขตต่างๆ ให้ประชาสัมพันธ์แจ้งประชาชนให้เตรียมตัว หรือหากท่วมบ้านเรือนนอกคันกั้นน้ำ ต้องอพยพไปอาศัยที่โรงเรียนใกล้ๆ จนกว่าปริมาณน้ำจะลดลง สำหรับพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมริมฝั่งที่จะได้รับผลกระทบ เช่น วัดสร้อยทอง เขตบางซื่อ, ริมคลองบางกอกน้อย บริเวณวัดไก่เตี้ย, ริมคลองมหาสวัสดิ์ เขตตลิ่งชัน วันเดียวกันนี้

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศว่า ร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องฝนกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าว รวมทั้ง กทม.มีฝนตกชุกหนาแน่น ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ของพื้นที่เสี่ยงภัย จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังภัยธรรมชาติในระยะนี้


กทม.ไม่หวั่นพรุ่งนี้ น้ำทะเลหนุนสูงสุดในรอบปี !! [27 ตุลาคม 2546]

พรุ่งนี้คาดว่าน้ำทะเลจะหนุน กทม.สูงถึง 1.70 เมตร นับว่าสูงสุดในรอบปี แต่ทาง สำนักงานระบายน้ำไม่หวั่น เผยเขื่อนกั้นน้ำริมเจ้าพระยาสร้างหมดแล้ว พร้อมเสริมกระสอบทรายให้กั้นน้ำได้สูงถึง 2 เมตร มั่นใจน้ำไม่ทะลักเข้าผิวจราจรแน่น สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร รายงานว่า น้ำทะเลหนุนสูงสุดช่วงเช้าวันนี้ 1.62 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ไม่มีรายงานความเสียหายแก่บ้านเรือนริมแม่น้ำเจ้าพระยา และไม่ล้นทะลักเข้าท่วมผิวการจราจร สำหรับวันพรุ่งนี้ซึ่งจะเป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดในรอบปี ประมาณ 1.70 เมตร กรุงเทพมหานครคาดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหา เพราะเขื่อนกั้นน้ำสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาสร้างเสร็จเกือบหมดแล้ว แต่ในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จ จะใช้การเสริมกระสอบทรายกั้นน้ำได้สูงถึง 2 เมตร เกือบ 2 ล้านใบ ไม่น่าจะมีปัญหาน้ำท่วมทะลักเข้าผิวการจราจรอย่างเช่นที่เกิดขึ้นที่ถนนพระราม 3 เหมือนปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม

กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง แต่ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปริมาณฝนจะลดน้อยลง อย่างไรก็ตามขณะนี้พบว่าหย่อมความกดอากาศต่ำได้ก่อตัวขึ้นที่ทะเลอ่าวไทย ทางกรมอุตุนิยมวิทยากำลังติดตามอย่างใกล้ชิดหากมีกำลังแรงกว่านี้จะแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบต่อไป

ข้อมูลข่าวอ้างอิงจาก
http://www.thairath.co.th/
http://www.dailynews.co.th/
http://news.itv.co.th/