จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนเมษายน 2557 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบและประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ทั้งหมด 44 จังหวัด 311 อำเภอ 1,927 ตำบล 18,355 หมู่บ้าน แบ่งเป็น
ภาคเหนือ 13 จังหวัด ตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และ ภาคใต้ 7 จังหวัด โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะภัยแล้งคือปริมาณฝน ที่ถึงแม้ว่าปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศในปี 2556 จะสูงกว่าค่าเฉลี่ย 14% แต่กลับพบว่ามีฝนที่ตกบริเวณพื้นที่รับน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ค่อนข้างน้อย ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมทั้งปีของทั้งสองเขื่อนน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งรวมถึงน้อยกว่าปี 2548 และ 2553 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรง ส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนปี 2557 ค่อนข้างน้อย อีกทั้งช่วงต้นปี 2557 ฝนยังคงตกน้อยต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์น้ำในเขื่อนตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ในทางตรงกันข้าม ช่วงเวลาดังกล่าว เกษตรกรกลับเพาะปลูกพืชเกินจากแผนที่กรมชลประทานวางไว้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีการปลูกข้าวนาปรังในเขตพื้นที่ชลประทานเกินจากแผนไปถึง 119% ปริมาณน้ำที่ระบายจากเขื่อนจึงถูกสูบออกจากลำน้ำเพื่อนำไปใช้ในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอเพื่อใช้ในการผลักดันน้ำเค็ม ซึ่งปี 2557 เกิดสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำลำน้ำตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการรุกล้ำที่เร็วกว่าปกติมาก (ปกติน้ำเค็มจะรุกล้ำช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี) รวมทั้งความเค็มเกินค่ามาตรฐานค่อนข้างมากโดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำบางปะกง ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการใช้น้ำด้านการเกษตรรวมทั้งการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภค





  ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา / NASA

ปี 2556 มีปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยทั้งประเทศ 1,569 มิลลิเมตร หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย 14% โดยทั่วทุกภาคมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่หากพิจารณาเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ พบว่ามีปริมาณฝนน้อยต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่รับน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ทำให้ในปี 2556 เขื่อนทั้งสองมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี (น้อยกว่าปี 2548 และ 2553 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรง) และส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนของปี 2557 ค่อนข้างน้อย


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมสังเคราะห์จากข้อมูลฝนของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


ปริมาณฝนสะสมรายปี
         จากแผนภาพแสดงข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2548 - 2556 พบว่าปี 2556 ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศน้อยกว่าปี 2554 เพียงปีเดียวเท่านั้น รวมทั้งมากกว่าค่าเฉลี่ย 14% โดยมีฝนตกเกิน 2,000 มิลลิเมตร
ในพื้นที่ภาคเหนือบริเวณจังหวัดเชียงราย ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี และภาคใต้ตอนล่างในบางพื้นที่
          หากพิจารณาแยกเป็นรายภาค พบว่าปี 2556 มีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยนในทุกภาค รวมทั้งมากกว่าปี 2555 ในทุกภาค ยกเว้นภาคกลางและภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ปริมาณฝนปี 2556 น้อยกว่าปี 2555 เพียงเล็กน้อย
นอกจากนี้ในปี 2556 มีปริมาณฝนมากกว่า ปี 2552 และปี 2553 ค่อนข้างมาก ยกเว้นภาคกลางที่ฝนปี 2556 ต่ำกว่าเล็กน้อย



ค่าเฉลี่ย 48 ปี
(2493-2540)
(1,374 มม.)

2548
( 1,359 มม.)

2549
(1,534 มม.)

2550
(1,470 มม.)

2551
(1,543 มม.)

2552
( 1,403 มม.)

2553
(1,436)

2554
(1,824 มม.)

2555
(1,475 มม.)

2556
(1,569 มม.)


ภาค
ปี 2548
ปี 2549
ปี 2550
ปี 2551
ปี 2552
ปี 2553
ปี 2554
ปี 2555
ปี 2556
ภาคเหนือ
1,314
1,501
1,262
1,360
1,136
1,264
1,738
1,282
1,329
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1,212
1,430
1,452
1,518
1,364
1,300
1,662
1,262
1,457
ภาคกลาง
1,212
1,258
1,168
1,278
1,279
1,255
1,375
1,247
1,222
ภาคตะวันออก
1,657
1,815
1,668
1,937
1,783
1,738
2,037
1,921
2,236
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
1,937
2,365
2,465
2,216
2,320
2,309
2,889
2,904
2,769
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
1,678
1,872
1,954
1,932
1,812
1,988
2,530
2,083
2,107
ทั้งประเทศ
1,359
1,544
1,470
1,543
1,403
1,436
1,824
1,475
1,569



ปริมาณฝนสะสมช่วงฤดูแล้ง
          จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมช่วงฤดูแล้ง เปรียบเทียบระหว่างฤดูแล้งปี 2547/2548 2552/2553 2555/2556 และ 2556/2557
พบว่าช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าฤดูแล้งปี 2555/2556 แต่มากกว่าฤดูแล้งปี 2547/2548 และ 2552/2553 และเป็น
ที่น่าสังเกตุว่าฤดูแล้งปี 2556/2557 มีฝนตกมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย




ฤดูแล้งปี 2547/2548
พ.ย. 2547- เม.ย.2548
( 177.18 มม.)


ฤดูแล้ังปี 2552/2553
พ.ย. 2552- เม.ย. 2553
( 179.90 มม.)


ฤดูแล้งปี 2555/2556
พ.ย. 2555- เม.ย. 2556
(281.43 มม.)

ฤดูแล้งปี 2556/2557
พ.ย. 2556- เม.ย. 2557
(254.24)






















ปริมาณฝนสะสมรายเดือน
           จากข้อมูลแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือน เปรียบเทียบระหว่างค่าสถิติ 40 ปี ช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 2555/2556 2552/2553 และ 2547/2548
พบว่าในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม 2556 ปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เมื่อเข้าสู่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2557 ปริมาณฝนต่ำกว่าฤดูแล้งปีอื่น ๆ
ค่อนข้างมาก และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และเมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน 2557 ปริมาณฝนเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
  
สถิติ 48 ปี
ฤดูแล้งปี 2547/2548
ฤดูแลังปี 2552/2553
ฤดูแลังปี 2555/2556
ฤดูแลังปี 2556/2557

สถิติ 48 ปี เดือนพฤศจิกายน
( 68.44 มม.)

พฤศจิกายน 2547
( 41.43 มม.)

พฤศจิกายน 2552
(46.31 มม.)

พฤศจิกายน 2555
(84.25 มม.)

พฤศจิกายน 2556
(99.93 มม.)



















สถิติ 48 ปี เดือนธันวาคม
(29.72 มม.)

ธันวาคม 2547
( 15.54 มม.)

ธันวาคม 2552
(12.16 มม.)

ธันวาคม 2555
(45.05 มม.)

ธันวาคม 2556
(42.23 มม.)

สถิติ 48 ปี เืดือนมกราคม
( 15.36 มม.)

มกราคม 2548
( 10.12 มม.)

มกราคม 2553
( 36.98 มม.)

มกราคม 2556
(27.41 มม.)
มกราคม 2557
(4.51 มม.)

สถิติ 48 ปี เดือนกุมภาพันธ์
( 20.18 มม.)

กุมภาพันธ์ 2548
( 2.10 มม.)

กุมภาพันธ์ 2553
( 11.94 มม.)

กุมภาพันธ์ 2556
(22.89 มม.)
กุมภาพันธ์ 2557
(2.92 มม.)

สถิติ 48 ปี เดือนมีนาคม
( 38.70 มม.)

มีนาคม 2548
( 36.01 มม.)

มีนาคม 2553
( 19.15 มม.)

มีนาคม 2556
( 28.99 มม.)
มีนาคม 2557
( 21.89 มม.)

สถิติ 48 ปี เดือนเมษายน
( 70.61 มม.)

เมษายน 2548
( 71.98 มม.)

เมษายน 2553
(53.36 มม.)

เมษายน 2556
( 72.84 มม.)
เมษายน 2557
(82.77 มม.)



แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสม โดย NASA
          จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมในช่วงฤดูแล้งของทั้ง 4 ปี ตามภาพด้านล่าง เห็นได้ว่าปริมาณฝนโดยภาพรวมทั้งประเทศของปี 2556/2557 มากกว่าปี 2547/2548 และ 2552/2553
โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางและภาคเหนือที่ปี 2556/2557 มีปริมาณฝนมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่หากเปรียบเทียบกับปี 2555/2556 พบว่าปี 2556/2557 มีฝนน้อยกว่าเฉพาะบริเวณภาคเหนือ
และภาคตะวันออก



ฤดูแลังปี 2547/2548
พฤศจิกายน 2547 - เมษายน 2548

ฤดูแลังปี 2552/2553
พฤศจิกายน 2552 - เมษายน 2553

ฤดูแลังปี 2555/2556
พฤศจิกายน 2555 - เมษายน 2556

ฤดูแลังปี 2556/2557
พฤศจิกายน 2556 - เมษายน 2557
 

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml


แผนภาพแสดงปริมาณฝนรายเดือนที่ต่างไปจากค่าปกติ
จัดทำโดย กรมอุตุนิยมวิทยา


จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนรายเดือนที่ต่างไปจากค่าปกติของกรมอุตุนิยมวิทยา เปรียบเทียบระหว่างช่วงฤดูแล้งปี 56/56 และ ฤดูแล้งปี 56/57
        
  เดือนพฤศจิกายน ปี 2556 บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนเกินค่าปกติประมาณ 90% ของพื้นที่ และมีฝนต่ำกว่าค่าปกติบริเวณจ.พังงา จ.สงขลา จ.สตูล และเกาะสมุย และหากเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่าปี 2556 มีฝนต่ำกว่าค่าปกติน้อยกว่าปี 2555
          เดือนธันวาคม ปี 2556 พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นบางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากกว่าค่าปกติ ส่วนภาคใต้มีฝนต่ำกว่าค่าปกติในหลายพื้นที่
รวมทั้งต่ำกว่าปี 2555
          เดือนมกราคม ปี 2557 พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นบางพื้นที่ของภาคใต้ที่มีฝนต่ำกว่าเกณฑ์และสูงกว่าเกณฑ์ แต่เป็นเพียงพื้นที่เล็ก ๆ เท่านั้น แต่หากเทียบกับปี 2556 พบว่า ปี 2556 มีฝนเกินกว่าค่าปกติมากกว่าปี 2557 ค่อนข้างมากโดยเฉพาะภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2557 ไม่มีพื้นที่ใดของประเทศที่มีฝนเกินค่าปกติ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนต่ำกว่าค่าปกติบริเวณจังหวัดมุกดาหาร บึงกาฬ สกลนครและสระแก้ว ส่วนภาคใต้มีฝนต่ำกว่าเกณฑ์ครอบคลุมพื้นที่ 70-80% ของภาค ละหากเทียบกับปี 2556 พบว่าปี 2557 มีพื้นที่ฝนต่ำกว่าค่าปกติมากกว่าปี 2556
          เดือนมีนาคม ปี 2557 พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงมีค่าฝนปกติ และไม่มีพื้นที่ใดที่มีฝนเกินค่าปกติ มีเพียงบางพื้นที่ของภาคตะวันออกที่มีฝนต่ำกว่าค่าปกติ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนต่ำกว่าค่าปกติต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ แต่ครอบคลุมพื้นที่ลดน้อยลง และหากเทียบกับปี 2556 พบว่าปี 2557 มีพื้นที่ฝนต่ำกว่าเกณฑ์น้อยกว่าปี 2556
          เดือนเมษายน ปี 2557 พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีค่าฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เดือนนี้เริ่มมีปริมาณฝนเกินค่าปกติในบางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก และยังคงมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติกระจายตัวเป็นหย่อมเล็ก ๆ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก และหากเทียบกับปี 2556 พบว่าในปี 2556 มีฝนต่ำกว่าเกณฑ์ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยมากกว่าปี 2557

ฤดูแล้งปี 2555/2556

ฤดูแล้งปี 2556/2557

พฤศจิกายน 2555

พฤศจิกายน 2556

ธันวาคม 2555

ธันวาคม 2556

มกราคม 2556

มกราคม 2557

กุมภาพันธ์ 2556

กุมภาพันธ์ 2557

มีนาคม 2556

มีนาคม 2557

เมษายน 2556

เมษายน 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.tmd.go.th/climate/climate.php?FileID=4







 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน)

จากการตรวจวัดค่าความชื้นด้วยระบบโทรมาตรตรวจวัดอากาศของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) พบว่าช่วงฤดูแล้งปี 56/57 บริเวณตอนบนของประเทศมีค่าความชื้น
ลดต่ำลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคมที่บริเวณภาคเหนือมีความชื้นต่ำ แต่เมื่อเข้าสู่เดือนเมษายนความชื้นในอากาศเริ่มเพิ่มสูงขึ้น และหากเทียบกับฤดูแล้งปี 55/56 และ
ฤดูแล้งปี 52/53 พบว่าถึงแม้ในฤดูแล้งปี 56/57 บริเวณภาคเหนือจะมีความชื้นค่อนข้างต่ำแต่ยังคงไม่รุนแรงเท่ากับช่วงฤดูแล้งปี 52/53 ที่ค่าความชื้นต่ำกว่า ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าและยาวนานไปจน
ถึงเดือนเมษายน



พฤศจิกายน 2556

ธันวาคม 2556

มกราคม 2557

กุมภาพันธ์ 2557

มีนาคม 2557

เมษายน 2557

พฤศจิกายน 2555

ธันวาคม 2555

มกราคม 2556

กุมภาพันธ์ 2556

มีนาคม 2556

เมษายน 2556

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_humidImg.php





 ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนของปี 2556 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญทั่วประเทศมีปริมาณน้ำคงเหลือเพื่อเป็นต้นทุนสำหรับฤดูแล้ง ปี 56/57 อยู่ 53,078 ล้านลูกบาศก์เมตรมากกว่าปี 2555 และ 2553 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้งอยู่เพียงเล็กน้อยแต่หากพิจารณาข้อมูลเป็นรายภาคพบว่าในปี 2556 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือมีปริมาณน้ำคงเหลือเพื่อเป็นต้นทุนสำหรับฤดูแล้งเพียง 14,503 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้อยกว่าปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรง ถึงแม้ในปี 2556 ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่กลับพบว่ากลุ่มฝนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่นอกพื้นที่รับน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างค่อนข้างน้อยต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2556 และทำให้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญของพื้นที่ภาคกลางมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี





เขื่อนภูมิพล

เขื่อนสิริกิติ์

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.php

 


 

 ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน


จากการตรวจวัดปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2557 รายละเอียดดังนี้
          แม่น้ำปิง จากการตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ พบว่าปี 2556 มีปริมาณน้ำไหลผ่านต่ำกว่าปีอื่น ๆ ค่อนข้างมาก โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดเพียง 995 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 56 โดยปริมาณน้ำไหลผ่านยังคงน้อยต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2557
          แม่น้ำวัง จากการตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี W.1C สะพานเสตุวารี อ.เมือง จ.ลำปาง พบว่าปริมาณน้ำไหลผ่านตั้งแต่ปี 2556 จนถึงต้นปี 2557 อยู่ในสภาวะปกติ
          แม่น้ำยม จากการตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อ.เมือง จ.แพร่ พบว่าปริมาณน้ำลดต่ำตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2556 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2557
          แม่น้ำน่าน จากการตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี N.67 สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ พบว่าช่วงต้นปี 2556 ปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณนี้ค่อนข้าง
ต่ำกว่าปกติ หลังจากนั้นในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมจึงเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 1,226 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 3 ต.ค. 56
หลังจากนั้นปริมาณน้ำได้ลดต่ำลงมากตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2556 เป็นต้นมาจนถึงช่วงต้นปี 2557
          แม่น้ำเจ้าพระยา จากการตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 ค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ พบว่าช่วงต้นปี 2556 ปริมาณน้ำไหลผ่านค่อนข้างน้อย แต่ยังคงมากกว่าปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้งรุนแรง ต่อมาในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมปริมาณน้ำได้เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีแต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดเพียง 1,087 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หลังจากนั้นตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2556 เป็นต้นมาจนถึงช่วงต้นปี 2557 ปริมาณน้ำไหลผ่านได้ลดต่ำลงมากจนน้อยกว่าปีอื่น ๆ รวมทั้งปี 2553 นอกจากนี้ยังพบว่าที่สถานี C.13 ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่านในปี 2556 ค่อนข้างน้อยกว่าปีอื่น ๆ รวมทั้งมีการลดปริมาณน้ำระบายลงมากตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2556 และระบายน้ำน้อยต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2557 ส่วนที่สถานี C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ช่วงต้นปี 2556 ปริมาณน้ำไหลผ่านต่ำกว่าทุกปี ต่อมาในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556 ปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับปกติ และหลังจากปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา ปริมาณน้ำไหลผ่านลดต่ำลงกว่าทุกปี

ปริมาณน้ำสูงสุด
สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว
ปี
วันที่
ปริมาณน้ำ
(ลบ.ม./วิ)
2545
7 ก.ย.
1,457
2550
18 ต.ค.
2,083
2551
4 พ.ย.
2,116
2552
6 ต.ค.
1,658
2553
20 ต.ค.
2,230
2554
7 ต.ค.
2,359
2555
10 ก.ย.
1,277
2556
27 ต.ค.
995
ปริมาณน้ำสูงสุด
สถานี N.67 สะพานเกยไชย
ปี
วันที่
ปริมาณน้ำ
(ลบ.ม./วิ)

2545

29 ก.ย.
1,302
2550
18 ต.ค.
1,368
2551
24 ก.ย.
1,248
2552
8 ต.ค.
1,239
2553
30 ต.ค.
1,412
2554
13 ต.ค.
1,577
2555
15 ก.ย.
1,095
2556
3 ต.ค.
1,226
ปริมาณน้ำสูงสุด
สถานี C.2 ค่ายจิรประวัติ
ปี
วันที่
ปริมาณน้ำ
(ลบ.ม./วิ)
2538
1 ต.ค.
4,820
2545
2 ต.ค.
3,997
2550
20 ต.ค.
2,503
2551
5 พ.ย.
2,398
2552
8 ต.ค.
2,225
2553
26 ต.ค.
2,815
2554
13 ต.ค.
4,686
2555
11 ก.ย.
1,838
2556
8 ต.ค.
1,807

ปริมาณน้ำสูงสุด
สถานี C.13 เขื่อนเจ้าพระยา
ปี
วันที่
ปริมาณน้ำ
(ลบ.ม./วิ)
2538
5 ต.ค.
4,501
2545
10 ต.ค.
3,535
2548
24 ก.ย.
1,899
2550
21 ต.ค.
2,572
2551
8 พ.ย.
2,394
2552
7 ต.ค.
2,115
2553
29 ต.ค.
3,717
2554
21 ก.ย.
3,721
2555
14 ก.ย.
1,927
2556
25 ก.ย.
2,195
ปริมาณน้ำสูงสุด
สถานี C.29A บางไทร
ปี
วันที่
ปริมาณน้ำ
(ลบ.ม./วิ)
2551
25 ก.ย.
2,505
2552
8 ต.ค.
1,968
2553
31 ต.ค.
3,355
2554
15 ต.ค.
3,860
2555
13 ก.ย.
2,022
2556
7 ต.ค.
2,276
   

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_itcwater.php





 ข้อมูลโดย : กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ / Ocean Weather Inc. / กรมควบคุมมลพิษ / การประปานครหลวง

ปี 2557 สถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำบริเวณอ่าวไทยเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติและมีค่าความเค็มสูงกว่ามาตรฐานค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำบางปะกง ซึ่งโดยปกติค่าความเค็มจะเริ่มสูงกว่ามาตรฐานในช่วงเดือนพฤษภาคม แต่ในปี 2557 ความเค็มเริ่มเกินค่ามาตรฐานสำหรับผลิตน้ำประปาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม จากการตรวจวัดค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีสำแล จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 22.00 น. มีความเค็มสูงถึง 1.92 กรัมต่อลิตร (สูงกว่าปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง) และมีความเค็มเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องนานถึง 70 ชั่วโมง สำหรับแม่น้ำบางปะกง เกิดสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมเช่นเดียวกันแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ค่าความเค็มที่ตรวจวัดได้เกินจากค่ามาตรฐานค่อนข้างสูงมาก ทั้งมาตรฐานเพื่อผลิตน้ำประปาและเพื่อการเกษตร ส่งผลให้ระบบประปาที่ใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกงเกิดปัญหา โดยเฉพาะการผลิตน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา รวมทั้งระบบประปาชุมชน ซึ่งความเค็มที่เกินมาตรฐานเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต ทั้งนี้น้ำเค็มได้รุกล้ำขึ้นไปถึงจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี ซึ่งโดยปกติในช่วงน้ำหลาก จะเกิดการรุกล้ำลำน้ำถึงแค่บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา

ทั้งนี้มีสาเหตุหลักจากการเกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูงกว่าปกติในช่วงต้นปีตามที่กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้คาดการณ์ไว้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงในบางช่วง ส่งผลให้เกิดคลื่นสูงพัดเข้าสู่อ่าวไทย ระดับน้ำที่ตรวจวัดได้จริงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจึงสูงกว่าที่กรมอุทกศาสตร์คาดการณ์ไว้ เช่น วันที่ 15 และ 21 กุมภาพันธ์ 2557 ระดับน้ำที่ตรวจวัดได้จริงสูงกว่าที่คาดการณ์ถึง 60 เซนติเมตร นอกจากนี้อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนคลองสียัด มีปริมาณน้ำเหลือน้อยไม่สามารถนำมาช่วยผลักดันน้ำเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดสภาวะน้ำเค็มรุกล้ำอย่างต่อเนื่อง

สภาวะน้ำเค็มรุกล้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม ส่วนแม่น้ำบางปะกงถึงแม้ค่าความเค็มได้ลดลงจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม แต่ค่าความเค็มยังคงเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม



กราฟแสดงระดับน้ำบริเวณอ่าวไทยที่สถานีกองบัญชาการกองทัพเรือ และสถานีป้อมพระจุลจอมเกล้า พบว่าระดับน้ำที่ตรวจวัดจริง(เส้นสีแดง)
สูงกว่าระดับน้ำทำนายค่อนข้างมาก โดยเฉพาะวันที่ 15 และ 21 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ระดับน้ำตรวจวัดจริงสูงกว่าคาดการณ์ถึง 60 เซนติเมตร

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.hydro.navy.mi.th/Chaophraya/rtnhq.htm



แผนภาพความสูงและทิศทางของคลื่นบริเวณอ่าวไทย แสดงให้เห็นว่าวันที่ 15 และ 21 กุมภาพันธ์ ความสูงของคลื่นบริเวณอ่าวไทยเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงที่
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/web/index.php/weatherinfo.html




จากการตรวจวัดความเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสถานีสูบสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี พบว่าค่าความเค็มของน้ำดิบเริ่มเกินมาตรฐานเพื่อผลิตน้ำประปาตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2557
และค่าความเค็มเกินมาตรฐานค่อนข้างมากในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 โดยสามารถวัดค่าความเค็มได้สูงสุด 1.92 กรัม/ลิตร และเข้าสู่สภาวะปกติในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2557





จากการตรวจวัดค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกงบริเวณ ต.บางแตน อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
พบว่าปริมาณน้ำเค็มเกินค่ามาตรฐานค่อนข้างมาก ทั้งมาตรฐานเพื่อการผลิตน้ำประปา
และมาตรฐานเพื่อการเกษตร








 ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน

แผนการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 แยกตามการใช้ประโยชน์
               ช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 กรมชลประทานได้วางแผนจัดสรรน้ำตามการใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย 1) อุปโภค-บริโภค 2) อุตสาหกรรม 3) การเกษตร 4) ระบบนิเวศและอื่น ๆ
สำหรับการวางแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศ มีการจัดสรรน้ำไว้เพื่ออุปโภค-บริโภค ทั้งสิ้น 9% อุตสาหกรรม 1% การเกษตร 62% ระบบนิเวศและอื่น ๆ 28% หากพิจารณาเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา
มีการจัดสรรน้ำไว้เพื่ออุปโภค-บริโภค 21% อุตสาหกรรม 0.09% การเกษตร 54% ระบบนิเวศและอื่น ๆ 25% ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดสรรน้ำไว้สำหรับอุปโภค-บริโภค 5%
อุตสาหกรรม 1% การเกษตร 74% ระบบนิเวศและอื่น ๆ 20%


แผน/ผล การจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้ง ปี 2556/2557 แยกตามพื้นที่

               จากรายงานแผน/ผลการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2557)
โดยกรมชลประทาน พบว่า ทั้งประเทศ มีการใช้น้ำเกินแผนไปทั้งสิ้น 1,138 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเกินจากแผน 6% ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้น้ำเกิน จากแผน 1,111 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเกินจากแผน 41% ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาใช้น้ำเกินแผน
1,965 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเกินจากแผน 37% และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของแม่น้ำเจ้าพระยาได้ระบาย
น้ำเกินจากแผนทั้งสิ้น ยกเว้นน้ำต้นทุนที่เกิดจากการผันน้ำ จากแม่น้ำแม่กลองที่ถูกนำไปใช้ต่ำกว่าแผนที่วางไว้ 9%
(รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางและกราฟด้านล่าง)

เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ
แผนการจัดสรรน้ำ
ผลการระบายน้ำ
คงเหลือ/ระบายเกิน
ปริมาณน้ำ(ล้าน ลบ.ม) ปริมาณน้ำ(ล้าน ลบ.ม) % จากแผน ปริมาณน้ำ(ล้าน ลบ.ม) % จากแผน
ทั้งประเทศ 20,566  21,704 106% -1,138 -6%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ             2,714      3,825 141% -1,111 -41%
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา             5,300      7,265 137% -1,965 -37%
     ภูมิพล+สิริกิติ์             3,000      4,792 160% -1,792 -60%
     แควน้อยบำรุงแดน               600        813 136% -213 -36%
     ป่าสักชลสิทธิ์               700        752 107% -52 -7%
     แม่กลอง             1,000        908 91% 92 9%



เปรียบเทียบปริมาณน้ำ แผน/ผล การจัดสรรน้ำในแต่ละปี แยกตามพื้นที่
          ทั้งประเทศ
จากการเปรียบเทียบข้อมูลแผน/ผลการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 51/52 ถึงปี 56/57 พบว่ามีการใช้น้ำเกินแผน 4 ปี ประกอบด้วย ปี 51/52 ปี 52/53 ปี 54/55 ปี 56/57 และใช้น้ำต่ำกว่าแผน 2 ปี ประกอบด้วย ปี 53/54 และปี 55/56 โดยปี 54/55 มีปริมาณน้ำมากที่สุดและวางแผนการใช้น้ำไว้มากที่สุด แต่ยังคงมีการใช้น้ำเกินแผน แต่ปี 53/54 มีการจัดสรรน้ำไว้น้อยที่สุด แต่กลับมีการใช้น้ำต่ำกว่าแผน สำหรับปี 56/57 มีการจัดสรรน้ำไว้มากกว่าปี 53/54 เพียงเล็กน้อย และยังคงมีการใช้น้ำเกินแผน ส่วนรช่วงฤดูแล้งปี 52/53 มีการใช้น้ำเกินแผนมากที่สุด
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการเปรียบเทียบข้อมูลแผน/ผลการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 52/53 ถึงปี 56/57 พบว่ามีการใช้น้ำเกินแผน 3 ปี ประกอบด้วย ปี 53/54 ปี 54/55 ปี 56/57 และใช้น้ำต่ำกว่าแผน 2 ปี ประกอบด้วย ปี 52/53 และปี 55/56 โดยปี 55/56 มีการจัดสรรน้ำน้อยที่สุดแต่ใช้น้ำต่ำกว่าแผน แต่ปี 54/55 จัดสรรน้ำมากที่สุดแต่กลับใช้น้ำเกินแผนมากที่สุด ส่วนปี 56/57 มีการจัดสรรน้ำไว้น้อยกว่าทุกปียกเว้นปี 55/56 และใช้น้ำเกินแผน
         ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากการเปรียบเทียบข้อมูลแผน/ผลการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 51/52 ถึงปี 56/57 พบว่ามีการใช้น้ำเกินแผน 5 ปี ประกอบด้วย ปี 51/52 ปี52/53 ปี 54/55 ปี 55/56 ปี 56/57 และใช้น้ำต่ำกว่าแผนเพียงปีเดียว คือ ปี 53/54 โดยปี 54/55 จัดสรรน้ำไว้มากที่สุดแต่มีการใช้น้ำเกินแผน สำหรับปีแล้ง 52/53 มีการจัดสรรน้ำ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่กลับใช้น้ำเกินแผนไปมากที่สุดถึง 2,339 ล้านลูกบาศก์เมตร และปี 56/57 มีการจัดสรรน้ำไว้น้อยที่สุดเพียง 5,300 ล้านลูกบาศก์เมตร และใช้น้ำเกินแผน 1,965 ล้านลูกบาศก์เมตร

(รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางและกราฟด้านล่าง)


ปริมาณน้ำต้นทุน และการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้ง ทั้งประเทศ
ฤดูแล้ง ปริมาณน้ำทั้งหมด ปริมาณน้ำใช้การได้ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง แผนการใช้น้ำ
ผลการใช้น้ำ
ปี 51/52              59,641                36,131                  32,941                     3,217        22,687      24,160
เกินแผน
ปี 52/53              58,532                35,022                  31,917                     3,105        20,720      22,471
เกินแผน
ปี 53/54              55,691                31,851                  28,647                     3,204        20,444      19,980
ต่ำกว่าแผน
ปี 54/55              69,285                45,328                  41,970                     3,358        31,900      33,262
เกินแผน
ปี 55/56              55,268                31,469                  28,649                     2,820        23,570      21,424
ต่ำกว่าแผน
ปี 56/57              56,872                33,069                  29,575                     3,494        20,566      21,704
เกินแผน


ปริมาณน้ำต้นทุน และการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ฤดูแล้ง ปริมาณน้ำทั้งหมด ปริมาณน้ำใช้การได้ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง แผนการใช้น้ำ
ผลการใช้น้ำ
ปี 52/53        7,266       5,533       4,032       1,501       2,837       2,497
ต่ำกว่าแผน
ปี 53/54        9,182       7,397       5,793       1,604       2,834       4,631
เกินแผน
ปี 54/55       10,398       8,613       6,922       1,691       3,513       5,537
เกินแผน
ปี 55/56        5,346       3,542       2,345       1,197       1,529       1,389
ต่ำกว่าแผน
ปี 56/57        8,464       6,664       4,976       1,688       2,714       3,825
เกินแผน


ปริมาณน้ำต้นทุน และการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ฤดูแล้ง ปริมาณน้ำทั้งหมด ปริมาณน้ำใช้การได้ ภูมิพล+สิริกิติ์ แควน้อย ป่าสักชลสิทธิ์ แม่กลอง แผนการใช้น้ำ
ผลการใช้น้ำ
ปี 51/52              19,343                12,690        10,736 0             954       1,000          9,550       10,881
เกินแผน
ปี 52/53              17,875                11,186          8,720       519             947       1,000          8,000       10,339
เกินแผน
ปี 53/54              18,529                11,827          9,628       739             960         500          8,500        8,409
ต่ำกว่าแผน
ปี 54/55              24,849                18,099        16,239       900             960 0         13,220       14,751
เกินแผน
ปี 55/56              17,771                11,075          8,612       689             774       1,000          9,000        9,043
เกินแผน
ปี 56/57              15,849                  9,153          6,343       851             959       1,000          5,300        7,265
เกินแผน


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://wmsc.rid.go.th/




 

 ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน

ช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 กรมชลประทานได้วางแผนการเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้งไว้ทั้งสิ้น 13 ล้านไร่ แต่มีการเพาะปลูกจริง 18.02 ล้านไร่ คิดเป็น 139% ซึ่งเกินจากแผนไปถึง 5.02 ล้านไร่ ทั้งนี้มีการปลูกข้าวนาปรังเกินแผนไป 5.2 ล้านไร่ หากพิจารณาเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้วางแผนการปลูกพืชไว้ทั้งหมด 3.05 ล้านไร่ แต่มีการเพาะปลูกจริง 3.27 ล้านไร่ คิดเป็น 107% เกินจากแผนไป 0.22 ล้านไร่ โดยมีการปลูกข้าวนาปรังเกินไปจากแผน 0.26 ล้านไร่
สำหรับในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ได้วางแผนการเพาะปลูกพืชไว้ 5.09 ล้านไร่ แต่เพาะปลูกเกินแผนไปมากถึง 9.84 ล้านไร่ คิดเป็น 193% หรือเกินจากแผนไป 4.75 ล้านไร่ โดยมีการปลูกข้าวนาปรังเกินจากแผนไป 4.79 ล้านไร่
(รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางด้านล่าง)

แผน/ผล การเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้ง
ทั้งประเทศ


แผน/ผล การเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


แผน/ผล การเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://wmsc.rid.go.th/








 ข้อมูลโดย : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบและประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ทั้งหมด 44 จังหวัด 311 อำเภอ 1,927 ตำบล 18,355 หมู่บ้าน
(รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางด้านล่าง)

จังหวัด 
อำเภอรวม 
อำเภอประกาศภัย 
รายชื่ออำเภอที่ประกาศภัย
 ภาคเหนือ 13 จังหวัด
 อุตรดิตถ์ 
9  
9  
 ฟากท่า ตรอน ทองแสนขัน พิชัย เมือง ท่าปลา บ้านโคก ลับแล นํ้าปาด 
 สุโขทัย 
9  
9  
 เมือง กงไกรลาศ บ้านด่านลานหอย คีรีมาศ สวรรคโลก ศรีนคร ศรีสำโรง ทุ่งเสลี่ยม ศรีสัชนาลัย 
 แพร่ 
8  
8  
 เมือง หนองม่วงไข่ เด่นชัย ร้องกวาง สอง ลอง สูงเม่น วังชิ้น 
 ตาก 
9  
9  
 บ้านตาก วังเจ้า เมือง สามเงา อุ้มผาง ท่าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด พบพระ 
 น่าน 
15  
13  
 เฉลิมพระเกียรติ ปัว เมือง บ่อเกลือ ภูเพียง แม่จริม ทุ่งช้าง นาน้อย บ้านหลวง เชียงกลาง สองแคว เวียงสา ท่าวังผา 
 พะเยา 
9  
9  
 แม่ใจ เชียงม่วน ภูกาม ยาว ปง ดอกคำใต้ จุน ภูซาง เชียงคํา เมือง
 พิษณุโลก 
9  
5  
 พรหมพิราม ชาติตระการ นครไทย วังทอง บางกระทุ่ม 
 นครสวรรค์ 
15  
6  
 ท่าตะโก ตากฟ้า โกรกพระ เมือง พยุหคีรี ตาคลี 
 พิจิตร 
12  
4  
 เมือง ตะพานหิน บางมูลนาก ทับคล้อ 
 แม่ฮ่องสอน 
7  
7  
 ปางมะผ้า ขุนยวม เมือง สบเมย แม่ลาน้อย ปาย แม่สะเรียง 
 เชียงใหม่ 
25  
25  
 อมก๋อย หางดง พร้าว ดอยหล่อ ไชยปราการ ดอยเต่า ป่าตอง แม่ริม ฮอด กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สารภี แม่แตง แม่แจ่ม ดอยสะเก็ด สะเมิง เชียงดาว แม่วาง เมือง ฝางแม่ออน สันกำแพง เวียงแหง สันทราย แม่อาย 
 ลำพูน 
8  
8  
 บ้านธิ ลี้ เมือง ทุ่งหัวช้าง แม่ทา ป่าซาง เวียงหนองล่อง บ้างโฮ่ง 
 เชียงราย 
18  
10  
 เวียงเชียงรุ้ง เมือง พญาเม็งราย พาน ป่าแดด แม่จัน แม่สาย แม่สรวย แม่ลาว ดอยหลวง 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด 
 บุรีรัมย์ 
23  
1  
 พุทไธสง 
 ขอนแก่น 
26  
23  
 บ้านไผ่ กระนวน หนองนาคํา สีชมพู พระยืน มัญจาคีรี นํ้าพอง บ้านฝาง เปือยน้อย พลชำสูง เขาสวนกวาง เมือง โนนศิลา ชนบท โคกโพธิ์ไชย แวงใหญ่ แวงน้อย ภูผาม่าน หนองสองห้อง เวียงเก่า ชุมแพ อุบลรัตน์ 
 ศรีสะเกษ 
22  
7  
 เมือง อุทุมพรพิสัย นํ้าเกลี้ยง โพธิ์ศรีสุวรรณ โนนคูณ ราษีไศล เบญจลักษ์ 
 ชัยภูมิ 
16  
15  
 คอนสวรรค์ จัตุรัส ภักดีชุมพล บ้านเขว้า เนินสง่า หนองบัวแดง บ้านแท่น ภูเขียว คอนสาร เมือง เกษตรสมบูรณ์ แก่งคร้อ ซับใหญ่ บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต 
 มหาสารคาม 
13  
13  
 กันทรวิชัย เชียงยืน เมือง กุดรัง นาดูน วาปี ปทุมนาเชือก พยัคฆภูมิ พิสัย บรบือ แกดํา ยางสีสุราช โกสุมพิสัย ชื่นชม 
 กาฬสินธ์ุ 
18  
18  
 ยางตลาด ท่าคันโท นามน นาคู เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สามชัย ห้วยผึ้ง ร่องคํา สหัสขันธ์ สมเด็จ กมลาไสย ห้วยเม็ก ดอนจาน หนองกุง ศรีเมือง ฆ้องชัย 
 หนองบัวลำภู 
6  
6  
 สุวรรณคูหา เมือง ศรีบุญเรือง โนนสัง นาวัง นากลาง 
 สุรินทร์ 
17  
2  
 ศรีณรงค์ รัตนบุรี 
 นครราชสีมา 
32  
2  
 ห้วยแถลง สูงเนิน 
 หนองคาย 
9  
3  
 เมือง ศรีเชียงใหม่ โพนพิสัย 
 ภาคกลาง 7 จังหวัด 
 สิงห์บุรี 
6  
5  
 เมือง ท่าช้าง พรหมบุรี บางระจัน อินทร์บุรี 
 สระบุรี 
13  
2  
 บ้านหมอ ดอนพุด 
 ชัยนาท 
8  
6  
 สรรพยา หนองมะโมง วัดสิงห์ มโนรมย์ เนินขาม หันคา 
 สุพรรณบุรี 
10  
2  
 หนองหญ้าไซ ดอนเจดีย์ 
 กาญจนบุรี 
13  
3  
 หนองปรือ เลาขวัญ บ่อพลอย 
 ปทุมธานี 
7  
2  
 หนองเสือ คลองหลวง 
 เพชรบุรี 
8  
3  
 แก่งกระจาน ท่ายาง ชะอํา 
ภาคตะวันออก 7 จังหวัด 
 ฉะเชิงเทรา 
11  
7  
 พนมสารคาม เมือง บ้านโพธิ์ บางนํ้าเปรี้ยว บางปะกง คลองเขื่อน บางคล้า 
 จันทบุรี 
10  
10  
 มะขาม โป่งนํ้าร้อน สอยดาว เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ ขลุง นายายอาม เมือง แก่งหางแมว แหลมสิงห์ 
 ปราจีนบุรี 
7  
7  
 ศรีมหาโพธิ บ้านสร้าง ประจันตคาม กบินทร์บุรี นาดี เมือง ศรีมโหสถ 
 ตราด 
7  
6  
 เมือง เขาสมิง เกาะกูด คลองใหญ่ แหลมงอบ บ่อไร่ 
 ชลบุรี 
11  
1  
 เกาะสีชัง 
 สมุทรปราการ 
6  
2  
 เมือง บางพลี 
 สระแก้ว 
9  
8  
 เมือง คลองหาด เขาฉกรรจ์ วัฒนานคร โคกสูง ตาพระยา วังนํ้าเย็น วังสมบูรณ์ 
 ภาคใต้ 7 จังหวัด
 ตรัง 
10  
10  
 ห้วยยอด เมือง วังวิเศษ ปะเหลียน หาดสำราญ ย่านตาขาว รัษฎา สิเกา กันตัง นาโยง 
 สตูล 
7  
4  
 ละงู ท่าแพ เมือง ควนโดน 
 กระบี่ 
8  
8  
 เมือง เหนือ คลองอ่าวลึก เกาะลันตา เขาพนม คลองท่อม ปลายพระยา ลำทับ 
 สุราษฎร์ธานี 
19  
1  
 ดอนสัก 
 นครศรีธรรมราช 
23  
5  
 ปากพนัง เมือง สิชล เชียรใหญ่ บางขัน 
 ชุมพร 
8  
5  
 หลังสวน ละแม สวี เมือง ท่าแซะ 
 ปัตตานี 
12  
2  
 โคกโพธิ์ เมือง 

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.disaster.go.th/











สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ : แล้งนี้ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติต์มีน้ำน้อย ต้องช่วยกันประหยัด [ ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน : 20 พ.ย. 56 ]

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(20 พ.ย. 56) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 53,131  ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด เทียบกับปี 2555 ณ เวลาเดียวกัน ปีนี้น้ำจะมากกว่าประมาณ 1,800 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 235 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 89 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 102 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 96 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 7,296 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,984 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 838 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 89ของความจุอ่างฯ

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 92 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 380 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่างฯ >เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 1,017 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 310 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่างฯ

สำหรับในพื้นที่ภาคกลาง ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาณน้ำ 955 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำ 245 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 102 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 206ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 92 ของความจุอ่างฯ

                 ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อย ทำให้ในช่วงฤดูแล้งปี 56/57 กรมชลประทาน ต้องวางแผนจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในการสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและกิจกรรมการใชน้ำต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้น้อยกว่าปีที่ผ่านๆมา จึงขอให้ประชาชนและเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต



เหตุน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาปีนี้มีน้อยมาก ต้องประกาศงดทำนาปรัง [ ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน : 27 ธ.ค. 56 ]

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมชลประทานได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2556/2557 ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 56 ถึง วันที่ 30 เม.ย. 57 โดยมีปริมาณน้ำที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งสิ้น 5,300 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำที่นำมาจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ รวมกัน จำนวน 3,000  ล้านลูกบาศก์เมตร  เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จำนวน 600 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จำนวน 700 ล้านลูกบาศก์เมตร และผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ จะนำน้ำทั้งหมดที่ได้วางแผนจัดสรรไว้ สำหรับสนับสนุนการเพาะปลูกข้าวนาปรังรวมทั้งสิ้น 4.74 ล้านไร่ ผลการเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 19 ธ.ค. 57  พบว่าพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง มีการเพาะปลูกแล้ว ประมาณ 5.03 ล้านไร่ ซึ่งมากกว่าแผนฯ  0.29 ล้านไร่ หรือมากกว่าแผนคิดเป็นร้อยละ 6  และเนื่องจากเกษตรกรทำการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น ทำให้กรมชลประทานต้องปรับแผนการบริหารจัดการน้ำมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 56 เป็นต้นมา ประกอบกับขณะนี้ปริมาณน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 25 ธ.ค.  56 มีปริมาณน้ำใช้การได้ของแหล่งน้ำต้นทุนทั้ง 4 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์รวมกันเป็น จำนวน 7,833 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้อย  ในขณะที่เมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งปี 2556/2557 แล้ว ยังต้องสำรองปริมาณน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆในช่วงต้นฤดูนาปี 2557 จากทั้ง 4 เขื่อน รวมกันอีกกว่า 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตรด้วย

จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมชลประทาน ได้พิจารณาและประเมินสถานการณ์แล้ว เห็นว่า  การเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกรจะเริ่มขึ้นในช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม 2557  ซึ่งหากมีการเพาะปลูกข้าวนาปรังอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนเมษายน 2557 จะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำและเกิดความเสียหายต่อพืชผลของเกษตรกรได้

ดังนั้น ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป กรมชลประทาน จะระบายน้ำเพื่อสนับสนุนเฉพาะการอุปโภค – บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้น  จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้งดการเพาะปลูกข้าวนาปรังในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย




น้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เหลือใช้ได้เพียงร้อยละ 30 เตือนต้องประหยัดอย่างเคร่งครัด [ ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน : 31 ม.ค. 57 ]

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด(31 ม.ค. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 13,110 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้ จำนวน 6,414 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของปริมาณน้ำใช้การได้

สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,729 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,929  ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,341 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,491 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 444 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 401 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาณน้ำ 596 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 62 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 593 ล้านลูกบาศก์เมตร

ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2556/2557 เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(31 ม.ค. 57) มีการใช้น้ำไปแล้ว 3,265 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 62 ของแผนฯ คงเหลือปริมาณน้ำที่จะใช้ได้ตามแผนฯ อีกประมาณ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของแผนฯ

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ คงเหลือปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ในช่วงฤดูแล้ง เพียงร้อยละ 30 ของความจุฯ เท่านั้น  ในขณะที่ฤดูแล้งยังเหลือระยะเวลาอีกประมาณ  3 เดือน จึงขอให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดคุณค่าสูงสุด โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ขอความร่วมมือให้งดทำนาปรังอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ เพียงพอใช้อย่างไม่ขาดแคลน




พื้นที่ทำนาปรังในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา เกิน 2 เท่าของแผนแล้ว ย้ำต้องงดปลูก [ ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน : 5 ก.พ. 57 ]

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด(5 ก.พ. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 12,885 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จำนวนทั้งสิ้น 6,189 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,631 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,831  ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,254 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,404 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 428 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 385 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาณน้ำ 572 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 569 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้กำหนดแผนการใช้น้ำจากเขื่อนต่างๆข้างต้น เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2556/2557 ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 5,300 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนำมาจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ รวมกันจำนวน 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จำนวน 600 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อีกจำนวน 700  ล้านลูกบาศก์เมตร และผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาเสริมอีก 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

                ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2556/2557 เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(5 ก.พ. 57) มีการใช้น้ำไปแล้ว 3,533 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 67 ของแผนฯ คงเหลือปริมาณน้ำที่จะใช้ได้ตามแผนฯ อีกประมาณ 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของแผนฯ

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งในเขตและนอกเขตพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(ณ  30 ม.ค. 57) พบว่ามีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งไปแล้วกว่า 8.55 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 168 ของแผนทั้งหมด(แผนกำหนดไว้ 5.09 ล้านไร่) แยกเป็นพื้นที่ทำนาปรัง 8.29 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 175 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 4.74 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก 0.26 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 0.35 ล้านไร่)

อย่างไรก็ตาม ยังคงพบว่าพื้นที่ทำนาปรังในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนถึงขณะนี้เกินแผนที่กำหนดไว้ ไปแล้วกว่า 2 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 201 ของแผนฯ แม้จะมีการรณรงค์ให้งดทำนาปรังอย่างต่อเนื่องก็ตาม จึงขอย้ำให้เกษตรกรให้ความร่วมมือในการงดทำนาปรังต่อเนื่องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ เพียงพอใช้ไม่ขาดแคลน




นาข้าวปากน้ำโพเจอแล้งกระหน่ำ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 17 ก.พ. 57 12:07 น.]

นครสวรรค์ - ชาวนานครสวรรค์ผจญภัยแล้งหลายพื้นที่ บางส่วนต้องปล่อยข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ชาวนาแถบ “ท่าตะโก” ระดมสูบน้ำบึงบอระเพ็ดเข้าทุ่ง
       
       วันนี้ (17 ก.พ.) นายชุมพล บุญธรรม ชาวนาหมู่ 3 ต.เนินกว้าว อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ กล่าวว่า ต.เนินกว้าวประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ซึ่งขณะนี้ชาวนาต้องดิ้นรนหาน้ำโดยขุดบ่อบาดาลเพื่อเยียวยาต้นข้าวที่กำลัง เหี่ยวเฉา เพราะเขื่อนวังร่มเกล้าซึ่งอยู่ใน จ.อุทัยธานี ที่เคยผันน้ำมาแจกจ่ายก็แห้งขอด มีน้ำไม่พอ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ทุ่งนาหลายแปลงเริ่มขาดแคลนน้ำอย่างหนัก บางรายต้องปล่อยให้ข้าวยืนต้นตาย รวมแล้วนับพันไร่
       
       ด้านชาวนา ต.พนมเศษ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ต้องนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งบริเวณปากคลองบึงบอระเพ็ดกว่า 20 เครื่อง พร้อมกับเดินเครื่องสูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง ส่งน้ำไปยังคลองสาขาในพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำและแรงดันให้สูงขึ้น หลังจากนาข้าวในพื้นที่กำลังขาดน้ำเพราะปัญหาฝนทิ้งช่วงนาน ประกอบกับน้ำตามลำคลองสาธารณะมีน้อย
       
       นายสัญญา แก้วขาว ชาวนา ต.พนมเศษ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านต้องรวมตัวช่วยเหลือกันเอง โดยการระดมเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ช่วยกันสูบน้ำจากบึงบอระเพ็ดลงสู่ลำคลอง สาขาส่งน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวก่อนที่นาข้าวกว่า 4 หมื่นไร่ในพื้นที่จะแห้งตาย โดยมีสัญญาระหว่างชาวนาด้วยกันว่า หากใครนำเครื่องมาร่วมติดตั้งบริเวณปากคลองก็มีสิทธิ์ตั้งเครื่องสูบน้ำที่ ไหลผ่านเข้านาตัวเองได้





ตรังแล้งหนัก! ทั้งจังหวัดไร้ฝนแล้วกว่า 2 เดือน ปชช.กว่า 180 ครัวเรือนเดือดร้อน [ 17 ก.พ. 57 12:24 น.]

ตรัง - หลายพื้นที่ใน จ.ตรัง เริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดน้ำกิน น้ำใช้เพื่อการเกษตร โดยเฉพาพื้นที่ตำบลท่าข้ามซึ่งอยู่ติดกับทะเลอันดามัน เผยทั้งจังหวัดไร้ฝนแล้วกว่า 2 เดือน ปชช.เดือดร้อนกว่า 180 ครัวเรือน พร้อมเร่งระดมบรรทุกน้ำเข้าช่วยเหลือ หวั่นหากเดือนนี้ยังไม่มีฝนวิกฤตหนักแน่
       
       วันนี้ (17 ก.พ.) นายอำนวย จันทรัฐ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง กล่าวว่า นับตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2557 เป็นต้นมา หรือเป็นระยะเวลาเกือบ 2 เดือนแล้ว ที่มิได้มีฝนตกลงมาในพื้นที่จังหวัดตรัง ทำให้หลายพื้นที่เริ่มเกิดสภาพแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร ส่วนแม่น้ำตรัง และลำคลองสาขา ก็มีระดับน้ำที่ลดลงอย่างรวดเร็ว จนล่าสุดเหลือเพียงแค่ 30% แล้ว ซึ่งคาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ สถานการณ์ภัยแล้งจะเข้าสู่ขั้นวิกฤต และรุนแรงกว่าทุกๆ ปี ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวอย่างมากจะยิ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน เป็นวงกว้าง
       
       โดยล่าสุด ได้มีการแจ้งสถานการณ์ภัยแล้งเกิดขึ้นมาแล้วในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะใน ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน ซึ่งประสบปัญหาเป็นแห่งแรกของจังหวัดตรัง เนื่องจากมีสภาพพื้นที่อยู่ติดกับฝั่งทะเลอันดามัน ทางด้านทิศใต้ ทำให้มีประชาชนได้รับผลกระทบ จำนวน 180 ครัวเรือน 720 คน ซึ่งเมื่อสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับแจ้งความเดือดร้อนมาจาก เทศบาลตำบลท่าข้าม และ อบต.ท่าข้าม จึงรีบประสานไปยังหน่วยงานราชการกลุ่มโซนที่ 4 อ.ปะเหลียน ทั้ง อบจ.ตรัง เทศบาลตำบลทุ่งยาว อบต.บ้านนา และหมวดการทาง อ.ย่านตาขาว ให้สนับสนุนรถบรรทุกน้ำเข้าไปช่วยเหลือประชาชนแล้ว
       
       สำหรับในปี 2557 นี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เสนอไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อขอแบ่งกลุ่มหน่วยงานราชการออกเป็น 10 โซน ซึ่งจะได้เกิดความสะดวกต่อการดูแลสถานการณ์ภัยแล้ง และสามารถประสานงานเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีทั้งพื้นที่ 10 อำเภอ โดยเน้นไปยังหน่วยงานราชการที่มีรถบรรทุกน้ำขนาดใหญ่ เช่น อบจ.สำนักงานชลประทาน






กฟผ.วอนประหยัด 2 เขื่อนเหนือน้ำน้อย-ฝนทิ้งช่วง อาจวิกฤต [ ผู้จัดการออนไลน์ : 17 ก.พ. 57 19:02 น.]

“กฟผ.” ออกโรงย้ำให้ประชาชน และเกษตรกรลุ่มเจ้าพระยาใช้น้ำประหยัด หลังเขื่อนหลักภูมิพล-สิริกิติ์น้ำน้อยลง หลังระบายรวมวันละ 40 ล้าน ลบ.ม.จะใช้ได้เพียงพอ เม.ย.นี้ หากเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงอาจวิกฤตภัยแล้ง รับล่าสุดระบายน้ำเกินแผนแล้วกว่า 400 ล้าน ลบ.ม. หลังปลูกนาปรังยังมีเพิ่ม
       
       นายณัฐจพนธ์ ภูมิเวียงศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กฟผ.ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนภาคเหนือ คือ ภูมิพล และสิริกิติ์ อย่างใกล้ชิด และให้เป็นไปตามแผนการระบายน้ำร่วมกับกรมชลประทานซึ่ง 2 เขื่อนได้เริ่มลดระบายน้ำลงตั้งแต่เดือน ก.พ.เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากล่าสุดน้ำทั้งสองเขื่อนมีน้อย โดยวันที่ 16 ก.พ.มีรวมกันอยู่ประมาณ 4,800 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) มีการระบายเฉลี่ยรวมกันวันละ 40 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหากระบายตามแผนนี้จะใช้ได้เพียงพอในฤดูแล้งหรือสิ้น เม.ย. 57 และที่เหลือจะสำรองไว้เผื่อกรณีสภาวะฝนทิ้งช่วง
       
       “ถ้าดูปริมาณน้ำก็น่าจะใช้ได้ 3 เดือน แต่ต้องบริหารการปล่อยน้ำให้ได้ตามนี้ซึ่งจริงๆ ก็ถือว่ามากกว่าแผนด้วยซ้ำ จึงขอให้ประชาชนช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด ขณะที่เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวทางกรมชลประทานได้ประชาสัมพันธ์แล้วว่าไม่ควร จะปลูกข้าวนาปรังโดยให้เลือกปลูกพืชอายุสั้นแทน ซึ่งยอมรับว่าถ้าการระบายน้ำมากไปกว่านี้ก็เสี่ยงมากถ้าฝนมาล่าช้าในช่วง พ.ค.” นายณัฐจพนธ์กล่าว
       
       ทั้งนี้ ล่าสุดเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำในเขื่อนเพียง 47.45% ของความจุ ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำในอ่าง 53.07% ของความจุซึ่งเป็นปริมาณที่ลดต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากสถานการณ์ในอดีตปริมาณน้ำขณะนี้ของเขื่อนภูมิพลน้ำน้อยเป็น อันดับที่ 6 จากอดีตที่ผ่านมา โดยน้ำต่ำสุดเป็นปี 2537 ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ต่ำสุดเป็นอันดับที่ 11 โดยปีที่ต่ำยังคงเป็นปี 2537
       
       แหล่งข่าวจากกรมชลประทานกล่าวว่า ยอมรับว่าการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยเฉพาะข้าวนาปรังในเขตและ นอกเขตชลประทานมีพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่าแผนที่กำหนด ทำให้มีการใช้น้ำจากทั้งสองเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดูแล้งถึงขณะนี้มากกว่าแผน แล้วกว่า 400 ล้าน ลบ.ม. และมีแนวโน้มว่าความต้องการใช้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้งจะมากกว่าแผนเดิมประมาณ 1,400 ล้าน ลบ.ม. ส่งผลให้ปริมาตรน้ำในเขื่อนทั้งสองสิ้นเดือน เม.ย. 57 ลดลงจากที่วางแผนไว้ตั้งแต่ต้น โดยเขื่อนภูมิพลจะเหลือปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ที่ 42% จากเดิมต้องอยู่ที่ 45% และสิริกิติ์เหลือ 47% ของความจุ จากเดิมจะเหลือ 52%
       
       “น้ำในเขื่อนที่ใช้ได้ 2 เขื่อนรวมกันอยู่ระดับ 4,800 ล้าน ลบ.ม.นั้น เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหรือตั้งแต่ปี 2547-2556 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้อยที่สุดใกล้เคียงกับปี 2553 และปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่ลุ่มเจ้าพระยาประสบปัญหาภัยแล้ง” แหล่งข่าวกล่าว



ผู้ว่าฯ โคราชวอนปชช.ใช้น้ำประหยัด-สั่ง 32 อ. ตั้งศูนย์สู้แล้ง [ ไทยรัฐออนไลน์ : 19 ก.พ. 57 17.19 น. ]

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา วอนประชาชนที่อาศัยอยู่ต้นน้ำ เห็นใจปลายน้ำ แนะสูบขึ้นมาแค่พอใช้ สั่ง 32 อำเภอตั้งศูนย์เตรียมรับมือสู้ภัยแล้ง

เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 18 ก.พ.57 นายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึง สถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าทางจังหวัดยังไม่มีการประกาศพื้นที่ใดเป็นภัยแล้งอย่างชัดเจน แต่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภัยแล้งขึ้น โดยมีการตั้งศูนย์ขึ้นในระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น ให้ทั้ง 32 อำเภอ ตรวจข้อมูล และมีการประชุมร่วมกับทางชลประทาน ให้ความสำคัญกับน้ำอุปโภค บริโภค เป็นอันดับแรก น้ำเพื่อการเกษตรรองลงมา รวมทั้งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมสิ่งสุดท้าย

นายวินัย กล่าวต่อว่า ส่วน น้ำในอ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง ภาพรวมมีประมาณ 91% แต่เขื่อนที่หรืออ่างเก็บน้ำมากที่สุด คือ เขื่อนลำแซะ อ.ครบุรี มีถึง 103% รองลงมาเป็นเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว แต่น้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตพื้นที่ชลประทานเป็นหลัก พี่น้องประชาชนเกษตรกรได้ทำการสูบน้ำไปทำนาปรัง ตนจึงอยากฝากพี่น้องประชาชนว่า ในช่วงฤดูแล้งนี้เรามีการประกาศว่าให้งดทำนาปรังแล้วให้ปลูกพืชที่ใช้น้ำ น้อย ไม่เช่นนั้นแล้วปลายน้ำจะไม่ได้รับน้ำจากการปล่อยของเขื่อนลงไป

ส่วน เรื่องของงบประมาณ ขณะนี้มีส่วนของท้องถิ่นที่ต้องช่วยเหลืออันดับแรก แต่หลังจากที่จังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้วจะมีงบช่วยเหลือ ประมาณ 20 ล้านบาท หลังจากนั้นส่วนของความเสียหายการเกษตรจะรวบรวมข้อมูลส่งให้ทางกระทรวง เกษตรฯ ของบส่วนกลางมาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนต่อไป ขณะนี้ทางรัฐบาลให้ช่วยดูแลและแก้ไขปัญหาให้มีการบูรณาการกันระหว่างหน่วย งานต่างๆ ในพื้นที่มีการเตรียมความพร้อมเครื่องไม้เครื่องมือในการที่จะช่วยประชาชน



สทอภ.ชี้แจง “ภัยแล้ง” เหตุปีที่แล้วฝนตกเหนือเขื่อนน้อย [ ผู้จัดการออนไลน์ : 19 ก.พ. 57 12:53 น.

 สทอภ.ชี้แจงการคาดการณ์ “ภัยแล้ง” ระบุพื้นที่นอกเขตส่งน้ำเขตชลประทานที่กว่า 5 ล้านไร่ จะขาดแคลนน้ำ ชี้ต้นตอไม่ใช่ภาวะเอลนีโญ แต่เพราะปี 56 ที่ผ่านมา ฝนตกเหนือเขื่อนน้อย
       
       จากการที่มีข่าวในสื่อบางแห่งเมื่อวันที่ 18 ก.พ.57 ว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ.เปิดเผยว่าปี 2557 นี้ ภาวะเอลนีโญจะรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี และจะส่งผลให้อุณหภูมิอากาศในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพฯ สูงกว่า 40 องศาเซลเซียสนั้น ทาง สทอภ.ได้ส่งจดหมายชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน และไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองจากผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้
       
       จดหมายข่าวจาก สทอภ.แจงว่า การคาดการณ์โดยสถาบันด้านภูมิอากาศที่สำคัญ 22 แห่งของโลก คาดการณ์ว่าสภาพอากาศของปี 2557 นี้จะมีสภาพเป็นกลาง ไม่มีแม้แต่สำนักเดียวที่คาดการณ์ว่าโลกจะเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ หรือลานีญาเลย* นอกจากนี้ การคาดการณ์อุณหภูมิและความแห้งแล้งก็ต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากภาวะเอลนีโญมาใช้ ประกอบกัน ทั้งข้อมูลระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ซึ่ง ณ ปัจจุบันปัจจัยต่างๆ ยังไม่มีความสอดคล้องกันเพียงพอที่จะคาดการณ์เรื่องอุณหภูมิในฤดูร้อนที่จะ มาถึงได้
       
       *(อ้างอิง http://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/enso_advisory/figure6.gif)
       
       “สำหรับความชื้นในดินที่ประมาณจากค่าดัชนี Normalized Difference Water Index (NDWI) จากระบบตรวจวัด MODIS บนดาวเทียม Terra และ Aqua นั้น ในเดือน ก.พ.57 แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่ดินมีสภาพแห้งจัดส่วนมากอยู่ในภาคตะวันออกเฉียง เหนือเป็นส่วนใหญ่ และมีการกระจายในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้บ้าง แต่น้อยกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และความแห้งของดินของทั้งประเทศจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของฤดูแล้ง (มี.ค.-เม.ย.) ซึ่งเป็นสภาพปกติของฤดูแล้ง” ข้อมูลจาก สทอภ.ระบุ
       
       อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาวะขาดแคลนน้ำจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน ในช่วงปลายฤดูแล้งของปีนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตรชลประทานในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง เนื่องจากเขื่อนหลักที่ส่งน้ำให้กับพื้นที่นี้คือเขื่อนภูมิพลและเขื่อน สิริกิติ์ มีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกันเพียงประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเศษ ซึ่งกรมชลประทานและกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ประมาณว่าเพียงพอสำหรับการทำนาปรัง เพียงประมาณ 4 ล้านไร่เท่านั้น และได้มีการประกาศแจ้งไปแล้วว่า พื้นที่ชลประทานใดบ้างจะมีการส่งน้ำและพื้นที่ใดบ้างจะไม่มีการส่งน้ำในฤดู แล้งนี้
       
       “ทว่าจากการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมติดตาม พบว่า ในปัจจุบันมีการปลูกในพื้นที่ที่ประกาศว่าจะไม่มีการส่งน้ำให้กว่า 5 ล้านไร่ และประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่เหล่านี้เริ่มปลูกหลังวันที่ 31 ม.ค.57 ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่สามารถหาน้ำมาหล่อเลี้ยงได้ โดยเฉพาะในเดือนเมษายนซึ่งปริมาณน้ำในเขื่อนจะวิกฤติที่สุด เพราะนอกจากจะต้องใช้ในการเกษตรแล้วยังต้องใช้ในการผลักดันน้ำเค็มจากทะเล ไม่ให้รุกเข้ามาปนเปื้อนในน้ำดิบเพื่อการทำน้ำประปาของเมืองใหญ่บริเวณปาก แม่น้ำต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย”
       
       สทอภ.ชี้ว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะเกิดขึ้นในฤดูแล้งปี 2557 ของพื้นที่ชลประทานต่างๆ ไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศของฤดูแล้งนี้โดยตรง แต่เกิดจากความผิดปกติของฤดูฝนเมื่อปี 2556 ที่มีปริมาณฝนค่อนข้างน้อยและส่วนหนึ่งตกบริเวณใต้เขื่อน จึงทำให้มีน้ำต้นทุนในเขื่อนน้อย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศตระหนักถึงเรื่อง นี้เป็นอย่างดี และได้มีมาตรการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การที่มาตรการจัดการน้ำด้านอุปทาน (Supply Side) เหล่านี้จะสัมฤทธิ์ได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะส่งเสริมและสนับสนุนทางเลือก แก่เกษตรกรในฤดูแล้ง เพื่อลดความต้องการใช้น้ำ (Demand Side) ให้สอดคล้องกันด้วย



กรุงเก่าผจญภัยแล้ง! ลุ่มเจ้าพระยา ที่ดินริมตลิ่งพังทลาย บ้านริมน้ำถล่มเสียหาย [ มติชนออนไลน์ : 19 ก.พ. 57 17.45 น. ]

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 57 นางเตือนใจ สุขพัทธี อายุ 54 ปี ชาวตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชี้ให้ดูสภาพของแผ่นดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาของตนเองและญาติ เนื้อที่กว่าครึ่งไร่ ที่พังทรุดตัวลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ลึกถึง 7 เมตร กว้างกว่า 30 เมตร  ยาวตามแม่น้ำเกือบ 100 เมตร โดยที่ดินเริ่มพังอย่างรุนแรงเมื่อ 2-3 วันก่อน และถึงวันนี้ยังเกิดรอยแยกของดิน และพังลงแม่น้ำเพิ่มขึ้นทุกวัน  ขณะที่ในแม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับน้ำน้อยกว่าทุกปี และมีเรือบรรทุกทรายลากผ่านตลอดทั้งวัน ซึ่งบ้านทรงไทยเก่าแก่อายุ 70 ปีของนางเตือนใจ ได้พังเสียหายลงไปในแม่น้ำ และมีการรื้อไม้เก่าขึ้นมาได้บางส่วน โดยมีการนำมาปลูกเป็นที่พักชั่วคราวในจุดที่ห่างออกไป

ส่วนนางสายหยุด ปิ่นประเสริฐ อายุ 61 ปี ชาวตำบลบ้านใหม่ กล่าวว่า พอหลังท่วมและเข้าหน้าร้อน ระดับน้ำจะลดต่ำลงมาก และที่ดินริมตลิ่งจะพังตามลงไป เมื่อปีที่แล้วบ้านของตนเองก็พังเสียหาย และตนเองก็รื้อย้ายมาปลูกห่างจากจุดเดิม 100 เมตร แต่มาวันนี้ติล่งพังเข้ามาหาตนเองอีก 30 เมตร เชื่อว่าหากยังพังต่อไป ปีหน้าจะพังถึงบ้านที่เคยรื้อหนีมากปลูกอีกครั้ง และตนเองก็ไม่มีเงินจะไปรื้อหนีแล้ว เพราะของเก่ายังใช้หนี้สินไม่หมด

อย่างไรก็ตาม  ชาวบ้านวิงวอนขอให้มีการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาให้ดีกว่านี้ เพราะเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พอน้ำเหนือหลากก็ท่วมสูง พอแล้งน้ำแห้ง ตลิ่งริมแม่น้ำพังลงจำนวนมาก ก่อนหน้านี้เป็นการพังแบบพังลง 1-2 เมตร แต่ปัจจุบันพังแบบแผ่นดินทรุดที่ละ 20-30 เมตร จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้าดำเนินการศึกษาและหาทางแก้ไขต่อไป เพราะชาวบ้านไม่มีกำลังเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหา



กปน. ถกกรมชลฯ แก้ปัญหานำเค็มรุกล้ำเจ้าพระยา [ ไอเอ็นเอ็นนิวส์ : 20 ก.พ. 57 15.06 น.]

การประปานครหลวง ร่วมกับ กรมชลประทาน จัดหาน้ำเติมลุ่มเจ้าพระยา ที่ประสบปัญหาน้ำน้อยและปัญหาน้ำเค็ม

นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง หรือ กปน. ร่วมกับ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน ร่วมแก้ไขปัญหาน้ำลุ่มเจ้าพระยา ประสบปัญหาน้ำน้อย และเกิดปัญหาน้ำเค็ม โดย นายธนศักดิ์ เปิดเผยว่า ปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปามากจากเดิมลิ่มความเค็มจะขึ้นถึงสถานีสูบน้ำดิบสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นจุดรับน้ำดิบฝั่งตะวันออกของ กปน.ไม่กี่วัน และเกิดช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. แต่ในปีนี้ปัญหาน้ำเค็มมาเร็วกว่าปกติตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ จึงต้องบริหารจัดการกระบวนการผลิตน้ำประปาใหม่และรอจนกว่าลิ่มความเค็มจะลดต่ำลง จึงจะทำการสูบน้ำดิบตามปกติ รวมถึงการยกระดับน้ำในคลองประปาให้สูงขึ้น พร้อมระบุว่า ในการหารือครั้งนี้มีแนวทางเพิ่มน้ำในลุ่มเจ้าพระยา โดยนำน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งปีนี้มีปริมาณมากและเพียงพอผ่านคลองพระยาบรรลือ ส่วนอีกทางผ่านคลองท่าสารวังปลา-คลองจรเข้สามพัน เข้าลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ขณะที่เฟซบุ๊ก ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานวันนี้ (20 ก.พ. 57) ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา วัดได้ตามจุดต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้

1.บริเวณกรมชลประทาน สามเสน วัดได้ 5.48 กรัม/ลิตร (ระยะทางจากปากอ่าวไทย ถึงสถานีวัดของกรมชลประทาน สามเสน ประมาณ 60 กิโลเมตร)

2.บริเวณท่าน้ำนนทบุรี วัดได้ 4.43 กรัม/ลิตร (ระยะทางจากปากอ่าวไทย ถึงสถานีวัดท่าน้ำนนทบุรี ประมาณ 67 กิโลเมตร)

3.บริเวณโรงสูบน้ำดิบของการประปานครหลวง หรือ โรงสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี วัดได้ 0.23 กรัม/ลิตร (ระยะทางจากปากอ่าวไทย ถึงสถานีวัดโรงสูบน้ำสำแล ประมาณ 96 กิโลเมตร)

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่กรมชลประทาน และการประปานครหลวง ได้ร่วมกันหาแนวทางในการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง และส่วนหนึ่งจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนลงมาเจือจางน้ำเค็ม ทำให้ค่าความเค็มที่โรงสูบน้ำสำแล ลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ และสามารถนำไปผลิตน้ำประปา เพื่อหล่อเลี้ยงคนกรุงเทพมหานคร กว่า 10 ล้านคน ได้อย่างไม่มีปัญหาอีกครั้งหนึ่ง

หมายเหตุ - ค่าความเค็มสำหรับการผลิตน้ำประปา จะต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่ 0.25 กรัม/ลิตร



เริ่มปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ช่วยภัยแล้ง-หมอกควัน [ ไทยรัฐออนไลน์ : 21 ก.พ. 57 10.00 น. ]

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เริ่มบินช่วยเหลือพื้นที่ประสบภาวะฝนแล้งและปัญหาหมอกควัน หลังพบค่าฝุ่นละอองอยู่ในขั้นวิกฤติ 2 จังหวัด และอีก 2 จังหวัด กำลังเผชิญภัยแล้ง

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายอนุภาพ ภววัฒนานุสรณ์ รักษาการหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เปิดเผยว่า ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ พร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภาวะฝนแล้ง และปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุกปี ดังนั้น กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงได้อนุมัติหลักการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง เคลื่อนที่เร็ว ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา ณ กองบินเกษตร จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งพร้อมเคลื่อนที่ไปปฏิบัติภารกิจจัดทำฝนในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงต่างๆ จัดชุดเฝ้าระวังอยู่ในพื้นที่ต่างๆ โดยจะทำการติดตามสถานการณ์ความเดือดร้อนและความต้องการฝนของประชาชนใน จังหวัดที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งวิเคราะห์อากาศเพื่อการทำฝนหลวงทุกวัน

รักษาการ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ กล่าวอีกว่า จากการดำเนินการของชุดเฝ้าระวัง ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ทำให้ทราบว่า ขณะนี้คุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศจากภาวะ หมอกควันได้เข้าสู่ค่าวิกฤติ 2 จังหวัด จากสถานีวัดคุณภาพอากาศ 15 แห่ง ที่ระดับ 149 และ 159 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่สถานีตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และที่สถานีอุตุนิยมจังหวัดแพร่ ตามลำดับ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ประกอบกับขณะนี้ได้มีพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้ง 2 จังหวัด ได้แก่ อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ และ อำเภอกงไกรลาศ และบ้านด่านลานหอย อำเภอเมืองสุโขทัย

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายจังหวัดร้องขอให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือเข้าช่วยเหลือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน ตาก น่าน และจังหวัดเชียงราย ซึ่งจากการวิเคราะห์อากาศเพื่อการทำฝนหลวงของชุดเฝ้าระวัง พบว่ามีโอกาสที่จะสามารถทำฝนได้ผลในช่วงระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2557 ศูนย์ฯ จึงได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วมาปฏิบัติการทำฝนหลวง โดยมีเครื่องบินคาราแวน ขนาดบรรทุก 800 กิโลกรัม/เที่ยวบิน จำนวน 4 ลำ เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา ส่วนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวหอม กระเทียม และสตรอเบอรี่ของเกษตรกร ศูนย์ฯจึงได้ประสานงานกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพิจารณาตัดสินใจในการปฏิบัติการทำฝนหลวง และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการได้รับความเสีย หายจากการปฏิบัติการทำฝนหลวง ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือก็จะหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดัง กล่าวต่อไป

       


'สารคาม'แล้งหนัก 3หมู่บ้าน ขาดน้ำอุปโภค-บริโภค [ ไทยรัฐออนไลน์ : 19 มี.ค. 57 14.00 น. ]

จ.มหาสารคาม ภัยแล้งมาเยือนส่อเค้ารุนแรง ชาวบ้าน 3 หมู่บ้าน ขาดน้ำ อุปโภค-บริโภค คาดเข้าเดือนเมษายนจะทวีความรุนแรง ขณะที่หน่วยราชการเร่งช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 19 ก.พ.57  นายทรงเกียรติ วรรณจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดมหาสารคาม เริ่มส่อเค้ารุนแรงตั้งแต่ต้นปี ส่งผลให้หลายพื้นที่ในจังหวัดเริ่มได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค ซึ่งหน่วยงานราชการจะต้องเร่งสำรวจความเดือดร้อนของประชาชน และนำน้ำไปแจกจ่ายเพื่อบรรเทาทุกข์ เบื้องต้น ประชาชนในพื้นที่ 3 หมู่บ้านเขตตำบลแก่งเลิงจาน เริ่มประสบกับภัยแล้ง น้ำที่เก็บไว้อุปโภคบริโภคในครัวเรือนเริ่มลดลง เนื่องจากฤดูฝนที่ผ่านมา มีฝนตกในปริมาณน้อย ส่งผลให้น้ำในโอ่งเริ่มไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค อีกทั้ง น้ำประปาใต้ดิน ไม่สามารถนำมาดื่มกินได้ เนื่องจากไม่มีการฆ่าเชื้อโรค และไม่ได้มาตรฐาน

ทั้งนี้ อบต.แก่งเลิงจาน จึงได้ทำเรื่องไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม เพื่อขอสนับสนุนรถน้ำเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนใน 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านเม่นใหญ่ หมู่ 4 บ้านเม่นน้อย หมู่ 7 และบ้านกลาง หมู่ 8 จำนวน 20 เที่ยว ปริมาณน้ำ 200,000 ลิตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎรในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม คาดว่า สถานการณ์ภัยแล้งจะยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายน เป็นต้นไป ซึ่งราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง สามารถแจ้งมาได้ที่ องค์การบริการส่วนตำบลแก่งเลิงจานเพื่อจะได้รับความช่วยเหลือต่อไป








จทบ.ราชบุรี แจกน้ำช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 21 มี.ค. 57 14:30 น. ]

ราชบุรี - จังหวัดทหารบกราชบุรี ร่วม อบต.หินกอง อำเภอเมืองราชบุรี พร้อมหน่วยงานภาครัฐแจกน้ำช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง
       
       เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (27 มี.ค.) พล.ต.ชาติชาย ขันสุวรรณ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรี ได้ร่วมกับนายเทียม ทิมทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี พร้อมหน่วยงานภาครัฐจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) การประปาส่วนภูมิภาค และกองทัพบก
       
       ร่วมกันจัดโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” จัดกำลังพลในสังกัดพร้อมรถบรรทุกน้ำจำนวน 3 คัน นำน้ำสะอาดกว่า 40,000 ลิตร ไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านที่ได้นำภาชนะเก็บน้ำ และถังน้ำมารอรับน้ำ บริเวณกลางหมู่บ้านทุ่งน้อย หมู่ที่ 11 ตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี เพื่อช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 443 หลังคาเรือนหลัง ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะภัยแล้ง และเริ่มขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
       
       ทั้งนี้ เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคเริ่มตื้นเขิน ประกอบกับน้ำที่รองใส่ภาชนะไว้บริโภคบางครัวเรือนเริ่มหมด ประปาหมู่บ้านไม่สามารถแจกจ่ายน้ำได้ทั่วถึง ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ทางกองทัพภาคที่ 1 โดยจังหวัดทหารบกราชบุรี จึงได้ดำเนินการตามนโยบายกองทัพบก โดยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้งในเบื้องต้น







แล้งคุกคามช้างเมืองด้งสุโขทัยขาดน้ำ-อาหาร [ ผู้จัดการออนไลน์ : 31 มี.ค. 57 14:17 น. ]

สุโขทัย - ภัยแล้งยังคุกคามสุโขทัยรุนแรงขึ้นไม่หยุด ล่าสุดน้ำเหนือประตูเขื่อนบ้านหาดสะพานจันทร์ แห้งขอดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สร้างเสร็จปี 50 แถม “ช้างเมืองด้ง” ขาดน้ำ-อาหาร จนเดือดร้อนไปตามๆกัน
       วันนี้ (31 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่ จ.สุโขทัย ยังคงขยายวงกว้างต่อเนื่อง และกระทบต่อการดำรงชีวิตของราษฎรทั้ง 9 อำเภอ ได้รับความเดือดร้อนเกือบ 200,000 คน นาข้าวเสียหายอีกกว่า 116,000 ไร่
        ขณะที่บริเวณเหนือประตูเขื่อนบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ก็มีสภาพแห้งขอด จนสามารถเดินข้ามแม่น้ำยมได้ นับเป็นวิกฤตครั้งแรกหลังมีการก่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2550
       และนอกจากราษฎรเดือดร้อน พืชไร่ พืชสวนเสียหายจำนวนมากแล้ว ปัญหาภัยแล้งยังส่งผลกระทบต่อช้างของชาวเมืองด้ง ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย ซึ่งปัจจุบันกำลังขาดแคลนอาหาร และแหล่งน้ำในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
       นายเหมือน ละอองทรง อายุ 73 ปี ประธานศูนย์อนุรักษ์ช้างศรีสัชนาลัย กล่าวว่า ช้างที่ศูนย์แห่งนี้มีทั้งหมดรวม 18 เชือก ตอนนี้กำลังเดือดร้อน เพราะแหล่งน้ำในพื้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนพื้นที่ป่าที่เคยนำช้างไปผูกเลี้ยงไว้ ก็ไม่มีอาหารให้กิน เพราะปัจจุบันป่ากลายเป็นสวนไม้สัก และสวนยางพาราไปหมดแล้ว
       ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายคนต้องนำช้างออกเร่ร่อนหากินต่างจังหวัด ส่วนช้างที่ยังอยู่ในพื้นที่เจ้าของก็ต้องซื้อกล้วยหวี และต้นกล้วยให้กินเฉลี่ยวันละ 300 บาทต่อช้าง 1 เชือก เดือดร้อนกันทั่วหน้าเพราะรายได้มีไม่พอเลี้ยงช้าง




ภัยแล้ง “จันทบุรี” ครอบคลุมทั้งจังหวัด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 1 เม.ย. 57 15:10 น. ]

จันทบุรี - ภัยแล้งครอบคลุมจันทบุรีทั้ง 10 อำเภอ ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักเหลือไม่ถึง 50% แต่มั่นใจน้ำพอใช้พ้นแล้งนี้
       
       นายวิสุทธิ์ ประกอบความดี ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันภัยแล้งขยายวงครอบคลุมทั้ง 10 อำเภอ รวม 55 ตำบล 493 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 45,793 ครัวเรือน 120,866 คน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 184,906 ไร่ จนจังหวัดต้องประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติทั้งจังหวัด
       
       เบื้องต้น จังหวัดได้บูรณาการร่วมกับท้องถิ่นในแต่ละอำเภอ ช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น จัดเครื่องสูบน้ำ ถังน้ำ รถบรรทุกน้ำ เครื่องจักรกล การขุดบ่อน้ำตื้น การขุดบ่อบาดาล ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ชาวบ้าน และเกษตรกร นอกจากนี้ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจันทบุรี ได้ขึ้นบินช่วยพื้นที่ที่ประสบภัยทุกวัน แม้จะมีฝนตกบ้างไม่มีฝนตกบ้าง ก็ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
       
       ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก เช่น เขื่อนพลวง อ.เขาคิชฌกูฏ และเขื่อนคิรีธาร อ.มะขาม แม้จะมีปริมาณน้ำไม่ถึง 50% ทางชลประทานก็ยังคพร่องน้ำจากเขื่อนหลักลงไปช่วยชาวบ้าน และชาวสวน เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย
       
       นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า นายเกรียงเดช เข็มทอง ผู้ว่าราชการจังหวัด มั่นใจว่าปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ในเขื่อนหลัก จะมีใช้เพียงพอ และพ้นจากสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะแม้พายุฤดูร้อนที่ทำให้เกิดฝนตกเติมน้ำลงอ่างได้ไม่มากนัก แต่ก็ช่วยสร้างความชุมชื่นให้แก่พื้นที่การเกษตรได้ระดับหนึ่ง ช่วยให้เกษตรกรชาวสวนประหยัดค่าใช้จ่าย และลดการสูบน้ำเข้าสวนได้ช่วงหนึ่งด้วย







สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ เขื่อนหลายแห่งน้ำลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ต้องประหยัดก่อนเกิดปัญหาขาดแคลน [ ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน : 29 เม.ย. 57 ]

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(29 เม.ย. 57) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน  37,714  ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำใช้การได้คิดเป็นจำนวน 14,211 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯทั้งหมด

                สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 136 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 73 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,409 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,083 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 237 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ

                ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 31 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 182 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 353ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 188 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 85 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ

                สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาณน้ำ 228 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 51 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ

                ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่งลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่า ฤดูฝนของประเทศไทย ปีนี้จะเริ่มต้นช้ากว่าปกติ ประมาณสัปดาห์ที่ 3 – 4 ของเดือนพฤษภาคม ปริมาณฝนรวม คาดว่า จะน้อยกว่าค่าปกติและน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูฝน แต่อย่างไรก็ตามช่วงปลายฤดูฝนหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบนจะมีปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงค่าปกติ   ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงขอความร่วมมือเกษตรกรและประชาชน ในแต่ละพื้นที่โครงการฯ ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย