จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2558 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบและประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ทั้งหมด 36 จังหวัด 230 อำเภอ 1,266 ตำบล 11,389 หมู่บ้าน (คิดเป็น 15.19% จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดทั่วประเทศ 74,965 หมู่บ้าน) แบ่งเป็นภาคเหนือ 11 จังหวัด
ตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด
ภาคกลาง 7 จังหวัด
ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และ
ภาคใต้ 5 จังหวัด โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะภัยแล้ง คือ ปริมาณฝน ที่ถึงแม้ว่าปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศไทยในปี 2557 จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเพียง 0.29% รวมทั้งยังมากกว่าปี 2548 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรงอยู่ 0.81%
แต่หากพิจารณาลักษณะการกระจายตัวของฝน จะเห็นได้ว่าปี 2548
มีการกระจายตัวของฝนครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยมากกว่าปี 2557 ที่มีฝนตกหนักกระจุกตัวเป็นหย่อม ๆ ตามแนวขอบประเทศ อีกทั้งบริเวณภาคใต้มีฝนตกค่อนข้างมาก ทำให้ค่าฝนเฉลี่ยรวมทั้งประเทศสูงขึ้นมาใกล้เคียงค่าเฉลี่ย แต่บริเวณตอนกลางของประเทศกลับมีฝนตกน้อยมาก
และหากเทียบกับแผนภาพฝนตั้งแต่ปี 2548-2556 พบว่าปี 2557 มีบริเวณที่ฝนตกน้อยกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยมากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ทั้งนี้เป็นลักษณะของฝนที่ตกน้อยครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2555
หากพิจารณาปริมาณฝนแยกเป็นรายภาค พบว่าปี 2557 ภาคเหนือมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยและน้อยกว่าทุกปียกเว้นปี 2552 ที่ภาคเหนือมีฝนตกน้อยมาก จนส่งผลให้เกิดภัยแล้งรุนแรงในปี 2553 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย รวมทั้งมากกว่าปี 2548 และปี 2553 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรง ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีปริมาณฝนน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ภาคใต้ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกมีฝนค่อนข้างมาก โดยมากกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองภาค และเมื่อเข้าสู่ต้นปี 2558 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน สถานการณ์ฝนทั้งประเทศยังคงตกค่อนข้างน้อยต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ปกติเนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูแล้ง มีเพียงบางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคกลางที่มีฝนตกกระจุกมากกว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน
จากสถานการณ์ฝนตกหนักกระจุกตัวตามแนวขอบประเทศ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในบางพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดเชียงรายและอุบลราชธานี และส่วนใหญ่เป็นการกระจุกตัวอยู่นอกพื้นที่รับน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จึงทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างมีค่อนข้างน้อย มีเพียงเขื่อนสิรินธรเท่านั้นที่มีน้ำไหลลงอ่างฯ สูงที่สุดในรอบ 9 ปี เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่รับน้ำช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2557
เมื่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยจึงส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำค่อนข้างน้อยตามไปด้วย จากรายงาน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2557 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดฤดูฝน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำคงเหลือเพื่อเป็นต้นทุนสำหรับฤดูแล้ง ปี 57/58 อยู่เพียง 45,155 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต ใกล้เคียงปี 2553 ซึ่งประเทศไทยประสบภัยแล้งรุนแรง และเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งปี 57/58 ( พฤศจิกายนถึงเมษายน) ฝนยังคงตกน้อยต่อเนื่องจนถึงสิ้นฤดูแล้ง ส่งผลทำให้มีน้ำมาเติมในเขื่อนน้อยมาก สถานการณ์น้ำจึงอยู่ในภาวะวิกฤตตลอดฤดูกาล โดยมีน้ำคงเหลือรวมทั้งประเทศเมื่อสิ้นฤดูแล้งเพียง 36,633 ล้านลูกบาศก์เมตร
หากพิจารณาข้อมูลเป็นรายภาคพบว่า ปี 2557 ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือในแต่ละภาคมีอยู่ค่อนข้างน้อย มีเพียงภาคใต้ที่สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะปกติ และในปีนี้สถานการณ์น้ำในภาคเหนือและภาคตะวันตกอยู่ในภาวะน้อยวิกฤตพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงภาคกลางที่ใช้น้ำต้นทุนจากทั้งสองภาค
สำหรับเขื่อนภูมิพล สถานการณ์อยู่ในภาวะน้ำน้อยวิกฤต ณ วันที่ 30 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดฤดูแล้ง มีปริมาณน้ำคงเหลือเพียง 5,241 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 39% ของความจุอ่าง และมีน้ำใช้การได้จริงเพียง 1,411 ล้านลูกบากศ์เมตร ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเหลือ 4,794 ล้านลูกบากศเมตร คิดเป็น 50% ของความจุอ่าง มีน้ำใช้การได้จริง 1,944 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำค่อนข้างน้อย สำหรับเขื่อนศรีนครินทร์ปีนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 12,348 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 70% ซึ่งเป็นปริมาณน้ำกักเก็บน้อยที่สุดในรอบ 15 ปี และมีน้ำใช้การได้จริงเหลือเพียง 2,083 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น
จากสถานการณ์น้ำในเขื่อนที่มีเหลืออยู่ค่อนข้างน้อยเมื่อสิ้นฤดูฝนปี 2557 ทางกรมชลประทานจึงได้ประกาศขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้งดทำนาปรังในช่วงฤดูแล้ง เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ รวมทั้งสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนถัดไป แต่จากรายงาน ณ สิ้นฤดูแล้งปี 2557/2558 กลับพบว่าเกษตรกรได้เพาะปลูกพืชเกินจากแผนไปมาก ทั้งนี้กรมชลประทานได้วางแผนการเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ รวมทั้งสิ้น 9.11 ล้านไร่ แต่มีการเพาะปลูกจริง 12.38 ล้านไร่ คิดเป็น 136% ซึ่งเกินจากแผนไปถึง 3.27 ล้านไร่ ทั้งนี้มีการปลูกข้าวนาปรังเกินแผนไป 3.82 ล้านไร่ หากพิจารณาเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้วางแผนการปลูกพืชไว้ทั้งหมด 2.50 ล้านไร่ เพาะปลูกจริง 1.99.27 ล้านไร่ คิดเป็น 80% ซึ่งต่ำกว่าแผน แต่กลับมีการปลูกข้าวนาปรังในเขตพื้นที่ชลประทานเกินไปจากแผน 0.03 ล้านไร่ สำหรับในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ได้วางแผนการเพาะปลูกพืชไว้ 3.26 ล้านไร่ แต่เพาะปลูกจริงเกินแผนไปมากถึง 6.87 ล้านไร่ คิดเป็น 211% หรือเกินจากแผนไป 3.61 ล้านไร่
โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง ที่ทางกรมชลประทานได้ประกาศให้เกษตรกรงดทำนาปรังในพื้นที่ชลประทาน แต่กลับมีการเพาะปลูกถึง 3.72 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน มีการวางแผนให้เพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.03 ล้านไร่ แต่กลับมีการเพาะปลูกจริง 2.54 ล้านไร่ เกินจากแผน 0.51 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 125% นอกจากนี้เกษตรกรยังปลูกพืชไร่พืชผักนอกเขตพื้นที่ชลประทานเกินจากแผน 0.14 ล้านไร่
ถึงแม้ช่วงฤดูแล้ง 2557/2558 จะมีฝนตกน้อย ทำให้น้ำในเขื่อนและแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ มีค่อนข้างน้อย แต่สถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำลำน้ำกลับอยู่ในสภาวะปกติ ทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง ท่าจีน และแม่กลอง โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สถานีสูบน้ำสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ที่ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการผลิตน้ำประปาตลอดฤดูแล้ง ทำให้ไม่ส่งผลต่อการผลิตน้ำประปาแต่อย่างใด ซึ่งต่างจากช่วงต้นปี 2557 ที่ตรวจวัดค่าความเค็มเกินมาตรฐานได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม และค่าความเค็มเกินมาตรฐานค่อนข้างมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้น้ำประปามีรสเค็มและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา / NASA
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมสังเคราะห์จากข้อมูลฝนของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
ปริมาณฝนสะสมรายปี
จากแผนภาพแสดงข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายปี เห็นได้ว่า ปี 2557 มีปริมาณฝนรวมทั้งประเทศมีเพียง 1,370 มิลลิเมตร น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเพียง 0.29% และมากกว่าปี 2548 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรงอยู่ 0.81%
แต่หากพิจารณาลักษณะการกระจายตัวของฝนในปี 2557 และ 2548 พบว่ามีความต่างกัน โดยปี 2548 มีการกระจายตัวของฝนมากกว่าปี 2557 ที่มีฝนตกหนักกระจุกตัวเป็นหย่อม ๆ ตามแนวขอบประเทศ รวมทั้งภาคใต้
มีฝนตกมาก ทำให้ค่าฝนเฉลี่ยรวมทั้งประเทศสูงขึ้นมาใกล้เคียงค่าเฉลี่ย แต่บริเวณตอนกลางของประเทศกลับมีฝนตกน้อยมาก
และหากเทียบกับแผนภาพฝนตั้งแต่ปี 2548-2556 จะพบว่าปี 2557 มีพื้นที่ฝนตกน้อยกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยมากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ทั้งนี้เป็นลักษณะของฝนที่ตกน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2555
หากพิจารณาปริมาณฝนแยกเป็นรายภาค พบว่าปี 2557 ภาคเหนือมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยและน้อยกว่าทุกปียกเว้นปี 2552 ที่ภาคเหนือมีฝนตกน้อยมาก จนส่งผลให้เกิดภัยแล้งรุนแรงในปี 2553 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย รวมทั้งมากกว่าปี 2548 และปี 2553 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรง ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีปริมาณฝนน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ภาคใต้ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกมีฝนค่อนข้างมาก โดยมากกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองภาค
และเมื่อเข้าสู่ต้นปี 2558 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน สถานการณ์ฝนยังคงตกค่อนข้างน้อยต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ปกติเนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูแล้ง มีเพียงบางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคกลางที่มีฝนตกกระจุกมากกว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน
![]() ค่าเฉลี่ย 48 ปี (2493-2540) (1,374 มม.) |
![]() 2548 ( 1,359 มม.) |
![]() 2549 (1,534 มม.) |
![]() 2550 (1,470 มม.) |
![]() 2551 (1,543 มม.) |
![]() 2552 ( 1,403 มม.) |
![]() 2553 (1,436) |
![]() 2554 (1,824 มม.) |
![]() 2555 (1,475 มม.) |
![]() 2556 (1,569 มม.) |
![]() 2557 ( 1,370 มม.) |
ภาค |
เฉลี่ย 48 ปี |
ปี 2548 |
ปี 2549 |
ปี 2550 |
ปี 2551 |
ปี 2552 |
ปี 2553 |
ปี 2554 |
ปี 2555 |
ปี 2556 |
ปี 2557 |
ภาคเหนือ | 1,215 |
1,314 |
1,501 |
1,262 |
1,360 |
1,136 |
1,264 |
1,738 |
1,282 |
1,329 |
1,150 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 1,327 |
1,212 |
1,430 |
1,452 |
1,518 |
1,364 |
1,300 |
1,662 |
1,262 |
1,457 |
1,344 |
ภาคกลาง | 1,182 |
1,212 |
1,258 |
1,168 |
1,278 |
1,279 |
1,255 |
1,375 |
1,247 |
1,222 |
1,021 |
ภาคตะวันออก | 1,591 |
1,657 |
1,815 |
1,668 |
1,937 |
1,783 |
1,738 |
2,037 |
1,921 |
2,236 |
1,617 |
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก | 2,115 |
1,937 |
2,365 |
2,465 |
2,216 |
2,320 |
2,309 |
2,889 |
2,904 |
2,769 |
2,536 |
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก | 1,751 |
1,678 |
1,872 |
1,954 |
1,932 |
1,812 |
1,988 |
2,530 |
2,083 |
2,107 |
1,882 |
ทั้งประเทศ | 1,374 |
1,359 |
1,544 |
1,470 |
1,543 |
1,403 |
1,436 |
1,824 |
1,475 |
1,569 |
1,370 |
![]() ฤดูแล้งปี 2547/2548 พ.ย. 2547- เม.ย.2548 ( 177.18 มม.) |
![]() ฤดูแล้ังปี 2552/2553 พ.ย. 2552- เม.ย. 2553 ( 179.90 มม.) |
![]() ฤดูแล้งปี 2555/2556 พ.ย. 2555- เม.ย. 2556 (281.43 มม.) |
![]() พ.ย. 2556- เม.ย. 2557 (254.24 มม.) |
![]() ฤดูแล้งปี 2557/2558 พ.ย. 2556- เม.ย. 2557 ( 286.57 มม.) |
สถิติ 48 ปี |
ฤดูแล้งปี 2547/2548 |
ฤดูแล้งปี 2552/2553 |
ฤดูแล้งปี 2555/2556 |
ฤดูแล้งปี 2556/2557 |
ฤดูแล้งปี 2557/2558 |
![]() สถิติ 48 ปี เดือนพฤศจิกายน ( 68.44 มม.) |
![]() พฤศจิกายน 2547 ( 41.43 มม.) |
![]() พฤศจิกายน 2552 (46.31 มม.) |
![]() พฤศจิกายน 2555 (84.25 มม.) |
![]() พฤศจิกายน 2556 (99.93 มม.) |
![]() พฤศจิกายน 2557 ( 84.66 มม.) |
![]() สถิติ 48 ปี เดือนธันวาคม (29.72 มม.) |
![]() ธันวาคม 2547 ( 15.54 มม.) |
![]() ธันวาคม 2552 (12.16 มม.) |
![]() ธันวาคม 2555 (45.05 มม.) |
![]() ธันวาคม 2556 (42.23 มม.) |
![]() ธันวาคม 2557 (53.57 มม.) |
![]() สถิติ 48 ปี เืดือนมกราคม ( 15.36 มม.) |
![]() มกราคม 2548 ( 10.12 มม.) |
![]() มกราคม 2553 ( 36.98 มม.) |
![]() มกราคม 2556 (27.41 มม.) |
![]() (4.51 มม.) |
![]() มกราคม 2558 ( 23.34 มม.) |
![]() สถิติ 48 ปี เดือนกุมภาพันธ์ ( 20.18 มม.) |
![]() กุมภาพันธ์ 2548 ( 2.10 มม.) |
![]() กุมภาพันธ์ 2553 ( 11.94 มม.) |
![]() กุมภาพันธ์ 2556 (22.89 มม.) |
![]() (2.92 มม.) |
![]() กุมภาพันธ์ 2558 ( 19.30 มม.) |
![]() สถิติ 48 ปี เดือนมีนาคม ( 38.70 มม.) |
![]() มีนาคม 2548 ( 36.01 มม.) |
![]() มีนาคม 2553 ( 19.15 มม.) |
![]() มีนาคม 2556 ( 28.99 มม.) |
![]() ( 21.89 มม.) |
![]() มีนาคม 2558 ( 38.08 มม.) |
![]() สถิติ 48 ปี เดือนเมษายน ( 70.61 มม.) |
![]() เมษายน 2548 ( 71.98 มม.) |
![]() เมษายน 2553 (53.36 มม.) |
![]() เมษายน 2556 ( 72.84 มม.) |
![]() (82.77 มม.) |
![]() เมษายน 2558 ( 68.07 มม.) |
แผนภาพแสดงปริมาณฝนรายเดือนที่ต่างไปจากค่าปกติ
จัดทำโดย กรมอุตุนิยมวิทยา
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนรายเดือนที่ต่างไปจากค่าปกติของกรมอุตุนิยมวิทยา เปรียบเทียบระหว่างช่วงฤดูแล้งปี 56/56 และ ฤดูแล้งปี 56/57
เดือนพฤศจิกายน ปี 2557 พื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณตอนบนของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก มีฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีฝนตกมากกว่าค่าปกติเพียงเล็กน้อยในบางพื้นที่
ส่วนภาคใต้มีฝนต่ำกว่าเกณฑ์ในบางพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาค ซึ่งโดยภาพรวมแล้วปริมาณฝนน้อยกว่าปี 2556 แต่มากกว่าปี 2555
เดือนธันวาคม ปี 2557 พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนตกมากกว่าค่าปกติ ปริมาณฝนโดยภาพรวมใกล้เคียงปี 2555
เดือนมกราคม ปี 2558 บริเวณภาคเหนือมีฝนตกสูงกว่าค่าปกติ ส่วนภาคอื่น ๆ ปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นภาคใต้ตอนล่างที่มีฝนต่ำกว่าค่าปกติในบางพื้นที่
เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2558 บริเวณตอนบนของประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่มีฝนมากกว่าค่าปกติ และบางพื้นที่ของภาคตะวันออก
มีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ ส่วนภาคใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกต่ำกว่าค่าปกติและลักษณะใกล้เคียงปี 2557
เดือนมีนาคมปี 2558 ภาคเหนือและภาคกลางมีฝนตกสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะภาคกลางที่มีฝนมากกว่าเกณฑ์ปกติเป็นบริเวณกว้าง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีฝนตกน้อยกว่าเกณฑ์ปกติในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนตกน้อยกว่าเกณฑ์ปกติเกือบทั่วทั้งภาค
เดือนเมษายน ปี 2558 พื้นทีส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกที่มีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติคลอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง
ส่วนบริเวณที่มีฝนตกมากกว่าค่าปกติ ได้แก่ บริเวณภาคเหนือตอนบน และในบางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
ฤดูแล้งปี 2555/2556 |
ฤดูแล้งปี 2556/2557 |
ฤดูแล้งปี 2557/2558 |
![]() พฤศจิกายน 2555 |
![]() พฤศจิกายน 2556 |
![]() พฤศจิกายน 2557 |
![]() ธันวาคม 2555 |
![]() ธันวาคม 2556 |
![]() ธันวาคม 2557 |
![]() มกราคม 2556 |
![]() มกราคม 2557 |
![]() มกราคม 2558 |
![]() กุมภาพันธ์ 2556 |
![]() กุมภาพันธ์ 2557 |
![]() กุมภาพันธ์ 2558 |
![]() มีนาคม 2556 |
![]() มีนาคม 2557 |
![]() มีนาคม 2558 |
![]() เมษายน 2556 |
![]() เมษายน 2557 |
![]() เมษายน 2558 |
![]() |
![]() พฤศจิกายน 2557 |
![]() ธันวาคม 2557 |
![]() มกราคม 2558 |
![]() กุมภาพันธ์ 2558 |
![]() มีนาคม 2558 |
![]() เมษายน 2558 |
![]() |
![]() พฤศจิกายน 2556 |
![]() ธันวาคม 2556 |
![]() มกราคม 2557 |
![]() กุมภาพันธ์ 2557 |
![]() มีนาคม 2557 |
![]() เมษายน 2557 |
![]() |
![]() พฤศจิกายน 2555 |
![]() ธันวาคม 2555 |
![]() มกราคม 2556 |
![]() กุมภาพันธ์ 2556 |
![]() มีนาคม 2556 |
![]() เมษายน 2556 |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เขื่อนสิริกิติ์ - ปริมาณน้ำกักเก็บ
เขื่อนสิริกิติ์ - ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสม
เขื่อนศรีนครินทร์ - ปริมาณน้ำกักเก็บ
เขื่อนศรีนครินทร์ - ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสม
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.php
![]() สถานี W.1C สะพานเสตุวารี อ.เมือง จ.ลำปาง ![]() สถานี Y.1C สะพานบ้าน้ำโค้ง อ.เมือง จ.แพร่ ![]() |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_itcwater.php
ระดับน้ำ บริเวณจุดตรวจวัดสำคัญในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากการตรวจวัดระดับน้ำโดยสถานีโทรมาตร ของ สสนก. บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในช่วงฤดูแล้งปี 2557/2558 รายละเอียดดังนี้
แม่น้ำปิง จากการตรวจวัดระดับน้ำที่สถานี PIN001-บ้านตาก จ.ตาก และสถานี PIN005-เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ พบว่าช่วงต้นปี 2558 ระดับน้ำในแม่น้ำปิงมีค่อนข้างน้อยต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคม แม้เขื่อนภูมิพลจะเพิ่มการระบายน้ำตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนจนถึงช่วงเข้าสู่ฤดูฝนแล้วก็ตาม
แม่น้ำวัง จากการตรวจวัดระดับน้ำที่สถานี WAN003-เถิน จ.ลำปาง และสถานี WAN005-เมืองลำปาง จ.ลำปาง พบว่าช่วงต้นปี 2558 ระดับน้ำในแม่น้ำวังต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2555 ปี 2556 และ ปี2557 แม้เขื่อนกิ่วลมได้เพิ่มการระบายน้ำลงสู่ท้ายน้ำเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ต้นปี
แม่น้ำยม จากการตรวจวัดระดับน้ำที่สถานี YOM007-กงไกรลาศ จ.สุโขทัย และสถานี YOM009-โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร พบว่าช่วงต้นปี 2558 ระดับน้ำที่กงไกรลาศลดลงอย่างต่อเนื่องจนใกล้เคียงปี 2556 และที่โพธิ์ประทับช้าง ระดับน้ำน้อยมากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2558
แม่น้ำน่าน จากการตรวจวัดระดับน้ำที่สถานี NAN007-ตะพานหิน จ.พิจิตร และสถานี NAN012-เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก พบว่าช่วงต้นปีบริเวณดังกล่าวมีระดับน้ำต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 แต่เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคม ระดับน้ำเพิ่มขึ้นทั้งสองจุด เนื่องจากเขื่อนสิริกิติ์ได้ระบายน้ำเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนจนเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคม
แม่น้ำเจ้าพระยา จากการตรวจวัดระดับน้ำที่สถานี CPY001-สะพานเดชาติวงศ์ จ.นครสวรรค์ และสถานี CPY005-สรรพยา จ.ชัยนาท พบว่าในช่วงต้นปี 2558 ระดับน้ำที่สะพานเดชาติวงศ์ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2556 และ 2557 ส่วนที่สรรพยา ระดับน้ำค่อนข้างต่ำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี แต่โดยภาพรวมยังคงสูงกว่าปี 2556 เล็กน้อย
แม่น้ำป่าสัก จากการตรวจวัดระดับน้ำที่สถานี PAS001-หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และสถานี PAS007-เมืองสระบุรี จ.สระบุรี พบว่าตั้งแต่ต้นปี 2558 ระดับน้ำที่หล่มสักใกล้เคียงปี 2557 และมากกว่าปี 2556 แต่เมื่อลงมาถึงสระบุรี ปริมาณน้ำเหลือน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2556 และปี 2557 โดยระดับน้ำต่ำต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจนเข้าสู่ฤดูฝน
![]() แม่น้ำปิง [สถานี PIN001-บ้านตาก จ.ตาก] |
![]() แม่น้ำปิง [สถานี PIN005-เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์] |
![]() แม่น้ำวัง [สถานี WAN003-เถิน จ.ลำปาง] |
![]() แม่น้ำวัง [สถานี WAN005-เมืองลำปาง จ.ลำปาง] |
![]() แม่น้ำยม [สถานี YOM007-กงไกรลาศ จ.สุโขทัย] |
![]() แม่น้ำยม [สถานี YOM009-โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร] |
![]() แม่น้ำน่าน [สถานี NAN007-ตะพานหิน จ.พิจิตร] |
![]() แม่น้ำน่าน [สถานี NAN012-เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก] |
![]() แม่น้ำเจ้าพระยา [สถานี CPY001-สะพานเดชาติวงศ์ จ.นครสวรรค์] |
![]() แม่น้ำเจ้าพระยา [สถานี CPY005-สรรพยา จ.ชัยนาท] |
![]() แม่น้ำป่าสัก [สถานี PAS001-หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์] |
![]() แม่น้ำป่าสัก [สถานี PAS007-เมืองสระบุรี จ.สระบุรี] |
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php และ http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/chart/chaopraya/small/chaopraya.php
ข้อมูลโดย : กรมควบคุมมลพิษ / การประปานครหลวง
จากการตรวจวัดค่าความเค็มโดยสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำของการประปานครหลวงและกรมควบคุมมลพิษ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ตลอดช่วงฤดูแล้งปี 2557/2558 พบว่าสถานการณ์น้ำเค็มอยู่ในภาวะปกติ มีค่าความเค็มเกินมาตรฐานในบางช่วงเวลา ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของช่วงฤดูแล้ง ดังรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
แม่น้ำเจ้าพระยา จากการตรวจวัดค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ของการประปานครหลวง พบว่าตลอดช่วงฤดูแล้ง ค่าความเค็มที่ตรวจวัดได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการผลิตน้ำประปา (ความเค็มไม่เกิน 0.25 กรัมต่อลิตร) ซึ่งต่างจากช่วงต้นปี 2557 ที่เกิดสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำค่อนข้างรุนแรง สำหรับที่สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ช่วงฤดูแล้งนี้มีค่าความเค็มเกินมาตรฐานเพื่อการผลิตน้ำประปาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคมจนถึงต้นเดือนเมษายน แต่ไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากบริเวณดังกล่าวไม่มีการสูบน้ำขึ้นมาผลิตน้ำประปา รวมทั้งค่าความเค็มที่วัดได้ยังไม่เกินมาตรฐานเพื่อการเกษตร ( 2.0 กรัมต่อลิตร) จึงยังคงสามารถนำน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรได้ปกติ ส่วนที่สถานีคลองลัดโพธิ์ มีค่าความเค็มเกินมาตรฐานทั้งเพื่อการผลิตน้ำประปาและเพื่อการเกษตร อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมจนสิ้นสุดฤดูแล้ง ซึ่งเป็นสถานการณ์ปกติที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ปี เนื่องจากเป็นบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำบางปะกง จากการตรวจวัดค่าความเค็มที่สถานีบางแตน อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี และสถานีเมืองฉะเชิงเทรา อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ค่าความเค็มเริ่มเกินมาตรฐานตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม และเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเกินค่ามาตรฐานค่อนข้างมาก ทั้งมาตรฐานเพื่อการผลิตน้ำประปาและมาตรฐานเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นสถานการณ์ปกติของแม่น้ำบางปะกงในช่วงฤดูแล้ง
แม่น้ำแม่กลอง จากการตรวจวัดค่าความเค็มที่สถานีกระทุ่มแบน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร พบค่าความเค็มเกินมาตรฐานเพื่อการผลิตน้ำประปาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม หลังจากนั้นค่าความเค็มลดลงค่อนข้างมาก และเกินมาตรฐานการผลิตน้ำประปาเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์และกลางเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่วัดค่าความเค็มได้สูงสุดและเกินมาตรฐานเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน จากการตรวจวัดค่าความเค็มที่สถานีนครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม พบค่าความเค็มเกินมาตรฐานเพื่อการผลิตน้ำประปา เป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงฤดูแล้ง
ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน
แผนการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2557/2558 แยกตามการใช้ประโยชน์
ช่วงฤดูแล้งปี 2557/2558 กรมชลประทานได้วางแผนจัดสรรน้ำตามการใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย 1) อุปโภค-บริโภค 2) อุตสาหกรรม 3) การเกษตร 4) ระบบนิเวศและอื่น ๆ
สำหรับการวางแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศ มีการจัดสรรน้ำไว้เพื่ออุปโภค-บริโภค ทั้งสิ้น 14% อุตสาหกรรม 2% การเกษตร 43% ระบบนิเวศและอื่น ๆ 40%
หากพิจารณาเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา
มีการจัดสรรน้ำไว้เพื่ออุปโภค-บริโภค 38% อุตสาหกรรม 1% การเกษตร 14% ระบบนิเวศและอื่น ๆ 48%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดสรรน้ำไว้สำหรับอุปโภค-บริโภค 8%
อุตสาหกรรม 2% การเกษตร 70% ระบบนิเวศและอื่น ๆ 20% ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง จัดสรรน้ำไว้สำหรับอุปโภค-บริโภค 15%
การเกษตร 24% ระบบนิเวศและอื่น ๆ 61% และไม่มีการจัดสรรน้ำไว้เพื่อการอุตสาหกรรม
เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ |
แผนการจัดสรรน้ำ |
ผลการระบายน้ำ |
คงเหลือ/ระบายเกิน |
||
ปริมาณน้ำ(ล้าน ลบ.ม) | ปริมาณน้ำ(ล้าน ลบ.ม) | % จากแผน | ปริมาณน้ำ(ล้าน ลบ.ม) | % จากแผน | |
ทั้งประเทศ | 13,784 | 14,218 | 103% | -344 | -3% |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 1,866 | 2,309 | 124% | -443 | -24% |
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา | 2,900 | 4,113 | 142% | -1,213 | -42% |
ภูมิพล+สิริกิติ์ | 1,900 | 2,917 | 154% | -1,017 | -54% |
แควน้อยบำรุงแดน | 500 | 573 | 155% | -73 | -15% |
ป่าสักชลสิทธิ์ | 500 | 624 | 125% | -124 | -25% |
แม่กลอง | 0 | 0 | 0% | 0 | 0% |
ฤดูแล้ง | ปริมาณน้ำทั้งหมด | ปริมาณน้ำใช้การได้ | อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ | อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง | แผนการใช้น้ำ | ผลการใช้น้ำ |
|
ปี 51/52 | 59,641 | 36,131 | 32,941 | 3,217 | 22,687 | 24,160 | เกินแผน |
ปี 52/53 | 58,532 | 35,022 | 31,917 | 3,105 | 20,720 | 22,471 | เกินแผน |
ปี 53/54 | 55,691 | 31,851 | 28,647 | 3,204 | 20,444 | 19,980 | ต่ำกว่าแผน |
ปี 54/55 | 69,285 | 45,328 | 41,970 | 3,358 | 31,900 | 33,262 | เกินแผน |
ปี 55/56 | 55,268 | 31,469 | 28,649 | 2,820 | 23,570 | 21,424 | ต่ำกว่าแผน |
ปี 56/57 | 56,872 | 33,069 | 29,575 | 3,494 | 20,566 | 21,704 | เกินแผน |
ปี 57/58 | 48,392 | 24,526 | 21,652 | 2,874 | 13,784 | 14,218 | เกินแผน |
ฤดูแล้ง | ปริมาณน้ำทั้งหมด | ปริมาณน้ำใช้การได้ | อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ | อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง | แผนการใช้น้ำ | ผลการใช้น้ำ |
|
ปี 52/53 | 7,266 | 5,533 | 4,032 | 1,501 | 2,837 | 2,497 | ต่ำกว่าแผน |
ปี 53/54 | 9,182 | 7,397 | 5,793 | 1,604 | 2,834 | 4,631 | เกินแผน |
ปี 54/55 | 10,398 | 8,613 | 6,922 | 1,691 | 3,513 | 5,537 | เกินแผน |
ปี 55/56 | 5,346 | 3,542 | 2,345 | 1,197 | 1,529 | 1,389 | ต่ำกว่าแผน |
ปี 56/57 | 8,464 | 6,664 | 4,976 | 1,688 | 2,714 | 3,825 | เกินแผน |
ปี 57/58 | 6,967 | 5,167 | 3,753 | 1,414 | 1,866 | 2,309 | เกินแผน |
ฤดูแล้ง | ปริมาณน้ำทั้งหมด | ปริมาณน้ำใช้การได้ | ภูมิพล+สิริกิติ์ | แควน้อย | ป่าสักชลสิทธิ์ | แม่กลอง | แผนการใช้น้ำ | ผลการใช้น้ำ |
|
ปี 51/52 | 19,343 | 12,690 | 10,736 | 0 | 954 | 1,000 | 9,550 | 10,881 | เกินแผน |
ปี 52/53 | 17,875 | 11,186 | 8,720 | 519 | 947 | 1,000 | 8,000 | 10,339 | เกินแผน |
ปี 53/54 | 18,529 | 11,827 | 9,628 | 739 | 960 | 500 | 8,500 | 8,409 | ต่ำกว่าแผน |
ปี 54/55 | 24,849 | 18,099 | 16,239 | 900 | 960 | 0 | 13,220 | 14,751 | เกินแผน |
ปี 55/56 | 17,771 | 11,075 | 8,612 | 689 | 774 | 1,000 | 9,000 | 9,043 | เกินแผน |
ปี 56/57 | 15,849 | 9,153 | 6,343 | 851 | 959 | 1,000 | 5,300 | 7,265 | เกินแผน |
ปี 57/58 | 13,473 | 6,777 | 5,216 | 744 | 817 | - | 2,900 | 4,113 | เกินแผน |
ฤดูแล้ง | ปริมาณน้ำทั้งหมด | ปริมาณน้ำใช้การได้ | เขื่อนศรีนครินทร์ | เขื่อนวชิราลงกรณ | แผนการใช้น้ำ | ผลการใช้น้ำ |
|
ปี 51/52 | 22,755 |
9,498 |
5,729 |
3,769 |
5,569 |
5,613 |
เกินแผน |
ปี 52/53 | 22,944 |
9,667 |
5,502 |
4,165 |
5,600 |
6,336 |
เกินแผน |
ปี 53/54 | 18,683 |
5,406 |
3,811 |
1,595 |
3,800 |
4,479 |
เกินแผน |
ปี 54/55 | 22,634 |
9,357 |
5,397 |
3,960 |
7,500 |
9,989 |
เกินแผน |
ปี 55/56 | 22,714 |
9,437 |
5,185 |
4,252 |
6,001 |
6,875 |
เกินแผน |
ปี 56/57 | 22,535 |
9,258 |
5,051 |
4,207 |
5,000 |
6,435 |
เกินแผน |
ปี 57/58 | 18,177 |
4,900 |
2,720 |
2,180 |
1,975 |
1,869 |
ต่ำกว่าแผน |
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://wmsc.rid.go.th/
ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน
ช่วงฤดูแล้งปี 2557/2558 กรมชลประทานได้วางแผนการเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ทั้งสิ้น 9.11 ล้านไร่ แต่มีการเพาะปลูกจริง 12.38 ล้านไร่ คิดเป็น 136% ซึ่งเกินจากแผนไปถึง 3.27 ล้านไร่ ทั้งนี้มีการปลูกข้าวนาปรังเกินแผนไป 3.82 ล้านไร่ หากพิจารณาเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้วางแผนการปลูกพืชไว้ทั้งหมด 2.50 ล้านไร่ เพาะปลูกจริง 1.99.27 ล้านไร่ คิดเป็น 80% ซึ่งต่ำกว่าแผน แต่กลับมีการปลูกข้าวนาปรังในเขตพื้นที่ชลประทานเกินไปจากแผน 0.03 ล้านไร่
สำหรับในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ได้วางแผนการเพาะปลูกพืชไว้ 3.26 ล้านไร่ แต่เพาะปลูกจริงเกินแผนไปมากถึง 6.87 ล้านไร่ คิดเป็น 211% หรือเกินจากแผนไป 3.61 ล้านไร่
โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง ที่ทางกรมชลประทานได้ประกาศให้เกษตรกรงดทำนาปรังในพื้นที่ชลประทาน แต่กลับมีการเพาะปลูกถึง 3.72 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน ได้มีการวางแผนให้เพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.03 ล้านไร่ แต่กลับมีการเพาะปลูกจริง 2.54 ล้านไร่ เกินจากแผน 0.51 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 125% นอกจากนี้เกษตรกรยังปลูกพืชไร่พืชผักนอกเขตพื้นที่ชลประทานเกินจากแผน 0.14 ล้านไร่
(รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางด้านล่าง)
แผน/ผล การเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้ง ทั้งประเทศ
แผน/ผล การเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แผน/ผล การเพาะปลูกพืชช่วงฤดูแล้ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
จังหวัด |
อำเภอรวม |
อำเภอประกาศภัย |
รายชื่ออำเภอที่ประกาศภัย |
ภาคเหนือ 11 จังหวัด | |||
เชียงใหม่ | 25 |
23 |
เชียงดาว ฮอด หางดง ดอยเต่า สันกำแพง สะเมิง ดอยหล่อ ดอยสะเก็ด จอมทอง สันป่าตอง สันทราย พร้าว แม่ออน เวียงแหง ไชยปราการ แม่แจ่ม สารภี กัลยาณิวัฒนา เมือง แม่วาง แม่อาย แม่แตง แม่ริม ฝาง อมก๋อย |
พิษณุโลก | 9 |
9 |
วังทอง บางระกำ นครไทย วัดโบสถ์ เนินมะปราง พรหมพิราม บางกระทุ่ม ชาติตระการ เมืองฯ |
แพร่ | 8 |
8 |
เมืองฯ สูงเม่น ร้องกวาง สอง วังชิ้น ลอง หนองม่วงไข่ เด่นชัย |
ตาก | 9 |
6 |
เมืองฯ สามเงา แม่ระมาด บ้านตาก วังเจ้า แม่สอด |
พิจิตร | 12 |
6 |
บางมูลนาก เมืองฯ ตะพานหิน ดงเจริญ ทับคล้อ ทรายพูน |
นครสวรรค์ | 15 |
15 |
ตาคลี โกรกพระ หนองบัว ท่าตะโก ลาดยาว ขุนตาบง พยุหะคีรี บรรพตพิสัย เมืองฯ ชุมแสง แม่วงก์ แม่เปิน เก้าเลี้ยว ตากฟ้า ไพศาลี |
กำแพงเพชร | 11 |
6 |
บึงสามัคคี คลองขลุง เมือง ขานุวรลักษบุรี ปางศิลาทอง คลองลาน |
สุโขทัย | 9 |
1 |
เมืองฯ |
น่าน | 15 |
3 |
เวียงสา สันติสุข นาหมื่น |
ลำปาง | 13 |
1 |
แม่พริก |
อุตรดิตถ์ | 9 |
5 |
พิชัย เมือง ฟากท่า ลับแล น้ำปาด |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด | |||
นครราชสีมา | 32 |
24 |
บ้านเหลื่อม บัวใหญ่ บัวลาย สูงเนิน โนนแดง ขามสะแกแสง สีดา ห้วยแถลง โนนสูง ประทาย ด่านขุนทด ชุมพวง เฉลิมพระเกียรติ เมืองฯ สีคิ้ว เทพารักษ์ จักราช โชคชัย ขามทะเลสอ วังน้ำเขียว โนนไทย ปักธงชัย พระทองคำ แก้งสนามนาง |
ขอนแก่น | 26 |
12 |
พล บ้างนฝาง เขาสวนกวาง หนองเรือ สีชมพู หนองนาคำ เมืองฯ หนองสองห้อง แวงนน้อย โนนศิลา กระนวน น้ำพอง |
ชัยภูมิ | 16 |
7 |
หนองบัวแดง เมืองฯ คอนสวรรค์ เนินสง่า ภูเขียว จัตุรัส ซับใหญ่ |
สกลนคร | 18 |
4 |
พรรณานิคม อากาศอำนวย วานรนิวาส สว่างแดนดิน |
อำนาจเจริญ | 7 |
4 |
เสนางคนิคม ชานุมาน ลืออำนาจ เมืองฯ |
บุรีรัมย์ | 23 |
4 |
พุทไธสง เมืองฯ หนองหงส์ นาโพธิ์ |
กาฬสินธุ์ | 18 |
2 |
นาคู ท่าคันโท |
มหาสารคาม | 13 |
1 |
พยัคฆภูมิพิสัย |
หนองบัวลำภู | 6 |
1 |
โนนสัง |
ภาคกลาง 7 จังหวัด | |||
สระบุรี | 12 |
11 |
แก่งคอย บ้านหมอ เฉลิมพระเกียรติ วังม่วง หนองแซง มวกเหล็ก พระพุทธบาท ดอนพุด วิหารแดง หนองแค หนองโดน |
ชัยนาท | 8 |
6 |
หันคา มโนรมย์ เนินขาม สรรคบุรี วัดสิงห์ หนองมะโมง |
ลพบุรี | 11 |
5 |
พัฒนานิคม ชัยบาดาล โคกสำโรง สระโบสถ์ บ้านหมี่ |
ราชบุรี | 10 |
5 |
โพธาราม ปากท่อ เมืองฯ บ้านโป่ง ดำเนินสะดวก |
กาญจนบุรี | 13 |
4 |
บ่อพลอย ด่านมะขามเตี้ย พนมทวน ห้วยกระเจา |
เพชรบุรี | 8 |
4 |
บ้านลาด ท่ายาง แก่งกระจาน หนองหญ้าปล้อง |
ประจวบคีรีขันธ์ | 8 |
3 |
กุยบุรี บางสะพานน้อย เมืองฯ |
ภาคตะวันออก 4 จังหวัด | |||
จันทบุรี | 10 |
10 |
มะขาม โป่งน้ำร้อน สอยดาว เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ ขลุง แก่งหางแมว นายายอาม เมืองฯ แหลมสิงห์ |
ชลบุรี | 11 |
1 |
เกาะสีชัง |
สระแก้ว | 9 |
9 |
ตาพระยา วังน้ำเย็น เขาฉกรรจ์ หนองหาด วังสมบูรณ์ โคกสูง วัฒนานคร เมืองฯ อรัญประเทศ |
ตราด | 7 |
4 |
เมือง เขาสมิง แหลมงอบ บ่อไร่ |
ภาคใต้ 5 จังหวัด | |||
ตรัง | 10 |
10 |
วังวิเศษ เมืองฯ ห้วยยอด ย่านตาขาว สิเกา กันตัง ปะเหลียน นาโยง หาดสำราญ รัษฏา |
นครศรีธรรมราช | 23 |
6 |
บางชัน นาบอน จุฬาภรณ์ เมืองฯ ทุ่งใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ |
กระบี่ |
8 |
3 |
เกาะลันตา เหนือคลอง เขาพนม |
พังงา | 8 |
3 |
ท้ายเหมือง เกาะยาว ตะกั่วป่า |
สตูล | 7 |
2 |
ละงู เมืองฯ |
รวม 36 จังหวัด | 457 |
230 |
ภัยแล้งในหลายจังหวัดทั้งภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ชาวบ้านขาดแคลนน้ำประปา [ TPBS : 28 ม.ค. 58 ]
ระดับน้ำในเจ้าพระยาลดระดับลง ส่งผลกับการผลิตน้ำปะปาใน จ.อ่างทอง เจ้าหน้าที่ต้องสูบน้ำเพิ่ม เพื่อผลิตน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่
นายวรดี ชินคชบาล ผู้จัดการสำนักงานประปาส่วนภูมิภาคอ่างทอ เปิดเผยว่า ต้องเพิ่มเครื่องสูบน้ำเข้าสู่กระบวนการผลิตอีก 1 เครื่อง และจะเดินเครื่องพร้อมกัน 2 เครื่องในช่วงน้ำขึ้น แต่ยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อคุณภาพของน้ำประปา
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง ระบุว่าในปี 2558 หลายอำเภอของ จ.อ่างทอง เสี่ยงประสบภัยแล้ง จึงได้ตั้งศูนย์อำนวยการและแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนแล้ว
ส่วนที่ จ.บุรีรัมย์ ก็ประสบปัญหาภัยแล้ง และกระบวนการผลิตน้ำประปาเช่นกัน ทำให้ชาวบ้านหนองมะค่าแต้ ต.พระคู อ.เมือง ต้องช่วยกันซ่อมแซมบ่อบาดาลเก่า ที่เลิกใช้มากว่า 20 ปี หลังจากน้ำในหนองน้ำโนที่ชาวบ้านใช้ผลิตน้ำประปาหมู่บ้านแห้งขอด ไม่พอจะผลิตน้ำประปา ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 150 ครัวเรือนต้องซื้อน้ำกินน้ำใช้
เช่นเดียวกับที่ จ.นครราชสีมา เจ้าหน้าที่จากชลประทานที่ 8 นำเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้วจำนวน 2 เครื่อง สูบน้ำจากลำตะคองไปกักเก็บไว้ที่บ่อพักน้ำของโรงผลิตน้ำประปาบ้านมะขามเฒ่า ในเขต อ.เมือง กำหนดกักเก็บน้ำดิบให้ได้ 120,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ผลิตน้ำประปา
สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้เริ่มลุกลามอย่างเห็นได้ชัด หลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาน้ำไม่พอใช้ โดยเฉาะพื้นที่ ต.ท่าจะหลุง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ชาวบ้านประสบความเดือดร้อนอย่างหนัก แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอด ส่วนน้ำประปาก็ไม่มีใช้ ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านต้องแก้ปัญหาด้วยการจ้างช่างมาขุดเจาะบ่อบาดาล
"อำนวย รื่นอายุ" ครูโรงเรียนบ้านหนองกก อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา บอกว่า ตอนนี้โรงเรียนแทบจะไม่มีน้ำใช้ เพราะน้ำประปาจะไหลเฉพาะเวลากลางคืน จึงต้องจ้างช่างมาเจาะน้ำบาดาลเพื่อเก็บให้นักเรียนใช้ โดยที่ผ่านมาทางโรงเรียนแก้ปัญหาด้วยการให้ครูเวร หรือภารโรงรองน้ำประปาในเวลากลางคืน แต่ยังไม่เพียงพอ ส่วนน้ำดื่มต้องไปขอจากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อมาเติมให้นักเรียนดื่ม
"โรงเรียนประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก น้ำฝนที่เคยรองไว้ระยะหลังไม่สามารถดื่มได้ เราต้องผชิญกับปัญหาดังกล่าวทุกปี แต่ในปีนี้คาดว่าจะหนักมากที่สุด จึงต้องจ้างช่างมาขุดบ่อบาดาลเพื่อรองรับสถานการณ์"
ความเดือดร้อนจากภัยแล้ง นอกจากจะกระทบต่อครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองกก แต่ปัญหาดังกล่าวยังเกิดขึ้นกับชาวบ้านแทบทุกอำเภอของ จ.นครราชสีมา เช่นกัน ซึ่งทางแก้หนทางเดียวที่จะช่วยบรรเทาไปได้ คือ การขุดบ่อบาดาลให้ได้มากที่สุด
"มานะ เจ๊กแตงพะเนา" ช่างขุดเจาะบ่อบาดาล บอกว่า ปีนี้แล้งมาก บางที่แล้งถึงขนาดผืนดินแตกระแหง น้ำประปาไหลบ้างไม่ไหลบ้าง ทำให้ชาวบ้านจ้างชุดบ่อบาดาลกันมากมาย โดยคนที่มาจ้างมีทั้งเกษตรกร ชาวบ้าน และหน่วยงานต่างๆ ตอนนี้คิวเยอะมาก จึงกำหนดไม่ได้ว่า ชาวบ้านจะได้คิวในวันไหน
แม้ปีนี้จะเพิ่งย่างเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ แต่ภัยแล้งกลับสร้างผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะเขื่อนสำคัญในพื้นที่ต่างๆ อาทิ เขื่อนลำคอง ขณะนี้มีน้ำเหลือเพียงร้อยละ 37 ซึ่งน้ำที่เหลือในตอนนี้ใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และทำน้ำประปาเป็นหลักเท่านั้น
ไม่ต่างจากพื้นที่ในลุ่มเจ้าพระยา ใน จ.ลพบุรี ที่ปีนี้มีข้อมูลระบุว่า แล้งหนักในรอบ 20 ปี
จากการสำรวจพบว่า "แม่น้ำบางขาม" แหล่งน้ำสายหลักกลับแห้งขอด เกษตรกรเดือดร้อนอย่างหนัก ถึงขนาดต้องรวมตัวว่าจ้างผู้รับเหมาสร้างคันดินกั้นน้ำให้เป็นแอ่ง ก่อนจะนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้ง เพื่อสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร ขณะที่เกษตรกรหลายรายต้องเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อย่างเช่น มันสำปะหลัง เผือก หรือแตงกวา ทดแทน
ทั้งนี้ ตามปกติในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี จะเป็นช่วงการทำนาปรังของชาวนา แต่ปีนี้ชาวนาหลายรายต้องหยุดทำนา เพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอ
"สุเทพ น้อยไพโรจน์" รองอธิบดีกรมชลประทาน บอกว่า เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนกรมชลฯ จะประเมินว่า น้ำในปีนี้มีเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคหรือไม่เป็นอันดับแรก จากนั้นจะประเมินถึงสถานการณ์น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ ก่อนจะมาประเมินถึงการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ส่วนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำแม่กลอง ยืนยันว่า น้ำเพียงพอที่จะเริ่มเพาะปลูกได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม ส่วนพื้นที่อื่นๆ กรมชลฯ ประเมินว่า จะมีน้ำส่งไปเช่นเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค ตลอดฤดูแล้ง
"เป็นภัยแล้งที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี ครั้งก่อนเกิดขึ้นระหว่างรอยต่อปี 2537-2538 สำหรับฤดูแล้งปีนี้กรมชลฯ งดส่งน้ำในการทำนาปรังตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา เพราะการจัดสรรน้ำต้องคำนึงถึงเรื่องอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ จากนั้นจึงมาพิจารณาน้ำเพื่อการเกษตร"
สุเทพ บอกว่า ตามวงรอบของระบบนิเวศจะมีภัยแล้งต่อเนื่องกัน 3 ปี และน้ำดี 2 ปี ซึ่งกรมชลฯ ได้วิเคราะห์ถึงวงรอบที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยกรมชลฯ อาศัยข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่า หากฝนมาช้าเล็กน้อยก็จะเก็บน้ำเผื่อไว้ ดังนั้นยืนยันว่า หากสถานการณ์ฝนมาช้าไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ประชาชนจะมีใช้เพียงพอไปถึงเดือนกรกฎาคม ขอให้มั่นใจในสิ่งที่กรมชลฯ วางแผนไว้
อย่างไรก็ตาม วิกฤติภัยแล้งในปีนี้ทำให้น้ำในเขื่อนต่างๆ มีปริมาณน้อย กรมชลประทานต้องขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดทำนาปรังในหลายจังหวัด เพื่อต้องการเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคและบริโภค รวมถึงใช้ผลักดันน้ำเค็มในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อการผลิตน้ำประปาแล้ว ยังส่งผลต่อระบบนิเวศของแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย
"ในปีนี้จะไม่นำน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาช่วยผลักดันน้ำเค็ม เพราะน้ำจากแม่กลองน้อยมาก เราจะใช้น้ำจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาควบคุม ผ่านเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนพระราม 6 เมื่อรวมกันแล้วต้องได้ปริมาณประมาณ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีขึ้นไป เรานำบทเรียนจากปีที่แล้วมาแก้ไข เพราะปีที่แล้วเราวางแผนการใช้น้ำไหลมาที่บางไทรให้ได้ในปริมาณ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เหมือนกัน แต่ปรากฏว่า เกษตรกรนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูก ทำให้แผนที่วางไว้ผิดพลาด ส่งผลให้น้ำที่ไหลมาจากบางไทรมีน้อยมาก ดังนั้นในปีนี้เราต้องปรับใหม่เลย"
จากบทเรียนปัญหา "น้ำเค็ม" เข้าสู่ระบบการผลิตน้ำประปาเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ในปีนี้การประปานครหลวงต้องประสานกรมชลประทาน โดยเพิ่มความเข้มในการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน เพื่อผลักดันน้ำเค็มในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ขณะเดียวกันในส่วนของเจ้าหน้าที่การประปาต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันน้ำเค็มเข้าสู่ระบบการผลิตน้ำประปา
"ธนศักดิ์ วัฒนฐานะ" ผู้ว่าการการประปานครหลวง ให้ข้อมูลว่า ทุกหน้าแล้งน้ำจะมีความเค็มขึ้นมา โดยที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้แก้ปัญหาด้วยการไม่สูบน้ำดิบเข้าคลองประปา หรือไม่สูบน้ำดิบบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล ทำให้น้ำเข้าไม่ได้ แต่ในต้นปีน้ำเค็มขึ้นมามาก การประปานครหลวงได้ประสานงานกับกรมชลฯ เพื่อนำน้ำมาผลักดันไล่น้ำเค็มไปได้
"ปีนี้เราได้บทเรียนแล้วจึงเอาน้ำมายันไว้แต่ต้น ทั้งนี้หากค่าความเค็มในสถานีสูบน้ำดิบสำแลสูงเกินกว่า 0.25 กรัมต่อลิตร จะส่งผลให้น้ำประปามีรสกร่อย แต่จะรู้สึกได้ก็ต่อเมื่อความเค็มมีค่าสูงถึง 0.5 กรัมต่อลิตร ปัจจุบันน้ำประปามีค่าความเค็มไม่เกิน 0.19 กรัมต่อลิตร"
จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์นี้ อาจเป็นแค่ช่วงของการเผาหลอก ซึ่งจากนี้ไปยังไม่รู้ว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะรุนแรงเพิ่มทวีคูณขึ้นมากแค่ไหน ดังนั้นการวางแผนใช้น้ำในแต่ละปีจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใดประชาชนและเกษตรกรต้องให้ความร่วมมือในการร่วมกันจัดสรรน้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะมิฉะนั้นแล้วปัญหาภัยแล้งจะเกิดขึ้นซ้ำรอยอย่างนี้ตลอดไป
ภัยแล้งคุกคามจังหวัดเชียงราย ชาวนาต้องปล่อยนาปรังยืนต้นตาย หลังไม่มีน้ำมาหล่อเลี้ยง
ชาวนาที่บ้านทุ่งพญาหมี ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต้องปล่อยให้ต้นข้าวนาปรังจำนวน 2 ไร่ ยืนต้นแห้งตาย เนื่องจากไม่มีน้ำที่จะมาเลี้ยงต้นข้าว จะสังเกตว่าพื้นที่ดินเริ่มแตกระแหง บางจุดต้นข้าวเป็นเริ่มเป็นสีเหลือง โดยเกษตรกร บอกว่า ก่อนหน้านี้จุดดังกล่าวมีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา เมื่อเข้าช่วงหน้าแล้งน้ำเริ่มหายไป ทำให้หาวิธีที่จะนำน้ำมาเลี้ยงต้นข้าว เพราะปลุกข้าวเอาไว้ 4 ไร่ การสูบน้ำบาดาลขึ้นมาเลี้ยงต้นข้าวก็ทำได้แต่เพียง 2 ไร่ เท่านั้น อีก 2 ไร่ จึงต้องยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มีน้ำเลี้ยงและปล่อยให้ต้นข้าวที่ปลูกไปแล้วแห้งตาย และพยามที่จะเลี้ยงต้นข้าวที่เหลือเอาไว้เพื่อที่จะขายเพื่อนำเงินต้นทุนกลับคืนมา แต่ยังไม่รู้จะคุ้มหรือไม่ เพราะต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นในการสูบน้ำบาดาล ถือว่ามีความทุกข์อย่างมากในการทำนาปรังในปีนี้ เพราะถือว่าภัยแล้งรุนแรง สาเหตุที่ทำข้าวนาปรังปีนี้ ก็เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา จุดดังกล่าวสามารถทำนาได้ แต่มาปีนี้กลับไม่มีน้ำทำนา ถือว่าภัยแล้งรุนแรงกว่าทุกปี
ชายแดนไทย-ลาว ด่านช่องเม็ก ประสบภัยแล้ง ชาวบ้านต้องขุดหลุมรองรับน้ำประปาหมู่บ้าน ขณะที่ยังไร้หน่วยงานช่วยเหลือ
ที่บ้านสวนป่า ต.ช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ชาวบ้านต้องขุดหลุมเพื่อรองรับน้ำปะปาประจำหมู่บ้าน ที่เปิดแจกจ่ายให้ประชาชนวันละหนึ่งครั้ง เนื่องจากปริมาณน้ำมีจำกัด และต้องแจกจ่ายให้ประชาชนใช้กว่า 500 หลังคาเรือน
นางสมศรี นนท์ศิริ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องขุดหลุดรองน้ำนั้น เนื่องจากน้ำประปาไหลเบา และมีจำนวนน้อยซึ่งท่อน้ำที่ติดตั้งไว้ ไม่สามารถใช้งานเนื่องจากอยู่สูง น้ำไหลไม่ถึง จึงจำเป็นต้องขุดหลุมเพื่อให้อยู่ในพื้นที่ต่ำและตัดท่อประปาออก แต่ถึงอย่างนั้น น้ำก็ยังไหลเบาและไม่เพียงพอต่อการใช้อุปโภค บริโภคต่อวัน
อย่างไรก็ตาม ปีนี้พื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ที่ด่านช่องเม็กแล้งจัดกว่าทุกปี ทำให้ปริมาณน้ำในบ่อที่ขุดไว้แห้งขอด จนไม่สามารถนำมาใช้ได้ ในแต่ละวันต้องไปขออาศัย ใช้น้ำจากบ่อเพื่อนบ้านที่อยู่ในพื้นที่ต่ำที่ยังพอเหลือน้ำไว้ใช้บ้าง แต่ในระยะยาวก็เกรงว่าบ่อที่เหลือนี้น้ำจะหมดไปด้วย
ทั้งนี้ แนวทางการแก้ปัญหาทั้งระยะเร่งด่วน และระยะยาว กลับยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน อีกทั้งก็ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาจากผู้นำหมู่บ้าน บอกแค่เพียงว่า อบต.ที่รับผิดชอบกำลังศึกษาแนวทางอยู่
สุโขทัย - ชาวบ้านในเขตอำเภอกงไกรลาศลงแรงปรับพื้นที่ท้องน้ำยมทำสนามฟุตบอลให้เด็กเล่นแทน หลังภัยแล้งลุกลามหนัก น้ำยมแห้งขอดจนไม่เหลือน้ำทำการเกษตร-เลี้ยงปลากระชัง
วันนี้ (17 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หมู่ 1 ต.กง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ชาวบ้านได้มีการปรับพื้นดินก้นแม่น้ำยมทำเป็นสนามฟุตบอลกลางแม่น้ำเพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้ใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย และเริ่มเปิดสนามวันแรกตั้งแต่วานนี้ (16 เม.ย.) มีเยาวชนนัดรวมตัวกันมาเตะฟุตบอลอย่างสนุกสนาน
ชาวบ้านรายหนึ่งบอกว่า ปีนี้ อ.กงไกรลาศแล้งมาก แม่น้ำยมมีสภาพแห้งขอดตลอดสาย ทำให้ไม่สามารถทำการเกษตร หรือเลี้ยงปลาในกระชังได้เหมือนปีก่อนๆ ชาวบ้านจึงฉวยโอกาสหน้าแล้งนี้ทำสนามฟุตบอลกลางแม่น้ำยม เพื่อเด็กๆ จะได้ใช้เป็นที่ออกกำลังกาย และห่างไกลยาเสพติดแทน
ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ชาวบ้านตำบลบ้านเหล่า อ.บ้านฝาง กว่า 212 ครัวเรือน เดือดร้อนหนัก หลังเผชิญภัยแล้งหนักที่สุดในรอบ 20 ปี หนองน้ำเพื่อผลิตประปาหมู่บ้านแห้งขอด พื้นที่การเกษตรกว่า 2 พันไร่ ถูกทิ้งร้างเพราะปลูกพืชผักไม่ได้ ชาวบ้านจำใจควักกระเป๋าซื้อน้ำใช้อุปโภคบริโภคแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านหนองแวง ต.บ้านเหล่า อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น กว่า 212 ครัวเรือน ประชากรกว่า 1,026 คน กำลังประสบปัญหาภัยแรงรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี หลังขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค รวมถึงการทำการเกษตรที่ถือเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรกว่า 1,999 ไร่ กลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ชาวบ้านขาดรายได้จากการทำนาไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท/ครัวเรือน
นายพงษ์พจน์ จุลคำภา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ต.บ้านเหล่า กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2558 ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนมีน้อย ประกอบกับสภาพอากาศร้อน และแห้งแล้งเร็วกว่าทุกปี ทำให้หนองน้ำเพื่อผลิตประปาประจำหมู่บ้าน 3 แห่ง และแหล่งน้ำธรรมชาติ 2 แห่ง แห้งขอด ประกอบกับไม่มีน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือน
แม้ว่าทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยการนำรถน้ำมาแจกจ่ายประชาชนสัปดาห์ละ 4 เที่ยวๆ ละ 1 หมื่นลิตร ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน จึงอยากฝากถึงส่วนงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ และส่งเงินเยียวยาเกษตรกรด้วย
นางสุจิตร หรือป้าอึ้ง อายุ 58 ปี อยู่บ้านเลขที่ 119 หมู่ 7 บ้านหนองแวง ต.บ้านเหล่า อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น หนึ่งในผู้ประสบความเดือดร้อนกล่าวเสริมว่า นานกว่า 4 เดือนแล้วที่ขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตร จึงทำให้ขาดรายได้จากการทำนารวมไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท แม้แต่น้ำไว้กินไว้ใช้ยังไม่มี รวมถึงพืชผักสวนครัวเองก็ไม่ออกผลผลิตอย่างเต็มที่เนื่องจากขาดน้ำ
ส่งผลให้ตนต้องจำใจควักเงินในกระเป๋าเพื่อซื้อน้ำมาใช้ในครัวเรือนเองตกเดือนละไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ จึงนำน้ำที่เหลือใช้จากการล้างจานแล้วไปรดต้นไม้เพื่อเป็นการประหยัดน้ำไปในตัวด้วย
จึงอยากวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย และเข้ามาดูแลชาวบ้านอย่างทั่วถึงด้วย เพราะขณะนี้ชาวบ้านต่างก็ได้รับความเดือดร้อน
สถานการณ์น้ำเจ้าพระยา : เน้นสำรองน้ำไว้ในเขื่อนป่าสักฯ สำหรับไล่น้ำเค็ม หากรุกล้ำเข้ามา [ ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน : 20 เม.ย. 58 ]
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(20 เม.ย. 58) ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,379 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,579 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,981 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,131 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 308 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 265 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 285 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 282 ล้านลูกบาศก์เมตร
รวมทั้ง 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 4,257 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำใช้การได้จำนวนนี้ แยกเป็นปริมาณน้ำที่ใช้ได้ตามแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 57/58 ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนเมษายนนี้ ประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 3,900 ล้านลูกบาศก์เมตร จะสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อสนับสนุนการทำนาปีของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้สามารถเริ่มทำการเพาะปลูกได้พร้อมกัน เพื่อให้ทันเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก ในช่วงเดือนกันยายน
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการน้ำของแหล่งน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะเน้นการใช้น้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นหลัก โดยจะสำรองน้ำไว้ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้มากที่สุด สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินหากเกิดมีน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาถึงปากคลองสำแล ซึ่งเป็นจุดสูบน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง เนื่องจากอยู่ในระยะทางที่ใกล้สามารถปล่อยน้ำมาเจือจางน้ำเค็มได้เร็วกว่าเขื่อนอื่นๆที่อยู่ทางตอนบน
ภัยแล้งภาคอีสานยังส่อเค้าจะรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเขื่อนอุบลรัตน์ เหลือปริมาณน้ำในอ่าง 17 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ขณะนี้ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติภัยแล้งแล้วทั้ง 26 อำเภอ และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำชี และแม่น้ำพอง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัด ขณะนี้บางจุดลดลงอย่างมาก ขณะที่ปริมาณน้ำเก็บกักทีเขื่อนอุบลรัตน์ ขณะนี้เหลือปริมาณน้ำเพียง 911 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น ในจำนวนนี้สามารถระบายน้ำไปใช้ได้จริงเพียง 330 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ขณะนี้สามารถระบายน้ำเพื่อการเกษตรและผลิตไฟฟ้าได้เพียงวันละ 1 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้สั่งห้ามประชาชนทำนาปรังในระยะนี้ เนื่องจาก จะได้รับความเสียหายจากปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตชลประทานและพื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์อีกด้วย
สถานการณ์น้ำฤดูแล้ง : น้ำในเขื่อนหลายแห่งยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง [ ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน : 28 เม.ย. 58 ]
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศล่าสุด(29 เม.ย. 58) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 36,704 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 13,201 ล้านลูกบาศก์เมตร
สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 35 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 38 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,254 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,812 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 277 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 34 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 211 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 480 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 104 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ ฯ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำ 916 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ
สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 251 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำ 91 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 44 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ
สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยังคงมีปริมาณน้ำลดลง ซึ่งปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพียงพอสำหรับการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ รวมถึงการส่งน้ำเพื่อการทำนาปีในช่วงต้นฤดูฝน ทั้งนี้ กรมชลประทาน ขอขอบคุณทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรในทุกพื้นที่โครงการฯ ที่ให้ความร่วมมือ ในการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ โดยไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำตลอดในช่วงฤดูแล้งนี้
ภัยแล้งกระทบต่อธุรกิจแพกุ้งส่งออกจันทบุรี ขาดแคลนน้ำจืด ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม สั่งซื้ออาทิตย์ละ 3-4 เที่ยว
สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ยังขยายพื้นที่ไปทุกอาชีพ ล่าสุด ธุรกิจแพกุ้งในพื้นที่ อำเภอแหลมสิงห์ ที่เป็นแหล่งส่งกุ้งออกนอกประเทศในจังหวัดจันทบุรี ประสบปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนน้ำจืดไว้สำหรับดองกุ้ง แหล่งน้ำที่เคยสูบน้ำมาใช้ได้แห้งขอดลง จนปัจจุบันแพกุ้งของ นางเพ็ญ พึ่งพรหม ต้องซื้อน้ำจืดจากเอกชน อาทิตย์ละ 3-4 เที่ยว เข้ามาทดแทนในการนำน้ำจืดมาดองกุ้ง ทำให้แพกุ้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอาทิตย์ละ 1,500 บาท ก่อนที่จะน็อกกุ้งส่งไปสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ หากรอน้ำจากหน่วยงานราชการคงไม่ทัน เพราะความต้องการน้ำของประชาชนมีมาก และอาจจะไม่ทันการต่อธุรกิจแพกุ้ง จึงเลือกที่จะซื้อน้ำจืดจากเอกชนเข้ามาทดแทน แม้จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็ตาม
สถานการณ์น้ำฤดูแล้ง : ผลการส่งน้ำทำนาปีโครงการฯยมน่านและเขื่อนนเรศวร คืบกว่าร้อยละ 70 แล้ว [ ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน : 8 พ.ค. 58 ]
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศล่าสุด(9 พ.ค. 58) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 35,959 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 12,456 ล้านลูกบาศก์เมตร
สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 35 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,091 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,609 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 244 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 33 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 209 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 475 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 101 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯ ฯ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำ 902 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯ
สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 215 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำ 90 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ
ในส่วนของความคืบหน้าการส่งน้ำเพื่อสนับสนุนการทำนาปี ในพื้นที่ของโครงการชลประทานยมน่าน และเขื่อนนเรศวร นั้น ปัจจุบันสามารถส่งน้ำได้กว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นในที่ลุ่มต่ำก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วมขังในช่วงฤดูน้ำหลาก ส่วนในพื้นที่ดอน พบว่าเกษตรกรส่วนหนึ่งยังไม่ทำการเพาะปลูก โดยจะรอให้เข้าสู่ฤดูฝนก่อน เนื่องจากต้องการลดต้นทุนจากการสูบน้ำเข้าพื้นที่ของตนนั่นเอง