บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคกลาง(ตุลาคม 2553)

ภาพดาวเทียม GOES-9

1/10/2553

2/10/2553

3/10/2553

4/10/2553

9/10/2553

10/10/2553

11/10/2553

12/10/2553

13/10/2553

14/10/2553

15/10/2553

17/10/2553

18/10/2553

19/10/2553

25/10/2553

26/10/2553


จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าในเดือนตุลาคม 53 ยังคงมีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง ส่งผลให้เกิดฝนตกในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางที่มีกลุ่มเมฆปกคลุมค่อนข้างหนา ทำให้ฝนตกมาก รวมกับน้ำเหนือที่ไหลลงมาสู่ภาคกลางก่อนหน้านี้ ทำให้พื้นที่ภาคกลางยังคงเกิดน้ำท่วมในหลายบริเวณต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว เช่น จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพแผนที่อากาศ

1/10/2553

2/10/2553

3/10/2553

4/10/2553

5/10/2553

6/10/2553

7/10/2553

8/10/2553

9/10/2553

10/10/2553

11/10/2553

12/10/2553

13/10/2553

14/10/2553

15/10/2553

16/10/2553

17/10/2553

18/10/2553

19/10/2553

20/10/2553

21/10/2553

22/10/2553

23/10/2553

24/10/2553

25/10/2553

26/10/2553

27/10/2553

28/10/2553

29/10/2553


30/10/2553


จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝนตกค่อนข้างมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร

1/10/2553
17:25GMT

2/10/2553
14:25GMT

3/10/2553
13:25GMT

5/10/2553
09:25GMT

8/10/2553
17:25GMT

9/10/2553
12:25GMT

11/10/2553
09:25GMT

12/10/2553
01:25GMT

13/10/2553
22:25GMT

14/10/2553
01:25GMT

15/10/2553
03:25GMT

16/10/2553
04:25GMT

17/10/2553
17:25GMT

18/10/2553
17:25GMT

19/10/2553
17:25GMT

20/10/2553
16:25GMT

21/10/2553
17:25GMT


22/10/2553
12:25GMT


25/10/2553
20:25GMT


26/10/2553
02:25GMT

dBz
เรดาร์หัวหิน รัศมี 240 กิโลเมตร

1/10/2553
12:29GMT

2/10/2553
13:29GMT

3/10/2553
18:29GMT

4/10/2553
23:29GMT

5/10/2553
03:29GMT

6/10/2553
16:29GMT

7/10/2553
13:29GMT

8/10/2553
15:29GMT

9/10/2553
14:29GMT

10/10/2553
17:29GMT

11/10/2553
19:29GMT

12/10/2553
00:29GMT

13/10/2553
19:29GMT

14/10/2553
23:29GMT

15/10/2553
08:29GMT

16/10/2553
14:29GMT

17/10/2553
17:29GMT

19/10/2553
18:29GMT

20/10/2553
13:29GMT

21/10/2553
17:29GMT
dBz
เรดาร์ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร

1/10/2553
23:03GMT

2/10/2553
13:03GMT

3/10/2553
13:03GMT

4/10/2553
23:03GMT

5/10/2553
02:03GMT

6/10/2553
23:03GMT

7/10/2553
01:03GMT

10/10/2553
17:03GMT

11/10/2553
23:03GMT

12/10/2553
00:03GMT

13/10/2553
21:03GMT

14/10/2553
14:03GMT

15/10/2553
10:03GMT

16/10/2553
12:03GMT

17/10/2553
16:03GMT

19/10/2553
20:03GMT

20/10/2553
11:03GMT

21/10/2553
11:03GMT

26/10/2553
15:03GMT

27/10/2553
16:03GMT
dBz

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์พิษณุโลก หัวหิน และ ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง พบว่าพื้นที่ภาคเหนือมีฝนตกมากช่วงวันที่ 12-15 , 17-21 ต.ค. และ 26 ต.ค. ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกมีฝนตกหนักช่วงวันที่ 1-5 และ 10-19 ต.ค.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 เรดาร์พิษณุโลก  หัวหิน ระยอง

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา

2/10/2553
[00:00]

3/10/2553
[12:00]

4/10/2553
[00:00]

12/10/2553
[00:00]

13/10/2553
[00:00]

14/10/2553
[12:00]

15/10/2553
[00:00]

16/10/2553
[00:00]

17/10/2553
[00:00]

19/10/2553
[00:00]

20/10/2553
[12:00]

21/10/2553
[00:00]

22/10/2553
[12:00]

23/10/2553
[00:00]

26/10/2553
[12:00]

27/10/2553
[00:00]


จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าช่วงวันที่ 1-4 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคกลางตอนล่าง หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้ลดปริมาณลง ต่อวันที่ 12 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และช่วงวันที่ 13-16 ต.ค.กลุ่มฝนได้กลับมากระจุกตัวเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ภาคกลางรวมถึงภาคเหนือตอนล่าง โดยในวันที่ 16 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวค่อนข้างหนาบริเวณจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ และลพบุรี ต่อมาวันที่ 17 ต.ค. โดยภาพรวมกลุ่มฝนลดปริมาณลง แต่ยังคงมีกระจุกตัวในพื้นที่ภาคกลาง หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้กระจุกตัวมากอีกครั้งบริเวณภาคกลางตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ในวันที่ 19 ต.ค. หลังจากนั้นช่วงวันที่ 20-25 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากบริเวณภาคเหนือ ตลอดแนวยาวลงมาทางด้านตะวันตกของประเทศ จนถึงพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง โดยในวันที่ 20-21 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวหนาบริเวณภาคเหนือตอนบน และวันที่ 26 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวหนาบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

รายละเอียดเพิ่มเติม


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายสัปดาห์จาก NASA

1/10/53[00Z]-8/10/53[00Z]

9/10/53[00Z]-16/10/53[00Z]

17/10/53[00Z]-24/10/53[00Z]

25/10/53[00Z]-31/10/53[00Z]

1/10/53[00Z]-31/10/53[00Z]
   
จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าพื้นที่ภาคกลางมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือน หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้กระจุกตัวลดน้อยลง หากพิจารณาถึงภาคอื่น ๆ พบว่า
ช่วงสัปดาห์แรกกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากบริเวณภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง ต่อมาในสัปดาห์ที่สองกลุ่มฝนในพื้นที่ภาคใต้ได้ลดปริมาณลง แต่มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากในบริเวณภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในสัปดาห์ที่สามและสี่ปริมาณฝนลดลงค่อนข้างมาก ได้มีกลุ่มฝนเกาะกลุ่มเล็กน้อยในบางพื้นที่ของภาคใต้ และหากพิจารณาปริมาณฝนรวมทั้งเดือน พบว่าเดือนตุลาคมมีฝนค่อนข้างมากบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


ค่าเฉลี่ยเดือนตุลาคม(2493-2540)

ตุลาคม 2553

ตุลาคม 2549




จากแผนภาพข้อมูลฝนสะสมช่วงเดือนตุลาคม พบว่าเดือนตุลาคม ปี 2553 พื้นที่ภาคกลาง มีีฝนตกมากว่าเดือนตุลาคมของปี 2549 และมากกว่าค่าฝนเฉลี่ยเดือนตุลาคม จากค่าสถิติปี 2493-2540 โดยรายละเอียดฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมากในเดือนตุลาคม 2553 เป็นดังตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
จังหวัด
ปริมาณฝน
สะสมรายวัน(มม.) 
29/10/2553
พะเยา พะเยา
98.50
28/10/2553
ประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์
52.70
27/10/2553
พิษณุโลก พิษณุโลก
93.80
พิจิตร พิจิตร
62.80
26/10/2553
ชัยนาท ชัยนาท
87.00
นครสวรรค์ นครสวรรค์
81.00
22/10/2553
นครสวรรค์ นครสวรรค์
86.50
21/10/2553
แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน
128.00
เชียงใหม่ เชียงใหม่
78.60
ลำพูน ลำพูน
74.20
20/10/2553
ตาก ตาก
123.50
เขื่อนภูมิพล ตาก
100.90
สุโขทัย สุโขทัย
96.50
แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน
70.70
ดอยมูเซอ (1) ตาก
65.40
17/10/2553
ชัยนาท ชัยนาท
80.70
ตากฟ้า นครสวรรค์
79.70
14/10/2553
เขื่อนภูมิพล ตาก
83.10
10/10/2553
นครสวรรค์ นครสวรรค์
76.50
5/10/2553
ปทุมธานี (1) ปทุมธานี
92.00
หมายเหตุ : สีแดง หมายถึง ข้อมูลฝนที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลฝน 80-99 มิลลิเมตร


การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันเตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน (มม.)
ระดับการเตือนภัย
10/29/2010
9:00:00
ฝน08-09น.
ต.พบพระ จ.ตาก                    31.2
เฝ้าระวังสูงสุด
10/29/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.จุน จ.พะเยา                    98.5
เฝ้าระวังสูงสุด
10/27/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.หนองกะท้าว จ.พิษณุโลก                    93.8
เฝ้าระวังสูงสุด
10/26/2010
11:00:00
ฝน07-11น.
ต.วังทอง จ.พิษณุโลก                    77.6
เฝ้าระวังสูงสุด
10/26/2010
8:00:00
ฝน07-08น.
ต.ผาเลือด จ.อุตรดิตถ์                    35.8
วิกฤต
10/26/2010
8:00:00
ฝน06-07น.
ต.ผาเลือด จ.อุตรดิตถ์                    27.0
เฝ้าระวังสูงสุด
10/22/2010
10:00:00
ฝน09-10น.
ต.พระบาทวังตวง จ.ลำปาง                    39.0
เฝ้าระวังสูงสุด
10/22/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.มหาโพธิ จ.นครสวรรค์                    86.5
เฝ้าระวังสูงสุด
10/22/2010
6:00:00
ฝน05-06น.
ต.วัดจันทร์ จ.พิษณุโลก                    38.0
วิกฤต
10/21/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ห้วยผา จ.แม่ฮ่องสอน                  128.0
วิกฤต
10/20/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สามเงา จ.ตาก                  100.9
วิกฤต
10/20/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ตากออก จ.ตาก                  123.5
วิกฤต
10/20/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ราวต้นจันทร์ จ.สุโขทัย                    96.5
เฝ้าระวังสูงสุด
10/20/2010
1:00:00
ฝน20/07-21/00น.
ต.ในเมือง จ.อุตรดิตถ์                    74.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/19/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.ระแหง จ.ตาก                    86.8
เฝ้าระวังสูงสุด
10/19/2010
17:00:00
ฝน17-18น.
ต.ระแหง จ.ตาก                    31.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/19/2010
1:00:00
ฝน19/07-20/01น.
ต.ระแหง จ.ตาก                  107.6
วิกฤต
10/18/2010
20:00:00
ฝน07-20น.
ต.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์                    74.2
เฝ้าระวังสูงสุด
10/16/2010
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.แม่ระมาด จ.ตาก                    35.4
วิกฤต
10/16/2010
22:00:00
ฝน21-22น.
ต.แม่ระมาด จ.ตาก                    30.2
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.ท่าโรง จ.เพชรบูรณ์                    70.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
19:00:00
ฝน07-19น.
ต.หนองกลับ จ.นครสวรรค์                    70.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
13:00:00
ฝน07-13น.
ต.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์                    85.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
4:00:00
ฝน15/07-16/04น.
ต.สะแกกรัง จ.อุทัยธานี                    95.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
3:00:00
ฝน15/07-16/03น.
ต.ย่านมัทรี จ.นครสวรรค์                    96.2
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
2:00:00
ฝน15/07-16/02น.
ต.ชอนสารเดช จ.ลพบุรี                    96.0
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
2:00:00
ฝน15/07-16/02น.
ต.ท่ามะนาว จ.ลพบุรี                    98.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
1:00:00
ฝน15/07-16/00น.
ต.โคกสะอาด จ.เพชรบูรณ์                    70.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/14/2010
8:00:00
ฝน07-08น.
ต.พระบาทวังตวง จ.ลำปาง                    41.0
วิกฤต
10/14/2010
8:00:00
ฝน07-08น.
ต.พระบาทวังตวง จ.ลำปาง                    39.6
เฝ้าระวังสูงสุด
10/12/2010
1:00:00
ฝน12/07-13/00น.
ต.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์                    75.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/11/2010
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.ป่าพุทรา จ.กำแพงเพชร                    34.4
เฝ้าระวังสูงสุด


ข้อมูลระดับน้ำล้นตลิ่งจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

(C.2)ค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์
(ระดับตลิ่ง 25.56 ม.)

(C.13)ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
(ระดับตลิ่ง 16.34 ม.)

(C.35)สะพานรถยนต์ จ.พระนครศรีอยุธยา
(ระดับตลิ่ง 4.41 ม.)
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทานในแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่าที่ค่ายจิรประวัติ จ.นครสวรรค์ มีระดับน้ำค่อนข้างสูง ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และที่สะพานรถยนต์ จ.พระนครศรีอุธยา มีระดับน้ำล้นตลิ่ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก

 
จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีวัดน้ำท่าในแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงเดือนตุลาคม 2553 พบว่าปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมากตั้งแต่ช่วงกลางเดือน โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่สถานีค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ อยู่ที่ 243.22 ล้านลูกบาศก์เมตร (2,815 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในวันที่ 26 ตุลาคม ที่สถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด อยู่ที่ 324.60 ล้านลูกบาศก์เมตร ( 3,757 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในวันที่ 27 ตุลาคม ส่วนที่สถานีบางไทร อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านสุงสุดอยู่ที่ 304.65 ล้านลูกบาศก์เมตร ( 3,526 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในวันที่ 29 ตุลาคม

 



จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่เขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอุธยา แม่น้ำป่าสัก ช่วงเดือนตุลาคม 2553 พบว่าปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม และเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จนมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 111.63 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 24 ตุลาคม หลังจากนั้นปริมาณน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

 


ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 1,639.31 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 132.32 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 20 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 976 ล้าน ลบ.ม.(102%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 149 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนกระเสียว

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 334.59 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 29.36 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 5 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 263 ล้าน ลบ.ม.(110%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 6 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนทับเสลา

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 118.44 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 17.79 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 21 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 165 ล้าน ลบ.ม.(103%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 58 ล้าน ลบ.ม.

ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่


ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 22 กันยายน และ 8 ตุลาคม 2553 แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และ สุพรรณบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 เวลา 06.19 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงรายและพะเยา ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 เวลา 06.19 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 เวลา 06.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี และสุโขทัย ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 เวลา 06.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี นครปฐม สระุบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร และนครสวรรค์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 และ 16 ตุลาคม 2553 แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจัึงหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และสระบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2553 เวลา 18.26 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และสระบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2553 เวลา 18.26 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใ้่ช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 จัดทำโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

  • บันทึกภาพวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เวลา 18.35 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดกรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พิจิตรพิษณุโลก ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี




    แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางเปรียบเทียบช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2553 (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

    กันยายน 2553

    ตุลาคม 2553

    พฤศจิกายน 2553
    ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมภาคกลาง พบว่าเดือนตุลาคม 2553 จังหวัดที่มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี และนครปฐม โดยจังหวัดที่มีพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และหากเทียบกับเดือนพฤศจิกายน พบว่าเกือบทุกจังหวัดมีพื้นที่น้ำท่วมลดน้อยลง ยกเว้น จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และ เพชรบุรี รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางด้านล่าง

    จังหวัด
    กันยายน
    ตุลาคม
    พฤศจิกายน
    นครสวรรค์   489,831   1,338,954   783,392
    พระนครศรีอยุธยา   549,967      992,063   830,957
    สุพรรณบุรี   309,924      845,765   867,288
    ลพบุรี   389,083      508,999   221,343
    นครปฐม      1,539      313,659   319,799
    อ่างทอง   129,125      273,897   195,366
    สิงห์บุรี   152,406      214,733   136,565
    ชัยนาท   178,665      197,799     93,638
    ปทุมธานี      2,463      194,150     91,976
    สระบุรี   197,864      192,776   131,914
    กรุงเทพมหานคร           -          92,910     86,456
    อุทัยธานี      6,616        90,502     51,089
    นนทบุรี           -          60,209     20,444
    ราชบุรี   122,518        59,898           -  
    สมุทรปราการ           -          57,672     79,290
    กาญจนบุรี   124,230          7,660           -  
    สมุทรสาคร           -              506           -  
    เพชรบุรี           -                 -        2,456

    ข่าวจากหนังสือพิมพ์

    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำท่วมกรุงเก่ายังวิกฤติ ระดับสูงขึ้นเกือบฟุต [ ไทยรัฐ : 28 ต.ค. 53 ]

    เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่จ.พระนครศรีอยุธยา ยังน่าเป็นห่วง เพราะน้ำทะเลยังคงหนุนสูงสุด ประกอบกับเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เร่งปล่อยน้ำลงมา ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย เพิ่มสูงขึ้นอีก 20-30 เซนติเมตร ซึ่งระดับน้ำเท่ากับปีพ.ศ.2538 แต่ปริมาณน้ำมากกว่าไหลเข้าท่วมพื้นที่เกษตร กระจายเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน วัด สถานที่ราชการ ชุมชน และโบราณสถานเฉลี่ยความสูงของน้ำที่ 3-5 เมตร

    โดยนายไมตรี ปิตินานนท์ ผอ.โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า วันนี้เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำที่ 3,684 ลบ.ม./วินาที มากกว่าเมื่อวาน 130 ลบ.ม./วินาที เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำ 750 ลบ.ม./วินาที เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำ 960 ลบ.ม./วินาที ทั้ง 2 เขื่อนปล่อยน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อชะลอน้ำไหลเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งปริมาณน้ำที่ไหลผ่านอ.บางไทร อยู่ที่ 3,400 ลบ.ม./วินาที ทำให้กรุงเทพฯมีระดับน้ำลดลง แต่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย มีระดับน้ำเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยที่ 20-30 เซนติเมตร ทำให้ท่วมบ้านเรือนประชาชนอย่างหนัก และพื้นที่เกษตรกว่า 2.5 แสนไร่ แต่ระดับน้ำมีแนวโน้มจะเริ่มลดลงช่วงสิ้นเดือนนี้ ขอให้ประชาชนคอยเฝ้าติมตาม ถ้าไม่โชคร้ายมีฝนมากระหน่ำซ้ำ

    สำหรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลเข้าท่วม 3 อำเภออย่างหนักคือ อ.บางบาล อ.พระนครศรีอยุธยา และอ.บางปะอิน โดยที่อ.บางบาล ยังมี แม่น้ำน้อยไหลผ่านเข้าเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนประชาชนและวัดทั้งหมด และท่วมนานกว่า 3 เดือน ชาวบ้านเริ่มเครียดและมีโรคน้ำกัดเท้าระบาด ต้องสัญจรทางเรือและพักอาศัยตามที่สูง

    ที่อ.พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำป่าสักไหลเข้าสู่คลองเมือง แล้วล้นทะลักเข้าเกาะเมืองอยุธยาชั้นนอก เช่น ชุมชนทุ่งภูเขาทอง ชุมชนไผ่ลิง ชุมชนลุมพลี ชุมชนวัดพระญาติ หมู่บ้าน วัด และโบราณสถาน น้ำยังคงท่วมสูง 2-3 เมตร ล่าสุดน้ำจากคลองเมือง บริเวณหน้าวัดหน้าพระเมรุได้ซึมเข้าอุทยานประวัติศาสตร์วัดพระศรีสรรเพชญ์

    ด้านนายนัทธี บ่อสุวรรณ นายอำเภอบางปะอิน บอกว่า ชาวบ้าน 15 ตำบลที่อยู่ 2 ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำท่วมบ้านอย่างหนักมานานกว่า 3 เดือน ระดับน้ำเท่ากับปี 2538 บ้านชั้นเดียวจมน้ำเกือบหมด ขณะนี้บ้าน 2 ชั้น ชาวบ้านได้หนุนของไว้ที่สูง เพราะน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถนนสายหลักอยุธยา-บางปะอิน (สายใน) ระยะทาง 20 กิโลเมตร น้ำท่วมขังอย่างหนัก บางช่วงรถเล็กวิ่งผ่านไม่ได้ แต่ขณะนี้ได้ระดมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เร่งกู้ถนนโดยใช้ดินวางกั้นขอบทาง ต้องใช้งบประมาณกว่า 3 ล้านบาทแล้ว เพื่อให้ประชาชนสัญจรไปมาได้

    สำหรับพระราชวังบางปะอิน ได้วางกระสอบทรายสูงกว่า 2 เมตร และเตรียมกำลังทหารไว้ตลอด 24 ชั่วโมง คาดว่าไม่น่าเป็นห่วง ส่วนที่ อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.มหาราช และอ.บางปะหัน น้ำยังคงท่วมสูง 4-6 เมตร ต้องใช้เรือสัญจรไปมาเท่านั้น

    --------------------------------------------------------------------------------------
    เมืองสิงห์กระอัก น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมแล้ว 3 อำเภอ [ ไทยรัฐ : 26 ต.ค. 53 ]

    วันที่ 26 ต.ค. ระดับน้ำที่ อ.อินทร์บุรี อ.เมือง และ อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ได้เพิ่มสูงขึ้น เพราะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยาได้ระบายน้ำลงในแม่น้ำเจ้าพระยา 3,353 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ชาวบ้านที่อาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาถูกน้ำท่วม ต้องขนย้ายข้าวของหนีกันวุ่นวาย

    ที่ตลาดอินทร์บุรีมีระดับน้ำสูง 2.5 เมตร ส่วนที่หมู่ 1 ต.ปากบาง อ.พรหมบุรี แนวกระสอบทรายที่เทศบาลตำบลปากบางทำไว้ ความยาว 400 เมตร น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้เอ่อทะลักเข้าท่วมเขตเศรษฐกิจตลาดปากบาง เข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 1,000 หลังคาเรือน ชาวบ้านต่างเก็บข้าวของหนีน้ำกันวุ่นวาย ภายในเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง น้ำท่วมสูงประมาณ 2 เมตร รถทุกชนิดผ่านไม่ได้ ต้องใช้เรือพายอย่างเดียว ร้านค้าปิดบริการ

    ส่วนที่หมู่ 8 ต.บ้านหม้อ อ.พรหมบุรี แนวกระสอบทรายที่ชาวบ้านทำไว้ประมาณ 80 เมตร เกิดแตกเป็นช่องกว้าง 20 เมตร นายทวีป ผูกโพธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ได้นำชาวบ้านกว่า 80 คน ช่วยกันอุดแนวแตกไว้ได้ ขณะที่ พล.ต.ประสงค์ บุตรขวัญ ผบ.มทบ. 13 จังหวัดลพบุรี นำกำลังทหาร 50 นาย เข้าช่วยชาวบ้านเสริมแนวกระสอบทรายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

    ด้านนายปุ๋ย บุญจันทร์ อายุ 59 ปี บ้านเลขที่ 47 หมู่ 1 ต.บางกระบือ อ.เมือง กล่าวว่า ระดับน้ำยังขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก เวลาจะออกไปทำธุระนอกบ้าน ไม่มีเรือ ต้องอาศัยคนข้างบ้านไป วันไหนคนข้างบ้านเขาออกไปก่อน พวกตนก็ไม่มีเรือออกไป ต้องลอยคอออกไป จึงมีความจำเป็นอยากได้เรือมาใช้ในหมู่บ้านไว้ช่วยเหลือสำหรับคนไม่มีเรือ จะให้ลอยคอออกไปรับของหรือออกไปทำธุระก็คงไม่ไหว เพราะว่าอายุมากแล้ว และอีกอย่างระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ

    สำหรับจ.สิงห์บุรีและก็ประสบอุทกภัยเช่นกัน สร้างความเดือดร้อนกันทั่วหน้า เรือก็เป็นปัจจัยสำคัญมากในการสัญจรขณะนี้ โดยการจากสอบถามร้านขายเรือพลาสติกในตลาดสิงห์บุรี ชาวบ้านต้องการเรือพลาสติก เรือไฟเบอร์กลาส และเรือเหล็ก เป็นจำนวนมาก ซึ่งทางร้านสั่งซื้อมาเป็นจำนวนมาก ก็ยังไม่พอกับความต้องการของประชาชนเลย เรือลำหนึ่งราคาเริ่มตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป

    ล่าสุดระดับน้ำที่หมู่ 3 ต.ชี้น้ำร้าย อ.อินทร์บุรี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้เอ่อสูงล้นบานประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมเขต ต.ทองเอน ท่วมไร่นากว่า 8,000 ไร่ และท่วมบ้านเรือนกว่า 2,000 หลังคาเรือน  นายสมชาย พุ่มพ่วง อายุ 27 ปี บ้านเลขที่ 103/1 หมู่ 1 อยู่บ้าน 2 ชั้น เนื่องจากระดับน้ำขึ้นสูงจัด ลงไปเก็บของที่ชั้นล่าง ถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิต

    --------------------------------------------------------------------------------------
    นครสวรรค์ อ่วมจมบาดาลทุกอำเภอ [ ไทยรัฐ : 20 ต.ค. 53 ]

    จังหวัดนครสวรรค์ ได้ประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัยแล้วทั้งจังหวัด จำนวน15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลาดยาว บรรพตพิสัย ชุมตาบง ตากฟ้า แม่เปิน แม่วงก์ ชุมแสง โกรกพระ หนองบัว อำเภอเมือง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก อำเภอไพศาลี และอำเภอตาคลี รวม 88 ตำบล 654 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 29,148 ครัวเรือน 74,196 คน ถนนเสียหาย 192 สาย ฝาย 12 แห่ง บ่อปลา 156 บ่อ พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 163,083 ไร่ ในเบื้องต้นจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้การช่วยเหลือ ได้แก่ ถุงยังชีพ กว่า 24,748 ชุด ยารักษาโรค 3,252 ชุด น้ำดื่ม 34,038 ขวด สนับสนุนเรือท้องแบน เรือพาย 36 ลำ เครื่องสูบน้ำ 9 เครื่องรถสุขาเคลื่อนที่ 1 คัน รถบรรทุก 1 คัน

    สภาพน้ำท่วมแต่ละอำเภอที่กำลังถูกน้ำท่วมหนัก มีดังนี้คือ อ.ตาคลี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.ตาคลี ต.ลาดทิพรส ต.สร้อยทอง ต.ช่องแค ต.จันเสน รวม 48 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,226 ครัวเรือน ระดับน้ำยังสูงอยู่เนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำออกคลองชลประทานได้ อ.ท่าตะโก มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 ตำบลได้แก่ ต.ทำนบ ต.หัวถนน ต.ท่าตะโก ต.พนมเศษ ต.วังมหากร ต.สายลำโพง ต.หนองหลวง ระดับน้ำยังสูงเกือบ 1 เมตรและบางพื้นที่ระดับน้ำสูงกว่า 1.5 เมตร

    สนง.ป้องกันและบรรทเสาธารณภัยร่วมกับ อ.ท่าตะโก มอบถุงยังชีพผ่านทางเทศบาลท่าตะโกไปแจกจ่ายแล้วจำนวน 1,500 ชุด อ.หนองบัว มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ต.ห้วยถั่วเหนือ ต.ห้วยถั่วใต้ ต.ห้วยร่วม ระดับน้ำเริ่มลดลง อ.ไพศาลี ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ต.สำโรงชัย ต.โคกเดื่อ ต.ไพศาลี ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว ถนนหลายสายสามารถใช้การได้ปกติอ.ลาดยาว มีน้ำท่วมขังบนถนนสายนครสวรรค์-ลาดยาว (สาย 1072) ช่วงหลัก กม.ที่ 12+100-13+100 ระดับน้ำสูงประมาณ 60 ซม. รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ ถนนสายลาดยาว-ศาลเจ้าไก่ต่อ มีน้ำท่วมระดับน้ำสูงประมาณ 50 ซม. ถนนสายลาดยาว-สว่างอารมณ์ มีน้ำท่วมระยะทางประมาร 500 เมตร ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซม.

    ส่วนด้านคมนาคม แขวงการทางนครสวรรค์ที่ 2 ดำเนินการซ่อมแซมคอสะพานที่ชำรุดบนทางหลวงหมายเลข 11 อินทร์บุรี-เขาทราย ช่วง อ.ตากฟ้า-อ.ไพศาลี (กม.69+630) พร้อมติดตั้งสะพานแบรีย์แล้วเสร็จสามารถใช้เส้นทางสัญจรให้รถหนักไม่เกิน 10 ตันผ่านได้

    สถานการณ์น้ำ แม่น้ำปิง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,021 ลบม./วินาที ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 60 ซม ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก แม่น้ำน่าน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,103 ลบม./วินาที ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก 15 ซม.ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,112 ลบม./วินาที ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น อีก 30 ซม. ระดับน้ำยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก

    สภาพอากาศมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ทำให้มีฝนตกหนาแน่นในบริเวณดังกล่าวอีกในระยะ 2 วันนี้ นอกจากนี้ยังมีมวลอากาศเย้นจากประเทศจีนแผ่ลงเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียวเหนือตอนบน และจะแผ่ปกคลุมภาคเหนือในวันนี้ ส่วนปริมาณฝนจะยังมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะในเขตพื้นที่นครสวรรค์



    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำท่วม 2 เมตร อยุธยาวิปโยค คนไม่กล้าอพยพ [ ไทยรัฐ : 19 ต.ค. 53 ]

    สถานการณ์น้ำท่วมช่วงค่ำที่ผ่านมา ภายในตลาดเก่า 100 ปี อำเภอท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา กลายเป็นเหมือนเมืองร้าง หลังถูกน้ำจากแม่น้ำป่าสักไหลเข้าท่วมสูงเกือบ 2 เมตร ตั้งแต่ช่วงวันเสาร์ ที่ผ่านมา ทั้งนี้พบว่าพ่อค้า - แม้ค้า ที่เคยขายของในตลาดแห่งนี้จำนวนมากต้องปิดร้านชั่วคราวและย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติ และบางส่วนอพยพไปอาศัยที่นอนชั่วคราวริมถนนสายท่าเรือ - เสาไห้ นอกจากนี้ยังพบว่า มีเจ้าของร้านค้าและอาคารพานิชย์บางส่วน ยังคุยลุยน้ำเข้าไป เฝ้าร้าน เพราะเกรงว่าทรัพย์สินภายในบ้านหรือตัวอาคาร จะถูกมิจฉาชีพฉวยโอกาสในช่วงน้ำท่วมทำการโจรกรรมสิ่งของ

    ด้านนายวิทิต ปิ่นนิกร นายอำเภอท่าเรือ เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักที่ท่วมขังในเขตพื้นที่ อ.ท่าเรือ จะเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากในวันนี้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 900.41 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2549 ซึ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ในช่วงวันและเวลาเดียวกัน ถึง 200 ลบ.ม./วินาที ขณะที่เขื่อนพระราม 6 ระบายน้ำอยู่ที่ 1,095 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากปี 2549 กว่า 300 ลบ.ม./วินาที ซึ่งคาดว่าน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกกว่า 40 เซนติเมตร ในคืนวันนี้

    นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคมนี้ ไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม น้ำในแม่น้ำ 4 สายหลักคือแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ลพบุรีและแม่น้ำน้อย จะเพิ่มสูงขึ้น และท่วมขังอยู่ประมาณ 20 - 30 วัน ซึ่งประชาชนทุกคนต้องเตรียมรับมือน้ำท่วมตลอดเวลามีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ในพื้นที่ 16 อำเภอ รวม 156 เครื่อง เพื่อใช้สูบน้ำออกจากพื้นที่หวงห้ามหากน้ำทะลักเข้าท่วม ขณะที่มีการจัดเตรียมเต็นท์ที่พักไว้ 170 แห่ง ให้กับประชาชนที่ถูกน้ำท่วมได้อาศัยชั่วคราว 

    นายนิพิทธิ์ อินทรสมบัติ รมต.ว่าการกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมคณะเดินทางมาตรวจสถานการณ์น้ำท่วมที่วัดไชยวัฒนาราม วัดธรรมาราม ต.บ้านป้อม โบราณสถานป้อมเพชรและหมู่บ้านโปรตุเกตุ อ.พระนครศรีอยุธยาทั้ง4แห่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาระดับน้ำในแม่น้ำสูงกว่าโบราณสถานทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้เร่งนำกระสอบทรายวางเป็นแนวกำแพงและ รมต.วัฒนธรรม กล่าวว่า ทางนายกรัฐมนตรี ได้เป็นห่วงพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและโบราณสถานที่เป็นสมบัติของชาติเสียหายจากการตรวจสอบพบจุดที่หน้าเป็นห่วงหน้าวัดไชยวัฒนารามกำแพงเขื่อนกั้นน้ำเหลืออีกประมาณ 80 ซม.ยังกันน้ำได้อยู่ถ้าฝนไม่ตกหนัก ส่วนโบราณสถานกลางเมืองอยุธยาทางจังหวัดรับมือได้ทางรัฐบาลเร่งของบประมาณช่วยเหลือด่วนแล้ว



    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำป่าอุทยานฯแม่วงก์ทะลักท่วมอุทัยธานีแล้ว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 17 ต.ค.53 ]

    รายงานข่าวจากจังหวัดอุทัยธานี แจ้งว่า น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเกิดจากฝนที่ตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง ได้ไหลบ่ามาตามลำแควแม่น้ำตากแดดในพื้นที่อุทัยธานี จนเอ่อล้นตลิ่งทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน บ้านโคกหม้อ หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 3 ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน ไปกว่า 50 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูง 50 ซม.-1 เมตร ประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก บ้านเรือนหลายหลังคาเรือนที่ถูกน้ำท่วมสูง ชาวบ้านต้องใช้เรือท้องแบน ที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยส่งมาประจำการรับชาวบ้านเข้าออกจากบ้านบรรเทาความเดือดร้อน

    นอกจากนี้ กระแสน้ำยังได้ไหลทะลักเข้าท่วมวัด โรงสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า ในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งถนนภายในหมู่บ้านสัญจรด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะถนนโคกหม้อ-บ้านห้วยงอแง ซึ่งเป็นถนนเข้าออกระหว่างหมู่บ้านระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 50 ซม. รถเล็กไม่สมารถสัญจรไปมาได้

    ส่วนนาข้าวที่กำลังตั้งท้องออกรวง และใกล้จะเก็บเกี่ยว ต้องจมอยู่ใต้น้ำได้รับความเสียหายไปหลายร้อยไร่

    ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำดังกล่าวยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากฝนยังตกลงมาอีกคาดว่าน้ำจะท่วมจะขยายเป็นวงกว้างอย่างแน่นอน และชาวบ้านจะได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้น



    --------------------------------------------------------------------------------------
    ปภ.สรุปยอดเสียหายน้ำท่วม 21,901 ครัวเรือน เกษตรพังราบ 32,428 ไร่ [ สำนักข่าวเจ้าพระยา : 13 ต.ค. 53 ]

    วันนี้ (13 ต.ค.2553) นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วม กรณีอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นหลายพื้นที่ ว่า ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยใน 19 จังหวัด 425 อำเภอ 271 ตำบล 796 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 21,901 ครัวเรือน 55,396 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 32,428 ไร่ โดยขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน สุโขทัย ลำพูน นครสวรรค์ สิงห์บุรี นครราชสีมา สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ และชลบุรี

    สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรม ปภ. โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2

    สุพรรณบุรี เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 10 ลำปาง เขต 15 เชียงราย 17 จันทบุรี และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัย ได้ประสานและขอความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งเรือท้องแบน 29 ลำ รถผลิตน้ำ 1 คัน รถบรรทุกน้ำ 3 คันรถแบ๊กโฮ 3 คัน เต็นท์พักอาศัยชั่วคราว 15 หลัง เครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง กำลังพล 20 นาย และถุงยังชีพ 3,900 ถุง ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว พร้อมทั้งเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง

    ส่วน ในวันที่ 14 ต.ค. เวลา 08.40 น.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย เตรียมเดินด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปยังหอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นประธานมอบถุงยังชีพพระราชทานแก่ราษฎร จำนวน 500 ถุง พร้อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท กล่าวรายงานสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละจังหวัด จากนั้นเวลา 11.0 0 น.คณะของกระทรวงมหาดไทยจะเดินทางไปยัง จ.นครราชสีมา เพื่อประชุมมอบนโยบายในการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาว ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและหัวหน้าส่วนราชการ ในพื้นที่

    --------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/
  • โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th