บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดตราดและจันทบุรี (13-22 มิถุนายน 2554)

ภาพดาวเทียม GOES-9 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ

13/6/2011[11GMT]

14/6/2011[23GMT]

15/6/2011[22GMT]

16/6/2011[05GMT]

17/6/2011[11GMT]

18/6/2011[10GMT]

19/6/2011[11GMT]

20/6/2011[17GMT]

21/6/2011[11GMT]

22/6/2011[10GMT]
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง

จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าประมาณช่วงวันที่ 13 - 22 มิ.ย. มีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงวันที่ 17-20 มิ.ย. ที่กลุ่มเมฆค่อนข้างหนา ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

13/6/2011[13UTC]

14/6/2011[07UTC]

15/6/2011[07UTC]

16/6/2011[13UTC]

17/6/2011[13UTC]

18/6/2011[19UTC]

19/6/2011[13UTC]

20/6/2011[13UTC]

21/6/2011[19UTC]

22/6/2011[13UTC]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง

ช่วงเดือนมิถุนายนมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พััดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดทั้งเดือน โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเป็นต้นมา ลมมรสุมมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริเวณด้านรับลมมรสุมของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ที่ฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

13/6/2011[00UTC]

13/6/2011[12UTC]

14/6/2011[00UTC]

14/6/2011[12UTC]
km/hr

15/6/2011[00UTC]

15/6/2011[12UTC]

16/6/2011[00UTC]

16/6/2011[12UTC]

17/6/2011[00UTC]

17/6/2011[12UTC]

18/6/2011[00UTC]

18/6/2011[12UTC]

19/6/2011[00UTC]

19/6/2011[12UTC]

20/6/2011[00UTC]

20/6/2011[12UTC]

21/6/2011[00UTC]

21/6/2011[12UTC]

22/6/2011[00UTC]

22/6/2011[12UTC]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง

จากภาพแผนที่ความเร็วลมที่ระดับ 1.5 กิโลเมตร เหนือระดับน้ำทะเล พบว่า วันที่ 13 มิถุนายน 2554 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง และได้ทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีกในช่วงวันที่ 14-19 มิถุนายน 2554 ส่งผลให้เกิดฝนตกและฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก และตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน มรสุมเริ่มอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ปริมาณฝนในพื้นที่ดังกล่าวลดน้อยลง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวัน ล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 ก.ม. และ 9x9 ก.ม.
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)
โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร คาดการณ์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2554
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)


17/6/2011 [3x3 km]

18/6/2011 [3x3 km]

19/6/2011 [3x3 km]



20/6/2011 [9x9 km]

21/6/2011 [9x9 km]

22/6/2011 [9x9 km]

23/6/2011 [9x9 km]

precipitation(mm/day)

จากแผนภาพคาดการณ์ฝนล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF Model พบว่า
พื้นที่ภาคตะวันออกมีฝนตกอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2554 และปริมาณฝนเริ่มเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงวันที่ 17-23 มิถุนายน 2554 หลังจากนั้นปริมาณฝนเริ่มลดลง และหากนำผลการคาดการณ์ล่วงหน้าของแบบจำลอง WRF เปรียบเทียบกับข้อมูลการตรวจวัดจริงจากภาพเรดาร์ตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ภาพเรดาร์ของสำนักงานฝนหลวง และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่าผลลัพธ์ของแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกันกับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง


ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร

12/6/2554 05:03GMT

13/6/2554 05:03GMT

14/6/2554 19:03GMT

15/6/2554 20:03GMT

16/6/2554 20:03GMT

17/6/2554 03:03GMT

18/6/2554 03:03GMT

19/6/2554 10:03GMT

21/6/2554 06:03GMT

22/6/2554 04:03GMT
dBz                                                                                                                  หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์ระยอง พบว่ามีฝนตกในพื้นที่จังหวัดตราดและจันทบุรี ตั้งแต่ประมาณวันที่ 12-22 มิ.ย. โดยเฉพาะช่วงวันที่ 13-19 มิ.ย. ที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ในหลายจุด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบริเวณ อ.ขลุง จ.จันทบุรี และ อ.เขาสมิง จ.ตราด รวมทั้งมีพื้นที่ใกล้เคียงอื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหาย เช่น อ.คลองใหญ่ อ.เมือง อ.บ่อไร่ อ.แหลมงอบ อ.เกาะช้าง เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย สำนักงานฝนหลวง
เรดาร์สัตหีบ รัศมี 240 กิโลเมตร

13/6/2554 13:00 Local Time

14/6/2554 09:00 Local Time

15/6/2554 04:00 Local Time

16/6/2554 04:00 Local Time

17/6/2554 08:00 Local Time

18/6/2554 10:00 Local Time

19/6/2554 17:00 Local Time

20/6/2554 11:00 Local Time

21/6/2554 10:00 Local Time

22/6/2554 13:00 Local Time
dBz
ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์สำนักงานฝนหลวง เรดาร์สัตหีบ พบว่ามีฝนตกอย่างต่อเนื่องบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ตั้งแต่ประมาณวันที่ 13 -22 มิ.ย. หลังจากนั้นปริมาณฝนได้ลดลง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA

13/6/54[00Z]- 14/6/54[00Z]

14/6/54[00Z]- 15/6/54[00Z]

15/6/54[00Z]- 16/6/54[00Z]

16/6/54[00Z]- 17/6/54[00Z]

17/6/54[00Z]- 18/6/54[00Z]

18/6/54[00Z]- 19/6/54[00Z]

19/6/54[00Z]- 20/6/54[00Z]

20/6/54[00Z]- 21/6/54[00Z]

21/6/54[00Z]- 22/6/54[00Z]

22/6/54[00Z]- 23/6/54[00Z]
   13/6/54[00Z]- 23/6/54[00Z] 
mm.

จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันบริเวณจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 14-21 มิ.ย.โดยเฉพาะช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. ที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก

ข้อมูลฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานข้อมูลฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย. มีฝนตกมากบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี
โดยเฉพาะที่คลองใหญ่ที่มีฝนตกหนักติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 17-19 มิ.ย. รายละเอียดเพิ่มเติม ดังตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
จังหวัด
 ปริมาณฝน สะสม 24 ช.ม. 
20/06/2011
คลองใหญ่
ตราด
                           69.4
จันทบุรี
จันทบุรี
                           63.5
19/06/2011
คลองใหญ่
ตราด
                           82.1
18/06/2011
คลองใหญ่
ตราด
                         216.0
จันทบุรี
จันทบุรี
                           26.8
แหลมฉบัง
ชลบุรี
                           25.6
17/06/2011
คลองใหญ่
ตราด
                         131.3
พลิ้ว
จันทบุรี
                           73.3
จันทบุรี
จันทบุรี
                           70.1
16/06/2011
พลิ้ว
จันทบุรี
                           22.4
15/06/2011
คลองใหญ่
ตราด
                           37.5
14/06/2011
พลิ้ว
จันทบุรี
                           81.9
จันทบุรี
จันทบุรี
                           25.4
หมายเหตุ : สีแดง หมายถึง ข้อมูลฝนที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลฝน 80-99 มิลลิเมตร

การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันที่
เวลา
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน(มม.) 
ระดับการเตือนภัย
19/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
216.0
วิกฤต
18/06/2011
15:00:00
ฝน07-14น.
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
95.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18/06/2011
11:00:00
ฝน10-11น.
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
38.2
เฝ้าระวังสูงสุด
18/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
131.3
เฝ้าระวังสูงสุด
17/06/2011
12:00:00
ฝน07-11น.
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
95.4
เฝ้าระวังสูงสุด
17/06/2011
11:00:00
ฝน09-10น.
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
36.4
เฝ้าระวังสูงสุด
17/06/2011
11:00:00
ฝน09-10น.
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
42.6
วิกฤต
15/06/2011
6:00:00
ฝน15/07-16/06น.
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
95.8
เฝ้าระวังสูงสุด
15/06/2011
2:00:00
ฝน01-02น.
ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
37.0
เฝ้าระวังสูงสุด

ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน

(Z.10)บ้านศรีบัวทอง อ.เขาสมิง จ.ตราด
(ระดับตลิ่ง 11.5 ม.)

จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน
ที่สถานี Z.10 บ้านศรีบัวทอง อ.เขาสมิง จ.ตราด ณ เวลา 6.00 น. ของวันที่ 19 มิ.ย. ระดับน้ำอยู่ที่ 11.68 เมตร
รายละเอียดเพิ่มเติม

     

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรตราดเสียหายแล้วกว่า 1 แสนไร่ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 19 มิ.ย. 54 ]
ตราด - นายอำเภอเขาสมิง เมืองตราด เปิดประตูเขื่อนเขาสมิงลดระดับน้ำเหนือเขื่อน 8 ตำบล ขณะที่น้ำได้ไหลท่วมพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 1 แสนไร่
       
        นายสมหมาย เมฆกล่อม นายอำเภอเขาสมิง อ.เขาสมิง จ.ตราด เปิดเผยว่า
ฝนที่ตกหนักตั้งแต่วันที่ 16-18 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากกว่า 300 มม.ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่เกือบ 8 ตำบลใน อ.เขาสมิง และตำบลที่เป็นรอยต่อระหว่าง อ.เมือง และ อ.บ่อไร่ น้ำที่ไหลมาจาก อ.บ่อไร่ ไหลสู่แม่น้ำเขาสมิง ทำให้น้ำเอ่อล้น และไหลเข้าท่วมสวนของชาวสวนที่อยู่ติดกับแม่น้ำเขาสมิง ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ของได้รับผลกระทบ เนื่องจากผลไม้เช่น เงาะ มังคุด ที่กำลังออกสู่ท้องตลาด
       

        ขณะเดียวกัน ผลกระทบชาวบ้าน และชาวสวนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม และถนน ซอย
น้ำท่วมสูงตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 2 เมตร ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเดินทางเข้าออกได้ ได้มีการประสานกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอเรือไฟเบอร์มาให้ชาวบ้านได้ใช้ ซึ่งขณะนี้เบื้องต้นพื้นที่การเกษตรเสียหายแล้วกว่า 80 % ในเนื้อที่จำนวน 170,000 ไร่
       
        นายสมหมาย กล่าวว่า ใน ระยะเวลา 2 วันนี้ หากฝนไม่ตกลงมาอีก สถานการณ์จะเข้าสู่สภาพปกติ ซึ่งตอนนี้ได้สั่งให้เปิดประตูระบายทั้ง 6 บายเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากแม่น้ำเขาสมิง เพื่อลดระดับน้ำเหนือเขื่อนที่อยู่และรองรับน้ำที่ระบายจาก อ.บ่อไร่ และ อ.ขลุง จ.จันทบุรี ที่มาจากเขื่อนคีรีธารด้วย แต่ที่น่าห่วงที่สุดคือ ผลไม้ที่กำลังจะเก็บของชาวสวน ถ้าน้ำยังท่วมขังอยู่ในขณะนี้ จะทำให้ผลไม้เหล่านี้เสียหายได้


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมเมืองจันท์ชาวสวนลอยคอเก็บผลไม้ [ ไทยรัฐ : 18 มิ.ย. 54 ]


วันที่ 18 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ จ.จันทบุรี มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องมา 2-3 วันแล้ว ทำให้ชาวสวนผลไม้ใน
พื้นที่ ม. 6 ต.วังสรรพรส อ.ขลุง จ.จันทบุรี กว่า 300 หลังคาเรือน ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะอยู่ในฤดูเก็บเกี่ยวผลไม้ที่กำลังสุก โดยเกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้หลายรายที่ได้รับความเดือดร้อน กล่าวว่า ปริมาณฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องหลายวัน ทำให้น้ำเริ่มเอ่อล้นขึ้นมาจากคลองแม่น้ำเวฬุ ตั้งแต่เมื่อคืนวาน และ ขณะนี้น้ำได้เข้าท่วมพื้นที่สวนที่มีทั้งต้นเงาะ ทุเรียน มังคุด และ สวนยางทุกพื้นที่หมดแล้ว ส่วนเรื่องการเก็บเกี่ยว ได้รับความช่วยเหลือจากป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจ.จันทบุรี นำเรือท้องแบนมาให้ใช้ เพื่อนำผลไม้ที่เก็บออกมา ขณะนี้สามารถเก็บมังคุดได้เพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ยังต้องทยอยเก็บต่อไปเรื่อยๆ เพราะไม่อย่างนั้นจะเน่าเสียและไม่ได้ราคา ขณะนี้หลายหน่วยงานกำลังลงไปให้ความช่วยเหลือ 

--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนตกหนักที่ตราดบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย 40 หลังคาเรือน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 16 มิ.ย. 54 ]
ตราด - เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัด ตราด ส่งผลบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย 40 หลังคาเรือน ในรอบ 3-4 วัน ในพื้นที่จังหวัดตราดมีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 62 หลังคาเรือน
       
        วันนี้ (16 มิ.ย.54) ที่บ้านของนายนิพันธ์ สิงหเทพ อายุ 77 ปี ข้าราชการบำนาญ บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ 3 ต.หนองเสม็ด อ.เมือง จ.ตราด ขณะที่นายนิพันธ์ สิงหเทพ พร้อมบุตรชาย ได้เดินสำรวจบริเวณรอบ ๆ บ้าน และสวนเนื่องจากเมื่อช่วงเวลา 04.00-05.00 น. ที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกหนักและมีลมพัดกรรโชกอย่างรุนแรง ได้ยินเสียงโครมครามจากแรงลม
       
        โดยจากการสำรวจพบว่าภายในห้อง นักเล่น ที่สร้างแยกออกจากตัวบ้าน พบกระเบื้องหลังคาบ้านปลิวหายไปเป็นช่องโหว่ น้ำไหลรั่วเข้ามาภายในห้องทำให้เอกสารบางส่วนได้รับความเสียหาย จึงแจ้งให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นทีทราบเพื่อส่งช่างมาทำการ สำรวจพบว่ากระเบื้องหลังคาได้รับความเสียหายจำนวน 60 แผ่น ขณะที่ภายในสวนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันต้นกระท้อนอายุประมาณ 10 ปี ถูกลมพัดจนขาด และเศษกระเบื้องหลังคาปลิวเข้าไปอยู่สวนหลายแห่ง
       
        ด้านนายสุรพล ชนไธสงค์ ผู้ช่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตราด แจ้งว่า ได้รับการแจ้งจากนายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ นายอำเภอเมืองตราดว่า ที่ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด นายบุญเลิศ สุภนรา อยู่บ้านเลขที่ 76/1 หมู่ 1 ต.ห้วยแร้ง อ.เมืองตราด ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกได้รับความเดือดร้อนจากฝนที่ตกหนัก ทำให้บ่อปลาดุกถูกน้ำท่วมจำนวน 2 บ่อ ส่งผลปลาดุกหายไปจำนวน 5,000 ตัว
       
        นอกจากนี้ ยังได้รับการประสานจาก อบต.คลองใหญ่ ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราดว่า มีบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ หมู่ 8 และ หมู่ 9 ได้รับความเสียหายจากพายุฝนในครั้งนี้อีก 30 หลังคาเรือน และในพื้นที่ อ.เมืองตราดที่ ต.หนองเสม็ด ที่หมู่ 1 และ หมู่ 3 มีบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายกระเบื้องหลังคาปลิวหายจำนวน 9 หลังคาเรือน ซึ่งจำนวนทั้งหมดนี้ ยังอยู่ระหว่างการรายงานตัวเลขทั้งหมดจากแต่ละอำเภออีกครั้ง
       
       
สำหรับจังหวัดตราด ได้เกิดเหตุพายุฝนพัดกระหน่ำตั้งแต่วันที่ 10 -15 มิถุนายน 2554 ทำให้บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย จำนวน 62 หลังคาเรือน ประกอบด้วย อ.เมืองตราดจำนวน 25 หลังคาเรือน อ.เขาสมิง 18 หลังคาเรือน อ.บ่อไร่ 12 หลังคาเรือน อ.แหลมงอบ 5 หลังคาเรือน และ อ.เกาะช้าง 2 หลังคาเรือน ซึ่งทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตราด ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น แล้ว


--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/