บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่ภาคใต้ (18-25 พฤศจิกายน 2552)

ภาพดาวเทียม GOES-9

16/11/2009
11GMT

17/11/2009
11GMT

18/11/2009
11GMT

19/11/2009
11GMT

20/11/2009
11GMT
         

21/11/2009
11GMT

22/11/2009
11GMT

23/11/2009
11GMT

24/11/2009
11GMT

25/11/2009
05GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าในช่วงวันที่ 17-24 พฤศจิกายน มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่อีกครั้งหลังจากที่เกิดน้ำท่วมในช่วงต้นเดือน โดยฝนยังคงตกหนักและเกิดน้ำไหลเข้าท่วมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

16/11/2009
[07 UTC]

17/11/2009
[01 UTC]

18/11/2009
[07 UTC]

19/11/2009
[01 UTC]

20/11/2009
[01 UTC]
     


21/11/2009
[01 UTC]

22/11/2009
[07 UTC]

23/11/2009
[07 UTC]

24/11/2009
[07 UTC]

25/11/2009
[19 UTC]
จากภาพแผนที่อากาศจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่วันที่ 17-20 พฤศจิกายน เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
   

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์ภูเก็ต

16/11/2009
[13:30]

17/11/2009
[11:30]

18/11/2009
[05:30]

19/11/2009
[23:30]

20/11/2009
[01:30]

21/11/2009
[02:30]

22/11/2009
[04:30]

23/11/2009
[07:30]

24/11/2009
[03:30]

25/11/2009
[17:30]
เรดาร์สงขลา

16/11/2009
[11:03]

17/11/2009
[19:03]

18/11/2009
[03:03]

19/11/2009
[21:03]

20/11/2009
[08:03]

21/11/2009
[07:03]

22/11/2009
[07:03]

23/11/2009
[02:03]

24/11/2009
[09:03]

25/11/2009
[17:03]
ข้อมูลจากภาพเรดาร์ภูเก็ต และเรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้่ตอนล่าง จะเห็นได้ว่าช่วงวันที่ 18-21 พฤศจิกายน มีกลุ่มฝนค่อนข้างหนาปกคลุมในหลายพื้นที่

รายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์ภูเก็ต เรดาร์สงขลา

ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา

19/11/2009

20/11/2009

21/11/2009

22/11/2009

23/11/2009

รายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแสดงข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีจุดสีแดงกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคใต้อยู่หลายจุดด้วยกัน ซึ่งหมายถึงบริเวณดังกล่าวมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก โดยข้อมูลปริมาณฝนที่่ตรวจวัดได้จากแต่ละสถานี แสดงตามตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
ปริมาณฝนสะสม 24 ช.ม.
18/11/2009 ตรัง              57.0
19/11/2009 นราธิวาส              70.3
  สงขลา              55.7
  สะเดา (2)              51.8
20/11/2009 สวี (1)            151.8
  นราธิวาส              99.2
  พัทลุง              69.0
  เกาะสมุย              63.1
21/11/2009 คอหงษ์ (1)              89.8
  สงขลา              63.6
  หาดใหญ่              50.9
22/11/2009 สงขลา            178.8
  ปัตตานี            158.7
  นราธิวาส            134.3
  พัทลุง              97.8
  คอหงษ์ (1)              92.0
  หาดใหญ่              56.3
23/11/2009 หาดใหญ่            159.0
  คอหงษ์ (1)            133.6
  พัทลุง              72.8
  สงขลา              66.5
24/11/2009 คอหงษ์ (1)            108.3
  หาดใหญ่              96.8
  สะเดา (2)              87.8
  สงขลา              51.1

ปริมาณฝนจากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก (คลิ๊กที่กราฟเพื่อแสดงภาพใหญ่)

อบต.ซากอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส

อบต. จะแนะ จ.นราธิวาส

บ้านแว้ง จ.นราธิวาส

ต.ทุ่งขมิ้น จ.สงขลา
     

อบต.ปาล์มพัฒนา จ.สตูล

อบต.ควนกาหลง จ.สตูล

ที่ว่าการ อ.บันนังสตา จ.ยะลา

หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านโตน จ.พัทลุง
     
รายละเอียดเพิ่มเติม

จากการตรวจวัดข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันของสถานีโทรมาตรขนาดเล็กในพื้นที่ภาคใต้ พบว่าปริมาณฝนที่ตรวจวัดได้ค่อนข้างมากในหลายสถานี โดยมีรายละเอียดตามตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนรายวัน
18/11/2009 บ้านเขาคา เทพราช สิชล นครศรีธรรมราช
73.8
19/11/2009 อบต.ปาล์มพัฒนา ปาล์มพัฒนา ควนกาหลง สตูล
68.6
  สถานีอนามัยทุ่งโพธิ์ ต.ทุ่งขมิ้น ทุ่งขมิ้น นาหม่อม สงขลา
53.0
20/11/2009 บ้านแว้ง ต.แว้ง อ.แว้ง แว้ง แว้ง นราธิวาส
127.6
21/11/2009 หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านโตน ต.ลำสินธ์ อ.ศรีนครินทร์ ลำสินธ์ ศรีนครินทร์ พัทลุง
64.4
  สถานีอนามัยทุ่งโพธิ์ ต.ทุ่งขมิ้น ทุ่งขมิ้น นาหม่อม สงขลา
145.0
  คลองกรอยใหญ่ ท่าชะมวง รัติภูมิ สงขลา
90.0
  อบต.จะแนะ อ.จะแนะ จะแนะ จะแนะ นราธิวาส
115.2
  บ้านแว้ง ต.แว้ง อ.แว้ง แว้ง แว้ง นราธิวาส
128.4
22/11/2009 สถานีอนามัยทุ่งโพธิ์ ต.ทุ่งขมิ้น ทุ่งขมิ้น นาหม่อม สงขลา
87.8


ข้อมูลการแจ้งเตือนภัยผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ(SMS)
วันที่
เวลา
ช่วงเวลา
สถานที่
ปริมาณฝน(มม.)
ระดับการเตือนภัย
24/11/2009
10:00:00
24/11/2009
บางลางเพิ่มเป็นเฝ้าระวังพิเศษ 81%
เฝ้าระวังสูงสุด
22/11/2009
6:00:00
ฝน22/07-23/06น.
 ต.ทุ่งขมิ้น สงขลา
69.8
เฝ้าระวังสูงสุด
22/11/2009
6:00:00
ฝน05-06น.
 ต.ทุ่งขมิ้น สงขลา
40.2
วิกฤต
21/11/2009
23:00:00
ฝน07-23น.
 ต.จะแนะ นราธิวาส
91.2
เฝ้าระวังสูงสุด
21/11/2009
22:00:00
ฝน07-22น.
 ต.ทุ่งขมิ้น สงขลา
111.8
วิกฤต
21/11/2009
16:00:00
ฝน07-16น.
 ต.แว้ง นราธิวาส
66.8
เฝ้าระวังสูงสุด
21/11/2009
10:00:00
ฝน07-10น.
 ต.ทุ่งขมิ้น สงขลา
67.0
เฝ้าระวังสูงสุด
21/11/2009
5:00:00
ฝน21/07-22/05น.
 ต.จะแนะ นราธิวาส
111.2
วิกฤต
21/11/2009
4:00:00
ฝน21/07-22/03น.
 ต.แว้ง นราธิวาส
111.0
วิกฤต
21/11/2009
4:00:00
ฝน21/07-22/04น.
 สงขลา
66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
20/11/2009
4:00:00
ฝน20/07-21/04น.
 ต.แว้ง นราธิวาส
110.8
วิกฤต
20/11/2009
2:00:00
ฝน20/07-21/01น.
 ต.แว้ง นราธิวาส
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
19/11/2009
3:00:00
ฝน19/07-20/03น.
 ต.ปาล์มพัฒนา สตูล
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
19/11/2009
2:00:00
ฝน01-02น.
 ต.ปาล์มพัฒนา สตูล
39.8
เฝ้าระวังสูงสุด
18/11/2009
2:00:00
ฝน18/07-19/02น.
 ต.เทพราช นครศรีธรรมราช
71.0
เฝ้าระวังสูงสุด

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสม

16/11/2009
[1200]

17/11/2009
[1200]

18/11/2009
[0000]

19/11/2009
[0000]
   

20/11/2009
[0000]

21/11/2009
[0000]

22/11/2009
[0000]

23/11/2009
[0000]
   

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากและต่อเนื่่องในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะวันที่ 18-19 พฤศจิกายน ที่กลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างหนาและกระจายตัวค่อนข้างกว้างมากกว่าวันอื่น

รายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลน้ำในเขื่อน


ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง

หลังจากวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนบางลางสูงสุด 91.60 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ต่อมาปริมาณน้ำไหลลงอ่างได้เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในวันที่ 21 พฤศจิกายน โดยมีปริมาณน้ำ 45.03 ล้าน ลูำกบาศก์เมตร อันเนื่องมาจากมีฝนตกหนักในพื้นที่

ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่า-กรมชลประทาน

สถานีบ้านปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส
(ระดับตลิ่ง 6.2 เมตร)

สถานีซากอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส
(ระดับตลิ่ง 9.92 เมตร)
 

สถาีนีบ้านฉลุงเหนือ อ.เมือง จ.สตูล
(ระดับตลิ่ง 15.3 เมตร)

สถานีบ้านศาลา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
(ระดับตลิ่ง 7.18 เมตร)
 

ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งหลายจุดด้วยกัน โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดนราธิวาสที่มีน้ำท่วมหนัก


ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก สทอภ.(คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูล
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา 18.24 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัด
พัทลุงและสงขลา
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูล
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2552 เวลา 05.58 น.
แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัด
นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา
   


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนถล่มหนักหาดใหญ่หลายพื้นที่น้ำเริ่มทะลัก [ ไทยรัฐ : 20 พ.ย. 52 ]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากฝนที่ตกติดต่อกัน 2 วัน ทำให้วันนี้ (20 พ.ย.) น้ำได้เอ่อท่วมถนนหลายสายในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เช่น ถนนกาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ บริเวณหน้าวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ และสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยบางช่วงระดับน้ำสูงถึง 30 เซนติ เมตร ซึ่งล่าสุดหลายพื้นที่ยังมีฝนตกอยู่

วันเดียวกัน เวลา 11.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 16 ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงยังคงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป และอุณหภูมิจะลดลงอย่างต่อเนื่องอีก 1-3 องศา นอกจากนั้น มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนหนาแน่น และฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของ จ.สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตรัง สตูล ปัตตานี ยะ ลา และนราธิวาส ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กโดยเฉพาะในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย.นี้

--------------------------------------------------------------------------------------
ประกาศสงขลา เป็นพื้นที่ภัยพิบัติ หลังน้ำท่วมหนัก [ ไทยรัฐ : 21 พ.ย. 52 ]

วันนี้(21 พ.ย.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเดินทางกลับจากปฏิบัติภารกิจใน จ.สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จ.สงขลา ว่า ได้ประกาศให้เขตพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว และสั่งให้ ส.ส.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนเป็นการ เร่งด่วน

ด้านนายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัด ว่า จากการที่มีฝนตกติดต่อกัน 3 วันทำให้เกิดน้ำท่วมในอำเภอรัตภูมิ หาดใหญ่ นาหม่อม และ บางกล่ำ ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมกว่า 4,000 ครัวเรือน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนประมาณ 13,000 คน เบื้องต้นได้สั่งการให้หน่วยงานท้องถิ่นเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนแล้ว ส่วนความเสียหายขณะนี้ยังไม่มีรายงาน แต่ยืนยันว่าเส้นทางการจราจรยังใช้ได้ตามปกติ

ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ยังแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ติดริมคลองให้ระวังน้ำหลาก พร้อมแนะนำให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากพบว่าน้ำเพิ่มสูงขึ้นมากให้รีบอพยพไปบนที่สูง พร้อมแจ้งขอความช่วยเหลือไปยังที่ว่าการอำเภอหรือกำนันผู้ใหญ่บ้านทันที

--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนถล่ม 3 วันติด นราฯอ่วม ทะลักท่วม 4 อำเภอ [ ไทยรัฐ : 21 พ.ย. 52 ]

วันนี้ ( 21 พ.ย.) หลังจากที่จังหวัดยะลา ได้ประกาศเตือนประชาชน ที่อาศัยยังพื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมขังซ้ำซากให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำป่าไหลหลาก เนื่องจาก จังหวัดยะลาเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับอิทธิพล จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้หลายพื้นที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงเช้าวันนี้

ด้าน นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า เพื่อเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม อันเกิดจากสภาวะอากาศ และฝนตกหนัก รอบที่สอง อาจจะสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงของประชาชนได้ จึงให้ทางอำเภอดำเนินการแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมการป้องกัน และระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากภัยธรรมชาติ รวมทั้งกำชับให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้าติดตามเฝ้าระวัง ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้านี้ หากฝนยังไม่หยุดตก

ส่วนที่จังหวัดนราธิวาส หลังจากฝนได้ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลก มีปริมาณสูงขึ้นจนล้นตลิ่งและไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร และ พื้นที่ทางการเกษตรที่ปลูกสร้างอยู่ตลอดแนวริมตลิ่ง โดยมีระดับน้ำท่วมขังสูง โดยเฉลี่ย 40 - 50 เซนติเมตร โดยบางพื้นที่ต้องใช้เรือเป็นยานพาหนะเพื่อเดินทาง และจากการตรวจสอบ ล่าสุดมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้ว จำนวน 4 อำเภอ คือ อ.สุไหงโก-ลก อ.สุไหงปาดี อ.จะแนะ และ อ.เจาะไอร้อง ซึ่งมีราษฎรได้รับความเดือดร้อนในเบื้องต้นจำนวน 345 หลังคาเรือน รวม 1,250 คน

ล่าสุด ระดับน้ำท่วมยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลพวงจากน้ำป่าบนเทือกเขา ได้ไหลทะลักลงมาท่วมบ้านเรือนของราษฎร และถนนหนทางในหมู่บ้าน อันเป็นผลพวงของภาวะฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก และยังไม่มีท่าทีที่ว่าจะหยุดตก และคาดว่าหากอยู่ในสภาวะเช่นนี้ จะทำให้ภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎร ขยายเป็นวงกว้างและเกิดภาวะน้ำท่วมขังอีกครั้ง

--------------------------------------------------------------------------------------
มรสุมซัดชายหาดสมิหลาพัง-สตูลท่วมรุนแรง [ ไทยรัฐ : 22 พ.ย. 52 ]

วันนี้ (22 พ.ย.) ชายหาดแหลมสมิหลา ถ.ชลาทัศน์ ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา เกิดมรสุมพัด และคลื่นยักษ์ถล่มชายฝั่งทำให้เกิดความเสียหายตลอดแนว และทรายถูกพัดเซาะลงทะเล นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยรองผู้ว่าฯ และ นายประพร เอกอุรุ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายนิพนธ์ บุญญามณี เลขาธิการพรรคประชาธิปปัตย์ นายวิชากร บัวหอม ปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีเมืองสงขลา กรมโยธาจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้สำรวจความเสียหายชายหาดสมิหลาและใช้รถแมคโคร พนักงานเทศบาล อส.จังหวัด ใช้ยางรถยนต์ และไม้สนอัดลงในชายหาด แล้วใช้ห่วงยางทับป้องกันคลื่นทะเลที่พัดเอาทรายลงทะเลเป็นการป้องกันชั่วคราว

นายวิญญู ทองสกุล กล่าวว่า ขณะนี้ได้ปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันคลื่นทะเลที่ซัดทรายลงทะเล ซึ่งคาดว่าเป็นการป้องกันเบื้องต้น หลังจากนั้นจะให้โยธาจังหวัด ใช้ถุงกระสอบอัดทรายวางเป็นแนวชายหาด ส่วนความเสียหายขณะนี้ ยังต้องสำรวจและจัดงบประมาณมาซ่อมแซมเพื่อให้ชายหาดสมิหลา กลับเป็นเหมือนเดิม เพื่อความสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเมืองสงขลาต่อไป

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในจ.สตูล เริ่มทวีความรุนแรง และขยายวงกว้างขึ้น ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดได้ไหลลงไปที่น้ำตกโตนปาหนัน ในเขตพื้นที่ ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล และไหล ลงท่วมบ้านเรือนราษฎรในเขตพื้นที่ ม.5 บ้านโตนปาหนัน ได้รับความเดือดร้อน 150 ครัวเรือน

นายวิสิฐ ตั้งปอง นายอำเภอควนกาหลง และ นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย จ.สตูล ได้ช่วยอพยพชาวบ้านไปสู่ที่ปลอดภัย และ นำถุงยังชีพไปแจกจ่ายชาวบ้านเพื่อบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น นอกจากนี้ น้ำในลำคลองดูสน เริ่มไหลท่วมบ้านเรือนชาวบ้านในเขตพื้นที่ ต.ควนโดน ต.ย่านซื่อ อ.ควนโดน รวมทั้งไหลท่วมพื้นที่ ต.ฉลุง อ.เมืองสตูล โดยสถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้มีแนวโน้มหนักกว่าน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา ในขณะที่ทาง จ.สตูล ได้ประกาศเตือนชาวบ้านในเขตพื้นที่ อ.ควนโดน อ.เมืองสตูล ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและให้อพยพสิ่งของไปอยู่ที่ปลอดภัย

--------------------------------------------------------------------------------------
ยะลาเตือน แม่น้ำสายบุรี-ปัตตานี ล้นตลิ่ง [ ไทยรัฐ : 22 พ.ย. 52 ]

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. สภาพอากาศโดยทั่วไปในพื้นที่จ.ยะลา ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝน ตกหนักในบางพื้นที่  จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา หรือที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลของจ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร  ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออกระมัดระวัง อันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่22-23 พ.ย.

ด้าน นายเวโรจน์ สายทองแท้ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา กล่าวว่า ได้สั่งการให้มีการเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะเรือท้องแบนและประสานหน่วยกำลังในพื้นที่ทั้งทหาร ตำรวจ และอาสาสมัคร พร้อมเข้าช่วยเหลือราษฏรและสัตว์เลี้ยงขึ้นไว้ในที่สูงทันที หากเกิดน้ำในแม่น้ำสายบุรีและแม่น้ำปัตตานี ล้นตลิ่งในวันเดียวกันนี้


--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมสงขลาขยายวงกว้าง - ริมคลองอู่ตะเภา คลอง ร.1 ยังวิกฤต [ ผู้จัดการออนไลน์ : 22 พ.ย.52 ]

วันนี้ (22 พ.ย.) เจ้าหน้าที่จากศูนย์อุทกวิทยาและทรัพยากรน้ำภาคใต้ลงพื้นที่สำรวจระดับและปริมาณน้ำตามลำคลองต่างๆ ในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อประเมินสถานการณ์หลังจากที่ยังมีฝนตกหนักติดต่อกันโดยพบว่าลำคลองในพื้นที่รอบนอกระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา และคลองระบายน้ำ ร.1 ซึ่งทำหน้าที่ระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลา เนื่องจากระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากน้ำที่ระบายจากแก้มลิงในพื้นที่ ต.คอหงส์ ที่รับน้ำจากเขาคอหงส์จนเต็มพิกัดจนต้องระบายออก ซึ่งชาวบ้านที่อยู่สองฝั่งคลองของคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำ ร.1 ยังอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิดน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมและต้องเตรียมพร้อมตลอด24 ชั่วโมง
       
สถานการณ์น้ำในคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำร.1 ซึ่งเป็นคลองรับน้ำก่อนระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลา เข้าขั้นวิกฤต ล่าสุดทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ยกระดับการเตือนภัยน้ำท่วมของคลองทั้งสองแห่งอยู่ในขั้นที่สองโดยเปลี่ยนจากธงเขียวเป็นธงเหลือง ให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดเนื่องจากระดับน้ำทั้งสองคลองต่ำกว่าตลิ่งน้อยกว่า1.50 เมตร ขณะที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่จำนวนมากยังคงเดินทางมาเฝ้าดูระดับทั้งสองคลองอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉุกเฉิน
       
ขณะเดียวกัน ภาวะฝนที่ยังคงตกหนักได้ส่งผลให้หลายพื้นที่ของ จ.สงขลา เกิดภาวะน้ำท่วมหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.เกาะยอ อ.เมืองสงขลา น้ำป่าจากภูเขาเทวดา ได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและเส้นทางจรจารบริเวณห้าแยกเกาะยออย่างหนัก การจราจรติดขัดและรถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้ ส่งผลกระทบต่อการเดินทางเนื่องจากบริเวณห้าแยกเกาะยอเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง3 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.หาดใหญ่ และอ.สิงนคร ส่วนความคืบหน้าเหตุน้ำท่วมรางรถไฟในพื้นที่หมู่ 5 ต.พังลา อ.สะเดา จ.สงขลา ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (21 พ.ย.)ส่งผลให้รถไฟระหว่างสถานีหาดใหญ่ถึงสถานีปาดังเบซาร์ ต้องหยุดเดินรถชั่วคราว
        
ล่าสุด นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์ภาคใต้การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เส้นทางดังกล่าวสามารถเปิดเดินรถได้ตามปกติแล้วตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมาหลังจากที่ระดับน้ำที่ท่วมรางลดลงและฝ่ายซ่อมบำรุงทางได้เข้าไปตรวจสอบสภาพรางพบว่าไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดและสามารถเปิดเดินรถได้ทุกขบวนทั้งขบวนรถระหว่างประเทศและขบวนขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ได้สั่งการให้มีการสำรวจเส้นทางสายใต้ตั้งแต่จ.นครศรีธรรมราชรวมถึงเส้นทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะจุดที่เกิดน้ำท่วมรางซ้ำซากเพื่อเข้าไปดำเนินการแก้ไข

--------------------------------------------------------------------------------------
'สงขลา,โก-ลก'ตื่น ทุ่ม 22 ล. ขุดคลองแก้ท่วมซ้ำซาก [ ไทยรัฐ : 23 พ.ย. 52 ]

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส นำเจ้าหน้าที่ออกแจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุดแก่ราษฎรในพื้นที่ประสบอุทกภัย 23 จุด ใน 13 ชุมชนรอบเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พร้อมเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัย จำนวน 39 ครัวเรือน รวม 193 คน ที่อพยพหนีน้ำท่วมมาอยู่ที่ศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราวโรงเรียนเทศบาล 4 จากระดับน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลก ท่วมบ้านเรือนราษฎรตลอดแนวริมฝั่ง แม่น้ำสุไหงโก-ลก ไม่สามารถพักอาศัยได้ตามปกติ

นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเป็นประจำทุกปี มีสาเหตุมาจากท่อน้ำ คูคลอง รวมถึงทางระบายน้ำที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่อุดตัน ทำให้ระบายน้ำออกไม่ทัน  ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก ต้องมาแก้ไขที่จุดดังกล่าว ระยะแรก กรมทรัพยากรน้ำ จ.สงขลา จัดสรรงบประมาณ จำนวน 16 ล้านบาท ดำเนินการขุดลอกคลองบือเร็ง 1 และบือเร็ง 2 ตามที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกได้เสนอโครงการเข้าไป ระยะที่ 2 เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จัดสรรงบประมาณกว่า 6 ล้านบาท ดำเนินการขุดลอกคูคลองจนถึงริมฝั่งแม่น้ำสุไหงโก-ลก เพื่อขยายเส้นทางระบายน้ำทั้งในและนอกเขตเทศบาลทุกจุดที่มีความเสี่ยงต่อการ เกิดอุทกภัยตามแผนงบประมาณปี 2553  เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรในเขตชุมชนเหมือนเช่นที่ผ่านมามั่นใจว่าหลังเสร็จสิ้นโครงการ ชาวสุไหงโก-ลกจะไม่เดือดร้อนจากน้ำท่วมอีก

--------------------------------------------------------------------------------------
ปภ.สรุปเสียหาย อุทกภัย 3 จังหวัดใต้ 24 อำเภอ [ ไทยรัฐ : 23 พ.ย. 52 ]

วันนี้(23 พ.ย.)กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้มี 3 จังหวัด 24 อำเภอ 100 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสงขลา ที่น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังระบายไม่ทันในพื้นที่ลุ่มต่ำ 9 อำเภอ 40 ตำบล 241 หมู่บ้าน จังหวัดพัทลุง 4 อำเภอ 15 ตำบล 47 หมู่บ้าน และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ต้นน้ำของแม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำโก-ลก ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ริมตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำจำนวน 11 อำเภอ 57 ตำบล โดยระดับน้ำในคลองตันหยงมัส สูงกว่าตลิ่งเฉลี่ย 1.09 ม. (ตลิ่ง 15.58 ม.) ระดับน้ำแม่น้ำโก-ลก สูงกว่าตลิ่งเฉลี่ย 0.82 ม. (ตลิ่ง 8.20 ม.) ซึ่งแต่ละจังหวัดได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือ และเร่งสำรวจความเสียหาย

โดยวันนี้ (23 พ.ย.)มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมคณะจะเดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทาน เครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่ จังหวัดสงขลา จำนวน 2,000 ชุด และ 1,000 ชุด ให้กับราษฎรผู้ประสบภัย ที่ อบต.ปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

--------------------------------------------------------------------------------------
หาดใหญ่วิกฤตถูกน้ำล้อมรอบ เร่งป้องกันพื้นที่ไข่แดง ย่านเศรษฐกิจตัวเมืองชั้นใน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 พ.ย. 52 ]
       
        วันนี้ (23 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อ.หาดใหญ่ ยังคงอยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากพื้นที่โดยรอบเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ทั้ง ต.ควนลัง ต.คอหงส์ ต.บ้านพรุ และต.คลองแห ถูกน้ำท่วมทั้งหมดและอยู่ในภาวะน้ำโอบล้อมรอบตัวเมืองหาดใหญ่ทุกทิศทาง และพื้นที่ภายในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่เริ่มถูกน้ำท่วมแล้ว
       
        ขณะที่คลองอู่ตะเภา ปริมาณน้ำอยู่ในระดับต่ำกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร และยังเป็นสัญลักษณ์ธงเหลือง ทั้งนี้เทศบาลนครหาดใหญ่พยายามป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมตัวเมืองหาดใหญ่ชั้นใน ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าและเป็นพื้นที่ไข่แดงเพียงแห่งเดียว ที่ยังไม่ถูกน้ำท่วม อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลาง ที่จะระดมความช่วยเหลือกระจายไปในพื้นที่รอบนอก
       
        สถานการณ์น้ำท่วมในจ.สงขลา ล่าสุดนายวิจิตร จันทรปาน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจ.สงขลา เปิดเผยว่า ภาพรวมทั้งจังหวัดขณะนี้มีน้ำท่วมรวม 10 อำเภอ 51 ตำบล 257 หมู่บ้านโดยมีผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วม 1 คน ซึ่งลดลงจากเมื่อวานนี้ที่มีน้ำท่วม 11 อำเภอ ขณะที่ตอนนี้ น้ำในทะเลสาบสงขลา ที่รองรับน้ำจากทุกอำเภอเริ่มอิ่มตัวและย้อนกลับเข้าท่วมพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลาแล้ว
       
        จากเม็ดฝนที่ตกต่อเนื่องหลายวัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในคลองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ล่าสุดระดับน้ำในคลอง ร.1 เอ่อล้นออกมาท่วมถนนสายข้างเคียง จนทำให้ชาวบ้านหวั่นวิตก ออกมาประเมินสถานการณ์ บ้างพาลูกหลานลงเล่นน้ำ บ้างทอดแห จึงขอเตือนประชาชนชาวบ้านอย่างเคร่งครัด ไม่ควรนำลูกหลานลงเล่นน้ำ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของลูกหลานท่านเอง


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมใต้ยังวิกฤติ นราฯ11อำเภอ ปิด รร. 20 แห่ง [ ไทยรัฐ : 23 พ.ย. 52 ]

ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (23 พ.ย.) ว่า สภาพอากาศโดยทั่วไปในพื้นที่ จ.ยะลา ท้องฟ้ายังคงมืดครึ้มและมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ตลอด 2 ชายฝั่งของแม่น้ำปัตตานี น้ำเริ่มเอ่อล้นขึ้นฝั่ง และไหลเข้าท่วมบนถนนภายในหมู่บ้านในพื้นที่ ต.ท่าสาป ต.ยุโป ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ อ.เมืองยะลา ส่วน แม่น้ำสายบุรี น้ำก็เริ่มเอ่อล้นฝั่งเช่นเดียวกัน และไหลเข้าท่วมในพื้นที่ราบลุ่มใน ต.อาซ่อง,ต.ตะโละหะลอ และ ต.กายูบอเกาะ อ.รามันจ.ยะลา ชาวบ้านต้องใช้เรือในการเดินทางและบางครอบครัวได้เริ่มอพยพสิ่งของสัตว์ เลี้ยงไปไว้บนถนน ส่วนถนนสายหลักที่จะออกตัวเมืองและเข้าตัวเมืองยะลาขณะนี้รถทุกชนิดยัง สามารถวิ่งผ่านไปมาได้ตามปกติ

นาย เวโรจน์ สายทองแท้หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา กล่าวว่า ได้สั่งเจ้า หน้าที่เฝ้าระวังและรายงานสภาพน้ำตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมได้เตรียมเรือท้องแบนและกำลังอาสาสมัครเพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสภาวะน้ำท่วมได้ทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ

วันเดียวกัน สถานการณ์ภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ขณะนี้บรรยากาศโดยทั่วไปยังคงมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน ส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก 3 สาย มีปริมาณสูงขึ้นและล้นตลิ่งไปแล้วกว่า 3 เมตร ขยายผลทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎรกิน พื้นที่เป็นวงกว้างรวม 11 อำเภอแล้ว และอำเภอที่ไดรับผลกระทบหนักที่สุดคือ อำเภอสุไหงโก-ลก ที่บริเวณชุมชนหัวสะพาน ท่าโรงเลื่อยและซอยประปา เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โดยมีปริมาณน้ำท่วมขังสูงโดยเฉลี่ย 2 - 3 เมตร ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,666 ครัวเรือน รวม 16,014 คน

ล่าสุด ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม จ.นราธิวาส ได้สรุปความเสียหายจากอุทกภัยในเบื้องต้นว่า มีพื้นที่น้ำท่วม 87 หมู่บ้าน 43 ตำบลในพื้นที่ 11 อำเภอ คือ อ.บาเจาะ อ.ตากใบ อ.จะแนะ อ.สุไหงปาดี อ.แว้ง อ.ยี่งอ อ.ศรีสาคร อ.สุคิริน อ.ระแงะ อ.สุไหงโก-ลก และ อ.เมืองนราธิวาส มีราษฎรได้รับความเดือดร้อนรวม 9,962 ครัวเรือน จำนวน 37,104 คน อพยพราษฎรจำนวน จำนวน 1,081 คน พื้นที่ทางการเกษตรถูกน้ำท่วมขัง 1,180 ไร่ ถนนสายหลักและสายรองถูกน้ำท่วมขังและดินภูเขาถล่มลงมาทับเส้นทาง จนยานพาหนะทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ 29 สาย

นอกจากนี้  ผลพวงจากภาวะน้ำท่วมในครั้งนี้ ยังส่งผลทำให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส ทั้ง 3 เขตการศึกษา จำนวนกว่า 20 โรง ต้องปิดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากโรงเรียนถูกน้ำท่วมขังแล้ว
วันเดียวกัน ที่ จ.สตูล น้ำในลำคลองดูสน ได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านในเขตพื้นที่ ต.ควนโดน ต.ย่านซื่อ ต.ควนสตอ อ.ควนโดน ได้รับความเดือดร้อนแล้วไม่ต่ำกว่า 5,000 ครัวเรือน บางแห่งระดับน้ำท่วมสูงถึง 2 เมตร ชาวบ้านบางคนต้องขนของหนีน้ำไปอาศัยบ้านญาติๆ นอกจากนี้น้ำยังได้ท่วม ถนนสายหลักคือถนนยนตรการกำธร(ถนนสายหาดใหญ่-สตูล) ในเขตพื้นที่ ม.2 ต.ย่านซื่อ ช่วงขาเข้าเทศบาล ต.ควนโดน บริเวณสถานที่ก่อสร้างศูนย์การค้าเทสโก้โลตัส ระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร รถราวิ่งผ่านไป-มา ด้วยความะมัดระวัง และน้ำยังได้ท่วมถนนในหมู่บ้าน ชาวบ้านที่สัญจรไป-มา ต้องเดินลุยน้ำ ส่วนมัสยิดใน ต.ย่านซื่อ อย่างน้อย 2 มัสยิดถูกน้ำท่วมไม่สามารถประกอบกิจทางศาสนาได้ โรงเรียนต้องปิดแล้วอย่างน้อย 2 แห่ง คือ ร.ร.บ้านปันจอนร์และร.ร.บ้านย่านซื่อ ต.ย่านซื่อ ทางการเร่งสำรวจและให้การช่วยเหลือต่อไปส่วนในเขตพื้นที่ อ.เมืองสตูล น้ำในลำคลองฉลุง ได้ไหลท่วมบ้านเรือนชาวบ้านแล้ว รวม 14 หมู่บ้าน ชาวบ้านเดือดร้อนไม่ต่ำกว่า 6000 ครัวเรือน


นอกจากนี้น้ำยังได้ท่วมเข้าไปในตลาดสดเทศบาล ต.ฉลุง รวมท่วมถนนสายฉลุง-ละงู บริเวณระหว่างหลักกม.ที่1-2 ช่วงขาเข้า ตลาดเทศบาล ต.ฉลุง ในเขตพื้นที่.4-5 ต.ฉลุง ระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร รถที่สัญจรไป-มา สามารถใช้การได้เพียง1ช่องจราจร ส่วนนาข้าวชาวบ้านที่กำลังตั้งท้องถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย ในขณะที่ถนนในหมู่บ้านน้ำท่วมสูง ชาวบ้านต้องเดิยลุยน้ำออกมาสู่โลกภายนอก โรงเรียนปิดไปแล้ว3โรงคือ ร.ร.อนุบาลเมืองสตูล และ ร.ร.จริยธรรมอิสลาม ร.ร.บ้านโคกประดู่ ต.ฉลุง สำหรับพื้นที่ ต.บ้านควน อ.เมืองสตูล น้ำในลำคลองฉลุง ได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านและนาข้าว รวม 7 หมู่บ้าน ชาวบ้านเดือดร้อนแล้วไม่ต่ำกว่า 2000 ครัวเรือน
สถานการณ์น้ำท่วม จ.สตูลในครั้งนี้เป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยในตอนเย็นวันนี้น้ำจะไหลท่วมพื้นที่ ต.คลองขุด ต.ควนขัน อ.เมืองสตูล และในเขตเทศบาลเมืองสตูลต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------------
เมืองลุงยังไม่พ้นวิกฤตน้ำท่วม - ชาวบ้านเสียชีวิตแล้ว 1 ราย [ ผู้จัดการออนไลน์ : 24 พ.ย. 52 ]

วันนี้ (24 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังไม่พ้นวิกฤติ แม้ฝนจะทิ้งช่วง และหยุดตกมาตั้งแต่เมื่อวานแล้วก็ตาม ชาวบ้านในพื้นที่ อ.เมือง อ.เขาชัยสน อ.ควนขนุน อ.บางแก้ว อ.ปากพะยูน และ อ.ป่าบอน ยังคงได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วม โดยเฉพาะชาวบ้านหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 11 ตำบลนาโหนด อ.เมืองพัทลุง น้ำจาก อำเภอกงหรา ทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน จำนวน 220 ครัวเรือน น้ำสูงประมาณ 1 เมตร ในขณะที่ราษฎร ในท้องที่ ม.7, ม.9 ต.พญาขันต์ และ ม.12 ต.ชัยบุรี อ.เมือง ก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูง ถนนเข้าหมู่บ้านไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้      
ในส่วนของชาวบ้านอาพัด หมู่ 4 ต.จองถนน อ.เขาชัยสน กว่า 40 ครัวเรือน ต้องเร่งอพยพสัตว์เลี้ยงและสิ่งของขึ้นที่สูงเป็นการด่วนหลังน้ำ จากอำเภอตะโหมด และตำบลเขาชัยสน ทะลักเข้าท่วม ก่อนไหลลงสูทะเลสาบสงขลา ทำให้ถนนสายโคกขาม –บางแก้ว ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตรมีน้ำท่วมสูงไหลแรง รถไม่สามารถผ่านไปมาได้ยังคงถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

สำหรับในพื้นที่ริมป่าเทือกเขาบรรทัด อำเภอกงหรา อ.ตะโหมด อ.ป่าบอน ระดับน้ำได้ลดลงเกือบเข้าสู่สภาวะปกติหลังฝนหยุดตก แต่น้ำที่ท่วมพื้นที่ดังกล่าวได้ไหลท่วมพื้นทีราบลุ่มของ อ.เมือง อ.ควนขนุน อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว และปากพะยูน ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาอย่างช้าๆ สาเหตุมาจากการสร้างถนนรอบทะเลสาบและไม่เปิดช่องระบายน้ำในพื้นที่ที่เหมาะสมและน้อยมาก จึงทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน โดยขณะนี้พบว่าชาวบ้านกว่า 5,000 ครอบครัว กำลังได้รับความเดือดร้อน พื้นที่ทางด้านการเกษตรสวนยางพาราและนาข้าว ได้รับความเสียหาย กว่า 20,000 ไร่ และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 นายสมปอง ชูนุ้ย อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 94/2 หมู่ที่ 4 ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จมน้ำเสียชีวิตขณะออกหาปลา

--------------------------------------------------------------------------------------
ลุยน้ำท่วมทุลักทุเล แบกนักเรียน พายเรือไปโรงเรียน [ ไทยรัฐ : 24 พ.ย. 52 ]
ช่วงเช้าวันนี้ (24 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.สตูล ยังคงวิกฤติ โดยน้ำจาก อ.ควนกาหลง อ.ควนโดน และ ทางตอนเหนือของ อ.เมืองสตูล ได้ไหลลงคลองมำบัง และเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและสวนยางพารา ในพื้นที่ ม.6 และ ม.7 ใน เขตเทศบาล ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล โดยชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนแล้วประมาณ 2,000 ครัวเรือน ระดับน้ำบางแห่งท่วมสูงถึง 2 เมตร โดยเฉพาะที่ซอยหลวงลืม และ ซอยร่วมวาริน ในเขตพื้นที่ ม.7 เทศบาล ต.คลองขุด ชาวบ้าน เด็กนักเรียน ต้องสัญจรไป-มา ด้วยความยากลำบาก เพราะน้ำท่วมถนนภายในซอย มีระดับน้ำสูง รถราไม่สามารถสัญจรไป-มา ได้ ต้องใช้เรือเข้าช่วยเหลือขนชาวบ้านและสิ่งของรวมทั้งขนเด็กนักเรียนไปโรงเรียน เนื่องจาก ชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำกันอย่างทุลักทุเล โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่จะไปโรงเรียน บางคนต้องเดินลุยน้ำสูงถึงหน้าอก

นายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้เดินลุยน้ำไปตรวจเยี่ยมและช่วยเหลือเด็กนักเรียนไปเรียนหนังสือ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ข้าราชการต้องเดินลุยน้ำและนำเสื้อผ้าไปเปลี่ยนในที่ทำงาน ส่วนที่ฐานปฏิบัติการทหารกองร้อย 5021 ตั้งอยู่ ซอยหลังวัดหน้าเมือง ม.7 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เจ้าหน้าที่ต้องใช้เรือขนย้ายสิ่งของจากในฐาน ออกมาสู่ที่ปลอดภัย เนื่องจากระดับน้ำภายในฐานปฏิบัติการระดับน้ำสูงถึง 1 เมตรเศษ โดยน้ำได้เพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สิ่งของบางอย่างเก็บไม่ทัน เช่น ถังแก๊สหุงต้มได้ลอยน้ำออกมานอกฐาน เจ้าหน้าที่ต้องนำเรือตามเก็บถังแก๊สดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ภายในวันนี้ระดับน้ำจะไหลเข้าท่วมพื้นที่ริมคลองมำบัง ในเขตเทศบาลเมืองสตูลต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------------
ปัตตานีถูกท่วมหนักอีก 2 อำเภอ - จนท.เร่งแจกถุงยังชีพ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 24 พ.ย. 52 ]

        วันนี้ (24 พ.ย.) จังหวัดปัตตานี ได้ประกาศให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเพิ่มอีก 2 อำเภอ รวมเป็น 9 อำเภอแล้ว ในขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานียังคงไหลเอ่อล้นตะหลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ ซึ่งบางแห่งระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 1 เมตร และไหลทะลักท่วมพื้นที่เพิ่มเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะที่ ต.ปะกาฮารัง อ.เมืองปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มและติดแม่น้ำปัตตานี ขณะนี้บางหมู่บ้านระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตรแล้ว รวมทั้งถนนเข้าหมู่บ้านหลายสายน้ำท่วมสูงจนรถจักรยานยนต์ และรถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ ในขณะที่นายขวัญชาติ วงศ์ศุภรานันท์ นายอำเภอเมือง พร้อมด้วย พ.ท.ชาคริต สนิทพ่วง ผบ.ฉก.ปัตตานี 23 ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์น้ำที่ ม.2 และ ม.3 ต.ปะกาฮารัง เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นพื้นที่วิกฤตโดยพบว่าขณะนี้น้ำจากแม่น้ำปัตตานี ยังคงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้าน และมีแนวโน้มท่วมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเบื้องต้นได้จัดกำลังทหารเข้าช่วยขนสิ่งของเครื่องใช้ของประชาชนไว้ในที่สูง พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมตัวรับสถานการณ์น้ำท่วมรอบสองที่อาจท่วมสูงถึง 2 เมตร ในช่วง 1-2 วันนี้หากยังคงมีฝนตกหนักติดต่อกัน
       
        ด้าน พ.ท.ชาคริต สนิทพ่วง ผบ.ฉก.ปัตตานี 23 กล่าวว่า แม่ทัพภาคที่ 4 ได้เน้นย้ำกำลังทหารในพื้นที่ให้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันกลุ่มก่อความไม่สงบที่จะอาศัยช่วงนี้ก่อเหตุความไม่สงบ เนื่องจากกำลังส่วนหนึ่งต้องคอยช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งให้จัดกำลังทหารส่วนหนึ่งไว้คอยดูแลหน่วยงานราชการต่างๆ ที่จะเข้าพื้นที่มอบสิ่งของให้การช่วยเหลือประชาชนที่กำลังเดือดร้อน ส่วนประชาชนในพื้นที่ได้ต้องการกำลังในการขนย้ายสิ่งของไว้ในที่สูงก็สามารถติดต่อได้ตามหน่วยกำลังในพื้นที่นั้นๆ ส่วนพื้นที่ประสบอุทกภัย จ.ปัตตานี ประกาศเพิ่มอีก 2 อำเภอรวมเป็น 9 อำเภอราษฎรได้รับความเดือดร้อน 41 ตำบล 164 หมู่บ้าน ผู้ประสบภัย 10,205 ครัวเรือน จำนวน 34,126 คน บ้านเรือนเสียหาย 91 หลัง ถนนชนบทเสียหาย 157 สาย สะพานเสียหาย 6 แห่ง โรงเรียนถูกน้ำท่วม 5 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเสียหาย 32,774 ไร่ ด้านประมงบ่อปลา ปลาในกระชัง สัตว์เลี้ยงราษฎร รวมค่าเสียหายเบื้องต้น ประมาณ 69,145,297 บาท

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วม 6 จว.ใต้ เบื้องต้น เริ่มลดระดับ [ ไทยรัฐ : 25 พ.ย. 52 ]

นายธีระ วงศ์สมุทร  รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ว่า ขณะนี้ในบางพื้นที่ของแต่ละจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว และจากการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว ทั้งสิ้น 6 จังหวัด จำนวน 37 อำเภอ ได้แก่ จ.สงขลา 9 อำเภอ นราธิวาส 11 อำเภอ พัทลุง 4 อำเภอ สตูล 3 อำเภอ ปัตตานี 6 อำเภอ และยะลา 4 อำเภอ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ด้วยการการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจำนวน 77 เครื่อง และสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 101.46 ตัน แร่ธาตุ และเวชภัณฑ์ 198 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 18,924 ตัว


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมนราฯ คลี่คลายสรุปเสียหายกว่า 50 ล้าน [ ไทยรัฐ : 26 พ.ย. 52 ]

ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (26 พ.ย.) ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ว่า ล่าสุด สถานการณ์ภาพรวมเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ยกเว้นบ้านเรือนประชาชนประมาณ 600 ครัวเรือนที่สร้างอยู่ตลอดแนวริมตลิ่งของแม่น้ำสุไหงโก-ลก ครอบคลุมพื้นที่ อ.แว้ง อ.สุไหงโก-ลก และอ.ตากใบซึ่งยังถูกน้ำท่วมขังระดับน้ำเฉลี่ย 80-100 เซนติเมตร

ด้านศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันเหตุอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จ.นราธิวาส สรุปความเสียหายจากน้ำท่วมต่อทรัพย์สินของประชาชนและสิ่งสาธารณูปโภคคิดเป็นเงิน 57,217,209 ล้านบาท


--------------------------------------------------------------------------------------
ปัตตานีประกาศพื้นที่ถูกน้ำท่วมเพิ่มอีก 2 อำเภอ-ร.ร.ปิดอีก 5 โรง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 26 พ.ย. 52 ]

        สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ปัตตานี โดยล่าสุดสำนักงานบรรเทาและป้องกันสาธารณภัยได้ประกาศพื้นที่เกิดน้ำท่วมเพิ่มอีก 2 อำเภอ รวมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมรวมแล้ว 11 อำเภอ และหลังฝนหยุดตกติดต่อกัน 2 วัน พื้นที่บางแห่งระดับน้ำเริ่มลดลงบ้างแล้ว เว้นพื้นที่อำเภอไม้แก่น สายบุรี มายอ ที่ยังคงรับน้ำเอ่อล้นที่มาจากอำเภอสุไหงโกลก จ.นราธิวาส รวมทั้ง 3 ตำบล ของ อ.เมืองปัตตานี คือ ตำบลปะกาฮารัง ต.บาราเฮะ ต.ตะลุโบะ ที่ยังคงต้องรับน้ำที่เอ่อล้นจากแม่น้ำปัตตานี จึงทำให้บ้านเรือนที่อยู่ใกล้สองฝังแม่น้ำยังคงมีระดับน้ำท่วมบ้านเรือนสูงกว่า 1 เมตร และหากในช่วง 2-3 วันนี้ไม่มีฝนตกลงมา คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ
       
        อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีโรงเรียนจำนวน 5 แห่งในพื้นที่ถูกน้ำท่วมได้ประกาศหยุดเรียนและจะเปิดในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ เนืองจากอุปกรณ์การเรียนได้รับความเสียหาย รวมทั้งเห็นใจบรรดาผู้ปกครองที่ถูกน้ำท่วมบ้านและยังต้องมาคอยรับส่งบุตรหลานอีกด้วย  ล่าสุด มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ ด.ช.อาริฟ แวมามุ อายุ 14 ปี ขณะเล่นน้ำกับเพื่อน 4 คน บริเวณคลองชลประทาน ม.1 บ้านปูโป๊ะ ต.ตาแกะ อ.ยะหริ่ง ซึ่งสภาพน้ำแรงไหลเชี่ยว น้ำได้พัดพา เด็กชายอาริฟ จมหายไป เจ้าหน้าที่พร้อมประชาชนช่วยกันงมหาศพหลายชั่วโมง พบศพห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 5 กม. ขณะนี้จังหวัดปัตตานี นายธีระเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เตรียมนำเงินช่วยเหลือ ครอบครัวที่เสียชีวิตแล้ว
      

ด้าน นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ออกหนังสือเวียนแจ้งเตือนทุกพื้นที่เกิดเหตุน้ำท่วมและมีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านให้มีการจัดเวรยามเฝ้าระวังในแต่ละหมู่บ้านในช่วงนี้ หลังเขื่อนบางลาง จ.ยะลา และเขื่อนชลประธาน จ.ปัตตานี แจ้งมีการเปิดประดูเขื่อนเพื่อระบายน้ำเตรียมรองรับน้ำฝนที่จะตกหนักในประเทศมาเลเซียในช่วงนี้ด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/