บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ( 4-8 ต.ค. 56 )


ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ


4/10/2556[11GMT]

5/10/2556[11GMT]

6/10/2556[9GMT]

7/10/2556[7GMT]

8/10/2556[10GMT]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php

จากภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT พบว่ากลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบนบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 6-8 ต.ค. 56 ที่กลุ่มเมฆค่อนข้างหนามาก ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วม
บริเวณอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์



แผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา


4/10/2556

5/10/2556

6/10/2556

7/10/2556

8/10/2556

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php


วันที่ 6 ต.ค. 56 มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทยใกล้กับจังหวัดาประจวบคีรีขันธ์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้เริ่มมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่าง และพื้นที่ใกล้เคียง ต่อมาในวันที่ 7 ต.ค. 56 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงดังกล่าวได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประจวบคีรีขันธ์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนยังมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และในวันที่ 8 ต.ค. 56 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามันตอนบน ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง



แผนที่ความกดอากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


4/10/2556 [07:00]

4/10/2556 [19:00]

5/10/2556 [07:00]

5/10/2556 [19:00]

6/10/2556 [07:00]

6/10/2556 [19:00]

7/10/2556 [07:00]

7/10/2556 [19:00]

8/10/2556 [07:00]

8/10/2556 [19:00]


แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


4/10/2556 [07:00]

4/10/2556 [19:00]

5/10/2556 [07:00]

5/10/2556 [19:00]

6/10/2556 [07:00]

6/10/2556 [19:00]

7/10/2556 [07:00]

7/10/2556 [19:00]

8/10/2556 [07:00]

8/10/2556 [19:00]

จากแผนภาพแสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล พบว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรงตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค. 56 เป็นต้นมา โดยเฉพาะวันที่ 7-8 ต.ค. 56
ที่มีกำลังแรงค่อนข้างมาก และครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตลอดแนว โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

เรดาร์หัวหิน รัศมี 240 กิโลเมตร  

4/10/2556 [19:29]

5/10/2556 [17:29]

6/10/2556 [09:29]

7/10/2556 [02:29]

8/10/2556 [14:29]


เรดาร์ชุมพร รัศมี 240 กิโลเมตร  

4/10/2556 [02:38]

5/10/2556 [19:38]

6/10/2556 [15:38]

7/10/2556 [04:38]

8/10/2556 [09:38]



หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 
เรดาร์หัวหิน : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_hhnradar.php
เรดาร์ชุมพร : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_cmpradar.php

จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์หัวหินและเรดาร์ชุมพร พบว่าอิทธิพลจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
มีกำลังค่อนข้ัางแรงต่อเนื่องในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2556 ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 4-8 ตุลาคม 2556 และเกิดน้ำท่วมหนักบริเวณ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน สังเคราะห์จากข้อมูลปริมาณฝนรายชั่วโมงของ GSMaP
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร


4/10/2556

5/10/2556

6/10/2556

7/10/2556

8/10/2556



จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ GSMaP พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคใต้ตอนบนตั้งแต่วันที่ 4-8 ต.ค. 56 โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีปริมาณฝนเกิน 100 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบริเวณอำเภอหัวหิน



แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA


4/10/2556[00Z]

5/10/2556[00Z]

6/10/2556[00Z]

7/10/2556[00Z]

8/10/2556[00Z]
   
mm.

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุุกตัวกันมากบริเวณภาคใต้ตอนบนตั้งแต่วันที่ 4-6 ต.ค. 56 หลังจากนั้นปริมาณฝนลดลง
แต่ในวันที่ 8 ต.ค. 56 ยังคงมีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและราชบุรี



ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหารชน)

            รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร ช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. 56
บริเวณภาคใต้ตอนบนและด้านตะวันตกของประเทศ พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 30 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง
ส่วนสถานีที่มีฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ ที่สถานีแยกประจวบ ต.เกาะหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ
ที่สถานีไร่ใหม่พัฒนา ต.ไร่ใหม่พัฒนา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
2013-10-04 เขาสก คลองศก พนม สุราษฎร์ธานี                                57.2
เขานาใน บ้านเสด็จ เคียนซา สุราษฎร์ธานี                                40.0
บ้านพระรัก พะโต๊ะ พะโต๊ะ ชุมพร                                31.4
คลองหินขาว พรุไทย บ้านตาขุน สุราษฎร์ธานี                                30.0
2013-10-05 หัวหินเมาทท์เทนวิวล์ หัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                                30.8
2013-10-06 แยกประจวบ เกาะหลัก เมืองประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์                              111.2
ไร่ใหม่พัฒนา ไร่ใหม่พัฒนา ชะอำ เพชรบุรี                              103.4
หัวหินเมาทท์เทนวิวล์ หัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                                93.6
ป่าละอู ห้วยสัตว์ใหญ่ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                                79.2
บ้านมะเดื่อทอง เขาล้าน ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์                                62.8
เขาสก คลองศก พนม สุราษฎร์ธานี                                56.8
วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์                                55.6
บางสะพานน้อย บางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์                                40.4
ท่าไม้ลาย วังใหม่ เมืองชุมพร ชุมพร                                34.2
ท่าตะคร้อ ท่าตะคร้อ หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี                                32.4
2013-10-07 ป่าละอู ห้วยสัตว์ใหญ่ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                                31.8
บ้านจะโปร่ง หนองหญ้าปล้อง หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี                                31.0
ท่าตะคร้อ ท่าตะคร้อ หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี                                30.0
2013-10-08 ป่าละอู ห้วยสัตว์ใหญ่ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                                49.4
เขื่อนเพชร ท่ายาง ท่ายาง เพชรบุรี                                34.2

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 30 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร



รายงานการเตือนภัยปริมาณฝนผ่าน sms โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

จากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่าช่วงที่เกิดฝนตกหนัก มีการเตือนภัยปริมาณฝนในระดับเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤตบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชบุรี

รวมทั้งมีการเตือนภัยน้ำในเขื่อนแก่งประจานและปราณบุรี

วันที่เตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ระดับการเตือนภัย
ข้อความ
9/10/2013
12:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
เขื่อนแก่งกระจาน เพิ่มเป็นเฝ้าระวังพิเศษ 82%
9/10/2013
12:00:00
วิกฤต
เขื่อนปราณบุรี เพิ่มเป็นวิกฤต 76%
7/10/2013
9:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝนวานนี้ หนองพลับ (1) จ.เพชรบุรี 119.8 มม
7/10/2013
9:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝนวานนี้ ประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 129.7 มม
7/10/2013
9:00:00
วิกฤต
ฝนวานนี้ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 153.4 มม
6/10/2013
22:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน07-22น. ต.ไร่ใหม่พัฒนา อ.ชะอำ เพชรบุรี 97.2 มม
6/10/2013
1:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน06/07-07/00น. ต.เกาะหลัก อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์ 101.2 มม

 


แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)


คาดการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 56


6/10/56 19:00 น. - 7/10/56 19:00 น.

7/10/56 19:00 น. - 8/10/56 19:00 น.

8/10/56 19:00 น. - 9/10/56 19:00 น.

9/10/56 19:00 น. - 10/10/56 19:00 น.

10/10/56 19:00 น. - 11/10/56 19:00 น.

11/10/56 19:00 น. - 12/10/56 19:00 น.

12/10/56 19:00 น. - 13/10/56 19:00 น.


     จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF
ผลการคาดการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 56 พบว่ามีกลุ่มฝนขนาดใหญ่ปกคลุมตั้งแต่ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. 56
และปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบนต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 9 ต.ค. 56 หลังจากนั้นได้สลายตัวลงอย่างต่อเนื่อง
    โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่ปริมาณฝนที่ตกหนักครอบคลุมพื้นที่ค่อนข้างกว้างกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน GSMaP


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนแก่งกระจาน


ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนปราณบุรี
 

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html

จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนปราณบุรี ซึ่งเป็นเขื่อนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดฝนตกหนัก พบว่าเขื่อนแก่งกระจานมีปริมาณน้ำไหลเข้า
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในวันที่ 7-9 ต.ค. 56 โดยมี ปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด
40.73 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 9 ต.ค. 56 ส่วนเขื่อนปราณบุรี มีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นมากต่อเนื่องในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. 56
ปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด 33.84 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 7 พ.ย. 56



ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


สถานี PCH001-เมืองเพชรบุรี
ต. ต้นมะม่วง อ. เมืองเพชรบุรี จ. เพชรบุรี

สถานี BSP001-บางสะพาน
ต. ร่อนทอง อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์

สถานี PRN001-ปราณบุรี
ต. วังก์พง อ. ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php

จากกราฟแสดงระดับน้ำที่ตรวจวัดจากระบบโทรมาตร บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ พบว่ากรณีเกิดฝนตกหนักตั้งแต่ช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. 56 ส่งผลให้ระดับน้ำำในแม่น้ำเพชรบุรีและ
แม่น้ำปราณบุรีเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ไม่พบสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง



ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

ฝนตกหนักน้ำท่วมในเมืองหัวหิน [ โพสต์ทูเดย์ : 6 ต.ค. 56 ]

ประจวบฯเจอฝนตกหนักต่อเนื่อง หัวหินน้ำท่วถนนหลายสายสูง 10-50ซม. ผู้ว่าฯสั่งเร่งระบายน้ำเมื่อวันที่ 6 ต.ค. ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา 
ส่งผลให้เกิดน้ำฝนสะสมในเขตเทศบาลเมืองหัวหินเนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ได้แก่ถนนสายเดชานุชิต, บริเวณตลาดโต้รุ่งหัวหิน, หน้าตลาดฉัตร์ไชย , ถนนสายดำเนินเกษม, บริเวณ
ทางลงทะเลหัวหิน, ถนนแนบเคหาสน์บริเวณสี่แยกสมาคมประมง โดยเส้นทางทั้งหมดมีน้ำท่วมเป็นระยะสูง10-50 ซม. ทำให้รถยนต์เคลื่อนตัวได้ช้า อย่างไรก็ตามหากปริมาณฝนลดลง และ
ไม่มีน้ำทะเลหนุนสูงก็คาดว่าจะสามารถเร่งระบายน้ำบริเวณตลาดหัวหินได้รวดเร็ว










--------------------------------------------------------------------------------------

วานนี้ (6 ตค 56) เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมชุมชน เขตเทศบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ [ ปภ. : 7 ต.ค. 56 ]


ฝนตกหนักต่อเนื่อง เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมชุมชน บริเวณหมู่บ้านรอยัลโอมวิลเลจ ซอย 102 เขตเทศบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมชุมชน บริเวณหมู่บ้านรอยัลโอมวิลเลจ ซอย 102 เขตเทศบาลหัวหิน จ.ประจวบค่รีขันธ์ สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน ผวจ.ระดมเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ ศูนย์ ปภ.เขต 4 สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 12" 1 เครื่อง รถเครน 1 คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง 1 คัน เรือท้องแบน 4 ลำ เข้าช่วยเหลือ โดยมีชลประทานเพชรบุรี เครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง ศูนย์การทหารราบส่งรถบรรทุก 6 คัน พร้อมกำลังพลเตรียมช่วยเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย แต่ไม่มีการเคลื่อนย้ายเนื่องจากระดับน้ำเริ่มลดลงตามลำดับ จนถึงเวลาประมาณ 4 นาฬิกา สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย









--------------------------------------------------------------------------------------

เร่งระบายน้ำท่วม เทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ [ ไทยพีบีเอส : 7 ต.ค. 56 ]

จากฝนตกติดต่อกันทั้งวันทั้งคืน ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองหัวหินหลายจุด โดยเฉพาะที่หมู่บ้านหัวนาที่ระดับน้ำยังท่วมสูง ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเทศบาลเมืองหัวหิน ต้องเร่งระบายน้ำอย่างเร่งด่วน

กำลังทหารได้เข้าให้การช่วยเหลือ ประชาชนในหมู่บ้านพงษ์นเรศน์ ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการขนย้ายข้าวของ และแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็น หลังเกิดฝนตกหนักติดต่อกันทั้งวัน ทำให้น้ำท่วมในหลายจุด

โดยจุดที่เกิดน้ำท่วมในตัวเมืองท่องเที่ยวอย่างหัวหิน ได้แก่ บริเวณถนนเพชรเกษม ด้านหน้าตลาดฉัตรไชย ถ.เดชานุชิต หรือตลาดโต้รุ่งหัวหิน มีน้ำท่วมขังผิวการจราจรฝั่งขาเข้าเกือบ 20-50 ซม. ทำให้รถยนต์ที่ใช้เส้นทางนี้ต้องชะลอความเร็วในการขับขี่ บางช่วงที่มีน้ำท่วมสูง จะสัญจรได้เพียง 2 ช่องจราจร

ส่วนที่ ถ.แนบเคหาสน์ บริเวณสี่แยกสมาคมประมง,ถนนดำเนินเกษม ทางลงชายหาดหัวหิน ก็มีน้ำท่วมขังผิวการจราจร เป็นระยะๆเช่นเดียวกัน แต่ยังสามารถใช้การได้ตามปกติ เบื้องต้น คาดว่าหากปริมาณฝนลดลง และไม่มีน้ำทะเลหนุนสูง จะสามารถเร่งระบายน้ำบริเวณตลาดหัวหินได้รวดเร็ว

นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางลงพื้นที่ ซอยหัวหิน 112 หมู่บ้านหัวนา เนื่องจากพบว่า มีน้ำป่าจากเทือกเขาทิศตะวันตก ไหลมาสมทบกับน้ำฝน เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และผิวการจราจร ระดับน้ำสูงประมาณ 20-50 ซม.

นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน ระบุว่า จะต้องเร่งระบายน้ำ จากหมู่บ้านหัวนาออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด ด้วยการยกแท่งปูนกั้นถนน หรือแบริเออร์ ที่ขวางทางน้ำบริเวณเกาะกลางถนนออก เพิ่มการเร่งระบายน้ำลงคลองระบายน้ำสายหลักโดยเร็ว หากสามารถแก้ไขปัญหาในจุดนี้ได้สำเร็จ จะช่วยให้ระดับน้ำในพื้นที่ส่วนอื่น เช่น หมู่บ้านพงศ์นเรศ ในซอยหัวหิน 102 ลดระดับลงด้วยเช่นเดียวกัน


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองหัวหินยังน่าห่วง น้ำบนถนนลดระดับแล้วส่วนในหมู่บ้านยังท่วม [ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : 7 ต.ค. 56 ]

ความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ยังมีความน่าเป็นห่วงอยู่หลายจุด โดยวันนี้ (7 ตุลาคม 2556) ระดับน้ำบนถนนเพชรเกษม ช่วงสะพานต่างระดับหนองแก หน้าซอยหัวหิน 112 น้ำได้ลดระดับลงแล้วเหลือเพียง 20-50 เซนติเมตร รถทุกชนิดสามารถขับผ่านได้ แต่ใช้ความเร็วไม่ได้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 2 เครื่องในจุดนี้ เพื่อเร่งระบายน้ำฝนลงสู่คลองระบายน้ำโครงการพระราชดำริในหลวง ให้ออกสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด ซึ่งมีความน่าเป็นห่วง เพราะระดับน้ำในคลองพระราชดำริ ได้เต็มแล้ว หากมีฝนตกลงมาซ้ำและน้ำทะเลหนุนสูง ขึ้นมา จะทำให้น้ำจำนวนมากไหลย้อนกลับเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนได้

สำหรับพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่ สุดคือ หมู่บ้านพงษ์นเรศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่ม เป็นแอ่งกระทะ ทำให้น้ำจากหลายจุดไหลเข้าเติมอยู่ตลอดเวลา ทำให้เมื่อคืนที่ผ่านมา น้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 100 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ล่าสุดนายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ,นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและเข้าช่วยเหลือประชาชนเป็นการเร่งด่วน โดยได้ประสานขอกำลังพลจากศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ เข้ามาช่วยแจกจ่ายอาหาร ช่วยเหลือประชาชนในการอพยพขนย้ายข้าวของ โดยในช่วงเช้านี้ระดับน้ำในหมู่บ้านลดลงเล็กน้อยเหลือประมาณ50-80เซนติเมตร ชาวบ้านบางส่วนได้กลับเข้าบ้านพัก เพื่อสำรวจทรัพย์สินและเครื่องใช้ในบ้านแล้ว

ส่วนที่หมู่บ้านเขาตะเกียบ ระดับน้ำลดลงเหลือประมาณ 30-50 เซนติเมตร โดยในบ้านพักบางจุดน้ำลดลงแล้ว ชาวบ้านต้องเร่งทำความสะอาดบ้านเรือน เพราะมีดินโคลนไหลเข้าบ้าน และเครื่องใช้เสียหายจากน้ำท่วม โดยในช่วงเช้าวันนี้ ทางเทศบาลเมืองหัวหินได้เร่งแจกอาหารกล่องและน้ำดื่มให้กับประชาชนที่เดือด ร้อนกว่า 500 คน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ส่วนชาวประมงเรือเล็กที่หมู่บ้านตะเกียบ จำนวนมาก ได้จอดเรือหลบคลื่นลมในทะเลอ่าวไทย ที่มีความรุนแรงคลื่นสูง 1-3 เมตร เนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย

--------------------------------------------------------------------------------------

  ข้อมูลอ้างอิง
  • โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย : http://www.disaster.go.th
  • ไทยพีบีเอส : http://www.thaipbs.or.th