บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ "นกเตน" (28 ก.ค. - 4 ส.ค. 54)

แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)
คาดการณ์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554

29/7/2554

30/7/2554

31/7/2554

1/8/2554

2/8/2554

3/8/2554

4/8/2554
mm.


    จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF
โดยคาดการณ์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ผลลัพธ์ที่ได้คือ ช่วงวันที่ 29 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2554 มีกลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยทาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเคลื่อนตัวผ่านไปทางภาคเหนือ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดหนองคาย นครพนม อุดรธานี
สกลนคร เลย ส่วนภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตาก แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่
     โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เมื่อเปรียบเทียบกับภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA  


ภาพเส้นทางพายุ โดย Unisys Weather




ที่มา : UNISYS Weather ( http://weather.unisys.com/hurricane/w_pacific/2011/index.html)

ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงต้นเดือนสิงหาคมบริเวณประเทศไทยประสบกับสภาวะฝนตกหนัก ถึงหนักมากต่อเนื่องกันเป็นบริเวณกว้างจนก่อให้เกิดอุทกภัยครั้งรุนแรงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน” (NOCK-TEN) ที่มีแหล่งกำเนิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลัง แรงในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมและได้ทวีกำลังแรงขึ้นตามลำดับจนกระทั่งเป็น พายุโซนร้อนแล้วเคลื่อนผ่านเกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลาง จากนั้นเคลื่อนตัวทางทิศ ตะวันตกค่อนไปทางเหนือผ่านเกาะไหหลำ และอ่าว ตังเกี๋ยขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 30 กรกฎาคม จากนั้นเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวพร้อมกับอ่อน กำลังเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 31 กรกฎาคม ก่อนเคลื่อน เข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่านในวันเดียวกัน แล้ว อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุม ภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่และแม่ฮ่อนสอนในเวลาต่อมา


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพายุ "นกเตน" โดยกรมอุตุนิยมวิทยา


ภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ

28/7/2554[14GMT]

29/7/2554[11GMT]

30/7/2554[09GMT]

31/7/2554[11GMT]

1/8/2554[08GMT]

2/8/2554[11GMT]

3/8/2554[14GMT]

4/8/2554[11GMT]
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง

จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าช่วงวันที่ 29 ก.ค. 54 - 2 ส.ค. 54 มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ดังกล่าว และหลังจากจากวันที่ 2 ส.ค. 54 กลุ่มเมฆได้สลายตัวลงอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แผนที่อากาศระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

28/7/2554[00UTC]

28/7/2554[12UTC]

29/7/2554[00UTC]

29/7/2554[12UTC]

30/7/2554[00UTC]

30/7/2554[12UTC]

31/7/2554[00UTC]

31/7/2554[12UTC]

1/8/2554[00UTC]

1/8/2554[12UTC]

2/8/2554[00UTC]

2/8/2554[12UTC]

3/8/2554[00UTC]

3/8/2554[12UTC]

4/8/2554[00UTC]

4/8/2554[12UTC]

hPa

หมายเหตุ :
เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง

จากภาพแผนที่อากาศระดับสูง 1.5 ก.ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบว่าพายุนกเตนเริ่มส่งผลกระทบต่อภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. โดยความกดอากาศต่ำเริ่มแผ่เข้าปกคลุมพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปริมาณวันที่ 1 ส.ค. 54 จึงเริ่มลดกำลังลงอย่างต่อเนื่อง โดยค่าความกดอากาศสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 938-940 hPa
ในวันที่ 31 ก.ค. 54 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

28/7/2554[00UTC]

28/7/2554[12UTC]

29/7/2554[00UTC]

29/7/2554[12UTC]

30/7/2554[00UTC]

30/7/2554[12UTC]

31/7/2554[00UTC]

31/7/2554[12UTC]

1/8/2554[00UTC]

1/8/2554[12UTC]

2/8/2554[00UTC]

2/8/2554[12UTC]

3/8/2554[00UTC]

3/8/2554[12UTC]

4/8/2554[00UTC]

4/8/2554[12UTC]

km/hr

หมายเหตุ :
เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง

จากภาพแผนที่ความเร็วลมที่ระดับ 1.5 กิโลเมตร เหนือระดับน้ำทะเล พบว่าอิทธิพลจากพายุนกเต็น ส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลอันดามัน อ่าวไทย ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 29 ก.ค. - 1 ส.ค. 54 โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในวันที่ 31 ก.ค. 54 หลังจากนั้นความเร็วลมได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์เชียงราย รัศมี 240 กิโลเมตร

28/7/2554 23:27GMT

29/7/2554 22:27GMT

30/7/2554 14:27GMT

31/7/2554 02:27GMT

1/8/2554 02:27GMT

2/8/2554 19:27GMT

3/8/2554 07:27GMT

4/8/2554 13:27GMT
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร

28/7/2554 22:25GMT

29/7/2554 09:25GMT

30/7/2554 04:25GMT

31/7/2554 02:25GMT

1/8/2554 05:25GMT

2/8/2554 17:25GMT

3/8/2554 14:25GMT

4/7/2554 06:25GMT
เรดาร์เพชรบูรณ์ รัศมี 240 กิโลเมตร

28/7/2554 22:25GMT

29/7/2554 09:25GMT

30/7/2554 04:25GMT

31/7/2554 02:25GMT

1/8/2554 05:25GMT

2/8/2554 17:25GMT

3/8/2554 14:25GMT

4/7/2554 06:25GMT
เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 240 กิโลเมตร

28/7/2554 22:25GMT

29/7/2554 09:25GMT

30/7/2554 04:25GMT

31/7/2554 02:25GMT

1/8/2554 05:25GMT

2/8/2554 17:25GMT

3/8/2554 14:25GMT

4/7/2554 06:25GMT
dBz               
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์เชียงราย เรดาร์พิษณุโลก เรดาร์เพชรบูรณ์ เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีฝนตกค่อนข้างมากในช่วงวันที่ 30-31 ก.ค. 54

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์เชียงราย เรดาร์พิษณุโลก
เรดาร์เพชรบูรณ์ เรดาร์อุบลราชธานี

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA

28/7/54[00Z]- 29/7/54[00Z]

29/7/54[00Z]- 30/7/54[00Z]

30/7/54[00Z]- 31/7/54[00Z]

31/7/54[00Z]- 1/8/54[00Z]

1/8/54[00Z]- 2/8/54[00Z]

2/8/54[00Z]- 3/8/54[00Z]

3/8/54[00Z]- 4/8/54[00Z]

4/8/54[00Z]-5/8/54[00Z]
mm.


จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 29 ก.ค. 54 และเริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกระจายตัวสู่พื้นที่ภาคเหนือในวันที่ 30 ก.ค. 54 หลังจากนั้นในวันที่ 31 ก.ค. 54 กลุ่มฝนได้เคลื่อนตัวสู่ภาคกลาง รวมถึงด้านตะวันตกของประเทศ และเริ่มสลายตัวลงอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดเพิ่มเติม



ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

         รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
พบว่าช่วงวันที่ 29 ก.ค. - 2 ส.ค. 54 มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือส่งผลให้เกิดน้ำท่วม
ในหลายบริเวณ
โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดหนองคาย นครพนม อุดรธานี สกลนคร
เลย ส่วนภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตาก แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน
และเชียงใหม่ โดยปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่สถานีนครพนม ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม วัดปริมาณฝน
สะสมได้ 143.5 มิลลิเมตร ในวันที่ 30 ก.ค. 54 รายละเอียดเพิ่มเติม ดังตารางด้านล่าง

วันที่ สถานี ตำบล อำเภอ จังหวัด ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
2011-08-03 แม่สะเรียง แม่คง แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน 51.6
2011-08-02 แม่สะเรียง แม่คง แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน 135.5
  นครพนม ไชยบุรี ท่าอุเทน นครพนม 82.4
  อุตรดิตถ์ ขุนฝาง เมืองอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์ 78.7
  เลย (1) หนองบัว ภูเรือ เลย 67.6
  เลย นาแขม เมืองเลย เลย 64.0
  สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย 56.2
  อุดรธานี โพนงาม หนองหาน อุดรธานี 51.1
2011-08-01 นครพนม (1) กุตาไก้ ปลาปาก นครพนม 109.3
  นครพนม ไชยบุรี ท่าอุเทน นครพนม 86.5
  น่าน ป่าแลวหลวง สันติสุข น่าน 71.4
  คลองใหญ่ ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด 60.9
  ทองผาภูมิ ปีล็อก ทองผาภูมิ กาญจนบุรี 56.0
  น่าน (1) สะเนียน เมืองน่าน น่าน 53.2
  จันทบุรี ตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชฌกู จันทบุรี 52.7
2011-07-31 แพร่ บ้านหนุน สอง แพร่ 115.0
  แม่ฮ่องสอน ห้วยผา เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน 99.9
  ทองผาภูมิ ปีล็อก ทองผาภูมิ กาญจนบุรี 87.3
  ลำปาง (1) บ้านเสด็จ เมืองลำปาง ลำปาง 86.8
  อุตรดิตถ์ ขุนฝาง เมืองอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์ 86.2
  ลำพูน ป่าพลู บ้านโฮ่ง ลำพูน 81.4
  พะเยา จุน จุน พะเยา 79.9
  เชียงใหม่ บ่อแก้ว สะเมิง เชียงใหม่ 78.1
  น่าน ป่าแลวหลวง สันติสุข น่าน 60.5
  คลองใหญ่ ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด 57.2
  พลิ้ว คมบาง เมืองจันทบุรี จันทบุรี 56.6
  จันทบุรี ตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชฌกู จันทบุรี 55.2
  เลย นาแขม เมืองเลย เลย 52.2
2011-07-30 นครพนม ไชยบุรี ท่าอุเทน นครพนม 143.5
  อุดรธานี โพนงาม หนองหาน อุดรธานี 139.7
  นครพนม (1) กุตาไก้ ปลาปาก นครพนม 118.8
  สกลนคร ศรีวิชัย วานรนิวาส สกลนคร 103.9
  สกลนคร (1) นาใน พรรณานิคม สกลนคร 88.4
  แพร่ บ้านหนุน สอง แพร่ 83.1
  น่าน ป่าแลวหลวง สันติสุข น่าน 62.8
2011-07-29 นครพนม ไชยบุรี ท่าอุเทน นครพนม 93.3
2011-07-28 นครราชสีมา พลสงคราม โนนสูง นครราชสีมา 116.3
  โชคชัย (2) โคกกรวด เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา 53.5
2011-07-27 คลองใหญ่ ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด 104.7
  บุรีรัมย์ เสม็ด เมืองบุรีรัมย์ บุรีรัมย์ 53.2

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร



ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก

            รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก พบว่าช่วงวันที่ 30-31 ส.ค. 54
มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายหลายเวณ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดหนองคาย นครพนม อุดรธานี สกลนคร เลย ส่วนภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตาก แพร่ น่าน
ลำพูน ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ โดยปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่สถานีหนองนาง
ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย วัดปริมาณฝนสะสมได้ 480.8 มิลลิเมตร ในวันที่ 30 ก.ค. 54 รายละเอียดเพิ่มเติม ดังตารางด้านล่าง

วันที่ ชื่อสถานี ตำบล อำเภอ จังหวัด ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
5/8/2011 บ้านผึ้ง บ้านผึ้ง เมืองนครพนม นครพนม 78.8

บ้าน คุณชูชีพ คงป้อม วังหิน วังโป่ง เพชรบูรณ์ 52.8
3/8/2011 ฝายมูล ป่าคา ท่าวังผา น่าน 63.2

ตลาดแม่สะเรียง แม่สะเรียง แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน 55.4

โรงเรียนบ้านแม่ตื่น แม่ตื่น อมก๋อย เชียงใหม่ 51.0
2/8/2011 บ้านบัว สว่าง พรรณานิคม สกลนคร 127.2

ตลาดแม่สะเรียง แม่สะเรียง แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน 83.6

อ่างฯบ่อสะอือ บ้านยา หนองหาน อุดรธานี 76.0

วัดบ้านห้วยโป่ง ห้วยมุ่น น้ำปาด อุตรดิตถ์ 60.6

อบต.น้ำไผ่ น้ำไผ่ น้ำปาด อุตรดิตถ์ 57.8

หมู่บ้านชัยพัฒนา บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 55.2

อบต.โป่งแยง โป่งแยง แม่ริม เชียงใหม่ 52.4

บ้านเพีย ท่าสะอาด นาด้วง เลย 51.8
1/8/2011 ที่ว่าการ อ.สวี สวี สวี ชุมพร 339.8

โนนแก้ว เหล่าทอง โซ่พิสัย หนองคาย 74.4

อ่างเก็บน้ำหนองสำโรง หมูม่น เมืองอุดรธานี อุดรธานี 63.4

พรเจริญ ป่าแฝก พรเจริญ หนองคาย 58.0

หนองบอน หนองบอน บ่อไร่ ตราด 57.8

บ้านพุถ่อง ลิ้นถิ่น ทองผาภูมิ กาญจนบุรี 52.0

อ่างฯห้วยซำ โซ่ โซ่พิสัย หนองคาย 52.0

อ่างฯห้วยค้อ นายูง ศรีธาตุ อุดรธานี 51.8

หาดทับทิม ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด 51.0
31/7/2011 บ้านน้ำต๊ะ น้ำหมัน ท่าปลา อุตรดิตถ์ 170.4

วัดจำปุย บ้านดง แม่เมาะ ลำปาง 168.6

สังคม สังคม สังคม หนองคาย 160.4

หมู่บ้านชัยพัฒนา บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 148.8

บ้านผู้ใหญ่ จำป่าหวาย เมืองพะเยา พะเยา 142.8

อบต.ทุ่งน้าว ทุ่งน้าว สอง แพร่ 139.4

อบต.ปิงหลวง ปิงหลวง นาหมื่น น่าน 125.4

วัดอมรธรรม นาพูน วังชิ้น แพร่ 123.4

เมืองพบพระ พบพระ พบพระ ตาก 121.6

ดอยสะเก็ด เชิงดอย ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ 121.4

วัดพระธาตุดอยเล็ง ช่อแฮ เมืองแพร่ แพร่ 121.4

หนองม่วงไข่ หนองม่วงไข่ กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ แพร่ 116.0

วัดแม่น้ำแขม ป่าแป๋ แม่แตง เชียงใหม่ 114.2

บ้านห้วยมุ่น ห้วยมุ่น น้ำปาด อุตรดิตถ์ 112.4

วัดพงษ์สุนัน ในเวียง เมืองแพร่ แพร่ 108.4

บ้านทรายทอง หนองกวั่ง บ้านม่วง สกลนคร 108.2

อบต.จางเหนือ จางเหนือ แม่เมาะ ลำปาง 107.2

อบต.บ้านจันทร์ บ้านจันทร์ แม่แจ่ม เชียงใหม่ 99.4

บ้านธิ บ้านธิ บ้านธิ ลำพูน 98.8

อบต.ศรีษะเกษ ศรีษะเกษ นาน้อย น่าน 97.6

วัดบ้านห้วยโป่ง ห้วยมุ่น น้ำปาด อุตรดิตถ์ 97.4

รร.บ้านนาแฝก น้ำกุ่ม นครไทย พิษณุโลก 94.4

ฝายส่งน้ำบ้านนาไพร ฟากท่า ฟากท่า อุตรดิตถ์ 93.8

นาหมื่น บ่อแก้ว นาหมื่น น่าน 92.0

อบต.น้ำไผ่ น้ำไผ่ น้ำปาด อุตรดิตถ์ 91.6

ขุนยวม ขุนยวม ขุนยวม แม่ฮ่องสอน 89.8

ดอยกองมู ปางหมู เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน 89.0

ร.ร.ตชด.ยอดโพธิ์ทอง บ่อเบี้ย บ้านโคก อุตรดิตถ์ 85.2

อบต.อีปุ่ม อิปุ่ม ด่านซ้าย เลย 84.4

นาน้อย ศรีษะเกษ นาน้อย น่าน 83.8

สายตรวจผาแดง หนองผึ้ง สารภี เชียงใหม่ 83.0

อบต.ยั้งเมิน ยั้งเมิน สะเมิง เชียงใหม่ 79.8

สันกำแพง สันกำแพง สันกำแพง เชียงใหม่ 79.4

ตรอน บ้านแก่ง ตรอน อุตรดิตถ์ 77.2

วังเหนือ วังเหนือ วังเหนือ ลำปาง 75.8

อบต.แม่สาคร แม่สาคร เวียงสา น่าน 72.2

หนองแหนง หนองแหน พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา 70.2

ทองแสนขัน ป่าคาย ทองแสนขัน อุตรดิตถ์ 68.0

หลวงใต้ นาแก งาว ลำปาง 67.6

ดอนชัย ทาสบเส้า แม่ทา ลำพูน 65.8

เหมืองแม่เมาะ แม่เมาะ แม่เมาะ ลำปาง 64.8

พิชัย ในเมือง พิชัย อุตรดิตถ์ 64.2

บ้านพุถ่อง ลิ้นถิ่น ทองผาภูมิ กาญจนบุรี 64.2

อ่ายนาไลย อ่ายนาไลย เวียงสา น่าน 63.2

บ้านขัวมุง สันทราย สารภี เชียงใหม่ 62.4

ภูผาสาด ลาดค่าง ภูเรือ เลย 62.0

อบต.ปง ปง ปง พะเยา 60.4

วัดศรัทธาธรรม โป่ง ด่านซ้าย เลย 59.4

หนองนาง หนองนาง ท่าบ่อ หนองคาย 59.4

โรงเรียนบ้านปางน้ำถุ บ้านจันทร์ แม่แจ่ม เชียงใหม่ 58.2

การเคหะ เพชรบูรณ์ ในเมือง เมืองเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ 55.2

อนามัยเมืองคอง เมืองคอง เชียงดาว เชียงใหม่ 52.8

อบต.บ่อเกลือใต้ บ่อเกลือใต้ บ่อเกลือ น่าน 51.6

อบต.ขุนควร ควร ปง พะเยา 51.4
30/7/2011 หนองนาง หนองนาง ท่าบ่อ หนองคาย 480.8

บ้านปากอูน ศรีสงคราม ศรีสงคราม นครพนม 186.6

พรเจริญ ป่าแฝก พรเจริญ หนองคาย 136.6

โนนแก้ว เหล่าทอง โซ่พิสัย หนองคาย 121.4

อ่างฯบ่อสะอือ บ้านยา หนองหาน อุดรธานี 117.6

อ่างฯห้วยซำ โซ่ โซ่พิสัย หนองคาย 116.6

บ้านทรายทอง หนองกวั่ง บ้านม่วง สกลนคร 108.0

พังโคน ม่วงไข่ พังโคน สกลนคร 105.0

บ้านบัว สว่าง พรรณานิคม สกลนคร 104.0

อ่างฯห้วยไร่ ม่วง บ้านม่วง สกลนคร 103.6

บ้านผึ้ง บ้านผึ้ง เมืองนครพนม นครพนม 96.8

อบต.หนองแดง หนองแดง แม่จริม น่าน 95.8

สังคม สังคม สังคม หนองคาย 88.8

อบต.แม่สาคร แม่สาคร เวียงสา น่าน 88.2

อบต.น้ำมวบ น้ำมวบ เวียงสา น่าน 85.8

หนองม่วงไข่ หนองม่วงไข่ กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ แพร่ 82.0

อ่างฯห้วยค้อ นายูง ศรีธาตุ อุดรธานี 71.2

เขาสก คลองศก พนม สุราษฎร์ธานี 68.8

ร.ร.ตชด.ยอดโพธิ์ทอง บ่อเบี้ย บ้านโคก อุตรดิตถ์ 67.4

อบต.อีปุ่ม อิปุ่ม ด่านซ้าย เลย 64.8

วัดพงษ์สุนัน ในเวียง เมืองแพร่ แพร่ 64.0

อ่างฯห้วยกระเฌอ กุดบาก กุดบาก สกลนคร 59.8

อบต.ยาบหัวนา ยาบหัวนา เวียงสา น่าน 56.4

ฝายกุมภวาปี เวียงคำ กุมภวาปี อุดรธานี 55.8

สายตรวจผาแดง หนองผึ้ง สารภี เชียงใหม่ 52.0

วัดพระธาตุดอยเล็ง ช่อแฮ เมืองแพร่ แพร่ 51.2

อบต.ศรีษะเกษ ศรีษะเกษ นาน้อย น่าน 51.0
29/7/2011 ร.ร.นวมินทรเบญจราชาลัย แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 95.6

บ้านปากอูน ศรีสงคราม ศรีสงคราม นครพนม 92.8

บ้านพระรัก พะโต๊ะ พะโต๊ะ ชุมพร 72.8

โคกสี โคกสี สว่างแดนดิน สกลนคร 61.2
28/7/2011 บ้านบางหิน บางหิน กะเปอร์ ระนอง 88.6

หาดทับทิม ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด 67.4

อบต.น้ำไผ่ น้ำไผ่ น้ำปาด อุตรดิตถ์ 53.2

บ้านบางขวัญ บางขวัญ เมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา 50.6

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร


รายงานการเตือนภัยผ่าน SMS จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมของสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก

วันที่เตือนภัย เวลาเตือนภัย ช่วงเวลาฝนสะสม สถานที่ ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) ระดับการเตือนภัย
03/08/11 09:00:00 ฝนวานนี้ ต.ขุนฝาง อ.เมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ 78.7 เฝ้าระวังสูงสุด
  09:00:00 ฝนวานนี้ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 135.5 วิกฤต
02/08/11 05:00:00 ฝน02/07-03/05น. ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 112.2 วิกฤต
  04:00:00 ฝน02/07-03/04น. ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 94.6 เฝ้าระวังสูงสุด
01/08/11 15:00:00 ฝน07-15น. ต.สวี อ.สวี จ.ชุมพร 339.8 วิกฤต
31/07/11 23:00:00 ฝน07-23น. ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน 80.2 วิกฤต
  22:00:00 ฝน07-21น. ต.ฟากท่า อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ 80.8 วิกฤต
  22:00:00 ฝน07-22น. ต.ช่อแฮ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 110.4 วิกฤต
  22:00:00 ฝน07-22น. ต.บ่อเบี้ย อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ 80.2 วิกฤต
22:00:00 ฝน07-22น. ต.นาพูน อ.วังชิ้น จ.แพร่ 85.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  21:00:00 ฝน07-21น. ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น จ.น่าน 80.6 วิกฤต
  20:00:00 ฝน07-20น. ต.บ่อเบี้ย อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ 67 เฝ้าระวังสูงสุด
  20:00:00 ฝน07-20น. ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน 80.4 วิกฤต
  19:00:00 ฝน07-19น. ต.ทุ่งน้าว อ.สอง จ.แพร่ 110.4 วิกฤต
  19:00:00 ฝน07-19น. ต.จำป่าหวาย อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา 85.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  19:00:00 ฝน07-19น. ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ 71.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  19:00:00 ฝน07-19น. ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 85.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  18:00:00 ฝน07-18น. ต.น้ำหมัน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 121.2 วิกฤต
  18:00:00 ฝน07-18น. ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น จ.น่าน 65.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  18:00:00 ฝน07-18น. ต.ฟากท่า อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ 65.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.ปิงหลวง อ.นาหมื่น จ.น่าน 86.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.น้ำกุ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 82 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 116.8 วิกฤต
  17:00:00 ฝน15-16น. ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน 35.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.ช่อแฮ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 105 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.ทุ่งน้าว อ.สอง จ.แพร่ 105.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 80.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 83.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.อิปุ่ม อ.ด่านซ้าย จ.เลย 73.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน 70.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.น้ำหมัน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 104.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน07-17น. ต.ปิงหลวง อ.นาหมื่น จ.น่าน 86.8 วิกฤต
  16:00:00 ฝน07-16น. ต.หนองกวั่ง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร 108 เฝ้าระวังสูงสุด
  15:00:00 ฝน07-15น. ต.หนองม่วงไข่ อ.กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ จ.แพร่ 86.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  14:00:00 ฝน07-13น. ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน 65.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  14:00:00 ฝน07-13น. ต.สังคม อ.สังคม จ.หนองคาย 111 วิกฤต
  12:00:00 ฝน07-12น. ต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 81.2 วิกฤต
  12:00:00 ฝน07-12น. ต.สังคม อ.สังคม จ.หนองคาย 91.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  11:00:00 ฝน07-11น. ต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 65.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  09:00:00 ฝน08-09น. ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน 25.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  08:00:00 ฝนวานนี้ ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม 118.8 วิกฤต
  08:00:00 ฝนวานนี้ ต.ศรีวิชัย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร 103.9 เฝ้าระวังสูงสุด
  08:00:00 ฝนวานนี้ ต.โพนงาม อ.หนองหาน จ.อุดรธานี 139.7 วิกฤต
  08:00:00 ฝนวานนี้ ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม 143.5 วิกฤต
  07:00:00 ฝนวานนี้ ต.ขุนยวม อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 89.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  06:00:00 ฝน31/07-01/06น. ต.บ้านค่า อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 96.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  06:00:00 ฝน31/07-01/06น. ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 120.4 วิกฤต
  06:00:00 ฝน31/07-01/06น. ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 105 เฝ้าระวังสูงสุด
  06:00:00 ฝน31/07-01/06น. ต.ปางหมู อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน 86 เฝ้าระวังสูงสุด
  04:00:00 ฝน31/07-01/03น. ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน 85.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  04:00:00 ฝน31/07-01/04น. ต.พบพระ อ.พบพระ จ.ตาก 103.8 วิกฤต
  03:00:00 ฝน31/07-01/03น. ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 86.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  03:00:00 ฝน31/07-01/03น. ต.พบพระ อ.พบพระ จ.ตาก 85.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  02:00:00 ฝน31/07-01/02น. ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 124.2 วิกฤต
  02:00:00 ฝน00-01น. ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 37.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  02:00:00 ฝน31/07-01/02น. ต.นาพูน อ.วังชิ้น จ.แพร่ 111 วิกฤต
  01:00:00 ฝน31/07-01/01น. ต.หนองม่วงไข่ อ.กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ จ.แพร่ 110.4 วิกฤต
  01:00:00 ฝน31/07-01/01น. ต.จางเหนือ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 85.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  01:00:00 ฝน31/07-01/00น. ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 99 เฝ้าระวังสูงสุด
  01:00:00 ฝน31/07-01/00น. ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน 70.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  01:00:00 ฝน31/07-01/00น. ต.จำป่าหวาย อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา 115.8 วิกฤต
30/07/11 23:00:00 ฝน21-22น. ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย 58.2 วิกฤต
  23:00:00 ฝน07-23น. ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ.น่าน 67.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน07-22น. ต.ป่าแฝก อ.พรเจริญ จ.หนองคาย 91.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน21-22น. ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย 43.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน21-22น. ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ.น่าน 44.2 วิกฤต
  22:00:00 ฝน21-22น. ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ.น่าน 25.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  22:00:00 ฝน07-22น. ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย 112.6 วิกฤต
  22:00:00 ฝน07-21น. ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย 100.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  21:00:00 NOCK-TEN-11 Tropical Storm is hitting Thailand วิกฤต
  21:00:00 ฝน07-21น. ต.บ้านยา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี 90.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  13:00:00 ฝน07-12น. ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม 110.6 วิกฤต
  11:00:00 ฝน07-10น. ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม 90.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  08:00:00 NOCK-TEN-11 Tropical Storm is 216 km. Toward Thailand เฝ้าระวังสูงสุด
  08:00:00 ฝนวานนี้ ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม 93.3 เฝ้าระวังสูงสุด
  07:00:00 ฝน30/07-31/06น. ต.สังคม อ.สังคม จ.หนองคาย 90.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  06:00:00 ฝน30/07-31/06น. ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน 78.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  06:00:00 ฝน30/07-31/06น. ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน 80.2 วิกฤต
  06:00:00 ฝน30/07-31/06น. ต.บ่อเบี้ย อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ 66.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  05:00:00 ฝน30/07-31/05น. ต.เหล่าทอง อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย 110.6 วิกฤต
  05:00:00 ฝน30/07-31/05น. ต.ม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร 90.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  05:00:00 ฝน30/07-31/05น. ต.โซ่ อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย 111 วิกฤต
  04:00:00 ฝน03-04น. ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 36 วิกฤต
  04:00:00 ฝน03-04น. ต.หนองม่วงไข่ อ.กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ จ.แพร่ 40.8 วิกฤต
  04:00:00 ฝน30/07-31/03น. ต.เหล่าทอง อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย 90.8 เฝ้าระวังสูงสุด
  04:00:00 ฝน30/07-31/04น. ต.โซ่ อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย 90.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  03:00:00 ฝน30/07-31/03น. ต.คลองศก อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี 65.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  02:00:00 ฝน30/07-31/02น. ต.หนองกวั่ง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร 93.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  02:00:00 ฝน30/07-31/02น. ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน 77.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  02:00:00 ฝน30/07-31/01น. ต.บ้านยา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี 110.6 วิกฤต
  02:00:00 ฝน01-02น. ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน 30.4 วิกฤต
  02:00:00 ฝน30/07-31/02น. ต.ม่วงไข่ อ.พังโคน จ.สกลนคร 91.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  02:00:00 ฝน30/07-31/02น. ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน 82.4 วิกฤต
  01:00:00 ฝน30/07-31/00น. ต.ป่าแฝก อ.พรเจริญ จ.หนองคาย 110.6 วิกฤต
  01:00:00 ฝน30/07-31/00น. ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 95.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  01:00:00 ฝน30/07-31/00น. ต.บ้านผึ้ง อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม 91.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  01:00:00 ฝน00-01น. ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน 26.4 เฝ้าระวังสูงสุด
  01:00:00 ฝน30/07-31/00น. ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ.น่าน 85.6 วิกฤต
29/07/11 18:00:00 ฝน07-18น. ต.แขวงสามวาตะวันตก อ.เขตคลองสามวา กทม. 95.2 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน15-16น. ต.แขวงสามวาตะวันตก อ.เขตคลองสามวา กทม. 37.6 เฝ้าระวังสูงสุด
  17:00:00 ฝน16-17น. ต.แขวงสามวาตะวันตก อ.เขตคลองสามวา กทม. 40.4 วิกฤต
  15:00:00 ฝน14-15น. ต.ถืมตอง อ.เมืองน่าน จ.น่าน 30.8 วิกฤต
  08:00:00 ฝนวานนี้ ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา 116.3 วิกฤต
  06:00:00 ฝน29/07-30/06น. ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม 90.8 เฝ้าระวังสูงสุด
28/07/11 16:00:00 ฝน15-16น. ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 43.6 วิกฤต
  08:00:00 ฝนวานนี้ ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 104.7 เฝ้าระวังสูงสุด
  01:00:00 ฝน00-01น. ต.บางขวัญ อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา 36 เฝ้าระวังสูงสุด
  01:00:00 ฝน28/07-29/00น. ต.บางหิน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง 75.6 เฝ้าระวังสูงสุด



ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต


ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนภูมิพล
ไหลลงสูงสุด 212.93 ล้าน ลบ.ม.(5 ส.ค.54)
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปีเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนสิริกิติ์
ไหลลงสูงสุด 167.33 ล้าน ลบ.ม.(2 ส.ค.54)
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปีเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแม่งัด
ไหลลงสูงสุด 18.24 ล้าน ลบ.ม.(3 ส.ค.54)
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปีเขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแม่กวง
ไหลลงสูงสุด 12.67 ล้าน ลบ.ม.(3 ส.ค.54)
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปีเขื่อนแม่กวง

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแควน้อย
ไหลลงสูงสุด 37.02 ล้าน ลบ.ม.(4 ส.ค.54)
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปีเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนกิ่วลม
ไหลลงสูงสุด 40.01 ล้าน ลบ.ม.(2 ส.ค.54)
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปีเขื่อนกิ่วลม

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนกิ่วคอหมา
ไหลลงสูงสุด 20.41 ล้าน ลบ.ม.(2 ส.ค.54)
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปีเขื่อนกิ่วคอหมา

          จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ และปริมาณน้ำกักเก็บของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 7 อ่าง ในพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่งัด เขื่อนแม่กวง เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนแควน้อย พบว่าช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเ็ก็บน้ำ เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลจากการเกิดฝนตกหนักในพื้นที่เหนือเขื่อน

          และหากพิจารณาข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปี พบว่าแต่ละอ่างฯ ในพื้นที่ภาคเหนือมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมปี 2554 มีปริมาณมากที่สุดตั้งแต่มีการสร้างอ่างฯ (ยกเว้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัด)
         สำหรับอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่มีปริมาณค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มขึ้นได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน ที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 13.23 ล้่านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 31 ก.ค. 54 และอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวง ที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 7.24 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 3 ส.ค. 54

ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่


ระดับน้ำตรวจวัด ณ เวลา 6.00 น. จากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน

     จากการตรวจวัดระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำท่า กรมชลประทาน เวลา 6.00 น. ช่วงวันที่ 28 ก.ค. - 4 ส.ค. 54 พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งในหลายจุด โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำยม
รายละเอียดดังตาราง

แม่น้ำ
สถานีสำรวจปริมาณน้ำ
ระดับตลิ่ง
(ม.)
ระดับน้ำ(ม.)
2011-07-28
2011-07-29
2011-07-30
2011-07-31
2011-08-01
2011-08-02
2011-08-03
2011-08-04
น้ำกวง P.5 สะพานท่าสิงห์พิทักษ์ อ.เมือง จ.ลำพูน
5.00
2.97
2.90
2.90
2.83
3.10
5.10
5.70
6.18
ป่าสัก S.42 บ้านบ่อวัง อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
10.20
10.23
10.34
10.22
9.85
9.27
8.99
8.92
9.43
ยม Y.16 บ้านบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
7.15
8.02
8.04
8.04
8.05
8.00
7.99
8.20
8.30
ยม Y.17 บ้านสามง่าม อ.สามง่าม จ.พิจิตร
5.56
5.15
5.16
5.17
5.17
5.20
5.29
5.80
5.90
ยม Y.1C ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง อ.เมือง จ.แพร่
8.20
1.95
1.95
2.08
2.05
9.18
10.06
10.40
9.32
ยม Y.20 บ้านห้วยสัก อ.สอง จ.แพร่
8.10
2.63
3.20
2.73
2.53
8.33
7.55
6.77
5.05
ยม Y.33 บ้านคลองตาล อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย
9.56
6.20
5.62
4.69
4.34
4.85
11.10
11.03
10.95
ยม Y.3A บ้านวังไม้ขอน อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
10.15
4.25
3.35
2.61
2.74
3.13
10.04
10.83
10.79
วัง W.4A บ้านวังหมัน อ.สามเงา จ.ตาก
6.17
2.37
2.73
2.48
1.97
1.90
2.27
5.68
6.35
ปิง P.81 บ้านโป่ง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
5.80
2.00
1.60
1.50
1.40
4.40
6.57
6.74
6.50


ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA

 

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกภาพวันที่ 5 สิงหาคม 2554 เวลา 18.29 น.
บริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก แพร่ แม่ฮ่องสอน
ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และอุตรดิตถ์
จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอแม่สรวย และเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอพร้าว ดอยสะเก็ด แม่อาย แม่ริมสันทราย สันกำแพง สันป่าตอง แม่แตง หางดง ฝาง ดอยหล่อ สารภี จอมทอง ดอยเต่า เชียงดาว ไชยปราการ แม่ออน แม่วาง และเมืองเชียงใหม่

อ่านรายงานเพิ่มเติม

 

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 6 สิงหาคม 2554 เวลา 06.07 น.
บริเวณบางส่วนของจังหวัดน่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำปาง สุโขทัย และอุตรดิตถ์
จังหวัดน่าน มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเวียงสา ภูเพียง ท่าวังผา ปัว เมืองน่าน บ้านหลวง สันติสุข แม่จริม นาน้อย และเชียงกลาง ตามลำดับ
จังหวัดพะเยาพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอปง และเชียงม่วน
จังหวัดพิจิตร พื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอบางมูลนาก เมืองพิจิตร สามง่าม ตะพานหิน โพธิ์ประทับช้าง โพทะเล สากเหล็ก วชิรบารมี และวังทรายพูน

อ่านรายงานเพิ่มเติม

 

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 เวลา 18.27 น.
บริเวณจังหวัดพิษณุโลก และสุโขทัย
จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอพรหมพิราม บางระกำ
เมืองพิษณุโลก และบางกระทุ่ม จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่
อำเภอเมืองสุโขทัย กงไกรลาศ คีรีมาศ ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง สวรรคโลก ทุ่งเสลี่ยม และ
ศรีนคร

อ่านรายงานเพิ่มเติม



ข้อมูลด้านความเสียหาย

สรุปสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากพายุโซนร้อน “นกเตน” (NOCK - TEN)
และร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 25 สิงหาคม 2554)

(ข้อมูล ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2554)

พื้นที่ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 30 จังหวัด 259 อำเภอ 1,772 ตำบล 14,856 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ สกลนคร เลย เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดชัยนาท ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,041,639 ครัวเรือน 3,578,168 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 19 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 4,566 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 2,235,626 ไร่ ถนน 5,857 สาย ท่อระบายน้ำ 707 แห่ง ฝาย 664 แห่ง ทำนบ 123 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 466 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 24,274 บ่อ ปศุสัตว์ 164,253 ตัว มีผู้เสียชีวิต 46 ราย (เสียชีวิต 1 ราย ที่ จ.อุดรธานี สกลนคร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์, เสียชีวิต 2 ราย ที่ จ.เชียงใหม่ ตาก พิษณุโลก นครพนม ร้อยเอ็ด, เสียชีวิต 4 ราย ที่ จ.ปราจีนบุรี, เสียชีวิต  6 ราย ที่ จ.สุโขทัย, เสียชีวิต 7 ราย ที่ จ.แม่ฮ่องสอน พิจิตร, เสียชีวิต 8 ราย ที่ จ.แพร่) สูญหาย 1 คน (จ.แม่ฮ่องสอน สาเหตุจากดินโคลนถล่ม)

จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู จำนวน 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น 10 จังหวัด 49 อำเภอ 348 ตำบล 2,104 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 156,240 ครัวเรือน 494,103 คน ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท อุบลราชธานี และจังหวัดปราจีนบุรี

อ่านรายงานเพิ่มเติม

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาไทย
http://www.disaster.go.th/

     

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
แม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าขั้นวิกฤตชาวพิจิตรโวยจนท.รัฐหายหัวหมด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 ส.ค. 54 ]
พิจิตร-สถานการณ์น้ำท่วมใน พื้นที่ลุ่มน้ำยมยังวิกฤต โดยเฉพาะในเขตพิจิตรที่น้ำน่านลดแต่น้ำยมยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดพระสงฆ์และชาวบ้านอ.สามง่าม ช่วยกันรื้อสะพานแขวนออกก่อนจะพังเสียหาย พร้อมโวยเจ้าหน้าที่รัฐในทุกหน่วยงานไร้การเหลียวแลเหตุเพิ่งกลับจากท่อง เที่ยวยังตั้งหลักไม่ติด
       
       วันนี้ ( 10 ส.ค. 2554 ) นายสัลเลข คำใจ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวจังหวัดพิจิตรในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมยังคงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ที่อยู่อาศัยและนาข้าวในที่ลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้ระดับน้ำในแม่น้ำน่านลดลง 2 ซม. ส่วนแม่น้ำยมระดับน้ำได้สูงกว่าจุดวิกฤต 59 ซม.
       
       จึงส่งผลให้น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก พัดพาเอาวัชพืช กิ่งไม้ และขอนไม้มาติดอัดแน่นที่สะพานแขวนที่ชาวบ้านและพระภิกษุสงฆ์ หมู่ 2 และ หมู่ 7 บ้านรังนก อ.สามง่าม ใช้ในการข้ามสัญจรไปมา
       
       ดังนั้น ชาวบ้านและพระภิกษุสงฆ์จึงเกรงว่าสะพานแขวนมูลค่าหลายล้านบาทจะขาดได้รับ ความเสียหาย จึงรวมตัวกันมาช่วยกันรื้อสะพานออกจึงส่งผลให้ทั้ง 2 หมู่บ้านถ้าจะไปมาหาสู่กันต้องใช้เรือพายหรือเรือหางยาวในการคมนาคมเท่านั้น
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำตาย 2 ราย คือ นายศรี หอมฉุน อายุ 60 ปี เป็นผู้สูงอายุอยู่ที่หมู่ 2 ต.รังนก อ.สามง่าม และ นายชูชีพ อำพา อายุ 50 ปี เป็นชาวบ้านหมู่ 7 ต.วังจิก อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร ซึ่งขณะนี้กำลังสอบสวนถึงสาเหตุการตาย โดยถ้าพบว่าเป็นการเสียชีวิตจากอุทกภัยน้ำท่วมก็จะได้หาทางเยียวยาตาม ระเบียบราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นกรณีประมาทหรือมึนเมาสุราจนตกน้ำตายก็จะไม่สามารถขอรับการช่วย เหลือได้
       
       สำหรับจังหวัดพิจิตรขณะนี้ได้ สำรวจความเสียหายเบื้องต้น มีความเสียหายเพิ่มขึ้นรวม 7 อำเภอ 42 ตำบล 204 หมู่บ้าน ประชาชนเดือดร้อน 6,324 ครอบครัว พื้นที่นาข้าว 90,896 ไร่ พืชสวน 20 ไร่ ถนน 10 สาย จึงส่งผลให้ชาวบ้านเดือดร้อนและเรียกร้องขอความช่วยเหลือไปตามๆกัน เพราะเท่าที่ผ่านมายังไม่มีการลงพื้นที่อย่างจริงจังของหัวหน้าส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้นำท้องถิ่นก็อ้างว่าไม่มีงบประมาณต้องรอจังหวัด ส่วนระดับจังหวัดก็อ้างว่าสั่งการให้ท้องถิ่นรวมถึงนายอำเภอใช้งบฉุกเฉิน อำเภอละ 1 ล้านบาทช่วยชาวบ้านได้ แต่เอาเข้าจริงกลับมองไม่เห็นการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านแห่กันมาร้องเรียนกับสื่อมวลชนในสารพัดปัญหา
       
       นั่นอาจเป็นเพราะเมื่อช่วงวัน ที่ 5 - 7 สิงหาคม 2554 การช่วยเหลือชาวบ้านต้องสะดุดหยุดลงเพราะหัวหน้าส่วนราชการบางหน่วยงานและ ผู้บริหารระดับจังหวัดรวมถึงผู้นำท้องถิ่นเพิ่งไปท่องเที่ยวจังหวัดระยอง เมืองชายทะเลและกลับมาตั้งหลักกว่าจะช่วยชาวบ้านเอาเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 54 และกว่าจะลงมือได้ จึงทำให้เสียงร้องของชาวบ้านพิจิตรที่มีความทุกข์ร้องระงมผ่านสื่อมวลชนจน เป็นข่าวเศร้าใจดังกล่าว



--------------------------------------------------------------------------------------
อุตรดิตถ์ ยังวิกฤต!หลังน้ำไหลเข้าท่วม อ.พิชัย [ ไทยรัฐ : 10 ส.ค. 54 ]
สถานการณ์น้ำท่วมจากผลพวงของพายุ "นกเตน" ที่ จ.อุตรดิตถ์ยังน่าเป็นห่วง เมื่อน้ำจากแม่น้ำน่านได้ไหลทะลักท่วมพื้นที่นา ในอ.พิชัย เสียหายไปกว่า 4 หมื่นไร่ ชาวนาโวยราชการช่วยช้า...

เมื่อ วันที่ 10 ส.ค.54 เวลา 10.00 น. นายมงคล เดื่องคำ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ พร้อมด้วยเกษตรตำบลและแกนนำชาวบ้าน เร่งสำรวจที่นาที่ได้รับความเสียหายหลังจากเกิดน้ำท่วมนาที่ข้าวกำลังออกรวง ใกล้เก็บเกี่ยวหมู่ 3 , 4 ,7 ,8 ,9 และหมู่ 10 ตำบลท่าเฟืองขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว รวมพื้นที่กว่า 40,000 ไร่ นี้เป็นการสำรวจในเบื้องต้น

รองนายก อบต.ท่าเฟือง อ.พิชัย กล่าวว่า ชาว ต.ท่ามะเฟือง ไม่ได้ตั้งตัวไม่ทราบข่าวมาก่อนว่าน้ำจะทะลักเข้าท่วมนาข้าว เพราะที่ผ่านมาแม้น้ำจะท่วมที่อื่นๆ มากมายแค่ไหนที่ตำบลท่ามะเฟืองไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าว ปีนี้มีโครงการผันน้ำยมลงสู่แม่น้ำน่าน ผ่านคลองน้ำไหล เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหนักที่จ.แพร่ และ จ.สุโขทัย ด้วยระดับน้ำกว่า 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ น้ำได้ทะลักเข้าท่วมที่นาชาวบ้าน 6 หมู่บ้านตำบลท่ามะเฟืองกว่า 40,000 ไร่และกำลังเริ่มเน่าเสียหาย ทั้งที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของ จ.อุตรดิตถ์ซึ่งน้ำดังกล่าวจะไหลมาจาก ตไร่อ้อยและ ต.คอรุม กำลังไหลสู่หมู่ 6 และล่าสุดน้ำได้ทะลักเข้าท่วมถนนเข้าหมู่ 10 บ้านทุ่งสงวน ต.ท่ามะเฟือง ระดับสูงกว่า 2 เมตร ชาวบ้าน 500 หลังคาเรือนกว่า 1,800 ชีวิต ถูกตัดขาด แต่ยังไม่มีหน่วยงานราชการใดเข้ามาช่วยเหลือ

นายมงคล กล่าวต่อว่า ชาวนาที่ใช้เงินที่ลงทุนไปกว่า 2 แสนบาทและได้กู้มาจาก ธ.ก.ส. และกำลังจะถึงเวลาส่งเดือนกันยายนนี้ ไม่รู้จะเอาที่ไหนมาส่ง ธ.ก.ส. นาข้าวถึงเวลาเก็บเกี่ยวลงทุนไร่ละ 6,800 บาท แต่ราชการชดเชยให้เพียงไร่ละ 606 บาท การช่วยเหลือล่าช้าจนข้าวเน่าเสียหาย เร่งหามาตรการช่วยเหลือจุนเจือชาวนาตำบลท่ามะเฟืองการช่วยเหลือของรัฐใน ครั้งนี้จะน้อนนิดแต่ก็จำเป็นต้องเอาไปก่อนล่าสุดสถานการณ์ยังคงวิกฤติระดับ ยังเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านหมู่ 2 หมู่ 5 ต.พญาแมน อ.พิชัย ชาวบ้านต้องอาศัยเรือท้องแบนเข้าออกหมู่บ้าน บางรายเก็บสิ่งของไม่ทันจมอยู่ใต้น้ำ

รองนายก อบต.ท่าเฟือง อ.พิชัย กล่าวอีกว่า ขณะที่ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมทั้งที่นาและบ้านเรือน วิงวอนราชการเร่งแก้ไขปัญหาด้วยการะบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำทุ่งป่ากระถิน และนำรถแบ็คโฮ เจาะถนนสายทุ่งป่ากระถิน-ศรีสำโรง เพื่อให้น้ำไหลผ่าน จะทำให้ระดับน้ำลดลง หลังชาวบ้านท้ายน้ำทั้ง ต.พญาแมน อ.พิชัย และ ต.ตะลุกกะเทียม ต.ศรีภิภิรมย์ และ ต.วังวน อ.พหรมพิราม จ.พิษณุโลกทราบเรื่องต่างรวมตัวนำเต้นท์ผ้าใบ แผงเหล็ก เก้าอี้ มาตั้งบนสายดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำทุ่งป่ากระถิน เพื่อเฝ้าประตูระบายน้ำ ไม่ยอมให้มีการเจาะถนน จนทำให้ นายวิฑูรย์ ศิริบูลย์ภักดี ปลัดจังหวัดอุตรดิตถ์ นายสมหวัง พ่วงบางโพธิ์ นายอำเภอพิชัย ลงพื้นที่เจรจากับชาวบ้านที่อยู่ท้ายน้ำ พร้อมสำรวจสถานการณ์น้ำ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบจาก ตำรวจภูธรจังหวัดอุตรดิตถ์จำนวนกว่า 20 นายหวั่นจะเกิดการปะทะระหว่างชาวบ้านทั้ง 2 ฝ่าย

หลังจากหารือกันจน ได้ข้อสรุป ชาวบ้านท้ายน้ำยินยอมให้เปิดประตูระบายน้ำ 4 ช่อง แต่ไม่ยินยอมให้นำรถแบ็คโฮเจาะถนน ขณะที่น้ำมีปริมาณมากเอ่อท่วมถนนสายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ ชาวบ้านที่อยู่ท้ายน้ำบ้านหมู่ 7 ต.พญาแมน อ.พิชัย ก็ไดรับผลกระทบน้ำท่วมบ้านเรือน นาข้าว ไม่แตกต่างจาก ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย และอยู่ในที่ราบลุ่ม หากมีการเจาะถนนเพื่อให้น้ำระบายจำนวนมหาศาลจะทะลักเข้าท่วมพื้นที่เป็นวง กว้าง ลุกลามไปถึง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก คงไม่ยอมแน่นอนจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด มอบหมายคนกลุ่มวัยทำงาน วัยรุ่นชาย จัดเวรยามเฝ้าจนกว่าระดับน้ำจะลดลง กลุ่มแม่บ้านจัดอาหาร เครื่องดื่ม จัดเวรยาม 24 ชั่วโมง แต่เพื่อลดระดับน้ำที่ท่วมตอนเหนือและจำเป็นต้องเปิดเส้นทางน้ำที่คลองทุ่ง ป่ากระถิน ที่ปัจจุบันน้ำในคลองเอ่อท่วมที่นาและบ้านเรือนชาวบ้านหมู่ 2 และ หมู่ 5 ต.พญาแมน และ ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จึงให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 4 ช่องทาง

ส่วน นายโยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ผู้ว่าราชการ จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและเร่งช่วยเหลือชาวบ้าน ให้นำถุงยังชีพ 100 ชุดใส่เรือท้องแบนไปช่วยเหลือชาวบ้านหมู่ 10 ต.ท่ามะเฟืองก่อนเป็นอันดับแรก อิทธิพลพายุ “นกเตน” ไม่คิดว่าการผันน้ำยมลงสู่แม่น้ำน่าน เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหนักที่ จ.แพร่ และ จ.สุโขทัย จะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่ ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จึงไม่มีการแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบล่วงหน้า จากการตรวจสอบพบว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงคลองน้ำไหลมีปริมาณ 2500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มากที่สุดจากการเก็บสถิติการผันน้ำยมลงสู่แม่น้ำน่าน จึงทำให้ยากต่อการควบคุม เป็นเหตุสุดวิสัย เฉพาะ อ.พิชัยพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 22 ล้านบาท

--------------------------------------------------------------------------------------
ตากยังอ่วม 2 อำเภอจมใต้น้ำ ทั้งคนทั้งวัวขาดแคลนอาหารอย่างหนัก [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 ส.ค. 54 ]

ตาก - จังหวัดตากยังอ่วม 2 อำเภอจมใต้น้ำ พืชผลทางการเกษตรเสียหายกว่า 1 หมื่นไร่ วัวขาดหญ้าต้องแก้ปัญหาด้วยการนำผลฝรั่งจมน้ำให้กินแทน ส่วนบ้านแม่ตื่น อ.แม่ระมาด ที่สะพานขาด ขณะนี้ขาดแคลนอาหารต้องต้มหน่อไม้กินแทนข้าว
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดตาก แจ้งถึงสถานการณ์น้ำท่วมโดยเฉพาะพื้นที่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก ขณะนี้น้ำระลอกใหญ่ได้ทะลักเข้าพื้นที่เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา แม่น้ำวังที่สามารถรับน้ำได้วินาทีละ 316 ลูกบาศก์เมตร แต่ได้เพิ่มเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือมากกว่า 3 เท่าตัวทำให้น้ำทะลักเข้าพื้นที่ตำบลยกกระบัตร ต.วังหมัน และ ต.วังจันทร์ อ.สามเงา น้ำล้นเข้าพื้นที่การเกษตร
       
       เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ฝรั่ง และกล้วยไข่ นับหมื่นไร่จมใต้น้ำบางจุดท่วมมิดต้นกล้วย นอกจากนี้ลำไยที่กำลังใกล้เก็บผลผลิตหลายร้อยไร่ถูกน้ำท่วมเกษตรกรต้องรีบ เก็บผลผลิตนำมาขายตามสองข้างทางบนถนนพหลโยธิน ส่วนบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ตามริมน้ำได้อพยพไปอาศัยตามบ้านญาติในตัวเมือง
       
       นายสามารถ ลอยฟ้า ผวจ.ตาก นำถุงยังชีพจำนวนกว่า 1,000 ชุดไปมอบให้กับราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนที่วัดแม่เชียงราย และวัดสองแคว ต.ยกกระบัตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว

ส่วนที่ อ.บ้านตาก น้ำที่ท่วม 3 หมู่บ้านของ ต.แม่สลิด คือ บ้านยางโอง ขณะนี้รับน้ำที่ล้นมาจาก อ.สามเงา ขณะนี้ชาวบ้านกว่า 1,000 ครอบครัว ต้องอาศัยอยู่แต่ชั้นบน เนื่องจากน้ำท่วมชั้นล่างเกือบมิด ต้องใช้การเดินทางทางเรือหรือว่ายน้ำออกมา ขณะนี้กำลังขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงเช่นวัวกำลังขาดแคลนหญ้า และฟางข้าวอย่างหนัก เนื่องจากที่เก็บกักตุนไว้ถูกน้ำพัดพาไปหมด บางจุดเกษตรกรต้องตัดยอดต้นข้าวโพด และนำผลฝรั่งที่ถูกน้ำท่วมเสียหายมาให้กินแทนหญ้า
       
       ทางด้าน พันเอก สุภโชค ธวัชพีระชัย ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 แม่สอดร่วมกับฝ่ายปกครอง อ.แม่ระมาด อบต.แม่ระมาด เข้าตรวจสอบและนำกำลังทหาร อาสา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ เข้าทำการเร่งชักลากซุง โดยใช้รถแบ็กโฮ ของบริษัททำเหมืองในพื้นที่ ใช้สริงลากซุงออกมาจากบริเวณใต้ตอหม้อสะพานอย่างทุลักทุเล อย่างยากลำบาก ซึ่งต้องใช้คนลงไปโรยตัวมัดซุงด้วยสลิง แล้วดึงออกทีละชิ้น และยังทำการทุบปูนสะพานตรงกลางออก ทั้งหมดเพื่อง่ายต่อการวางชิ้นส่วนสะพานเหล็กโดยคาดว่าจะใช้เวลานานกว่า 2-3 วัน จึงจะสามารถก่อสร้างสะพานแบริ่งได้
       
       ชาวบ้านหลายคนที่อาศัย ในพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 บ้านโบเก่ บ้านคอนหวั่น บ้านนำหอม และบ้านคำหวั่น ต.แม่ตื่น ต่างออกมาโวยวายว่า ขณะนี้อาหารเริ่มขาดแคลนแล้ว ยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งน้ำดื่มสะอาด และอาหารแห้ง เนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถไปไหนได้เพราะเส้นทางถูกตัดขาดหลายจุดระหว่างกัน บางหมู่บ้านเริ่มมีการต้มหน่อไม้กินเเทนข้าว


--------------------------------------------------------------------------------------
แก้มลิงทะเลหลวงสุโขทัยน้ำล้นทะลักแล้ว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 ส.ค. 54 ]
สุโขทัย – น้ำทะลักล้นแก้มลิงทะเลหลวงสุโขทัย เข้าท่วมหลายหมู่บ้านของอำเภอเมือง ขณะที่ รพ.สุโขทัย อยู่ในเส้นทางของกระแสน้ำด้วย นอภ.ต้องประกาศเตือนชาวบ้านรีบย้ายของหนีน้ำ
       
       นายชาติชาย สงวนพงษ์ นายอำเภอเมืองสุโขทัย ได้ออกประกาศเตือนราษฎรในพื้นที่ ต.บ้านกล้วย และ ต.ธานี ให้เร่งขนย้ายทรัพย์สินมีค่า รวมทั้งเด็ก และคนชรา ไปไว้ในที่ปลอดภัย ตั้งแต่ 7 ส.ค.54 เนื่องจากปริมาณน้ำที่สะสมในแก้มลิงทะเลหลวง มีความจุ 32 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้น้ำล้นสปริงเวย์ถึง 30 เซนติเมตร และได้ไหลเข้าคลองเชื่อมต่อ จนเอ่อล้นเข้าท่วมหมู่ที่ 2,3,4,5,6 และหมู่ 12 ต.บ้านกล้วย บ้านเรือนราษฎรกว่า 300 หลังคาเรือน ถูกน้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตร บางพื้นที่สูงถึง 1.50 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะท่วมสูงขึ้นอีก
       
       ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลสุโขทัย ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว จึงได้เตรียมกระสอบทราย ไว้ป้องกันโดยรอบของโรงพยาบาล และได้สำรองออกซิเจน ยา และเวชภัณฑ์ไว้รองรับ หากเกิดมีน้ำท่วมหลายวัน
       
       ขณะที่ความเดือดร้อนของชาวบ้าน ต.วังทอง อ.ศรีสำโรง กับ ต.ปากแคว ต.ปากพระ อ.เมืองสุโขทัย ก็ยังคงสาหัสเช่นเดิม โดยเฉพาะที่บ้านสามหมื่น ทางองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ปากพระ ต้องทำอาหารกล่องวันละกว่า 800 กล่อง นำใส่เรือเข้าไปส่งให้ผู้ประสบภัยถึงบ้าน เพราะไม่สามารถออกมาได้
       
       ส่วนที่หมู่ 3 และหมู่ 6 ต.วังใหญ่ อ.ศรีสำโรง ล่าสุดปริมาณน้ำจาก ต.วังทอง ได้ไหลบ่าเข้าท่วมเป็นบริเวณกว้าง ทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำประปาใช้



--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วม“ท่าวังผา”ซ้ำอีก-400 หลังคาเรือนเจอกลางดึก-ทรัพย์สินเสียหายยับ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 7 ส.ค. 54 ]
น่าน - น้ำท่วมท่าวังผากว่า 400 หลังคาเรือนจมน้ำสูงกว่า 2 เมตร พื้นที่การเกษตรเสียหายยับทหารจากกองพันทหารม้าที่ 10 เข้าช่วยเหลือชาวบ้านแล้ว
       
       วันนี้ (7 ส.ค.54) มีรายงานจากจังหวัดน่านว่า น้ำป่าจาก ลำห้วยริม พัดเอาดินโคลนบ่าเข้าท่วมบ้านเชียงแล บ้านนาเตา ตำบลริม อำเภอท่าวังผา บ้านนาทราย บ้านฮวก หมู่ 4 น้ำไคร้ หมู่ 5 บ้านห้วยม่วง หมู่ 6 บ้านสันติสุข หมู่ 7 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จ.น่าน กลางดึกคืนที่ผ่านมา โดยระดับน้ำบางจุดสูงกว่า 2 .50 เมตร ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ รถยนต์ อุปกรณ์ทำการเกษตร ปุ๋ย พันธุ์พืชเสียหายจำนวนมาก ชาวบ้านไม่สามารถเก็บของได้ทันเนื่องจากน้ำมาเร็วมาก
       
       นอกจากนั้น ฝนที่ตกตลอดทั้งคืนยังทำให้เกิดดินสไลด์และต้นไม้หักโค่นขวางถนนสายบ้านสบ ขุ่น-ดอยติ้ว บ้านสันเจริญถูกตัดขาดกว่า 6 หมู่บ้าน ขณะนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา ร่วมกับทหารจากกองพันทหารม้าที่ 10 กำลังเข้าให้การช่วยเหลือประชาชนและเปิดเส้นทางดังกล่าว
       
       ไม่เพียงเท่านั้น น้ำจากลำห้วยยาว จากอำเภอสองแคว กำลังไหลเข้ามาเสริมทำให้ ตำบลแสนทอง และอีกหลายแห่งที่อยู่ติดริมห้วยชาวบ้านต่างพากันเร่งเก็บของหนีน้ำ บางบ้านก็ขนหนีน้ำไม่ทันก็ได้รับความเสียหาย เนื่องจากน้ำมาเร็วและแรงมาก ส่วนพืชผลการเกษตรเสียหายกว่า 1,000 ไร่ ส่วนใหญ่กำลังลงข้าวนาปีอยู่
       
       โดยมีบ้านเรือนที่ได้ รับความเสียหายกว่า 400 หลังคาเรือน ชาวบ้านต้องติดอยู่บนบ้าน กำลังเตรียมน้ำดื่มและอาหารไปช่วยเหลือและขอขอบคุณทหารที่มาช่วยเหลือ ประชาชนอย่างมาก
       
       ส่วนระดับน้ำน่านที่สถานีวัดน้ำ N1กาดแลง เขตเทศบาลเมืองน่านก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลา 09.00 น.ที่ผ่านมา วัดได้กว่า 5.55 เมตร ขณะนี้เทศบาลเมืองน่านได้ปิดประตูระบายน้ำ 4 บาน ที่บ้านพวงพยอม บ้านดอนศรีเสริม เพื่อไม่ให้น้ำน่านไหลเข้าชุมชนลุ่มติดแม่น้ำ และเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้พร้อมจำนวน 4 เครื่องแล้ว


--------------------------------------------------------------------------------------
ชป.เกาะติดน้ำยม-น้ำน่าน ก่อนเข้าพิษณุโลก-คาด “บางระกำ” ปีนี้ท่วมยาวถึงธันวาฯ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 ส.ค. 54 ]
พิษณุโลก - รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่เกาะติดน้ำน่าน-ยม เตรียมรับมือน้ำเหนือ ผอ.ชลประทานพิษณุโลก ระบุ บางระกำปีนี้น้ำท่วมขังยาวนานอาจถึงธันวาคม 54 เหตุระบายออกยาก
       
       วันนี้ (3 ส.ค.) ที่สำนักชลประทานจังหวัดพิษณุโลก นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน ได้เดินทางมารับฟังสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากอยู่ในสถานการณ์เฝ้าระวังวิกฤติ เพราะระดับน้ำแม่น้ำน่านเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ไหลผ่านเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ใกล้ล้นตลิ่ง ส่วนแม่น้ำยม ก็ล้นตลิ่งทั้ง 2 ฝั่งแล้ว
       
       นายวีระ กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน และลุ่มน้ำยมในขณะนี้ แม่น้ำน่านเพิ่มระดับใกล้ล้นตลิ่ง เพราะยังมีน้ำเหนือยังไหลลงมาอีก แต่จะพยายามไม่ให้สร้างความเสียหาย เนื่องจากปริมาณน้ำมีมาก ล่าสุดได้บริหารจัดการน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ ไม่ให้ไหลลงมาสมทบ
       
       ส่วนแม่น้ำยมล้นตลิ่งทั้ง 2 ฝั่ง แนวทางแก้ไขปัญหาค่อนข้างลำบาก เนื่องจากแม่น้ำยมไม่มีเขื่อน เพราะเขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่สามารถสร้างได้ ชลประทานฯทำได้เพียงกำลังศึกษาเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำยมบนและอ่างเก็บน้ำ ยมล่าง เพื่อเก็บกักน้ำและบริหารจัดการน้ำไม่ให้เกิดผลกระทบรุนแรงเท่านั้น
       
       นายบรรดิษฐ์ อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า น้ำจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ไหลลงสู่แม่น้ำน่านถึงตัวเมืองพิษณุโลกแล้ว ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำน่านเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำไหลผ่าน 975 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าจุดวิกฤต 1 เมตร โดยชลประทานใช้เขื่อนนเรศวร อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ควบคุมไม่ให้ระดับน้ำล้นตลิ่งในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก ประกอบกับเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อย หยุดปล่อยน้ำแล้ว แต่ยังมีน้ำก้อนใหญ่จากอิทธิพลพายุนกเตน ตกหนักมากท้ายเขื่อนสิริกิติ์ แถบ อ.น้ำปาด อ.ทองแสนขัน
       
       ขณะที่เขื่อนนเรศวร จะระบายน้ำเพิ่มเป็น 1,100-1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่า ระดับน้ำแม่น้ำน่านจะเพิ่มอีกเล็กน้อย และทรงตัวอย่างนี้อีกหลายวัน จึงต้องเฝ้าระวังวิกฤต อาจจะมีน้ำล้นตลิ่งในที่ต่ำบางจุด
       
       ส่วนแม่น้ำยม น้ำจากจังหวัดแพร่ไหลมา 1,600 ลบ.ม.ต่อวินาที ถึงประตูหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย จะระบายไปสู่คลองเมม หรือ แม่น้ำยมสายเก่า 240 ลบ.ม.ต่อวินาที ทำให้น้ำล้นตลิ่งท่วมพื้นที่บ้านท่าช้าง บ้านคลองเมม ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม พิษณุโลก บางจุดแล้ว และท่วมขัง ต.บ้านกร่าง ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ ซ้ำอีก
       
       ล่าสุดที่ อ.บางระกำ ขณะนี้มีระดับน้ำสะสมในทุ่งสูงกว่า 1.5 เมตร หากมีน้ำเข้ามาสะสมจะส่งผลให้พื้นที่ อ.บางระกำ เกิดน้ำท่วมขังสูงกว่า 2 เมตร และจะท่วมขังยาวนานถึงเดือนธันวาคมเนื่องจากการระบายน้ำออกทำได้ยากลำบาก



--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนถล่มเชียงใหม่ น้ำป่าทะลัก เสียหายหนัก7อ. [ ไทยรัฐ : 2 ส.ค. 54 ]
อิทธิพลจากพายุ 'นกเตน' ทำให้เกิดฝนตกในหลายพื้นที่ของ จ.เชียงใหม่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใน 7 อำเภอ บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรเสียหายหนัก ขณะที่ รฟท. ประกาศหยุดให้บริการเส้นทางสายเหนือบางจุด ...

วันที่ 2 ส.ค.2554 ที่ จ. เชียงใหม่ อิทธิพลของพายุ 'นกเตน' ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่ ฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายอำเภอ คือ อ.เมือง อ.แม่ออน อ.สันกำแพง อ.สันทราย อ.สันป่าตอง อ.ดอยสะเก็ด โดยที่ อ.ดอยสะเก็ด เกิดน้ำป่าจากห้วยแม่ฮ่องฮัก และจากคลองชลประทานผาแตก ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร บ้านเรือนประชาชน และฝายขนาดเล็กได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น ที่ ต.ป่าเมียง ยังพบว่าระดับน้ำสูงถึง 50 เซนติเมตร เป็นระยะทางประมาณ 50 เมตร ทำให้การจราจรจากเชียงใหม่ไปเชียงราย เป็นปัญหา เจ้าหน้าที่ต้องเร่งระบายน้ำ เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางเดินรถที่สำคัญ

นายบำเพ็ญ บินไทยสงค์ นายอำเภอสันกำแพงเชียงใหม่  เปิดเผยว่า ในอำเภอสันกำแพง มี 10 ตำบล 100 หมู่บ้านได้รับความเสียหาร ทั้งพืชไร่นาเสียหายมากเป็นบริเวณกว้าง  โรงเรียนได้ปิดการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกาชาดจังหวัดและกาชาดอำเภอสันกำแพง จะมาแจกถุงยังชีพให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ขณะที่ ต.แช่ช้าง ซึ่งอยู่ทางใต้สุด ระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร  ราษฎรไม่สามารถสัญจรไปมาได้ เจ้าหน้าที่ได้เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป

ที่ อ.แม่ออน น้ำได้เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ไร่นา และบ้านเรือนประชาชนในหลายตำบล ขณะที่ อ.สันกำแพง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม น้ำก็ท่วมสูงหลายพื้นที่เช่นกัน ทั้งนี้ มีรายงานว่าที่บ้านม้งดอยปุย มีเหตุดินสไลด์ด้วย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ด้าน นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า น้ำป่าที่ไหลเข้าท่วมทางรถไฟสายเหนือ ช่วงสถานีบ้านปิน-แก่งหลวง อ.ลอง จ.แพร่ ตั้งแต่เมื่อวานนี้และยังท่วมสูงอยู่ รฟท.จึงประกาศงดเดินขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 9 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ที่มีกำหนดออกจากสถานีกรุงเทพฯเวลา 08.30 น. วันนี้ ส่วนรถไฟสายเหนือขบวนอื่นๆ ที่ต้องผ่านจุดน้ำท่วม รฟท.จะประเมินสถานการณ์และจะประกาศให้ผู้โดยสารได้รับทราบเป็นระยะ ทั้งนี้ผู้โดยสารสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ โทร.1690 ตลอด 24 ชม.


--------------------------------------------------------------------------------------
"นกเตน"ไม่สิ้นฤทธิ์น้ำป่าทะลักภูลังกาท่วมที่นครพนม [ ไทยรัฐ : 2 ส.ค. 54 ]
น้ำป่าไหลทะลักจากเทือกเขาใน อุทยานแห่งชาติภูลังกาไหลเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน อ.บ้านแพง จมบาดาล รอบที่ 2 ด้าน เจ้าหน้าที่อำเภอเร่งสำรวจช่วยเหลือ เตรียมพร้อมอพยพ 24 ชม.หากฝนยังตกไม่หยุด...

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อำเภอบ้านแพง จ.นครพนม หลังจากที่มีฝนตกลงมาต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ทำให้มีน้ำป่าไหลหลากทะลักจากเทือกเขาอุทยานแห่งชาติภูลังกา ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน ที่พักอาศัย ในพื้นที่ ต.ไผ่ล้อม จำนวน 9 หมู่บ้าน และ พื้นที่ ต.นางัว อีก 11 หมู่บ้าน รวมได้รับความเดือดร้อน จำนวนกว่า 1,000 ครอบครัว เป็นรอบที่สอง โดยชาวบ้านต่างพากันเก็บสิ่งของเครื่องใช้ไว้บนที่สูง และเตรียมอพยพออกจากพื้นที่หากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ที่จะเป็นอันตราย สร้างความเดือดร้อนหนักให้กับชาวบ้าน อีกทั้งห้องน้ำ ห้องส้วม ไม่สามารถใช้การได้

ขณะเดียวกันทางด้านอำเภอบ้านแพง ได้มีการจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจ ให้ความช่วยเหลือ จัดเตรียมเรือท้องแบน เข้าไปช่วยขนย้ายสิ่งของในจุดที่ระดับน้ำลึก และมีการประกาศเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวัง หากมีฝนตกลงมาต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นที่เกิดอันตราย ให้มีการอพยพออกจากพื้นที่ทันที

ส่วน ระดับน้ำท่วมขังขณะนี้อยู่ที่ประมาณ30 - 50 เซนติเมตร โดยจากการสอบถามชาวบ้านส่วนใหญ่ บอกว่า เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากฝนยังตก เกรงว่าน้ำป่าจะไหลท่วมหนัก ถึงขั้นต้องอพยพออกจาก พื้นที่


--------------------------------------------------------------------------------------
ปภ.แถลงพิษพายุนกเตนคร่าชาวอุดรฯ 1 ศพ [ ไทยรัฐ : 2 ส.ค. 54 ]
อธิบดี ปภ.แถลงพายุนกเตนทำให้น้ำท่วมแล้ว 14 จ. มีตายแล้ว 1 ศพที่อุดรธานี เตือนจุดเสี่ยง 37 จ.เหนือ-อีสาน ให้ระวังดินถล่ม และน้ำท่วมฉับพลันในช่วง 1-2 วัน...

เมื่อวันที่ 2 ส.ค. นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า อิทธิพลจากพายุโซนร้อนนกเตน ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยใน 14 จังหวัด ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครพนม อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ และสกลนคร รวม 43 อำเภอ 134 ตำบล 492 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 1 รายที่อุดรธานี อย่างไรก็ตาม สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว

ทั้งนี้ หากปริมาณน้ำมีมากจึงจำเป็นที่จะต้องมีการพร่องน้ำออกเพื่อรักษาเขื่อน จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ตอนล่างและตอนกลาง ต่อพืชผลทางการเกษตร จึงต้องเข้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เกษตรกร จะต้องเร่งเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร ส่วนที่เพิ่งจะเพาะปลูก จะต้องจัดหาพื้นที่รองรับน้ำเพื่อรองรับผลกระทบที่จะตามมา โดยที่ผ่านมา มีบทเรียนจากสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว มีน้ำท่วมกระจายในหลายพื้นที่ ดังนั้น การทำงาน ระหว่างหน่วยงานจะต้องมีการบูรณาการการทำงานกันมากยิ่งขึ้น และในปีนี้ การประสานงานบูรณาการเป็นไปอย่างดี มีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน และมีศูนย์เฉพาะกิจแต่ละจังหวัด อำเภอ และแยกย่อยไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีการประสานไปยังระดับล่าง เตรียมการป้องกันภัยในทุกรูปแบบ และมีการซักซ้อมมาโดยตลอด

นาย วิบูลย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ฝากเตือนภัยไปยังประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่ม 37 จังหวัด ให้เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนัก อาจทำให้น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในช่วง 1 – 2 วันนี้ จึงขอให้ประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยหมั่นสังเกตสัญญาณผิดปกติทางธรรมชาติ เช่น น้ำในลำธารเปลี่ยนสี เป็นสีเดียวกับดินบนภูเขา ฝนตกหนักนานกว่า 6 ชั่วโมง ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีต้นไม้ขนาดเล็กไหลมากับน้ำ ให้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนั้นให้รีบอพยพออกนอกพื้นที่ทันที ส่วนทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นลมแรง ขอให้ชาวเรือระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมพื้นที่เกษตรหนองบัวลำภู เตือนพื้นที่เสี่ยงริมน้ำระวัง [ ไทยรัฐ : 2 ส.ค. 54 ]
เตือนชาวหนองบัวลำภู ที่อาศัยพื้นที่เสี่ยงริมน้ำระวังน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือน หลังฝนตกหนักต่อเนืื่อง จนทำให้พื้นที่ทำการเกษตรกว่า 200 ไร่ถูกน้ำท่วมแล้ว...

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 1 ส.ค. 2554 นายวินัย บัวประดิษฐ์ ผวจ.หนองบัวลำภู สั่งการให้ นายประมวล ลาภจิตต์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เข้าตรวจสอบสภาพน้ำอันเป็นผลกระทบจากพายุนกเตน ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานความเสียหาย แต่จากการตรวจสอบไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยลิ้นควาย อ.นาด้วง จ.เลย ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำต้นทางของลำน้ำพะเนียง ลำน้ำสายหลักของจังหวัดที่พาดผ่านหลายอำเภอ และมักเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ทราบว่า  ได้มีการระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำบ้างแล้ว ทำให้เกิดน้ำสะสมรวมกับน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ได้เข้าตรวจสอบที่ ต.วังปลาป้อม อ.นาวัง ซึ่งเป็นจุดแรกที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยลิ้นควาย พบว่าปริมาณน้ำได้สูงขึ้นและเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ทำการเกษตรใน ต.วังปลาป้อม ในบริเวณริมลำน้ำพะเนียง เป็นบริเวณกว้างกว่า 200 ไร่แล้ว และน้ำจากบริเวณดังกล่าวจะไหลลงไปที่ ต.เทพคีรี อ.นากลาง ภายในวันนี้ จากนั้นก็จะไหลเข้าไปในพื้นที่ อ.นากลาง อ.เมือง อ.โนนสัง ลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งขณะนี้ฝนในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ยังคงตกลงมาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเกิดปริมาณน้ำสะสมเพิ่มมากขึ้น และน้ำในลำน้ำพะเนียงจะเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ทำการเกษตรตลอดสองฝากของลำน้ำที่ เป็นที่ลุ่ม ซึ่งจังหวัดจะได้แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงริมลำน้ำให้ระมัดระวังน้ำท่วมในระยะ นี้ในทันที

--------------------------------------------------------------------------------------
เมืองแพร่อ่วม น้ำยมใกล้วิกฤตทำน้ำป่าทะลักท่วมถนนเพียบ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 1 ส.ค. 54 ]
แพร่ - เมืองแพร่อ่วม พายุ “นกเตน” ทำน้ำป่าทะลักหลายหมู่บ้าน เส้นทางจราจรถูกตัดขาด หลายพื้นที่ ร.ร.บ้านห้วยไร่สั่งปิดเรียนแล้ว 1 วัน รวมถึงรถไฟอาจต้องหยุดวิ่งหากระดับน้ำไม่ลด “น้ำยม” เพิ่มระดับจาก 6 เมตรเป็น 9 เมตรเศษแล้ว
       
       วันนี้ (1 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่ว่า ฝนที่ตกหนักตลอดทั้งคืนจากอิทธิพลของพายุนกเตน ส่งผลให้มีน้ำป่าไหลเข้าท่วมหลายหมู่บ้านในจังหวัดแพร่แล้ว โดยพื้นที่ ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย มีน้ำป่าไหลออกจากลำน้ำแม่พวก เข้าท่วมบ้านเรือน ไร่ข้าวโพด สวนผลไม้ สัตว์เลี้ยง และเส้นทางต่างๆในหมู่บ้านหลายแห่งจนไม่สามารถสัญจรได้ ในขณะที่นักเรียนไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านไปโรงเรียนได้เช่นกัน โดยขณะนี้โรงเรียนบ้านห้วยไร่ ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย ได้ประกาศปิดโรงเรียนแล้ว 1 วัน เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน
       
       สำหรับที่ ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ มีน้ำป่าไหลออกจากลำน้ำหลายสาย ทะลักเข้าท่วมบริเวณหมู่ 5 และหมู่ 3 ระดับสูงถึง 1-2 เมตรในบางจุด ชาวบ้านต้องอพยพมาอยู่ที่บ้านนายบุญเริง วงศ์เรียน กำนัน ต.บ้านปิน และขนข้าวของมาอยู่ริมถนนสาย อ.ลอง-แพร่ นอกจากนี้กระแสน้ำยังทะลักท่วมเส้นทางเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟบ้านปินแล้ว รวมถึงเส้นทางสายแพร่-อ.ลอง มีน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร บริเวณหน้าวัดโพธิบุบผาราม จนรถเล็กไม่สามารถผ่านได้แล้ว นอกจากนั้น ยังพบว่าน้ำป่าไหลตัดทางรถไฟในบางช่วงบริเวณหมู่ 5 ต.บ้านปิน ซึ่งถ้าระดับน้ำไม่ลดลงทางรถไฟอาจใช้การไม่ได้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาตลอดทั้งคืน ยังทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำยมจาก 6 เมตร วานนี้ (31 ก.ค.) เพิ่มเป็น 9 เมตรเศษ ในช่วงเวลาประมาณ 08.00 น.วันนี้ ทำให้หมู่บ้านรอบๆ เขตเทศบาลเมืองแพร่ มีน้ำท่วมอีกครั้งแล้ว
       
       อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ นายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้สั่งการไปยังผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และ อปท.ได้ออกสำรวจความเสียหายโดยเร่งด่วน เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
       
       ส่วนสถานการณ์ฝนตก ในจังหวัดแพร่ยังคงมีเมฆปกคลุ่มหนาแน่นและมีฝนตกต่อเนื่อง ไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ซึ่งจะทำให้แม่น้ำยมมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้อีกเพียง 1 เมตรจะทำให้พื้นที่ชั้นในเขตเทศบาลเมืองแพร่ถูกน้ำท่วมแน่นอน




--------------------------------------------------------------------------------------
2 อ่างใหญ่ในแม่เมาะน้ำล้น-ทะลักท่วมหลายหมู่บ้านถูกตัดขาด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 1 ส.ค. 54 ]
ลำปาง - หลังฝนกระหน่ำต่อเนื่อง ทำน้ำทะลักล้นอ่างเก็บน้ำท่าสี-อ่างแม่ขาม เข้าท่วมหลายหมู่บ้านเขต “แม่เมาะ” ชาวบ้านยังรอความช่วยเหลือเนื่องจากหลายแห่งปริมาณน้ำสูงและถูกตัดขาด
       
       จากที่มีฝนตกติดต่อกันตั้งแต่ เมื่อคืนที่ผ่านมา จนถึงล่าสุดเวลา 10.40 น.วันนี้(1 ส.ค.54)) ฝนก็ยังคงตกโปรยปรายมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำจากภูเขาที่อุ้มน้ำไม่ไหวไหลทะลักเข้าอ่างเก็บน้ำ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างหลายแห่ง
       
       โดยเฉพาะที่อ่างเก็บน้ำท่าสี ตำบลแม่เมาะ จ.ลำปาง ล้นทะลักเข้าอ่างเก็บน้ำแม่ขามอีกทอดหนึ่ง แต่สุดท้ายน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ขาม ก็ต้องล้นทะลักออกจากอ่างไหลเข้าท่วมบ้านของชาวบ้านในหลายหมู่บ้าน โดยเฉพาะที่บ้านห้วยเป็ด ม.1 ตำบลแม่เมาะ ปริมาณน้ำสูงกว่า 2 เมตร ชาวบ้านไม่สามารถออกมาจากหมู่บ้านได้ เนื่องจากสะพานเชื่อมเข้าบ้านห้วยเป็ด ถูกตัดขาดและน้ำไหลแรงมาก
       
       โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยตำบลแม่เมาะ สมาคมกู้ภัยนครลำปาง และ กฟผ. ได้นำเรือท้องแบนเร่งเข้าช่วยเหลือและนำอาหารเข้าช่วยในจุดที่สามารถเข้าถึง ได้บ้างแล้ว ส่วนที่สะพานได้นำเชือกขึงยึดโยง เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านออกมายังอีกฝั่งหนึ่งแล้ว
       
       แต่ทั้งนี้ชาวบ้านใน หมู่บ้านยังคงต้องการความช่วยเหลือ ทั้งอาหาร น้ำดื่ม เนื่องจากเรือเข้าไม่ถึงเพราะกระแสน้ำไหลเฉี่ยว ขณะที่ กฟผ. ได้ตัดกระแสไฟฟ้าแล้ว เพื่อความปลอดภัย

--------------------------------------------------------------------------------------
“นกเตน” ถล่มทำตัวเมืองหนองคายน้ำท่วมหนัก [ ผู้จัดการออนไลน์ : 31 ก.ค. 54 ]

หนองคาย-อิทธิพลพายุโซนร้อน นกเตน ฝนตกติดต่อกัน 2 วัน ทำน้ำท่วมตัวเมืองหนองคาย ระดับน้ำสูงกว่า 80 ซม.
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตน ตั้งแต่วานนี้ จนถึงวันนี้ (31 ก.ค.) ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตอำเภอเมืองหนองคาย ระดับน้ำสูงประมาณ 80 ซ.ม.ประชาชนต้องอพยพข้าวของเครื่องใช้ขึ้นบนที่สูง โดยพื้นที่วิกฤตที่สุดอยู่บริเวณใจกลางเมืองหนองคาย เส้นโดยรอบถนนประจักษ์ศิลปาคม รถยนต์ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ เจ้าหน้าที่ได้ปิดเส้นทางการจราจร พร้อมทั้งระดมกระสอบทรายแจกจ่ายให้กับประชาชน
       
       ขณะที่น้ำได้ไหลเข้าท่วมบ้าน เรือนประชาชน โรงเรียนและสถานที่ราชการ ประชาชนต้องนำรถยนต์มาจอดตามริมถนนหนองคาย-โพนพิสัย แต่ก็เกิดต้นไม้ใหญ่ล้มทับรถยนต์หลายคันได้รับความเสียหาย
       
       ส่วนถนนมิตรภาพขาเข้าตัวเมือง หนองคาย ก่อนถึงตัวเมืองหนองคายประมาณ 10 กม.น้ำท่วมถนนสูงประมาณ 30 ซม.การสัญจรเป็นไปอย่างลำบาก



--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/