บันทึกเหตุการณ์ฝนตกหนัก (13 ก.ค. 48)

แผนที่อากาศ    

01:00am


07:00am


13:00pm
ในช่วงวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่งผลให้หลายพื้นที่ในภาคกลางมีฝนตกหนัก


ภาพดาวเทียม GOES-9    

08:00am

10:00am

13:00am
ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าช่วงวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 มีกลุ่มเมฆปกคลุม ในบริเวณประเทศไทย บริเวณภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณภาคกลางมีฝนตกหนักต่อเนื่อง


ปริมาณฝนสะสม  

00:00pm

12:00pm
ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน พบว่าในช่วงวันที่ 13 กรกฎาคม ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมจำนวนมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

13/07/48

14/07/48
การติดตามปริมาณฝน ณ เวลา 7.00 น. โดยใช้สถิติของการกระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาร์ และ ค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก จากภาพจะพบว่าในช่วง 7.00 น. ของวันที่ 13 กรกฎาคมมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือและบางส่วนของภาคกลาง แต่ในวันที่ 14 กรกฎาคมนั้นมีฝนตกหนักในบริเวณภาคกลาง โดยที่สถานีบางนา มีปริมาณฝน 96.8 มิลลิเมตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



Radar C-Band
13-Jul-2548 7:45
Rainfall = Measured from Raingauge
13-Jul-2548 7:45
   Rain at E13 (Khlong Sam Sen) = 8.5 mm/15 min.
   Rain at E10 (Khlong Bang Sue) = 7.5 mm/15 min.
   Rain at E16 (Victory Monument) = 6.5 mm/15 min.
Radar C-Band
13-Jul-2548 8:00
Rainfall Measured from Raingauge
13-Jul-2548 8:00
   Rain at E26 (Phra Khanong) = 13.5 mm/15 min.
   Rain at E27 (Khlong Toei) = 13 mm/15 min.
   Rain at E19 (Khlong Tan) = 10.5 mm/15 min.
Radar C-Band
13-Jul-2548 8:15
Rainfall Measured from Raingauge
13-Jul-2548 8:15
   Rain at E19 (Khlong Tan) = 23 mm/15 min.
   Rain at E18 (Khlong Saen Saeb, Soon Wijai) = 21.5 mm/15 min.
   Rain at E33 (Khlong Sam Rong) = 8 mm/15 min.
Radar C-Band
13-Jul-2548 9:45
Rainfall Measured from Raingauge
13-Jul-2548 9:45
Rain at E07 (Khlong Saen Saeb, Pracharuamjai rd.) = 11.5 mm/15 min.
Rain at E09 (Khlong Saen Saeb, Bang Chan) = 11 mm/15 min.
Rain at W11 (Khlong Dao Kha Nong) = 8.5 mm/15 min.
Radar C-Band
13-Jul-2548 10:15
Rainfall Measured from Raingauge
13-Jul-2548 10:15
   Rain at E00 (BMA, Dindaeng) = 26.5 mm/15 min.
   Rain at E20 (Krung Kasem) = 23.5 mm/15 min.
   Rain at E16 (Victory Monument) = 20 mm/15 min.

 

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา    

04:15am

05:15am
ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา (เรดาห์ดอนเืมือง) พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มี ฝนตก ซึ่งพบว่าในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 บริเวณภาคกลางของประเทศไทยมีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีตรวจวัดของ กทม.  

เนื่องจากกรณีฝนตกหนัก ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ซึ่งในช่วงเช้าเริ่มตั้งแต่เวลา 7.00-8.00 น. และช่วง 10.00-12.00 น. เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุดทั่ว กทม. ซึ่งจากการตรวจวัดจากระบบ SCADA พบว่าที่พื้นที่ที่มีฝนสะสมรายวันสูงสุด คือ สถานีคลองดาวคะนอง (W11) วัดได้ 176 มิลลิเมตร รองลงมาคือ สถานีคลองสำเหร่ (W09) วัดได้ 173.5 มิลลิเมตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

โดยสามารถดูรายละเอียดข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันของแต่ละสถานีตรวจวัดปริมาณฝนทั่ว กทม. ได้ดังต่อไปนี้
ตารางแสดงข้อมูลฝนสะสมรายวันสูงสุดจากสถานีตรวจวัดปริมาณฝนในเขต กทม. วันที่ 13 กรกฎาคม 2548
หมายเหตุ ตัวอักษรแสดงข้อมูลปริมาณฝนที่เป็นสีแดง-หนา หมายถึง ปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดในเขต กทม. และตัวอักษรที่เป็นสีดำ-หนา หมายถึง ปริมาณฝนสะสมรายวันมากกว่า 100 มิลลิเมตรขึ้นไป

จากตารางข้อมูลฝนดังกล่าว สามารถนำมาพล็อตรูปเพื่อสังเกตพื้นที่เสี่ยงภัยจากกรณีฝนตกหนักประจำวันได้ดังรูปข้างล่าง


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

ฝนตกน้ำท่วมหนัก 7 จุด กรุงเทพฯ วิกฤติ [ ผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2548 ]

สถานการณ์ฝนตกหนักทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ เช้าวันนี้ (13 ก.ค.) จากการตรวจวัดปริมาณน้ำฝน วัดได้สูงเกินกว่า 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ในทุกจุดที่มีฝนตกในกรุงเทพฯ เช้านี้ ซึ่งขนาดท่อระบายของกรุงเทพฯ สามารถระบายน้ำได้ที่ไม่เกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง จึงอาจพบหลายพื้นที่มีน้ำท่วมขัง โดยมี 7 จุด ที่มีน้ำท่วมหนักสุด ได้แก่ บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 14 ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างสรรพสินค้าจัสโก้ ถนนลาดพร้าว ถนนใต้ทางด่วนช่วงสนามเป้า ถนนประชาสงเคราะห์ ถนนพิษณุโลกหน้าสนามม้านางเลิ้ง และนิคมฯ มักกะสัน ทั้งนี้ เมื่อปริมาณน้ำฝนมาก ประกอบกับสภาพอากาศยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง กทม.คงจะต้องใช้เวลาระบายน้ำมากกว่า 1-2 ชั่วโมง


การติดตั้งระบบพยากรณ์น้ำท่วมล่วงหน้าที่ กทม.ดำเนินการอยู่ ต่อไปจะติดตั้งเรดาร์เพิ่มเติมซึ่งจะทำให้สามารถพยากรณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ครอบคลุมทั้ง 50 เขต ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับให้สมบูรณ์ ซึ่ง กทม.จะเชิญสื่อมวลชนร่วมหารือเพื่อวางแนวทางในการแจ้งเหตุฝนตกน้ำท่วม จราจรติดขัดให้ประชาชนได้รับทราบเร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางวิกฤตโดยกำหนดจะเริ่มเปิดใช้ระบบพยากรณ์น้ำท่วมในวันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป

จากที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เวลา 06.00 น.ที่ผ่านมา เป็นเวลานานกว่า 5 ชั่วโมงแล้วนั้น ส่งผลให้ในหลายพื้นที่ของ กทม. เกิดน้ำท่วมขังและปัญหาจราจรติดขัด เพราะบางพื้นที่มีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 122 มิลลิเมตร ขณะที่ความสามารถของสถานีสูบน้ำรับได้เพียง 60 มิลลิเมตร ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมใน ถ.ประชาสงเคราะห์ ถ.ลาดพร้าวตัดเอกมัย-รามอินทรา ถ.แจ้งวัฒนะ 14 ถ. รัชดาห้วยขวาง ถ.กำแพงเพชร 3 ถ.พิษณุโลก ถ.พระราม 6 ตัดใหม่ ถ.พหลโยธิน บริเวณสนามเป้า และ ถ.นิคมมักกะสัน

ด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนจึงทำให้หลายพื้นที่มีฝนตกตามปกติ หลังจากมีฝนทิ้งช่วง และเชื่อว่าปริมาณน้ำฝนจะมีเป็นปกติหรือมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยอาจส่งผลดีต่อการเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนต่างๆบ้าง แต่อาจไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากแนวโน้มจากร่องความกดอากาศต่ำ และพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งขณะนี้ไม่มีท่าที่จะพัดผ่านประเทศไทยช่วงนี้ ซึ่งคงต้องรอร่องฝนจากประเทศจีน ที่มีโอกาสจะลงมาทางใต้และเข้าสู่ภาคเหนือในระยะต่อไป

ส่วนฝนที่ตกขณะนี้ เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำทางภาคเหนือพัดผ่านประเทศไทย ดังนั้น จึงทำให้หลายพื้นที่มีฝนตกและสภาพอากาศเช่นนี้ยังคงมีต่อเนื่องไปถึงวันพรุ่งนี้ (14 ก.ค. 48) อีก 1 วัน
ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีโอกาสฝนตกหนัก สำหรับภาคกลางและภาคตะวันออกมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้กับลมตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ในวันนี้เกือบทั่วไปร้อยละ 70 ของพื้นที่จะมีฝนตกและตกหนักในบ้างพื้นที่ สำหรับภาคใต้แม้ลมตะวันตกเฉียงใต้จะไม่แรงมากนักแต่จะมีฝนอยู่ในเกณฑ์ประปราย ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนอันดามันคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร



ฝนตกทั้งคืน น้ำท่วม ทั่วกรุงเทพฯ [ ผู้จัดการออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2548 ]

ตลอดคืนที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก กระจายทั่วกรุงเทพ และปริมณฑล ทำให้ตามถนนสายต่างๆ ตลอดจนตาม ตรอก ซอก ซอย มีน้ำท่วมขังเป็นจุดๆ ขณะเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทา ก็ได้แจ้งเตือน เมื่อเที่ยงคืน ที่ผ่านมา ว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศ เมื่อเวลา 22.50 นาฬิกา พบว่า มีกลุ่มฝน กำลัง ปานกลางถึงหนัก ปกคลุมอยู่บริเวณ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร จากนั้น ได้เคลื่อนเข้ามาในพื้นที่ จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพ เป็นเหตุให้มีฝนตกฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรง ตลอดทั้งคืน และต่อเนื่องไปถึงตอนเช้า พร้อมกับแจ้งเตือนประชาชน ให้ระมัดระวังในการเดินทาง

อุตุฯเตือนวันนี้ทั่วไทยฝนตกหนักร้อยละ70 [ คมชัดลึก 13 กรกฎาคม 2548 ]

กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนประชาชนในวันที่ 13 ก.ค.ทั่วทุกภาคของประเทศไทยอาจมีฝนตกหนักถึงร้อยละ 70 โดยเฉพาะในส่วนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่วนกรุงเทพมหานครช่วงสายคาดว่าคงหยุดตก กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยถึงภาวะฝนตกหนักทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนกระทั่งเช้าวันนี้ว่า เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำทางภาคเหนือของประเทศพาดผ่านประเทศไทย

ส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเกือบทั่วไปมีโอกาสเกิดฝนตกหนัก สำหรับภาคกลางและภาคตะวันออกมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้กับลมตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร ดังนั้นในวันนี้เกือบทั่วไปร้อยละ 70 ของพื้นที่จะมีฝนตกและตกหนักในบ้างพื้นที่ สำหรับภาคใต้แม้ลมตะวันตกเฉียงใต้จะไม่แรงมากนักแต่จะมีฝนอยู่ในเกณฑ์ประปราย ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนอันดามันคลื่นสูงประมาณ 1 -2 เมตร

 

ข้อมูลอ้างอิง
  • ผู้จัดการออนไลน์ (13 ก.ค. 48) : http://www.manager.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ (14 ก.ค. 48) : http://www.manager.co.th
  • คมชัดลึก (13 ก.ค. 48) : http://www.komchadluek.net
  •