บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่ (ก.ค. 49)

ภาพดาวเทียม GOES-9

29 /07/2006 : 09GMT

30 /07/2006 : 09GMT
download VDO file

ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2549 มีกลุ่มเมฆปกคลุมประเทศไทย รวมถึงภาคเหนือตอนบน พื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย เป็นผลทำให้้เกิดน้ำท่วม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


31/07/2006 : 09GMT

01/08/2006 : 09GMT

แผนที่อากาศ    

31/07/2006

01/08/2006


รายงานจากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนได้พาดผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนัก โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย

รายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา      
เรดาร์เชียงใหม่

30/07/2006 15:22


30/07/2006 17:22

30/07/2006 19:22


30/07/2006 21:22

30/07/2006 23:22


ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์เชียงใหม่ จะพบว่า ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2549 บริเวณพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ และ เชียงราย มีฝนตกหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลา 19.22 น.


ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเคลื่อนไหวเรดาร์เชียงใหม่
 
   

ข้อมูลปริืมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AIS)


สถานีบ้านขี้เหล็ก


สถานีเวียงแหง

สถานีท่าแพ
สถานีเชียงดาว
รายงานจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ แสดงข้อมูลปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง จากสถานีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าปริมาณฝนสมสม 24 ชม. ได้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวันที่ 30-31 กรกฎาคม ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วม โดย ในวันที่ 30 กรกฎาคม ที่สถานีท่าแพ วัดปริมาณฝนได้ 73 มิลลิเมตร สถานีเชียงดาว 54 มิลลิเมตร ส่วนในวันที่ 31 กรกฎาคม ที่สถานีบ้านขี้เหล็ก วัดปริมาณฝนได้ 60 มิลลิเมตร และ สถานีเวียงแหง ปริมาณฝน 63.8 มิลลิเมตร  

ปริมาณฝนสะสม    


29 0/07/2006 : 12am


30/07/2006 : 12am
ชมภาพเคลื่อนไหว (ภาพเต็ม)
แสดงภาพเคลื่อนไหวของกลุ่มฝน
ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค.- 2 ส.ค. 49

ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าและสีเขียว แสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน พบว่าในวันที่ 31กรกฎาคม ปริมาณฝนสะสมหนาแน่นบริเวณภาคเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดเชียงใหม่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม




31/07/2006 : 00am

1/08/2006 : 00am


 

ปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา  

31/07/2006


1/08/2006

การติดตามปริมาณฝน ณ เวลา 7.00 น. โดยใช้สถิติของการกระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาร์ และ ค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก พบว่า ช่วงวันที่ 31 กรกฎาคม -1 สิงหาคม 2549 รายงาน ณ เวลา 7.00 น. มีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


สรุปรายงานข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายวัน


ที่มา : ข้อมูลจากกรมชลประทาน

ข้อมูลน้ำในเขื่อน


           ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนแม่งัด

รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะพบว่า ปริมาณน้ำไหลลงอ่างของเขื่อนแม่งัด ได้เพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2549 โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้า 9.21 ล้าน ลบ.ม. และลดลงเหลือ 8.37 ล้าน ลบ.ม. ในวันต่อมา ซึ่งยังสามารถรองรับน้ำได้อีกประมาณร้อยละ 30 ส่วนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.แม่แตง จ.เชียง ใหม่ น้ำในเขื่อนแม่กวงมีปริมาณน้ำเพียง 102 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38 ยังสามารถที่จะรองรับปริมาณน้ำได้อีก เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงจากลำน้ำปิง และลำน้ำน่าน รวมถึงลุ่มน้ำสาขาได้อีก

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

"แม่ปิง" เ่อ่อทะลัก "เชียงใหม่" กระอักน้ำท่ีวม [โพสต์ทูเดย์ : 2 ส.ค. 49]

ฝนตกหนัีก น้ำปิงทะลักเข้าเชียงใหม่
ฝนที่ตกมาอย่างหนักติดต่อกัน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และทะลักเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ในหลายพื้ันที่ ตั้งแต่ช่วงเช้ามืดวันที่ 1 สิงหาคม ทั้งถนนเจริญประเทศ และเข้าสู่ถนนช้างคลาน ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ถูกปิดขาดไม่ให้มีการสัญจรไปมา เนื่องจากถูกน้ำท่วมอย่างหนัก

น้ำขึ้นสูง 7 ซ.ม. ต่อชั่วโมง - กำแพงโบราณทรุด
ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน แจ้งว่า ระดับน้ำในแม่น้ำปิงขยับสูงขึ้นชั่วโมงละ 7 เซนติเมตร น้ำเข้าท่วมเชียงใหม่ในปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมามาก แต่ไหลเข้าเมืองรวดเร็ว เนื่องจากมีน้ำจากลำน้ำแม่ริมเข้ามาเสริมจำนวนมาก ความเร็วในการไหลของน้ำประมาณ 545 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำสูงขึ้นทำให้กำแพงเมืองด้านในที่แจ่งหัวรินทรุดตัวลงมา เนื่องจากเกิดการชำรุดรั่วซึมของผิวอิฐทำให้น้ำไหลเข้าไปสะสมเกิดแรงดันน้ำอัดจนแนวกำแพงเบ่งตัวจนรับแรงไม่ไหวทรุดตัวลงมา

ทางรถไฟลำปางถูกน้ำเซาะเสียหาย
น้ำป่าที่ไหลทะลัก ส่งผลให้เส้นทางรถไฟระหว่างสถานีแม่ตาน้อยถึงสถานีปางม่วง ซึ่งเลยสถานีขุนตาล จ.ลำปาง เสียหาย 4 จุด ไม่สามารถใช้การได้ บางจุดน้ำพัดดินและหินเป็นหลุมลึกถึง 5 เมตร ความยาว 30 เมตร ผู้โดยสารที่มาจากเชียงใหม่ต้องขึ้นรถยนต์ไปต่อที่สถานีลำปาง ส่วนผู้โดยสารที่มาจากกรุงเทพฯ ต้องลงที่สถานีลำปางและต่อรถยนต์เข้าเชียงใหม่

เร่งขุดลอกแม่ปิง-เตรียมรื้อฝายหินระบายน้ำ
ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้เร่งขุดลอกบริเวณจุดที่แคบที่สุดของลำน้ำปิง โดยเฉพาะที่บริเวณกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และจะเร่งเจรจากับชาวบ้านเพื่อรื้อฝายหินที่กั้นลำน้ำปิงบริเวณฝายท่าวังตาล ซึ่งถ้าทำได้จะสามารถลดระดับน้ำในแม่น้ำปิงลงได้ 20-30 เซนติเมตร นอกจากนี้ได้นำคอนกรีตน็อกดาวน์และกระสอบทราย ทำกำแพงกั้นน้ำตลอดแนวฝั่งแม่น้ำปิงบริเวณหน้าสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจนถึงสะพานนวรัฐ

ถนนเลี่ยงเมืองลำปางถูกตัดขาด
ขณะที่ จ.ลำปาง น้ำทะลักเ้ข้าท่ีวมพื้นที่ อ.ห้างฉัตรและเกาะคา ถนนสายเลี่ยงเมืองลำปาง-ห้างฉัตร-เกาะคา-กรุงเทพฯ มีกระแสน้ำไหลผ่าน หากฝนยังตกต่อเนื่องคาดว่าระดับน้ำจะสูงประมาณ 50 เซนติเมตร รถยนต์ขนาดเล็กไม่สามารถผ่านได้ ต้องใช้เส้นทางหลัีกบนถนนสายเอเชีย ผ่านแยกลำปาง-เชียงใหม่ และแยกภาคเหนือแทน



เชียงใหม่ท่วมหนักบ้านแม้วโดนด้วย [ข่าวสด : 1 ส.ค. 49 ]

จ.เชียงใหม่ มีฝนตกหนักตลอดทั้งคืนวันที่ 31 ก.ค. ต่อเนื่องจนถึงเช้าวันที่ 1 ส.ค. ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยปริมาณน้ำที่จุดตรวจวัดปริมาณน้ำที่เชิงสะพานนวรัฐ อ.เมืองเชียงใหม่ วัดได้ 4.15 เมตร เพิ่มขึ้นเฉลี่ยชั่วโมงละ 8-9 เซนติเมตร ทำให้น้ำเริ่มทะลักเข้าท่วมถนนเจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ และน้ำปิงยังทะลักเข้าท่วมถนนป่าพร้าวนอก ต.ช้างคลาน บางจุดมีน้ำท่วมขังสูงเกือบครึ่งเมตร ส่วนที่บริเวณหมู่บ้านจัดสรรเทียมพร ต.ช้างเผือก โดนน้ำทะลักเข้าท่วมขังเช่นกัน ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ขณะที่บริเวณสามแยก ต.หนองหอย อ.เมืองเชียงใหม่ มีน้ำท่วมขัง ้ ส่วนบริเวณหน้ามณฑลทหารบกที่ 33 หรือค่ายทหารกาวิละ น้ำปิงเอ่อล้นท่วมสวนสาธารณะของค่ายทหาร ส่วนย่านไนท์บาซาร์ ต.ช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ น้ำยังทะลักไปไม่ถึง สำหรับสถานการณ์ที่ อ.แม่ริม ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับ อ.เมืองเชียงใหม่ มีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ 11 ตำบล โดยเฉพาะที่ ต.สลวง ต.ห้วยทราย ต.ขี้เหล็ก ต.ริมเหนือ และ ต.แม่แรม อีกทั้งยังมีน้ำไหลล้นออกมาจากอ่างเก็บกักน้ำหนองห้วยส้ม ต.ขี้เหล็ก และมีน้ำป่าไหลจากเทือกเขาใน อ.สะเมิง และ อ.แม่ริม ไหลมาสมทบในแม่น้ำแม่ริม ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนล้นตลิ่ง และไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนในหลายตำบลของ อ.แม่ริม บางพื้นที่สูงกว่า 1.50 เมตร มีบ้านเรือนประชาชนกว่า 500 หลังคาเรือน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด เกิดจากภาวะฝนตกหนักในพื้นที่ใกล้ตัวเมืองและมีน้ำขึ้นสูง วนเขื่อนแม่งัดที่อยู่ด้านบน ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกประมาณร้อยละ 30 รวมถึงคลองส่งน้ำชลประทานซึ่งอยู่ใกล้บริเวณจัดงานพืชสวนโลกและเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีก็ยังไม่เต็ม ยังสามารถรับน้ำได้อีกมาก



เผยแม่น้ำปิงอาจล้นตลิ่งหากฝนยังตกหนักต่อเนื่อง/เตือนบ้านติดริมน้ำพร้อมรับมือ [ผู้จัดการออนไลน์ : 31 ก.ค. 49]

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – ศูนย์อุทกศาสตร์ เผยระดับน้ำปิงยังไม่ถึงขั้นวิกฤตมั่นใจถึงเที่ยงคืนวันนี้ ไม่ล้นตลิ่งเข้าท่วมแน่ ยอมรับว่า หากยังมีฝนตกหนักอาจเกิดปัญหาขึ้นได้
ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาจนถึงเย็นวันนี้ (31 ก.ค.) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุดในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ขณะเดียวกัน ยังทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ศูนย์อุทกศาสตร์และบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำปิงที่จุดตรวจวัด P.1 สะพานนวรัฐ ในตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อเวลา 17.00 น.วันนี้ (31 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 2.77 เมตร ต่ำกว่าจุดวิกฤตซึ่งอยู่ที่ระดับ 3.70 เมตร ขณะที่ระดับน้ำที่จุดตรวจวัด P.67 แม่แตง ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำปิง และเป็นจุดตรวจวัดระดับเพื่อเฝ้าระวังก่อนที่น้ำจะเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ 6 ชั่วโมง มีระดับน้ำอยู่ที่ 2.97 เมตร ต่ำกว่าจุดวิกฤตซึ่งอยู่ที่ 4.10 เมตร ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่าในช่วงตั้งแต่เย็นจนถึงเที่ยงคืนวันนี้ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่จะไม่เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วม

อย่างไรก็ตาม หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนไปแล้ว จะต้องมีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดทุกชั่วโมง โดยหลังจากนั้นหากในพื้นที่อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง และเวียงแหง ยังคงมีฝนตกหนักอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งขึ้น ซึ่งเบื้องต้นได้มีการประสานงานกับทางเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยริมสองฝั่งแม่น้ำปิงมีการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดแล้ว ในขณะที่ทางศูนย์อุทกศาสตร์ฯ ก็มีการจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมงเช่นกัน



ข้อมูลอ้างอิง
  • ข่าวสด : http://www.matichon.co.th/khaosod/
  • โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th
  •