บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคเหนือ (ส.ค. - ก.ย. 49)
ภาพดาวเทียม GOES-9 | ||||||
01/08/2006 : 08GMT |
08/08/2006 : 10GMT |
14 /08/2006 : 10GMT |
21/08/2006 : 12GMT |
|
||
|
29/08/2006 : 11GMT |
|
12/09/2006 : 11GMT |
|||
ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกันยายน
2549 มีกลุ่มเมฆปกคลุมภาคเหนือรวมถึงภาคกลางของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณจังหวัด น่าน แพร่
อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
แผนที่อากาศ | ||
02/08/2006 |
|
27/08/2006 |
09 /09/2006 |
11/09/2006 |
14/09/2006 |
รายงานจากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงเดือนสิงหาคม 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนได้พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และในช่วงกลางเดือนกันยายน ร่องฝนได้พาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าว มีฝนตกหนักเกิดขึ้น |
ปริมาณฝนสะสม | |||
14/08/2006 : 00am |
19/08/2006 : 00am |
26/08/2006 : 00am |
ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าและสีเขียวแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน พบว่าช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2549 มีปริมาณฝนสะสมหนาแน่นในบริเวณภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะ จังหวัดน่าน แพร่ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร
|
30/08/2006 : 12am |
31/08/2006 : 00am |
08/09/2006 : 12am |
ปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา | ||
14/08/2006 |
16/08/2006 |
20/08/2006 |
30/08/2006 |
31 /08/2006 |
15/09/2006 |
การติดตามปริมาณฝน ณ เวลา 7.00 น. โดยใช้สถิติของการกระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม
ประยุกต์ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาร์ และ ค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก พบว่า ช่วงเดือนสิงหาคม มีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ และช่วงกลางเดือนกันยายนมีฝนตกหนักบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
สถานี |
ปริมาณฝนรวมเดือนสิงหาคม |
ปริมาณฝนรวมเดือนกันยายน |
||||
2545 |
2549 |
เพิ่มขึ้น/ลดลง |
2545 |
2549 |
เพิ่มขึ้น/ลดลง |
|
เหนือเขื่อน |
||||||
ทุ่งช้าง (2) | 310 | 862.8 | 552.8 | 265.5 | 197.8 | -67.7 |
ท่าวังผา (2) | 296.9 | 474.3 | 177.4 | 195.2 | 206.7 | 11.5 |
น่าน | 247.1 | 316.3 | 69.2 | 341.9 | 163.2 | -178.7 |
น่าน (1) | 165.9 | 463.4 | 297.5 | 258 | 165.2 | -92.8 |
พะเยา | 225.4 | 299.3 | 73.9 | 267.4 | 238.3 | -29.1 |
ลำปาง (1) | 202.3 | 225.9 | 23.6 | 387 | 265.4 | -121.6 |
ลำพูน | 371.8 | 206.8 | -165 | 317.5 | 194.4 | -123.1 |
เชียงราย | 387.7 | 502.2 | 114.5 | 146.5 | 354.9 | 208.4 |
เชียงราย (1) | 257.3 | 466.3 | 209 | 235.4 | 417.6 | 182.2 |
เชียงใหม่ | 254.7 | 339.1 | 84.4 | 301.1 | 239.8 | -61.3 |
แพร่ | 407.3 | 175.9 | -231.4 | 189.4 | 229.1 | 39.7 |
แม่สะเรียง | 340.1 | 197.5 | -142.6 | 176.9 | 172.8 | -4.1 |
แม่ฮ่องสอน | 322.9 | 249.1 | -73.8 | 307.5 | 293.1 | -14.4 |
แม่โจ้ | 173 | 217.9 | 44.9 | 361.8 | 238.3 | -123.5 |
รวมเหนือเขื่อน | 3962.4 | 4996.8 | 1034.4 | 3751.1 | 3376.6 | -374.5 |
ใต้เขื่อน |
||||||
ชัยนาท | 154.4 | 99.7 | -54.7 | 271.8 | 468.6 | 196.8 |
ดอยมูเซอ (1) | 221.1 | 236.3 | 15.2 | 509.6 | 286 | -223.6 |
ตาก | 91 | 75.4 | -15.6 | 490.4 | 355.2 | -135.2 |
ตากฟ้า | 143.6 | 192.5 | 48.9 | 421.2 | 278.3 | -142.9 |
นครสวรรค์ | 200 | 159.5 | -40.5 | 332 | 256.5 | -75.5 |
พิจิตร | 203.4 | 174.1 | -29.3 | 668.4 | 341.7 | -326.7 |
พิษณุโลก | 339.4 | 198.5 | -140.9 | 429.5 | 278.8 | -150.7 |
ศรีสำโรง | 204.2 | 197.2 | -7 | 483.3 | 284.3 | -199 |
สุโขทัย | 158.3 | 206.3 | 48 | 571.4 | 387.8 | -183.6 |
อุตรดิตถ์ | 287.1 | 372.4 | 85.3 | 368 | 373.8 | 5.8 |
อุ้มผาง | 352.7 | 284.3 | -68.4 | 434.8 | 311.2 | -123.6 |
เขื่อนภูมิพล | 143.4 | 162.6 | 19.2 | 310.3 | 430.7 | 120.4 |
แม่สอด | 329.7 | 259.2 | -70.5 | 436.8 | 273.3 | -163.5 |
รวมใต้เขื่อน | 2828.3 | 2618 | -210.3 | 5727.5 | 4326.2 | -1401.3 |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | ||||||||||||||||
เรดาร์พิษณุโลก |
||||||||||||||||
13/08/2006 20:25 |
18/08/2006 15:25 |
21 /08/2006 10:25 |
26/08/2006 15:25 |
|
||||||||||||
29/08/2006 21:25 |
30/08/2006 13:25 |
09/09/2006 14:25 |
10/09/2006 15:25 |
|||||||||||||
ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา
พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์พิษณุโลก จะพบว่า
ในช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกันยายน บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะจังหวัด น่าน แพร่ สุโขทัย ลำปาง อุตรดิตถ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดน่าน
ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ น้ำป่าท่วมเชียงราย-พะเยาหลายจุด ร้อง"แม้ว"ระงับพนังริมน้ำปิง-รื้อฝาย [ มติชน : 9 ส.ค.49 ] เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม เกิดฝนตกหนักใน จ.เชียงราย ตั้งแต่คืนวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้น้ำป่าจากยอดดอยหัวแม่คำ พรมแดนไทย-พม่า ด้าน อ.แม่ฟ้าหลวง ไหลรวมกับแม่น้ำคำ เข้าท่วมบ้านเรือนบ้านนาโด่ หมู่ 20 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง สูงกว่า 50 เซนติเมตร ราษฎรกว่า 20 ครัวเรือน คอสะพานเชื่อมหมู่บ้านเทอดไทย-บ้านห้วยหยวกป่าโซ ถูกน้ำป่าซัดขาด น้ำป่ายังไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำบง หมู่ 1, 2, 4, 5, 8, 9 และ 11 ต.โชคชัย กิ่ง อ.ดอยหลวง, พื้นที่การเกษตรหมู่ 4, 5, 8 และ 14 ต.ป่าซาง กิ่ง อ.เวียงเชียงรุ้ง ส่วนที่ อ.เชียงของ น้ำป่าเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และบ้านเรือนหมู่ 3, 5, 13, 14, 20, 23 และบ้านเกี๋ยง หมู่ 4, 6, 17 และ 22 ต.ห้วยซ้อ สูงกว่า 1 เมตร ส่วนที่ จ.พะเยา น้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ ต.แม่ลาว ต.ฝายกวาง ต.อ่างทอง ต.หย่วน และ ต.ทุ่งผาสุข อ.เชียงคำ พื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นวงกว้าง เส้นทางคมนาคมในหมู่บ้านถูกตัดขาด สถานการณ์น้ำท่วม จ.น่าน [ InnNews : 20 ส.ค. 49]สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดน่าน วิกฤติมากขึ้น หลังน้ำไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่อย่างรวดเร็ว บางจุดระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร โดยระดับน้ำในแม่น้ำน่าน วัดที่จุดอำเภอท่าวัง-ผา ล่าสุด สูงถึง 9 เมตร 30 เซนติเมตร ขณะที่จุดวิกฤตอยู่ที่ 7 เมตร ทำให้น้ำไหลทะลัก เข้าท่วมพื้นที่ ตำบลป่าคา และตำบลศรีภูมิ รวม 6 หมู่บ้าน บางจุดน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร รวมถึงถนนสานท่าวังผา – ปัว มีน้ำท่วมสูงถึง 1 เมตร 30 เซนติเมตร รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้
สถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดน่านระดับน้ำลดลงแล้วทุกพื้นที่หากฝนไม่ตกน้ำคงจะลดและไม่มีปัญหาอะไร ระหว่างนี้จะต้องให้ความช่วยเหลือเรื่องการฟื้นฟูอาชีพ และบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 2 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 10 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 120 หลัง นอกจากนั้นยังมีโรงเรียนและระบบสาธารณูปโภค ต่าง ๆ เสียหาย ส่วนบางพื้นที่ไม่มีเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ คงจะต้องพิจารณาในการทำเขื่อนหรือแก้มลิง เช่น จังหวัดสุโขทัย แพร่ ส่วนในลำน้ำจะต้องดูแลให้น้ำไหลได้สะดวก ไม่ให้มีการรุกล้ำแม่น้ำ ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่ อ.เชียงกลาง จ.น่าน เกิดเหตุแผ่นดินทรุดเป็นรอยแยกยาวตามถนนและผ่านบ้านเรือนราษฎร จากแนวสันเขา ระยะทางยาวกว่า 500 เมตร ซึ่งจุดที่พบรอยแยกอยู่ในพื้นที่บ้านกอก หมู่ 8 ต.เชียงกลาง อ.เชียง กลาง บริเวณแนวสันเขาหลังหมู่บ้าน และที่ จ.สุโขทัย น้ำได้ไหลเข้าท่วมในเขตอำเภอเมืองขยายวงกว้าง ขณะแม่น้ำยมเอ่อล้นต่อเนื่องเซาะตลิ่งเสียหายมากขึ้น ขณะที่ อ.ศรีสำโรง เริ่มมีปัญหาเมื่อน้ำในแม่น้ำยมเลยจุดวิกฤติ ส่วนถนนจรดวิถีถ่อง เส้นทางหลักสุโขทัย-ศรีสำโรง ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร ระยะทางยาวกว่า 500 เมตร รถยนต์เล็กสัญจรลำบาก เหนือ - อีสานจมอ่างแตกหนีวุ่น กำแพงโบราณร้าว [ คมชัดลึก : 1 ก.ย.46 ] จังหวัดเขตภาคเหนือวิกฤติ เหตุฝนตกหนักมีน้ำป่าหลากเข้าท่วม ที่แม่ริมชาวบ้านผวาอ่างแตกหลังพบรอยร้าว มีน้ำซึม ส่วนเขตเมืองเชียงใหม่ กำแพงเมืองโบราณเกิดทรุดตัว ที่เมืองสามหมอกถนนเชื่อมเขตแม่สะเรียงถูกตัดขาด พิจิตรบ้าน 300 หลังถูกน้ำท่วม ส่วนสองแคว 160 ครอบครัวถูกตัดขาด อุตุฯ ออกคำเตือนสถานการณ์น่าห่วง ภาวะฝนตกหนักในคืนวันพุธที่ 30 สิงหาคม ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ ต.โป่งแยง และ ต.แม่แรม มีดินถล่มโดยเฉพาะถนนเข้าโครงการหลวงบ้านใหม่หนองหอย มีดินถนนทรุดตัวกว้างกว่า 2.5 เมตร เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร ทำให้เหลือช่องจราจรเพียง 1 ช่องทางเท่านั้น และยังพบว่าท่อลอดส่งน้ำของลำน้ำแม่สาที่อยู่ใต้สะพานใน ต.โป่งแยง ทรุดตัว จากเหตุการณ์ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อ่างเก็บน้ำสะลวงใน ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำของหมู่บ้านเกิดรอยร้าวบริเวณสันอ่างจนมีน้ำซึมออกมา หากฝนยังตกติดต่อกันเช่นนี้อาจทำให้อ่างเก็บน้ำพังอย่างแน่นอน ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักครั้งนี้ทำให้เขื่อนกั้นดินบริเวณถนนมณีนพรัตน์พังถล่มลงมาเป็นแนวยาวประมาณ 80 เมตร ขณะที่กำแพงเมืองโบราณบริเวณประตูช้างเผือก ต.ช้างเผือก ซึ่งดินภายในอุ้มน้ำไม่ไหวทำให้ดันตัวกำแพงออกมาพังเสียหายเป็นแนวยาวประมาณ 10 เมตร และเนื้อดินภายในกำแพงไหลออกมาตลอดเวลา ในวันที่ 31 สิงหาคม มีน้ำป่าไหลหลากจากลำห้วยแม่สะเรียงเข้าท่วมพื้นที่เขตเทศบาล อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยมีระดับน้ำสูงกว่า 80 เซนติเมตร และถนนในหมู่บ้านใหม่ทุ่งยาว ถนนเชื่อมหมู่บ้านแม่สะเรียง กับบ้านทุ่งพร้าว ต.แม่สะเรียง ถูกตัดขาด นอกจากนี้กระแสน้ำ ยังได้ไหลท่วมบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ติดริมน้ำ ขณะเดียวกันกระแสน้ำยังเอ่อท่วมนาข้าว เสียหายหลายร้อยไร่ ส่วนที่ จ.พะเยา รายงานว่ามีฝนตกหนักทุกอำเภอของ จ.พะเยา ตั้งแต่เวลา 14.00 น.วันที่ 30 สิงหาคม ส่งผลให้เวลา 03.00 น. วันที่ 31 สิงหาคม ได้เกิดน้ำท่วมขังในบริเวณเขตเทศบาลเมืองพะเยา หลายแห่งเนื่องจากน้ำระบายไม่ทัน โดยเฉพาะบริเวณสี่แยกปาแดงทางเข้าตัวเมืองพะเยามีน้ำท่วมขังระดับ 30 - 50 ซม. ที่ ต.ดอนทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก หมู่บ้านเดียวใน เขต อ.เมือง ที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงและได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก น้ำป่าจำนวนมากได้กัดเซาะคันดินกั้นน้ำของอ่างเก็บน้ำบ้านหินล่างแตกเป็นเป็นทางกว้าง 10 เมตร ลึก 5 เมตร ส่งผลให้น้ำในอ่างที่มีความจุ ในพื้นที่ 100 กว่าไร่ ได้ไหลล้นลำห้วยหินลาดและกัดเซาะถนนสายบ้านน้ำดำ - บ้านหินลาด ถนนสายเดียวที่เข้าหมู่บ้านหินลาดขาด ชาวบ้าน 160 ครัวเรือน ที่ จ.ลำพูน ระดับน้ำในแม่น้ำกวงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝายกั้นน้ำแม่ทาเขต ต.ทาสบเส้า อ.แม่ทาพัง จ.ลำพูน พังลงจำนวน 2 แห่ง ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนใน จ.ลำพูน 3 อำเภอ คือ อ.เมือง 7 ตำบล ได้แก่ ต.บ้านกลาง เวียงยอง ป่าสัก อุโมงค์ มะเขือแจ้ บ้านแป้น และศรีบัวบาน, อ.บ้านธิ 2 ตำบล บ้านธิและห้วยยาบ และ ต.ป่าซาง อ.ป่าซาง สถานการณ์ที่รุนแรงที่สุดคือ ส่วนของอ่างเก็บน้ำแม่สาร ต.ศรีบัวบาน ได้พังลงน้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วม ต.ป่าสัก ต.ศรีบัวบาน และต.เวียงยอง บางจุด ปริมาณน้ำสูงกว่า 50 - 70 เซนติเมตร พิษณุโลก – พะเยายังอ่วมน้ำ [ มติชน : 7 ก.ย. 46 ] จ.พิษณุโลก มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบใน อ.บางระกำ เพิ่มขึ้นเนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลมาจาก จ.สุโขทัย มีระดับสูงขึ้น โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,10,11 ต.ท่านางงาม หมู่ที่ 1,2,9 ต.ชุมแสงสงคราม หมู่ที่ 6,10 ต.คุยม่วง หมู่ที่ 7,15 ต.บางระกำ รวม 533 ครัวเรือน 2,003 คน ถนนภายในหมู่บ้านถูกน้ำท่วม 29 สาย ระยะทาง 16 กิโลเมตร ทั้งนี้ชาวบ้านหมู่ 15 บ้านวังกลุ่ม ต.บางระกำ จำนวน 7 ครัวเรือน 25 คน หลายจังหวัดน้ำท่วมยังวิกฤต [ มติชน : 15 ก.ย. 46 ] เมื่อวันที่ 14 กันยายน ในหลายจังหวัดยังคงประสบปัญหาภัยน้ำท่วม ที่ จ.พิจิตร
ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแม่น้ำยมไหลเข้าท่วม 4 อำเภอ คือ อ.สามง่าม
อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.วชิรบารมี และ กิ่ง อ.บึงนาราง ถนนสายหลักเข้าหมู่บ้าน
กว่า 20 สาย ถูกน้ำซัดตัดขาด บางจุดน้ำท่วมสูง 2 เมตร ที่ จ.เชียงราย พบรอยแผ่นดินแยกบนภูเขาสูงเป็นแนวยาว เหนือหมู่บ้านทรายกาด ต.ตับเต่า
อ.เทิง ซึ่งมีประชาชนอยู่อาศัยบริเวณเชิงเขา ประมาณ 80 ครัวเรือน ราษฎรกว่า
300 คน
|
||||||||
ข้อมูลอ้างอิง | ||||||||