บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออก ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556


ภาพเส้นทางพายุ โดย  University College London




ภาพเส้นทางพายุ โดย UNISYS Weather


รายละเอียดเพิ่มเติม : http://weather.unisys.com/hurricane/index.php


เดือนกันยายน มีพายุหมุนเขตร้อนจำนวน 8 ลูก เกิดขึ้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ ประกอบด้วย
1.พายุโซนร้อน "โทราจิ" (Tropical Storm TORAJI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 4 ก.ย. 56
2.พายุโซนร้อน "มานหยี่" (Tropical Storm MAN-YI)ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 16 ก.ย. 56
3.พายุไต้ฝุ่น "อุซางิ" (Super Typhoon-5 USAGI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 22 ก.ย. 56
4.พายุดีเปรสชั่น (Tropical Depression Eighteen) ก่อตัวและสลายตัวในวันเดียวกันคือ วันที่ 18 ก.ย. 56
5.พายุไต้ฝุ่น "ปาบึก" (Typhoon-2 PABUK) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 26 ก.ย. 56
6.พายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (Typhoon-2 WUTIP) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 30 ก.ย. 56
7.พายุโซนร้อน "เซอปัต" (Tropical Storm SEPAT) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 2 ต.ค. 56
8.พายุไต้ฝุ่น "ฟิโทว์ (Typhoon-2 FITOW) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 6 ต.ค. 56

ในจำนวนพายุทั้ง 8 ลูกนี้ มี 3 ลูก ที่เคลื่อนเข้ามาในบริเวณที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ((พื้นที่ครอบคลุมละติจูด 0 – 25 องศาเหนือ ลองจิจูด 90 - 120 องศาตะวันออก) ประกอบด้วย

1.พายุดีเปรสชั่น Eighteen
เริ่มก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ประมาณวันที่ 17 ก.ย. 56 และได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในคืนวันที่ 19 ก.ย. 56 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ในเช้าวันที่ 19 ก.ย. 56 และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดสุรินทร์ เมื่อเวลา 16.00 น. โดยหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม และนครราชสีมาในคืนวันที่ 19 ก.ย. 56 และสลายตัวที่บริเวณภาคกลางในวันที่ 20 ก.ย. 56 ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 56 

2.พายุใต้ฝุ่นอุซางิ (Usagi) เริ่มก่อตัวประมาณวันที่ 16 ก.ย. 56 ทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ และสลายตัวบริเวณมณฑลกวางสี ประเทศจีนประมาณวันที่ 22 ก.ย. 56 พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง

3.พายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) เริ่มก่อตัวประมาณวันที่ 26 ก.ย. 56 บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งเหนือเมืองเว้ ประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชั่นตามลำดับ และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครพนมในวันที่ 1 ต.ค. 56 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงอีกเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณรอยต่อของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ด้านตะวันออกและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งภาคเหนือด้านตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง บริเวณจังหวัดนครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

เดือนตุลาคม มีพายุหมุนเขตร้อนจ้านวน 6 ลูก เกิดขึ้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วย
1.พายุไต้ฝุ่น "ดานัส" (Super Typhoon DANAS) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 8 ต.ค. 56
2.พายุไ้ตฝุ่น "นารี" (Typhoon-3 NARI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 15 ต.ค. 56
3.พายุไต้ฝุ่น "วิภา" (Typhoon-4 WIPHA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 15 ต.ค. 56
4.พายุไ้ต้ฝุ่น "ฟรานซิสโก" (Super Typhoon-5 FRANCISCO) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 25 ต.ค. 56
5.พายุไต้ฝุ่น "เลกิมา" (Super Typhoon-5 LEKIMA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 26 ต.ค. 56
6.พายุไ้ต้ฝุ่น "กรอซา" (Typhoon-5 KROSA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 4 พ.ย. 56

รวมทั้งยังคงมีพายุที่ก่อตัวขึ้นเมื่อปลายเดือนกันยายน และยังคงไม่สลายตัวจนถึงต้นเดือนตุลาคม อีก 2 ลูก คือ 1.พายุโซนร้อน "เซอปัต" (Tropical Storm SEPAT) และ พายุไต้ฝุ่น "ฟิโทว์" (Typhoon-2 FITOW) อย่างไรก็ตาม พายุ 2 ลูกนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ส่วนพายุที่ส่งผลกับประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2556 มีทั้งหมด 2 ลูก คือ

1.หย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (WUTIP)
ในวันที่ 1 ต.ค. 56 บริเวณจังหวัดนครพนม และส่งผลกระทบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

2.พายุไต้ฝุ่น "นารี" (NARI)
ก่อตัวบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก  และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 15 ต.ค. 56 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและเป็นพายุดีเปรสชันในวันเดียวกัน ขณะเคลื่อนตัวผ่านตอนล่างของประเทศลาว จากนั้นได้อ่อนกาลังลงอีกเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกาลังแรงก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และมหาสารคาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและตอนล่าง รวมถึงภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ในช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. 56 หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกและเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ส่งผลให้มีฝนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนบริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. 56

สรุป จากรายงานสถานการณ์พายุในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม จะเห็นได้ว่าพายุที่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ภาคตะวันออก มีทั้งหมด 2 ลูก คือ พายุดีเปรสชั่น Eighteen ช่วงกลางเดือนกันยายน และพายุ "นารี" (NARI) ช่วงกลางเดือนตุลาคม



ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ

18/9/2556[11GMT]

19/9/2556[11GMT]

28/9/2556[15GMT]

29/9/2556[11GMT]

30/9/2556[10GMT]

2/10/2556[11GMT]

3/10/2556[11GMT]

4/10/2556[11GMT]

5/10/2556[11GMT]

6/10/2556[11GMT]

15/10/2556[10GMT]

16/10/2556[10GMT]

17/10/2556[10GMT]

18/10/2556[13GMT]

19/10/2556[09GMT]


ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556



หมายเหตุ :
เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php

จากภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT พบว่าในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม บริเวณภาคตะวันออกมีเมฆหนาปกคลุมต่อเนื่องอยู่ 4 ช่วง คือ
1. ช่วงวันที่ 18-19 ก.ย. 56 เป็นกลุ่มเมฆเกิดจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น
ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและส่งผลกระทบถึงภาคตะวันออก
2. ช่วงวันที่ 28-30 ก.ย. 56 เป็นกลุ่มเมฆที่เกิดจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก รวมทั้งกลุ่มเมฆบางส่วนเกิดจากอิทธิพลของพายุ "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ช่วงวันที่ 2-6 ต.ค. 56 เป็นกลุ่ีมเมฆที่เกิดจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนกลาง รวมทั้งมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง
4. ช่วงวันที่ 15-19 ต.ค. 56 เป็นกลุ่มเมฆที่เกิดจากอิทธิพลของพายุ "นารี" (NARI) รวมทั้งมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง




แผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา


18/9/2556

19/9/2556

20/9/2556

28/9/2556

29/9/2556

30/9/2556

2/10/2556

3/10/2556

4/10/2556

5/10/2556

6/10/2556

14/10/2556

15/10/2556

16/10/2556

17/10/2556

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php


เดือนกันยายน 2556 ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือนและมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องรุนแรงหลายพื้นที่ในประเทศไทยตอนบน จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดเดือน สำหรับภาคตะวันออกมีฝนตกหนักมากเกิดขึ้น 2 ช่วง คือ
1.ประมาณวันที่ 18-20 ก.ย. 56 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น Eighteen
2.ช่วงปลายเดือนประมาณวันที่ 28-30 ก.ย. 56 เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีฝนหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด 

เดือนตุลาคม 2556 ในระยะครึ่งแรกของเดือนร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับในช่วงต้นเดือนพายุดีเปรสชันที่อ่อนกาลังลงจากพายุโซนร้อย “หวูติ๊บ” (WUTIP 1321) ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณจังหวัดนครพนม และในช่วงวันที่ 16-17 ต.ค. 56 มีหย่อมความกดอากาศต่ากาลังแรงที่อ่อนกาลังลงจากพายุโซนร้อน “นารี” (NARI) เข้าปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางของประเทศไทย ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกาลังแรงขึ้นในช่วงดังกล่าว สำหรับภาคตะวันออก มีฝนตกหนักมาก 2 ช่วง คือ
1.ช่วงต้นเดือนตุลาคม ประมาณวันที่ 2-6 ต.ค. 56 เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนัก
2.ช่วงกลางเดือนตุลาคม ประมาณวันที่ 14-17 ต.ค. 56 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "นารี" (NARI) รวมทั้ังมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง



แผนภาพฝนรายเดือน โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

จากแผนภาพฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ยและแผนภาพปริมาณฝนรวมสูง-ต่ำกว่าค่าปกติ ของกรมอุตุนิยมวิทยา เปรียบเทียบช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 2556 หากพิจารณาเฉพาะภาคตะวันออก จะเห็นได้ว่า
เดือนกรกฎาคม มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 433 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 56% โดยมีฝนตกมากช่วงครึ่งหลังของเดือน
เดือนสิงหาคม มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 300 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าปกติ 1% เดือนนี้ภาคตะวันออกมีฝนตกค่อนข้างน้อย
เดือนกันยายน มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 441 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 34% เดือนนี้มีฝนตกมากช่วงกลางเดือนจนถึงปลายเดือน
เดือนตุลาคม มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 305 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 35% เดือนนี้มีฝนตกมากช่วงต้นเดือนจนถึงกลางเดือน

สรุป
ภาคตะวันออกมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ยมากที่สุดในเดือนกันยายน รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม ตุลาคม และสิงหาคม แต่หากพิจารณาในระดับพื้นที่ย่อยลงไปอีก พบว่า้เดือนกรกฎาคมจะมีปริมาณฝนมากใกล้เคียงเดือนกันยายน แต่ลักษณะของฝนกระจุกตัวมากอยู่บริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี เป็นส่วนใหญ่ ต่างจากเดือนกันยายนที่มีฝนตกหนักกระจายตัวในหลายพื้นที่ ครอบคลุมถึงตอนบนของภาค บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก และฉะเชิงเทรา


ข้อมูลเพิ่มเติม : รายงานสภาวะอากาศรายเดือน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม



แผนภาพปริมาณฝนสะสมรายเดือนสังเคราะห์จากข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


กรกฎาคม 2556
ฝนสะสมเฉลี่ย 444 มิลลิเมตร

สิงหาคม 2556
ฝนสะสมเฉลี่ย 275 มิลลิเมตร

กันยายน 2556
ฝนสะสมเฉลี่ย 443 มิลลิเมตร

ตุลาคม 2556
ฝนสะสมเฉลี่ย 305 มิลลิเมตร

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนในพื้นที่ภาคตะวันออก พบว่าเดือนกรกฎาคมและเดือนกันยายนมีปริมาณฝนใกล้เคียงกัน แต่เดือนกรกฎาคมมีฝนตกหนักกระจุกตัวอยู่บริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ส่วนเดือนกันยายนมีตกหนักกระจายตัวในหลายพื้นที่
ช่วงเดือนตุลาคมปริมาณฝนลดลง ส่วนเดือนสิงหาคมปริมาณฝนน้อยกว่าเดือนอื่น ๆ




แผนที่ความกดอากาศและความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. เหนือระดับน้ำทะเล ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556
โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)



ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

เรดาร์ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร

18/9/2556 [14:03GMT]

19/9/2556 [05:03GMT]

28/9/2556 [20:03GMT]

29/9/2556 [19:03GMT]

30/9/2556 [16:03GMT]

DBZ

3/10/2556 [14:03GMT]

4/10/2556 [02:03GMT]

5/10/2556 [10:03GMT]

6/10/2556 [06:03GMT]

15/10/2556 [19:03GMT]

16/10/2556 [04:03GMT]

17/10/2556 [05:03GMT]

18/10/2556 [14:03GMT]

21/10/2556 [06:03GMT]

22/10/2556 [07:03GMT]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : เรดาร์ระยอง http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rygradar.php


ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

เรดาร์สัตหีบ รัศมี 240 กิโลเมตร

19/9/2556 [19:00 Local Time]

20/9/2556 [05:00 Local Time]

28/9/2556 [04:00 Local Time]

29/9/2556 [04:00 Local Time]

30/9/2556 [20:00 Local Time]

DBZ

2/10/2556 [18:00 Local Time]

3/10/2556 [18:00 Local Time]

4/10/2556 [20:00 Local Time]

5/10/2556 [02:00 Local Time]

6/10/2556 [14:00 Local Time]

15/10/2556 [17:00 Local Time]

16/10/2556 [08:00 Local Time]

17/10/2556 [13:00 Local Time]

19/10/2556 [08:00 Local Time]

20/10/2556 [14:00 Local Time]

รายละเอียดเพิ่มเติม : เรดาร์สัตหีบ http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rm_satradar.php

จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา (เรดาร์ระยอง) และเรดาร์ตรวจอากาศของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (เรดาร์สัตหีบ) พบว่าพื้นที่ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักทั้งหมด 4 ช่วง
1. ช่วงกลางเดือนกันยายน 2556 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและส่งผลกระทบถึงภาคตะวันออก
2. ช่วงปลายเดือนกันยายน 2556 เนื่องจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง
3. ช่วงต้นเดือนตุลาคม 2556 เนื่องจากมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง
4. ช่วงกลางเดือนตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "นารี" (NARI) รวมทั้งมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง

จากเหตุการณ์ฝนตกหนักดังกล่าว ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออก ประกอบด้วย จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี



แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน สังเคราะห์จากข้อมูลปริมาณฝนรายชั่วโมงของ GSMaP
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
(องค์การมหาชน)


12/9/2556

13/9/2556

18/9/2556

19/9/2556


26/9/2556

27/9/2556

28/9/2556

2/10/2556

3/10/2556

4/10/2556

5/10/2556

6/10/2556

15/10/2556

16/10/2556

18/8/2556


แผนภาพแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ GSMaP ในเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 พบว่าพื้นที่ภาคตะวันออกมีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากใน 4 ช่วงเวลา คือ ช่วงกลางเดือนกันยายน ปลายเดือนกันยายน ต้นเดือนตุลาคม และกลางเดือนตุลาคม


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA


18/9/2556[00Z]

19/9/2556[00Z]

26/9/2556[00Z]

27/9/2556[00Z]

28/9/2556[00Z]

2/10/2556[00Z]

3/10/2556[00Z]

4/10/2556[00Z]

5/10/2556[00Z]

6/10/2556[00Z]

15/10/2556[00Z]

16/10/2556[00Z]

17/10/2556[00Z]

18/10/2556[00Z]

19/10/2556[00Z]
mm.

แผนภาพแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือน
โดย NASA

กรกฎาคม 2556

สิงหาคม 2556

กันยายน 2556

ตุลาคม 2556

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่าในพื้นที่ภาคตะวันออกมีฝนกระจุกตัวกันมากใน 4 ช่วงเวลา ประกอบด้วย กลางเดือนกันยายน ปลายเดือนกันยายน ต้นเดือนตุลาคม และกลางเดือนตุลาคม เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ
ข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น และหากพิจารณาดูข้อมูลเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม เห็นได้ว่าเดือนกรกฎาคมภาคตะวันออกมีฝนค่อนข้างมากบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ต่อมาในช่วงเดือนสิงหาคมปริมาณฝนลดลง
ค่อนข้างมาก และเดือนกันยายนมีฝนเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง โดยปริมาณฝนกระจายตัวมากกว่าเดือนกรกฎาคม และต่อมาในเดือนตุลาคมปริมาณฝนลดง
แต่ยังคงมีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่ จากเหตุการณ์ที่มีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมต่อเนื่อง
เป็นเวลานาน


ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

         รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556
บริเวณภาคตะวันออก พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน
แสดงดังตารางด้านล่าง
และสถานีที่ตรวจวัดปริมาณฝน ได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน อยู่ในพื้นที่จังหวัดตราด และ ชลบุรี

วันที่ สถานี ตำบล อำเภอ จังหวัด  ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
10/9/2013 ชลบุรี หนองซ้ำซาก บ้านบึง ชลบุรี                                 52.4
12/9/2013 จันทบุรี ตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชฌกูฎ จันทบุรี                                 81.9
13/9/2013 จันทบุรี ตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชฌกูฎ จันทบุรี                                 98.1
พลิ้ว คมบาง เมืองจันทบุรี จันทบุรี                                 76.5
คลองใหญ่ ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด                                 69.9
14/9/2013 จันทบุรี ตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชฌกูฎ จันทบุรี                                 60.3
พลิ้ว คมบาง เมืองจันทบุรี จันทบุรี                                 53.9
15/9/2013 คลองใหญ่ ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด                                159.6
จันทบุรี ตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชฌกูฎ จันทบุรี                                 73.8
พลิ้ว คมบาง เมืองจันทบุรี จันทบุรี                                 61.8
16/9/2013 คลองใหญ่ ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด                                 70.6
18/9/2013 คลองใหญ่ ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด                                170.0
พลิ้ว คมบาง เมืองจันทบุรี จันทบุรี                                 77.6
28/9/2013 ชลบุรี หนองซ้ำซาก บ้านบึง ชลบุรี                                 83.4
29/9/2013 คลองใหญ่ ไม้รูด คลองใหญ่ ตราด                                 60.8
3/10/2013 ชลบุรี หนองซ้ำซาก บ้านบึง ชลบุรี                                 74.5
จันทบุรี ตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชฌกูฎ จันทบุรี                                 71.6
เกาะสีชัง ท่าเทววงศ์ เกาะสีชัง ชลบุรี                                 58.0
ห้วยโป่ง (1) ห้วยโป่ง เมืองระยอง ระยอง                                 53.8
4/10/2013 ชลบุรี หนองซ้ำซาก บ้านบึง ชลบุรี                                 91.5
พัทยา บางละมุง บางละมุง ชลบุรี                                 83.0
เกาะสีชัง ท่าเทววงศ์ เกาะสีชัง ชลบุรี                                 81.0
6/10/2013 พลิ้ว คมบาง เมืองจันทบุรี จันทบุรี                                 53.9
13/10/2013 แหลมฉบัง ทุ่งสุขลา ศรีราชา ชลบุรี                                 63.5
15/10/2013 เกาะสีชัง ท่าเทววงศ์ เกาะสีชัง ชลบุรี                                100.4
แหลมฉบัง ทุ่งสุขลา ศรีราชา ชลบุรี                                 66.0
พัทยา บางละมุง บางละมุง ชลบุรี                                 51.6
จันทบุรี ตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชฌกูฎ จันทบุรี                                 50.5
16/10/2013 แหลมฉบัง ทุ่งสุขลา ศรีราชา ชลบุรี                                 73.3
ชลบุรี หนองซ้ำซาก บ้านบึง ชลบุรี                                 71.9
เกาะสีชัง ท่าเทววงศ์ เกาะสีชัง ชลบุรี                                 70.5
ห้วยโป่ง (1) ห้วยโป่ง เมืองระยอง ระยอง                                 50.4
17/10/2013 ห้วยโป่ง (1) ห้วยโป่ง เมืองระยอง ระยอง                                 81.2
แหลมฉบัง ทุ่งสุขลา ศรีราชา ชลบุรี                                 52.9
23/10/2013 พัทยา บางละมุง บางละมุง ชลบุรี                                 68.0
หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร


ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหารชน)

            รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556 บริเวณภาคตะัวันออก
พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง และสถานีที่ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน
อยู่ในพื้นที่จังหวัดตราดและปราจีนบุรี

วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
2013-09-03 บ้านด่านชุมพล ด่านชุมพล บ่อไร่ ตราด                                 55.6
2013-09-12 เปร็ดใน ห้วงน้ำขาว เมืองตราด ตราด                                 63.6
บ้านหนองขอน พลิ้ว แหลมสิงห์ จันทบุรี                                 55.2
2013-09-13 หาดทับทิม แหลมกลัด เมืองตราด ตราด                                130.6
บ้านหนองขอน พลิ้ว แหลมสิงห์ จันทบุรี                                 85.2
หนองบอน หนองบอน บ่อไร่ ตราด                                 75.6
สตอ สะตอ เขาสมิง ตราด                                 75.6
ปัถวี ปัถวี มะขาม จันทบุรี                                 69.8
ตะเคียนทอง ตะเคียนทอง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี                                 66.0
บ้านด่านชุมพล ด่านชุมพล บ่อไร่ ตราด                                 63.0
เปร็ดใน ห้วงน้ำขาว เมืองตราด ตราด                                 50.2
2013-09-14 หาดทับทิม แหลมกลัด เมืองตราด ตราด                                 93.0
เขาระกำ คลองใหญ่ แหลมงอบ ตราด                                 78.6
เปร็ดใน ห้วงน้ำขาว เมืองตราด ตราด                                 74.8
2013-09-15 หาดทับทิม แหลมกลัด เมืองตราด ตราด                                124.6
เปร็ดใน ห้วงน้ำขาว เมืองตราด ตราด                                 93.4
บ้านด่านชุมพล ด่านชุมพล บ่อไร่ ตราด                                 91.2
สตอ สะตอ เขาสมิง ตราด                                 90.2
เขาระกำ คลองใหญ่ แหลมงอบ ตราด                                 86.6
ปัถวี ปัถวี มะขาม จันทบุรี                                 68.2
บ้านหนองขอน พลิ้ว แหลมสิงห์ จันทบุรี                                 60.8
บ้านแหลมค้อ ตะกาง เมืองตราด ตราด                                 54.6
2013-09-18 หาดทับทิม แหลมกลัด เมืองตราด ตราด                                100.0
เปร็ดใน ห้วงน้ำขาว เมืองตราด ตราด                                 98.8
เขาระกำ คลองใหญ่ แหลมงอบ ตราด                                 75.2
บางเบ้า เกาะช้างใต้ กิ่งอำเภอเกาะช้าง ตราด                                 64.8
บ้านหนองขอน พลิ้ว แหลมสิงห์ จันทบุรี                                 64.6
บ้านแหลมค้อ ตะกาง เมืองตราด ตราด                                 61.6
2013-09-19 ท่างาม ประจันตคาม ประจันตคาม ปราจีนบุรี                                121.2
วังท่าช้าง วังท่าช้าง กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี                                101.6
ทับลาน บุพราหมณ์ นาดี ปราจีนบุรี                                101.0
บ้านหัวนา นาหินลาด ปากพลี นครนายก                                 93.0
วังรีรีสอร์ท เขาพระ เมืองนครนายก นครนายก                                 92.4
น้ำตกปางสีดา หนองตะเคียนบอน วัฒนานคร สระแก้ว                                 84.6
หินแร่ ท่ากระดาน สนามชัยเขต ฉะเชิงเทรา                                 70.4
บ้านบางขวัญ บางขวัญ เมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา                                 54.6
หนองแหน หนองแหน พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา                                 52.2
หนองคอก คลองตะเกรา ท่าตะเกียบ ฉะเชิงเทรา                                 50.2
2013-09-24 หาดทับทิม แหลมกลัด เมืองตราด ตราด                                 50.2
2013-09-27 หนองแหน หนองแหน พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา                                 62.4
2013-09-28 หนองสรวง ทุ่งขวาง พนัสนิคม ชลบุรี                                 55.4
บางเบ้า เกาะช้างใต้ กิ่งอำเภอเกาะช้าง ตราด                                 51.2
2013-09-29 ท่างาม ประจันตคาม ประจันตคาม ปราจีนบุรี                                153.0
บ้านหัวนา นาหินลาด ปากพลี นครนายก                                 73.2
พลูตาหลวง พลูตาหลวง สัตหีบ ชลบุรี                                 52.4
2013-09-30 เขาระกำ คลองใหญ่ แหลมงอบ ตราด                                109.4
บ้านหนองขอน พลิ้ว แหลมสิงห์ จันทบุรี                                 86.8
เปร็ดใน ห้วงน้ำขาว เมืองตราด ตราด                                 56.4
หาดทับทิม แหลมกลัด เมืองตราด ตราด                                 52.8
2013-10-03 ขุนซ่อง ขุนซ่อง แก่งหางแมว จันทบุรี                                 86.0
หาดทับทิม แหลมกลัด เมืองตราด ตราด                                 78.8
ดอนกลาง ดอนฉิมพลี บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา                                 78.2
วังท่าช้าง วังท่าช้าง กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี                                 62.4
หนองเสือช่อ ธาตุทอง บ่อทอง ชลบุรี                                 61.0
หนองสรวง ทุ่งขวาง พนัสนิคม ชลบุรี                                 55.2
น้ำตกปางสีดา หนองตะเคียนบอน วัฒนานคร สระแก้ว                                 51.6
สะพานโยธกา บางเตย บ้านสร้าง ปราจีนบุรี                                 51.0
2013-10-04 พลูตาหลวง พลูตาหลวง สัตหีบ ชลบุรี                                 59.4
ขุนซ่อง ขุนซ่อง แก่งหางแมว จันทบุรี                                 58.4
บางเบ้า เกาะช้างใต้ กิ่งอำเภอเกาะช้าง ตราด                                 57.6
2013-10-06 ดอนกลาง ดอนฉิมพลี บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา                                 90.0
สตอ สะตอ เขาสมิง ตราด                                 62.2
หนองบอน หนองบอน บ่อไร่ ตราด                                 54.8
ท่างาม ประจันตคาม ประจันตคาม ปราจีนบุรี                                 53.6
บ้านหนองขอน พลิ้ว แหลมสิงห์ จันทบุรี                                 53.2
น้ำตกปางสีดา หนองตะเคียนบอน วัฒนานคร สระแก้ว                                 51.8
2013-10-15 บ้านด่านชุมพล ด่านชุมพล บ่อไร่ ตราด                                 83.0
เปร็ดใน ห้วงน้ำขาว เมืองตราด ตราด                                 74.8
ปัถวี ปัถวี มะขาม จันทบุรี                                 70.2
หนองสรวง ทุ่งขวาง พนัสนิคม ชลบุรี                                 67.2
หนองเสือช่อ ธาตุทอง บ่อทอง ชลบุรี                                 57.6
หินแร่ ท่ากระดาน สนามชัยเขต ฉะเชิงเทรา                                 51.0
2013-10-16 หนองสรวง ทุ่งขวาง พนัสนิคม ชลบุรี                                 56.2
2013-10-18 โคคลาน โคคลาน ตาพระยา สระแก้ว                                 55.2
2013-10-28 ดอนกลาง ดอนฉิมพลี บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา                                 81.2
บ้านหนองขอน พลิ้ว แหลมสิงห์ จันทบุรี                                 66.8

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/Interpolated/ShowImg.php



รายงานการเตือนภัยปริมาณฝนผ่าน sms โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

จากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่าช่วงที่เกิดฝนตกหนักในเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556 มีการเตือนภัยปริมาณฝนในระดับเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤต

วันที่เตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสม(มม.)
ระดับการเตือนภัย
3/9/2013 15:00:00 ฝน14-15น. ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด
38
เฝ้าระวังสูงสุด
7/9/2013 10:00:00 ฝน09-10น. ต.เกาะช้างใต้ อ.กิ่งอำเภอเกาะช้าง จ.ตราด
37.8
เฝ้าระวังสูงสุด
8/9/2013 16:00:00 ฝน15-16น. ต.ห้วงน้ำขาว อ.เมืองตราด จ.ตราด
38.4
เฝ้าระวังสูงสุด
13/9/2013 4:00:00 ฝน13/07-14/04น. ต.แหลมกลัด อ.เมืองตราด จ.ตราด
101.2
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00 ฝน03-04น. ต.แหลมกลัด อ.เมืองตราด จ.ตราด
35.6
เฝ้าระวังสูงสุด
14/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีจันทบุรี จ.จันทบุรี
98.1
เฝ้าระวังสูงสุด
15/9/2013 2:00:00 ฝน01-02น. ต.แหลมกลัด อ.เมืองตราด จ.ตราด
36.8
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00 ฝน15/07-16/01น. ต.แหลมกลัด อ.เมืองตราด จ.ตราด
98.4
เฝ้าระวังสูงสุด
16/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีคลองใหญ่ จ.ตราด
159.6
วิกฤต
18/9/2013 21:00:00 EIGHTEEN Tropical Depression is 367 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
6:00:00 ฝน18/07-19/06น. ต.ห้วงน้ำขาว อ.เมืองตราด จ.ตราด
98.2
เฝ้าระวังสูงสุด
6:00:00 ฝน18/07-19/06น. ต.แหลมกลัด อ.เมืองตราด จ.ตราด
95.2
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 22:00:00 ฝน20-21น. ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
43.4
วิกฤต
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีคลองใหญ่ จ.ตราด
170
วิกฤต
6:00:00 ฝน19/07-20/06น. ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
95.6
เฝ้าระวังสูงสุด
5:00:00 ฝน19/07-20/04น. ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
95.8
เฝ้าระวังสูงสุด
3:00:00 ฝน19/07-20/03น. ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
96.2
เฝ้าระวังสูงสุด
20/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีกบินทร์บุรี-2 จ.ปราจีนบุรี
159.9
วิกฤต
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี
130.6
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีสระแก้ว-2 จ.สระแก้ว
104
เฝ้าระวังสูงสุด
23/9/2013 13:00:00 เขื่อนขุนด่านเพิ่มเป็นวิกฤต92%
วิกฤต
27/9/2013 1:00:00 ฝน23-00น. ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
42.4
วิกฤต
29/9/2013 13:00:00 ฝน12-13น. ต.นาหินลาด อ.ปากพลี จ.นครนายก
38.2
เฝ้าระวังสูงสุด
13:00:00 ฝน12-13น. ต.นาหินลาด อ.ปากพลี จ.นครนายก
45.2
วิกฤต
5:00:00 ฝน29/07-30/05น. ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
151
วิกฤต
3:00:00 ฝน29/07-30/03น. ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
108.6
เฝ้าระวังสูงสุด
3:00:00 ฝน02-03น. ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
42
วิกฤต
3:00:00 ฝน02-03น. ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
38
เฝ้าระวังสูงสุด
30/9/2013 23:00:00 ฝน22-23น. ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
38.4
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี
187.6
วิกฤต
8:00:00 WUTIP Typhoon Cat 1 is 270 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
1:00:00 ฝน00-01น. ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด
38.4
เฝ้าระวังสูงสุด
1:00:00 ฝน30/07-01/01น. ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด
100.8
เฝ้าระวังสูงสุด
2/10/2013 19:00:00 ฝน18-19น. ต.บางเตย อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
37.2
เฝ้าระวังสูงสุด
12:00:00 เขื่อนขุนด่านลดเป็นเฝ้าระวังพิเศษ89%
เฝ้าระวังสูงสุด
3/10/2013 20:00:00 ฝน19-20น. ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
37.4
เฝ้าระวังสูงสุด
20:00:00 ฝน18-19น. ต.ธาตุทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
36.2
เฝ้าระวังสูงสุด
20:00:00 ฝน19-20น. ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
42
วิกฤต
4:00:00 ฝน03-04น. ต.แหลมกลัด อ.เมืองตราด จ.ตราด
37.6
เฝ้าระวังสูงสุด
4/10/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีสระแก้ว-2 จ.สระแก้ว
119.8
เฝ้าระวังสูงสุด
15/10/2013 9:00:00 NARI Typhoon Cat 1 is 238 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
5:00:00 ฝน04-05น. ต.ปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี
36.8
เฝ้าระวังสูงสุด
16/10/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
100.4
เฝ้าระวังสูงสุด
28/10/2013 23:00:00 ฝน22-23น. ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
40
เฝ้าระวังสูงสุด



แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)


คาดการณ์เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 56


18/9/56 19.00 น. - 19/9/56 19.00 น.

19/9/56 19.00 น. - 20/9/56 19.00 น.

20/9/56 19.00 น. - 21/9/56 19.00 น.

21/9/56 19.00 น. - 22/9/56 19.00 น.

22/9/56 19.00 น. - 23/9/56 19.00 น.

23/9/56 19.00 น. - 24/9/56 19.00 น.

24/9/56 19.00 น. - 25/9/56 19.00 น.


คาดการณ์เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 56


27/9/56 19.00 น. - 28/9/56 19.00 น.

28/9/56 19.00 น. - 29/9/56 19.00 น.

29/9/56 19.00 น. - 30/9/56 19.00 น.

30/9/56 19.00 น. - 1/10/56 19.00 น.

1/10/56 19.00 น. - 2/10/56 19.00 น.

2/10/56 19.00 น. - 3/10/56 19.00 น.

3/10/56 19.00 น. - 4/10/56 19.00 น.


คาดการณ์เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 56

1/10/56 19.00 น. - 2/10/56 19.00 น.

2/10/56 19.00 น. - 3/10/56 19.00 น.

3/10/56 19.00 น. - 4/10/56 19.00 น.

4/10/56 19.00 น. - 5/10/56 19.00 น.

5/10/56 19.00 น. - 6/10/56 19.00 น.

6/10/56 19.00 น. - 7/10/56 19.00 น.

7/10/56 19.00 น. - 8/10/56 19.00 น.



คาดการณ์เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 56

15/10/56 19.00 น. - 16/10/56 19.00 น.

16/10/56 19.00 น. - 17/10/56 19.00 น.

17/10/56 19.00 น. - 18/10/56 19.00 น.

18/10/56 19.00 น. - 19/10/56 19.00 น.

19/10/56 19.00 น. - 20/10/56 19.00 น.

20/10/56 19.00 น. - 21/10/56 19.00 น.

21/10/56 19.00 น. - 22/10/56 19.00 น.


     จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF
ผลการคาดการณ์ใน 4 วัน คือ 18 ก.ย. 56 27 ก.ย. 56 1 ต.ค. 56 และ 15 ต.ค. 56 มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกใน 4 ช่วงเวลา คือ ช่วงกลางเดือนกันยายน (วันที่ 18-20 ก.ย. 56)
ช่วงกลายเดือนกันยายน (วันที่ 27-29 ก.ย. 56) ช่วงต้นเดือนตุลาคม (วันที่ 1-4 ต.ค. 56) และช่วงกลางเดือนตุลาคม (วันที่ 15-17 ต.ค.  56)
   โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เมื่อเทียบกับแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ GSMap แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA
เรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา และการตรวจวัดปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา และสถานีโทรมาตรสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร  





สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทาน,การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนขุนด่าน

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขุนด่าน

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนขุนด่าน

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนคลองสียัด

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนคลองสียัด

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนคลองสียัด

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนประแสร์

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนประแสร์

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนประแสร์

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนหนองปลาไหล

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนหนองปลาไหล

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนหนองปลาไหล

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนบางพระ

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนบางพระ

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนบางพระ

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html


ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำสะสมรายเดือน ปี 2556 พื้นที่ภาคตะวันออก

                                                                                                                      หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
เขื่อน
พฤษภาคม 
มิถุนายน 
กรกฎาคม 
สิงหาคม 
กันยายน 
ตุลาคม 
 บางพระ                   1               5               4               2                8             32
 หนองปลาไหล                   8             23             11             14               15           127
 คลองสียัด                   3             22             23             25             141           201
 ขุนด่านปราการชล                   2             26             52             59             114             41
 ประแสร์                   1             20             23             20               53           165
 รวม              15             96           114           119             330           566



จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกค่อนข้างมาก
และทำให้เกิดน้ำล้นอ่างฯ ในหลายอ่างฯ ด้วยกัน รายละเอียดดังนี้
เขื่อนขุนด่านปราการชล

  • ปริมาณน้ำกักเก็บสูงสุด 222 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 27 ก.ย. 56 (ความจุอ่างฯ 224 ล้าน ลบ.ม.)
  • ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 13.50 ล้าน ลบ.ม./วัน ในวันที่ 21 ก.ย. 56 และเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมสูงสุด 114 ล้าน ลบ.ม.
  • ปริมาณน้ำระบายสูงสุด 10.37 ล้าน ลบ.ม./วัน ช่วงวันที่ 28-30 ก.ย. 56

  • เขื่อนคลองสียัด
  • ปริมาณน้ำกักเก็บสูงสุด 445 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 9 และ 17 ต.ค. 56 มีสถานการณ์น้ำเกินระดับกักเก็บปกติช่วงวันที่ 8 ต.ค. - 16 พ.ย. 56 (ระดับกักเก็บปกติ 420 ล้าน ลบ.ม. ระดับกักเก็บสูงสุด 450 ล้าน ลบ.ม.)
  • ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 44.50 ล้าน ลบ.ม./วัน ในวันที่ 6 ต.ค. 56 โดยในเดือนตุลาคม 2556 มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมสูงสุดที่ 201 ล้าน ลบ.ม. รองลงมาคือเดือนกันยายนที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสม 141 ล้าน ลบ.ม.
  • ปริมาณน้ำระบายสูงสุด 5.53 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 18 ต.ค. 56

  • เขื่อนประแสร์
  • ปริมาณน้ำกักเก็บสูงสุด 282 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 18 ต.ค. 56 มีสถานการณ์น้ำเกินระดับกักเก็บปกติช่วงวันที่ 8 ต.ค. 56 จนถึงช่วงกลางเดือน พ.ย. 56 (ระดับกักเก็บปกติ 248 ล้าน ลบ.ม. ระดับกักเก็บสูงสุด 320 ล้าน ลบ.ม.)
  • ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 18.73 ล้าน ลบ.ม./วัน ในวันที่ 17 ต.ค. 56 โดยในเดือนตุลาคม 2556 มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมสูงสุด 165 ล้าน ลบ.ม. รองลงมาคือเดือนกันยายนที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสม 58 ล้าน ลบ.ม.
  • ปริมาณน้ำระบายสูงสุด 6.90 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 19 ต.ค. 56

  • เขื่อนหนองปลาไหล
  • ปริมาณน้ำกักเก็บสูงสุด 179 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 17 ต.ค. 56 มีสถานการณ์น้ำเกินระดับกักเก็บปกติช่วงวันที่ 6 ต.ค. -15 พ.ย. 56 (ระดับกักเก็บปกติ 164 ล้าน ลบ.ม. ระดับกักเก็บสูงสุด 206 ล้าน ลบ.ม.)
  • ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 11.70 ล้าน ลบ.ม./วัน ในวันที่ 17 ต.ค. 56 โดยในเดือนตุลาคม 2556 มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมสูงสุด 127 ล้าน ล.ม. ต่างจากเดือนอื่น ๆ ค่อนข้างมาก
  • ปริมาณน้ำระบายสูงสุด 11.26 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 18 ต.ค. 56

  • เขื่อนบางพระ
    จากเหตุการฝนตกหนักในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นแต่ไม่อยู่ในสภาวะวิกฤติ
    ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 4.88 ล้าน ลบ.ม./วัน ในวันที่ 17 ต.ค. 56 โดยเดือนตุลาคมมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 32 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น
    ปริมาณน้ำระบายเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 1 ล้าน ลบ.ม./วัน



    ระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่า โดย กรมชลประทาน


    แม่น้ำปราจีนบุรี (คลองพระสทึีง)
    สถานี Kgt.9 บ้านเขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ความจุลำน้ำ 480 ลบ.ม./วินาที มีปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้น 3 ช่วง รายละเอียดดังนี้
             - ช่วงวันที่ 20-29 ก.ย. 56 น้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 21-22 ก.ย. 56 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่วัดได้ 540 ลบ.ม./วินาที วันที่ 22 ก.ย. 56
              - ช่วงวันที่ 28 ก.ย. - 11 ต.ค. 56 น้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. 56 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่วัดได้ 761 ลบ.ม./วินาที วันที่ 6 ต.ค. 56
              - ช่วงวันที่ 17-23 ต.ค. 56 น้ำไม่ล้นตลิ่ง ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่วัดได้ 428 ลบ.ม./วินาที วันที่ 20 ต.ค. 56

    Kgt.10 บ้านสระขวัญ อ.เมือง จ.สระแก้ว ความจุลำน้ำ 285 ลบ.ม./วินาที
    มีปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้น 3 ช่วง รายละเอียดดังนี้
              - ช่วงวันที่ 20-25 ก.ย. 56 ล้นตลิ่งช่วงวันที่ 22-24 ก.ย. 56 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่วัดได้ 320 ลบ.ม./วินาที วันที่ 23 ต.ค. 56
              - ช่วงวันที่ 28 ก.ย. - 13 ต.ค. 56 ล้นตลิ่งวันที่ 5-10 ต.ค. 56 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่วัดได้ 390 ลบ.ม./วินาที วันที่ 7 ต.ค. 56
              - ช่วงวันที่ 17-25 ต.ค. 56 ล้นตลิ่งวัีนที่ 20-22 ต.ค. 56 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่วัดได้ 303 ลบ.ม./วินาที วันที่ 21 ต.ค. 56


    แม่น้ำปราจีนบุรี-บางปะกง
    Kgt.1 บ้านในเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรความจุลำน้ำ 838 ลบ.ม./วินาที
    เกิดสถานการณ์น้ำล้่นตลิ่ง ช่วงวันที่ 29 ก.ย. - 22 ต.ค. 56 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่วัดได้ 912 ลบ.ม./วินาที วันที่ 12 ต.ค. 56
              
    Kgt.3 บ้านกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรความจุลำน้ำ 578 ลบ.ม./วินาที
    เกิดน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 22 ก.ย. 15 ต.ค. 56 ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่วัดได้ 763 ลบ.ม./วินาที วันที่ 9 ต.ค. 56

    ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

    รายงานการตรวจวัดระดับน้ำจากสถานีโทรมาตร พบว่าจากเหตุการณ์ฝนตกหนักช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก
    แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง คลองพระปรง คลองพรหมโหด เป็นต้น รายละเอียดตามกราฟดังต่อไปนี้


    สถานี NYK000-องครักษ์
    ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 20 ก.ย. 56 ถึง 14 พ.ย. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 3.56 ม.รทก. วันที่ 19 ต.ค. 56


    สถานี BPK003-บางน้ำเปรี้ยว
    ต.บางขนาก อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 1 ต.ค.56 ถึง 9 พ.ย. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 3.26 ม.รทก. วันที่ 16 ต.ค. 56


    สถานี BPK004-พนมสารคาม
    ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

    เกิดน้ำล้นตลิ่ง 2 ช่วง คือวันที่ 22-28 ก.ย. 56, 1-26 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 7.35 ม.รทก. วันที่ 21 ต.ค. 56

    สถานี PRC001-กบินทร์บุรี
    ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

    เกิดน้ำล้นตลิ่งวัดได้ตั้งแต่ 23 ก.ย. 56 ถึง 27 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 14.38 ม.รทก. วันที่ 8 ต.ค. 56

    สถานี PRC002-เมืองปราจีนบุรี
    ต.หน้าเมือง อ.เมืองปราจีน จ.ปราจีนบุรี

    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 24 ก.ย. 56 ถึง 28 ต.ค. 56
    ระดับสูงสุดที่วัดได้ 6.05 ม.รทก. วันที่ 12 ต.ค. 56

    สถานี SKE001-คลองพระปรง
    ต. ศาลาลำดวน อ. เมืองสระแก้ว จ. สระแก้ว

    น้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 16 ก.ย. 56 ถึง 28 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 20.23 ม.รทก. วันที่ 8 ต.ค. 56

    สถานี SKE002-เมืองสระแก้ว
    ต.สระขวัญ อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
    น้ำล้นตลิ่ง 3 ช่วง คือวันที่ 22-23 ก.ย. 56 วันที่ 5-10 ต.ค. 56 และวันที่ 20-21 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 36.46 ม.รทก. วันที่ 7 ต.ค. 56

    สถานี SKE003-คลองพหรมโหด
    ต.บ้านใหม่หนองไทร ต.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
    น้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 23 ก.ย. 56 ถึง 13 ต.ค. 56 โดยระดับน้ำลดต่ำกว่าตลิ่งเป็นระยะสั้น ๆ ช่วยปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 45.72 ม.รทก. วันที่ 7 ต.ค. 56

    รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php

    แผนที่น้ำท่วมรายเดือนบริเวณภาคตะวันออก โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)

    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 และ RADARSAT-2
    เปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายเดือน (กรกฎาคม - สิงหาคม) ปี 2554 2555 และ 2556 รายละเอียดดังนี้

  • เดือนกรกฎาคม ปี 2554 และปี 2555 ไม่มีน้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออก ส่วนปี 2556 มีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง รวมพื้นที่น้ำท่วมทั้งสิ้น 30,631 ไร่

  • เดือนสิงหาคม ปี 2554 มีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี เพียงจังหวัดเดียว รวมพื้นที่น้ำท่วมทั้งสิ้น 22,749 ไร่ ปี 2555 ไม่มีน้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออก ส่วนปี 2556 มีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีเพียงจังหวัดเดียวเช่นกัน แต่มีพื้นที่น้ำท่วมเพียง 9,817 ไร่ น้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก

  • เดือนกันยายน ปี 2554 มีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง รวมมีพื้นที่น้ำท่วมทั้งสิ้น 1,679,881 ไร่  ปี 2555 มีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และชลบุรี รวมมีพื้นที่น้ำท่วม 612,733 ไร่ ส่วนปี 2556 มีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และชลบุรี แต่มีพื้นที่น้ำท่วมเพียง 689,768 ไร่ ซึ่งน้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก แต่มากกว่าปี 2555 อยู่ประมาณ 77,035 ไร่

  • เดือนตุลาคม ปี 2554 มีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และชลบุรี รวมมีพื้นที่น้ำท่วมทั้งสิ้น 2,178,630 ไร่  ปี 2555 มีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และชลบุรี รวมมีพื้นที่น้ำท่วม 641,944 ไร่ ส่วนปี 2556 มีพื้นที่น้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี รวมมีพื้นที่น้ำท่วม 973,477 ไร่ ซึ่งมากกว่าปี 2555 แต่น้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก แต่หากพิจารณารายจังหวัด พบว่าในปี 2556 จังหวัดที่มีพื้นที่น้ำท่วมมากกว่าปี 2554 และปี 2555 ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี
  • จังหวัด

    กรกฎาคม

    สิงหาคม

    กันยายน

    ตุลาคม

    2554

    2555

    2556

    2554

    2555

    2556

    2554

    2555

    2556

    2554

    2555

    2556

    นครนายก

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    488,475

    108,806

    141,543

    571,130

    100,382

    214,079

    ฉะเชิงเทรา

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    601,222

    145,341

    176,194

    919,006

    250,357

    88,646

    ปราจีนบุรี

    0

    0

    0

    22,749

    0

    9,817

    439,846

    307,827

    343,461

    537,399

    261,159

    314,597

    สระแก้ว

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    16,561

    8,955

    10,668

    2,598

    529

    10,287

    ชลบุรี

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    123,880

    41,803

    17,901

    148,498

    29,517

    311,534

    ระยอง

    0

    0

    2,471

    0

    0

    0

    9,897

    0

    0

    0

    0

    23,399

    จันทบุรี

    0

    0

    11,624

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    10,936

    ตราด

    0

    0

    16,536

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    0

    รวม

    0

    0

    30,631

    22,749

    0

    9,817

    1,679,881

    612,733

    689,768

    2,178,630

    641,944

    973,477














    กรกฎาคม 2554
    ไม่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม
    กรกฎาคม 2555
    ไม่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม
    กรกฎาคม 2556
    พื้นที่น้ำท่วม 30,631 ไร่
    สิงหาคม 2554
    พื้นที่น้ำท่วม 22,749 ไร่
    สิงหาคม 2555
    ไม่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม
    สิงหาคม 2556
    พื้นที่น้ำท่วม 9,817 ไร่
    กันยายน 2554
    พื้นที่น้ำท่วม 1,679,881 ไร่
    กันยายน 2555
    พื้นที่น้ำท่วม 612,733 ไร่
    กันยายน 2556
    พื้นที่น้ำท่วม 689,768 ไร่
    ตุลาคม 2554
    พื้นที่น้ำท่วม 2,178,630 ไร่
    ตุลาคม 2555
    พื้นที่น้ำท่วม 641,944 ไร่
    ตุลาคม 2556
    พื้นที่น้ำท่วม 973,477 ไร่



    ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม
    โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 13 กันยายน 2556 เวลา 18.22 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครนายก สุพรรณบุรี ลพบุรี พิษณุโลก สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครสวรรค์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]

    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 18.35 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย สุพรรณบุรี พิษณุโลก พิจิตร พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม นครนายก ลพบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ชัยนาท
    อุตรดิตถ์ สิงห์บุรี นครสวรรค์ และนนทบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 18.17 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี ชัยภูมิ และสระแก้ว

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 22 กันยายน 2556 เวลา 06.15 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา พิจิตร สุโขทัย ลพบุรี เพชรบูรณ์ ชัยนาท พิษณุโลก สระบุรี อ่างทอง นครนายก นครปฐม ก้าแพงเพชร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี เชียงราย นนทบุรี อุตรดิตถ์ และตาก

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 06.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี นครนายก พิจิตร อ่างทอง ฉะเชิงเทรา ชัยนาท สระบุรี ปราจีนบุรี สิงห์บุรี
    กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี อุทัยธานี ก้าแพงเพชร และนครปฐม

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 05.38 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครนายก นครราชสีมา ชลบุรี สระแก้ว ลพบุรี และสระบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 18.40 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี และ สระแก้ว

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 18.26 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และ
    ปทุมธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 05.51 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดก้าแพงเพชร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี
    สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 17.52 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี และ สระแก้ว

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลา 06.07 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ชัยภูมิ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา นครนายก ขอนแก่น สระแก้ว อุดรธานี หนองคาย และบุรีรัมย์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 6 ตุลาคม 2556 เวลา 06.07 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี พิจิตร ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก สุโขทัย นครนายก เพชรบูรณ์ ลพบุรี
    อ่างทอง นครปฐม ชัยนาท สระบุรี ชัยภูมิ สิงห์บุรี ชลบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี อุตรดิตถ์ นครราชสีมา กาญจนบุรี
    อุทัยธานี และก้าแพงเพชร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 7 ตุลาคม 2556 เวลา 18.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี พิจิตร ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก สุโขทัย นครนายก ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ ลพบุรี
    นครราชสีมา อ่างทอง ชัยนาท นครปฐม สระบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กรุงเทพมหานคร สระแก้ว นนทบุรี บุรีรัมย์ อุตรดิตถ์ ก้าแพงเพชร ระยอง อุทัยธานี และจันทบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 8 ตุลาคม 2556 เวลา 18.04 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก อ่างทอง นนทบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ปทุมธานี นครปฐม สระบุรี ลพบุรี
    ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 8 ตุลาคม 2556 เวลา 18.27 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดกรุงเทพมหานคร ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ นครนายก นครราชสีมา ปทุมธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว และสระบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 9 ตุลาคม 2556 เวลา 06.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย นครนายก ลพบุรี นครปฐม อ่างทอง ชัยนาท ปทุมธานี สระบุรี สิงห์บุรี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี อุทัยธานี กรุงเทพมหานคร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 10 ตุลาคม 2556 เวลา 18.32 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย นครปฐม ลพบุรี นครนายก อ่างทอง ฉะเชิงเทรา ชัยนาท สระบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี ชลบุรี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ ก้าแพงเพชร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 11 ตุลาคม 2556 เวลา 05.44 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลา 05.38 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี และสระแก้ว

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลา 18.04 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดกรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 13 ตุลาคม 2556 เวลา 06.03 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยภูมิ นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สระแก้ว สุรินทร์
    และอุบลราชธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 14 ตุลาคม 2556 เวลา 18.17 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ ชลบุรี สุรินทร์ สระบุรี ปทุมธานี
    และสระแก้ว

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 16 ตุลาคม 2556 เวลา 06.15 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก นครปฐม อ่างทอง ชัยนาท ลพบุรี ปทุมธานี นครนายก
    สระบุรี สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา กรุงเทพมหานคร นนทบุรี อุทัยธานี และก้าแพงเพชร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 19 ตุลาคม 2556 เวลา 06.08 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ชลบุรี กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ สระบุรี สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา
    และระยอง

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 22 ตุลาคม 2556 เวลา 06.15 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี ชลบุรี สระบุรี กรุงเทพมหานคร
    สมุทรปราการ นนทบุรี และนครปฐม

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 24 ตุลาคม 2556 เวลา 18.28 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ปราจีนบุรี พิจิตร นครปฐม นครนายก อ่างทอง สุโขทัย ชัยนาท ลพบุรี
    พิษณุโลก สิงห์บุรี สระบุรี ปทุมธานี ชลบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และก้าแพงเพชร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 25 ตุลาคม 2556 เวลา 18.22 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สระบุรี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุทยา สระแก้ว
    และชลบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 30 ตุลาคม 2556 เวลา 06.09 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก สุพรรณบุรี นครราชสีมา ลพบุรี อ่างทอง นครปฐม ขอนแก่น สระบุรี บุรีรัมย์ ชลบุรี ปทุมธานี ชัยภูมิ สิงห์บุรี กรุงเทพมหานคร สุรินทร์ นนทบุรี สมุทรปราการ นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 31 ตุลาคม 2556 เวลา 18.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ปราจีนบุรี พิจิตร นครปฐม นครนายก อ่างทอง สุโขทัย ชัยนาท ลพบุรี
    พิษณุโลก สิงห์บุรี สระบุรี ปทุมธานี ชลบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และก้าแพงเพชร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]



    ข้อมูลด้านความเสียหาย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    สรุปสถานการณ์อุทกภัย วันที่ 30 กันยายน 2556

    จากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ  เคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังระบายไม่ทัน และน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 มีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ประสบภัย รวมทั้งสิ้น 32 จังหวัด 233 อำเภอ 1,384 ตำบล 11,033 หมู่บ้าน 809,646 ครัวเรือน 2,789,398 คน
  • ผู้เสียชีวิต รวม 22 ราย(จ.สุรินทร์ 9 ราย/จ.ศรีสะเกษ 6 ราย/จ.นครนายก 2 ราย/จ.ยโสธร 2 ราย/จ.ปราจีนบุรี 2 ราย /จ.สระแก้ว 1 ราย)
  • ยังคงมีสถานการณ์ 25 จังหวัด 224 อำเภอ 1,321 ตำบล 10,704 หมู่บ้าน 793,208 ครัวเรือน 2,734,925 คน อพยพ 4,416 ครัวเรือน 15,254 คน (จ.อุบลฯ/จ.ศรีสะเกษ)
  • คลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พะเยา และแม่ฮ่องสอน

  • พื้นที่ประสบภัยทั้งหมด แยกเป็นลักษณะการเกิดอุทกภัยจาก 2 กรณี ดังนี้

    อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำระบายไม่ทัน จำนวน 28 จังหวัด 212 อำเภอ ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ภาคเหนือ 6 จังหวัด ภาคกลาง 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด
    คลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด 9 อำเภอ ประกอบด้วย กาญจนบุรี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ กาฬสินธ์ นครราชสีมา พะเยา และแม่ฮ่องสอน ยังคงมีสถานการณ์ 21 จังหวัด 203 อำเภอ ดังนี้

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด
    1) จังหวัดสุรินทร์ พื้นที่ประสบภัย 17 อำเภอ (เมือง สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ เขวาสินรินทร์ ศีขรภูมิ  ท่าตูม รัตนบุรี สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์ ชุมพลบุรี พนมดงรัก) 137 ตำบล 1,454 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 9 ราย (อ.ปราสาท 3 ราย/อ.สังขะ 3 ราย/อ.ศรีณรงค์ 1 ราย/อ.ห้วยทับทัน 1 ราย/อ.กาบเชิง 1 ราย) ประชาชนได้รับผลกระทบ 250,989 ครัวเรือน 771,729 คน บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 3,137 หลังคาเรือน ถนน 448 สาย สะพาน 55 แห่ง วัด 11 แห่ง โรงเรียน 83 แห่ง สถานที่ราชการ 25 แห่ง คันดิน 74 แห่ง ท่อระบายน้ำ 97 แห่ง และพื้นที่การเกษตร 493,443 ไร่ บ่อปลา-กุ้ง 200 แห่ง ปศุสัตว์ (เป็ด/ไก่/หมู/วัว/) 856,964 ตัว บ่อน้ำ 604 บ่อ ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 4 อำเภอ (ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี โนนนารายณ์) ปัจจุบันระดับเพิ่มสูงขึ้น
    2) จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ประสบภัย 22 อำเภอ (ขุนหาญ ภูสิงห์ ปรางค์กู่ อุทุมพรพิสัย วังหิน ไพรบึง ห้วยทับทัน โนนคูณ ขุขันธ์ เบญจลักษ์ ศรีรัตนะ พยุห์ เมือง น้ำเกลี้ยง ราษีไศล โพธิ์ศรีสุวรรณ เมืองจันทร์ กันทรลักษ์ ศิลาลาด ยางชุมน้อย กันทรารมย์ บึงบูรพ์) 162 ตำบล 1,584 หมู่บ้าน 15 ชุมชน มีผู้เสียชีวิต 6 ราย (อ.ไพรบึง 2 ราย/อ.ขุขันธ์ 1 ราย/อ.พยุห์ 1 ราย/อ.อุทุมพรพิสัย 1 ราย/อ.ห้วยทับทัน 1 ราย) ประชาชนได้รับผลกระทบ 107,589 ครัวเรือน 515,346 คน  อพยพ 1,784 ครัวเรือน 5,634 คน บ้านพักอาศัย 196 หลัง ถนน 510 สาย สะพาน 15 แห่ง ทำนบ 23 แห่ง  ท่อระบายน้ำ 210 แห่ง วัด 16 แห่ง โรงเรียน 7 แห่ง สถานที่ราชการ 12 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง และพื้นที่การเกษตร 572,696 ไร่ บ่อปลา 510 บ่อ คอกสัตว์ 4 แห่ง  ปัจจุบันระดับน้ำลดลงได้ช้า เนืองจากระดับน้ำในแม่น้ำมูลสูง
    3) จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ประสบภัย 23 อำเภอ (เมือง ดอนมดแดง ตระการพืชผล สำโรง น้ำยืน ตาลสุม บุณฑริก สิรินธร พิบูลมังสาหาร เดชอุดม ศรีเมืองใหม่ นาเยีย วารินชำราบ นาจะหลวย เหล่าเสือโก้ก โขงเจียม สว่างวีระวงศ์ ม่วงสามสิบ เขื่องใน โพธิ์ไทร นาตาล ทุ่งศรีอุดม น้ำขุ่น) 114 ตำบล 3 เทศบาล 1,131 หมู่บ้าน/ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92,243 ครัวเรือน 402,810 คน ประชาชนอพยพ 2,632 ครัวเรือน 9,820 คน ถนน 109 สาย สะพาน 17 แห่ง  ท่อระบายน้ำ 12 แห่ง วัด 6 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง พื้นที่การเกษตร 281,390 ไร่ บ่อปลา 2,049 บ่อ มวลน้ำจาก จ.ศรีสะเกษ ไหลลงสู่แม่น้ำมูล ส่งผลให้ระดับน้ำที่ อ.วารินชำราบ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    4) จังหวัดอำนาจเจริญ พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ (เมือง ชานุมาน พนา เสนางคนิคม ลืออำนาจ หัวตะพาน) 1 เทศบาล 28 ตำบล 213 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,269 ครัวเรือน ถนน 65 สาย สะพาน 5 แห่ง พนังกั้นน้ำ 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร ประมาณ 37,947 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ (พนา ลืออำนาจ หัวตะพาน) ระดับน้ำทรงตัว
    จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ประสบภัย 12 อำเภอ (เฉลิมพระเกียรติ ปะคำ บ้านกรวด ละหานทราย โนนดินแดง ประโคนชัย พลับพลาชัย กระสัง นางรอง หนองกี่ ชำนิ สตึก) 65 ตำบล 618 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,454 ครัวเรือน 188,600 คน พื้นที่การเกษตร 61,305 ไร่ ถนน 77 สาย ฝาย 5 แห่ง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มอบสิ่งของ พระราชทาน จำนวน 1,250 ชุด ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ (กระสัง พลับพลาชัย นางรอง) ระดับน้ำลดลง
    จังหวัดยโสธร พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (เมือง ป่าติ้ว ไทยเจริญ คำเขื่อนแก้ว ทรายมูล เลิงนกทา มหาชนะชัย กุดชุม ค้อวัง) 66 ตำบล 468 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 40,314 ครัวเรือน 175,626 คน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.กุดชุม 2 ราย) ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรริมแม่น้ำชี ลำเซบาย และลำน้ำยัง ยังคงมีน้ำท่วมขัง อำเภอป่าติ้ว ปัจจุบันระดับทรงตัว
    จังหวัดชัยภูมิ น้ำจากแม่น้ำชีเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ (เกษตรสมบูรณ์ บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต หนองบัวระเหว คอนสาร ภักดีชุมพล บ้านเขว้า ภูเขียว บ้านแท่น จัตตุรัส ซับใหญ่ เมือง เนินสง่า) 75 ตำบล 730 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 61,249 ครัวเรือน 174,230 คน วัด/โรงเรียน 4 แห่ง ถนน 815 สาย ฝ่าย 48 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 15 แห่ง ท่อระบายน้ำ 8 แห่ง บ่อปลา 1,766 บ่อ พื้นที่การเกษตร 231,314 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น (รับน้ำจากที่อื่น)
    จังหวัดมุกดาหาร พื้นที่ประสบภัย 7 อำเภอ (ดงหลวง คำชะอี หนองสูง นิคมคำสร้อย หว้านใหญ่ เมือง ดอนตาล) 42 ตำบล 281 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 35,626 ครัวเรือน 106,678 คน ถนน 248 สาย สะพาน 5 แห่ง ท่อระบายน้ำ 8 แห่ง ฝาย 7 แห่ง ทำนบดิน 5 แห่ง พื้นที่การเกษตร 6,950 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ (เมือง นิคมคำสร้อย) ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

    ภาคเหนือ 6 จังหวัด

    1) จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (นครไทย วังทอง ชาติตระการ บางกระทุ่ม เมือง บางระกำ  เนินมะปราง วัดโบสถ์)  35 ตำบล 121 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,814 ครัวเรือน 6,272 คน ถนน 7 สาย สะพาน 2 แห่ง ฝาย 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง บ่อปลา 10 บ่อ พื้นที่การเกษตร 12,383 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร
    2) จังหวัดพิจิตร พื้นที่ประสบภัย 11 อำเภอ (ทับคล้อ ดงเจริญ เมือง สากเหล็ก บึงนาราง วังทรายพูน สามง่าม ตะพานหิน วชิรบารมี โพธิ์ประทับช้าง บางมูลนาก) 39 ตำบล 290 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,111 ครัวเรือน 23,826 คน โรงเรียน 12 แห่ง วัด 2 แห่ง พื้นที่การเกษตร 19,166 ไร่ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
    3) จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (เมือง ไทรงาม ทรายทองวัฒนา) 17 ตำบล 89 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,060 ครัวเรือน 24,973 คน พื้นที่เกษตร 4,045 ไร่ บ่อปลา 65 บ่อ ถนน 32 สาย ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่
    4) จังหวัดเพชรบูรณ์ พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ (วังโป่ง ชนแดน หนองไผ่ วิเชียรบุรี ศรีเทพ เมือง) 32 ตำบล 186 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,347 ครัวเรือน 3,810 คน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมและเพิ่มสูงขึ้น
    5) จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ประสบภัย 12 อำเภอ (ลาดยาว แม่เปิน แม่วงก์ หนองบัว โกรกพระ พยุหคีรี ไพศาลี ท่าตะโก ชุมตาบง เมือง ตาคลี บรรพตพิสัย) 43 ตำบล 303 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,665 ครัวเรือน 58,269 คน พื้นที่ทางการเกษตร 74,758 ไร่ บ่อปลา/กบ17 บ่อ ท่อระบายน้ำ 31 แห่ง คอสะพาน 5 แห่ง ฝาย 3 แห่ง คันคลอง /คันเหมือง 27 จุด ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 5 อำเภอ (บรรพตพิสัย เมือง พยุหคีรี โกรกพระลาดยาว) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
    6) จังหวัดอุทัยธานี พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (เมือง สว่างอารมณ์ หนองขาหย่าง ทัพทัน หนองฉาง ลานสัก ห้วยคต บ้านไร่) 64 ตำบล 435 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,514 ครัวเรือน 32,372 คน บ้านพักอาศัย 1,607 หลัง พื้นที่ทางการเกษตร 11,793 ไร่ ถนน 205 สาย โรงเรียน 1 แห่ง ยุ้งข้าว 10 หลัง วัด 2 แห่ง ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 1 อำเภอ (ทัพทัน) ระดับน้ำลดลง

    ภาคกลาง 3 จังหวัด
    1) จังหวัดสระบุรี พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 9 อำเภอ (เมือง แก่งคอย มวกเหล็ก เฉลิมพระเกียรติ วิหารแดง บ้านหมอ เสาไห้ หนองแซง หนองแค) 53 ตำบล 1 เขตเทศบาล 285 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,069 ครัวเรือน 20,963 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
    2) จังหวัดลพบุรี พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (เมือง ชัยบาดาล โคกสำโรง สระโบสถ์ ท่าหลวง หนองม่วง โคกเจริญ ลำสนธิ บ้านหมี่) 56 ตำบล 439 หมู่บ้าน 19 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,976 ครัวเรือน 78,151 คน      ยานพาหนะ 12 คัน ปศุสัตว์ 935 ตัว พื้นที่การเกษตร 76,596 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 568 บ่อ ถนน 306 สาย สะพาน 21 แห่ง      วัด 18 แห่ง โรงเรียน 16 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง ทำนบ 13 แห่ง ยังคงมีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ (บ้านหมี่ และโคกสำโรง) ระดับน้ำทรงตัว
                       *** เมื่อวันที่ 29 ก.ย.56 ปริมาณน้ำอ่างป่าสักชลสิทธิ์ 801 ล้าน ลบ.ม. (102%)  เกินความจุของอ่างฯ
    3) จังหวัดชัยนาท พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (วัดสิงห์ หันคา หนองมะโมง เนินขาม) 19 ตำบล 192 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,620 ครัวเรือน 37,812 คน บ้านเรือนเสียหาย 399 หลัง พื้นที่ทางการเกษตร 24,742 ไร่ ถนน 231 สาย บ่อปลา 20 บ่อ ปศุสัตว์ 120 ตัว ฝาย/คลองระบายน้ำ 4 แห่ง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

    ภาคตะวันออก 4 จังหวัด
    1) จังหวัดนครนายก พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (บ้านนา เมือง ปากพลี องครักษ์) 34 ตำบล 3 เทศบาลตำบล 267 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15,295 ครัวเรือน 41,907 คน พื้นที่การเกษตร 58,237 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.องค์รักษ์ 2 ราย) วัด 5 แห่ง โรงเรียน 8 แห่ง ถนน 376 สาย สะพาน 7 แห่ง วัด 2 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 6 ท่อ บ่อปลา 170 บ่อ พื้นที่การเกษตร 20,696 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
                       ***เมื่อวันที่ 29 ก.ย.56 ปริมาณน้ำในอ่างขุนด่านปราการชล 210 ล้าน ลบ.ม. (94%) รับได้อีก 14 ล้าน ลบ.ม.
    2) จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 2 อำเภอ (พนมสารคาม บ้านโพธิ์) 7 ตำบล 43 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,545 ครัวเรือน 4,635 คน พื้นที่การเกษตร 1,560 ไร่ บ่อปลา 3 ไร่ ถนน 2 สาย สถานการณ์ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    3) จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่ประสบภัย 7 อำเภอ (กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ์ เมือง นาดี ประจันตคาม บ้านสร้าง ศรีมโหสถ) 58 ตำบล 503 หมู่บ้าน 3 เทศบาลตำบล 37 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,775 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 102,786 ไร่ บ่อปลา 784 ไร่ สัตว์เลี้ยง 77,979 ตัว  ถนน 445 สาย สะพาน 6 แห่ง วัด 51 แห่ง โรงเรียน 57 แห่ง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.บ้านสร้าง 1 ราย /อ.ศรีมหาโพธิ 1 ราย) ยังคงมีน้ำท่วม 2 อำเภอ (น้ำจาก อ.กบินทร์บุรี และ อ.ศรีมหาโพธิ) ปัจจุบันระดับน้ำอ.กบินทร์บุรี และอ.ศรีมหาโพธิ มีแนวโน้มลดลง มวลน้ำไหลเข้าสู่ อ.ประจันตคาม
    4) จังหวัดสระแก้ว พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (วัฒนานคร โคกสูง ตาพระยา วังน้ำเย็น เมือง  เขาฉกรรจ์ อรัญประเทศ คลองหาด วังสมบูรณ์) 56 ตำบล 478 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,934 ครัวเรือน โรงเรียน 8 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง ถนน 417 สาย สะพาน 7 แห่ง ฝาย 10 แห่ง วัด 3 แห่ง ท่อระบายน้ำ 10 แห่ง บ่อปลา 206 บ่อ พื้นที่การเกษตร 34,666 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (อ.ตาพระยา) น้ำไหลไปอำเภอกบินทร์บุรี ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
          
    อุทกภัยจากน้ำล้นตลิ่ง
    จำนวน 4 จังหวัด 21 อำเภอ
    1) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (เสนา บางบาล ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน ท่าเรือ นครหลวง) 96 ตำบล 2 เทศบาลเมือง 550 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,923 ครัวเรือน 83,410 คน พื้นที่การเกษตร 3,955 ไร่ สัตว์ปีก 400 ตัว ถนน 3 สาย สะพาน 7 แห่ง วัด 34 แห่ง โรงเรียน 27 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง จังหวัดยังไม่ได้ประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติแต่อย่างใด ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 6 อำเภอ (เสนา บางบาล ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน) ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    2) จังหวัดอ่างทอง พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (เมือง ป่าโมก โพธิ์ทอง) 27 ตำบล 128 หมู่บ้าน 1 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,204 ครัวเรือน 4,061 คน เกษตรกร 344 คน พื้นที่การเกษตร 2,835 ไร่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น       
    3) จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (เมือง อู่ทอง บางปลาม้า สองพี่น้อง) 26 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,283 ครัวเรือน 29,776 คน จังหวัดแจ้งเตือนให้ประชาชนริมแม่น้ำท่าจีนให้ขนของขึ้นที่สูง ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
    4) จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (อินทร์บุรี เมือง พรหมบุรี) 19 ตำบล 97 หมู่บ้าน 6 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 805 ครัวเรือน 2,761 คน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น

    สรุปสถานการณ์อุทกภัย ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2556

    จากรายงานการเกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังระบายไม่ทัน และน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2556 รายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ประสบภัย รวมทั้งสิ้น 47 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ราชบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี และจังหวัดนครปฐม รวม 360 อำเภอ 2,350 ตำบล 19,941 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,212,643 ครัวเรือน 4,088,516 คน
  • ผู้เสียชีวิต รวม 80 ราย ประกอบด้วย จังหวัดปราจีนบุรี 16 ราย สุรินทร์ 16 ราย ศรีสะเกษ 11 ราย ฉะเชิงเทรา 7 ราย ขอนแก่น 5 ราย นครราชสีมา 4 ราย ชัยภูมิ 4 ราย ยโสธร 4 ราย สระบุรี 3 ราย นครนายก 2 ราย สระแก้ว 2 ราย จันทบุรี 1 ราย นครสวรรค์ 1 ราย ลพบุรี 1 ราย อุบลราชธานี 1 ราย สมุทรปราการ 1 ราย และจังหวัดระยอง 1 ราย
  • ความเสียหาย พื้นที่การเกษตร 3,644,986 ไร่ ถนน 6,086 สาย สะพาน 299 แห่ง ท่อระบายน้ำ 521 แห่ง ฝาย/ทำนบ 565 แห่ง บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 47,811 หลัง โรงเรียน 342 แห่ง วัด 528 แห่ง สถานที่ราชการ 81 แห่ง บ่อปลา/กุ้ง 51,002 บ่อ ปศุสัตว์ 4,234,387 ตัว ฯลฯ
  • ยังคงมีสถานการณ์ ทั้งสิ้น 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา ศรีสะเกษ นครนายก สมุทรปราการ สุพรรณบุรี นครปฐม และจังหวัดลพบุรี รวม 48 อำเภอ 346 ตำบล 2,747 หมู่บ้าน 140,287 ครัวเรือน 438,165 คน โดยแยกเป็นจังหวัดที่มีสถานการณ์รุนแรง 1 จังหวัด ปานกลาง 3 จังหวัด และเล็กน้อย 8 จังหวัด ดังนี้



    ที่

    จังหวัด

    จำนวนพื้นที่ประสบภัย

    จำนวนผู้ประสบภัย

    พื้นที่การเกษตร

    แนวโน้มสถานการณ์

    อำเภอ

    ตำบล

    หมู่บ้าน

    ครัวเรือน

    คน

    อพยพ(คน)

    รุนแรง

    1

    ฉะเชิงเทรา

    5

    13

    105

    5,197

    15,591

    -

    12,870

    ระดับน้ำลดลง

    ปานกลาง

    2

    นครราชสีมา

    7

    37

    387

    4,314

    14,413

    -

    29,327

    ระดับน้ำลดลง

    3

    บุรีรัมย์

    7

    43

    361

    20,955

    80,316

    -

    129,599

    ระดับน้ำลดลง

    4

    ปราจีนบุรี

    6

    58

    543

    40,869

    102,119

    -

    218,649

    ระดับน้ำลดลง

    เล็กน้อย

    5

    อุบลราชธานี

    2

    24

    245

    1,379

    5,168

    4,336

    445,831

    ระดับน้ำลดลง

    6

    พระนครศรีอยุธยา

    6

    84

    535

    28,872

    96,344

    -

    3,955

    ระดับน้ำลดลง

    7

    ศรีสะเกษ

    5

    26

    187

    6,067

    20,277

    325

    572,695

    ระดับน้ำลดลง

    8

    นครนายก

    2

    10

    112

    5,132

    13,864

    -

    58,237

    ระดับน้ำลดลง

    9

    สมุทรปราการ

    1

    3

    25

    265

    1,070

    -

    788

    ระดับน้ำลดลง

    10

    สุพรรณบุรี

    4

    38

    206

    21,845

    75,640

    -

    570

    ระดับน้ำลดลง

    11

    นครปฐม

    2

    4

    4

    2,285

    4,760

    -

    75

    ระดับน้ำลดลง

    12

    ลพบุรี

    1

    6

    37

    3,107

    8,603

    -

    76,596

    ท่วม พท.การเกษตร

    รวม 12 จังหวัด

    48

    346

    2,747

    140,287

    438,165

    4,661

    1,603,345

     



    ข่าวจากหนังสือพิมพ์
    ------------------------------------------------------------------------------------

    น้ำท่วมปราจีนยังวิกฤต ประกาศ 4 อำเภอเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 ก.ย. 56 ]

    ศูนย์ข่าวศรีราชา - สถานการณ์น้ำท่วมปราจีนยังวิกฤต จังหวัดประกาศ 4 อำเภอเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ล่าสุด ระดับน้ำที่ต้นน้ำแม่น้ำปราจีนบุรี วัดที่ อ.กบินทร์บุรี เกินจุดวิกฤต 25 ซม. ล้นตลิ่งท่วมเรือนจำกบินทร์บุรี ต้องเร่งขนย้ายนักโทษ
    วันนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม จ.ปราจีนบุรี ว่า จังหวัดได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วมแล้ว 4 อำเภอ คือ อ.นาดี อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมหาโพธิ และ อ.เมือง และล่าสุด ระดับน้ำที่ต้นน้ำแม่น้ำปราจีนบุรี วัดที่ อ.กบินทร์บุรี เกินจุดวิกฤต 25 เซนติเมตร ล้นตลิ่งท่วมเรือนจำกบินทร์บุรี ต้องขนย้ายผู้ต้องขังไปที่เรือนจำจังหวัดสระแก้ว และเรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี 142 คน จากทั้งหมด 734 คน ส่วนที่ชุมชนไปรษณีย์ ชุมชนโรงสี น้ำสูงประมาณ 1.20 เมตร ประชาชนเดินทางเข้า-ออกด้วยความลำบาก
           
           นอกจากนี้ น้ำยังท่วมสูงที่ชุมชนตลาดเก่า และทะลักเข้าเขตเศรษฐกิจเทศบาลตำบลกบินทร์บุรีสูง 1 เมตร พ่อค้าแม่ค้าขนย้ายสิ่งของ และปิดร้านไปตั้งขายที่บริเวณศูนย์การค้าเทศบาลกบินทร์บุรี
           
           ล่าสุด น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี และน้ำที่ถูกระบายมาจากอ่างเก็บน้ำแควระบม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ได้หลากลงมาที่ อ.ศรีมหาโพธิ บ้าน วัด และโรงเรียน ที่อยู่ริมแม่น้ำปราจีนบุรีถูกน้ำท่วม ตลาดท่าประชุม หรือตลาดเทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ น้ำท่วมสูง 20-40 เซนติเมตร โดยวันที่ 24 กันยายน เทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ์ จะให้แม่ค้าไปตั้งแผงขายที่สวนสาธารณะลายพระหัตถ์ หรือหน้าอำเภอศรีมหาโพธิเป็นการชั่วคราว
           
           นอกจากนี้ น้ำยังไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนหลายร้อยหลัง นาข้าวทั้งใน อ.ศรีมหาโพธิ และ อ.เมือง คาดว่าจะเสียหายทั้งหมด ขณะที่มณฑลทหารบกที่ 12 นำรถบรรทุก 5 คัน และกำลังพล 150 นาย ออกบริการรับ-ส่งประชาชนที่ต้องเดินทางไปทำธุระนอกบ้าน



    ------------------------------------------------------------------------------------
    ฝนถล่มชลบุรีน้ำระบายไม่ทัน ถนนหลายสายจม จราจรติดขัด [ ไทยรัฐออนไลน์ : 29 ก.ย. 56 ]

    ฝน กระหน่ำตัวเมืองชลบุรีตลอดทั้งคืนยันเช้า นานกว่า 7 ชม. ประกอบน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทัน น้ำท่วมขังเป็นแอ่งบนถนนหลายสาย รวมทั้งสุขุมวิทระยะทางยาว การจราจรติดขัดหนัก

    เมื่อ วันที่ 29 ก.ย. มีรายงานว่า ฝนได้ตกกระจายไปทั่วเขตเมืองชลบุรี ต่อเนื่องมาตั้งแต่เวลาประมาณ 23.30 น. วันที่ 28 ก.ย.กระทั่งช่วงเช้าเวลา 06.30 น. วันที่ 29 ก.ย. รวมเวลากว่า 7 ชั่วโมงติดต่อกัน ส่งผลให้ถนนสายบายพาสเลี่ยงเมือง บริเวณหน้าศาลเจ้าฟ้าประทาน หมู่ 10 ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี มีน้ำท่วมขังเป็นแอ่ง ๆ รถเกิดอุบัติเหตุหลายราย รวมทั้งถนนสายสุขุมวิท ตั้งแต่ช่วงสี่แยกห้างสรรพสินค้าเฉลิมไทยช็อปปิ้งมอลล์ ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี สี่แยกบ้านสวน สามแยกโบว์ลิ่ง หน้าโรงพยาบาลชลบุรี สี่แยกโรงเรียนชลราษฎร์อำรุง เขตเทศบาลเมืองบ้านสวน และบริเวณตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เขตเทศบาลตำบลห้วยกะปิ แต่น้ำได้ท่วมขังไม่นานระบายลงทะเลอย่างรวดเร็ว

    ขณะที่ถนนเศรษฐกิจ ปากซอย 9 หมู่ 5 ต.บ้านสวน ทั้งเลนขาออกไปสี่แยกบายพาสบ้านบึง และเลนขาเข้าเมืองชลบุรี  มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 60 เซนติเมตร จนเมื่อช่วงสายน้ำที่ท่วมขังได้ลดระดับลงเล็กน้อย รถเคลื่อนตัวได้เลนเดียวทำให้การจราจรติดขัดหนาแน่น

    ด้านนายจักรวาล ตั้งประกอบ นายกเทศมนตรีเมืองบ้านสวน เปิดเผยว่า มวลน้ำดังกล่าวทะลักไหลมาจากซอย 12 ตำบลหนองรี แล้วไหลลงคลองห้วยกรวด ที่ตัดผ่านปากซอย 9 เพื่อไหลลงสู่ทะเล แต่เนื่องจากฝนตกต่อเนื่องหลายชั่วโมง ทำให้น้ำมารวมกันแล้วเอ่อล้นท่วมขังถนน ประกอบกับช่วงเช้ามีน้ำทะเลหนุน โดยการแก้ไขได้สั่งเจ้าหน้าที่นำรถสูบน้ำมาสูบน้ำเพื่อช่วยระบายออก รวมทั้งให้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจราจร


    ------------------------------------------------------------------------------------
    “น้ำกบินทร์-นาดี” ลด อีก 4 อำเภอปราจีนยังวิกฤต [ ผู้จัดการออนไลน์ : 30 ก.ย. 56 ]
    ปราจีนบุรี - ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจังหวัดปราจีน รายงานสถานการณ์น้ำปราจีนหลายพื้นที่เพิ่มขึ้น ด้านกบินทร์บุรี และนาดีลดลง พร้อมเตือนเฝ้าระวังน้ำจากสระแก้ว

    นายคณิศร โชปัญญา หัวหน้าฝ่ายป้องกันและปฏิบัติการ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี ว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นจากทุกจุดที่ประสบปัญหาน้ำท่วม พบว่า วันนี้ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว แต่จะต้องตรวจสอบเพิ่มว่า ลดลงในปริมาณมาก หรือน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่คือ พื้นที่ จ.สระแก้ว ที่ขณะนี้มีปริมาณน้ำเต็มทุกอ่างเก็บน้ำจึงต้องทำการระบายออก ซึ่งทาง จ.สระแก้ว ได้ประสานมายัง จ.ปราจีนบุรี ว่า ให้เตรียมเฝ้าระวังรับน้ำที่ปล่อยออกจาก จ.สระแก้ว อาจส่งผลกระทบต่อ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งปริมาณน้ำอาจเพิ่มขึ้นมาอีก

    อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่น้ำท่วมของ อ.กบินทร์บุรี นั้น ทางเจ้าหน้าที่ทหารจากหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย นำเครื่องผลักดันน้ำเข้าไปช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วม ส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี ลดลงอย่างต่อเนื่อง

    โดยศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจังหวัดปราจีน สานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดปราจีนบุรี รายงานสถานการณ์ล่าสุด วันนี้ พื้นที่ประสบอุทกภัย และได้รับผลกระทบมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 7 อำเภอ 58 ตาบล 502 หมู่บ้าน 4 เทศบาลตำบล 37 ชุมชน ประกอบด้วย อำเภอกบินทร์บุรี 14 ตำบล 158 หมู่บ้าน 2 เทศบาลตำบล 14 ชุมชน อำเภอศรีมหาโพธิ 10 ตำบล 69 หมู่บ้าน อำเภอเมืองปราจีนบุรี 10 ตำบล 91 หมู่บ้าน 1 เทศบาลเมือง 16 ชุมชน อำเภอนาดี 6 ตำบล 53 หมู่บ้าน อำเภอประจันตคาม 8 ตำบล 67 หมู่บ้าน อำเภอบ้านสร้าง 6 ตำบล 45 หมู่บ้าน 1 เทศบาลตำบล 7 ชุมชน อำเภอศรีมโหสถ 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน

    ประชาชนได้รับผลกระทบ จำนวน 26,904 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 102,886 ไร่ บ่อปลา 784 บ่อ สัตว์เลี้ยง 77,979 ตัว ถนน 445 สาย สะพาน 11 แห่ง วัด 57 แห่ง โรงเรียน 52 แห่ง มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ระดับที่อำเภอนาดี กบินทร์บุรี ลดลง ส่วนที่ประจันตคาม ศรีมหาโพธิ เมืองปราจีนบุรี บ้านสร้างเพิ่มขึ้น ส่วนที่อำเภอศรีมโหสถ ทรงตัว




    --------------------------------------------------------------------------------------

    สระแก้วถูกตัดขาดน้ำท่วมถนนสายหลัก [ โพสต์ทูเดย์ : 6 ต.ค. 56 ]

    สระแก้วติดเกาะหลังเส้นทางสัญจรสายหลักเจอน้ำท่วมสูงรถผ่านไม่ได้ เจ้าหน้าที่เร่งหาเส้นทางสำรอง
    เมื่อวันที่ 6 ต.ค.สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สระแก้ว ได้มีน้ำป่าจากเทือกเขาสอยดาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ไหลเข้าท่วม 4 อำเภอได้แก่ อำเภอวังสมบูรณ์, อำเภอวังน้ำเย็น, อำเภอเขาฉกรรจ์ และอำเภอเมืองสระแก้ว

    นอกจากนี้น้ำยังได้ไหลท่วมถนนสายหลัก หมายเลข 317 จังหวัดจันทบุรี-สระแก้ว บริเวณบ้านเขาแหลม อ.วังสมบูรณ์ฯ สูงประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร รถยนต์ทุกชนิดไม่สามารถผ่านไป-มาได้ รวมทั้งน้ำยังเข้าท่วมถนนตัดใหม่สายอรัญประเทศ-เขาหินซ้อน บริเวณบ้านสระขวัญ อ.เมืองสระแก้ว สูง1 เมตร รถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านได้ และอีก 1 เส้นทาง คือ ถนนสายหลักทางหลวงหมายเลข 33 จังหวัดสระแก้ว-กบินทร์บุรี บริเวณศูนย์มาสด้า เขตเทศบาลเมืองสระแก้ว อ.เมืองสระแก้ว ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 80 ซม.ซึ่งเป็นถนน 4 เลน รถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านไป-มาได้ทั้ง 4 เลน

    ร.ต.ต.วิศาล จึงตระกูล รอง สว.หัวหน้าตู้ ตร.ทางหลวงสระแก้ว กล่าวว่า ขณะนี้จังหวัดสระแก้วเหมือนถูกตัดขาดถนนทุกเส้นทางที่จะออกจาก จ.สระแก้ว ไม่สามารถวิ่งออกไปได้ โดยรถยนต์ที่มาจาก อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี และจาก อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา จะเข้าจ.สระแก้ว ก็ไม่สามารถมาได้แล้วเช่นกัน

    อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดสระแก้ว กำลังตรวจสอบหาเส้นทางลัดที่จะสามารถวิ่งออกจาก จ.สระแก้ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ต้องสัญจรไป-มา

    --------------------------------------------------------------------------------------
    “สียัด” ใกล้วิกฤต อ่างยักษ์ใหญ่ภาคตะวันออกจ่อล้นอีกแห่ง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 6 ต.ค. 56 ]
    ฉะเชิงเทรา - อ่างเก็บน้ำยักษ์ใหญ่ภาคตะวันออก จ่อใกล้เต็มพิกัดอีกแห่งแล้ว ส่วนอ่างบริวารน้อยใหญ่พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน ล้นสปิลเวย์หมดแล้วทุกจุด ขณะมวลน้ำป่ายังคงไหลลงสู่ท้ายเขื่อนอย่างรวดเร็ว พรวดเดียวถึงวันละกว่า 44 ล้าน ลบ.ม. เชื่อพรุ่งนี้มีสิทธิล้นไหลเทลงใส่ชาวบ้านตอนล่าง ซ้ำรอยน้ำจากปราจีนบุรีอีกระลอก

    วันนี้ (6 ต.ค.) นายทินกร รัตนพัวพันธ์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองสียัด อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ขณะนี้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำสียัดใกล้เต็มความจุแล้ว หลังจากมีมวลน้ำป่าเขตรอยต่อระหว่าง จ.ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว ไหลลงสู่อ่าง โดยเพียงวันเดียวมีปริมาณมากกว่า 44 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ทำให้จนถึงขณะนี้มีน้ำอยู่ในอ่าง 391 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 93 ของความจุอ่างที่เสริมขอบยางสปิลเวย์แล้ว จากเดิมตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน มีน้ำอยู่ในอ่างเพียง 290 ล้าน ลบ.ม. และเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม มีน้ำ 320 ล้าน ลบ.ม. และจนถึงขณะนี้ยังคงมีน้ำไหลเข้าอ่างอย่างต่อเนื่อง คาดว่ามีกว่า 30 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ขณะเดียวกัน เหลือพื้นรองรับน้ำอีกเพียง 30 ล้าน ลบ.ม. ก็จะเต็มความจุที่ 420 ล้าน ลบ.ม.

    ช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุน้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ทางตอนล่างของอ่าง เก็บน้ำสียัดนั้น ขอยืนยันว่าอ่างเก็บน้ำสียัดยังไม่เคยระบานยน้ำออกจากตัวเขื่อนเลย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา โดยน้ำที่ไหลลงไปทางตอนล่างนั้น ส่วนใหญ่เป็นน้ำป่าจากห้วยโสม ที่อยู่ต่ำลงไปจากสียัดอีก 5 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีฝาย โดยน้ำป่าจากห้วยโสมนั้นมีอัตราการไหลลงไปพื้นที่ตอนล่างถึงวันละ 4 แสน ลบ.ม.

    นอกจากนี้ น้ำอ่างเก็บน้ำลาดกระทิง ซึ่งมีความจุเพียง 4 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้มีน้ำเต็มแล้ว รวมทั้งอ่างเก็บน้ำคลองระบมด้วย โดยมีน้ำไหลออกวันละกว่า 1 ล้าน ลบ.ม.

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับอ่างเก็บน้ำสียัดนั้น ถือเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยมีความจุสูงสุดมากถึง 437 ล้าน ลบ.ม. ขณะพองลมฝายขอบยางสปิลเวย์สูงสุด หรือเป็นเขื่อนที่มีความจุมากที่สุดในกลุ่ม 8 จังหวัดภาคตะวันออก มีความจุมากกว่าเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ที่มีความจุเพียง 224 ล้าน ลบ.ม.



    --------------------------------------------------------------------------------------
    จ.ระยอง น้ำท่วมแล้ว 3 อำเภอ [ สำนักข่าวไทย : 7 ต.ค. 56 ]

    ระยอง 7 ต.ค.-อ่างเก็บน้ำระยอง 4 แห่ง น้ำเต็มแล้ว ผู้ว่าฯ ย้ำยังไม่ต้องเปิดประตูระบายน้ำ หวั่นกระทบหนัก ขณะที่น้ำท่วมแล้ว 3 อำเภอ หนักสุดที่ อ.แกลง

    สถานการณ์น้ำท่วม จ.ระยอง หลังจากฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำป่าเขาชะเมาหลากท่วมพื้นที่ ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดขยายวงกว้างท่วมอีกหลายหมู่บ้านใน ต.คลองปูน ต.บ้านนา และ ต.กระแสบน กว่า 300 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร นอกจากนี้  อ.เมือง ถูกน้ำท่วมเช่นกัน 4 หมู่บ้าน เขตเทศบาลตำบลเนินพระและตำบลทับมา กว่า 800 หลังคาเรือน เดือดร้อน 1,500 คน ระดับน้ำประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งเป็นน้ำที่ไหลล้นมาจากสปริงเวย์ของอ่างเก็บน้ำ

    นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า พื้นที่น่าเป็นห่วงคือ ต.ทุ่งควายกิน ต.บ้านนา และ ต.กระแสบน เพราะเป็นพื้นที่ท่วมซ้ำซาก ซึ่งได้กำชับหน่วยงานเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเต็มที่ รวมทั้งขุดลอกหรือทำคันกั้นคลองสาธารณะในพื้นที่ เพื่อให้น้ำระบายลงทะเลให้เร็วที่สุด ขณะนี้จังหวัดได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยขึ้นในทุกอำเภอแล้ว ร่วมกับเทศบาลตำบลทับมา อ.เมือง และค่ายทหารพัน ร.7 จัดเตรียมถุงทรายไว้ช่วยเหลือประชาชน 2 จุดคือ หน้าเทศบาลตำบลทับมา และศาลาอเนกประสงค์ ม.3 ต.ทับมา สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมนอกจากที่ อ.แกลง และ อ.เมืองแล้ว ยังมี อ.บ้านค่าย ได้รับผลกระทบเช่นกัน

    ส่วนอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่งคือ อ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ขณะนี้ระดับน้ำเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว และได้ประสานไปยังชลประทานจังหวัดไม่ให้ระบายน้ำออกจากประตูของอ่างเก็บน้ำ ทั้ง 4 แห่งอย่างเด็ดขาด โดยปล่อยให้น้ำล้นไปทางสปริงเวย์เท่านั้น เพื่อไม่ให้น้ำท่วมเพิ่มขึ้น และให้เฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชม

    --------------------------------------------------------------------------------------
    พนัสนิคมอ่วม! จม 1 เมตร-จับตานิคมอมตะนคร [ ไอเอ็นเอ็นนิวส์ : 7 ต.ค. 56 ]

    อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ยังอ่วม ระดับน้ำสูง 1 เมตร ด้าน ผู้ว่าฯ กำชับ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร หมั่นตรวจสอบระดับน้ำ สถานการณ์ น้ำท่วมของจังหวัดชลบุรี เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลันในหลายอำเภอ โดยเฉพาะ อ.พนัสนิคม ยังพบว่า มีหลายจุดที่เกิดน้ำท่วมขัง มีระดับความสูงของน้ำเฉลี่ย ประมาณ 1 เมตร อย่างไรก็ตาม นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้สั่งการให้นายอำเภอ ประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น เร่งช่วยเหลือชาวบ้านในเบื้องต้น และหาทางเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ก่อนที่น้ำทะเลจะหนุน นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ประสานข้อมูลกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งอยู่ใกล้กับ อ.พนัสนิคม ให้หมั่นตรวจสอบระดับน้ำ และเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ รองรับสถานการณ์น้ำที่อาจทะลักเข้าไป เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับโรงงานอุตสาหกรรม



    --------------------------------------------------------------------------------------
    สระเเก้วอ่วมถนนถูกตัดขาด-ฉะเชิงเทราน้ำเพิ่มสูง [ ไอเอ็นเอ็นนิวส์ : 7 ต.ค. 56 ]
    สถานการณ์น้ำท่วม จ.สระเเก้ว ยังอ่วม  ด้าน จ.ฉะเชิงเทรา น้ำยังเพิ่มต่อเนื่อง โดยเฉพาะ อ.ราชสาส์น ณะที่ขณะที่ มวลน้ำจ่อหลาก อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซ้ำอีกรอบ ปภ.สรุปสถานการณ์อุทกภัย   28 จว. เสียชีวิตรวม 34 ราย สถานการณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สระแก้ว ยังคงน่าเป็นห่วง น้ำยังไหลท่วมถนนสายหลัก หมายเลข 317 จังหวัดจันทบุรี-สระแก้ว บริเวณบ้านเขาแหลม อ.วังสมบูรณ์ มีระดับสูง รถไม่สามารถผ่านไป-มาได้ รวมทั้ง น้ำยังเข้าท่วมถนนตัดใหม่สายอรัญประเทศ-เขาหินซ้อน บริเวณบ้านสระขวัญ อ.เมืองสระแก้ว รถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านได้ และอีก 1 เส้นทาง คือ ถนนสายหลัก ทางหลวงหมายเลข 33 จังหวัดสระแก้ว-กบินทร์บุรี บริเวณศูนย์มาสด้า เขตเทศบาลเมืองสระแก้ว อ.เมืองสระแก้ว ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 80 ซ.ม. ซึ่งเป็นถนน 4 เลน รถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านไป-มาได้ทั้ง 4 เลน ขณะที่ สถานการณ์น้ำท่วม จ.ฉะเชิงเทรา ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ อ.ราชสาส์น บางจุดน้ำลึกกว่า 2 เมตร ทำให้ชุมชนหลายแห่งถูกตัดขาด

     สระแก้ว อ่วม! มวลน้ำจ่อหลากกบินทร์ ซ้ำอีกรอบ

    นาย ประสิทธิ์ โฉมศรี ปลัดอำเภอเมืองสระแก้ว รักษาราชการแทนนายอำเภอ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สถานการณ์น้ำท่วมใน อ.เมือง จ.สระแก้ว กลับมาวิกฤติอีกครั้ง หลังมวลน้ำจาก อ.เขาฉกรรจ์ หลากมาแบบไม่มีทิศทาง เข้าโจมตีพื้นที่ ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถนนสายหลัก 2 สาย คือ ถนนสาย 33 สุวรรณศร จาก กบินทร์บุรี - สระแก้ว และถนนสาย 359 เขาหินซ้อน - สระแก้ว ต้องปิดการจราจรตัว อ.เมือง ต้องถูกตัดขาดโดยปริยาย

    ขณะที่น้ำในคลองพระสะทึง ล้นตลิ่งเข้าพื้นที่ ต.สระขวัญ ม.2, 6, 7 และ 11 มวลน้ำก้อนนี้มุ่งเข้าท่วม ต.ศาลาลำดวน ส่วนอีกสายจาก อ.วัฒนานคร น่ำที่ล้นเขื่อนพระปรง เข้าท่วมพื้นที่ ต.ท่าเกษม ต.หนองบอน ต.ท่าแยก โดยเฉพาะ ริมคลองพระปรง โดยมวลน้ำก้อนน้ำจะหลากท่วม อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ต่อไป

     พนัสนิคมอ่วม!จม1เมตร-จับตานิคมอมตะนคร

    สถานการณ์ น้ำท่วมของจังหวัดชลบุรี เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลันในหลายอำเภอ โดยเฉพาะ อ.พนัสนิคม ยังพบว่า มีหลายจุดที่เกิดน้ำท่วมขัง มีระดับความสูงของน้ำเฉลี่ย ประมาณ 1 เมตร อย่างไรก็ตาม นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้สั่งการให้นายอำเภอ ประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น เร่งช่วยเหลือชาวบ้านในเบื้องต้น และหาทางเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ก่อนที่น้ำทะเลจะหนุน นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ประสานข้อมูลกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งอยู่ใกล้กับ อ.พนัสนิคม ให้หมั่นตรวจสอบระดับน้ำ และเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ รองรับสถานการณ์น้ำที่อาจทะลักเข้าไป เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับโรงงานอุตสาหกรรม

    น้ำท่วมสระแก้วถนนหลักถูกตัดขาดสิ้นเชิง

    สำหรับ สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด ที่จังหวัดสระแก้ว เรียกได้ว่า อ.เมือง ถูกตัดขาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากถนนสายหลัก คือ ทางหลวงสาย 359 และทางเลี่ยงเมืองสระแก้ว มวลน้ำป่าจากเทือกเขาสอยดาว ได้ทะลักเข้าท่วมเต็มพื้นที่แล้ว โดยระดับสูง 30-50 ซ.ม. รถเล็กและรถกระบะยกสูง ไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งชาวบ้านที่จะเดินทางเข้าออกพื้นที่ต้องรอบรรทุกและเรือ ที่หน่วยงานราชการนำเข้ามาช่วยเหลือ

    จากการสอบถามชาวบ้าน หมู่บ้านโคกสมบูรณ์ ตำบลสระบัว อำเภอเมือง ซึ่งอยู่รอบนอกเขตเมือง เล่าว่า น้ำได้เริ่มไหลเข้าท่วมตั้งแต่ช่วงเย็นวานนี้ และเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรู้สึกตกใจ เนื่องจากจุดนี้ ไม่เคยมีน้ำท่วมมาก่อน

    อย่างไรก็ตาม เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่มูลนิธิกู้ภัยสว่าง จังหวัดราชบุรี ได้นำเรือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ส่งอาหาร และเครื่องยังชีพ ให้ชาวบ้านในเขตเมืองด้วย


    --------------------------------------------------------------------------------------
    “นิคมฯอมตะ” เฟส 7-9 จมบาดาล [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 ต.ค. 56 ]

    ศูนย์ข่าวศรีราชา - น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อำเภอพานทอง เฟส 7-9 จมบาดาลเดือดร้อนนับร้อยโรงงาน “วิบูลย์” เร่งเปิดทางกั้นน้ำเพื่อช่วยระบายน้ำลงแม่น้ำบางปะกง และทะเลชลบุรี หากฝนหยุด ไม่เกิน 2 วันน้ำเข้าสู่ปกติ 

    วันนี้ (8 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อ.พานทอง จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นวันที่ 2 ว่า ปริมาณน้ำท่วมขังสูง 70-120 เซนติเมตร ที่เฟส 7-9 ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ กว่า 200 โรงงานได้รับผลกระทบ และถนนหลายสายภายในนิคมฯ มีน้ำท่วมขังสูง ทำให้การจราจรติดขัดอย่างหนัก การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก และล่าช้า

    นอกจากนี้ ทางโรงงานต้องระดมพนักงานออกมาช่วยกันนำถุงทรายมากั้นน้ำกันอย่างทุลักทุเล พร้อมกับติดเครื่องสูบน้ำระบายน้ำออสู่ภายนอกนิคมฯ เป็นการเร่งด่วน

    ด้านนายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ คณะกรรมการและประธานฝ่ายการตลาด บริษัท อมตะคอร์ปปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เนื่องจากปริมาณน้ำที่ อ.พานทอง และ อ.พนัสนิคม มีปริมาณมากจนทำให้น้ำท่วมขัง และระบายออกได้อย่างช้า ตนจึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เปิดทางกั้นน้ำเพื่อช่วยระบายน้ำผันลงไปสู่คลองพานทอง ระบายลงแม่น้ำบางปะกง และลงอ่าวไทยช่วงทะเลชลบุรี

    หลังเปิดทางน้ำปรากฏว่าน้ำมีปริมาณมาก ดังนั้น จึงไหลลงคลองพานทองไม่ทัน จึงท่วมเจ้ามาในนิคมเฟสที่ 7, 8 และ 9 ซึ่งมีโรงงานอยู่กว่า 200 โรงงาน จึงได้ผลกระทบ ประกอบกับถนนหลายสายท่วมขังไปด้วยน้ำ มีผู้ใช้รถใช้ถนนมาก และต้องเดินทางกันอย่างช้าจึงทำให้การจราจรติดขัด

    ขณะนี้ตนได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ไว้หลายจุด และนำทรายไปกองไว้ที่เฟส 8 เป็นจำนวน มาก โดยให้โรงงานต่างๆ ที่ต้องการทรายไปกั้นน้ำก็ให้โรงงานต่างๆ ไปตักใส่ถุงเอาไปเลย คาดว่า หากฝนไม่ตกลงมาอย่างหนักเป็นเวลา 2 วันติดต่อกัน น้ำจะลดลงเข้าสู่ภาวะปกติอย่างแน่นอน



    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำป่าจากเทือกเขาเครือหวาย ซัดฝายเก็บน้ำแตก วัดพัง-สะพานทรุด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 ต.ค. 56 ]

    จันทบุรี - น้ำป่าจากอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ไหลสมทบน้ำจากเทือกเขาเครือหวาย จังหวัดจันทบุรี ซัดฝายเก็บน้ำที่สร้างเสร็จใหม่แตก วัดพัง สะพานทรุด พระสงฆ์ไร้ที่จำวัด

    วันนี้( 8 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนายณรงค์ พารา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล(สอบ.)โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ว่ามีน้ำป่าจาก อ.บ่อไร่ จ.ตราด และน้ำป่าจากเขาเครือหวาย ต.โป่งน้ำร้อน ซัดกุฎิพระหายไปกับสายน้ำ 3 หลัง เหลือเพียง 1 หลังในสภาพพังเสียหาย รวมทั้งยังซัดคอสะพานข้ามคลองบัดกลอง จนคอสะพานขาด

    นอกจากนี้น้ำป่าจากอ.บ่อไร่ และจากเขาเครือหวาย ยังทำลายฝายเก็บน้ำของกรมชลประทาน ที่สร้างเสร็จราว 5 เดือน ด้วยงบประมาณ 33 ล้านบาท โดยยังไม่ได้ส่งมอบให้กับทางอำเภอโป่งน้ำร้อน จนฝายพังเสียหาย

    หลังรับแจ้งได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบกุฎิพระ วัดเครือหวาย หมู่ 8 ต.โป่งน้ำร้อน หายไปกับน้ำป่า 3 หลัง เหลือเพียง 1 หลังในสภาพพังเสียหายจริง โดยน้ำไหลเชี่ยวรุนแรง คอสะพานข้ามคลองบัดกลองขาด พื้นทรุด รถที่สัญจรผ่านสะพานพอดีเสียหลักล้อหลังติดอยู่ในหลุมบริเวณคอสะพาน ล่าสุดทาง อำเภอสั่งห้ามใช้สะพานดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้สะพานข้ามคลองบัดกลอง เป็นสะพานเชื่อมหมู่บ้านต่างๆในอ.โป่งน้ำร้อน ใช้ขนย้ายผลิตผลทางการเกษตรไปยังอำเภออื่น

    นายณรงค์ กล่าวว่า น้ำป่าที่ไหลบ่าส่งผลให้ฝายแตก ค ือ ฝายปากคลองร่วม ซึ่งรับน้ำจากคลองเครือหวาย และจากคลองโป่งน้ำร้อน มีน้ำไหลทะลักเข้าไปสู่ประเทศกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง โดยสภาพฝายมีท่อนไม้ กิ่งไม้ที่น้ำป่าพัดพามากองอัดแน่นบริเวณสันฝาย



    --------------------------------------------------------------------------------------

    ประตูระบายน้ำพัง รพ.ประจันตคามจมน้ำ [ เดลินิวส์ : 10 ต.ค. 56 ]

    เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา  ที่บริเวณประตูระบายน้ำตะกุดอ้อม หมู่ที่ 7  ต.วังดาล  อ.กบินทร์บุรี  จ.ปราจีนบุรี  ได้ถูกน้ำเซาะจนพื้นที่หูช้างขาดยาวกว่า 50  เมตร  จนทำให้มวลน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีจำนวนมหาศาลไหลเข้าสู่พื้นที่อ.ประจัน ตคามอย่างรวดเร็ว  ทางราชการจึงได้แจ้งหน่วยงานต่าง  ๆ  ประชาสัมพันธ์ให้เร่งอพยพทรัพย์สิน  รวมทั้งประชาชนไปอยู่ในที่ปลอดภัยแต่ด้วยเป็นเวลากลางดึก  ทำให้ประชาชนไม่ทราบข่าว  ทราบอีกครั้งเมื่อมวลน้ำได้ไหลเข้าพื้นที่บ้าน  จนทำให้ทรัพย์สินเสียหาย  ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยอนุสรณ์ได้จัดกำลังออกไปช่วยอพยพประชาชนรวมทั้ง ทรัพย์สินของประชาชนได้เป็นบางส่วนและที่โรงพยาบาลประจันตคามก็ถูกน้ำท่วม พื้นที่โดยรอบสูง  70  ซม.  ทางโรงพยาบาลต้องระดมกำลังทหารมาช่วย  ในการขนย้ายเครื่องมือแพทย์  ย้ายไปรักษาที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปราจีนบุรี   รวมทั้งหนุนสะพานทางเข้าโรงพยาบาลให้สูงขึ้นอีก  เพื่อที่ทางเจ้าหน้าที่จะได้เดินเข้าออกในตัวอาคารได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ยังจำเป็นต้องปฏิบัติงานบางส่วนอยู่ในตัวอาคาร

    นายแพทย์พงศธร  สร้อยคีรี  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประจันตคาม  เปิดเผยว่า  โรงพยาบาลทราบเมื่อเวลา 01.00  น.  ซึ่งทางโรงพยาบาลได้เตรียมการอยู่ก่อนแล้ว  เมื่อคืนที่ผ่านมาระดับน้ำสูงขึ้นเร็วมาก  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี  ได้พิจาณาสั่งการและแนะนำให้เคลื่อนย้ายแผนกฉุกเฉินพร้อมแพทย์พยาบาลและ เครื่องมือแพทย์และ  OPD ไปอยู่ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี  เนื่องจากเป็นที่สูงจะสะดวกในการให้บริการและเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย  ส่วนผู้ป่วยในทางโรงพยาบาลได้ย้ายไปอยู่ที่โรงพยาบาลกบินทร์บุรี  4  ราย  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 1 ราย ขณะนี้รับเพียงผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยนอก  ส่วนโรงไฟฟ้า  โรงครัวและโรงซักล้าง  ทางโรงพยาบาลสามารถป้องกันไว้ได้  มีเพียงระบบบำบัดน้ำเสียน้ำได้ล้นออกนอกระบบ  จึงจำเป็นต้องย้ายผู้ป่วย  นอกจากนี้ยังมีบ้านพักเจ้าหน้าที่อีก 13  หลังที่ถูกน้ำท่วมด้วยเช่นกัน

    ทั้งนี้ที่ชุมสายโทรศัพท์ของอ.ประจันตคามได้ถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 1.50  ม.  เจ้าหน้าที่ต้องรีบนำกระสอบทรายมากั้นเป็นแนว  ไม่ให้น้ำไหลเข้าไปภายในอาคาร  รวมทั้งยกหม้อแปลงไฟฟ้าให้สูงพ้นระดับ  และหากถูกน้ำท่วมจะส่งผลระบบโทรศัพท์ทั้งอำเภอไม่สามารถใช้การได้ ในตลาดเทศบาลตำบลประจันตคาม  ซึ่งเป็นชุมชนย่านเศรษฐกิจ  ก็ถูกน้ำท่วมสูงเฉลี่ยประมาณ  30  ซม. บรรดาร้านค้าได้เร่งวางแนวกระสอบทรายและก่ออิฐบล็อก  เพื่อป้องกันน้ำที่จะไหลเข้าท่วมร้านค้า จากการสอบถามชาวบ้านในตลาดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า  ในรอบ 70  ปี ยังไม่เคยเจอน้ำท่วม  ครั้งนี้เป็นครั้งแรก




    --------------------------------------------------------------------------------------
    “เมืองพนัสนิคม” โดนพิษ “นารี” เล่นงานกลายเป็นเมืองบาดาลน้ำสูง 70-120 ซม. [ ผู้จัดการออนไลน์ : 17 ต.ค. 56 ]
    ศูนย์ข่าวศรีราชา - พายุไต้ฝุ่นนารี ซัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม กลายเป็นเมืองบาดาลอีกรอบ ระดับน้ำสูงตั้งแต่ 70-120 ซม. ประชาชนเดือดร้อนหนัก ด้านการจราจรเป็นอัมพาต ผู้ว่าฯ ชลบุรี สั่งเร่งระบายน้ำ ยันหากฝนหยุดตกใช้เวลา 3-5 วันน้ำถึงจะลด

    วันนี้ (17 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ฝนตกลงมาอย่างหนักเกือบ 2 วันที่ผ่านมา ทำให้ทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ถูกน้ำท่วมอย่างหนัก โดยปริมาณน้ำสูงตั้งแต่ 70 ซม. ไปจนถึง 1.20 เมตร ส่งผลให้ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนัก ต้องเร่งระดมขนข้าวของหนีน้ำขึ้นไปไว้ที่สูง โดยเฉพาะย่านตลาดใหม่ ตลาดเก่า ปริมาณน้ำสูงจนถึงหน้าอก เนื่องจากอิทธิพลของพายุนารี ซึ่งนับว่าเป็นน้ำท่วมระลอกที่ 2 หลังจากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้วเมื่อวันที่ 6-11 ต.ค.ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ เนื่องจากในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม เป็นที่ต่ำ จึงทำให้น้ำที่ไหลจากที่สูงจาก อ.เกาะจันทร์ อ.บ่อทอง ไหลมารวมเพื่อไหลผ่านลงอ่าวไทยด้านทะเลจังหวัดชลบุรี และแม่น้ำบางปะกง ทำให้เป็นที่รับน้ำ และผ่านไปยัง อ.พานทอง อีกทีหนึ่ง

    ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนกล่าวว่า สำหรับน้ำท่วมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 นับจากเมื่อสัปดาห์ก่อนที่เพิ่งแห้งไป ตนคิดว่าน่าจะเกิดจากการสร้างบ้านจัดสรร หรือโรงงานต่างๆ ใน อ.พานทอง และ อ.พนัสนิคม ที่มีการวางแผนไม่ดี ทำให้มีการก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ ดังนั้น เมื่อฝนตกน้ำก็ไม่รู้จะระบายไปทางไหนจึงต้องท่วมขังอย่างนี้

    ด้านนายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้เดินทางลงพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม พร้อมกับสั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งระบายน้ำตามคลองต่างๆ ลงสู่ทะเล และแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากฝนที่ตกลงมาในวันนี้มีความรุนแรงมาก จึงทำให้เกิดน้ำท่วมหนักอีกครั้ง

    “คาดว่าหากฝนหยุดตกที่เขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม ต้องใช้เวลา 3-5 วัน น้ำน่าจะกลับสู่ภาวะปกติ ส่วนในเขตเทศบาลเมืองพานทอง น่าจะใช้เวลา 7 วัน น้ำถึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ และยังขอเตือนประชาชนให้ระวังไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต และอย่าปล่อยให้คนในครอบครัวเล่นน้ำ เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้” นายคมสัน กล่าว




    --------------------------------------------------------------------------------------
    ข้อมูลอ้างอิง

  • ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th
  • เดลินิวส์ http://www.dailynews.com
  • ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th
  • สำนักข่าวไทย http://www.mcot.net
  • ไอเอ็นเอ็นนิวส์ http://www.innnews.co.th
  • โพสต์ทูเดย์ http://www.posttoday.com