สรุปเหตุการณ์น้ำท่วมช่วงเดือนกรฎาคม - สิงหาคม 2547

ภาพเรดาร์จากดาวเทียม GOES-9

26/07/04 


28/07/04


30/07/04
ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าช่วงปลายเดือนกรกฎาคม โดยเฉพาะช่วงวันที่ 26-31 มีกลุ่มเมฆปกคลุม ในบริเวณประเทศไทย บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน ทำให้เกิดฝนตกหนัก ในพื้นที่ดังกล่าว



ช่วงกลางเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะช่วงวันที่ 9-11 มีกลุ่มเมฆปกคลุม ในบริเวณประเทศไทย บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ทำให้เกิดฝนตกหนัก ในพื้นที่ดังกล่าว  

 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

9/08/04

10/08/04

          11/08/04


ปริมาณฝนสะสม

26/07/04

28/07/04

31/07/04

ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดย สถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน
พบว่าในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และ ภาคเหนือ ของ ประเทศไทยมีประมาณฝน สะสมปริมาณมาก

 

 



ส่วนช่วงกลางเดือนสิงหาคมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคกลางมีปริมาณฝนสะสมเป็นจำนวนมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม




9/08/04

10/08/04

11/08/04


เรดาร์์กรมอุตุนิยมวิทยา



26/07/04

27/07/04

30/07/04

ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา (เรดาห์ดอนเืมือง) พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มี ฝนตก ซึ่งพบว่าช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม มีฝนตกหนักทั่วบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกของ ประเทศไทย


9/08/04

10/08/04

11/08/04
 


เรดาห์ฝนหลวง
ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของศูนย์ฝนหลวง พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาห์อมก๋อยและเรดาห์พิมายจะเห็น ได้ว่าช่วงวันที่ 27-31 กรกฎาคม และช่วงกลาง เดือนสิงหาคม มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำ่ท่วมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนสิงหาคม ฝนตกหนักมากจนทำให้เกิดน้ำท่วมและ น้ำป่าไหลหลากในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี รวมทั้งบริเวณเขาใหญ่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 


28/07/04

27/07/04

31/07/04

9/08/04

10/08/04
 



ปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

27/07/04

06/08/04

08/08/04


09/08/04


10/08/04

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ โดยใช้สถิติของการกระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาห์ และ ค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานี ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก พบว่า ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มีฝนตกหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 27 กรกฎาคม ที่จังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด มีฝนตกหนักถึง 112.5 และ 126.3 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 28 กรกฎาคม ที่ อ. กมลาไสย จังหวัด กาฬสินธ์ มีฝนตกหนักถึง 188.1 มิลลิเมตร

และในช่วงว้ันที่ 9-10 สิงหาคม มีีฝนตกหนักในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ส่งผลให้ปริมาณน้ำบนเขาใหญ่กว่า 70% ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี และนครนายก โดยเฉพาะที่ จ.ปราจีนบุรีมีระดับน้ำท่วมสูงเข้าขั้นวิกฤติ ส่วนจังหวัดนครนายก
่วัดปริมาณน้ำฝนได้ มากกว่า 220 มิลลิลิตร ทำให้ระดับน้ำในน้ำตกเหวนรก มีปริมาณมาก ไหลลงสู่ เขื่อนคลองท่าด่าน ซึ่งทำให้ เขื่อนคลองท่าด่าน ที่ยังไม่แล้วเสร็จ มีระดับน้ำสูง มากกว่า 30 เมตร ทำให้เขื่อนคลองท่าด่าน จำเป็นที่จะต้องปล่อย น้ำลงสู่คลองท่าด่าน ประกอบกับ ระดับน้ำในคลองนางรอง มีปริมาณ น้ำมาก จึงทำให้ ระดับน้ำในแม่น้ำนครนายก มีปริมาณสูงล้นตลิ่ง

 



แผนที่อากาศ

26/07/04

จากภาพแผนที่อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 26 ก.ค. 47 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝน พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุก ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป

สำหรับสภาพอากาศลักษณะนี้ จะมีฝนตกหนักประมาณ 2-3 วัน จากนั้นก็จะอ่อนลงเรื่อยๆ แล้วก็จะกลับมาหนักอีกครั้งหรือพายุฝนทิ้งช่วงไปไม่นานก็จะกลับมาตกหนักอีก เป็นเรื่องปกติของช่วงมรสุม พื้นที่ที่น่าเป็นห่วงคือบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือด้านตะวันออก ตั้งแต่ จ.เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ พื้นที่ลาดชันหรือตีนเขาให้ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม

 


 

 


10/08/04
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


รายงานสภาพน้ำในเขื่อน

กราฟแสดงระดับน้ำเขื่อนปากมูล
กราฟแสดงระดับน้ำเขื่อนแม่งัด
กราฟแสดงระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
กราฟแสดงระดับน้ำเขื่อนภูมิพล
จากกราฟแสดงระดับน้ำของแต่ละเขื่อนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นได้ว่าระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างหนัก

 

 

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

ชาวอ.ฝางรันทดโดนนํ้าป่าถล่ม! [ไทยรัฐ 27 ก.ค. 2547 ]

เมื่อเวลา 03.00 น. วันที่ 26 ก.ค. เกิดน้ำป่าไหลลงสู่ลำห้วยแม่คะ หมู่ 6 ต.แม่คะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จนเอ่อล้นสองฝั่ง ก่อนจะล้นทะลักหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรสองข้างทาง ที่หมู่บ้านสันดอยนาก บ้านปางควาย บ้านเหมืองแร่ และบ้านบุญศิริธรรม ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร
ขณะเดียวกัน ถนน สะพาน และพื้นที่การเกษตรและเลี้ยงสัตว์โดนน้ำท่วม ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม ในตอนสายระดับน้ำเริ่มลดลงตามลำดับ



เหนือ-อีสานท่วมกระอัก! [ไทยรัฐ 28 ก.ค. 47 ]

พายุฝนกระหน่ำทางภาคเหนือ และภาคอีสานทำให้หลายจังหวัด เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ จ.ศรีสะเกษ หลังเกิดฝนตกหนัก ตั้งแต่คืนที่ผ่านมาจนรุ่งเช้า ส่งผลให้มีน้ำไหลบ่า เข้าท่วมบ้านเรือน ไร่นา ในเขต อ.ราษีไศล
นอกจากนี้ยังเกิดน้ำท่วมอีกในหลายพื้นที่ มี อ.วังหิน อ.ปรางค์กู่ อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ อ.อุทุมพรพิสัย อ.ขุขันธ์ และ อ.ราษีไศล นอกจากนั้นระดับน้ำ ในลำห้วยสำราญเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม อีกเกือบ 1 เมตร พร้อมกันนั้นมีน้ำจากอ่างเก็บน้ำโอตาลัด อ.ขุขันธ์ ไหลลงมาที่ลำห้วยสำราญ หากน้ำไหลมาทั้งหมด หรือมีฝนตกเติมลงมาอีก จะทำให้ จ.ศรีสะเกษถูกน้ำท่วมหนักเช่นเมื่อ 2 ปีก่อน ที่ จ.หนองบัวลำภู หลังจากที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องมา 3 วัน ทำให้น้ำป่าจากภูเขาทะลักเข้าท่วมในเขตเทศบาลตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณทางหลวงสาย 210 หน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร สาขาหนองบัวลำภู น้ำท่วมถนนเป็นระยะทางยาว 300 เมตร และทางหลวงสาย 228 หน้าตลาดเทศบาล ระยะทางประมาณ 500 เมตร ระดับน้ำสูง 30 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้

ส่วนที่ จ.ร้อยเอ็ด น้ำท่วมฉับพลันขยายวงกว้างกว่า 10 อำเภอ นาข้าวจมน้ำนับหมื่นไร่ ถนนเชื่อมอำเภอกับจังหวัดหลายสายถูกน้ำท่วม น้ำป่าไหลท่วมในเขตเทศบาล ต.แวง อ.โพนทอง ที่บ้านดอนโมง ต.บึงงาม กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง ถูกน้ำท่วมล้อมรอบกลายเป็นเกาะชาวบ้าน ในพื้นที่ถูกตัดขาด ถนนสายร้อยเอ็ด-สุรินทร์ อ.สุวรรณภูมิ น้ำท่วมสูงประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร
ในเขต จ.ยโสธร น้ำป่าท่วมถนนสายบ้านหนองแสง อ.ป่าติ้ว ไปยัง อ.เลิงนกทา ถนนสายบ้านโคกนาโก-บ้านโคกกลาง ถูกตัดขาดตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ราษฎรที่บ้านนาโส่ หมู่ 1 ต.นาโส่ อ.กุดชุม 150 ครัวเรือนถูกน้ำท่วม รวมทั้งถนนสายแจ้งสนิทที่เชื่อมระหว่าง จ.ยโสธร กับ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
ที่ จ.กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมือง

ด้าน จ.เลย น้ำท่วม 3 หมู่บ้านใน ต.เลยวังไสย์ อ.ภูหลวง น้ำป่าไหลจากภูเขา ทั้งหมู่บ้านมี 90 หลังคาเรือน โดนน้ำท่วมถึง 40 หลัง นับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากท่วมครั้งแรกเมื่อปี 2521
ทางภาคเหนือที่ จ.แพร่ จากการที่ฝนตกหนักติดต่อกัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังประกอบกับมีน้ำป่าไหลลงมาจากภูเขาทำให้พื้นที่หมู่ 3 บ้านวังวน ต.สบสาย อ.สูงเม่น ได้รับความเสียหายทั้งบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร


อีสานจมนายายไฮท่วมด้วย [ ข่าวสด 28 ก.ค. 47 ]

ที่จ.เลยน้ำป่าไหลทะลักจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงจมกว่า 100 หลังคาเรือน ที่หนองบัวลำภูเส้นทางหลวงโดนตัดขาดหลายเส้น แถมน้ำยังเอ่อท่วมบ้านเรือนชาวบ้านอีก 100 หลังคาเรือน ที่ร้อยเอ็ด-กาฬสินธุ์ก็เดือดร้อนหนัก ชาวบ้านไร้ที่อยู่อาศัย ต้องอพยพขึ้นที่สูง ส่วนที่อุบลฯเหตุฝนตกทำให้น้ำท่วมนายายไฮ เนื่องจากดินไปอุดตันท่อระบายของเขื่อนที่เพิ่งทุบ เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 27 ก.ค. ที่หมู่บ้านเลยตาวตาด หมู่ 2 บ้านโนนพัฒนา หมู่ 7 ต.เลยวังไสย์ อ.ภูหลวง จ.เลย มีน้ำป่าจากแม่น้ำเลยซึ่งอยู่ติดกับหมู่บ้านเอ่อขึ้นล้นตลิ่งอย่างรวดเร็วเข้าท่วมที่หมู่บ้านทั้งสองอย่างรวดเร็ว ระดับน้ำได้เพิ่มขึ้นสูงท่วมบ้านเรือน ชาวบ้านไม่สามารถที่จะเก็บของได้ทัน ต่างก็พากันหนีน้ำขึ้นไปอยู่บนเนินที่สูง ระดับน้ำป่าได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมงขึ้นสูงร่วม 4 เมตร

เหตุการณ์ที่เกิดน้ำป่าท่วมทะลักบ้านโนนพัฒนาและบ้านเลยตาวตาดในครั้งนี้ เนื่องจากหมู่บ้านทั้งสองตั้งอยู่ริมแม่น้ำเลย อยู่ในที่ลุ่ม ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตต้นแม่น้ำเลย ซึ่งเรียกว่าขุนเลย น้ำที่ท่วมก็เป็นน้ำที่ไหลลงจากภูหลวง ที่ยังมีป่าสมบูรณ์ แต่อีกด้านของแม่น้ำเลยมีการตัดไม้ทำลายป่าจนโล่งเตียน เมื่อฝนตกหนักไม่มีที่กั้นน้ำ น้ำจึงไหลทะลักลงสู่แม่น้ำเลยไหลท่วมหมู่บ้านดังกล่าว

ส่วนที่จ.หนองบัวลำภู ได้เกิดน้ำป่าจากเขาภูพานทะลักเข้าท่วมเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภูหลายแห่ง ตั้งแต่หัวค่ำวันที่ 26 ก.ค.จนเช้าวันที่ 27 ก.ค. ระดับน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะบริเวณทางหลวงแผ่นดินสาย 210 บริเวณหน้าธ.ก.ส.หนองบัวลำภู น้ำท่วมถนนรถสัญจรไปมาลำบาก ระยะทางกว่า 300 เมตร และทางหลวงสาย 228 หน้าตลาดเทศบาล ระยะทางกว่า 500 เมตร ระดับ 30-50 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านไปได้ นอกจากนั้นยังมีน้ำท่วมหนักที่หมู่บ้านเคียงดอย ในเขตเทศบาลเมือง เนื่องจากทางเทศบาลได้สร้างทางระบายน้ำที่สูงกว่าผิวถนนเดิมกว่า 1 เมตร ทำให้น้ำป่าที่หลากลงมาถูกปิดกั้น น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนในบริเวณดังกล่าว ได้รับความเดือดร้อนกว่า 100 หลังคาเรือน ทางด้านจ.ร้อยเอ็ด จากการที่ร่องความกดอากาศต่ำได้พาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทำให้ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ตั้งแต่คืนวันที่ 26 ก.ค.เป็นต้นมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากทั่วจ.ร้อยเอ็ด ท่วมไร่นาของประชาชนพื้นที่หลายแสนไร่ นอกจากนี้น้ำยังไหลท่วมถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 525 ร้อยเอ็ด-สุรินทร์ บริเวณบ้านน้ำคำน้อย หมู่ 6 ต.น้ำคำ อ.สุวรรณภูมิ ระดับน้ำสูงถึง 70 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ อำเภอได้ปิดการจราจรชั่วคราวแล้ว ส่วนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2386 สายอ.ศรีสมเด็จ-บ้านหนองแวงควง สะพานขาดรถไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ถนนทางหลวงแผ่นดินสายเลี่ยงเมืองร้อยเอ็ด บริเวณบ้านบัว ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง ร้อยเอ็ด ระดับน้ำสูง 50-70 เซนติเมตร ระยะทาง 500 เมตร รถเล็กผ่านไม่ได้ ขณะที่จ.กาฬสินธุ์ เกิดฝนตกหนักเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนและถนนหลายสายภายในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะถนนหน้าเรือนจำบริเวณหัวโนนโก น้ำฝนไหลย้อนเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ติดกับลำน้ำปาว เป็นเหตุให้มีบ้านเรือนราษฎรภายในเขตเทศบาลถูกน้ำท่วมแล้วกว่า 20 หลังคาเรือน ถนนหลายสายต้องถูกสั่งปิดทำให้การสัญจรไปมาในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ติดขัดเป็นระยะ เนื่องจากเกิดน้ำท่วมขังระดับน้ำสูงกว่า 30 ซ.ม.



“ร้อยเอ็ด”ป่วนทั้งเมืองฝายเก็บน้ำแตก! [เดลินิวส์ 30 ก.ค. 47 ]

กรณีมีฝนตกหนักในภาคอีสานและภาคเหนือ ส่งผลให้หลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะที่ จ.ร้อยเอ็ด กระแสน้ำได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่หลายอำเภอ รวมทั้งในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดต้องกลายสภาพเป็นเมืองบาดาล เพราะระดับน้ำท่วมสูงกว่า 50 ซม.
ส่วนที่จ.มหาสารคาม มีรายงานว่า ปัจจุบันมีนาข้าวถูกน้ำท่วมครอบคลุม 3 อำเภอ คือ อ.เมืองมหาสารคาม อ.วาปีปทุม และอ.กันทรวิชัย รวมกันเป็นเนื้อที่ 11,000 ไร่ ระดับน้ำในลำน้ำชีไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากยังไม่มีการปล่อยน้ำมาจากเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เพราะตัวเขื่อนยังสามารถรับน้ำได้อีกมาก
ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จากกรณีเกิดน้ำป่าไหลเข้าท่วมบ้านเหมืองแร่ หมู่ 6 ต.แม่คะ อ.ฝาง เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ปัจจุบันสภาพของหมู่บ้านกลับเป็นปกติแล้ว



น้ำป่าทะลักท่วมเมืองชายแดนสุรินทร์ [ ผู้ัจัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2547 ]

น้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรัก ทะลักท่วมพื้นที่อำเภอชายแดนของสุรินทร์และถนนสายหลัก เช่น ถนนสาย 24 โชคชัย-เดชอุดม-ถนนทางหลวงหมายเลข 2124 สาย อ.สังขะ-อ.บัวเชด จมน้ำลึกกว่า 30-90 เซนติเมตร
ที่จังหวัดสุรินทร์ ผลของการที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 9 ส.ค.ต่อเนื่องมาจนถึงเมื่อคืนและเช้าตรู่ของวันนี้( 10 ส.ค.) ล่าสุดทำให้พื้นที่บริเวณ อ.บัวเชด อ.กาบเชิง อ.สังขะ จ.สุรินทร์ และอีกหลายอำเภอในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ทำให้เกิดน้ำท่วมหลากในหลายพื้นที่โดยเพาะที่ อ.สังขะนั้น น้ำป่าได้ไหลลงมาจากเทือกเขาพนมดงรัก เข้าท่วมถนนสายโชคชัย-เดชอุดม ช่วงระหว่าง อ.สังขะกับ อ.ขุขันธ์ ระดับน้ำสูง 30 เซนติเมตร ที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 187-188 เป็นทางยาว 100 เมตร

นอกจากนั้นปริมาณน้ำจำนวนมากได้ไหลเข้าท่วมถนนหลวงหมายเลข 2124 สาย อ.สังขะ-อ.บัวเชด ช่วงระหว่างกิโลเมตรที่ 1-2 น้ำท่วมสูงถึง 50-90 ซม. เป็นทางยาวกว่า 200 เมตร


ปราจีน-นครนายกวิกฤติน้ำกลืน3ชีวิต [เดลินิวส์ 11 ส.ค. 47 ]

สถานการณ์น้ำท่วมทั่วประเทศ เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 10 ส.ค. มีรายงานว่า จากกรณีมีฝนตกหนักในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ตลอด 2 วันที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำบนเขาใหญ่กว่า 70% ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ปราจีน บุรี และนครนายก โดยเฉพาะที่ จ.ปราจีนบุรีมีระดับน้ำท่วมสูงเข้าขั้นวิกฤติใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ประจันตคาม-นาดี-กบินทร์บุรี

• ประจันตคามวิกฤติ 5 ตำบล
สำหรับ อ.ประจันตคาม น้ำป่าจากน้ำตกเขาตะคร้อ น้ำตกธารทิพย์ และน้ำตกส้มป่อย ไหลบ่าลงสู่พื้นที่ 5 ตำบล คือ ต.บุฝ้าย-หนองแก้ว-โพธิ์งาม-คำโตนด-ประจันตคาม ระดับน้ำสูง 50-80 ซม. ส่วนที่ราบลุ่มบางส่วนท่วมสูงถึง 150 ซม. คิดเป็นพื้นที่ถูกน้ำท่วมรวม 11,400 ไร่ ราษฎรเดือดร้อน 3,000 ครัวเรือน สำหรับถนนสุวรรณศร ช่วงกม.ที่ 175-178 และกม.ที่ 179-180 ขณะนี้ระดับน้ำลดเหลือประมาณ 30 ซม.

• รีสอร์ตรอบแก่งหินเพิงมิดน้ำ
ที่อ.นาดี น้ำป่าจากเขาใหญ่ได้ไหลเชี่ยวกรากท่วม "แก่งหินเพิง" ซึ่งเป็นสถานที่ล่องแก่งชื่อดังของปราจีนบุรี ส่งผลให้รีสอร์ตกว่า 10 แห่ง ที่ตั้งอยู่รอบแก่งหินเพิงถูกตัดขาดจากโลกภายนอก รีสอร์ตบางแห่งจมอยู่ใต้น้ำแล้ว แต่ไม่มีนักท่องเที่ยวติดค้างแต่อย่างใด ผู้สื่อข่าวพยายามเข้าไปสำรวจแต่ก็ไม่สามารถเข้าไปได้ เนื่องจากกระแสน้ำพัดแรงมาก นอกจากนี้ที่ ต.บุพราหมณ์ และ ต.สำพันตา ของอ.นาดี น้ำได้ไหลเข้าท่วมไร่นาและบ้านเรือนประชาชนใน 4 หมู่บ้าน ถนนหลายสายจมน้ำ รถยนต์ขนาดเล็ก และรถจยย.ไม่สามารถผ่านได้

• ตลาดเก่ากบินทร์ไม่รอด
ส่วน อ.กบินทร์บุรี ระดับน้ำได้เอ่อล้นขึ้นจากแควหนุมาน ไหลเข้าท่วมตลาดเก่าเทศบาลตำบลกบินทร์สูงกว่า 1 เมตร และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก อย่างไรก็ตามช่วง 1-2 วันนี้ ปริมาณน้ำจาก 3 อำเภอ จะไหลลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี (บางปะกง) ตอนล่าง เรื่อยไปตั้งแต่ อ.ศรีมหาโพธิ อ.เมืองปราจีนบุรี และ อ.บ้านสร้าง

• นครนายกเดือดร้อนหนัก
ขณะที่จ.นครนายก พบว่าระดับน้ำในแม่น้ำนครนายกยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะยังมีฝนตกในเขาใหญ่อย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรใน ต.ดงละคร, ต.ดอนยอ, ต.วังกระโจม อ.เมืองนครนายก กว่า 700 หลังคาเรือน ส่วนในเขตเทศบาลเมืองนครนายกนั้น ระดับน้ำยังคงหนุนสูง

• ไม่มีเขื่อนท่าด่านสาหัสกว่านี้
ช่วง 3 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักในเทือกเขาใหญ่ด้าน จ.นครนายก วัดได้ประมาณ 500 มม. ส่งผลให้มีน้ำป่าไหลเข้าสู่เขื่อนท่าด่านจำนวนมาก แม้ว่าขณะนี้เขื่อนยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ก็สามารถรองรับน้ำได้ส่วนหนึ่ง แต่หากไม่มีเขื่อนท่าด่าน ภาวะน้ำท่วมในตัวเมืองนครนายกจะสาหัสกว่านี้หลายเท่า

• รอผันน้ำสู่คลองระพีพัฒน์
ที่จ.สระบุรี เตรียมรับมือภาวะน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากมีแนวโน้มว่าจะมีการผันน้ำจากตัวเมืองนครนายก ลงคลองบ้านนา อ.บ้านนา เรื่อยมาสู่คลองสีเสียดและคลองวิหารแดง อ.วิหารแดง เพื่อระบายน้ำออกสู่คลองระพีพัฒน์ จึงให้เทศบาลและอบต.ทุกแห่งจัดสรรงบประมาณขุดลอกผักตบชวาออกให้หมด และให้เปิดประตูระบายน้ำทุกจุดพร้อมกัน

• อยุธยาป้องกันโบราณสถาน
ด้าน จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เฉลี่ยวันละ 3-5 ซม. โดยเฉพาะบริเวณหน้าวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญและอยู่ริมแม่น้ำ ระดับน้ำอยู่ที่ 2.21 เมตร ทางกรมศิลปากรโดยสำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์ได้ทำการตั้งแนวบังเกอร์คอนกรีตสูง 2 เมตร ตลอดแนวทุกด้าน พร้อมตั้งแนวค้ำยันและตั้งเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติ

• เมืองช้างท่วมถนนหลายสาย
ที่ จ.สุรินทร์ มีรายงานว่าเกิดฝนตกหนักทั้งจังหวัด และเอ่อท่วมไร่นาราษฎรเสียหายหลายพันไร่ โดยเฉพาะถนนสายสำคัญ อาทิ ถนนสายสังขะ-บัวเชด ช่วงกม.ที่ 1-2 มีระดับน้ำสูง 50 ซม. รถเล็กไม่สามารถผ่านได้,ถนนสายโชคชัย-เดชอุดม บริเวณกม.ที่ 188-189 มีน้ำท่วมสูงเป็นระยะทาง 100 เมตร

• อุบลฯน้ำล้นตลิ่งแม่มูล-ชี
ส่วนที่จ.อุบลราชธานี มีรายงานว่า ชาวบ้านในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาล วารินชำราบ ที่ปลูกบ้านอาศัยอยู่ริมแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล กว่า 700 ครัวเรือน รวม 2,790 คน ต้องอพยพทรัพย์สินหนีน้ำ

• เชียงรายดินถล่มทับเส้นทาง
ที่ จ.เชียงราย ระดับน้ำในแม่น้ำอิง ได้เอ่อท่วมบ้านเรือน ในหมู่ 13, หมู่ 15 ต.แม่เปา อ.พญาเม็งราย รวมกว่า 50 หมู่บ้าน ขณะเดียวกันมีรายงานว่า เกิดแผ่นดินถล่มทับเส้นทางสายเชียงราย-ห้วยชมภู บริเวณบ้านปางตะไคร้ ต.ห้วยชมภู อ.เมืองเชียงราย ส่งผลให้ราษฎรกว่า 10 หมู่บ้าน ไม่สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวได้ ปัจจุบันมีน้ำท่วมแล้ว 13 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ บ้านเรือน-ไร่นา-สถานที่ราชการ ถูกน้ำท่วมเสียหายมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านบาท

• เชียงใหม่น้ำท่วมเป็นจุด ๆ
ขณะที่จ.เชียงใหม่ ได้เกิดภาวะน้ำท่วมขังเป็นจุดๆในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำปิงยังเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา ถ้ายังมีฝนตกลงมาอีกก็จะเอ่อท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมฝั่งแน่นอน

• เตือนมีพายุจ่อมาอีกลูก
สถานการณ์น้ำท่วมที่จ.ปราจีนบุรี และนครนายก มีสาเหตุใหญ่จาก 2 ปัญหา คือ 1. การตัดไม้ทำลายป่า 2. เกิดจากฝนตกใต้เขื่อน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 11-13 ส.ค.นี้ ขอประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังภาวะน้ำท่วม เนื่อง จากจะมีพายุลูกใหม่ ซึ่งกำลังก่อตัวอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และกำลังจ่อเข้าประเทศไทยแน่นอน ส่วนปัญหาน้ำท่วมภาคอีสาน การระบายน้ำออกคงทำได้ช้า ไม่เหมือนภาคอื่นซึ่งน้ำจะไหลจากที่สูงลงต่ำอย่างรวดเร็ว แต่ก็ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งให้ความช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเต็มที่



น้ำท่วม นครนายก [ http://www.nayokcity.com]

ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ ป่าเขาใหญ่ วัดปริมาณน้ำฝนได้ มากกว่า 220 มิลลิลิตร และ ยังมีฝนตกลงมาอย่าง จนถึงวันนี้ ทำให้ระดับน้ำในน้ำตกเหวนรก มีปริมาณมาก ไหลลงสู่ เขื่อนคลองท่าด่าน ซึ่งทำให้ เขื่อนคลองท่าด่าน ที่ยังไม่แล้วเสร็จ มีระดับน้ำสูง มากกว่า 30 เมตร ทำให้เขื่อนคลองท่าด่าน จำเป็นที่จะต้องปล่อย น้ำลงสู่คลองท่าด่าน ประกอบกับ ระดับน้ำในคลองนางรอง มีปริมาณ น้ำมาก จึงทำให้ ระดับน้ำในแม่น้ำนครนายก มีปริมาณ สูง ล้นตลิ่ง ไหลท่วม บ้านเรือน ราษฎร ในบริเวณ ต. นางรอง ต. หินตั้ง และ พื้นที่ใกล้เคียง ได้รับอุทกภัย ในครั้งนี้ บ้านเรือนได้รับความเสียหาย




ภาพสถานะการณ์ น้ำท่วม ภายใน จังหวัด นครนายก ตั้งแต่ คืนวันที่ 9 สิงหาคม 2547 พื้ี่นทางตอนเหนือบางส่วนระดับน้ำได้ลดลงไปบ้างแล้ว ส่วนตัวเมือง นครนายก ย่านใจกลางธุรกิจ ระดับน้ำยังคง สูงขึ้น ด้านน้ำตก แหล่งท่องเที่ยว ต่างๆ นักท่องเที่ยว ควรระมัดระวังน้ำป่าไหล หลาก

 


ข้อมูลข่าวอ้างอิงจาก
http://www.thairath.co.th/
http://www.dailynews.co.th/
http://www.matichon.co.th/khaosod/
http://www.manager.co.th/
http://www.nayokcity.com/board/detail.php?adsid=153