บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคกลาง (ก.ย. - ต.ค. 49)

ภาพดาวเทียม GOES-9

18/09/2006 : 09GMT

23 /09/2006 : 11GMT

25 /09/2006 : 10GMT

30 /09/2006 : 10GMT
download VDO file


1/10/2006 : 15GMT


5/10/2006 : 13GMT


9/10/2006 : 09GMT


18/10/2006 : 10GMT
ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าในช่วงเดือนกันยายนมีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน จะสังเกตเห็นได้ชัดว่ามีกลุ่มเมฆปกคลุมเป็นจำนวนมากบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้เกิดฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าว ประกอบกับในช่วงวันที่ 30 กันยายนถึง 2 ตุลาคม พายุ "ช้างสาร" ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลาง จึงทำให้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนักเป็นบริเวณกว้าง และในช่วงกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นมา ปริมาณฝนได้ลดน้อยลง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แผนที่อากาศและเส้นทางพายุ    

17/09/2006


19/09/2006


26/09/2006

29/09/2006

30 /09/2006

3/10/2006

9/10/2006

12/10/2006
รายงานจากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงเดือนกันยายนร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนได้พาดผ่านพื้นที่ภาคเหนือ และในช่วงสิ้นเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม ร่องฝนได้พาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคตะวันออกอันเป็นผลมาจากการเกิดพายุช้างสารที่มุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศเวียดนาม และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยในแนวจังหวัดมุกดาหารและอุบลราชธานี ทำให้บริเวณดังกล่าว มีฝนตกหนักเกิดขึ้น
หลังจากนั้นในช่วงปลายเดือนตุลาคมปริมาณฝนได้ลดน้อยลงเนื่องจากหย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ตัวลงสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นลง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม





ปริมาณฝนสะสม


16/09/2006 : 12am

19/09/2006 : 12am

21/09/2006 : 12am

23/09/2006 : 00am

25/09/2006 : 00am

2/10/2006 : 00am

09/10/2006 : 00am

10/10/2006 : 00am
ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าและสีเขียวแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน พบว่าช่วงเดือนกันยายน มีีปริมาณฝนสะสมหนาแน่นในบริเวณภาคเหนือ โดยเฉพาะ จังหวัดน่าน แพร่ พิษณุโลก สุโขทัย ส่วนในช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม ปริมาณฝนสะสมมีมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมถึงภาคตะวันออกอันเป็นผลมาจากพายุช้างสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
















ปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

20/09/2006
23/09/2006
27/09/2006

3/10/2006

9/10/2006

11/10/2006

การติดตามปริมาณฝน ณ เวลา 7.00 น. โดยใช้สถิติของการกระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาร์ และ ค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก พบว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนจนถึงปลายเดือนเกิดฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง และในต้นเดือนตุลาคมได้เกิดฝนตกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกอันเป็นผลกระทบมาจากพายุช้างสาร และช่วงกลางเดือนฝนยังคงตกหนักบริเวณภาคกลางรวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล


ดูรายละเอียดเพิ่มเติม




















ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์พิษณุโลก
 

16/09/2006 14:25

19/09/2006 16:25

20 /09/2006 15:25

22/09/2006 17:25
ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์พิษณุโลก จะพบว่า ในช่วงเดือนกันยายน บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัด น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และในช่วงเดือนตุลาคมปริมาณฝนภาคเหนือได้ลดน้อยลง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม











25/09/2006 22:25

1/10/2006 22:25

2/10/2006 8:25

5/10/2006 17:25

ภาพเรดาร์ดอนเมือง
 

5/10/2006 08:03

6/10/2006 20:03

8/10/2006 16:03
จากภาพเรดาร์ดอนเมือง จะพบว่า ช่วงต้นเดือนตุลาคมมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะในวันที่ 10 ตุลาคม ที่เกิดฝนตกหนักส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม











9/10/2006 13:03

10/10/2006 15:03

11/10/2006 16:03

ข้อมูลน้ำในเขื่อน  


ปริมาณน้ำเขื่อนภูมิพล


ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพล


ปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิติ์


ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำเขื่อนป่าสัก

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนป่าสัก

รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนของกรมชลประทานพบว่าในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม
ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 99% ที่ระดับกักเก็บในวันที 14 ตุลาคม ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสูงสุดอยู่ที่ี่ 200.5 ล้านลูกบาศก์เมตรในวันที่ 14 กันยายน

เขื่อนสิริกิติ์ปริมาณน้ำในเืขื่อนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมจนถึง 100% เทียบระดับกักเก็บในวันที่ 19 ตุลาคม ส่วนปริมาณน้ำไหลเข้ามีปริมาณมากในช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงต้นเดือนกันยายนและได้ลดปริมาณลงในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน โดยปริมาณไหลเข้าสูงสุดอยู่ที่ 198.04 ล้านลูกบาศก์์เมตรในวันที่ 24 สิงหาคม

ในส่วนของเขื่อนป่าสักปริมาตรกักเก็บของน้ำในเขื่อนสูงถึง 100% ที่ระดับกักเก็บในวันที่ 6 ตุลาคม และมีปริมาตรสูงสุดอยู่ที่ี่ 106% ในวันที่ 10 ตุลาคม เมื่อเทียบกับปี 2545 พบว่าปริมาตรกักเก็บสูงสุดอยู่ที่ 111.77% ในวันที่ 27 กันยายน ส่วน ปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด ของปี 2549 อยู่ที่ 84.32 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 3 ตุลาคม ส่วนในปี 2545 ปริมาณน้ำไหลลงสุงสุดอยู่ที่ 160.2 ล้านลูกบาศก์เมตรในวันที่ 8 กันยายน


ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์   ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา


 
กราฟแสดงอัตราการไหลของน้ำผ่านจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีอัตราการไหลสูงสุดอยู่ที่ 5,850 ลบม./วิ ในวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2545 และ ปี 2548 จะเห็นได้ว่า ปี 2545 มีอัตราการไหลสูงสุดอยู่ที่ 3,886 ลบม./วิ ในวันที่ 2 ตุลาคม และในปี 2538 มีอัตราการไหลสูงสุดอยู่ที่ 4,212 ลบม./วิ ในวันที่ 1 ตุลาคม
  จากกราฟแสดงอัตราการไหลของน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท พบว่า มีอัตราการไหลสูงสุดที่ 4,188 ลบม./วิ ในวันที่ 19 ตุลาคม เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2545 และปี 2538 ซึ่งเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมหนัก จะเห็นได้ว่า ในปี 2545 มีอัตราการไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 3,930 ลบม./วิ ในวันที่ 11 ตุลาคม ส่วนปี 2538 มีอัตราการไหลสูงสุดอยู่ที่ 4,557 ลบ.ม/วิ ในวันที่ 5 ตุลาคม

แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม   แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมปี 2549


ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 24 ตุลาคม 2549 (ภาพซ้าย) และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549 ( ภาพขวา) ในพื้นที่จังหวัด ชัยนาท นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร จากภาพจะเห็นได้ว่าในหลายพื้นที่ปริมาณน้ำได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น บริเวณ จังหวัด ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี ด้านเหนือและด้านตะวันออกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนบริเวณที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ คือ พื้นที่จังหวัด สุพรรณบุรี อ่างทอง นครปฐม และ ด้านตะวันตกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 

จากภาพแผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะเห็นได้ว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เกิดน้ำท่วมบริเวณภาคเหนือ ในพื้นที่จังหวัด น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ หลังจากนั้นน้ำเหนือได้ไหลเข้าสู่พื้นที่ภาคกลางทำให้เกิดน้ำท่วม ตั้งแต่จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี รวมถึงกรุงเทพมหานคร





ระดับน้ำสถานีสะพานพุทธ

จากการคำนวณของแบบจำลองเพื่อคาดการณ์ระดับน้ำีที่สถานี
สะพานพุทธตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน ถึง 14 พฤศจิกายน พบว่า
ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 2.23 ม.รทก. ในวันที่ 8 และ 9 พฤศจิกายน
ทั้งนี้สถานีสะพานพุทธมีระดับตลิ่ง 2.5 ม.รทก.

 

 

 

 


ภาพถ่ายทางอากาศแสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรี

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

ฝนถล่ม กทม.ชั้นในวิกฤต วันนี้น้ำทะเลหนุนสูงสุด! เรือแสนแสบหยุด2-3วัน [ มติชน : 28 ก.ย. 49 ]
วันที่ 27 กันยายน ฝนที่ตกลงมาวัดปริมาณน้ำฝนได้เฉลี่ยประมาณ 80 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง โดยตกหนักที่สุดในเขตบางซื่อ วัดได้ 110.5 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ระบบระบายน้ำท่วมของ กทม. สามารถรองรับได้เพียง 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง เท่านั้น ช่วงที่ฝนตกหนัก สถานีสูบน้ำสามเสนเกิดปัญหาไฟฟ้าดับนาน 1-2 ชั่วโมง ส่งผลให้ไม่สามารถระบายน้ำฝนได้ จึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังถึงขั้นวิกฤตในพื้นที่ชั้นใน ได้แก่ จตุจักร พญาไท บางซื่อ วังทองหลาง ตลิ่งชัน คลองสามวา และหนองจอก ถนนหลายสายมีน้ำท่วมสูง เช่น ถนนเทศบาลสงเคราะห์ ย่านวัดเสมียนนารี ถนนกำแพงเพชร ถนนลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ถนนพหลโยธิน แยกเกษตรฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนศรีนครินทร์ ถนนพัฒนาการ แยกเกียกกาย ส่วนคลองแสนแสบ หยุดให้บริการเดินเรือตั้งแต่วันที่ 27 กันยายนเป็นต้นไป เนื่องจากฝนที่ตกทำให้ระดับน้ำในคลองสูง 40 เซนติเมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) ส่งผลให้เรือไม่สามารถลอดใต้สะพานข้ามคลองบริเวณวัดพระยายัง และคลองตันได้ พื้นที่น่าห่วงมากที่สุด คือ บริเวณด้านตะวันออกติดกับสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเขตลาดกระบัง เพราะเป็นพื้นที่รับน้ำของ กทม.ที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ เมื่อมีน้ำหลากจะท่วมขังติดต่อกันหลายวัน ยิ่งช่วงนี้มีการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ กทม.เสียพื้นที่รับน้ำประมาณ 32 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ปิดล้อมจึงต้องป้องกันด้วยกระสอบทรายกั้นน้ำไหลเข้าหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังติดเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่กระจายตามชุมชน หมู่บ้านต่างๆ ด้วย ขณะเดียวกัน กรมชลประทานมีกำลังระบายน้ำออกอ่าวไทยประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ที่ จ.ตาก ชาวบ้าน ต.แม่สลิด อ.บ้านตาก ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม เนื่องจากแม่น้ำวังเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่บางจุดสูงถึง 2.15 เมตร เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ รวมทั้งตำรวจ สภ.ต.แม่สลิด ต้องนำเรือท้องแบน 3 ลำ เข้าไปให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน อำเภอที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ได้แก่ เมือง สามง่าม โพธิ์ประทับช้าง วชิรบารมี บางมูลนาก ตะพานหิน ทับคล้อ และวังทรายพูน โดย อ.โพทะเล ได้รับกระทบหนักที่สุด เพราะเป็นจุดสุด ท้ายที่น้ำมาไหลกองรวมกัน โดยชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 97 หมู่บ้าน ถนนเสียหาย 10 สาย ถนนลูกรัง 80 สาย วัด 10 แห่ง โรงเรียน 8 โรง สิ่งที่เป็นห่วงขณะนี้คือ ชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 9 ต.ท่าขมิ้น อ.โพทะเล มีสภาพเหมือนติดเกาะ

ที่ จ.สุโขทัย สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่ลดลง โดยถนนสายสุโขทัย-สวรรคโลก และสายสุโขทัย-ตาก น้ำท่วมสูง รถขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ขณะที่นายสุกิจ เจริญรัตนกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า น้ำจากเขื่อนแม่มอก อ.ทุ่งเสลี่ยม และน้ำจากแม่น้ำยม ที่ไหลมาจาก จ.แพร่ มารวมกันที่ อ.เมืองสุโขทัย ทำให้เกิดน้ำท่วม คาดว่าประมาณ 1 สัปดาห์ คงจะเข้าสู่ภาวะปกติ

ที่ จ.พิษณุโลก ชาวบ้าน อ.บางระกำ 10 ตำบล 85 หมู่บ้าน 24,427 คน ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม ถนนเสียหาย 225 สาย โรงเรียน 24 โรง วัด 33 แห่ง ถนนสายบางระกำ-ปลักแรด น้ำได้ท่วมผิวถนนสูง 40 เซนติเมตร ระยะทางยาวร่วม 2 กิโลเมตร

ที่ จ.สิงห์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา ยังคงเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่ 2 อำเภอ ได้รับผลกระทบคือ หมู่ 1 ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 40 หลัง, หมู่ 3 ต.พระงาม อ.พรหมบุรี ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 40 หลัง และหมู่ 4 ต.โรงช้าง อ.พรหมบุรี น้ำเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรแล้วกว่า 1,000 ไร่ ส่วนที่ จ.อ่างทอง คันดินพื้นที่หมู่ 1, 2 และ 3 ระหว่างวัดจำปาหล่อถึงวัดโพธิ์ทูล ต.จำปาหล่อ อ.เมืองทอง ได้ทรุดตัวลง ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 600 หลัง ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ชาวบ้าน อ.บางบาล ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมอย่างหนัก เนื่องจาก อ.บางบาล เป็นพื้นที่ลุ่มติดแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย รวมทั้งมีคลองบางบาลกับคลองบางหลวง เชื่อมระหว่างสองแม่น้ำ ทำให้บ้านเรือนที่อยู่ริมแม่น้ำถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร

อุตุชี้ไต้ฝุ่น"ช้างสาร"ถล่มไทย [ ข่าวสด : 29 ก.ย.49 ]

คืนวันที่ 27 ก.ย. มีปริมาณฝนตกมากที่สุดคือ 105 มิลลิเมตร/ช.ม. ที่เขตสวนหลวง ประเวศ สะพานสูง ทำให้น้ำท่วมขังในพื้นที่โดยเฉพาะถนนพัฒนาการที่เป็นที่ลุ่ม รวมทั้งปริมาณน้ำในคลองพระโขนงเอ่อล้นออกมาจึงไม่สามารถระบายออกได้ทัน ทำให้มีน้ำท่วมขังในถนนและซอยตั้งแต่ พัฒนาการ 40-54 ประมาณ 30-40 ซ.ม. ในส่วนของหมู่บ้านสวนสนและหมู่บ้านมัจฉา ข้างคลองหัวหมากน้อย ที่มีปริมาณน้ำสูง 50-70 ซ.ม. ซึ่งพบว่าสูงกว่าปีที่แล้วประมาณ 40 ซ.ม. เนื่องจากหมู่บ้านเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ รวมทั้งสภาพหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านเก่าท่อระบายน้ำค่อนข้างอุดตัน และการสูบน้ำลงคลองหัวหมากน้อยทำได้ลำบากมาก เนื่องจากปริมาณน้ำในคลองมีปริมาณมากจนเท่ากับระดับน้ำในพื้นที่หมู่บ้าน ในส่วนของแม่น้ำเจ้าพระยาระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดในตอนเช้าอยู่ที่ระดับสูงกว่าน้ำทะเลประมาณ 1.80 ม. ซึ่งระดับต่ำกว่าระดับแนวเขื่อนที่กทม.สร้างไว้ จึงไม่พบปัญหาน้ำเข้าท่วมบ้านเรือน นอกจากบ้านเรือนที่รุกล้ำแม่น้ำออกมาจึงจะประสบปัญหาน้ำเข้าท่วมบ้านเรือน

ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ต้นปีวัดได้ 1,128 มิลลิเมตร ถือว่ามากกว่าปีที่แล้ว และขณะนี้ได้มีร่องฝนพาดผ่านพื้นที่กรุงเทพฯ ประกอบกับจะมีพายุไต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้เคลื่อนเข้ามาอีกระลอก โดยจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ห่างจากกรุงเทพฯ 1,000 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลให้ในอีก 2-3 วัน จะมีฝนตกหนักในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้เกิน 90% หากในระยะนี้ภาคเหนือยังมีฝนตกหนักอีกจะทำให้ระดับน้ำล้นเขื่อน ทางกรมชลประทานจึงจำเป็นต้องเร่งระบายน้ำบางส่วนออกจากเขื่อนลงสู่ภาคกลาง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ได้ ทางกรมชลฯ ยืนยันว่าจะระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที เพื่อไม่ให้กระทบต่อกรุงเทพฯ มากนัก

ที่จ.อ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่เกษตร ในต.ชะไว หลักฟ้า ตรีณรงค์ ชัยภูมิ อ.ไชโย ต.จำปาหล่อ อ.เมืองอ่างทอง ต.โผงเผง บางเสด็จ บางปลากด อ.ป่าโมก และที่ว่าการอำเภอป่าโมก ต.ท่าช้าง ต.บางจัก อ.วิเศษชัยชาญ รวมทั้ง ต.บ้านพราน อ.แสวงหา นอกจากนี้หลายพื้นที่มีจุดเสี่ยงเนื่องจากแนวคันกั้นน้ำไม่แข็งแรง ดินถูกกัดเซาะเกิดการสไลด์ตัว ที่สำคัญคือบางพื้นที่ไม่มีคันกั้นน้ำ ส่วนที่จ.นนทบุรี ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ได้สูงขึ้นกว่า 1.92 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด สูงประมาณ 50 เซนติเมตรทั้งเกาะ ส่งผลให้ประชาชนบนเกาะเกร็ดได้รับความเดือดร้อนในการเดินทาง

ฝนกระหน่ำกรุงเทพฯ น้ำท่วมรถติดหนัก “เพชรบุรี-สุขุมวิท” [ ผู้จัดการ : 10 ต.ค. 49 ]
วันที่ 10 ต.ค. เวลาประมาณ 16.00 น. หลังจากที่มีฝนตกหนักในช่วงเย็นที่ผ่านมา เป็นผลให้การจราจบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เกิดติดขัดเป็นอย่างมาก โดยบริเวณถนนถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้ผู้คนที่เดินทางไปบริเวณนั้นเป็นไปอย่างทุลักทุเล ขณะที่บริเวณถนนสุขุมวิท ก็มีน้ำท่วมอย่างหนักเช่นกัน โดยเฉพาะที่สุขุมวิท ซอย 1 ที่มีปริมาณน้ำท่วมสูงเกือบถึงหัวเข่า ทำให้รถยนต์ที่สัญจรในบริเวณนั้นเสียเป็นจำนวนมาก ด้านฝ่ายประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร แจ้งว่า ในวันที่ 11ต.ค. น้ำทะเลจะหนุนสูงสุดในเวลา 10.12 น. สภาพการจราจรที่ติดขัดหยุดนิ่งบนถนนสายสำคัญ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เกิดจากปัญหาภาวะน้ำท่วมขังผิวจราจร หลังเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะย่านธุรกิจ ถนนสี่พระยา สุรวงศ์ สีลม สาทร สุรศักดิ์ พระราม 4 มีน้ำท่วมขังผิวจราจร ระดับน้ำสูงกว่า 30 ซม. ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเกษมราษฎร์ ขณะที่บริเวณ ห้าแยก ณ ระนอง ถนนพระราม 3 พบว่า มีน้ำท่วมขังระดับน้ำสูง 70-80 ซม. อีกทั้งสัญญาณไฟจราจร ขัดข้องพร้อมกันถึง 3 ทางแยก ประกอบด้วย แยกหัวลำโพง แยกวิทยุ และแยกคลองเตย ส่งผลให้ ประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ต้องประสบกับปัญหาจราจรติดขัดเข้าขั้นวิกฤต

นอกจากนี้ยังมี ถนนสุขุมวิท ภายในซอยสุขุมวิท 11, 13, 15, 21 หรือซอยอโศก และซอยสุขุมวิท 22 หรือสายน้ำผึ้ง ซึ่งมีระดับน้ำท่วมสูง 30 ซม. ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ตั้งแต่สะพานลอยข้ามแยกประตูน้ำ ถึง แยกชิดลม-เพชร ระดับน้ำสูง 50-60 ซม. บริเวณปากซอยแป๊ปซี่ แยกพร้อมพงษ์ ศูนย์วิจัย เอกมัย-เพชร คลองตัน ถนนวิทยุ หลังสวน สารสิน มีระดับน้ำเสมอทางเท้า ถนนพระราม 1 ตั้งแต่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึงหน้าสยามพารากอนด์ ระดับน้ำเสมอทางเท้า ถนนพญาไท บริเวณแยกราชเทวี และแยกพญาไท ถนนศรีอยุธยา พระราม 6 ตั้งแต่แยกอุรุพงษ์ ถึงแยกตึกชัย ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 30 ซม.

ถนนรัชดาภิเษก บริเวณแยกเทียมร่วมมิตร แยกรัชดา-ลาดพร้าว หน้าศาลอาญารัชดา รอบแยกรัชโยธิน ถนนประชาชื่น แยกประชานิเวศ ถนนเทศบาลสงเคราะห์ หน้าตลาดประชานิเวศน์ ถนนลาดพร้าว ทั้งเข้า และออก จุดวิกฤตบนถนนลาดพร้าว พบว่ามีน้ำท่วมขัง 3 ช่องทาง รถเล็กสัญจรผ่านลำบาก อยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 71-75 และ 87-93/1 ส่วนลาดพร้าว ขาเข้าเมือง มีน้ำท่วมขังตั้งแต่ ปากซอยลาดพร้าว 112-100 และ 90-82 แต่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 86 มีลักษณะเป็นแอ่งกะทะ น้ำท่วมทุกช่องทาง รถไม่กล้าสัญจรผ่าน ถนนรามคำแหง ภายในซอยรามคำแหง 39 (วัดเทพลีลา) ซอยรามคำแหง 65 (มหาดไท) และบริเวณปากซอยวัดศรีบุญเรือง มีน้ำท่วมขัง ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ประชาชนไม่กล้าขับรถผ่านซอยดังกล่าวเช่นกัน ถนนสามเสน บริเวณแยกบางลำภู ถึง เทเวศน์ มีน้ำท่วมขังผิวจราจร 1 ช่องทางซ้ายตลอดแนว ส่วนบนถนนพหลโยธิน ตั้งแต่แยกเสนา ถึงแยกเกษตร ถนนงามวงศ์วาน บริเวณแยกเกษตร ซึ่งเป็นแนวก่อสร้าง โครงการอุโมงค์ลอดแยกเกษตร แนวถนนงามวงศ์วาน – เกษตรนวมินทร์ มีน้ำท่วมขัง ระดับน้ำสูง 45-50 ซม. บริเวณใต้ทางด่วน งามวงศ์วาน ปากซอยวัดบัวขวัญ โดยรอบวงเวียนบางเขน และบริเวณแยกธูปะเตมีย์ อนุสรณ์สถาน หน้าเซียร์-รังสิต พบว่ามีระดับน้ำท่วมขังผิวจราจร ขณะเดียวกัน ทางด่วนดินแดง ขาเข้าเมือง ปัญหารถลงพระราม 4 น้ำท่วมขัง ส่งผลให้รถยนต์บนทางด่วนขั้นที่ 2 ต่อเนื่องไปต่างระดับพญาไท และพันเข้าไปในเส้นทาง ทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่-พญาไท เช่นกัน

น้ำไหลผ่าน จ.นครสวรรค์มีปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ [ ไทยรัฐ : 13 ต.ค. 49 ]

หลายจังหวัดยังเผชิญกับอุทกภัย โดยเฉพาะ กทม.น่าเป็นห่วงหลังน้ำในแม่น้ำสายหลักยังเอ่อล้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด น้ำที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ มีปริมาณถึง 5,145 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มากสุดเป็นประวัติศาสตร์ และสูงกว่าเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2538 ขณะที่หลายฝ่ายต่างระดมแก้ปัญหาอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะลักท่วมพื้นที่ชั้นในของ กทม. จ.นครสวรรค์ มีน้ำท่วมขังแล้ว 12 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ รวม 108 ตำบล ส่วนปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม เพิ่มขึ้น 3 ซม. แม่น้ำปิง ลดระดับลง 14 ซม. ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานเลี่ยงเมือง อ.เมืองนครสวรรค์ น้ำเพิ่มขึ้น 3 ซม. โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่าน 5,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนสภาพน้ำทั่วไปใน อ.เมืองนครสวรรค์ ปรากฏว่ายังมีน้ำท่วมสูงหลายพื้นที่

สถานการณ์น้ำในเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยาได้รับน้ำจาก จ.นครสวรรค์เพิ่มขึ้นถึง 5,355 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สูงกว่าวันที่ 11 ต.ค. ทำให้เขื่อนต้องระบายน้ำออก 3,276 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้พื้นที่ด้านล่างลงไปถึง กทม. เกิดน้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีก

ที่ จ.สิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยาได้เพิ่มสูงขึ้นจนทะลักไหลลงสู่คลองแม่ลาเอ่อล้นท่วมวัดบุดดา ต.ต้นโพธิ์ อ.เมืองสิงห์บุรี นอกจากนี้คลองแม่ลายังไหลท่วม ต.จักรสีห์ อ.เมืองสิงห์บุรี และ ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง ตลาดสดอินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี

ที่ จ.อ่างทอง พื้นที่ตลาดย่านเศรษฐกิจฝั่งตะวันตกที่ถูกน้ำท่วมมาหลายวันปรากฏว่าระดับน้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่ อ.ไชโย เมื่อคืนที่ผ่านมาคันดินที่กั้นแนวแม่น้ำเจ้าพระยาใน ต.ราชสถิตย์ ได้พังทลาย ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน รวมทั้งนาข้าวเสียหาย

ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณหน้าวัดพนัญเชิง จุดที่แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกัน ปรากฏว่าน้ำได้เพิ่มสูงขึ้น มีระดับสูงกว่าพื้นถนนในวัดถึง 2 เมตร ส่วนที่วัดไชยวัฒนารามโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่ง ระดับน้ำเกือบปริ่มแนวบังเกอร์ เจ้าหน้าที่ศิลปากรได้ประสานทางกรมเจ้าท่า เพื่อขอความร่วมมือเรือบรรทุกสินค้าลดความเร็ว เพื่อป้องกันคลื่นกระทบบังเกอร์ล้นเข้าวัด

การระบายนํ้าจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าทุ่งมะขามหย่องและทุ่งภูเขาทอง ทำให้น้ำใน อ.มหาราช บางปะหัน ท่าเรือ บ้านแพรก และบางบาลบางส่วนลดลง แต่จะผันน้ำได้เฉพาะทุ่งภูเขาทองกับทุ่งมะขามหย่องเท่านั้น ส่วนจุดอื่นชาวอยุธยาคงไม่ยินยอม เพราะขณะนี้นาข้าวอยู่ระหว่างตั้งท้อง หากปล่อยน้ำเข้าจะทำให้ข้าวล่มตายหมด

ที่ จ.สุพรรณบุรี แม่น้ำท่าจีนเอ่อล้นท่วมชุมชนหลายแห่งใน อ.เมืองสุพรรณบุรี โดยเฉพาะถนนสายสุพรรณบุรี-บางปลาม้า ต.ท่าระหัด ขาดเป็นช่วงๆ บ้านเรือนจมน้ำกว่า 600 หลัง ส่วนที่ อ.บางปลาม้า กระแสน้ำได้เซาะพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำท่าจีนจนพังทลาย ทำให้น้ำไหลเข้าตลาดเก้าห้อง ต.บางปลาม้า ซึ่งเป็นตลาดอนุรักษ์อายุกว่า 100 ปี รวมทั้งยังไหลเข้าศาลเจ้าและหอดูโจรในอดีต โดยระดับน้ำมีปริมาณสูงประมาณ 1.50 เมตร

ที่ จ.ปทุมธานี น้ำที่ท่วมขังอยู่ระดับทรงตัวตลอด ยังไม่ลดลง ส่วนพื้นที่อื่น ๆี ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหมดทั้ง 7 อำเภอที่หนักสุดคือ อ.สามโคก และ อ.เมืองปทุมธานี ด้านกรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 10.40 น. เขตบึงกุ่ม ระดับน้ำในบึงเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์และยังเหลือพื้นที่รับน้ำได้อีก 180,000 ลูกบาศก์เมตร ที่สถานีสูบน้ำคลองลำพังพวย เขตบางกะปิ เจ้าหน้าที่เร่งระบายน้ำลงสู่คลองแสนแสบเพื่อลดระดับน้ำในคูคลองย่านบึงกุ่ม นวมินทร์ เสรีไทยและลาดพร้าวบางส่วนให้มีระดับต่ำที่สุด ใน กทม.มีแก้มลิง 20 แห่ง จุน้ำได้ 12.7 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้ได้เร่งระบายน้ำจากแก้มลิงต่างๆให้เหลือน้อยที่สุด จะได้เหลือพื้นที่รับน้ำฝนหรือกักเก็บน้ำฝนหรือน้ำที่ผันจากที่อื่นเข้ามาเก็บไว้ชั่วคราว ที่ จ.แพร่ ได้เกิดน้ำป่าลำห้วยอ่างแม่มาน ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม จ.พิจิตร ยังไม่คลี่คลาย ระดับน้ำในแม่น้ำน่านสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเอ่อล้นตลิ่งทะลักเข้าท่วมถนนและบ้านเรือนชาวบ้านบริเวณชุมชนหลังสถานีรถไฟพิจิตร เขตเทศบาลเมืองพิจิตร นับร้อยหลัง ส่วนแม่น้ำยมที่ระดับน้ำยังสูงขึ้นอีก

ด้าน กรมชลประทาน แจ้งว่า สถานการณ์น้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนี้ (วันที่ 12 ต.ค.) มีน้ำไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 5,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากวันที่ 11 ต.ค. 155 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทางกรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำ ไปลงทุ่งทางฝั่งตะวันตก 619 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และทุ่งฝั่งตะวันออก 203 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 3,244 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ที่ 3,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าในวันที่ 13 ต.ค. จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 5,450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ที่ 3,950 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ชาวบ้านแค้นน้ำท่วม พังคันกั้น อยุธยาโกลาหล [ไทยรัฐ : 16 ต.ค. 49 ]
ที่ จ.อ่างทอง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ล่าสุดยังเพิ่มสูงขึ้นท่วมถนนสายต่างๆ ใน อ.เมืองอ่างทอง โดยทางหลวงสายโพธิ์พระยา-ท่าเรือ ทางหลวงสายอ่างทอง-อยุธยา ถนนสายอ่างทอง-สิงห์บุรี ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของจังหวัดถูกน้ำท่วมขาดเป็นช่วงๆ สัญจรไปมาไม่ได้ ประชาชนจำนวนมากถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ต้องใช้เรือเพียงอย่างเดียว

ที่ จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาพบว่าสูงกว่าตัวเมืองราว 1.50 เมตร และจะเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่แน่นอน ขึ้นๆลงๆ วัดได้ตั้งแต่ 5,740-5,795 ลบ.ม.ต่อวินาที เหลืออีก 3 ซม. ก็จะล้นสันคันปูน แต่ได้สั่งให้เสริมแนวหินคลุกให้สูงอีก 30 ซม. นอกจากนี้ ยังเสริมแนวถนนโกสีย์เหนือ เพื่อป้องกันแม่น้ำปิงที่ขณะนี้มีปริมาณสูงกว่าตัวเมืองเกือบ 1 เมตร

ที่ จ.อุทัยธานี น้ำในแม่น้ำสะแกกรัง ล่าสุดมีปริมาณสูงขึ้นเอ่อล้นขยายเป็นวงกว้างเข้าท่วมสถานที่ราชการใน จ.อุทัยธานี เช่น ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด สถานีตำรวจ และจวนผู้ว่าฯ ทางเทศบาลต้องใช้เครื่องสูบน้ำเร่งระบายออก



ที่ จ.ชัยนาท น้ำในแม่น้ำท่าจีนที่ไหลผ่าน อ.วัดสิงห์ ไหลท่วมตลาดวัดสิงห์สูงเกือบ 1 เมตร ส่วนถนนวงเวียนทางแยกตลาดวัดสิงห์ก็มีน้ำท่วมสูง ที่ เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา ระดับน้ำช่วงเวลา 13.00 น. วันที่ 15 ต.ค. มีน้ำไหลจาก จ.นครสวรรค์ ลงเขื่อนเจ้าพระยาจำนวน 5,740 ลบ.ม.ต่อวินาที และมีการระบายน้ำออกจากเขื่อน 4,000 ลบ.ม.ต่อวินาที

ส่วนที่ จ.สิงห์บุรี น้ำได้ท่วม ต.จักรสีห์ อ.เมืองสิงห์บุรี รวม 4 หมู่บ้าน หลังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงและยังท่วมถนนสายสิงห์บุรี-อ่างทอง เป็นระยะทาง 3 กม. ทะลักเข้าคลองชลประทานฝั่งตะวันตกไหลลงคลองแม่ลา ขณะที่บริเวณสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สิงห์บุรี และสหกรณ์การเกษตร อ.เมืองสิงห์บุรี ตั้งอยู่ ต.ต้นโพธิ์ อ.เมืองสิงห์บุรี น้ำได้ไหลท่วมฉางข้าว และบ้านพักเจ้าหน้าที่ ส่วนที่ อ.ท่าช้าง แม่น้ำน้อย เข้าท่วมบ้านเรือนหมู่ 3 ต.พิกุลทอง จำนวนกว่า 1,000 ครอบครัว และยังท่วมพื้นที่เกษตรเสียหายกว่า 5,000 ไร่ ขณะที่จ.สระบุรี น้ำท่วม ต.เริงราง ต.ม่องงาม อ.เสาไห้ และต.โคกสะอาด ต.หนองแซง ต.ไก่เส่า และ ต.หนองกบ อ.หนองแซง ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 500 หลังคาเรือน ส่วนระดับน้ำแม่น้ำท่าจีนใน จ.สุพรรณบุรี มีปริมาณสูงขึ้น ทำให้เขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นย่านธุรกิจมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย บางจุดสูงกว่า 1 เมตร สำหรับ จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะนี้มีน้ำท่วมแล้ว 14 อำเภอจากทั้งหมด 16 อำเภอ จำนวน 164 ตำบล เหลือเพียง อ.อุทัย กับ อ.วังน้อย ที่ไม่ท่วม

ขณะเดียวกัน ชาวบ้านจากเคหะชุมชนโครงการ 1 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา ที่มีผู้อาศัยอยู่ประมาณ 900 ครัวเรือน และถูกน้ำท่วมหนักพากันไปรื้อกระสอบทรายกั้นน้ำบริเวณประตูน้ำวัดกระสังข์ ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ที่อยู่ติดกัน เนื่องจากไม่พอใจพื้นที่ อ.พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งอำเภออื่นๆของจังหวัดถูกน้ำท่วมหมด ยกเว้น อ.อุทัย ที่น้ำไม่ท่วม ทำให้น้ำทะลักเข้าคลองข้าวเม่า หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้ไปซ่อมพนังกั้นน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ อ.อุทัย ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง กระทั่งเวลา 15.00 น. ชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้แอบลักลอบเปิดกระสอบทรายกั้นน้ำรวม 8 จุด บริเวณหน้าเคหะชุมชนโครงการ 1 หน้าวัดพระญาติการาม หน้าโรงแรมอู่ทอง หน้าวัดหันตรา หน้า อบต.หันตรา หน้าศูนย์วิจัยข้าวของกระทรวงเกษตรฯ หน้าเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน้าวัดกระสังข์ ทำให้น้ำทะลักท่วมเรือนจำ โรงงานผลิตชนวนระเบิด กองวัตถุระเบิด สรรพาวุธ กองทัพบก และศูนย์วิจัยข้าว ซึ่งมีข้าวที่กำลังตั้งท้องเนื้อที่กว่า 100 ไร่ แต่น้ำไม่ไหลเข้าพื้นที่ อ.อุทัย เนื่องจากมีการทำแนวป้องกันหลายชั้น

ต่อมาเวลา 20.00 น. วันที่ 15 ต.ค. มีคำสั่งห้ามนักท่องเที่ยวเข้าชมบริเวณวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยให้เจ้าหน้าที่นำไปติดไว้ บริเวณประตูวัด หลังจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 2.50 เมตร สูงเท่ากับระดับบังเกอร์ที่เจ้าหน้าที่ได้ทำพนังกั้นน้ำไว้ เกรงว่าน้ำซัดพังทลายทะลักเข้าวัด จนอาจเป็นอันตรายกับนักท่องเที่ยว โดยจะงดให้บริการตั้งแต่คืนวันที่ 15 ต.ค. เป็นต้นไป พร้อมสั่งให้เจ้าหน้าที่นำกระสอบทรายไปเสริมเพิ่มอีกและจัดเวรยามเฝ้าถึง 40 คน

ที่ จ.พิจิตร ล่าสุดสถานการณ์ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง แม่น้ำน่านและแม่น้ำยมยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีน้ำจากจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนหนุนมาอีก โดยแม่น้ำน่านได้ไหลล้นตลิ่งทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ 5 ตำบลของ อ.เมืองพิจิตร และบริเวณชุมชนหลังสถานีรถไฟพิจิตรเพิ่มขึ้นอีก ทางเทศบาลเมืองพิจิตรได้วางกระสอบทรายนับหมื่นลูกป้องกันไม่ให้ ไหลเข้าท่วมตัวเมืองพิจิตร ส่วนแม่น้ำยมที่ไหลท่วมขังในพื้นที่ อ.สามง่าม อ.โพธิ์ประทับช้าง กิ่ง อ.บึงนาราง และ อ.โพทะเล ยังคงท่วมขังอย่างหนักเช่นกัน โดยเฉพาะ 10 ตำบล ของ อ.โพทะเล ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและอยู่ติดกับ จ.นครสวรรค์ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ ระดับน้ำสูงเฉลี่ย

ด้าน อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก น้ำจากแม่น้ำแควน้อยที่มีปริมาณสูงขึ้น เนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ แม่น้ำน่านได้เพราะมีการปิดประตูระบายน้ำฝายมะขามสูง ต.มะขามสูง อ.เมืองพิษณุโลก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในเขตเศรษฐกิจใน อ.เมืองพิษณุโลก ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำน่านลดลง แต่แม่น้ำแควน้อยกลับหนุนสูงท่วมพื้นที่บ้านเรือนประชาชนและร้านค้าต่างๆ ในเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์ สูงกว่า 30 ซม. และขยายวงกว้างเข้าพื้นที่ ต.ท้อแท้ และ ต.หินลาด ราษฎรได้รับความเดือดร้อนไม่ต่ำกว่า 500 ครัวเรือน นอกจากนี้น้ำยังเข้าท่วมบริเวณพื้นที่ สภ.อ.วัดโบสถ์ ระดับน้ำประมาณ 50 ซม. ทำเอาครอบครัวข้าราชการตำรวจต้องเร่งอพยพสิ่งของต่างๆ ไปอยู่ยังที่สูง ส่วน อ.พรหมพิราม ก็ได้รับผลกระทบถูกแม่น้ำยมที่ไหลมาจาก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ไหลท่วมเป็นรอบที่ 4

ปริมาณน้ำไหลผ่าน แม่น้ำเจ้าพระยาที่ จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. สูงขึ้นเป็น 5,740 ลบ.ม.ต่อวินาที และจะไหลเข้าสู่ กทม.อีก 2-3 วัน ซึ่งจะตรงกับช่วงน้ำทะเลหนุนสูงสุดในวันที่ 23 ต.ค.ด้วย กรมชลประทานจำเป็นต้องเร่งผันน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาเข้าพื้นที่นาของเกษตรกร 18 แห่ง รวม 6 จังหวัด ตั้งแต่ จ.ชัยนาทถึงปทุมธานี รวมทั้งหมด 1,300,000 ไร่ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. และจะให้ส่งผลกระทบต่อพืชผลของเกษตรกรน้อยที่สุด การผันน้ำดังกล่าวจะช่วยลดระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงได้ประมาณ 518 ล้าน ลบ.ม. จะบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ในระดับหนึ่ง

36โบราณสถานท่วมหนักวิกฤต [ ข่าวสด : 20 ต.ค. 49 ]
ที่พระราชวังหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ล่าสุดโบราณสถานใน จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สิงห์บุรี และ จ.อ่างทอง มีความเสียหาย 36 แห่ง ต้องใช้งบประมาณ 181 ล้านบาท ในการบูรณะซ่อมแซม โดยเฉพาะที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีโบราณสถานอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วง 22 แห่ง จากการสำรวจความเสียหายของศาสนสถานใน 12 จังหวัดภาคกลาง ที่ไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ พบว่ามีวัดเสียหาย 900 แห่ง มัสยิด 51 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 9 แห่ง ส่วนจ.อ่างทอง หลังจากสำนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง เปิดประตูระบายน้ำ เนื่องจากมีปริมาณน้ำเกินกว่าจะกั้นเอาไว้ได้ ส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน 11 ตำบล รวมทั้งโบราณสถานสำคัญ เช่น วัดขุนอินทประมูล สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ยาวที่สุดในประเทศ ตึกคำหยาด วัดจุฬามณี วัดยางมณี และหมู่บ้านบางเจ้าฉ่า



ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • มติชน : http://www.matichon.co.th/matichon/
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th