บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานี (กันยายน 2552)
ภาพดาวเทียม GOES-9 | |||||||||
|
2/9/2009 20GMT |
3/9/2009 11GMT |
4/9/2009 10GMT |
5/9/2009 17GMT |
6/9/2009 16GMT |
7/9/2009 11GMT |
8/9/2009 07GMT |
||
9/9/2009 17GMT |
13/9/2009 113GMT |
14/9/2009 11GMT |
15/9/2009 12GMT |
16/9/2009 12GMT |
17/9/2009 10GMT |
21/9/2009 20GMT |
22/9/2009 13GMT |
||
23/9/2009 12GMT |
24/9/2009 09GMT |
25/9/2009 10GMT |
26/9/2009 13GMT |
27/9/2009 18GMT |
28/9/2009 19GMT |
29/9/2009 17GMT |
30/9/2009 07GMT |
||
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าในเดือนกันยายนมีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยคอนข้างต่อเนื่องโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษเป็นพื้นที่หนึ่งที่ีมีกลุ่มเมฆปกคลุมค่อนข้างหนาและค่อนข้างต่อเนื่อง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างมาก และส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ประกอบกับในช่วงปลายเดือน พายุ "กีสน่า" ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทย ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวที่มีน้ำท่วมอยู่แล้วเกิดน้ำท่วมเพิ่มเป็นบริเวณกว้างมากยิ่งขึ้น โดยทางจังวัดอุบลราชธานีได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยบฉุกเฉินทั้งหมด 23 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.วารินชำราบ อ.ตระการพืชผล อ.โพธิ์ไทร อ.ตาลสุม อ.เดชอุดม อ.กุดข้าวปุ้น อ.โขงเจียม อ.ม่วงสามสิบ อ.น้ำขุ่น อ.เขมราฐ อ.พิบูลมังสาหาร อ.ดอนมดแดง อ.นาเยีย อ.เหล่าเสือโก้ก อ.น้ำยืน อ.ทุ่งศรีอุดม อ.สำโรง อ.นาจะหลวย อ.นาตาล อ.ศรีเมืองใหม่ อ.สิรินธร และ อ.สว่างวีระวงษ์ ส่วนจังหวัดศรีสะเกษเกิดพื้นที่น้ำท่วมในอำเภออุทุมพรพิสัย ภูสิงห์ ไพรบึง ขุขันธ์ ปรางค์กู่ ห้วยทับทัน ราศีไศล ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ | |||||||||
1/9/2009 |
2/9/2009 |
3/9/2009 |
4/9/2009 |
5/9/2009 |
7/9/2009 |
8/9/2009 |
|||
9/9/2009 |
14/9/2009 |
15/9/2009 |
16/9/2009 |
21/9/2009 |
22/9/2009 |
23/9/2009 |
|||
24/9/2009 |
25/9/2009 |
26/9/2009 |
27/9/2009 |
28/9/2009 |
29/9/2009 |
30/9/2009 |
|||
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีร่องความกดอากาศพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงปลายเดือน โดยช่วงปลายเดือนพายุกีสน่าได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | |||||||||
เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 120 กิโลเมตร | |||||||||
อุบลราชธานี 1/9/2009 22:33GMT |
อุบลราชธานี 2/9/2009 15:33GMT |
อุบลราชธานี 3/9/2009 22:33GMT |
อุบลราชธานี 4/9/2009 08:33GMT |
อุบลราชธานี 5/9/2009 14:33GMT |
อุบลราชธานี 6/9/2009 20:33GMT |
อุบลราชธานี 7/9/2009 18:33GMT |
|||
อุบลราชธานี 8/9/2009 21:33GMT |
อุบลราชธานี 9/9/2009 17:33GMT |
อุบลราชธานี 14/9/2009 15:33GMT |
อุบลราชธานี 15/9/2009 10:33GMT |
อุบลราชธานี 16/9/2009 13:33GMT |
อุบลราชธานี 21/9/2009 20:33GMT |
อุบลราชธานี 22/9/2009 17:33GMT |
|||
อุบลราชธานี 24/9/2009 07:33GMT |
อุบลราชธานี 25/9/2009 15:33GMT |
อุบลราชธานี 26/9/2009 14:33GMT |
อุบลราชธานี 27/9/2009 16:33GMT |
อุบลราชธานี 28/9/2009 23:33GMT |
อุบลราชธานี 29/9/2009 17:33GMT |
อุบลราชธานี 30/9/2009 01:33GMT |
|||
ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยาเรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 120 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบว่าในเดือนกันยายนมีฝนตกในพื้นที่ดังกล่าวค่อนข้างมากและค่อนข้างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษที่เกิดน้ำท่วมหนัก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ปริมาณฝนสะสม | ||||||
1/9/2009 00am |
2/9/2009 12am |
3/9/2009 00am |
4/9/2009 12am |
6/9/2009 12am |
7/9/2009 12am |
8/9/2009 00am |
9/9/2009 00am |
15/9/2009 12am |
16/9/2009 00am |
17/9/2009 00am |
22/9/2009 00am |
29/9/2009 12am |
30/9/2009 12am |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในเดือนกันยายนมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างต่อเนื่องในบริเวณจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานี ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ประกอบกับในช่วงปลายเดือน พายุ "กีสนา" ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทยทางฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบให้มีฝนเพิ่มมากขึ้นอีก และทำให้ระดับน้ำท่วมเพิ่มมากยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม |
แผนภาพปริมาณฝนสะสมจาก NASA | ||
ประมาิณฝนสะสมช่วงวันที่ 1-7 กันยายน 2552 |
ประมาิณฝนสะสมช่วงวันที่ 8-14 กันยายน 2552 |
|
ประมาิณฝนสะสมช่วงวันที่ 15-21 กันยายน 2552 |
||
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมราย 7 วัน จาก NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษตลอดทั้ง 4 สัปดาห์ของเดือนกันยายน โดยเฉพาะช่วงสัปดาห์แรกที่มีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากกว่าสัปดาห์อื่น |
ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา | ||
2/9/2552 |
6/9/2552 |
7/9/2552 |
8/9/2552 |
29/9/2552 |
30/9/2552 |
ภาพแสดงข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าที่สถานีอุบลราชธานี สกษ.อุบลราชธานี และ สกษ.ศรีสะเกษ ตรวจพบปริมาณฝนค่อนข้างมากในวันที่ 2, 6, 7, 8, 29, 30 กันยายน โดยเฉพาะวันที่ 28 กันยายน ซึ่งเป็นวันที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ปริมาณฝนสะสมรายวันของทั้งสามสถานีอยู่ที่ 92.8, 77.7 และ 43.6 มิลลิเมตรตามลำดับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ข้อมูลน้ำล้นตลิ่งจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน | ||
บ้านเมืองคง จ.ศรีสะเกษ (ระดับตลิ่ง 8.1 ม.) |
บ้านหนองหญ้าปล้อง จ.ศรีสะเกษ (ระดับตลิ่ง 7.78 ม.) |
บ้านโนนศรีไศล จ.ศรีสะเกษ (ระดับตลิ่ง 9.49 ม.) |
ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ (ระดับตลิ่ง 6.0 ม.) |
|
|
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งอยู่หลายจุด้วยกัน โดยเฉพาะที่สถานีห้วยทับทัน และสถานีบ้านหนองหญ้าปล้อง จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีระดับน้ำล้นตลิ่งค่อนข้างสูง โดยที่สถานีห้วยทับทันระดับน้ำน้ำสูงสุดอยู่ที่ 9.42 เมตร ในวันที่ 13 ก.ย. ในขณะที่ระดับตลิ่งสูงเพียงแค่ 6.0 เมตร ส่วนสถานีหนองหญ้าปล้องระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 11.67 เมตร ในวันที่ 18 ก.ย. ในขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 7.78 เมตร |
ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ |
ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิรินธร |
จากกราฟแสดงปริมาณไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร พบว่าช่วงต้นเดือนปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรค่อนข้างมาก และได้ลดลงตามลำดับ และในช่วงสิ้นเดือนปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มสูงขึ้นถึง 114.63 ล้าน ลบ.ม. อันเป็นผลมาจากพายุดีเปรสชั่น "กีสน่า" |
ข้อมูลด้านความเสียหาย |
สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 8-14 กันยายน 2552) |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- ศรีสะเกษน้ำทะลักกว่า2พันครอบครัว [ ไทยรัฐ : 12 ก.ย. 52 ] รองผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ ลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วม อ.อุทุมพรพิสัย พบน้ำท่วมแล้ว 4 ตำบล ราษฎรได้รับผลกระทบ 2,345 ครอบครัว ... เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (12 ก.ย.) นายวิศว ศะศิสมิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับนายสุขสันต์ บุญโทแสง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดศรีสะเกษ และ นายวิจักขณ์ ชินโคตรพงศ์ นายอำเภออุทุมพรพิสัย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางเข้าพื้นที่ อ.อุทุมพรพิสัย ซึ่งต้องนั่งรถอีแต๋น เข้าไป เนื่องจากน้ำท่วมสูง เพื่อสำรวจดูความเสียหายจากการถูกน้ำท่วม ปรากฏว่า น้ำได้เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ 4 ตำบล รวม 2,345 หมู่บ้าน ไร่นา และ พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมไปแล้ว 7,000 ไร่ -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำท่วม“อุทุมพรพิศัย”ศรีสะเกษจม 500 หลัง – ร.ร.หลายแห่งสั่งปิดไร้กำหนด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 14 ก.ย. 52 ]
ศรีสะเกษ - น้ำท่วม 5 หมู่บ้านในเขต อ.อุทุมพรพิสัย บ้านเรือนจมบาดาลกว่า 500 หลัง ไร่นาจมใต้น้ำนับหมื่นไร่ โรงเรียนหลายแห่งต้องปิดไม่มีกำหนด ชาวบ้านต้องหันมาใช้เรือแทนรถ บางหมู่บ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอก -------------------------------------------------------------------------------------- อุบลฯ-น้ำท่วมพื้นที่ 3 ชุมชนเมืองขยายวงกว้างมากขึ้น
[ ครอบครัวข่าว : 14 ก.ย. 52 ] -------------------------------------------------------------------------------------- อุบลฯประกาศให้พื้นที่ 23 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินหลังน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ขณะที่ ผวจ.สั่งทุกอำเภอเตรียมพร้อมช่วยชาวบ้านทันที... -------------------------------------------------------------------------------------- -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำท่วมศรีสะเกษ ขยายวงกว้าง 19 อำเภอ [ ไทยรัฐ : 22 ก.ย. 52 ] ปริมาณน้ำในลำห้วยสำคัญ 3 แห่ง มีปริมาณน้ำล้นจากอ่างเก็บน้ำ อาจมีน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ในอีก 1 – 2 วันนี้ จังหวัดศรีสะเกษ เร่งช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ว นายสุขสันต์ บุญโทแสง หน.สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ศรีสะเกษ มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 19 อำเภอ 137 ตำบล 1,228 หมู่บ้าน มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน กว่า 67,000 ครัวเรือน ส่วนพื้นที่การเกษตร มีที่นาถูกน้ำท่วมแล้วกว่า 153,000 ไร่ สำหรับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งองค์กร มูลนิธิต่างๆ ได้นำเครื่องอุปโภคบริโภค ช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย แล้วจำนวน 11,450 ชุด
-------------------------------------------------------------------------------------- |
ข้อมูลอ้างอิง |