บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ (21-27 ต.ค. 48)
ภาพดาวเทียม GOES-9 | ||
ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม จนถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2548 มีกลุ่มเมฆปกคลุมภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกหนัก บริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัด ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
||
แผนที่อากาศ | ||
รายงานจากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 21-27 ตุลาคม 2548 ร่องความกดอากาศต่ำในทะเลอันดามันผ่านภาคใต้ตอนกลาง และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เช่น จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ในวันที่ 26 ต.ค. กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ยังมีร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านอยู่ในภาคใต้ และจะกลับมีกำลังแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 28-30 ต.ค. คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวจากมหาสมุทรแปซิฟิกผ่านประเทศฟิลิปปินส์ สู่ทะเลจีนใต้ วันที่ 29 ต.ค. และพายุลูกนี้อาจจะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยได้ |
||
|
ปริมาณฝนสะสม | ||
ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าและสีเขียวแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน พบว่าในวันที่ 21-27 ตุลาคม 2548 มีปริมาณฝนสะสมหนาแน่นในบริเวณอ่าวไทย และ ตอนใต้ของประเทศไทย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
||
|
ปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา | ||
การติดตามปริมาณฝน ณ เวลา 7.00 น. โดยใช้สถิติของการกระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาร์ และ ค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก พบว่า ช่วงวันที่ 21-27 ตุลาคม 2548 รายงาน ณ เวลา 7.00 น. มีฝนตกหนักบริเวณตอนใต้ของประเทศไทย โดยวัดปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุดที่จ. นครศรีธรรมราช มีปริมาณฝนสะสม 91.8 มิลลิเมตร ในวันที่ 22 ต.ค. รองลงมา คือ จ.สงขลา ในวันที่ 21 ต.ค. ปริมาณฝนสะสม 74.7 มิลลิเมตร และ ที่ตะกั่วป่า ในวันที่ 25 ต.ค. ปริมาณฝนสะสม 74.5 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนที่เพชรบุรี สูงสุดในวันที่ 26 ต.ค. โดยมีปริมาณฝนสะสม 70.2 มิลลิเมตร ที่หัวหิน ปริมาณสูงสุดในวันที่ 25 ต.ค. โดยมีปริมาณฝนสะสม 66.9 มิลลิเมตร |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | ||||||||
เรดาร์หัวหิน |
||||||||
21/10/2005 23:29 (เรดาร์หัวหิน) |
22/10/2005 04:29 (เรดาร์หัวหิน) |
23/10/2005 16:29 (เรดาร์หัวหิน) |
||||||
24/10/2005 22:29 (เรดาร์หัวหิน) |
25/10/2005 00:29 (เรดาร์หัวหิน) |
26/10/2005 14:28 (เรดาร์หัวหิน) |
||||||
27/10/2005 01:29 (เรดาร์หัวหิน) |
||||||||
เรดาร์ชุมพร |
||||||||
21/10/2005 23:30 (เรดาร์ชุมพร) |
22/10/2005 03:30 (เรดาร์ชุมพร) |
23/10/2005 09:30 (เรดาร์ชุมพร) |
||||||
27/10/2005 00:30 (เรดาร์ชุมพร) |
||||||||
ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์หัวหินและเรดาร์ชุมพร จะพบว่า ตั้งแต่วันที่ 21-27 ตุลาคม 2548 บริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบนมีฝนตกหนัก โดยเฉพาะจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชุมพร ดูรายละเอียดเพิ่มเติม เรดาร์หัวหิน เรดาร์ชุมพร |
ภาพเรดาร์ฝนหลวง | ||
ภาพเรดาร์จากระบบเครือข่ายของศูนย์ฝนหลวง พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก
จากภาพเรดาร์ชะอำจะพบว่าในวันที่ 23-26 ตุลาคม มีกลุ่มฝนบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ข้อมูลน้ำในเขื่อน | |
รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนของกรมชลประทาน จะพบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนปราณบุรี และ เขื่อนแก่งกระจานได้เพิ่มสูงขึ้น ในวันที่ 24 ตุลาคม เขื่อนปราณบุรี มีปริมาณน้ำ 282 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถรับน้ำได้อีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เขื่อนยางชุม ความจุ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำ 39.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 96.28 เปอร์เซ็นต์ อ่างเก็บน้ำคลองบึง 22.2 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำอยู่ 16.6 ล้านลูกบาศก์เมตร คลองช่องลมจุน้ำได้ 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำ 5.05 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำคลองจะกระรับน้ำได้ 10.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำ 9.37 ล้านลูกบาศก์เมตร |
ข้อมูลปริืมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ | |
รายงานจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ แสดงข้อมูลปริมาณฝนทุก 1 ชั่วโมง ณ สถานีวังไกลกังวล สถานีหน้าเขื่อนแก่งกระจาน และ สถานีเขื่อนเพชรบุรี พบว่ามีฝนตกในปริมาณมากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นผลให้เกิดน้ำท่วม |
|
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ ผู้ว่าฯชุมพรประกาศ8พื้นที่ประสบอุทกภัย อุตุฯเตือนอีก5จว.ใต้อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน [ มติชน : 23 ต.ค. 48 ] สภาพน้ำท่วมถนนสายชุมพร-ระนอง ช่วงจากตัวเมืองชุมพรถึงสี่แยกปฐมพร เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม หลังเกิดพายุฝนถล่มอย่างหนักตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 21 ตุลาคม ......................................................................................................... 4 อภ.ชุมพร วิกฤติ – 5 ตำบล บางสะพาน เขตพิบัติ [ ไทยรัฐ : 24 ต.ค. 48 ] สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ชุมพร หลังพายุฝนพัดกระหน่ำติดต่อกัน ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหล่บ่าท่วมพื้นที่หลายอำเภอ - อ.ปะทิว ถูกน้ำท่วมแล้ว 7 ตำบล 20 หมู่บ้าน ถนนเสียหาย 180 สาย - อ.สวี จำนวน 5 ตำบล 11 หมู่บ้าน ชาวบ้านเดือดร้อน 1,408 ครัวเรือน จำนวน 5,086 คน ....................................................................................................... 'หัวหิน' อ่วมนํ้าท่วมฉับพลัน [ เดลินิวส์ : 25 ต.ค. 48 ] ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับภาวะอุทกภัย เมื่อวันที่ 24 ต.ค. มีรายงานว่า ได้เกิดฝนตกหนักที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่งผลให้ถนนหลายสาย เช่น ถนนเพชรเกษม ถนนเดชานุชิต และถนนพูลสุข ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน มีน้ำท่วมสูงถึง 40 ซม. ............................................................................................................... ฝนถล่มจมหัวหิน อพยพหนีอลหม่าน [ ข่าวสด : 25 ต.ค. 48 ] เมื่อวันที่ 24 ต.ค.กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฉบับที่ 20 (111/2548) เรื่อง หย่อมความกดอากาศต่ำ ระบุว่า ร่องความกดอากาศต่ำพาดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลอันดามัน เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนัก และน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ของจ.ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ - จ.ชุมพร มีพื้นที่ประสบภัย 5 อำเภอ ประกอบด้วยอ.เมืองชุมพร ยังคงมีน้ำท่วมขัง 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,297 ครัวเรือน อ.สวี มีพื้นที่ประสบภัย 7 ตำบล 26 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,184 ครัวเรือน 7,425 คน ถนนเสียหาย 24 สาย คอสะพาน 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 2 แห่ง ประเมินมูลค่าความเสียหายในเบื้องต้นได้ประมาณ 4,690,000 บาท อ.ท่าแซะ มีพื้นที่ประสบภัย 10 ตำบล 166 หมู่บ้าน มีน้ำท่วมขัง 4 ตำบล 27 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,458 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตรถูกน้ำท่วม 5,000 ไร่ บ่อปลา 12 บ่อ ถนนได้รับความเสียหาย 48 สาย สระน้ำ สปก. 23 แห่ง บ่อน้ำตื้น 42 บ่อ ฝายกั้นน้ำ 1 แห่ง ........................................................................................................... เพชรฯ-ประจวบฯ-ราชบุรียังอ่วม [ มติชน : 26 ต.ค. 48 ] - อ.แก่งกระจาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน อยู่ในระดับ 82% หรือ 584 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) จากความจุอ่าง 710 ล้าน ลบ.ม. และยังมีฝนเหนืออ่างอย่างหนัก - อ.ท่ายาง จ. เพชรบุรี เขื่อนเพชรฯ ต้องเร่งระบายน้ำออก 434 ลบ.ม.ต่อวินาที และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 450-470 ลบ.ม. ล่าสุดเริ่มมีน้ำท่วมขังที่ ต.ตำหรุ อ.บ้านลาด หากยังมีฝนตกต่อเนื่องจะเอ่อท่วมไปยังเขต อ.ท่ายาง อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม สำหรับความเสียหายขณะนี้ที่ อ.แก่งกระจาน มี 2 หมู่บ้าน 70 หลัง อ.เขาย้อย 3 หมู่บ้าน กาญจนบุรี-ราชบุรีท่วมหนัก [ ไทยรัฐ : 26 ต.ค. 48 ] -จ. ราชบุรี หลังฝนถล่มหนัก ในหลายพื้นที่ี ส่งผลให้พื้นที่ อ.เมือง อ.ปากท่อ อ.จอมบึง และ อ.สวนผึ้ง เกิดน้ำท่วมหลายหมู่บ้าน นอกจากนี้ น้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรี ที่ไหลลงสู่แม่น้ำภาชี ทำให้ระดับน้ำสูง ทะลักท่วมบ้านเรือน ประชาชนหมู่ที่ 2, 9 และ 10 ต.จอมบึง อ.จอมบึง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน พืชผักทางการเกษตรเสียหายยับเยิน -จ.ชุมพร ระดับน้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ใน อ.เมืองกับ อ.ท่าแซะ จากการตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้นมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท ................................................................................................... |
ข้อมูลอ้างอิง |