บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากและกาญจนบุรี ( 25-31 ก.ค. 56 )
ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ | ||||||
25/7/2556[18GMT] |
26/7/2556[16GMT] |
27/7/2556[17GMT] |
28/7/2556[18GMT] |
29/7/2556[17GMT] |
30/7/2556[18GMT] |
|
25/7/2556 |
26/7/2556 |
27/7/2556 |
28/7/2556 |
29/7/2556 |
30/7/2556 |
31/7/2556 |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php
วันที่ 27 กรกฏาคม 2556 มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนมาก
วันที่ 28 กรกฏาคม 2556 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในอ่าวตังเกี๋ยได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามและเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเข้าปกคลุมพื้นที่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ทำให้ตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย และบึงกาฬ ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคกลางและภาคตะวันออกมีกำลังแรงทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนมาก
วันที่ 29 กรกฏาคม 2556 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคกลางและภาคตะวันออกยังคงมีกำลังแรง ทำให้บริเวณดังกล่าวฝนตกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี จันทบุรี และตราด
วันที่ 30 กรกฏาคม 2556 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคกลางภาคตะวันออก และภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางด้านตะวันตก และภาคใต้ตอนบน
วันที่ 31 กรกฏาคม 2556 พายุดีเปรสชั่น “เชบี” (JEBI) ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน เคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยและขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 2 สิงหาคม 2556 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลง ก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบนและประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนัก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดตาก กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา
แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
25/7/2556 [7.00] |
25/7/2556 [19.00] |
26/7/2556 [7.00] |
26/7/2556 [19.00] |
27/7/2556 [7.00] |
27/7/2556 [19.00] |
28/7/2556 [7.00] |
28/7/2556 [19.00] |
29/7/2556 [7.00] |
29/7/2556 [19.00] |
30/7/2556 [7.00] |
30/7/2556 [19.00] |
31/7/2556 [7.00] |
31/7/2556 [19.00] |
จากแผนภาพแสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล พบว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง
โดยเฉพาะช่วงวันที่ 28-29 ก.ค. 56 โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย สำนักงานฝนหลวงและการบินเกษตร
เรดาร์อมก๋อย รัศมี 240 กิโลเมตร | ||||||
25/7/2556 [20:00] |
26/7/2556 [13:00] |
27/7/2556 [16:00] |
28/7/2556 [13:00] |
29/7/2556 [13:00] |
30/7/2556 [15:00] |
31/7/2556 [13:00] |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม :http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rm_okiradar.php |
เรดาร์ตาคลี รัศมี 240 กิโลเมตร | ||||||
24/7/2556 [12:00] |
25/7/2556 [08:00] |
26/7/2556 [07:00] |
29/7/2556 [11:00] |
30/7/2556 [11:00] |
31/7/2556 [11:00] |
1/8/2556 [07:00] |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม :http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rm_tkhradar.php รายงานจากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจวัดปริมาณฝนของสำนักงานฝนหลวงและการบินเกษตร เรดาร์อมก๋อย และเรดาร์ตาคลี รัศมี 240 กิโลเมตร พบว่าช่วงวันที่ 25-31 กรกฎาคม 2556 มีฝนตกหนักทางด้านตะวันตกของประเทศไทย โดยเฉพาะช่วงวันที่ 28 ก.ค. ไปจนถึงสิ้นเดือน ที่มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตากและกาญจนบุรี ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ |
25/7/2556 |
26/7/2556 |
27/7/2556 |
28/7/2556 |
29/7/2556 |
30/7/2556 |
31/7/2556 |
25/7/2556 : 0000Z |
26/7/2556 : 0000Z |
27/7/2556 : 1200Z |
28/7/2556 : 0000Z |
29/7/2556 : 1200Z |
30/7/2556 : 1200Z |
31/7/2556 : 0000Z |
mm.
|
25/7/2556[00Z] |
26/7/2556[00Z] |
27/7/2556[00Z] |
28/7/2556[00Z] |
29/7/2556[00Z] |
30/7/2556[00Z] |
31/7/2556[00Z] |
mm.
|
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากทางด้านตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงวันที่ 27-31 ก.ค. 56 โดยมีปริมาณฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ครอบคลุมพื้นที่ค่อนข้างกว้าง
ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงวันที่ 25-31 ก.ค. 56
บริเวณด้านตะวันตกของประเทศ พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
26/7/2013 | แม่สอด | แม่ท้อ | เมืองตาก | ตาก | 50.3 |
27/7/2013 | แม่สอด | แม่ท้อ | เมืองตาก | ตาก | 72.3 |
28/7/2013 | แม่สอด | แม่ท้อ | เมืองตาก | ตาก | 191.2 |
อุ้มผาง | พะวอ | แม่สอด | ตาก | 65.4 | |
ดอยมูเซอ (1) | แม่กาษา | แม่สอด | ตาก | 59.8 | |
29/7/2013 | แม่สอด | แม่ท้อ | เมืองตาก | ตาก | 101.4 |
อุ้มผาง | พะวอ | แม่สอด | ตาก | 90.2 | |
ดอยมูเซอ (1) | แม่กาษา | แม่สอด | ตาก | 52.9 | |
30/7/2013 | แม่สอด | แม่ท้อ | เมืองตาก | ตาก | 52.4 |
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
2013-07-26 | ท่าสองยาง | แม่ต้าน | ท่าสองยาง | ตาก | 51.0 |
2013-07-27 | ด่านเจดีย์สามองค์ | หนองลู | สังขละบุรี | กาญจนบุรี | 87.2 |
ท่าสองยาง | แม่ต้าน | ท่าสองยาง | ตาก | 61.4 |
|
ริมเมย | ท่าสายลวด | แม่สอด | ตาก | 58.2 |
|
2013-07-28 | ด่านเจดีย์สามองค์ | หนองลู | สังขละบุรี | กาญจนบุรี | 161.8 |
ริมเมย | ท่าสายลวด | แม่สอด | ตาก | 121.2 |
|
บ้านพุถ่อง | ลิ่นถิ่น | ทองผาภูมิ | กาญจนบุรี | 83.4 |
|
น้ำตกเกริงกระเวีย | ปรังเผล | สังขละบุรี | กาญจนบุรี | 71.6 |
|
ท่าสองยาง | แม่ต้าน | ท่าสองยาง | ตาก | 59.8 |
|
2013-07-29 | น้ำตกเกริงกระเวีย | ปรังเผล | สังขละบุรี | กาญจนบุรี | 77.0 |
ท่าสองยาง | แม่ต้าน | ท่าสองยาง | ตาก | 70.2 |
|
ด่านเจดีย์สามองค์ | หนองลู | สังขละบุรี | กาญจนบุรี | 55.8 |
|
2013-07-30 | บ้านพุถ่อง | ลิ่นถิ่น | ทองผาภูมิ | กาญจนบุรี | 62.4 |
น้ำตกเกริงกระเวีย | ปรังเผล | สังขละบุรี | กาญจนบุรี | 61.6 |
วันที่เตือนภัย | เวลาที่เตือนภัย | ช่วงเวลาฝนสะสม | ตำบล | อำเภอ | จังหวัด | ปริมาณฝนสะสม(มม.) | ระดับการเตือนภัย |
28/7/2013 | 15:00:00 | ฝน07-15น. | ต.หนองลู | อ.สังขละบุรี | จ.กาญจนบุรี | 96.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
5:00:00 | ฝน28/07-29/05น. | ต.ท่าสายลวด | อ.แม่สอด | จ.ตาก | 100.4 |
วิกฤต |
|
2:00:00 | ฝน28/07-29/02น. | ต.ท่าสายลวด | อ.แม่สอด | จ.ตาก | 85.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
|
2:00:00 | ฝน28/07-29/02น. | ต.หนองลู | อ.สังขละบุรี | จ.กาญจนบุรี | 150.2 |
วิกฤต |
|
29/7/2013 | 9:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.ทองผาภูมิ | อ.ทองผาภูมิ | จ.กาญจนบุรี | 142.5 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
9:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.แม่สอด | อ.แม่สอด | จ.ตาก | 191.2 |
วิกฤต |
|
30/7/2013 | 9:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.อุ้มผาง | อ.อุ้มผาง | จ.ตาก | 90.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
9:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.แม่สอด | อ.แม่สอด | จ.ตาก | 101.4 |
วิกฤต |
25/7/56 19.00 น. - 26/7/56 19.00 น. |
26/7/56 19.00 น. - 27/7/56 19.00 น. |
27/7/56 19.00 น. - 28/7/56 19.00 น. |
28/7/56 19.00 น. - 29/7/56 19.00 น. |
29/7/56 19.00 น. - 30/7/56 19.00 น. |
30/7/56 19.00 น. - 31/7/56 19.00 น. |
31/7/56 19.00 น. - 1/8/56 19.00 น. |
จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า
7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ
WRF
ผลการคาดการณ์เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 56 พบว่าตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. 56 จนถึงปลายเดือนมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันมากทางด้านตะวันตกของประเทศไทย
ตลอดแนวยาวตั้งแต่บริเวณจังหวัดตากเรื่อยลงมาจนถึงบริเวณภาคกลางตอนล่างบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี
โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีปริมาณฝนที่ตกในบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปริมาณฝนที่ตรวจวัดจริง
เมื่อเปรียบเทียบกับภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
แผนภาพแสดงฝนสะสมของศูนย์วิจัยทหารเรืออเมริกา แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
||
|
ศรีนครินทร์ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 147.59 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 30 ก.ค. 56 |
เขื่อนวชิราลงกรณ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 330.37 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 30 ก.ค. 56 |
จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ ซึ่งเป็นเขื่อนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดฝนตกหนัก ช่วงประมาณวันที่ 26 ก.ค. 56 จนถึงปลายเดือน
พบว่าเริ่มมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. 56 และเริ่มลดลงประมาณวันที่ 1 ส.ค. 56 โดยเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสูงสุด 32.06 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 1 ส.ค. 56
เขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสูงสุด 147.59 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 30 ก.ค. 56 และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสูงสุด 330.37 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 30 ก.ค. 56
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เวลา 18.35 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดตาก รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เวลา 18.40 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดตาก รายละเอียดเพิ่มเติม |
||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เวลา 18.34 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดตาก รายละเอียดเพิ่มเติม |
ข้อมูลด้านความเสียหาย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รายงานสถานการณ์สาธารณภัย ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 07.00 น.
(ตัดมาเฉพาะรายงานสถานการณ์อุทกภัย)
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ถึง วันที่ 2 สิงหาคม 2556 รวม 7 จังหวัด 38 อำเภอ 154 ตำบล 998 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือนร้อน 47,324 ครัวเรือน 118,855 คน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย (จ.เชียงราย 2 ราย จ.พะเยา 1 ราย) สูญหาย 1 ราย (จ.เชียงราย) จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด (น่าน ปราจีนบุรี พะเยา สกลนคร)
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด 28 อำเภอ 104 ตำบล 670 หมู่บ้าน ดังนี้
1.จังหวัดกาญจนบุรี เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 วัดปริมาณน้ำฝนได้สูงสุดที่ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี 305 มม. ทำให้น้ำเอ่อเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 11 ตำบล 38 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 116 ครัวเรือน 345 คน ดังนี้
1.1 อำเภอสังขละบุรี 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองลู (หมู่ที่ 1-10) ไล่โว่ (หมู่ที่ 1-6) และตำบล ปรังเผล (หมู่ที่ 1-4) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 40 ครัวเรือน 120 คน
1.2 อำเภอทองผาภูมิ 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลปิล๊อก (หมู่ที่ 1) ห้วยเขย่ง (หมู่ที่ 1-3,7) ลิ่นถิ่น (หมู่ที่ 5,6) หินดาด (หมู่ที่ 1) ท่าขนุน (หมู่ที่ 2,3,4) สหกรณ์นิคม (หมู่ที่ 2) และตำบลชะเล (หมู่ที่ 1,2,4,6,7) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 70 ครัวเรือน 200 คน
1.3 อำเภอไทรโยค ตำบลบ้องตี้ (หมู่ที่ 2) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 6 ครัวเรือน 25 คน
**เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2556 ระดับน้ำในแม่น้ำซองกาเลีย เพิ่มสูงขึ้นและได้พัดแพไปชน เสาสะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ) ขาดเป็นระยะทางยาวประมาณ 20 เมตร และสะพานขาดเพิ่มเป็น 70 เมตร
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในบางพื้นที่ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่อำเภอสังขละบุรี 24.5 มม.
2. จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2556 ได้เกิดเหตุฝนตกหนักต่อเนื่องกันหลายวัน (วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่อำเภอพาน 143.5 มม.) ทำให้เกิดเหตุอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย รวม 16 อำเภอ 70 ตำบล 457 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย จำนวน 15,354 ครัวเรือน รวม 44,430 คน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อำเภอแม่สรวย) สูญหาย 1 ราย บ้านเสียหายทั้งหลัง 5 หลัง บ้านเสียหายบางส่วน 19 หลัง คอสะพาน 5 แห่ง ถนน 81 สาย ฝายน้ำล้น 6 แห่ง ทอระบายน้ำ 24 แห่ง ตลิ่งกั้นน้ำ 11 แห่ง นาข้าว 20,338 ไร่ พืชไร่ 25,768 ไร่ บ่อปลา 287 บ่อ สวน 32 ไร่ ยางพารา 30 ไร่ สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 11 อำเภอ (อำเภอเทิง สรวย แม่ฟ้าหลวง เวียงแก่น เมืองเชียงราย พาน เชียงของ ขุนตาล แม่ลาว ดอยหลวง และอำเภอแม่สาย) ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 5 อำเภอ ดังนี้
2.1 อำเภอเวียงเชียงรุ้ง 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลดงมหาวัน (หมู่ที่ 1,3-8,10-12) ทุ่งก่อ (หมู่ที่ 1,3-11,13-15) และตำบลป่าซาง (หมู่ที่ 3-814,16)
2.2 อำเภอเวียงชัย 5 ตำบล 38 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเมืองชุม (หมู่ที่ 2,3,8-11) ผางาม (หมู่ที่ 1-15)เวียงชัย (หมู่ที่ 2,6,10-13,16,18) เวียงเหนือ (หมู่ที่ 2,3,8,9) และตำบลดอนศิลา (หมู่ที่ 7-9,13,15)
2.3 อำเภอเชียงแสน 4 ตำบล 17 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลป่าสัก (หมู่ที่ 1-3,11) ศรีดอนมูล (หมู่ที่ 3,9,10,12,13) โยนก (หมู่ที่ 1-3,6) และตำบลเวียง (หมู่ที่ 1,3,5,8)
2.4 อำเภอพญาเม็งราย 5 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลแม่เปา (หมู่ที่ 1-4,6,7,10-18,20) ไม้ยา (หมู่ที่ 1,8,10,12) เม็งราย (หมู่ที่ 1-11) แม่ต่ำ (หมู่ที่ 1-5,7,8) และตำบลตาดควัน (หมู่ที่ 3,4)
2.5 อำเภอแม่จัน 9 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลป่าตึง (หมู่ที่ 1,5,6,11,12,14-16,18) แม่คำ (หมู่ที่ 1,3,4,7,9-11,13,14) ป่าซาง (หมู่ที่ 4,5,7,14) ศรีค้ำ (หมู่ที่ 5,6,8) สันทราย (หมู่ที่ 1,6,9) จอมสวรรค์ (หมู่ที่ 1,6) จันจว้า (หมู่ที่ 3-5,7) จันจว้าใต้ (หมู่ที่ 6,7,9) และตำบลแม่จัน (หมู่ที่ 6,8,9)
**ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตร ระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่อำเภอเวียงเชียงรุ้ง 157.0 มม.
3. จังหวัดตาก วันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ระดับน้ำในแม่น้ำเมย บริเวณสะพานมิตรภาพ ไทย-พม่า เริ่มเพิ่มขึ้น สาเหตุเนื่องจากมีฝนตกในพื้นที่ อำเภอแม่สอด วัดสูงสุดได้ 191.2 มม. ทำให้น้ำล้นทางระบาย (spill way) จากอ่างห้วยแม่สอด ไหลหลากเข้าท่วมบริเวณพื้นที่ 5 อำเภอ 23 ตำบล 175 หมู่บ้าน 20 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 10,687 ครัวเรือน 33,664 คน ดังนี้
3.1 อำเภอแม่สอด 10 ตำบล 90 หมู่บ้าน ได้แก่ เทศบาลตำบลแม่สอด 20 ชุมชน ตำบลแม่ปะ ท่าสายลวด แม่กุ แม่ตาว มหาวัน และตำบลแม่กาษา
3.2 อำเภอแม่ระมาด 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลแม่ระมาด (หมู่ที่ 6,7) แม่จะเรา (หมู่ที่ 4,6,8) ขะเนจื้อ (หมู่ที่ 7,8,12) และตำบลพระธาตุ (หมู่ที่ 2,3,5)
3.3 อำเภออุ้มผาง ตำบลแม่จัน (หมู่ที่ 1,6) น้ำกัดเซาะถนนขาด เส้นอุ้มผาง – บ้านเปิ่งเคลิ่ง
3.4 อำเภอพบพระ ตำบลวาเลย์ (หมู่ที่ 1-3) และตำบลพบพระ (หมู่ที่ 5)
3.5 อำเภอท่าสองยาง 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่หละ (หมู่ที่ 1-12) แม่ต้าน (หมู่ที่ 1-10) แม่อุสุ (หมู่ที่ 1-10) แม่สอง (หมู่ที่ 1-17) ท่าสองยาง (หมู่ที่ 1-9) และตำบลแม่วะหลวง (หมู่ที่ 1-9)
***ปัจจุบันสถานการณ์อำเภอแม่สอด แม่ระมาด คลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ อำเภอพบพระ ท่าสองยาง
ข่าวจากหนังสือพิมพ์
--------------------------------------------------------------------------------------
สถานการณ์น้ำท่วมในทองผาภูมิ-สังขละบุรี ยังน่าห่วง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 31 ก.ค. 56 ,13.14 น.]
กาญจนบุรี - สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ-อำเภอสังขละบุรี ยังน่าห่วง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดินทางมุ่งหน้าไปยังอำเภอสังขละบุรี เพื่อนำถุงยังชีพพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยวันนี้
วันนี้ (31 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาพฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยเฉพาะช่วงค่ำของวานนี้ (30 ก.ค.) ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนหลายหมู่บ้าน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลทองผาภูมิ และเขตเทศบาลตำบลท่าขนุน ถนนแสงชูโต สาย 323 อำเภอทองผาภูมิ-สังขละบุรี ระหว่างตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 146 บริเวณทางเข้าหน่วยทหารพัฒนาที่ 11 น้ำป่าได้ไหลหลากลงในลำคลองที่อยู่ใกล้กันเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมถนนสายดังกล่าวเป็นระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร ปริมาณน้ำสูง 50-60 เซนติเมตร รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ขนาดเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านไปมาได้ ส่วนรถยนต์ขนาดใหญ่ที่บรรทุกสินค้าไปส่งในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี ต้องวิ่งผ่านด้วยความระมัดระวัง โดยมีเจ้าหน้าที่คอยบอกเส้นทางให้
โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยทหารพัฒนาที่ 11 นำเครื่องจักร พร้อมกำลังพล และอุปกรณ์ต่างๆ เร่งเคลียร์จุดพื้นที่ที่มีดินไสลด์ทับถมพื้นผิวการจราจร และเศษสวะที่ขวางเส้นทางน้ำไหลเพื่อให้กระแสน้ำไหลได้อย่างสะดวก การสัญจรเบื้องต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ จัดการจารจรด้วยการวางกำลังเป็นจุด พร้อมส่องไฟให้สัญญาณเพื่อให้คนขับรู้เส้นทางที่ปลอดภัย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 ค่ายพระพุทธยอดฟ้า ได้นำกำลังมาช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมบ้านเรือนเพื่อขนย้าย ทรัพย์สินไปอยู่ในที่ปลอดภัย
พ.อ.นภดล ปิ่นทอง ผู้บัญชาการหน่วยทหารพัฒนาเคลื่อนที่ 11 จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ฝนได้ตกติดต่อกันมาหลายวัน ประกอบกับน้ำป่าที่ไหลมาจากบนภูเขาเข้ามาสมทบจึงทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และไหลเชี่ยวเป็นอย่างมาก น้ำได้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้าน ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ดังนั้น หลังเกิดเหตุจึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ พร้อมทั้งจัดกำลังพลออกไปดูแล และช่วยเหลือประชาชนที่บ้านถูกน้ำท่วม และจัดอุปกรณ์เครื่องจักรไปเปิดทางเดินระบายน้ำ รวมถึงจัดการจารจรให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน เลี่ยงไปใช้เส้นทางที่ปลอดภัยแทน ขอฝากเตือนประชาชนที่มีบ้านอยู่ตามเส้นทางน้ำไหลให้เฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษ หากคิดว่าไม่ปลอดภัย ขอให้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที เพื่อจะเข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที ทหารพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
“นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนระวังสัตว์มีพิษโดยเฉพาะงูชนิดต่างๆ หรือตะขาบ และแมงป่อง อาจจะหนีน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้าน ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายก็เป็นได้ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประชาชนในพื้นที่กำลังขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่ม หากประชาชนต้องการมอบสิ่งของก็สามารถนำมามอบให้ที่หน่วยทหารพัฒนาที่ 11 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง” พ.อ.นภดล ปิ่นทอง ผู้บัญชาการหน่วยทหารพัฒนาเคลื่อนที่ 11 กล่าว
รายงานข่าวว่า สำหรับถนนสาย 323 จากอำเภอทองผาภูมิ มุ่งหน้าไปยังอำเภอสังขละบุรี พื้นผิวการจราจรตลอดเส้นทางมีน้ำไหล และขังเป็นช่วงๆ ทำให้ถนนลื่น อีกทั้งผิวการจราจรยังถูกน้ำกัดเซาะเป็นหลุมเป็นบ่อเกือบตลอดเส้นทาง บางช่วงไหล่ถนนถูกน้ำเซาะจนยุบเป็นวงกว้าง ผู้สัญจรไปมาต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง สำหรับบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 146 หมู่ 4 ต.ท่าขนุน มีน้ำป่าไหลหลากลงมาจากภูเขาเข้าท่วมร่องระบายน้ำข้างทางสูงประมาณ 50 เซนติเมตร และเอ่อล้นท่วมผิวการจราจร 1 เลน โดยขณะที่ผู้สื่อข่าวขับรถกลับจากอำเภอสังขละบุรีมุ่งหน้ากลับจังหวัด กาญจนบุรี เมื่อมาถึงจุดดังกล่าว พบรถยนต์กระบะตกลงไปในร่องระบายน้ำข้างถนนโดยมีชายวัยกลางคนเป็นผู้ขับขี่ อยู่ภายในรถ และพยายามที่จะขับรถเพื่อฝืนนำรถยนต์ขึ้นมา ผู้สื่อข่าวได้พยายามเข้าไปให้ความช่วยเหลือเนื่องจากเกรงว่าจะได้รับ อันตราย แต่ชายคนดังกล่าวได้ปฏิเสธที่จะลงจากรถ และพยายามเร่งเครื่องเพื่อหาทางนำรถขึ้นมา ผู้สื่อข่าวจึงทำได้แต่เพียงโบกรถและส่งสัญญาณมือเพื่อให้รถยนต์ที่วิ่งผ่าน ไปมาทราบ เพราะจุดเกิดเหตุเป็นทางโค้ง โดยชายคนดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 30 นาที ก็สามารถนำรถขึ้นมาได้สำเร็จ ท่ามกลางประชาชนที่คอยให้กำลังใจ และบอกเพียงว่าขับรถมาดีๆ รถก็ลื่นไถลลงไปในร่องระบายน้ำ จากนั้นชายคนดังกล่าวก็ขับรถมุ่งหน้าไปทางอำเภอสังขละบุรีทันที
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะเดินทางมุ่งหน้าไปยังอำเภอสังขละบุรี เพื่อนำถุงยังชีพพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปมอบให้แก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม คาดว่าเวลาประมาณ 13.30 น. จะเดินทางไปถึง
--------------------------------------------------------------------------------------
อาคารเรียนพังถล่มจากเหตุ ดินสไลด์ที่ จังหวัดตาก [ สำนักข่าวไทย : 29 ก.ค. 56 ]
เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 56 ปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องขณะนี้ ส่งผลกระทบหลายพื้นที่ ต้องประสบปัญหาน้ำท่วม ตลิ่งทรุด และ ล่าสุดอาคารเรียนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตากที่ถูกดินไสลด์ลงมาทับได้พังถล่มลงมาทั้งหลัง เคราะห์ดีเจ้าหน้าที่สามารถหนีออกมาได้ทัน
ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน และทหาร กำลังเคลื่อนย้ายวัสดุการเรียนการสอน สิ่งของเครื่องใช้เพิ่มเติม บริเวณด้านหลังอาคารเรียนพระราชทาน ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านพะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก หลังเมื่อวานที่ผ่านมา มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดินสไลด์ถล่มทับผนังอาคารเรียนชั้นล่าง เสียหายรวม 7 ห้อง จากทั้งหมด 9 ห้องเรียน
ได้เกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น เมื่ออาคารดังกล่าวได้พังถล่มลงมาเสียหายทั้งหลัง โชคดีเจ้าหน้าที่สามารถหนีออกมาได้อย่างปลอดภัย // โดยก่อนหน้านี้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา ตาก เขต 2 โรงเรียน สั่งให้หยุดการเรียนการสอน ในชั้นเด็กเล็กชั่วคราวและย้ายนักเรียน ที่ต้องเรียนในอาคารดังกล่าวไปเรียนที่อาคารอเนกประสงค์แทน เพื่อความปลอดภัย
ด้านนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกจังหวัดประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียม พร้อมอุปกรณ์ เครื่องจักกล และกำลังพล เฝ้าระวังเหตุ และติดตามสถานการณ์ แจ้งเตือนภัย ให้ประชาชนทราบ หลังกรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยฝนตกหนัก โดยเฉพาะในภาคเหนือและอีสาน
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและรื้อถอนระเบียงบ้าน นางอุดมพร ผสมเพชร อายุ 90 ปี ที่พังลงมาจากปัญหาการกัดเซาะกระแสน้ำ หลังตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา หมู่ 8 ตำบลบ้านป้อม ทรุดตัว ซึ่งอบต.บ้านป้อม จะเร่งจัดหางบประมาณในการตอกเข็ม เป็นเขื่อนชั่วคราว ป้องกันปัญหาการทรุดตัวของดินเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกับที่สกลนคร ปริมาณน้ำหนองหาร เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 85 ของความจุ เจ้าหน้าที่ต้องเปิดประตูน้ำสุรัสวดีทั้ง 3 บาน เพื่อระบายน้ำจากหนองหาร ลงแม่น้ำโขง ป้องกันน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร รวมทั้งประสานไปยังศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 7 สกลนคร และชาวบ้านพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งอำเภออากาศอำนวย โพนนาแก้ว และ อำเภอเมือง เตรียมพร้อมรับสถานการณ์
--------------------------------------------------------------------------------------
เมืองแม่สอดวิกฤตหนักน้ำป่าไหลทะลักท่วมตัวเมือง และร้านค้าตลาดริมเมยต้องขนของหนีน้ำ ขณะที่ฝั่งเมียวดีบ้านเรือนกว่า 800 หลังคาเรือนจมอยู่ใต้น้ำ ต้องสั่งปิดโรงเรียนใน 3 อำเภอ เพราะเกิดดินถล่มหลายพื้นที่
เมื่อเวลา 6.00 น.วันนี้ แม่น้ำเมยได้ทะลักเข้าร้านค้าตลาดริมเมย บริเวณใต้สะพานมิตรภาพไทย - พม่า น้ำท่วมสูงกว่า1.20 เมตร พ่อค้า-แม่ค้า ริมเมย ต่างพากันขนของออกจากร้านตั้งแต่รุ่งเช้า บางร้านไม่สามารถหาแรงงานได้ต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัย และ ชุดเคลื่อนที่เร็ว กองร้อยตำรวจตะเวนชายแดนที่ 346 ไปขนของออกจากร้านท่ามกลางระดับน้ำในแม่น้ำเมยที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่จังหวัดเมียวดี ฝั่งพม่า ตรงข้ามอำเภอแม่สอด วิกฤตหนักเช่นกันมีน้ำท่วมกว่า 800 หลังคาเรือน ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ชุมชนอื่นรอบอำเภอแม่สอดถูกน้ำท่วมหนักเช่นกัน อาทิ ชุมชนประชารักษ์ ชุมชนจ๊อกจอ สองแคว และ บ้านทุ่ง ประชาชนเร่งเก็บสิ่งของช่วยเหลือตัวเอง
ด้าน นายทองสุข อยู่ศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 ตาก มีคำสั่งให้ปิดโรงเรียนทุกแห่งใน 3 อำเภอ คือ อำเภอแม่ระมาด แม่สอด และ ท่าสองยาง เพื่อความปลอดภัยหลังฝนตกหนักทำให้เกิดดินถล่มหลายพื้นที่ในเส้นทางผ่านโรงเรียนหลายแห่งที่บ้านแม่ระเมิง บ้านแม่ตาว บ้านแม่ตื่น บ้านกองคอง บ้านคอนหวั่น ส่วนอำเภอแม่สอดมีบางโรงเรียนฝืนเปิดเรียนแต่ต่อมาก็ต้องปิดหลังจากเกิดน้ำท่วมเมืองแม่สอด
ล่าสุด น้ำในอ่างเก็บน้ำหัวฝายล้นอ่างสูงกว่า 1.50 เมตร ได้ล้นสปิลเวย์ไหลลงสู่เมืองแม่สอดแล้ว
ส่วนที่จังหวัดเชียงราย ฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน ทำให้น้ำในเขตเทศบาลระบายไม่ทัน ทำให้บางจุดมีน้ำท่วมขังสูง เจ้าหน้าที่เทศบาลต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออก เพราะเกรงปริมาณน้ำจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากช่วงนี้ยังมีฝนตกต่อเนื่อง
ด้านศูนย์อุตุนิยมภาคเหนือ เตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงให้รับมือฝนตกหนัก น้ำป่าดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง ไปจนถึงวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ ขณะที่ปริมาณฝนช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พบว่า อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน วัดได้ 124 มิลลิเมตร และจังหวัดเชียงราย 76.3 มิลลิเมตร
--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนตกหนักน้ำจากล้ำห้วยสาขาต่างๆทะลักท่วมเขตเศรษฐกิจแม่สอดสูงเฉลี่ย 50 ซม.
เมื่อวันที่ 28 ก.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพายุฝนได้กระหน่ำตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องใน พื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ส่งผลให้น้ำจากลำห้วยสาขาต่างๆ ได้ไหลลงในพื้นที่เขตเทศบาลนครแม่สอด ซึ่งเป็นพื้นแอ่งกระทะน้ำท่วมขังหลายจุดและตามถนนสายหลักในเขตเทศบาล ทั้ง ถนนอินทรคีรี ถนนประสาทวิถี ถนนชิดวนา และตามตรอกซอย เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่สอด ได้นำแผงมาปิดกั้นเส้นทางการจราจร เนื่องจากระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำในเขตเทศบาลนครแม่สอด มีความสูงเฉลี่ย 50 ซม.และฝนยังคงตกลงมาอย่างหนักไม่ยอมหยุด ทำให้น้ำในลำห้วยแม่สอด ที่ไหลผ่านเขตเทศบาลมีระดับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และบางแห่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือยราษฎรและเขตย่านพาณิชย์-ธุรกิจ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ ใช้วิธีปรับเปลี่ยนเส้นทางการจราจรและการเดินทางของประชาชนให้ไปใช้ถนนอ้อม เมืองหรือถนนบายพลาส แทน
ด้านนายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด พร้อมคณะผู้บริหาร ได้ลงพื้นที่ดูแลประชาชน และได้สั่งการให้หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองช่างและกองช่างสุขา-กองสาธารณสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ได้ เร่งปฎิบัติการดูแล ช่วยเหลือ ประชาชน ในจุดที่เกิดน้ำท่วมขัง 20 ชุมชน นอกจากนี้ได้ตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่มาเร่ง สูบ น้ำในจุดที่มีน้ำท่วมขัง มากเพื่อเร่งระบายออกอย่างทันทีและรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดการท่วมขัง
นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้ทุกกองงานและ สำนักงานปลัดนายกเทศมนตรี ได้เตรียมความพร้อม และพร้อมให้เจ้าหน้าที่ทุกคนทำงานตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์เวชภัณฑ์ต่างๆ หากพบมีประชาชนเจ็บป่วยจากการเป็นไข้ ต่างๆ นอกจากนี้ ยังเตรียมถุงยังชีพเพื่อแจกจ่ายให้ประชาชน ได้ทันที หากได้รับการร้องขอ
--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนถล่มหนัก น้ำป่าซัด'สะพานมอญ'สังขละฯ ขาดกลาง [ ไทยรัฐ : 28 ก.ค. 56 , 21.36 น. ]
ฝนตกหนักในพื้นที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นานติดต่อกัน 3 วัน ส่งผลน้ำป่าพัดถล่ม "สะพานมอญ" สะพานไม้ยาวสุดในไทย ขาดกลาง ระยะทาง 30 เมตร ...
เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 28 ก.ค. นายชาธิป รุจนเสรี นายอำเภอสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าเกิดน้ำป่าไหลหลากจากแม่น้ำซองกาเลีย พัดพาขยะจำนวนมากมาสะสมบริเวณสะพานอุตตมานุสรณ์ หรือ สะพานมอญ หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า สะพานหลวงพ่ออุตตมะ ที่เชื่อมระหว่างพื้นที่หมู่ 2 กับหมู่ 3 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ความแรงของน้ำได้พัดจนสะพานขาด เป็นระยะทางยาวกว่า 30 เมตร ทำให้ประชาชนไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ หลังจากรับแจ้ง นายชาธิป พร้อมด้วย พ.ต.อ.ประภัสร์ ประยูรหงษ์ ผกก.สภ.สังขละบุรี พ.ต.ท.สิงหา วังวงศ์ทอง รอง ผกก.ป. ฯ พ.ต.ท.สมชาย โตเฟื่อง สว.สสฯ และ พ.ต.ท.สนธยา ฉายเกียรติ์ขจร สว.ป.สภ.สังขละบุรี นำกำลัง อส. จำนวน 20 นาย และ ตำรวจ จำนวน 20 นาย ไปสมทบกับเจ้าหน้าที่ อปพร.เทศบาลวังกะ และ อาสาสมัครมูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ จำนวนรวมทั้งหมดประมาณ 60 นาย
นายชาธิป เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอสังขละบุรีนานติดต่อกัน 3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย กระแสน้ำมีความแรงมาก รวมทั้งได้พัดพาเอาขยะเช่นเศษไม้หรือขยะอื่นๆมาติดอยู่ที่ตอม่อไม้ของสะพาน มอญ ทำให้เมื่อน้ำไหลแรงมากติดต่อกันนาน สะพานไม่สามารถทานกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวมากได้ จึงขาดบริเวณเกือบกลางสะพานยาวประมาณเกือบ 30 เมตร ซึ่งตอนนี้ทางปกครอง ตำรวจ เทศบาลวังกะ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้า นรวมถึงชาวบ้านได้ออกมาช่วยกันแก้ปัญหา โดยปิดการจราจรบนสะพานให้ชาวบ้านไปใช้สะพานปูนแทน ส่วนการแก้ไข ได้รายงานให้ทาง นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผวจ.กาญจนบุรี ทราบแล้ว อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ ส่วนแพที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำ มีหลุดออกจากการผูกติดประมาณ 2-3 หลัง ก็จะติดตามช่วยเหลือต่อไป
พ.ต.ท.สิงหา วังวงศ์ทอง รอง ผกก.ป. สภ.สังขละบุรี เปิดเผยเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ว่า ตอนนี้มีข่าวว่า น้ำป่าจากห้วยซองกาเลีย ได้ไหลเข้าท่วมบริเวณโรงพยาบาลคริสเตียน พื้นที่หมู่ 6 ต.หนองลู และบนถนนสาย สังขละบุรี-ด่านเจดีย์สามองค์ ช่วงพื้นที่หมู่ 8 มีระดับน้ำเอ่อท่วมผิวการจราจรระดับน้ำสูงประมาณ 20-30 ซม. รถยนต์เล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้
ด้าน นายมานะ เพิ่มพูล หัวหน้อุทยานห่งชาติเขาแหลม เปิดเผยเกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยว่า ทางอุทยานฯเขาแหลม ได้ส่งทีมกู้ภัยทางน้ำของอุทยานจำนวน 10 นายลงพื้นที่ไปช่วยในการดูแลชาวบ้านที่ประสบภัย ในเบื้องต้นได้ให้ทำการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และร่วมกันตรวจสอบที่เกิดเหตุ และให้ติดตามสถานการณ์ที่อาจจะเกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อุทยานฯที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อวชิราลงกรณ์
ล่าสุด นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผวจ.กาญจนบุรี เผยกับไทยรัฐออนไลน์ว่า ได้สั่งปิดสะพานมอญที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ที่ อ.สังขละบุรี แล้ว ก่อนลงตรวจสอบพื้นที่ในวันพรุ่งนี้ (29 ก.ค.) พร้อมกำชั นายชาทิตย์ รุจนเสรี นายอำเภอสังขละบุรี ดูแลนักท่องเที่ยว และชาวบ้าน หลังฝนตกหนักหลายวันทำให้กระแสน้ำในแม่น้ำซองกาเลียเพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว และไหลเชี่ยว ซัดสะพานฝั่งไทย ห่างสามประสบรีสอร์ต 100 เมตร หักเสียหาย 30 เมตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือ สะพานมอญ หรือ สะพานหลวงพ่อุตตมะ ถือว่าเป็น สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่าเป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย เชื่อมพื้นที่ หมู่ 2 กับหมู่ 3 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี สะพานนี้สร้างขึ้นโดยการนำของ พระราชอุดมมงคล หรือ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2530 โดยใช้แรงงานของชาวไทยและชาวมอญ ถือเป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ สะพานมอญถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี โดยเฉพาะในช่วงสงกรานต์จะมีการจัดขบวนสงกรานต์มอญไปสรงน้ำพระที่วัดวังก์วิเวกการาม จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางท่องเที่ยวทุกปี
--------------------------------------------------------------------------------------