บันทึกเหตุการณ์น้ำเต็มเขื่อนภูมิพล
(วันที่ 4 – 6 พฤศจิกายน 2545)
เนื่องจากเกิดฝนตกและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพลเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม
2545 และช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2545 มีปริมาณฝนตกเหนือเขื่อนเป็นปริมาณมาก
เพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ตอนล่าง เขื่อนภูมิพลจึงกักเก็บน้ำโดยไม่ระบายน้ำออก
ทำให้มีปริมาตรกักเก็บจนเต็มเขื่อน (ประมาณ 97 % ของน้ำเต็มเขื่อน) คือมากที่สุดในรอบ
26 ปี เทียบเท่ากับเมื่อน้ำเต็มเขื่อนครั้งที่แล้วในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2518
พบว่าปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2545 จนน้ำเต็มเขื่อนในวันที่
6 พฤศจิกายน 2545 ที่ระดับน้ำ 260 เมตรคิดเป็น 97.21% ของเขื่อน
กราฟแสดงปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อน ปริมาตรกักเก็บ และปริมาณน้ำที่ระบายออก
เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว พบว่าช่วงตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน
2545 มีปริมาณน้ำไหลลงมากขึ้นเนื่องจากฝนตกในพื้นที่เหนือเขื่อน ทำให้ปริมาตรกักเก็บเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเต็มเขื่อนในช่วงวันที่
5 - 6 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งเขื่อนไม่สามารถรับน้ำได้อีก จึงปล่อยระบายออกทั้งหมดโดยปริมาณน้ำระบายเท่ากับปริมาณน้ำไหลเข้า
(เหมือนไม่มีเขื่อน)
ลำดับเหตุการณ์เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรกักเก็บย้อนหลัง 8 ปี พบว่าช่วงก่อนเดือนกันยายน
2545 ปริมาตรกักเก็บไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา แต่หลังจากเดือนกันยายน 2545
ไปแล้ว ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงระดับบนสุดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน
2545 ที่ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร (น้ำเต็มเขื่อน) และคงระดับนี้จนถึงสิ้นปี
2545
ภาพเหตุการณ์จากการบินถ่ายเหนือเขื่อนภูมิพล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2545
แสดงภาพน้ำเต็มเขื่อนภูมิพล
บันทึกเหตุการณ์ “ น้ำเต็มเขื่อนภูมิพล 2545
“ จากระบบฐานข้อมูลโครงการระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย
|