บันทึกเหตุการณ์ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากว่าค่ายจิรประวัติ (กันยายน 2553)
แผนผังลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและเจ้าพระยาตอนกลาง | |
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนประกอบด้วยแม่น้ำสายหลักทั้งหมด 4 สาย คือ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ใต้เขื่อนภูมิพล กิ่วลม สิริกิติ์ตลอดแนวลงทางทิศใต้จนถึงบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ การคำนวณปริมาณน้ำบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนใช้ข้อมูลน้ำระบายจากเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ กิ่วลม แควน้อย และสถานีวัดน้ำท่า Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง |
เปรียบเทียบข้อมูลปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีค่ายจิรประวัติ(C.2) และสถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยา(C.13) ตั้งแต่ปี 1994 ถึง ปี 2010 |
|
ปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีเมืองอุทัยธานี (Ct.2A) | |
จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานีหน้าศาลากลางเมืองอุทัยธานี แม่น้ำสะแกกรัง พบว่าช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงกันยายน 2553 ปริมาณน้ำไหลผ่านค่อนข้างสูงส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้ามาสมทบในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากยิ่งขึ้น |
ปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีค่ายจิรประวัติ(C.2) และสถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยา(C.13) ช่วงเดือน ก.ค.- ก.ย. 53 | |
จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2553 พบว่าปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยปริมาณน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน(ภูมิพล+กิ่วลม+Y1C+แควน้อย) มีปริมาณน้ำสูงสุด 96.52 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 31 สิงหาคม ด้านลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างปริมาณน้ำสูงสุดที่สถานีค่ายจิรประวัติอยู่ที่ 166 ล้านลูกบาศก์เมตร (1,920 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในวันที่ 21 กันยายน ส่วนที่สถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณน้ำสูงสุด อยู่ที่ 195 ล้านลูกบาศก์เมตร (2,253 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในวันที่ 22 กันยายน 2553 โดยปริมาณน้ำที่สถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มมากกว่าที่สถานีค่ายจิรประวัติ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน จนถึงวันที่ 27 กันยายน และอัตราน้ำไหลผ่านที่เขื่อนเจ้าพระยาเริ่มสูงเกิน 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน จนถึง 25 กันยายน |
ปริมาณน้ำไหลผ่าน รายเดือน | |
จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลผ่านสะสมรายเดือนพบว่าเดือนสิงหาคมปริมาณน้ำในลุ่มเจ้าพระยาตอนบนเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมเกือบเท่าตัว และในเดือนกันยายนปริมาณน้ำลดลงเล็กน้อย ส่วนที่สถานีค่ายจิรประวัติปริมาณน้ำช่วงเดือนสิงหาคมเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคมค่อนข้างมากและในเดือนกันยายนระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก เช่นเดียวกันกับสถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยาที่ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาสมทบเพิ่มเติมและจากปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ แต่เมื่อดูภาพรวมทั้งเดือนจะพบว่าปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาน้อยกว่าที่ค่ายจิรประวัติเล็กน้อย เนื่องมาจากช่วงที่ปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยามากกว่าที่ค่ายจิรประวัติ เกิดขึ้นเพียงในช่วงวันที่ 14-27 กันยายนเท่านั้น |
การเปรียบเทียบปริมาณน้ำไหลผ่าน(รายวัน)สถานีค่ายจิรประวัติและสถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยาช่วงเดือน กรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ของปี 2549 และ 2553 | |
จากกราฟเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณน้ำของปี 2553 และปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมหนัก พบว่าปริมาณน้ำของปี 2549 มีค่าสูงสุดในช่วงเดือนตุลาคม และมีค่าสูงกว่าช่วงเดือนกันยายนของปี 2553 ค่อนข้างมาก โดยปริมาณน้ำที่ค่ายจิรประวัติยังคงสูงกว่าที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา แต่ในปี 2553 ปริมาณน้ำโดยภาพรวมต่ำกว่าปี 2549 แต่ปริมาณน้ำที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาสูงกว่าที่ค่ายจิรประวัติ ในช่วงเดือนกันยายน |
แผนภาพฝนสะสมรายเดือน | ||
ค่าสถิติฝนสะสมเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม ปี 2493-2540 |
กรกฎาคม 2549 |
กรกฎาคม 2553 |
ค่าสถิติฝนสะสมเฉลี่ยเดือนสิงหาคม ปี 2493-2540 |
สิงหาคม 2549 |
สิงหาคม 2553 |
ค่าสถิติฝนสะสมเฉลี่ยเดือนกันยายน ปี 2493-2540 |
กันยายน 2549 |
กันยายน 2553 |
|