บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่ภาคกลาง (ตุลาคม 2552)

ภาพดาวเทียม GOES-9

2/10/2009
11GMT

3/10/2009
11GMT

4/10/2009
10GMT

7/10/2009
8GMT

9/10/2009
12GMT

10/10/2009
09GMT

9/10/2009
12GMT

12/10/2009
11GMT

13/10/2009
11GMT

14/10/2009
23GMT

15/10/2009
08GMT

12/10/2009
16GMT

17/10/2009
11GMT

18/10/2009
11GMT

19/10/2009
10GMT

20/10/2009
11GMT

21/10/2009
10GMT

22/10/2009
11GMT

23/10/2009
08GMT

25/10/2009
11GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าในช่วงเดือนตุลาคม ยังคงมีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และด้านตะวันตกของประเทศ ทำให้ยังคงมีฝนตกในบางพื้นที่ ประกอบกับน้ำที่ไหลลงมาจากภาคเหนือสู่ภาคกลาง ทำให้พื้นที่ภาคกลางเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด เช่น ชัยนาท นครสวรรค์ อยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

1/10/2009
[07 UTC]

2/10/2009
[07 UTC]

3/10/2009
[19 UTC]

4/10/2009
[19 UTC]

6/10/2009
[13 UTC]

7/10/2009
[19 UTC]

8/10/2009
[01 UTC]

12/10/2009
[01 UTC]

13/10/2009
[13 UTC]

15/10/2009
[07 UTC]

16/10/2009
[13 UTC]

17/10/2009
[01 UTC]

19/10/2009
[01 UTC]

21/10/2009
[13 UTC]

22/10/2009
[07 UTC]

23/10/2009
[07 UTC]
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วงเดือนตุลาคม มีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ส่งผลให้มีฝนตกในพื้นที่ดังกล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์พิษณุโลก    

1/10/2009
[16:25]

2/10/2009
[10:25]

3/10/2009
[17:25]

4/10/2009
[14:25]

12/10/2009
[12:25]

14/10/2009
[18:25]

17/10/2009
[14:25]

21/10/2009
[22:25]

22/10/2009
[00:25]

23/10/2009
[02:25]
เรดาร์หัวหิน    

1/10/2009
[02:29]

4/10/2009
[16:29]

9/10/2009
[10:29]

10/10/2009
[14:29]

11/10/2009
[07:29]

21/10/2009
[07:29]

22/10/2009
[21:29]

23/10/2009
[01:29]

25/10/2009
[11:29]

27/10/2009
[17:29]
เรดาร์ระยอง

3/10/2009
[10:03]

4/10/2009
[12:03]

6/10/2009
[10:03]

11/10/2009
[05:03]

12/10/2009
[05:03]

13/10/2009
[05:03]

14/10/2009
[08:03]

16/10/2009
[05:03]

18/10/2009
[10:03]

20/10/2009
[07:03]

21/10/2009
[05:03]

22/10/2009
[20:03]

23/10/2009
[02:03]

25/10/2009
[10:03]
ข้อมูลจากภาพเรดาร์พิษณุโลก เรดาร์หัวหิน และเรดาร์ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง พบว่าในช่วงเดือนตุลาคม ยังคงมีกลุ่มฝนในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง

รายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์พิษณุโลก เรดาร์หัวหิน เรดาร์ระยอง


ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา

1/10/2009

2/10/2009

3/10/2009

4/10/2009

11/10/2009

12/10/2009

13/10/2009

17/10/2009

18/10/2009

21/10/2009

22/10/2009

23/10/2009

รายละเอียดเพิ่มเติม
ภาพแสดงข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในเดือนตุลาคม ยังคงมีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง โดยรายละเอียดการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวัน แสดงดังตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
ปริมาณฝนสะสม 24 ช.ม.
1/10/2009 ศูนย์สิริกิตต์               51.3
2/10/2009 ดอยมูเซอ (1)               75.0
ชัยนาท               63.0
ตากฟ้า               51.9
เขื่อนภูมิพล               50.2
3/10/2009 เขื่อนภูมิพล               93.2
สุโขทัย               91.5
ตาก               73.2
ดอยมูเซอ (1)               62.3
4/10/2009 ตาก               52.2
5/10/2009 ลพบุรี               67.5
6/10/2009 แม่สะเรียง               62.3
11/10/2009 กำแพงแสน (1)               67.0
13/10/2009 กำแพงแสน (1)               73.6
นครสวรรค์               55.1
14/10/2009 บางนา (1)             130.9
17/10/2009 สุพรรณบุรี               84.7
18/10/2009 วิเชียรบุรี               97.7
ท่าเรือกรุงเทพฯ               76.9
ศูนย์สิริกิตต์               62.6
บางนา (1)               56.7
19/10/2009 ชัยนาท               53.2
22/10/2009 ปทุมธานี (1)               79.1
สุโขทัย               53.0
25/10/2009 เชียงใหม่               62.0

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสม

2/10/2009

3/10/2009

4/10/2009

9/10/2009

11/10/2009

12/10/2009

13/10/2009

14/10/2009

15/10/2009

16/10/2009

17/10/2009

18/10/2009

19/10/2009

21/10/2009

22/10/2009

23/10/2009

24/10/2009

26/10/2009


จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในช่วงเดือนตุลาคม ยังคงมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และด้านตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่แล้วในบางพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นอีก

รายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่า

ส.บ้านท่างิ้ว จ.นครสวรรค์
(ระดับตลิ่ง 37.77 เมตร)

ส.สะพานบ้านเกยไชย จ.นครสวรรค์
(ระดับตลิ่ง 27.40 เมตร)

ส.เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
(ระดับตลิ่ง 16.34 เมตร)

ส.บัวชุม จ.ลพบุรี
(ระดับตลิ่ง 52.59 เมตร)

ส.บ้านบางแก้ว จ.อ่างทอง
(ระดับตลิ่ง 9.17 เมตร)

ส.สะพานรถยนต์ จ.พระนครศรีอยุธยา
(ระดับตลิ่ง 4.41 เมตร)


ข้อมูลจากสถานีวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่าระดับน้ำที่วัดได้จากแต่ละสถานีเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงเดือนตุลาคม เนื่องจากมีน้ำไหลลงมาจากภาคเหนือประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด


ข้อมูลปริมาณน้ำไหลผ่าน  

ข้อมูลปริมาณน้ำไหลผ่านในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก จากกรมชลประทานช่วงเดือนตุลาคม 2552 จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่สถานีค่ายจิระประวัติ ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนพระรามหก และ สถานีบางไทร อยู่ที่ 2,225 2,115 550 และ 1,968 ลบ.ม. / วินาที โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ในช่วงวันที่ 7-8 ตุลาคม หลังจากนั้นปริมาณน้ำไหลผ่านได้ลดลงจนถึงปลายเดือน

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก สทอภ.
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 เวลา 06.07 น.
แสดงแผนที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 เวลา 18.23 น.
แสดงแผนที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท
พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี
และอ่างทอง
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 เวลา 06.04 น.
แสดงแผนที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท
พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี
และอ่างทอง
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2552 เวลา 06.17 น.
แสดงแผนที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกาญจนบุรี
ชัยนาท และสุพรรณบุรี

ข้อมูลด้านความเสียหาย

รายงานประจำสัปดาห์ (ระหว่างวันที่ 29 ก.ย. - 5 ต.ค. 52)
          จังหวัดชัยนาท น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นการเกษตรและบ้านเรือนราษฎร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองมะโมง 4 ตำบล คือ ตำบลหนองมะโมง ตำบลสะพานหิน ตำบลวังตะเคียน และตำบลกุดจอก อำเภอเนินขาม 3 ตำบล คือ ตำบลเนินขาม ตำบลกะบกเตี้ย และตำบลสุขเดือนห้า อำเภอวัดสิงห์ 2 ตำบล คือ ตำบลวังหมัน และตำบลหนองขุ่น อำเภอหันคา 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเด่นใหญ่ ตำบลวังไก่เถื่อน ตำบลไพรนกยูง ตำบลหนองแซง และตำบลหันคา รวม 162 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 8,692 ครัวเรือน 24,554 คน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมนาข้าว 27,000 ไร่ พืชไร่ 13,420 ไร่ บ่อปลา 17 บ่อ จังหวัดได้ส่งเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือ จำนวน 20 ลำ และมอบถุงยังชีพ 1,270 ชุด ระดับน้ำที่อำเภอวัดสิงห์ หนองมะโมง และอำเภอหันคา ลดลง หากไม่มีฝนตกเพิ่มสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้

รายงานประจำสัปดาห์ (ระหว่างวันที่ 6-12 ต.ค. 52)
          จังหวัดอ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ 2 อำเภอได้แก่อำเภอเมือง 4 ตำบล คือ ตำบลจำปาหล่อ(หมู่ที่ 1,4,6)ตำบลบ้านอิฐ(หมู่ที่ 10) ตำบลลาดกรวด (หมู่ที่ 1,2) และตำบลบางแก้ว (ชุมชนบ้านรอ) อำเภอป่าโมก ที่ตำบลโผงเผง (หมู่ที่ 1-7,9) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 เมตร ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 539 ครัวเรือน2,117 คนระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 สัปดาห์
          จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อยเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ10อำเภอได้แก่อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอบ้านแพรก และอำเภอนครหลวง เฉพาะชุมชนริมฝั่งแม่น้ำได้รับความเดือดร้อนเป็นบางส่วน ระดับน้ำสูงประมาณ0.20-0.30 เมตร ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 สัปดาห์

รายงานประจำสัปดาห์ (ระหว่างวันที่ 13-19 ต.ค. 52)
          จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 เกิดฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนทำให้น้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำใน 2 อำเภอ 3 เทศบาล 16 ตำบล 27 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,570 ครัวเรือน 10,711 คน พื้นที่การเกษตร 2,614 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมือง 3 เทศบาล12 ตำบล ประกอบด้วย เทศบาลนครสมุทรปราการ เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ ตำบลเทพารักษ์ ตำบลบางเมือง ตำบลบางเมืองใหม่ ตำบลบางโปรง ตำบลบางด้วน ตำบลแพรกษา ตำบลแพรกษาใหม่ ตำบลบางปู ตำบลบางปูใหม่ ตำบลท้ายบ้าน ตำบลท้ายบ้านใหม่ และตำ บลด่านสำ โรง อำ เภอบางพลี 4 ตำ บล 27 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำ บลบางพลีใหญ่ (หมู่ที่1,2,3,4,7,8,9,12,13,14,15,16,17) ตำบลบางแก้ว (หมู่ที่ 1,2,3,4,6,8,9,13,14,15) ตำบลบางโฉลง (หมู่ที่4) และตำบลราชาเทวะ (หมู่ที่ 1,2,3,4,6,8,15) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีฝนตกเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 20 ตุลาคม 2552 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเรือท้องแบน 2 ลำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 28 เครื่อง กระสอบทราย 30,000 ถุง เร่งระบายน้ำด้านในคันกั้นน้ำออกสู่พื้นที่ด้านฝั่ง
ตะวันออกลงสู่คลองบางปลาเพื่อระบายน้ำออกทะเล และดำเนินการให้ความช่วยเหลือราษฎรในเบื้องต้นแล้ว
          จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2552 ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเลาขวัญ 7 ตำบล 90 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,100 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 20,000 ไร่ และอำเภอห้วยกระเจา 4 ตำบล 73 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,200 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 10,025 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20 เมตร การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองพลทหารราบที่ 9 นพค.11 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้ความช่วยเหลือจัดเรือท้องแบน จำนวน 6 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน และนำรถแบล็คโฮลด์เปิดทางน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรในเบื้องต้นแล้ว

ที่มา : ตัดเฉพาะส่วนมาจากรายงานสรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย http://www.disaster.go.th/

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
มอบถุงยังชีพพระราชทานช่วยน้ำท่วมชัยนาท [ ไทยรัฐ : 4 ต. ค. 52 ]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สายวันนี้ (4 ต.ค.) นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย นำถุงยังชีพพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวนรวม1,000 ถุง มอบแก่ราษฎรใน ต.เนินขาม ต.กะบกเตี้ย และ ต.สุขเดือนห้า อ.เนินขาม จ.ชัยนาท ที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยมีนางพัชรา โพธิ์สุข นายกเหล่ากาชาด จ.ชัยนาท นายจำลอง โพธิ์สุข ผู้ว่าราชการ จ.ชัยนาท และนายธรรมสิฑชัย สามกษัตริย์ นายอำเภอเนินขามเข้าร่วม

นายธรรมสิฑชัย กล่าวว่า น้ำป่าไหลมาจาก อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ผ่านเข้าบ้านกะบกเตี้ย ต.สุขเดือนห้า และ ต.เนินขาม ทำให้น้ำท่วมขังในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มสูงถึง 1.5 เมตร นาข้าวเสียหาย 20,000 ไร่ พื้นที่ปศุสัตว์เสียหาย 50 ไร่ และพื้นที่ประมงเสียหาย 15 ไร่ อย่างไรก็ตาม ได้ติดต่อขอเครื่องสูบน้ำของ อบจ.ชัยนาทเข้าสูบน้ำแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------
อยุธยา-ประกาศ 3 อำเภอ เป็นเขตภัยพิบัติน้ำท่วม [ ครอบครัวข่าว : 6 ต.ค. 52 ]

เช้าวันนี้ นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ได้ติดตามสถานะการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า อ.เสนา อ.ผักไห่ และอ.บางบาล เป็นพื้นที่ท้องกระทะจะถูกน้ำท่วมทุกปีในฤดูกาลน้ำเหนือไหลหลาก ถึงแม้ว่าปีนี้น้ำเหนือจะไหลหลากลงมาช้ากว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ ประชาชนส่วนใหญ่ชะล่าใจคิดว่าปีนี้น้ำไม่ท่วม แต่กับพบว่าน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายลงมาท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในขณะนี้ ได้ไหลทะลักออกสู่แม่น้ำน้อย และคลองบางหลวง ส่งผลให้ระดับน้ำใน 3 อำเภอดังกล่าว สูงขึ้นอย่างรวดเร็วบ้านเรือนประชาชน ถูกน้ำท่วมได้รับผลกระทบทันที รวม 15 ตำบล 100 หมู่บ้าน มีชาวบ้านถูกน้ำท่วม 3,362 หลังคาเรือน

ล่าสุดทางจังหวัดได้ประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เขตภัยพิบัติทางธรรมชาติแล้ว เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทางอำเภอในพื้นที่ เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันที ซึ่งนับจากนี้ไป องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้งบทดลองฉุกเฉินของแต่ละแห่งในจำนวน 1,000,000 บาท เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านได้ทันที

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้จะเพิ่งถูกน้ำท่วมใน 3 อำเภอ แต่การระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาที่มีแนวโน้มมากกว่า 2,000 ลบ.ม/วินาที ในสัปดาห์นี้จะทำให้พื้นที่น้ำท่วมของจังหวัดขยายวงมากขึ้น และประเมินตัวเลขว่า อาจมีน้ำท่วมสูงถึง 10 อำเภอ และสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้อาจจะเท่ากับเมื่อปี 2549 จึงขอให้ชาวบ้านเร่งขนย้ายสิ่งของตลอดจนสัตว์เลี้ยงหนีน้ำ โดยเบื้องต้นขอให้ผู้ประสบภัยแจ้งผ่าน อบต. และอำเภอ ในพื้นที่ เพื่อจะได้ใช้ความช่วยเหลือได้ทัน และขอให้ติดตามการแจ้งเตือนภัยจากทางจังหวัดตลอดเวลา เพื่อจะได้เตรียมรับมือได้ทัน




--------------------------------------------------------------------------------------
ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มเข้าท่วมสิงห์บุรี [ ไทยรัฐ : 6 ต.ค. 52 ]

        วันนี้ (6ต.ค.) ที่จังหวัดสิงห์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเข้าท่วมในบางพื้นที่ในจังหวัดสิงห์บุรีบางแล้ว ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดสิงห์บุรี 2,056 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที ที่อำเภอเมืองสิงห์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้สูงขึ้นจนถึงท่อน้ำทิ้งของทางเทศบาล นายไสวรินทร์ ศรีชำนิ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ต้องสั่งปิดประตูทางระบายน้ำแล้วใช้เครื่องสูบน้ำสูบออก ที่อำเภออินทร์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้สูงขึ้นจนท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ติดกับ แม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 6 ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนประมาณ 30 หลังคาเรือน ที่หมู่ที่ 6 ในเขตเทศบาลตำบลอินทร์บุรี ระดับน้ำได้เอ่อเข้าท่อระบายน้ำ และแนวกั้นน้ำของทางเทศบาล นายสมพร ตระกูลมาภรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลอินทร์บุรี ได้สั่งเสริมแนวกระสอบทรายตามแนวที่ระดับน้ำที่เอ่อล้น และนำเครื่องสูบน้ำจำนวน 2 เครื่องสูบน้ำออกจากตลาดเทศบาล

--------------------------------------------------------------------------------------
กรมศิลป์ฯ รับมือน้ำท่วมมรดกโลกอยุธยา หวั่น 20 แห่งจมใต้น้ำ [ สำนักข่าวไทย : 7 ต.ค. 52 ]

นายเอนก สีหามาตย์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมแหล่งโบราณสถานในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า ขณะนี้กรมศิลปากรเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกรมชลประทานได้ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนต่าง ๆ 2,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม.) ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงและไหลแรงมาก จะส่งผลกระทบขอบตลิ่งที่มีแหล่งโบราณสถานตั้งอยู่ ส่วนวัดที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากขณะนี้คือ วัดธรรมาราม น้ำเข้าท่วมบริเวณวัด เจ้าหน้าที่จึงได้นำกระสอบทรายมากั้น และติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากพื้นที่แล้ว

สำหรับสถานการณ์หน้าวัดไชยวัฒนาราม ไม่น่าห่วง เพราะระดับน้ำยังเหลืออีก 30 เซนติเมตร ถึงจะถึงสันเขื่อนของวัด แต่เป็นการไม่ประมาทกรมศิลปากรได้ติดตั้งพนังกั้นน้ำขนาดสูง 5 เมตร รองรับไว้แล้วเพื่อป้องกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะขึ้นสูงสุดในวันที่ 9 ต.ค. จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษทั้งป้อมเพชร หมู่บ้านโปรตุเกส หมู่บ้านฮอลันดา พร้อมทั้งได้เตรียมกระสอบทรายกั้นน้ำรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดด้วย

นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก กำลังสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งระหว่างเดือน ต.ค.-พ.ย.ของทุกปีและจะไหลเข้าท่วมพื้นที่แหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาในเขตเกาะเมืองเก่าและพื้นที่นอกเกาะเมืองไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งบนที่ราบลุ่มต้องจมอยู่ใต้น้ำไม่ต่ำกว่า 1.20 เมตร ทำให้กรมศิลปากรต้องจัดระบบป้องกันน้ำท่วมโบราณสถาน และเสริมความมั่นคงของฐานรากกันการกัดเซาะของน้ำ มีการติดตั้งระบบกำแพงสำเร็จรูปยกถอดชั่วคราวและเครื่องสูบน้ำ ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้กรมศิลปากร เตรียมป้องกันน้ำท่วมไว้แล้ว และในวันพรุ่งนี้ (8 ต.ค.นี้) ตนจะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแหล่งโบราณที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมใน จ.พระนครศรีอยุธยาด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------

มท.1 ตรวจน้ำท่วมอ่างทอง สั่งผู้ว่าฯ ลงพื้นที่ดูแลประชาชน [ สำนักข่าวไทย : 7 ต.ค. 52 ]

วันนี้ (7 ต.ค.) นายชวรัตน์  ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง โดยมี นายวิศว  ศศิสมิต ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง  รายงานสถานการณ์ว่า จังหวัดอ่างทอง ได้ประกาศให้ ต.จำปาหล่อ ต.บ้านอิฐ  อ.เมืองอ่างทอง และ ต.โผงเผง  อ.ป่าโมก เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยมีประชาชนได้รับความเดือนร้อน 282 ครอบครัว จำนวน 942 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 2,217 ไร่

จากนั้น นายชวรัตน์ ได้มอบนโยบายในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยว่า ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันทั้งระดับจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวดเร็ว ทันท่วงที เฝ้าติดตามรายงานอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ และระดับน้ำในแม่น้ำอย่างใกล้ชิด

ส่วนการช่วยเหลือ  ก่อนและหลังน้ำท่วม ให้เตรียมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งของบรรเทาทุกข์ อาหาร น้ำดื่ม และยารักษาโรคไว้ให้พร้อม ร่วมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงจัดทีมแพทย์ เครื่องอุปโภค บริโภค และน้ำดื่มให้เพียงพอ  หลังจากน้ำลดแล้วให้สำรวจความเสียหายที่แท้จริง พื้นที่นา สวน ปศุสัตว์ และประมง  เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือจากงบฯ 50 ล้านบาท ตามระเบียบกระทรวงการคลัง รวมทั้งให้เร่งซ่อมแซม สิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน สะพาน ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว.-สำนักข่าวไทย

--------------------------------------------------------------------------------------
กรมชลฯ ยืนยันน้ำท่วมไม่รุนแรงเท่าปี 49 [ ครอบครัวข่าว : 7 ต.ค. 52 ]

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะได้เดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นน้ำด้านเหนือ ก่อนที่น้ำจะไหลลงมายังกรุงเทพมหานคร พบว่า ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,186 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อน ซึ่งจะขึ้นสูงสุดในคืนวันนี้ ที่ระดับ 2,115 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน เมื่อปี 2549 พบว่า ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ น้อยกว่าเมื่อปี 2549 (น้ำท่วมหนัก) ถึง 1,709 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาน้อยกว่าปี 2549 จำนวน 708 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อดูปริมาณน้ำจากเขื่อนพระราม 6 ที่จะไหลเข้ามาสมทบในแม่นำเจ้าพระยา ก็มีเพียง 544 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และที่สำคัญ แนวโน้มปริมาณน้ำเริ่มทรงตัว และลดลง ทำให้กรมชลประทาน มั่นใจหากไม่มีพายุ หรือฝนตกหนักขึ้นอีก น้ำเหนือที่ไหลหลากในแม่น้ำเจ้าพระยาปีนี้จะไม่กระทบต่อกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งจากระดับน้ำดังกล่าวจะทำให้มีน้ำไหลผ่านกรุงเทพที่ระดับ 1,915 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่แม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรองรับน้ำได้ถึง 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถึงจะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพและปริมณฑล

อย่างไรก็ดีพื้นที่ราบลุ่มช่วงท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมา โดยเฉพาะแถบอำเภอพรมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง จะได้รับผลกระทบจากการเร่งระบายน้ำของเขื่อน แต่ระดับน้ำจะขึ้นอีกไม่เกิน 15 เซนติเมตรในช่วงวันนี้และพรุ่งนี้ จากนั้นระดับน้ำจะลดลง แต่เพื่อความไม่ประมาท ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากมีเหตุฉุกเฉิน ทางกรมชลประทานจะรีบแจ้งให้ทราบทันที

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ บอกว่า จากการลงพื้นที่สถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วง กรมชลประทานสามารถบริหารจัดการน้ำได้ แต่สิ่งที่ห่วงและได้สั่งการให้เร่งดำเนินการ คือการช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากพายุกิสน่า ที่ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 500,000 ไร่ โดยได้สั่งการให้ใช้งบฉุกเฉินของแต่ละจังหวัด เร่งเข้าช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัย หากไม่พอให้ร้องเข้าไปที่กระทรวง ซึ่งปลัดกระทรวงมีงบที่จะสนับสนุนอีก 50 ล้านบาท หากยังไม่พอก็พร้อมที่จะของบกลางเพิ่มเติม เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนทำได้รวดเร็ว

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมบ้านหมี่ ลพบุรี เริ่มวิกฤต [ เนชัี่น : 7 ต.ค. 52 ]

สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดลพบุรีเริ่มเข้าขั้นวิกฤตทุกขณะแล้ว หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำออกจากท้ายเขื่อนจำนวนมาก ประกอบกับน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดสัปห์ดาที่ผ่านมา ทำให้อำเภอบ้านหมี่เกือบจมบาดาลแล้ว
จากการออกสำรวจพื้นที่ริมฝังของคลองป่าสัก-ชัยนาท อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ที่เป็นเส้นทางน้ำหลักในการผันน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท ที่ระบายน้ำออกมาสู่ท้ายเขื่อนกว่า 2000ลูกบาตรเมตรต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนแล้วใน 10ตำบล 65 หมู่บ้าน จำนวน 4470 หลังคาเรือน มีพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายแล้ว56278 ไร่
จากการลงพื้นที่กรวดน้ำท่วมของนายอานนท์ ศรีรัตน์ นายอำเภอบ้านหมี่ ได้ลงตรวจสอบพื้นที่พบว่า ระดับน้ำยังของเพิ่มสูงขึ้นทุกๆชั่วโมง โดยน้ำขึ้นชั่วโมงละ 1-5 ซม. โดยระดับน้ำที่ท่วมสูงและวิกฤตมากที่สุดอยู่ที่ ตำบลหนองเมือง ตำบลพุคา ตำบลหินปัก ตำบลหนองทรายขาว ที่มีระดับน้ำสูงถึง 80 ซมถึง 1 เมตรแล้ว ทำให้ถนนเข้าหมู่บ้านเกือบทุกสายรถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้แล้ว การสัญจรต้องใช้เรือเพียงอย่างเดียว

--------------------------------------------------------------------------------------
ระดับน้ำจ่อท่วมอุทยานอยุธยา [ ไทยโพสต์ : 7 ต.ค. 52 ]

     นายเอนก   สีหามาตย์  ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่  3  พระนครศรีอยุธยา  กรมศิลปากร  ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่  7  ตุลาคมนี้  ถึงสถานการณ์น้ำท่วมแหล่งโบราณสถานในพื้นที่  จ.พระนครศรีอยุธยา  ว่า  ขณะนี้กรมศิลปากรเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด  เนื่องจากกรมชลประทานได้ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนต่างๆ  2,100  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงและไหลแรงมาก  จะส่งผลกระทบขอบตลิ่งที่มีแหล่งโบราณสถานตั้งอยู่

     ผอ.สำนักศิลปากรที่  3  กล่าวว่า  วัดที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากขณะนี้คือ  วัดธรรมาราม  น้ำเข้าท่วมบริเวณวัด  เจ้าหน้าที่จึงได้นำกระสอบทรายมากั้น  และติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากพื้นที่แล้ว   สำหรับสถานการณ์หน้าวัดไชยวัฒนารามไม่น่าห่วง  เพราะระดับน้ำยังเหลืออีก  30   เซนติเมตร  จึงจะถึงสันเขื่อนของวัด  แต่เพื่อความไม่ประมาท  กรมศิลปากรได้ติดตั้งพนังกั้นน้ำสูง  5  เมตรรองรับไว้แล้ว  เพื่อป้องกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะขึ้นสูงสุดในวันที่  9  ต.ค.  จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ  ทั้งป้อมเพชร  หมู่บ้านโปรตุเกส  หมู่บ้านฮอลันดา  พร้อมทั้งได้เตรียมกระสอบทรายกั้นน้ำรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดด้วย

     ด้านนายธีระ   สลักเพชร  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า  ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา   แม่น้ำลพบุรี  และแม่น้ำป่าสัก  กำลังสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง  ซึ่งระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปี   น้ำจะไหลเข้าท่วมพื้นที่แหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาในเขตเกาะเมืองเก่า   และพื้นที่นอกเกาะเมืองไม่ต่ำกว่า  20  แห่ง  โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งบนที่ราบลุ่มต้องจมอยู่ใต้น้ำไม่ต่ำกว่า   1.20  เมตร  ทำให้กรมศิลปากรต้องจัดระบบป้องกันน้ำท่วมโบราณสถาน   และเสริมความมั่นคงของฐานรากกันการกัดเซาะของน้ำ  มีการติดตั้งระบบกำแพงสำเร็จรูปยกถอดชั่วคราว   และเครื่องสูบน้ำ  ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้กรมศิลปากรเตรียมป้องกันน้ำท่วมไว้แล้ว  นอกจากนี้  วันที่  8  ต.ค.นี้  จะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแหล่งโบราณที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมใน  จ.พระนครศรีอยุธยาด้วย

     ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพพื้นที่   จ.สิงห์บุรี  หลังจากเขื่อนเจ้าพระยา  จ.ชัยนาท  เพิ่มการระบายน้ำที่  2,115  ลบ.เมตร/วินาที  ส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเอ่อท่วม  2  หมู่บ้านริมฝั่งที่   ต.ท่างาม  อ.อินทร์บุรี  ประมาณ  40  หลังคาเรือน  รวมทั้งวัดกำแพง  ชาวบ้านเร่งขนย้ายสิ่งของและสัตว์เลี้ยงมาไว้ริมคลองชลประทาน    พร้อมสร้างเพิงพักชั่วคราวเตรียมไว้   เพราะไม่มั่นใจสถานการณ์น้ำอาจเพิ่มสูงขึ้น  ประกอบกับบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียว

     ด้านศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ  กรมชลประทาน  ประสานมายังจังหวัดให้แจ้งเตือนพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างรับมือน้ำเหนือไหลหลาก  ช่วงวันที่  8-9  ตุลาคม

     ส่วนตลาดบ้านแพน   อ.เสนา  จ.พระนครศรีอยุธยา  เช้าวันที่  7  ต.ค.  แม่น้ำน้อยสูงขึ้นอีก  10  ซม.  ซึ่งเป็นผลมาจากการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อคืนที่ผ่านมา  โดยน้ำเอ่อท่วมถนนเสนานาวินและถนนริมแม่น้ำ  ชาวบ้านเตรียมป้องกันน้ำเข้าตัวบ้าน  และเทศบาลเมืองเสนาหาทางป้องกันพื้นที่สำคัญไว้แล้ว

     นายประเทือง  จักษ์ทอง  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล  กล่าวว่า  ระดับที่ขึ้นขณะนี้ยังไม่น่าห่วง  เนื่องจากเป็นการจัดการน้ำตามระบบ  แต่จะส่งผลกับประชาชนริมแม่น้ำ   คาดว่า  3-4  วันนี้น้ำจะขึ้นอีกไม่เกิน  20  ซม.  และจะลดลงอย่างรวดเร็ว   แต่ถ้ามีอิทธิพลจากพายุ  มีต้นทุนน้ำเหนือเขื่อนเพิ่มขึ้นจะทำให้น้ำสูงขึ้นกว่านี้

     จ.อ่างทอง  แม่น้ำเจ้าพระยายังคงล้นตลิ่งท่วมเป็นบริเวณกว้าง  ล่าสุดท่วมเกือบ  200  หลังคาเรือน  ใน  2  อำเภอ  คือ  อ.เมืองบางส่วน  ที่  ต.จำปาหล่อ  และ  อ.ป่าโมก  ที่  ต.โผงเผง  ชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจร.

--------------------------------------------------------------------------------------
ลพบุรี-ผู้ว่าฯประกาศพื้นที่ภัยพิบัติที่บ้านหมี่หลังน้ำท่วมยังเพิ่มสูงขึ้นกว่า 1 เมตร [ ครอบครัวข่าว : 8 ต.ค. 52 ]

ภายหลังจากมีการเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีการระบายสูงถึง 2100 ลูกบาตรเมตรต่อวินาทีและมีการผันน้ำ ลงสู่คลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ในช่วง ที่ผ่านมา และในวันนี้ถือว่าทางเขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำออกมามาก ประกอบกับ ปริมาณน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ อ.โคกสำโรง ได้ไหลลงสู่พื้นที่ราบต่ำใน อ.บ้านหมี่ ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมเริ่มขนายวงกว้าง เบื้องต้นมีบ้านเรือนประชาชน 65 บ้าน ใน 10 ตำบล ได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีระดับน้ำสูงจากพื้นนาที่ 1.50 เมตรแล้ว ขณะที่ระดับน้ำในบ้านเรือนชาวบ้านอยู่ที่ประมาณ 50-80 ซม. ทำให้การเดินทางเข้าออกบ้านของชาวบ้านต้องใช้เรือในการสัญจรแล้ว ซึ่งทางอำเภอต้องแจกจ่ายเรือให้กับชาวบ้านเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นก่อน

ขณะที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาทางนายอานนท์ ศรีรัตน์ นายอำเภอบ้านหมี่ จ.ลพบุรี ได้ลงเรือของชาวบ้าน เพื่อสำรวจความเสียหาย โดยในเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ทางการเกษตร โดยเฉพาะนาข้าวที่รอการเก็บเกี่ยว รวมถึงพืชไร่ สวนผลไม้ และแปลงผักของเกษตรกร รวมกว่า 56,000 ไร่ ต้องจมอยู่ใต้น้ำ ล่าสุดทางจังหวัดได้ประกาศให้อำเภอบ้านหมี่ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ จากอุทกภัย ทั้งอำเภอแล้ว

ขณะที่ด้านการช่วยเหลือตลอด ทั้งวัน ทั้งคืน กำลังทหารจากทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศในพื้นที่ กว่า 200 นาย จาก หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ศูนย์การบินทหารบก กองพลทหารปืนใหญ่ มณฑลทหารบกที่ 13 และกองทัพอากาศ กองบิน 2 ยังคงปักหลักช่วยเหลือชาวบ้าน และจนท.ชลประทาน นำกระสอบทราบ เร่งเสริมทำคันกันน้ำ ตามจุดเสียงต่างๆ เพื่อไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนซ้ำอีก หลังพบว่าระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง




--------------------------------------------------------------------------------------
แม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเอ่อท่วมบ้านเรือน อ.สามโคก ปทุมฯ [ ข่าวสด : 8 ต.ค. 52 ]

เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการรายงานข้อมูลการระบายน้ำของชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ปริมาณน้ำ ในแม่น้ำที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะเพิ่มสูง ส่วนในพื้นที่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานีในวันนี้ ทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพื้นที่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ก็เริ่มสูงขึ้นและเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัย อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ที่ชุมชนตลาดบางเตย อ.สามโคก น้ำเอ่อท่วมชาวบ้านที่จับจ่ายซื้อของในตลาดต้องเดินลุยน้ำ ในส่วนวัด,โรงเรียน และบ้านเรือนประชาชน ต่างเตรียมขนย้ายข้าวของไว้ในที่สูง และกรอกทรายใส่กระสอบเพื่อกั้นน้ำที่เริ่มเอ่อท่วมเข้าพื้นที่ อีกทั้งเฝ้าระวังดูระดับซึ่งในวันนี้น้ำท่วมขึ้นเร็วกว่าปกติ และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือและดูแลชาวบ้านหากเกิดเหตุน้ำท่วมอย่างฉุกเฉินและรวดเร็ว

ด้านนายชาญ  พวงเพ็ชร นายกองค์การบริหารส่วนจ.ปทุมธานี เปิดเผยว่า ได้ประสานงานกับทางหน่วยงานในพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง ดูระดับน้ำและปริมาณน้ำที่เริ่มเอ่อท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ อ.สามโคก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมรับมือและดำเนินการนำกระสอบทรายมากั้นในส่วนริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันน้ำที่จะท่วมเข้าพื้นที่ และได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันเฝ้าระวังด้วยอีกทาง

--------------------------------------------------------------------------------------
อ.บ้านหมี่ลพบุรีประกาศพท.ภัยพิบัติ [ INN News : 8 ต.ค. 52 ]

วันที่ 8 ตุลาคม 2552 สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ลพบุรี หลายพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตร ล่าสุด อ.บ้านหมี่ ถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยทั้งอำเภอแล้ว
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายอานนท์ ศรีรัตน์ นายอำเภอบ้านหมี่ จ.ลพบุรี ได้นำเจ้าหน้าที่ลงเรือของชาวบ้าน เพื่อสำรวจความเสียหายจากน้ำท่วมในพื้นที่ของ ต.หนองเมือง และ ต.พุคา ที่มีระดับน้ำท่วมสูงอยู่ในขณะนี้ โดยในเบื้องต้นพบว่าพื้นที่ทางการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าวที่รอการเก็บเกี่ยว รวมถึงพืชไร่สวนผลไม้และแปลงผักของเกษตรกรได้รับความเสียหายแล้ว กว่า 56,000 ไร่ ก็จมอยู่ใต้น้ำบ้านเรือนชาวบ้านได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 70 หมู่บ้านใน 10 ตำบล

ล่าสุดทาง จ.ลพบุรี ได้ประกาศให้ อ.บ้านหมี่ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัยทั้งอำเภอแล้ว


--------------------------------------------------------------------------------------
ปลิงควายอาละวาด-ทะลักมากับน้ำท่วมปทุม [ เนชั่น : 9 ต.ค. 52 ]

ผู้สื่อข่าวรับแจ้งจากชาวบ้านในเขตพื้นที่ ต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ว่ามีปลิงควายตัวขนาดใหญ่ ลอยมากับน้ำท่วม และได้กระจายไปในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ผวา ไม่กล้าให้บุตรหลานลงเล่นน้ำ เมื่อทราบดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงรุดไปตรวจสอบ พบนายประสิทธิ์ ใจขำ อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26/1 ม.6 ต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี พร้อมทั้งน้ำปลิงควายตัวขนาดใหญ่ที่จับไว้ได้มาให้กับสื่อข่าวดู
นายประสิทธิ์ ใจขำ กล่าวว่า ช่วงระยะนี้เป็นช่วงที่น้ำเหนือไหลบ่าลงมาในพื้นที่ทำให้น้ำหลากเข้ามาตามบ้านเรือนของประชาชน และในช่วงนี้มีปลิงควาย ที่คาดว่ามากับน้ำเหนือ ได้กระจายหากินอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก มีประชาชนหลายคนรวมทั้งบุตรหลานที่เดินลุยน้ำ มักจะโดนปลิงเกาะดูดเลือดกันบ่อยครั้ง จนทำให้ชาวบ้านรู้สึกผวา และหวาดกลัวเป้นอย่างมาก
ทั้งนี้ อาจจะเป็นไปได้ว่า แต่เดิมปลิงความเหล่านี้ อาจจะอาศัยอยู่ตามบึงหนองเล็กๆ แต่พอน้ำเหนือบ่าเข้ามา ก็อาจจะทำให้ปลิงเหล่านี้ทะลักออกมา แต่จริงๆแล้วก็ยังเชื่อว่า ปลิงเหล่านี้อาจจะมากับน้ำก็เป็นได้ ในระยะนี้ชาวบ้านย่านนี้ต่างก็ระวังตัวและตักเตือนบุตรหลานไม่ให้ลงเล่นน้ำเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้าท่วมอ่างทอง

สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดอ่างทองวันนี้ น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยายังไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนอย่างต่อเนื่องล่าสุดเข้าท่วมแล้วเกือบ 200 หลังคาเรือน ใน2 อำเภอคือ อ.เมือง อยู่ที่หมู่ที่ 1 ต.จำปาหล่อ ประมาณ 10 หลังคาเรือน และในอ.ป่าโมก ต.โผงเผง หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6 เกือบ 200 หลังคาเรือน ทำให้ประชาชนต้องหาเรือมาเป็นยานพาหะนะในการเข้าออกบ้านบางคนที่ไม่มีเรือก็ต้องเดือนลุยน้ำกันอย่างทุลักทุเล ในส่วนของความเสียหายนั้นตอนนี้ประชาชนที่ทำการปลูกสวนกล้วยต่างได้รับผลกระทบแล้วหลายสิบไร่ และวันเดียวกันนี้วันนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอ่างทองได้แจ้งว่า เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทระบายน้ำ ปริมาณ 2,115 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งระบายน้ำสูงกว่าเมื่อวาน 59 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ทำให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดอ่างทอง มีระดับน้ำล้นตลิ่งอยู่ที่อำเภอป่าโมก สูงกว่าตลิ่ง 43 เซนติเมตร นอกนั้นที่อำเภอเมือง บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ระดับตลิ่งสูง 7.50 เมตร ระดับน้ำสูง 7.20 เมตร สูงกว่าเมื่อวาน 0.13 เมตร ส่วนที่อำเภอไชโย ระดับตลิ่งสูง 9 เมตร ระดับน้ำสูง 7.70 เมตร
สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก สามารถบรรจุน้ำได้ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 8,361 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณร้อยละ 62 เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถบรรจุน้ำได้ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 5,878 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณร้อยละ 62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเย็นวันนี้เวลาประมาณ 15.00 น. รัฐมนตรีมหาดไทย จะเดินทางลงตรวจพื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดอ่างทอง

--------------------------------------------------------------------------------------
สรุปสถานการณ์น้ำท่วมภาคกลาง [ ครอบครัวข่าว : 9 ต.ค. 52 ]

สำหรับสถานการณ์น้ำที่ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก ที่ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนอยู่ในขณะนี้ ปรากฏว่าน้ำก้อนสุดท้ายที่หนักที่สุดในแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ได้ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มาแล้ว เมื่อวานนี้ทำให้วันนี้ทางเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทเร่งระบายน้ำออกจากท้ายเขื่อน จำนวน 2,017 ลบ.ม./วินาที และจะระบายลดลงเรื่อยๆ เพราะน้ำเริ่มลดลง คาดว่า 1-2 วันนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะอยู่ในภาวะปกติ แต่ทั้งนี้ต้องดูตัวแปรคือการก่อตัวของพายุลูกใหม่ด้วย

สถานการณ์น้ำที่หนักที่สุดคงหนีไม่พ้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางจังหวัดโดยนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระดมหน่วยงานทุกภาคส่วน รับมือน้ำที่จะท่วมแหล่งโบราณสถานล้ำค่า อย่างเต็มที่ เวลานี้น้ำยังคงท่วมในอีกหลายพื้นที่

ส่วนที่จังหวัดอ่างทองที่ต้องรับน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ปีนี้ถือ ว่าทางจังหวัดเตรียมรับมืออย่างดี เพราะว่ามีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอป่าโมก น้ำยังคงท่วมตำบลโผงเผง ตำบลจำป่าหล่อ และตำบล บ้านอิฐ มีพื้นที่การเกษตรเสียหาย จำนวน 2,217 ไร่ บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 282 ครอบครัวและเวลาน้ำเริ่มลดระดับลงแล้ว หลายหน่วยงานเริ่มเข้าฟื้นฟูให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ล่าสุดสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระองค์ นำชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย ช่วยผู้ประสำอุทกภัย จำนวน 500 ชุด น้ำดื่มโครงการน้ำทิพย์ปันน้ำใจให้กาชาด จำนวน 6,000 ขวด ไปมอบให้ผู้ประสพอุทกภัยในเขตอำเภอป่าโมก ขณะที่พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยาภา ประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทยโปรดให้นำรถโมบายประกอบอาหารเคลื่อนที่ของมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ทำอาหารแจกจ่ายให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยน้ำในพื้นที่ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก สร้างความปลื้มปิติแก่พระสกนิกรอย่างมากโดยมี นาย วิศวะ ศศิสมิต ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมนางศรีพรรณ ศศิสมิต นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอ่างทอง ให้การต้อนรับ จากนั้นทางสภากาชาดไทยได้นำถุงยังชีพ ไปแจกจ่ายผู้ประสบภัยที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อไป

ขณะที่จังหวัดสิงห์บุรี สถานการณ์น้ำท่วมมี 2 อำเภอ 8 ตำบล 31 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จำนวน 900 ครัวเรือน ซึ่งในขนาดนี้ระดับน้ำยังคงทรงตัวอยู่ แต่ชาวบ้านก็ยังวิตกอยู่ ล่าสุดนายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ได้นำถุงยังชีพ เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 250 ชุดไปแจกจ่าย ในพื้นที่ 5 ตำบล 30 หมู่บ้านมีชาวบ้านจำนวน 981 ครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วมบ้านเรือนมารอรับ

ส่วนที่ จ.นครสวรรค์ หลังจากที่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มลดระดับลง ชาวบ้านริมบึงบอระเพ็ดพลิกวิกฤตเป็นโอกาส นำเบ็ดมาตกปลาที่บริเวณหน้าบึงบอระเพ็ด เพราะว่าปลาจากบึงบอระเพ็ดว่ายทวนน้ำ เพื่อจะไปวางไข่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีฝูงปลาจำนวนนับล้านตัว ลอยคอหน้าบึงชาวบ้านใช้เบ็ดฝรั่งไม่ต้องใช้เหยื่อ สามารถเกี่ยวเอาปลาขึ้นมาจากน้ำได้สบาย สามารถนำไปขายสร้างรายได้วันละนับพันบาท โดยมีพ่อค้า แม่ค้า จากร้านอาหาร มาคอยรับซื้อปลาแดง ปลาเนื้ออ่อน ปลาบึก ปลากดคัง กิโลกรัมละ 200-300 บาทเลยทีเดียว แต่ละวันจะมีชาวบ้านมาตกปลาวันละหลายร้อยคน

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมอ่างทองยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ [ ไทยรัฐ : 10 ต.ค. 52 ]

น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักผ่านเขื่อนบางแก้ว ส่งผลบ้านเรือนราษฎร ถูกน้ำท่วม ขณะระดับน้ำเจ้าพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา ยังเพิ่มสูงขึ้น ...

สถานการณ์น้ำที่จังหวัดอ่างทอง ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะที่ตำบลโผงเผง น้ำยังท่วมสูง แม้ว่าเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จะลดการระบายน้ำลงแล้ว และล่าสุดน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยายังไหลทะลักผ่านเขื่อนบางแก้ว  ทำให้บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วม ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา  น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นทำให้ อ.บางบาล อ.เสนา และ อ.ผักไห่ เริ่มประสบปัญหาน้ำท่วม ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ ลดการระบายน้ำออกจากเขื่อนเหลือเพียงวันละ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร จากเดิมที่ปล่อยน้ำวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร  เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชนในพื้นที่ภาคกลาง ที่กำลังประสบภาวะน้ำท่วม อยู่ในขณะนี้


--------------------------------------------------------------------------------------
ประตูระบายน้ำพัง น้ำท่วมหนักในอยุธยา [ ฐานเศรษฐกิจ : 13 ต.ค. 52 ]

บ้านเรือนและพื้นที่เกษตรใน อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง หลังประตูระบายน้ำใน ต.ตะกรูพัง ประตูระบายน้ำในตำบลตะกรู อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับความเสียหาย หลังฝนตกติดต่อกัน นอกจากนี้น้ำในเขื่อนเจ้าพระยาได้ระบายลงมาในแม่น้ำป่าสัก ก่อนไหลลงแม่น้ำน้อย ทำให้ปริมาณน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ขณะที่โรงเรียนแห่งหนึ่งเตรียมประกาศหยุดเรียนชั่วคราวแล้ว

ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสั่งทุกอำเภอให้ตรวจสอบโรงเรียนและพื้นที่น้ำท่วม พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวังและเก็บของขึ้นที่สูง โดยล่าสุดน้ำได้ไหลลงเข้าท่วมอำเภอผักไห่แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสพภัยน้ำท่วม [ ครอบครัวข่าว : 14 ต.ค. 52 ]

วันนี้(14/10/52) เวลา 09.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ที่ปรึกษาโครงการภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการมอบสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค และข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น ให้กับประชาชนชาว ต.บ้านโพธิ์ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 640 ชุด ที่บริเวณวัดบ้านเลนสระกระจับ ต.บ้านโพธิ์

นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ที่ปรึกษาโครงการภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างต่อเนื่อง และทรงเป็นห่วงประชาชนที่ถูกน้ำท่วม จึงมีรับสั่งให้ตนเองนำสิ่งของพระราชทานมามอบให้กับประชาชน เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น ซึ่งในวันนี้เหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้นำชุดยารักษาโรคมาแจกจ่ายประชาชนที่ถูกน้ำท่วมด้วย

สำหรับพื้นที่ ต.บ้านโพธิ์ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ และมุสลิม อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว และถูกน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมมานานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว โดยเบื้องต้น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ และอำเภอบางปะอิน ได้ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยการทำสะพานไม้ และนำกระสอบทรายไปทำแนวป้องกันน้ำท่วม แต่ด้วยสภาพพื้นที่ดังกล่าวจะถูกน้ำท่วมทุกปี ชาวบ้านจึงมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าแล้ว


--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th/
  • ครอบครัวข่าว : http://www.krobkruakao.com
  • ข่าวสด : http://www.khaosod.co.th