บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตุลาคม 2553)

ภาพดาวเทียม GOES-9

1/10/2553

2/10/2553

3/10/2553

4/10/2553

5/10/2553

6/10/2553

7/10/2553

8/10/2553

9/10/2553

10/10/2553

11/10/2553

12/10/2553

13/10/2553

14/10/2553

15/10/2553

16/10/2553

17/10/2553

18/10/2553

19/10/2553

20/10/2553

จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าช่วงต้นเดือนประมาณวันที่ 1-5 ต.ค. มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวัีนออก รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกหนัก หลังจากนั้นกลุ่มเมฆได้ลดปริมาณลง ต่อมาในช่วงวันที่ 9-19 ต.ค. มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่มีกลุ่มเมฆหนา ปกคลุมอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำมีน้ำป่าไหลเข้าท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ สระแก้ว ปราจีนบุรี หลังจากวันที่ 19 ต.ค. ปริมาณเมฆในพื้นที่ตอนบนของประเทศลดน้อยลง ตรงกันข้ามกับพื้นที่ภาคใต้ที่มีกลุ่มเมฆหนาปกคลุมเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

1/10/2553

2/10/2553

3/10/2553

4/10/2553

5/10/2553

6/10/2553

7/10/2553

8/10/2553

9/10/2553

10/10/2553

11/10/2553

12/10/2553

13/10/2553

14/10/2553

15/10/2553

16/10/2553

17/10/2553

18/10/2553

19/10/2553

20/10/2553

21/10/2553

22/10/2553

23/10/2553

24/10/2553

25/10/2553

26/10/2553

27/10/2553

28/10/2553

29/10/2553


30/10/2553


จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝนตกค่อนข้างมากบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก รวมถึงภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพเรดาร์
เรดาร์สกลนคร รัศมี 240 กิโลเมตร (กรมอุตุนิยมวิทยา)

1/10/2553
12:38GMT

2/10/2553
17:38GMT

3/10/2553
02:38GMT

4/10/2553
03:38GMT

5/10/2553
03:38GMT

10/10/2553
23:38GMT

11/10/2553
11:38GMT

12/10/2553
11:38GMT

14/10/2553
22:38GMT

15/10/2553
05:38GMT

16/10/2553
17:38GMT

17/10/2553
05:38GMT

18/10/2553
20:38GMT

19/10/2553
02:38GMT
dBz
เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 120 กิโลเมตร (กรมอุตุนิยมวิทยา)

1/10/2553
10:33GMT

2/10/2553
10:33GMT

3/10/2553
10:33GMT

4/10/2553
05:33GMT

5/10/2553
06:33GMT

10/10/2553
17:33GMT

11/10/2553
00:33GMT

12/10/2553
11:33GMT

13/10/2553
15:33GMT

14/10/2553
13:33GMT

15/10/2553
14:33GMT

16/10/2553
11:33GMT

17/10/2553
11:33GMT

19/10/2553
04:33GMT
dBz
เรดาร์พิมาย รัศมี 240 กิโลเมตร (สำนักงานฝนหลวงและการบินเกษตร)

1/10/2553
19:00 LocalTime

2/10/2553
16:00 LocalTime

3/10/2553
16:00 LocalTime

6/10/2553
16:00 LocalTime

10/10/2553
16:00 LocalTime

11/10/2553
08:00 LocalTime

12/10/2553
07:00 LocalTime

13/10/2553
14:00 LocalTime

14/10/2553
19:00 LocalTime

15/10/2553
15:00 LocalTime

16/10/2553
16:00 LocalTime

17/10/2553
16:00 LocalTime

18/10/2553
20:00 LocalTime

19/10/2553
20:00 LocalTime
dBz

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยาและสำนักงานฝนหลวงและการบินเกษตร (เรดาร์สกลนคร อุบลราชราชธานี และ พิมาย รัศมี 240 กิโลเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักช่วงวันที่ 1-5 และ 10-19 ต.ค.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 เรดาร์สกลนคร  เรดาร์อุบลราชธานี เรดาร์พิมาย

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา

1/10/2553
[12:00]

2/10/2553
[00:00]

3/10/2553
[12:00]

4/10/2553
[00:00]

5/10/2553
[12:00]

6/10/2553
[00:00]

7/10/2553
[00:00]

8/10/2553
[12:00]

10/10/2553
[12:00]

11/10/2553
[00:00]

12/10/2553
[00:00]

13/10/2553
[00:00]

14/10/2553
[12:00]

15/10/2553
[00:00]

16/10/2553
[00:00]

17/10/2553
[00:00]

19/10/2553
[00:00]

20/10/2553
[12:00]

21/10/2553
[00:00]

22/10/2553
[12:00]


จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. กลุ่มฝนกระจุกตัวค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดนครพนม หนองคาย มุกดาหาร อำนาจเจริญ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีั หลังจากนั้นกลุ่มฝนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ลดปริมาณลง และกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในวันที่ 11 ต.ค. โดยกระจุกตัวอยู่ที่บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาในวันที่ 12 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ครอบคลุมถึงพื้นที่ภาคตะวันออกตอนบนบริเวณจังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี โดยกระจุกตัวต่อเนื่องจนถึงวันที่ 16 ต.ค. หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. ปริมาณฝนได้เริ่มลดลง และในวันที่ 19 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น หลังจากนั้นปริมาณฝนได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดเพิ่มเติม


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายสัปดาห์จาก NASA

1/10/53[00Z]-8/10/53[00Z]

9/10/53[00Z]-16/10/53[00Z]

17/10/53[00Z]-24/10/53[00Z]

25/10/53[00Z]-31/10/53[00Z]

1/10/53[00Z]-31/10/53[00Z]
   

จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคม มีกลุ่มฝนกระจุำกตัวมากบริเวณภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้ลดปริมาณลงจนถึงสิ้นเดือน

ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ช่วงสัปดาห์แรกกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากบริเวณภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง ต่อมาในสัปดาห์ที่สองกลุ่มฝนในพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และในสัปดาห์ที่สามและสี่ปริมาณฝนโดยรวมทั้งประเทศลดลงค่อนข้างมาก โดยยังมีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน และในบางพื้นที่ของภาคใต้

และหากพิจารณาปริมาณฝนรวมทั้งเดือน พบว่าเดือนตุลาคมมีฝนค่อนข้างมากบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


ค่าเฉลี่ยเดือนตุลาคม(2493-2540)

ตุลาคม 2553

ตุลาคม 2549





จากแผนภาพข้อมูลฝนสะสมช่วงเดือนตุลาคม พบว่าเดือนตุลาคม ปี 2553 ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และเพชรบูรณ์ มีฝนมากกว่าปี 2549 และมากกว่าค่าฝนเฉลี่ยเดือนตุลาคม จากค่าสถิติปี 2493-2540 ส่วนบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนน้อยกว่าปี 2549 แต่มากกว่าค่าฝนเฉลี่ยเืดือนตุลาคม จากค่าสถิติปี 2493-2540 ข้อมูลจากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมากในเดือนตุลาคม 2553 เป็นดังตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
จังหวัด
ปริมาณฝน
สะสมรายวัน(มม.) 
17/10/2553
ปากช่อง (1) นครราชสีมา
60.10
นครราชสีมา นครราชสีมา
52.60
สอท.ท่าตูม* สุรินทร์
50.80
14/10/2553
ศรีสะเกษ (1) ศรีสะเกษ
64.60
12/10/2553
นางรอง (2) บุรีรัมย์
113.50
สุรินทร์ สุรินทร์
63.30
5/10/2553
มุกดาหาร มุกดาหาร
64.80
4/10/2553
ปากช่อง (1) นครราชสีมา
73.70
หมายเหตุ : สีแดง หมายถึง ข้อมูลฝนที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลฝน 80-99 มิลลิเมตร

การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันเตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน (มม.)
ระดับการเตือนภัย
10/25/2010
6:00:00
ฝน04-05น.
ต.สังคม จ.หนองคาย                    42.0
เฝ้าระวังสูงสุด
10/19/2010
16:00:00
ฝน15-16น.
นครราชสีมา                    41.0
เฝ้าระวังสูงสุด
10/18/2010
20:00:00
ฝน07-20น.
ต.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์                    74.2
เฝ้าระวังสูงสุด
10/16/2010
22:00:00
ฝน07-22น.
ต.วังหมี จ.นครราชสีมา                    91.8
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.ท่าโรง จ.เพชรบูรณ์                    70.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
3:00:00
ฝน15/07-16/03น.
ต.ด่านจาก จ.นครราชสีมา                    90.2
เฝ้าระวังสูงสุด
10/15/2010
1:00:00
ฝน15/07-16/00น.
ต.โคกสะอาด จ.เพชรบูรณ์                    70.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/13/2010
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.น้ำอ้อม จ.ศรีสะเกษ                    49.4
วิกฤต
10/12/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.นางรอง จ.บุรีรัมย์                  113.5
วิกฤต
10/12/2010
1:00:00
ฝน12/07-13/00น.
ต.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์                    75.4
เฝ้าระวังสูงสุด

ข้อมูลระดับน้ำล้นตลิ่งจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน

(E.23)บ้านค่าย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
(ระดับตลิ่ง 8.3 ม.)

(E.9)บ้านโจด อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
(ระดับตลิ่ง 10.3 ม.)

(E.16A)บ้านท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
(ระดับตลิ่ง 9.3 ม.)

(E.91) อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
(ระดับตลิ่ง 11.7 ม.)

(E.8A)บ้านดินดำ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
(ระดับตลิ่ง 10.6 ม.)

(E.20A)แนวสะพาน อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
(ระดับตลิ่ง 9.5 ม.)

(M.6A)บ้านสตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
(ระดับตลิ่ง 5.42 ม.)

(M.5)บ้านเมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
(ระดับตลิ่ง 8.1 ม.)

(M.185)บ้านไผ่น้อย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
(ระดับตลิ่ง 6.2 ม.)

(M.7)สะพานเสรีฯ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
(ระดับตลิ่ง 6.3 ม.)

(M.42)บ้านห้วยทับทัน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ
(ระดับตลิ่ง 6.0 ม.)

(M.9)บ้านหนองหญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
(ระดับตลิ่ง 7.78 ม.)

(M.2A)บ.ด่านตะกา อ.เฉลิืมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
(ระดับตลิ่ง 5.2 ม.)

(M.89)สะพานอาคารเซรุ่ม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
(ระดับตลิ่ง 7.3 ม.)

(M.176)บ้านโนนศรีไศล อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
(ระดับตลิ่ง 9.49 ม.)

จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทานในลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งในหลายจุด โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในเขตลุ่มน้ำมูลที่มีน้ำท่วมค่อนข้างหนัก เช่น จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ จ.อุบลราชธานี

ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
เขื่อนจุฬาภรณ์

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 133.98 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 23.94 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 19 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 176 ล้าน ลบ.ม.(107%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 46 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนลำพระเพลิง

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 235.02 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 69.96 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 17 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 111 ล้าน ลบ.ม.(101%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 10 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนอุบลรัตน์

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 1,645.22 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 193.58 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 23 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค.=2,855 ล้านลบ.ม.(117%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 819 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนลำตะคอง

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 271.47 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 39.49 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 17 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 360 ล้าน ลบ.ม.(115%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 188 ล้าน ลบ.ม.

ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่


ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2553 เวลา 18.06 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครพนม สกลนคร และ หนองคาย ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2553 เวลา 18.18 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และ เพชรบูรณ์  
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม TERRA MODIS บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 8 และ 20 ตุลาคม 2553 แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้อมูลจากดาวเทียม TERRA MODIS บันทึกภาพเมื่อเวลา 10.55 น. วันที่ 20 ตุลาคม 2553 รายละเอียด 500 เมตร แบนด์ MID NIR RED แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำช    

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใ้่ช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 จัดทำโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

  • บันทึกภาพวันที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 18.06 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
  • บันทึกภาพวันที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 18.18 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ หนองคาย และอุดรธานี


  • บันทึกภาพวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา 05.47 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี




    แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปรียบเทียบช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2553 (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

    กันยายน 2553

    ตุลาคม 2553

    พฤศจิกายน 2553

    ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าเดือนตุลาคม 2553 จังหวัดที่มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ เพชรบูรณ์ และหากเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 พบว่าพื้นที่น้ำท่วมลดลง โดยยังคงมีน้ำท่วมอยู่ในพื้นที่ตอนกลางและตอนล่างของภาค รายละเอียดแสดงตามตารางด้านล่าง

    จังหวัด
    กันยายน
    ตุลาคม
    พฤศจิกายน
    นครราชสีมา   261,676   1,559,452   347,617
    ร้อยเอ็ด   139,564      591,363   144,669
    สุรินทร์      2,457      521,705   185,236
    ศรีสะเกษ     15,229      504,274   100,754
    ชัยภูมิ   205,142      473,768     21,545
    บุรีรัมย์         737      400,121     64,458
    ยโสธร   130,224      297,012     53,193
    ขอนแก่น     99,034      287,882   228,826
    อุบลราชธานี   124,509      262,487     33,736
    เพชรบูรณ์   190,950      238,227     69,840
    มหาสารคาม     21,046      145,921   100,173
    กาฬสินธุ์     35,114        94,839     47,867
    นครพนม   126,940        59,348           -  
    สกลนคร   106,622        45,681           -  
    อำนาจเจริญ     29,851        37,316      2,214
    หนองคาย   149,407        36,562           -  
    อุดรธานี   111,958        27,059           -  
    หนองบัวลำภู      2,511         1,045           -  
    เลย      2,377              -             -  

    ข่าวจากหนังสือพิมพ์

    --------------------------------------------------------------------------------------
    'บุรีรัมย์'อ่วม! น้ำทะลัก ข้าวแสนไร่ล่ม [ ไทยรัฐ : 26 ต.ค. 53 ]

    เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.บุรีรัมย์ ขณะนี้ยังขยายวงกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.พุทไธสง สตึก คูเมือง และแคนดง ที่อยู่ติดริมแม่น้ำมูล ระดับน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบ 2 เมตร ไหลบ่าเข้าท่วมนาข้าวของเกษตรกรในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง นาข้าวของเกษตรที่กำลังออกรวงได้ถูกน้ำท่วมแล้วใน 19 อำเภอ แล้วกว่า 400,000 ไร่ ในจำนวนนี้คาดว่านาข้าวที่ถูกน้ำท่วมเกินกว่า 7 วัน จะได้รับความเสียหายสิ้นเชิงไม่น้อยกว่า 300,000 ไร่

    ส่วนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมาก ได้แก่ อ.นางรอง ลำปลายมาศ คูเมือง แคนดง พุทไธสง และ สตึก อย่างไรก็ตามเกษตรอำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เข้าตรวจสอบความเสียหายที่แท้จริงแล้ว โดยนาข้าวของเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมและได้รับความเสียหายสิ้นเชิง  เกษตรกรจะได้รับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของทางราชการ และกระทรวงการคลัง จึงขอให้เกษตรกรที่มีนาข้าวถูกน้ำท่วมเสียหาย ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้าไปสำรวจ เพื่อจะได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป

    ด้านชาวบ้านกว่า 50 คนที่อยู่ภายในศูนย์ร่มโพธิ์แก้ว สาขา 7 ต.บ้านแพ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ หนึ่งในสาขาของวัดสวนแก้ว ได้นำเรือลุยน้ำเกี่ยวข้าวที่กำลังออกรวง แต่ยังไม่แก่เต็มที่ บริเวณบ้านวังปลัด ที่พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ปลูกไว้เลี้ยงคนงาน ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส  หลังจากน้ำได้เอ่อท่วมนาข้าวสูงกว่า 1 เมตร โดยสามารถเก็บเกี่ยวข้าวหนีน้ำได้ทันเพียง 50 ไร่ ส่วนที่เหลืออีกกว่า 200 ไร่ ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ทัน ต้องปล่อยให้จมอยู่ใต้น้ำ และคาดว่าจะเสียหายทั้งหมด นอกจากนั้นน้ำมูลยังได้ไหลทะลักเข้าท่วมสวนผลไม้ เช่น มะพร้าว มะขามป้อม มะม่วง และต้นชมพู่ ที่ปลูกไว้ในสวนภายในศูนย์ฯ ที่ปลูกไว้ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ ได้รับความเสียหายเช่นกัน.

    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำเขื่อนล้นทะลักท่วมเมืองชัยภูมิอีกเท่าตัว – ผู้ว่าฯเร่งออกช่วยเหลือปชช. [ ผู้จัดการออนไลน์ : 19 ต.ค. 53 ]

    วันนี้ ( 19 ต.ค.) นายจรินทร์ จักกะพาก ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้านถูกน้ำท่วม 3 ตำบล เขต อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.นครราชสีมา โดยเข้ารับฟังสรุปสถานการณ์ ที่ อบต.บ้านยาง จากนั้นนำถุงยังชีพ ข้าวกล่อง 900 ชุด นั่งเรือท้องแบนข้ามน้ำ ไปมอบให้ราษฎรบ้านไร่ ม.7 บ.ท่าฉาง ม. 8 และ บ.ท่าเดื่อ ม. 9 ต.บ้านยาง อ.เกษตรสมบูรณ์ ซึ่งถูกน้ำท่วมขังทางเข้าหมู่บ้าน ที่อยู่อาศัย สูงกว่า 80 ซ.ม. รถยนต์วิ่งผ่านไม่ได้ ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกมา 2-3 แล้ว พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ได้รับความเดือดร้อน 1,140 ครอบครัว
           
    นอกจากนี้น้ำยังได้เอ่อเข้าท่วมถนนสายหลักในตัว อ.เกษตรสมบูรณ์ สูงกว่า 50 ซ.ม. ท่วมสถานที่ราชการหลายแห่งทั้งที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล สถานีตำรวจ และโรงพยาบาล ชาวบ้านเดินทางติดต่อราชการด้วยความยากลำบาก ถนนทางเข้า ทางออก อำเภอ ท่วมสูง รถเล็กวิ่งผ่านไม่ได้ เจ้าหน้าที่ทหารจากหน่วย นพค. 55 ต้องนำรถบรรทุก วิ่งรับส่งชาวบ้าน และนำกำลังช่วยเจ้าหน้าที่อำเภอ และช่วยชาวบ้านขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่สูง เนื่องจากระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง การเดินทางต้องนั่งเรือท้องแบน ของหน่วย นพค. 55 ผ่านท้องนา เพราะถนนทางเข้าถูกน้ำท่วมสูง น้ำยังคงไหลแรง แต่ระดับน้ำเริ่มทรงตัว
           
    โดยสภาพในหมู่บ้านถูกน้ำท่วมบ้านเรือนเป็นช่วงๆ บางช่วงท่วมสูง 1.5 เมตร มีน้ำไหลแรง ต้องผูกเชือกโยงให้ชาวบ้านยึดเวลาเดินข้าม บางจุดไม่สามารถประกอบอาหารได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ จึง สั่งการให้นายอำเภอ และนายก อบต. ตั้งโรงประกอบอาหาร แล้วนำส่งถึงชาวบ้านทุกมื้อ จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมขอความร่วมมือ สื่อมวลชน ช่วยแจ้งข้อมูลน้ำท่วมให้ทราบด้วย เพื่อลงไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที
           
            สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ถือว่าหนักสุดในรอบ 12 ปี สาเหตุเกิดจาก ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำป่าสะสมบนภูเขา จำนวนมาก ประกอบกับน้ำจากเขื่อนจุฬาภรณ์ ระดับเก็บกัก 188 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำไม่ไหว ระบายน้ำลงทางลำน้ำพรมวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. น้ำเหล่านี้ไหลลงผ่านที่นา บ้านเรือนราษฎร ก่อนจะไหลลง ลำน้ำพอง ที่ จ.ขอนแก่น ต่อไป
           
            ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองชัยภูมิ น้ำจากอ่างเก็บน้ำลำประทาว อ.แก้งคร้อ ตอนบน และเขื่อนลำปะทาว ตอนล่าง เขต อ.เมืองชัยภูมิ ซึ่งมีความจุ กว่า 66 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนไม่สามารถรองรับล้นทางระบายฉุกเฉิน 2 เมตร รวมกับน้ำที่สะสมจากฝนตกได้ไหลรวมตัวกันผ่านตัวเมืองชัยภูมิ ซึ่งคาดว่าน้ำจำนวนนี้จะทำให้น้ำในตัวเมืองตัวเมืองมีปริมาณสูงขึ้นกว่าเดิมอีกเกือบเท่าตัว
           
           




    --------------------------------------------------------------------------------------
    ชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำมูล 73 ครอบครัวขนของหนีน้ำ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 19 ต.ค. 53 ]

    เมื่อสายวันนี้ (19 ต.ค.) ชาวชุมชนริมฝั่งแม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี 5 ชุมชน จำนวน 73 ครอบครัว ขนย้ายสิ่งของอพยพหนีมาอยู่ที่สูงในศูนย์อพยพชั่วคราวบ้านเกตุแก้ว อ.วารินชำราบ หลังระดับน้ำแม่น้ำมูลปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยชาวชุมชนเล่าว่า ชาวบ้านทั้งหมดเป็นผู้อยู่ในเขตน้ำท่วมครั้งที่แล้ว และเพิ่งขนย้ายสิ่งของกลับลงไปอยู่ตามบ้านเรือนตามปกติเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน
           
    แต่เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมา ระดับน้ำในแม่น้ำมูลปรับตัวสูงขึ้นวันละ 30-50 เซนติเมตร กระทั่งวันนี้ น้ำเริ่มไหลท่วมบ้านพักที่อยู่ในเขตที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูล โดยบ้านแต่ละหลังมีระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ทำให้ต้องอพยพหนีน้ำขึ้นมา เบื้องต้นได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานเทศบาลเมืองวารินชำราบ ส่งอาสาสมัคร อปพร.และรถบรรทุกขนาดใหญ่มาช่วยขนย้ายสิ่งของ พร้อมให้ยืมเต็นท์ และสังกะสีใช้สร้างเพิ่งพักชั่วคราว เนื่องจากเต็นท์มีไม่พอกับความต้องการ และส่งรถบรรทุกน้ำนำน้ำใช้มาให้วันละ 2 เที่ยว
           
    สำหรับวันน
    ี้ ระดับน้ำมูลวัดที่สะพานเสรีประชาธิปไตยมีระดับน้ำสูง 6.87 เมตร สูงจากเมื่อวาน 19 เซนติเมตร และมีระดับน้ำล้นตลิ่งแล้วเกือบ 1 เมตร

    --------------------------------------------------------------------------------------
    อ่างเก็บน้ำในสารคาม 4 แห่งเริ่มทะลัก นาข้าวกว่า 3 หมื่นไร่ ปริ่มน้ำ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 19 ต.ค. 53 ]
           
            จากปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยเฉพาะรอบวันที่ผ่านมาบริเวณอ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่ง รวม 291.9 มิลลิเมตร ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการติดตามสถานการณ์ล่าสุดพบอ่างเก็บน้ำจำนวน 4 แห่ง คืออ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจานในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม อ่างเก็บน้ำหนองแกดำ แกดำ อ่างเก็บน้ำห้วยขอนสัก อำเภอโกสุมพิสัย และอ่างเก็บน้ำห้วยจอกขวาง อำเภอวาปีปทุม มีปริมาณน้ำเกินกว่าที่จะเก็บกัก
           
            โดยภาพรวมมีปริมาณเก็บกักของอ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่งอยู่ที่ระดับ 67.58 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 83.01 ของความจุอ่าง 81.20 ล้านลูกบาศก์เมตร อย่างไรก็ตามอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่งที่มีปริมาณน้ำเกินเก็บกัก เจ้าหน้าที่ได้เร่งระบายน้ำออกทางประตูน้ำล้นเพื่อรองรับน้ำฝนที่อาจจะตกต่อเนื่องอีกหลายวันและเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
           
            ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำในลำน้ำชียังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากแม่น้ำชีรับน้ำเหนือจากจังหวัดชัยภูมิและเขื่อนอุบลรัตน์ เจ้าหน้าที่จึงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังฝากเตือนประชาชนซึ่งมีที่อยู่อาศัยในเขตลุ่มน้ำชีในเขตเสี่ยงภัยทั้ง 21 แห่งให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด
           
            สถานการณ์ล่าสุดผลจากน้ำชีหนุนสูงและฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้นาข้าวกว่า 32,000 ไร่จมอยู่ใต้น้ำ และคาดว่าจะเสียหายในเขตพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย เชียงยืน กุดรัง กันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 23 ตำบล 121 หมู่บ้าน มีเกษตรกรเดือดร้อน 4,500 กว่าครัวเรือน


    --------------------------------------------------------------------------------------
    โคราชวิปโยค! ท่วมหนักสุดเป็นประวัติการณ์ “ลำตะคอง” ทะลักเมืองจมบาดาล - ตายแล้ว 4 ราย [ ผู้จัดการออนไลน์ : 18 ต.ค. 53 ]

            วันนี้ (18 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.นครราชสีมา ล่าสุด วันนี้ทุกพื้นที่หลายอำเภอยังคงอยู่ในภาวะวิกฤตหนัก ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเขตเทศบาลนครราชสีมา อ.เมือง นครราชสีมา น้ำลำตะคองได้ไหลทะลักเข้าท่วม ชุมชน อาคารบ้านเรือนประชาชน รวมทั้งถนนโรงพยาบาล สถานศึกษา สถานที่ราชการ สนามกีฬา สถานีขนส่ง โรงแรม โรงพยาบาล และหมู่บ้านจัดสรร ทั้ง 2 ฝากฝั่งเป็นบริเวณกว้างระดับน้ำสูงกว่า 1-2 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 70 ปี
           
            พื้นที่ที่อยู่ในภาวะวิกฤตน้ำท่วมสูง อย่างเช่น ที่ ถ.สุรนารายณ์ ตั้งแต่สี่แยกจอหอ เทศบาลตำบลจอหอ-ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ต่อเนื่องไปถึง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร (กม.) รถยนต์เล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ และน้ำได้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่ง รวมทั้งสำนักงานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 นครราชสีมา และสำนักงานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา, โรงแรมดุสิตปริ๊นเซสโคราช, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งได้ประกาศปิดการเรียนการสอนชั่วคราวอย่างไม่มีกำหนด
           
            เช่นเดียวกับ ถ.ช้างเผือก เขตเทศบาลนครนคราชสีมา ที่ตั้งโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร รถยนต์ทุกชนิดรวมทั้งรถบรรทุกไม่สามารถสัญจรเข้าออกได้ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เรือท้องแบนมาให้บริการรับ-ส่ง เจ้าหน้าที่ แพทย์พยาบาล ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยในการเข้าออกโรงพยาบาลเท่านั้น ส่วนภายในบริเวณโรงพยาบาล ทั้งตึกผู้ป่วยทุกตึก อาคารสำนักงานทุกอาคาร โรงอาหาร หอพัก และบ้านพักเจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาลทุกหลังได้ถูกน้ำท่วมทั้งหมดระดับสูง 1-2 เมตร โดยเฉพาะอาคารห้องเก็บศพถูกน้ำท่วม โลงศพลอยว่อน เจ้าหน้าที่ต้องเร่งขนย้ายศพที่เสียชีวิตใหม่ขึ้นไปอยู่ในอาคารที่สูง
           
            ส่วนที่โรงพยาบาลเซ็นต์แมรี่, หมู่บ้านวีไอพี, โรงรียนอัสสัมชัญ และ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมาแห่งที่ 2 ถ.มิตรภาพ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา รวมไปถึงบ้านประโดก-โคกไผ่ ต.หมื่นไว อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้ถูกน้ำจากลำตะคองทะลักเข้าท่วมสูงกว่า 1.5 เมตร ประชาชนต้องเร่งขนทรัพย์สินสิ่งของและอพยพผู้คน โดยเฉพาะคนแก่ และเด็ก หนีน้ำกันอย่างโกลาหล รถยนต์ที่นำออกมาไม่ทันจมน้ำเสียหายหลายคัน
           
            ขณะที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมอุปกรณ์เครื่องจักร รถยก รถบรรทุกขนาดใหญ่ และเรือท้องแบน เข้าช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนกันอย่างเต็มที่ แต่เครื่องจักรอุปกรณ์ และกำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการให้ความช่วยเนื่องจากมีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเป็นจำนวนมากและขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ
           
            ทางด้านศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนครราชสีมา (ศปก.จ.นม.)
    รายงานสรุปสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดวันนี้ (18 ต.ค.) ระบุว่า จ.นครราชสีมา มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว 21 อำเภอ 113 ตำบล 1,127 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 1 ล้านคน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบมากกว่า 1.5 แสนไร่ และมีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 4 ราย โดยพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมหนักสุดและอยู่ในขั้นวิกฤต คือ อ.เมืองนครราชสีมา ในพื้นที่ 13 ตำบล 91 หมู่บ้าน, อ.โนนสูง 16 ตำบล 195 หมู่บ้าน, อ.ปักธงชัย 16 ตำบล 156 หมู่บ้าน และ อ.ปากช่อง 11 ตำบล 47 หมู่บ้าน
           
            ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดของ จ.นครราชสีมา เข้าขั้นวิกฤต ล่าสุด วันนี้ (18 ต.ค.) มีปริมาณน้ำเกินระดับกับเก็บ กว่า 19 ล้าน ลบ.ม.แล้ว โดยมีปริมาณน้ำในอ่างรวม 333 ล้าน ลบ.ม.จากขนาดความจุที่ระดับกักเก็บ 314 ล้าน ลบ.ม.ทางเขื่อนยืนยันยังไม่เปิดประตูระบายน้ำแต่ปล่อยให้ล้นช่องระบายน้ำลงสู่ลำตะคอง วันละ 518,400 ลบ.ม. ส่วนเขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ยังอยู่ในภาวะวิกฤตเช่นกัน ปริมาณน้ำยังสูงอยู่ที่ 158.7 ล้าน ลบ.ม.เกินระดับกับเก็บอยู่ 48.7 ล้าน ลบ.ม.ทางเขื่อนได้เปิดประตูระบายน้ำอย่างเต็มที่แล้ว
           
            สำหรับเส้นทางการจราจร ได้มีการปิดการจราจรแล้ว 4 เส้นทางหลัก คือ ทางหลวงหมายเลข 290 ซึ่งเป็นทางเลี่ยงเมืองสูงเนิน-ปักธงชัย, ทางหลวงหมายเลข 201 สายสีคิ้ว-ชัยภูมิ, ทางหลวง 2148 หนองสรวง-ด่านขุนทด ผ่านได้เฉพาะรถยนต์ขนาดใหญ่ และ ทางหลวงหมายเลข 224 โชคชัย-ครบุรี
           
            ขณะที่รถไฟ สายอีสาน นครราชสีมา-กรุงเทพฯ ถูกน้ำท่วมรางรถไฟหลายจุดต้องประกาศหยุดเดินรถ โดยเดินรถได้เฉพาะช่วงสถานีรถไฟปากช่อง อ.ปากช่อง-กรุงเทพฯ เท่านั้นแต่ไม่สามารถวิ่งเข้ามาถึงตัวเมืองนครราชสีมาได้ ส่วนขาล่องลงสู่จังหวัดภาคอีสานสามารถเดินรถได้จากสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นต้นไป
           
            นอกจากนี้ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ทำการตัดกระแสไฟฟ้าในพื้นที่น้ำท่วมหลายแห่ง เช่น อ.เมืองรวม 10 จุด, อ.ปักธงชัย รวม 10 จุด และ อ.โชคชัย 12 จุด
           
            ล่าสุด ทางศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนครราชสีมา ได้ประกาศแจ้งเตือนไปยังประชาชนที่อยู่ใกล้ลำน้ำมูล เช่น อ.เฉลิมพระเกียรติ, อ.จักราช และ อ.พิมาย ให้รับมือน้ำท่วมสูงอีกในวันนี้ โดยให้อพยพผู้คน สัตว์เลี้ยง และขนทรัพย์สินสิ่งของขึ้นไว้บนที่สูง ซึ่งขณะนี้พื้นที่ จ.นครราชสีมา ยังมีฝนตกลงมาเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวัน



    --------------------------------------------------------------------------------------
    อ่างเก็บน้ำสุรินทร์รับไม่ไหวเร่งระบาย - นาข้าว “หอมมะลิ” อ่วมจมใต้น้ำ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 17 ต.ค. 53 ]
           
            วันนี้ (17 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า จากการที่ฝนได้ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทั่วพื้นที่ทั้ง จ.สุรินทร์ติดต่อกันมาหลายวัน ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำทั้ง 22 แห่งของจังหวัด และแหล่งน้ำตามธรรมชาติต่างๆ มีปริมาณน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ได้เอ่อไหลเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวของประชาชนในหลายพื้นที่
           
            นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุรินทร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำฝนสะสมในอ่างเก็บน้ำทั้ง 22 แห่ง ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ มีปริมาณเกินที่อ่างเก็บน้ำจะกักเก็บไว้ได้และได้ระบายน้ำออก เพื่อป้องกันปัญหาอ่างเก็บน้ำรับน้ำเกินกำหนด โดยเฉพาะที่อ่างเก็บน้ำอำปึล อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งรับน้ำได้ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)
           
            ล่าสุด ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำสูงเกินปริมาณที่รับได้จึงได้ระบายลงสู่ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อ.เมือง จ.สุรินทร์
           
            ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ที่มีขนาดความจุ 22 ล้าน ลบ.ม.ต้องรองรับน้ำทั้งจากเทือกเขาพนมดงรัก ที่ไหลมาจากทาง อ.กาบเชิง, อ.พนมดงรัก, อ.ปราสาท และน้ำที่ระบายลงไปจากอ่างเก็บน้ำอำปึล ทำให้มีปริมาณน้ำเกินกำหนดที่อ่างเก็บน้ำจะรับได้ จึงได้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 2 บาน ที่ระดับความสูง 1.30 เมตร ระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง วันละ 7 ล้านลบ.ม.
           
           
           
            ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นาข้าวของเกษตรกร พื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ ซึ่งต้นข้าวกำลังออกรวงและสุกเหลือง ใกล้ถึงเวลาเก็บเกี่ยวภายใน 1 สัปดาห์ข้างหน้านี้ แต่มาถูกน้ำท่วมขังเป็นจำนวนมากเสียก่อน หากสถานการณ์น้ำท่วม ยังทรงตัวอยู่อย่างนี้ ไปอีก 7 วัน ต้นข้าวรวงข้าวก็จะเน่าเสียทั้งหมด
           
           




    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำป่าเทือกเขาพนมดงรักทะลักท่วม “ขุนหาญ-ภูสิงห์” ศรีสะเกษ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 17 ต.ค. 53 ]

    วันนี้ (17 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ที่ จ.ศรีสะเกษ ว่าขณะนี้น้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรัก เขตชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในเขต อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ บางส่วนแล้ว ในพื้นที่บ้านสำโรงเกียรติ ต.บักดอง และ บ้านห้วย ต.สิ อ.ขุนหาญ
           
            นางอรุณรัตน์ ปิ่นคำ หัวหน้าสถานีอนามัยสำโรงเกียรติ ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า น้ำป่าปีนี้ไหลมาเร็วมาก ทำให้ตนเก็บข้าวของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ทางการแพทย์แทบจะไม่ทัน เพราะน้ำได้เริ่มท่วมขังมาเป็นเวลา 2 วันแล้ว ซึ่งน้ำได้ไหลเข้าไปในห้องต่าง ๆ บริเวณชั้นล่างของสถานีอนามัย และบริเวณโดยรอบทางเข้าสถานีน้ำก็ได้ไหลเข้าท่วม ทำให้ชาวบ้านใน 6 หมู่บ้านที่มาเข้ารับบริการ ต้องลำบากในการเดินลุยน้ำเข้ามารับบริการ ซึ่งในเบื้องต้นได้ย้ายอุปกรณ์ไปยังห้องต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนได้ทันที
           
            ทางด้าน นางอำพร สัญญา อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 77 หมู่ 7 ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า น้ำป่าได้ไหลบ่ามาอย่างรวดเร็วมากต้องเร่งเก็บของขึ้นไปชั้นบนของบ้าน และน้ำได้ไหลเข้าท่วมในตัวบ้านด้านล่างทั้งหมด ส่วนหลานที่พึ่งคลอดมาได้ ประมาณ 2 สัปดาห์ ให้ย้ายเข้าไปอยู่ที่บ้านลูกสะใภ้ก่อน เพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก
           
            ขณะที่ร้านขายไก้ย่างข้างทางบริเวณบ้านห้วย ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ยังมีการนำไก่มาย่างเพื่อจำหน่ายให้กับชาวบ้านที่ผ่านไปมา ถึงแม้ว่าระดับน้ำจะเริ่มไหลเข้าท่วมภายในบริเวณของร้านแล้วก็ตาม
           
            ส่วนที่ บ้านธาตุ บ้านธาตุทอง บ้านโกแดง บ้านละลม บ้านพรหมทอง ต.ละลม อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ได้ประสบภาวะน้ำท่วมหนักเช่นเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ข้าวที่กำลังออกรวงยังจมอยู่ใต้น้ำ ร่วม 2,000 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาข้าวหอมมะลิ 105 พืชเศรษฐกิจสำคัญของ จ.ศรีสะเกษ โดย เกษตรกรต่างวิตกกังวลว่าหากน้ำยังไม่ลดลงภายใน 2-3 วันนี้ ข้าวในนายิ่งสูญเสียเป็นจำนวนมาก


    --------------------------------------------------------------------------------------
    “ปักธงชัย” จมบาดาลทั้งเมือง - เขื่อนลำพระเพลิงวิกฤตเร่งระบาย - ผู้ว่าฯแจ้ง ปชช.4 อภ.อพยพหนีน้ำท่วม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 17 ต.ค.53 ]


    วันนี้ (17 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่กว่า 20 อำเภอ ของ จ.นครราชสีมา ว่า ล่าสุด ช่วงบ่ายวันนี้ (17 ต.ค.) น้ำจากแม่น้ำลำตะคอง ซึ่งรองรับน้ำปริมาณมากที่ไหลลงมาจากพื้นที่ อ.สีคิ้ว-อ.สูงเนิน ผ่านตัวเมืองนครราชสีมา ได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมถนน บ้านเรือนของประชาชน ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาแล้วหลายจุด เช่น ชุมชนมิตรภาพซอย 4, หมู่บ้านจัดสรรวีไอพี, โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นต้น เจ้าหน้าที่ต้องระดมกำลังช่วยเหลืออพยพสิ่งของและประชาชนขึ้นไปอยู่ในพื้นที่สูงที่เตรียมไว้

    นอกจากนี้ น้ำยังไหลเข้าท่วมถนนมิตรภาพ เส้นทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา และมีกระแสน้ำไหลแรง รถยนต์ทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ เจ้าหน้าที่ต้องระบายรถให้มาใช้เส้นทาง ถ.มิตรภาพ ผ่านตัวเมืองนครราชสีมาทั้งหมด ขณะที่ถนนบริเวณสามแยกหัวทะล ทางมุ่งหน้าสู่ อ.จักราช และ อ.โชคชัย ก็มีน้ำสูงเช่นกัน

    ส่วนสถานการณ์น้ำจากเขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ล้นเขื่อนไหลทะลักเข้าท่วม ถนน อาคารบ้านเรือนประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นั้น ขณะนี้ถือได้ว่าวิกฤตที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้เมืองทั้งเมืองของปักธงชัยจมอยู่ใต้น้ำ ระดับสูงกว่า 1-2 เมตร และยังคงเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีประชาชนติดอยู่ภายในบ้านเรือนไม่สามารถติดต่อกับข้างนอกได้เป็นจำนวนมาก

    ขณะที่เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกำลังทหาร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยกู้ภัยมูลนิธิภาคเอกชน เร่งนำเรือท้องแบน รถบรรทุกขนาดใหญ่ เข้าไปช่วยเหลืออพยพสิ่งของและประชาชนขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ซึ่งมีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ของประชาชนติดอยู่บนถนนในเขตเทศบาลตำบลปักธงชัย และถูกกระแสน้ำพัดตกถนนเสียหายหลาย 10 คัน รวมถึงบริษัท จิม ทอมสัน ผู้ผลิตผ้าไหมปักธงชัยรายใหญ่ของไทยถูกน้ำท่วมเสียหายเช่นกัน

    อีกทั้งน้ำยังไหลเข้าท่วมถนนทางหลวงหมาย 304 ราชสีมา-กบินทร์บุรี ช่วงเขตเทศบาลตำบลปักธงชัย ระดับสูงว่า 50 เซนติเมตร (ซม.) ทั้งด้านฝั่งขาเข้า-ขาออก เป็นระยะทางกว่า 4-5 กิโลเมตร (กม.) โดยเฉพาะ ฝังขาเข้า จ.นครราชสีมา น้ำท่วมสูง รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ มีเพียงช่องจราจรทางด้านขาออก จ.นครราชสีมา เท่านั้น ที่รถยนต์ขนาดใหญ่สามารถผ่านได้ เจ้าหน้าที่จึงแนะนำให้รถยนต์ของประชาชนหันกลับไปใช้ ถ.มิตรภาพ นครราชสีมา-กรุงเทพฯ เป็นหลักแทน เพราะสถานการณ์น้ำท่วมอยู่ภาวะวิกฤตน้อยกว่า

    นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ล่าสุด สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ยังอยู่ในขั้นวิกฤต และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติด้านอุทกภัยเพิ่มเป็น 15 อำเภอแล้ว โดยพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมหนักสุด คือ อ.ปากช่อง, อ.สีคิ้ว, อ.สูงเนิน อ.เมือง และ อ.ปักธงชัย ซึ่งในช่วงค่ำวันนี้ ขอแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมา, โนนไทย, โนนสูง และ อ.พิมาย ให้เตรียมอพยพและขนสิ่งของขึ้นไว้ในที่สูง เพื่อเตรียมพร้อมรับน้ำที่จะไหลลงมาจากพื้นที่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน และ อ.เมือง นครราชสีมา ร่วม 76 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งจะส่งผลให้ในพื้นที่ดังกล่าวเกิดน้ำท่วมฉับพลัน พร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลฟาร์มจระเข้ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองนครราชสีมาที่มีอยู่กว่า 300 ตัว ให้เฝ้าระวังป้องกันไม่ให้ถูกน้ำท่วมและเล็ดลอดออกมาได้

    สำหรับเทศบาลตำบลปักธงชัย อ.ปักธงชัย สถานการณ์น้ำท่วมอยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากเขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ไม่สามารถรองรับน้ำได้ ขณะนี้มีปริมาณน้ำเกินระดับกักเก็บ 110 ล้าน ลบ.ม.แล้วต้องระบายน้ำที่เกิดจากฝนตกลงมาพื้นที่ใต้เขื่อนอีก 420 ลบ.ม.ต่อวินาที หรือ 40.6 ล้านลบ.ม./วัน ซึ่งเป็นการปล่อยน้ำปริมาณมากที่สุดตั้งแต่ก่อสร้างเขื่อนลำพระเพลิงมากว่า 50 ปี จะส่งให้ เขตเทศบาลตำบลปักธงชัย มีน้ำท่วมระดับสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และน้ำจะไหลลงแม่น้ำมูล ลงสู่ อ.โชคชัย อ.จักราช และ อ.พิมาย ต่อไป

    อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้รับรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้แต่อย่างใด แต่ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนร่วม 1 ล้านคน และพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียมากกว่า 1 แสนไร่

    “แนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมโคราชครั้งใหญ่นี้ ได้ให้นโยบายกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าต้องรักษาเขตเศรษฐกิจในพื้นที่ตัวเมืองต่างๆ ไว้ให้ได้รวมทั้ง เส้นทางคมนาคมทุกเส้นทางต้องใช้การได้ และขอยืนยันว่าอ่างเก็บน้ำใน จ.นครราชสีมา ขณะนี้ยังมีความปลอดภัยทุกแห่ง ” นายระพี กล่าว


    --------------------------------------------------------------------------------------
    จ.เพชรบูรณ์ สรุปความเสียหายจากอุทกภัย มูลค่า 87 ล้านบาท [ สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : 14 ต.ค. 53 ]

         กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ สรุปความเสียหายจากอุทกภัย ช่วงที่ผ่านมา มูลค่าราว 87 ล้านบาท นายณรงค์ ก้อนสมบัติ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ สรุปความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย ช่วงที่ผ่านมาว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติจากอุทกภัยใน 11 อำเภอ 92 ตำบล 922 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 26,175 ครัวเรือน กว่า 78,000 คน บ้านเรือนราษฎรเสียหาย 1 หลัง พื้นที่การเกษตร จากการสำรวจเบื้องต้นพบความเสียหายมากกว่า 69,000 ไร่ บ่อปลา 538 บ่อ เป็ดไก่ ประมาณ 14,000 ตัว สิ่งสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ ถนนชำรุด 143 สาย ฝายสองแห่ง คอสะพานขาด 7 แห่ง คันดินกั้นน้ำ 8 แห่ง มูลค่าความเสียหาย ประมาณการเบื้องต้น ราว 87 ล้านบาท
        สำหรับการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ สภากาชาดไทย และ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มอบถุงยังชีพ บรรเทาความเดือดร้อน ประมาณ 5,000 ครอบครัว สาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหาย จะใช้งบประมาณในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด 50 ล้านบาท ทำการปรับปรุงซ่อมแซมคาดว่าจะใช้งบประมาณราว 49 ล้านบาท ส่วนพื้นที่และผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจาก 4 อำเภอ ที่นำเข้าสู่การประชุมเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ มีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 13,980 ไร่ วงเงินขอรับความช่วยเหลือประมาณ 8,400,000 บาทเศษ นาข้าวได้รับความเสียหาย 12,000 ไร่ วงเงิน 7,400,000 บาทเศษ พืชไร่ ประมาณ 12,000 ไร่ วงเงิน 1,000,000 บาทเศษ ที่เหลือเป็นพืชสวนต่างๆ ด้านประมง บ่อปลาของเกษตรกรที่อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ เสียหาย 456 ไร่ รวมถึงกระชังซิเมนต์บางส่วน ขอรับความช่วยเหลือวงเงิน 1,500,000 บาทเศษ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้กลั่นกรอง และเห็นชอบให้ขอรับการช่วยเหลือจากงบกลาง และหากได้รับการพิจารณา จะอนุมัติงบประมาณลงมาภายในไม่เกินสามเดือน
         หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวด้วยว่า ช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูฝนจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้จัดทำแผนเฉพาะกิจด้านการป้องกันอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจด้านนี้ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดเตรียมข้อมูล อุปกรณ์ พื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ โดยเฉพาะโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยสูงที่อยู่บริเวณเชิงเขา 87 หมู่บ้าน ได้มอบหมายมิสเตอร์เตือนภัยที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น เฝ้าระวังดูแลเป็นพิเศษเพื่อเตรียมการอพยพได้อย่างทันท่วงที กรณีเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมดินโคลนถล่ม ผลการปฏิบัติงานที่เข้มแข็งของมิสเตอร์เตือนภัยช่วยให้หลีกเลี่ยงความเสียหายได้เป็นอย่างมาก

    --------------------------------------------------------------------------------------
    บุรีรัมย์เร่งช่วย ปชช.น้ำท่วมหนักสุดรอบ 30 ปี ถนน-คอสะพานขาด ไร่นาจมบาดาล [ ผู้จัดการออนไลน์ : 14 ต.ค. 53 ]

    วันนี้ (14 ต.ค.) นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์, ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด, นายอำเภอบ้านกรวด และนายกเทศมนตรีตำบลบ้านกรวด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ นำถุงยังชีพและข้าวสารไปมอบให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนประสบภัยน้ำท่วม ที่ บ้านปันเราะ หมู่ 8 ต.บ้านกรวด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ กว่า 50 ครัวเรือน

    หลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำป่าเทือกเขาพนมดงรัก ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรของประชาชนในพื้นที่ 5 ตำบล อ.บ้านกรวด ได้แก่ ต.บ้านกรวด ,บึงเจริญ ,หนองไม้งาม, ปราสาท และ ต.จันทบเพชร เนื่องจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้บ้านเรือนและข้าวของเครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก

    ขณะเดียวกัน ยังมีข่าวลือว่า มีการปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยเมฆา เพราะเกรงว่าอ่างเก็บน้ำจะพัง ทำให้ชาวบ้านหวาดผวาไม่กล้าเข้าไปอยู่ภายในบ้าน เจ้าหน้าที่จึงต้องเร่งทำความเข้าใจกับชาวบ้านว่าน้ำท่วมครั้งนี้เกิดจากฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีน้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรัก ไหลบ่าลงมาอย่างรวดเร็ว จนเกิดน้ำท่วมฉับพลัน

    จากนั้น นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าฯบุรีรัมย์ และคณะ ได้ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ที่ บริเวณถนนสายบ้านกรวด-เฉลิมพระเกียรติ ช่วงระหว่างบ้านเขาดินใต้ หมู่ 9 ต.บ้านกรวด อ.บ้านกรวด มุ่งหน้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ปรากฏว่า คอสะพานถูกกระแสน้ำกัดเซาะตัดขาดเสียหาย เจ้าหน้าที่ต้องนำต้นไม้ใหญ่มาวางทอดให้สามารถเดินผ่านไปมาได้ชั่วคราว ใกล้กันยังพบถนนถูกน้ำเซาะตัดขาดโดยสิ้นเชิง ประชาชนและยานพาหนะทุกชนิดไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้

    นอกจากนั้น ยังพบว่า นาข้าวของเกษตรกรที่กำลังออกรวง ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายกว่า 5,000 ไร่ ส่วนระดับน้ำบนถนนทางหลวง สายประโคนชัย-บ้านกรวด ท่วมสูงกว่า 1 เมตร จนรถยนต์เล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ล่าสุด ปริมาณน้ำได้ลดระดับลงเล็กน้อย และหากฝนไม่ตกลงมาอีกคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1-2 วันนี้

    นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ได้พูดคุยกับชาวบ้านที่ยังหวาดผวากับข่าวลือว่ามีการปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยเมฆา เพราะกลัวเขื่อนจะพังจึงระบายน้ำลงมา จึงได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านถึงสาเหตุน้ำท่วมครั้งนี้ ซึ่งเมื่อชาวบ้านเข้าใจเหตุการณ์ก็คลายความกังวลลง และดำเนินชีวิตตามปกติ

    จากการที่ได้ตรวจดูสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมแจ้งชลประทาน โยธาธิการและผังเมือง จ.บุรีรัมย์ ให้ขึ้นไปตรวจสอบอ่างเก็บน้ำทุกอ่างว่ามีสภาพอย่างไร ซึ่งในขณะนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวบ้านไม่ต้องหวาดผวา

    นายพีระศักดิ์ กล่าวต่อว่า ล่าสุด ได้รับรายงานว่าในพื้นที่ 5 ตำบลของ อ.บ้านกรวด มีบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมได้รับความเดือดร้อนแล้วกว่า 2,800 ครัวเรือน ส่วนการช่วยเหลือได้ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ออกสำรวจบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร และถนน ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม รายงานให้ทางจังหวัดทราบ เพื่อจะได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎร ตามหลักเกณฑ์ของทางราชการต่อไป

    “พร้อมกันนี้ ได้เตือนให้ประชาชนได้ติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้เตรียมอพยพขนย้ายสิ่งของ สัตว์เลี้ยงขึ้นสู่ที่สูง ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากดังกล่าวด้วย” นายพีระศักดิ์ กล่าว

    ขณะที่ นายศักดิ์ ท่าประโคน อายุ 58 ปี เกษตรกรบ้านโคกย่าง ต.บ้านกรวด อ.บ้านกรวด กล่าวว่า น้ำได้ไหลเข้าท่วมนาข้าวที่กำลังตั้งท้องเสียหายทั้งหมด 15 ไร่ ซึ่งทุกปีก็ถูกน้ำท่วม แต่ในปีนี้น้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 30 ปี แทบหมดเนื้อหมดตัว เพราะเสียเงินทั้งค่าปุ๋ย จากการทำนาไปจำนวนมาก หากน้ำลดก็คาดว่าผลผลิตข้าวจะไม่ได้ เนื่องจากเมล็ดข้าวจะลีบ และมีความชื้นมาก ขายไม่ได้ราคา จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐให้ความช่วยเหลือด่วน




    --------------------------------------------------------------------------------------
    ปภ.สรุปยอดเสียหายน้ำท่วม 21,901 ครัวเรือน เกษตรพังราบ 32,428 ไร่ [ สำนักข่าวเจ้าพระยา : 13 ต.ค. 53 ]

    วันนี้ (13 ต.ค.2553) นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วม กรณีอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่นหลายพื้นที่ ว่า ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยใน 19 จังหวัด 425 อำเภอ 271 ตำบล 796 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 21,901 ครัวเรือน 55,396 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 32,428 ไร่ โดยขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน สุโขทัย ลำพูน นครสวรรค์ สิงห์บุรี นครราชสีมา สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ และชลบุรี

    สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรม ปภ. โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2

    สุพรรณบุรี เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 10 ลำปาง เขต 15 เชียงราย 17 จันทบุรี และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัย ได้ประสานและขอความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งเรือท้องแบน 29 ลำ รถผลิตน้ำ 1 คัน รถบรรทุกน้ำ 3 คันรถแบ๊กโฮ 3 คัน เต็นท์พักอาศัยชั่วคราว 15 หลัง เครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง กำลังพล 20 นาย และถุงยังชีพ 3,900 ถุง ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว พร้อมทั้งเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง

    ส่วน ในวันที่ 14 ต.ค. เวลา 08.40 น.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย เตรียมเดินด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปยังหอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นประธานมอบถุงยังชีพพระราชทานแก่ราษฎร จำนวน 500 ถุง พร้อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท กล่าวรายงานสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละจังหวัด จากนั้นเวลา 11.0 0 น.คณะของกระทรวงมหาดไทยจะเดินทางไปยัง จ.นครราชสีมา เพื่อประชุมมอบนโยบายในการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาว ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและหัวหน้าส่วนราชการ ในพื้นที่

    --------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำล้น “เขื่อนห้วยติ๊กชู” ชายแดนไทย-กัมพูชา ทะลักท่วมพื้นที่เกษตรศรีสะเกษ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 5 ต.ค. 53 ]

     วันนี้ (5 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู ต.ห้วยติ๊กชู อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ติดกับเทือกเขาพนมดงรักชายแดนไทย-กัมพูชา ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นและล้นประตูระบายน้ำไหลทะลักลงตามคลองระบายน้ำลงสู่เขตหลายอำเภอในเขตพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ส่งผลให้ระดับน้ำตามลำห้วยที่น้ำไหลผ่านมีระดับสูงขึ้นและเอ่อเข้าท่วมไร่นาของเกษตรกรในบางส่วนแล้ว ขณะที่ฝนยังคงตกหนักอย่างต่อเนื่อง
           
            นายกิตติศักดิ์ พวงกุหลาบ เจ้าหน้าที่ประจำอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู ต.ห้วยติ๊กชู อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ แห่งนี้สามารถเก็บกักน้ำได้จำนวน 26.2 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ล่าขณะนี้มีปริมาณน้ำในอ่าง 29 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ระดับน้ำสูงกว่าสันประตูระบายน้ำประมาณ 40 เซนติเมตร (ซม.) แต่ยังสามารถรับน้ำได้สูงอีกประมาณ 1.50 เมตร
           
            “ขอฝากไปยังประชาชนชาวศรีสะเกษว่า ไม่ควรหวั่นวิตกว่าน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชูจะล้นอ่างไหลเข้าท่วมไร่นาบ้านเรือนมากเกินไป เพราะอ่างเก็บน้ำสามารถรับน้ำได้สูงสุดถึงประมาณ 31 ล้านลูกบาศก์เมตร” นายกิตติศักดิ์กล่าว



    --------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/
  • โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th