บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดกาญจบุรี ราชบุรี เพชรบุรี (1-5 ตุลาคม 2553)
ภาพดาวเทียม GOES-9 | |||||
25/09/2553 |
26/09/2553 |
27/09/2553 |
28/09/2553 |
29/09/2553 |
30/09/2553 |
1/10/2553 |
2/10/2553 |
3/10/2553 |
4/10/2553 |
5/10/2553 |
6/10/2553 |
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ทำให้เกิดฝนตกหนักบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธุ์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ | |||||
25/09/2553 |
26/09/2553 |
27/09/2553 |
28/09/2553 |
29/09/2553 |
30/09/2553 |
1/10/2553 |
2/10/2553 |
3/10/2553 |
4/10/2553 |
5/10/2553 |
6/10/2553 |
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ รวมถึงอ่าวไทย ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างมาก และหลังจากวันที่ 30 กันยายน ได้มีร่่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนหนัก |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | |||||
เรดาร์ดอนเมือง รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||
25/9/2553 06:03GMT |
26/9/2553 19:03GMT |
27/9/2553 09:03GMT |
28/9/2553 17:03GMT |
29/9/2553 17:03GMT |
30/9/2553 18:03GMT |
1/10/2553 16:03GMT |
2/10/2553 13:03GMT |
3/10/2553 14:03GMT |
4/10/2553 12:03GMT |
5/10/2553 02:03GMT |
6/10/2553 08:03GMT |
dBz | |||||
เรดาร์หัวหิน รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||
25/9/2553 23:29GMT |
26/9/2553 15:29GMT |
27/9/2553 15:29GMT |
28/9/2553 17:29GMT |
29/9/2553 15:29GMT |
30/9/2553 17:29GMT |
1/10/2553 12:29GMT |
2/10/2553 13:29GMT |
3/10/2553 18:29GMT |
4/10/2553 23:29GMT |
5/10/2553 03:29GMT |
6/10/2553 16:29GMT |
dBz | |||||
เรดาร์ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||
25/09/2553 11:03GMT |
26/09/2553 08:03GMT |
27/09/2553 14:03GMT |
28/09/2553 15:03GMT |
29/09/2553 22:03GMT |
30/09/2553 20:03GMT |
1/10/2553 23:03GMT |
2/10/2553 13:03GMT |
3/10/2553 13:03GMT |
4/10/2553 23:03GMT |
5/10/2553 02:03GMT |
6/10/2553 23:03GMT |
dBz | |||||
ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์ดอนเมือง หัวหิน และระยอง พบว่ามีฝนตกในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนเป็นต้นมา และตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน ปริมาณฝนได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี (อ.เมือง, อ.ด่านมะขามเตี้ย, อ.หนองปรือ, อ.บ่อพลอย, อ.ห้วยกระเจา, อ.ไทรโยค, อ.ศรีสวัสดิ์ ) จังหวัดราชบุรี (อ.สวนผึ้ง, อ.บ้านคา, อ.จอมบึง, อ.ปากท่อ, อ.เมือง) จังหวัดเพชรบุรี (อ.เมือง, อ.ท่าย่าง, อ.บ้านแหลม,อ.เขาย้อย, อ.หนองหญ้าปล้อง, อ.บ้านลาด, อ.แก่งกระจาน,อ.ชะอำ) ที่ จ.เพชรบุรี น้ำท่วมทุกอำเภอ โดยเฉพาะบริเวณใกล้เขื่อนเพชรบุรี ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ดอนเมือง หัวหิน ระยอง |
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา | |||||
26/09/2553 [12:00] |
27/09/2553 [00:00] |
28/09/2553 [00:00] |
29/09/2553 [12:00] |
30/09/2553 [00:00] |
1/10/2553 [12:00] |
2/10/2553 [00:00] |
3/10/2553 [12:00] |
4/10/2553 [00:00] |
5/10/2553 [12:00] |
6/10/2553 [00:00] |
7/10/2553 [00:00] |
|
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจาก NASA | |||||
25/09/53[00Z]-26/09/53[00Z] |
26/09/53[00Z]-27/09/53[00Z] |
27/09/53[00Z]-28/09/53[00Z] |
28/09/53[00Z]-29/09/53[00Z] |
29/09/53[00Z]-30/09/53[00Z] |
30/09/53[00Z]-1/10/53[00Z] |
1/10/53[00Z]-2/10/53[00Z] |
2/10/53[00Z]-3/10/53[00Z] |
3/10/53[00Z]-4/10/53[00Z] |
4/10/53[00Z]-5/10/53[00Z] |
5/10/53[00Z]-6/10/53[00Z] |
6/10/53[00Z]-7/10/53[00Z] |
จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าช่วงวันที่ 26 ก.ย. - 3 ต.ค. มีฝนตกค่อนข้างมากบริเวณด้านตะวันตกของภาคกลางตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว |
ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
วันที่
|
สถานี
|
จังหวัด
|
ปริมาณฝน สะสมรายวัน(มม.) |
4/10/2553 |
เพชรบุรี | เพชรบุรี | 148.10 |
กาญจนบุรี | กาญจนบุรี | 114.50 |
|
กำแพงแสน (1) | นครปฐม | 62.80 |
|
ราชบุรี (1) | ราชบุรี | 50.80 |
|
3/10/2553 |
หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 126.20 |
เพชรบุรี | เพชรบุรี | 96.30 |
|
ราชบุรี (1) | ราชบุรี | 64.80 |
|
2/10/2553 |
เพชรบุรี | เพชรบุรี | 66.20 |
1/10/2553 |
เพชรบุรี | เพชรบุรี | 83.20 |
ประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 56.10 |
การเตือนภัยข้อมูลปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms)
วันเตือนภัย
|
เวลาเตือนภัย
|
ช่วงเวลาฝนสะสม
|
สถานที่ |
ปริมาณฝน (มม.) |
ระดับการเตือนภัย
|
4/10/2010 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.ท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี | 114.5 | เฝ้าระวังสูงสุด |
4/10/2010 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.ช่องสะแก จ.เพชรบุรี | 148.1 | เฝ้าระวังสูงสุด |
4/10/2010 |
6:00:00 |
ฝน04/07-05/06น. |
ต.บ้านบึง จ.ราชบุรี | 96.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
3/10/2010 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.ช่องสะแก จ.เพชรบุรี | 96.3 | เฝ้าระวังสูงสุด |
3/10/2010 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.หนองพลับ จ.ประจวบคีรีขันธ์ | 126.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ข้อมูลระดับน้ำล้นตลิ่งจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน | |
(K.17)บ้านบ่อ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี (ระดับตลิ่ง 5.9 ม.) |
(K.37)บ้านวังเย็น อ.เมือง จ.กาญจนบุรี (ระดับตลิ่ง 7.5 เมตร) |
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบสองสถานีที่มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมากในช่วงที่เกิดน้ำท่วม ได้แก่ สถานีบ้านบ่อ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี วัดระดับน้ำสูงสุดได้ 5.6 เมตร ในวันที่ 4 ตุลาคม และสถานีบ้านวังเย็น อ.เมือง จ.กาญจนบุรี วัดระดับน้ำสูงสุดได้ 7.6เมตร ในวันที่ 5 ตุลาคม รายละเอียดเพิ่มเติม |
ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ | |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนศรีนครินทร์ |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนวชิราลงกรณ์ |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนปราณบุรี |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแก่งกระจาน |
จากการที่มีฝนตกค่อนข้างมากอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคกลางฝั่งตะวันตก ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงที่เกิดฝนตกหนักนี้อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสูงสุดอยู่ที่ 63.69 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 5 ตุลาคม เขื่อนวชิราลงกรณ์ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสูงสุด 16.05 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 3 ตุลาคม เขื่อนแก่งกระจานมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสูงสุดอยู่ที่ 7.56 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 5 ตุลาคม และเขื่อนปราณบุรีมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสูงสุดอยู่ที่ 2.08 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 5 ตุลาคม เช่นเดียวกัน |
ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- หลังจากพื้นที่ 5 อำเภอของ จ.ราชบุรี ประกอบด้วย อ.สวนผึ้ง อ.บ้านคา อ.จอมบึง อ.ปากท่อ และอ.เมือง ถูกน้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร เส้นทางคมนาคม รวมทั้งบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจำนวนมาก ตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา หลังมีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ฝนเริ่มหยุดตกในหลายพื้นแล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ท่วมขังอยู่ได้ลดลง และบางพื้นที่น้ำเริ่มแห้งแล้ว คงเหลือทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเสียหายที่เกิด โดยคาดว่า หากฝนหยุดทิ้งช่วงสักระยะหนึ่งก็เชื่อว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ราชบุรี จะคลี่คลายลง ขณะที่ในส่วนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายโดยเฉพาะเส้นทางคมนาคม สะพานข้ามคลองต่างๆ ซึ่งมีทั้งหมด 6 แห่ง ขณะนี้ทางกรมการทหารช่าง จ.ราชบุรี ได้เข้ามาทำการซ่อมแซมเพื่อให้ใช้การได้ชั่วคราว เพื่อรองบประมาณมาทำการซ่อมแซมอย่างถาวรอีกครั้ง ทั้งนี้ นายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้สรุปความเสียหายในเบื้องต้น ว่าพื้นที่ทางการเกษตรนั้นน่าจะเสียหายไม่ต่ำกว่า 100,000 ไร่ ส่วนบ้านเรือนประชาชนนั้นอยู่ในระหว่างสำรวจว่ามีประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดกี่ราย เพื่อที่จะได้ดำเนินการช่วยเหลือต่อไป -------------------------------------------------------------------------------------- 4 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมา หลังจากมีฝนตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา จ.กาญจนบุรี ได้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี บนถนนสายสำคัญ เช่น ถนนแสงชูโต ถนนสายกาญจนบุรี-อู่ทอง และถนนบายพาส (เลี่ยงเมืองกาญจนบุรี ) มีน้ำท่วมขัง ทำให้การจราจรติดขัด เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองต้องไปส่งลูกหลาน และเป็นช่วงเวลาที่คนออกมาทำงาน โดยตำรวจสภ.เมืองกาญจนบุรี ต้องจัดตำรวจจราจรดูแลการจราจรอย่างทุลักทุเล ด้านนายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผวจ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า หลังจากที่มีฝนตกหนักมาตลอดทั้งคืน ช่วงเช้าวันเดียวกัน ตนได้สั่งการให้อำเภอต่างๆ สำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วน เบื้องต้นได้รับแจ้งว่า นอกจากพื้นที่เขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จะได้รับความเสียหายแล้ว ยังมีพื้นที่อีกหลายอำเภอที่ได้รับผลกระทบด้วย โดยขณะนี้กำลังสำรวจอยู่ คาดว่าช่วงบ่ายวันนี้จะทราบผลสรุปความเสียหายแต่ละพื้นที่ นายณฐพลษ์ วิเชียรเพริศ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งวันแรกได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวเร่งสำรวจความเสียหายโดยเฉพาะเขตพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ อำเภอบ่อพลอย และอำเภอห้วยกระเจา หลังเกิดฝนถล่มน้ำท่วมหนักในรอบ15 ปี เมื่อคืนที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักยาวนากว่า 4 ชม.ทำให้พื้นที่ของตัวเมืองกาญจน์ โดยเฉพาะที่ถนนพัฒนาการ เลียบทางรถไฟ มีน้ำท่วมสูงกว่า 20 ซม.เป็นระยะทางกว่า 5 กม.รถยนต์ขนาดเล็ก และรถจักรยายนต์ไม่สามารถวิ่งสัญจรไปมาได้ เจ้าหน้าที่ได้สั่งให้หยุดเดินรถไฟเป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับพื้นที่ของ อ.ด่านมะขามเตี้ย ได้เกิดเหตุน้ำท่วมในพื้นที่ 4 ตำบล ประกอบด้วย หนองไผ่ ด่านมะขามเตี้ย จรเข้เผือก และกลอนโด และถนนสายกาญจนบุรี – ด่านมะขามเตี้ย โดยผู้ที่จะใช้เส้นทางดังกล่าวจะต้องขับด้วยความระมัดระวัง สำหรับพื้นที่ของ ต.หนองไผ่ ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยมีระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 1.50 – 2.00 เมตร และระดับน้ำยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุเกิดจากน้ำแม่น้ำลำพาชี จาก อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ได้เออล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรประมาณ 1,000 หลัง และพื้นที่เกษตรประมาณ 3,000 ไร่ ถนนถูกตัดขาด 30 สาย ในส่วนของพื้นที่ ต.ด่านมะขามเตี้ย ต.จรเข้เผือก และ ต.กลอนโด ซึ่งสาเหตุเกิดจากน้ำป่าไหลหลาก ได้สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของราษฎร ถนนในหมู่บ้านหลายสาย และยังมีเสาไฟฟ้าหักโค่น สะพานถูกน้ำพัดพังเสียหายอีกหลายแห่ง น้ำท่วมสวนผึ้งวิกฤตสะพานขาดหลายแห่ง ดินพังทลายทำให้บ้าน-รีสอร์ทที่ปลูกอยู่บนเนินเขาได้รับความเสียหาย ขณะที่ยังมีนักท่องเที่ยวติดพื้นที่กว่า 40 คน สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง จ.ราชบุรี ในวันนี้ (4ต.ค.) ยังอยู่ในภาวะ วิกฤตหนัก เนื่องจากในพื้นที่ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำป่าที่ไหลจากเทือกเขาตะนาวศรีลงแม่น้ำลำภาชีปริ่มจนเกือบถึงสะพานข้ามแม่น้ำ ซึ่งเป็นสะพานสายหลักที่จะเข้าสู่อำเภอสวนผึ้ง โดนคาดว่าหากยังมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องอาจทำให้สะพานพังเสียหายจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวได้ นอกจากนี้รีสอร์ดทในพื้นที่อ.สวนผึ้งหลายแห่ง อาทิ สวนผึ้งคันทรีฮิลล์รีสอร์ท ซึ่งอยู่บ้านห้วยคลุม หมู่ 6 ต.สวนผึ้ง ยังมีนักนักท่องเที่ยวติดอยู่ภายในรีสอร์ทรวมทั้งรีสอร์ทข้างเคียงอีกกว่า 40 คน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ เนื่องจากเส้นทางที่จะเข้าไปช่วยเหลือนั้นคอสะพานขาดหลายแห่งทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร อำเภอสวนผึ้ง และชาวบ้านต้องระดมกำลังช่วยกันทำสะพานชั่วคราวให้รถข้ามไปได้ เพื่อนำอาหารและน้ำดื่มไปให้นักท่องเที่ยวประทังชีวิต ขณะที่ในพื้นที่อื่นๆของอำเภอสวนผึ้งซึ่งส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ทและบ้านพักก็ได้รับผลกระทบ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากทำให้ดินพังทลายหลายจุด ส่งผลให้บ้านที่ปลูกอยู่บนเนินเขาได้รับความเสียหาย ส่วนพื้นที่ในอำเภออื่น อาทิ อำเภอปากท่อ น้ำป่าได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและท่วมพื้นที่การเกษตรเสียหายรวมทั้งหมด 8 ตำบลแล้ว ส่วนอำเภอจอมบึงและอำเภอเมืองราชบุรี น้ำป่าได้ไหลท่วมนาข้าวที่กำลังจะทำการเก็บเกี่ยวได้รวมทั้งไร่ผักและบ้านพักได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง ด้าน นายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้ประกาศให้พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมนั้นเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว และเร่งเข้าไปดูแลให้การช่วยเหลือพร้อมทั้งประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำลำภาชีหรือริมสองฝั่งลำห้วยให้เตรียมขนของย้ายหนีไปอยู่ในที่สูง เนื่องจากปริมาณน้ำป่านั้นยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับได้รับแจ้งเจ้าหน้าที่กรมชลประทานว่า จะต้องทำการระบายน้ำในเขื่อนท่าเคย อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ออกเพราะปริมาณน้ำกำลังจะล้นเขื่อน -------------------------------------------------------------------------------------- |
ข้อมูลอ้างอิง |