บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นและพายุไซโคลนในทะเลอันดามัน (1-20 พฤษภาคม 2550)
ภาพเส้นทางพายุ โดย Unisys Weather |
Date: 14-15 MAY 2007 Cyclone-1 AKASH ที่มา : UNISYS Weather (http://weather.unisys.com/hurricane/n_indian/2007/index.html) ช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. 50 มีพายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลอันดามัน โดยวันที่ 2 พ.ค. 50 มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากจังหวัดชุมพรไปทางตะวันตกประมาณ 350 กิโลเมตร หรือ ที่ละติจูด 11.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 95.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมงต่อมาในวันที่ 3 พ.ค. 50 เวลา พายุดีเปรสชั่นในทะเลอันดามัน มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากจังหวัดตากไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 600 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 13.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 94.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเคลื่อนตัวทางเหนือค่อนทางตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และในวันที่ 4 พ.ค. 54 พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำคงปกคลุมบริเวณ ประเทศพม่า ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตกมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท และกาญจนบุรี วันที่ 14 พ.ค. 50 พายุไซโคลน “01B” ในอ่าวเบงกอลตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันตกของกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ห่างประมาณ 550 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 16.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 91.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนตัวทางเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือมีฝนตกชุกหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย และ กำแพงเพชร |
ภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ | |||||||||
1/5/2007 [11GMT] |
2/5/2007 [11GMT] |
3/5/2007 [11GMT] |
4/5/2007 [11GMT] |
5/5/2007 [11GMT] |
6/5/2007 [11GMT] |
7/5/2007 [11GMT] |
8/5/2007 [11GMT] |
9/5/2007 [11GMT] |
10/5/2007 [11GMT] |
11/5/2007 [11GMT] |
12/5/2007 [11GMT] |
13/5/2007 [11GMT] |
14/5/2007 [11GMT] |
15/5/2007 [11GMT] |
16/5/2007 [11GMT] |
17/5/2007 [11GMT] |
18/5/2007 [11GMT] |
19/5/2007 [11GMT] |
20/5/2007 [11GMT] |
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าช่วงวันที่ 1-5 พ.ค. 50 มีกลุ่มเมฆหนาปกคลุมทะเลอันดามัน อันเป็นผลมาจากมีพายุดีเปรสชั่นในบริเวณดังกล่าว และส่งผลทำให้มีฝนตกหนักทางด้านตะวันตกของประเทศไทย หลังจากวันที่ 5 พ.ค. ยังคงมีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ 13 พ.ค. 50 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดพายุไซโคลนบริเวณอ่าวเบงกอล ส่งผลให้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องบริเวณตะวันตกของประเทศไทย และแผ่วงกว้างไปยังพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา | ||||
1/5/2007[19UTC] |
2/5/2007[19UTC] |
3/5/2007[19UTC] |
4/5/2007[19UTC] |
5/5/2007[01UTC] |
6/5/2007[13UTC] |
7/5/2007[07UTC] |
8/5/2007[13UTC] |
9/5/2007[13UTC] |
10/5/2007[13UTC] |
11/5/2007[19UTC] |
12/5/2007[13UTC] |
13/5/2007[19UTC] |
14/5/2007[13UTC] |
15/5/2007[01UTC] |
16/5/2007[13UTC] |
17/5/2007[07UTC] |
18/5/2007[13UTC] |
19/5/2007[13UTC] |
20/5/2007[13UTC] |
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง |
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา | |||||||||
เรดาร์เชียงใหม่ รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||||||
1/5/2007 09:22GMT |
2/5/2007 08:22GMT |
3/5/2007 20:22GMT |
4/5/2007 08:22GMT |
5/5/2007 03:22GMT |
6/5/2007 09:22GMT |
7/5/2007 21:22GMT |
8/5/2007 00:22GMT |
9/5/2007 19:22GMT |
10/5/2007 10:22GMT |
11/5/2007 03:22GMT |
12/5/2007 23:22GMT |
13/5/2007 01:22GMT |
14/5/2007 17:22GMT |
15/5/2007 09:22GMT |
16/5/2007 10:22GMT |
17/5/2007 19:22GMT |
18/5/2007 08:22GMT |
19/5/2007 22:22GMT |
20/5/2007 00:22GMT |
dBz หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์เชียงใหม่ พบว่าตั้งแต่วันที่ 1-20 พ.ค. 50 มีฝนตกอย่างต่อเนื่องบริเวณภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. ที่เกิดพายุดีเปรสชั่นในทะเลอันดามัน และวันที่ 12-14 พ.ค. ที่ได้รับอิทธิพลจากพายุไซโคลนในอ่าวเบงกอล ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย สำนักงานฝนหลวง | |||||||||
เรดาร์อมก๋อย รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||||||
1/5/2007 17:00 Local Time |
2/5/2007 15:00 Local Time |
3/5/2007 16:00 Local Time |
4/5/2007 15:00 Local Time |
5/5/2007 05:00 Local Time |
6/5/2007 02:00 Local Time |
7/5/2007 07:00 Local Time |
8/5/2007 02:00 Local Time |
9/5/2007 21:00 Local Time |
10/5/2007 16:00 Local Time |
11/5/2007 22:00 Local Time |
12/5/2007 19:00 Local Time |
13/5/2007 11:00 Local Time |
14/5/2007 01:00 Local Time |
15/5/2007 01:00 Local Time |
16/5/2007 19:00 Local Time |
17/5/2007 18:00 Local Time |
18/5/2007 02:00 Local Time |
19/5/2007 03:00 Local Time |
20/5/2007 04:00 Local Time |
เรดาร์หัวหิน รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||||||
1/5/2007 08:00 Local Time |
2/5/2007 05:00 Local Time |
3/5/2007 16:00 Local Time |
4/5/2007 12:00 Local Time |
5/5/2007 22:00 Local Time |
6/5/2007 17:00 Local Time |
7/5/2007 15:00 Local Time |
8/5/2007 19:00 Local Time |
9/5/2007 17:00 Local Time |
10/5/2007 05:00 Local Time |
11/6/2554 13:27 Local Time |
12/6/2554 13:27 Local Time |
13/6/2554 11:27 Local Time |
14/5/2007 23:00 Local Time |
15/5/2007 17:00 Local Time |
16/5/2007 16:00 Local Time |
17/5/2007 16:00 Local Time |
18/5/2007 13:00 Local Time |
19/5/2007 11:00 Local Time |
20/5/2007 08:00 Local Time |
dBz ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์สำนักงานฝนหลวง เรดาร์อมก๋อยและเรดาร์หัวหิน พบว่ามีฝนตกอย่างต่อเนื่องทางด้านตะวันตกของภาคเหนือตลอดแนวลงไปถึงภาคใต้ตอนบน โดยเฉพาะช่วง วันที่ี่ 4-5 พ.ค. ที่มีฝนตกหนักเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น และช่วงวันที่ 15-16 พ.ค. ที่มีฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุไซโคลน 01B ดูรายละเอียดเพิ่มเติม อมก๋อย หัวหิน |
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย สถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา (์NARVAL) | ||||
1/5/2007 |
2/5/2007 |
3/5/2007 |
4/5/2007 |
5/5/2007 |
6/5/2007 |
7/5/2007 |
8/5/2007 |
9/5/2007 |
10/5/2007 |
11/5/2007 |
12/5/2007 |
13/5/2007 |
14/5/2007 |
15/5/2007 |
16/5/2007 |
17/5/2007 |
18/5/2007 |
19/5/2007 |
20/5/2007 |
mm.
จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าืช่วงวันที่ 1-7 พ.ค. 50 มีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากบริเวณทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย ภาคใต้ตอนบน ภาคกลาง และอ่าวไทย หลังจากนั้นกลุ่มฝนกระจุกตัวลดลงเล็กน้อย และกลับมากระจุกตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งเนื่องจากเกิดพายุไซโคลนในอ่าวเบงกอล ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. หลังจากนั้นพายุได้อ่อนกำลังลง แต่ยังคงมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ที่กลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างหนา รายละเอียดเพิ่มเติม |
การเปรียบเทียบปริมาณฝนเดือนพฤษภาคม
โดยใช้แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนที่สังเคราะห์จากข้อมูลฝนของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
|
2550 (270.53 มม.) |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม ปี 2550 เปรียบเที่ยบกับแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมค่าเฉลี่ย 48 ปี เดือนพฤษภาคม พบว่าเดือนพฤษภาคม 2550 มีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ย 48 ปี ค่อนข้างมาก โดยเดือนพฤษภาคม 2550 มีฝนมากในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ ตาก สุโ่ขทัีย พิษณุโลก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกทั้งตอนบนและตอนล่าง ภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่างในบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี |
วันที่ |
สถานี |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
15/05/2007 | เชียงราย | เชียงราย | 89.3 |
ประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 56.7 | |
เชียงราย (1) | เชียงราย | 52.7 | |
14/05/2007 | อุตรดิตถ์ | อุตรดิตถ์ | 66.3 |
ลพบุรี | ลพบุรี | 62.3 | |
ลำปาง (1) | ลำปาง | 55.6 | |
ประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 50.7 | |
13/05/2007 | ท่าวังผา (2) | น่าน | 68.5 |
12/05/2007 | ระนอง | ระนอง | 89.9 |
ตาก | ตาก | 51.7 | |
11/05/2007 | อุตรดิตถ์ | อุตรดิตถ์ | 61.8 |
10/05/2007 | กาญจนบุรี | กาญจนบุรี | 93.9 |
ศูนย์สิริกิตต์ | กรุงเทพมหานคร | 54.6 | |
บางนา (1) | กรุงเทพมหานคร | 52.6 | |
ท่าเรือกรุงเทพฯ | กรุงเทพมหานคร | 50.7 | |
09/05/2007 | ตาก | ตาก | 97.3 |
เขื่อนภูมิพล | ตาก | 58.3 | |
08/05/2007 | ตาก | ตาก | 99.8 |
06/05/2007 | นครสวรรค์ | นครสวรรค์ | 85.2 |
พิจิตร | พิจิตร | 74.4 | |
แม่สอด | ตาก | 66.1 | |
ดอยมูเซอ (1) | ตาก | 56.2 | |
สุโขทัย | สุโขทัย | 55.4 | |
05/05/2007 | เขื่อนภูมิพล | ตาก | 75.8 |
สุโขทัย | สุโขทัย | 69.4 | |
ชัยนาท | ชัยนาท | 65.6 | |
เชียงราย (1) | เชียงราย | 54.4 | |
แม่สอด | ตาก | 53.5 | |
เชียงราย | เชียงราย | 53.0 | |
04/05/2007 | หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 162.0 |
หนองพลับ (1) | เพชรบุรี | 73.1 | |
ประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 65.6 | |
ราชบุรี (1) | ราชบุรี | 63.1 | |
ชุมพร | ชุมพร | 62.5 | |
เพชรบุรี | เพชรบุรี | 57.4 | |
03/05/2007 | ราชบุรี (1) | ราชบุรี | 98.2 |
พิจิตร | พิจิตร | 97.2 | |
ประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 72.6 | |
สุโขทัย | สุโขทัย | 55.3 | |
กำแพงแสน (1) | นครปฐม | 51.1 | |
02/05/2007 | ประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 199.8 |
ชุมพร | ชุมพร | 137.2 | |
หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 98.4 | |
หนองพลับ (1) | เพชรบุรี | 98.2 | |
เขื่อนภูมิพล | ตาก | 57.4 | |
01/05/2007 | หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 98.1 |
ชุมพร | ชุมพร | 88.7 | |
กำแพงเพชร | กำแพงเพชร | 50.3 |
ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต | |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนภูมิพล |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนสิริกิติ์ |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแม่งัด |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนวชิราลงกรณ |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนศรีนครินทร์ |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแก่งกระจาน |
จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง พบว่า ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ในเดือนพ.ค. 50 เพิ่มขึ้นในทุกอ่าง โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล ที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุดอยู่ที่ 78.51 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 15 พ.ค. 50 ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ |
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม SPOT-4 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 เวลา 11.08 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัด นครสวรรค์ และกำแพงเพชร |
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม SPOT-4 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 เวลา 11.08 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัด สุโขทัย |
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 |
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 เวลา 18.22 น. บริเวณบางส่วนของ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และสุโขทัย |
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม SPOT-4 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 เวลา 11.03 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัด สุโขทัย |
รายงานเหตุการณ์พิบัติภัย อันเนื่องมาจากพายุดีเปรสชั่นและพายุไซโคลน โดย กรมทรัพยากรธรณี
1. สถานการณ์
ด้วยพายุดีเปรสชั่น ซึ่งก่อตัวขึ้นบริเวณอ่าวไทยพัดผ่านจังหวัดชุมพร ลงสู่ทะเลอันดามัน ระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม 2550 และพายุไซโคลนซึ่งก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอลได้ เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 14 ถึง 17 พฤษภาคม 2550 ทำให้เกิดพิบัติภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ
2. ปริมาณฝน
2.1 พายุดีเปรสชั่น ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้และภาคกลาง โดยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ฝนตกหนักที่อำเภอเมือง ปริมาณฝนวัดได้ 200 มิลลิเมตร และที่อำเภอหัวหิน ปริมาณฝนวัดได้ 162 มิลลิเมตร
2.2 พายุไซโคลน ทำให้เกิดฝนตกหนักบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ โดยที่จังหวัดแพร่ ฝนตกหนักที่อำเภอวังชิ้น ปริมาณฝนวัดได้ 107.5 มิลิเมตร จังหวัดเชียงราย ฝนตกหนักที่อำเภอเมือง ปริมาณฝนวัดได้ 89.3 มิลลิเมตร
3. ความเสียหาย
3.1 น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง
- พายุดีเปรสชั่น ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ของจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ ชุมพร สมุทรสาคร พิจิตร และนครสวรรค์
- พายุไซโคลน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ของจังหวัดแพร่ อุทัยธานี พิจิตร และสุพรรณบุรี
3.2 ธรณีพิบัติภัย
- ดินไหล เกิดขึ้นข้างทางบริเวณเขาคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- ดินไหล ทับเส้นทางที่ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
- รอยดินแยกและสะพานทรุดตัวบนถนนสายผามูบ-บ่อแก้ว อำเภอลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์
- หินร่วง เกิดขึ้นบนเกาะเหลาเหลียง ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มีผู้เสียชีวิต 1 คน
4. การดำเนินการป้องกันของกรมทรัพยากรธรณี
4.1 ออกประกาศกรมทรัพยากรธรณี ฉบับที่ 2/2550 ถึงฉบับที่ 6 เรื่องเตือนให้ประชาชนระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากจากพายุดีเปรสชั่น บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
4.2 ออกประกาศกรมทรัพยากรธรณี ฉบับที่ 7/2550 ถึง ฉบับที่ 9/2550 เรื่องเตือนให้ประชาชนระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากจากพายุไซโคลนบริเวณ ด้านตะวันตกของประเทศ
4.3 ประสานไปยัง ทสจ. ที่เกี่ยวข้อง และอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยดินถล่มกรมทรัพยากรธรณี ให้มีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
4.4 ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรอยดินแยก และสะพานทรุดตัวบนถนนสายผามูบ-บ่อแก้วอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- -------------------------------------------------------------------------------------- -------------------------------------------------------------------------------------- เตือนภัยพายุดีเปรสชั่น เหนือ-กลางฝนตกชุก[ ผู้จัดการออนไลน์ : 5 พ.ค. 50 ] -------------------------------------------------------------------------------------- นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า จากการเฝ้าติดตามพายุดีเปรสชั่นในขณะนี้ พายุกำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือ และจะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม จะส่งผลให้บริเวณจังหวัดในภาคตะวันตก ภาคเหนือ เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 3- 5 พฤษภาคม ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายน้ำท่วมฉับพลัน รวมถึงให้เฝ้าระวังน้ำบนเทือกเขา น้ำตก ที่อาจไหลบ่าลงมาหากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนยังเป็นห่วงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และเพชรบุรี แม้พายุจะเคลื่อนตัวไปแล้ว เพราะอิทธิพลของพายุทำให้ฝนตกหนาแน่นในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่เริ่มสะสมมาก่อน ก็ขอให้ระวังภาวะน้ำท่วมต่อไป ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง และจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติในวันพรุ่งนี้ (3 พ.ค.) แต่คลื่นลมในทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรงต่อไปอีก 2-3 วัน สำหรับกรุงเทพฯ จะยังมีฝนตกประปรายต่อเนื่องไปอีกถึงวันพรุ่งนี้ (3 พ.ค.) ภาพ น้ำท่วมประจวบฯ .... ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องตลอด 3 วันที่ผ่านมา ส่งผลให้ถนนเพชรเกษมฝั่งขาขึ้นกรุงเทพ ช่วงตั้งแต่หน้าซอยหัวหิน 102 จนถึงหน้าโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย มีน้ำท่วมขังสูง -------------------------------------------------------------------------------------- พม่าเผชิญฝนตกหนักสุดในรอบ 40 ปี [ ผู้จัดการออนไลน์ : 6 พ.ค. 50 ] หนังสือพิมพ์ในพม่า รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน ที่กรุงย่างกุ้ง ของพม่า หลังจากที่เผชิญกับฝนตกหนักที่สุดในรอบ 40 ปี
|
ข้อมูลอ้างอิง |