บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณตอนเหนือและตอนกลางของประเทศ ช่วงเดือนกันยายน 2551

ภาพดาวเทียม GOES-9


1/
9
/2008
1
7GMT


2/9/2008
1
7GMT

3/9/2008
1
1GMT

4/9/2008
1
1GMT

5/9/2008
1
2GMT

6/9/2008
1
2GMT

7/9/2008
1
1GMT

8/9/2008
1
0GMT

9/9/2008
07GMT

10/9/2008
1
1GMT

11/9/2008
1
7GMT

12/9/2008
12
GMT

13/9/2008
1
1GMT

14/9/2008
1
2GMT

15/9/2008
1
5GMT

16/9/2008
09
GMT

17/9/2008
12
GMT

18/9/2008
1
4GMT

19/9/2008
13
GMT

20/9/2008
13
GMT

21/9/2008
1
3GMT

22/9/2008
10
GMT

23/9/2008
19
GMT

24/9/2008
12
GMT

25/9/2008
12
GMT

26/9/2008
09
GMT

27/9/2008
15GMT

28/9/2008
14GMT

29/9/2008
10
GMT

30/9/2008
11
GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 จะเห็นได้ว่าช่วงเดืือนกันยายนมีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยเกือบทั้งเดือน โดยเฉพาะบริเวณตอนเหนือของประเทศ ในพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกที่มีกลุ่มเมฆค่อนข้างมาก และจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ต้นเดือนเป็นต้นมา กลุ่มเมฆได้เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงกลางเดือนประมาณวันที่ 15 ก.ย. หลังจากนั้นได้เริ่มจางลง จนกระทั่งถึงช่วงปลายเดือนได้เริ่มมีกลุ่มเมฆเข้ามาอีกครั้งจากทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของพายุ "เมฆขลา"

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ภาพแผนที่อากาศ

1/9/2008

2/9/2008

3/9/2008

4/9/2008

5/9/2008

6/9/2008

7/9/2008

8/9/2008

9/9/2008

10/9/2008

11/9/2008

12/9/2008

13/9/2008

14/9/2008

15/9/2008

16/9/2008

17/9/2008

18/9/2008

19/9/2008

20/9/2008

21/9/2008

22/9/2008

23/9/2008

24/9/2008

25/9/2008

26/9/2008

27/9/2008

28/9/2008

29/9/2008

30/9/2008
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝน พาดผ่านพื้นที่ประเทศไทยตลอดทั้งเดือน โดยในช่วงต้นเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. จนถึงวันที่ 5 ก.ย. ร่องความกดอากาศได้พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างมาก หลังจากนั้นร่องความกดอากาศต่ำได้ลดต่ำลงพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศทำให้พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนหนัก และทำให้มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคกลางและภาคตะวันออก เ่ช่น จังหวัดลพบุรี นครนายก ปราจีนบรุี นอกจากนี้จะเห็นว่าในช่วงปลายเดือนได้มีพายุ "เมฆขลา" ค่อย ๆ เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก เป็นผลทำให้ีมีฝนตกหนักและทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งและไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา

พิษณุโลก
1
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
2
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
3
/9/2008
02:27GMT
No Data
No Data
No Data
No Data
No Data

พิษณุโลก
9
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
10
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
11
/8/2008
17:27GMT

พิษณุโลก
12
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
1
3/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
1
4/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
15
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
16
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
17
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
18
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
1
9/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
20
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
21/8/2008
15:27GMT

พิษณุโลก
22
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
23
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
24
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
25
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
26/
9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
27
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
28
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
29
/9/2008
02:27GMT

พิษณุโลก
30
/9/2008
02:27GMT


สกลนคร
1/9/2008
13:38GMT


สกลนคร
2/9/2008
13:38GMT


สกลนคร
3/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
4/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
5/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
6/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
7/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
8/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
9/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
10/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
11/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
12/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
13/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
14/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
15/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
16/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
17/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
18/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
19/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
20/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
21/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
22/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
23/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
24/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
25/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
26/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
27/9/2008
13:38GMT
No Data

สกลนคร
29/9/2008
13:38GMT

สกลนคร
30/9/2008
13:38GMT


อุบลราชธานี
1/9/2008
13:38GMT


อุบลราชธานี
2/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
3/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
4/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
5/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
6/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
7/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
8/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
9/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
10/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
11/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
12/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
13/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
14/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
15/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
16/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
17/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
18/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
19/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
20/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
21/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
22/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
23/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
24/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
25/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
26/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
27/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
28/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
29/9/2008
13:38GMT

อุบลราชธานี
30/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
1/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
2/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
3/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
4/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
5/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
6/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
7/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
8/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
9/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
10/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
11/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
12/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
13/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
14/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
15/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
16/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
17/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
18/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
19/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
20/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
21/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
22/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
23/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
24/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
25/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
26/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
27/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
28/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
29/9/2008
13:38GMT

ดอนเมือง
30/9/2008
13:38GMT

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยารัศมีครอบคลุมพื้นที่ตอนบนของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย เรดาร์พิษณุโลก สกลนคร อุบลราชธานีและดอนเมือง (เรดาร์แต่ละตัวรัศมีครอบคลุมพื้นที่ 240 กม.) พบว่า ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนจนถึงช่วงกลางเดือนมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นได้ลดปริมาณลงและปริมาณฝนได้เพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายเดือน ประมาณวันที่ 27-30 ก.ย. ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายดาวเทียม Goes-9 ซึ่งมีกลุ่มเมฆค่อนข้างมากในช่วงเวลาดังกล่าว เช่นกัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์พิษณุโลก
เรดาร์สกลนคร
เรดาร์อุบลราชธานี
เรดาร์ดอนเมือง

 

ปริมาณฝนสะสม

1/9/2551
00am

2/9/2551
00am

3/9/2551
12am

4/9/2551
12am

5/9/2551
00am

6/9/2551
00am

7/9/2551
00am

8/9/2551
00am
No Data

10/9/2551
00am


11/9/2551
12am


12/9/2551
12am

13/9/2551
00am

14/9/2551
12am

No Data

16/9/2551
12am

17/9/2551
12am

18/9/2551
00am

19/9/2551
12am
No Data

21/9/2551
00am

22/9/2551
00am

23/9/2551
00am

24/9/2551
00am

25/9/2551
12am

26/9/2551
12am

27/9/2551
00am

28/9/2551
12am

29/9/2551
00am

30/9/2551
12am

รายงานจากแผนภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่า มีฝนค่อนข้างมากเกาะกลุ่มอยู่ในพื้นที่ตอนบนของประเทศ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยในช่วงวันที่ 3-6 ก.ย. มีฝนเกาะกลุ่มเป็นจำนวนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนไปทางตอนบน หลังจากนั้นช่วงวันที่ 11-13 ก.ย. กลุ่มฝนได้ลดต่ำลงมาอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง รวมถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้ลดปริมาณลง และกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครึ้งในช่วงวันที่ 28-30 ก.ย. ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก รวมถึงภาคกลางในบางพื้นที่

รายละเอียดเพิ่มเติม

รายงานแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมจาก NASA พบว่าช่วงเดือนกันยายนมีปริมาณฝนสะสมค่อนข้างมากในหลายพื้นที่
เช่น บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน และตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมถึง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา
 

รายงานข้อมูลฝนสะสมในเดือนกันยายนจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานี คลองใหญ่ จังหวัดตราด รองลงมาคือสถานี ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และ สถานีพลิ้ว จังหวัด จันทบุรี และจากการตรวจสอบข้อมูลปริมาณฝนสะสม 24 ชม. พบว่า มีปริมาณฝนตกสูงสุดที่จังหวัดลพบุรี ในวันที่ 12 ก.ย. โดยมีปริมาณฝน 149 มิลลิเมตร รองลงมาคือที่สถานีปากช่อง จ.นครราชสีมา ปริมาณฝน 145.90 มิลลิเมตร ในวันที่ 12 ก.ย. เช่นเดียวกัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่า

รายงานข้อมูลระดับน้ำรายวันจากสถานีตรวจวัดระดับน้ำของกรมชลประทานจะพบว่า มีระดับน้ำล้นตลิ่งในลุ่มน้ำ ยม ป่าสัก โขง มูล ชี ปราจีนบุรี บางปะกง และชายฝั่งทะเลตะวันออก ในพื้นที่จังหวัด พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และ จันทบุรี

กราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีที่เกิดน้ำล้นตลิ่ง (คลิ๊กที่กราฟเพื่อแสดงภาพใหญ่)

บ้านบางระกำ

สะพานตลาดธานี

บ้านคลองตาล

บ้านบ่อวัง

บ้านฟากเลย

บ้านท่าพระ

บ้านด่านตะกา

หนองหญ้าปล้อง

ห้วยทับทัน

บ้านไผ่น้อย

บ้านลำชี

บ้านเมืองคง

บ้านสะตึก

บ้านในเมือง

บ้านกบินทร์

บ้านแก้ง

บ้านเขานางนม

บ้านฉมัน

ปริมาณฝนสะสม และ น้ำท่า บริเวณลุ่มน้ำยมและน่าน ระหว่างวันที่ 1-25 กันยายน 251    


กราฟแสดงอัตราส่วนของน้ำฝน-น้ำท่าบริเวณลุ่มน้ำยม ที่ร้อยละ 21 แสดงการเก็บกักน้ำในพื้นที่ไว้ได้มาก ส่วนพื่นที่ลุ่มน้ำน่านบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ มีอัตราส่วนเป็นร้อยละ 67 และพื้นที่ท้ายเขื่อนสิริกิติ์มีอัตราส่วนเป็นร้อยละ 61 แสดงถึงการเก็บกักน้ำไว้ในพื้นที่ได้น้อยกว่า

จากตาราง แสดงปริมาณฝนตกภายในช่วง 25 วัน พบว่าพื้นที่ทั้ง 3 แห่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร โดยเฉพาะลุ่มน้ำพื้นที่น่านท้ายเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำฝนที่คำนวณได้มีค่าสูงที่สุด เท่ากับ 1,719 ล้าน ลบ.ม




ภาพแสดงการกระจายตัวของน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน ล้วนเกิดในพื้นที่ท้ายน้ำ(ท้ายเขื่อน) เป็นหลัก






 




ปริมาณฝนสะสม 3 วัน ของลุ่มน้ำยม ในวันที่ 5-8 ก.ย. ส่งผลให้ระดับน้ำท่าในวันที่ 9 ก.ย. มีค่าเท่ากับ 185 เมตร รทก. และในวันที่ 11-13 ก.ย. ส่งผลให้ระดับน้ำท่าในวันที่ 14 ก.ย. มีค่าเท่ากับ 188.9 เมตร รทก.

 
จากกราฟจะพบว่าปริมาณฝนสะสมวันที่ 6-7 ก.ย. ของลุ่มน้ำน่านเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ส่งผลให้ระดับน้ำท่าในวันที่ 7 ก.ย. มีค่าเท่ากับ 3.05 เมตร รสม.. และในวันที่ 13-15 ก.ย. ส่งผลให้ระดับน้ำท่าในวันที่ 15 ก.ย. มีค่าเท่ากับ 2.75 เมตร รสม.

จากกราฟจะพบว่าปริมาณฝนสะสมวันที่ 15-21 ก.ย. ของลุ่มน้ำน่านท้ายเขื่อนสิริกิติ์ ส่งผลให้ระดับน้ำท่าในวันที่ 23 ก.ย. มีค่าเท่ากับ 8.93 เมตร รสม..
   

ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง

ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง

ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำน้ำอูน


ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำประแสร์


ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำป่าสัก

ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์

ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำคลองท่าด่าน



จากกราฟแสดงปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำในอ่างฯ ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยอ่างที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเกิน 90% ที่ รนก. คือ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ลำพระเพลิง น้ำอูน ประแสร์ อุบลรัตน์ คลองท่าด่าน ส่วนเขื่อนป่าสักมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่ยังไม่ถึง 90% ที่ รนก.

รายละเอียดเพิ่มเติม







ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)


ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2551 เวลา 18.27 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์และลพบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 เวลา 06.08 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และ สุโขทัย ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 เวลา 10.50 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก และ ปราจีนบุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551 เวลา 05.50 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี ภาพเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำท่วม จากข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 วันที่ 19 กันยายน และ 12 กันยายน 2551 บริเวณบางส่วนของจังหวัดสิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี และ พระนครศรีอยุธยา ภาพเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำท่วม จากข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 วันที่ 19 กันยายน และ 12 กันยายน 2551 บริเวณบางส่วนของจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และ นครสวรรค์

ข้อมูลด้านความเสียหาย
       จากการติดตามสถานการณ์อุทกภัยอันเนื่องมาจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ โดยปัจจุบันในบางพื้นที่ยังคงมีสภาพน้ำท่วมขังอยู่เป็นเวลานานกว่า 15 วันได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และปราจีนบุรี ทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นจากการประเมินในเบื้องต้นเมื่อเริ่มเกิดอุทกภัย ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม จากการรายงานของกรมส่งเสริมการเกษตร สถานการณ์น้ำของกรมชลประทาน ปริมาณน้ำฝนและสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา การติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต และข้อมูลดาวเทียม RADARSAT สรุปความเสียหายเฉพาะด้านพืช ดังนี้
       1. พื้นที่การเกษตรประสบภัยน้ำท่วม
       จำนวน 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา แพร่ กำแพงเพชร ตาก แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู มหาสารคาม มุกดาหาร บุรีรัมย์ เลย สุรินทร์ สกลนคร อุบลราชธานี อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง กรุงเทพฯ นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

       2. เนื้อที่การเกษตรเสียหาย (เฉพาะด้านพืช)
       จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่ามีเนื้อที่การเกษตร ได้รับความเสียหายประมาณ 2,531,624 ไร่ เป็นความเสียหายจากข้าว 1,973,193 ไร่ พืชไร่ 508,683 ไร่ พืชสวนและพืชอื่น 49,748 ไร่ คาดว่ามีเนื้อที่การเกษตรเสียหายสิ้นเชิงประมาณ 382,848 ไร่ จากข้าว 293,764 ไร่ และพืชไร่ 89,084 ไร่ โดยจังหวัดที่มีเนื้อที่เสียหายมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี 105,986 ไร่

       3.มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากผลผลิตการเกษตรเสียหาย
       ในเบื้องต้นคาดว่ามีมูลค่าเสียหายประมาณ 1,8 94 ล้านบาท จากข้าว 1,468 ล้านบาท และ พืชไร่ 42 6 ล้านบาท ส่วนพืชสวนคาดว่าไม่มีความเสียหาย โดยที่จังหวัดลพบุรีได้รับความเสียหายมากสุด ประมาณ 597 ล้านบาท จากข้าว 429 ล้านบาท และพืชไร่ 168 ล้านบาท

ข้อมูลเนื้อที่เสียหาย และมูลค่าความเสียทางเศรษฐกิจ
ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2551

หมายเหตุ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา แพร่ และกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่การเกษตรประสบภัยน้ำท่วม แต่คาดว่าไม่มีเนื้อที่เสียหายสิ้นเชิง
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ข้อมูลด้านความเสียหายจากแหล่งอื่นที่เกี่ยวข้อง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ข้อมูลวันที่ 29 ก.ย. 51)
กรมประชาสัมพันธ์ (ข้อมูลวันที่ 26 ก.ย. 51)


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำป่าไหลบ่าท่วมหมู่บ้านแปดริ้วยังน่าห่วง [ เนชั่น : 30 ก.ย.51 ]

เวลา 07.00 น. สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ยังคงน่าเป็นห่วง หลังระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 80 ซม.-2 เมตร ขณะที่เรือท้องแบนใช้การไม่ได้ เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นสวนป่าสลับบ้านเรือนพักอาศัย กระแสน้ำไหลแรงเชี่ยวกราก พัดแรงจนเรือทรงตัวไม่อยู่ เนื่องจากสภาพพื้นที่คับแคบ ต้องใช้รถแทร็กเตอร์การเกษตรลากจูงข้ามเส้นทางน้ำไหล ขนคนเข้าออกจากหมู่บ้าน
โดยนายศุภกาณต์ ตันเจริญ นายก อบต.ท่ากระดาน กล่าวว่า ได้นำเรือท้องแบนจาก อบต. คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ มาขนของช่วยเหลือชาวบ้านหนีน้ำ และช่วยขนคนในหมู่บ้านออกไปทำงานรวมถึงนักเรียนที่ยังอยู่ระหว่างสอบก่อนปิดภาคเรียนไปโรงเรียนด้วย เนื่องจากถนนในหมู่บ้านถูกกระแสน้ำไหลบ่าตัดขาด ระดับน้ำสูงจากระดับพื้นถนน กว่า 80 ซม. แต่ก็มีปัญหาเพราะเรือท้องแบนที่เหมาะสำหรับสภาพน้ำท่วมในพื้นที่ทุ่งโล่งเตียน ไม่เหมาะที่จะใช้กับสภาพพื้นที่สวนป่า จึงต้องใช้รถไถใหญ่การเกษตรลากจูงสู้กระแสน้ำแทน โดยขณะนี้มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนแล้วจำนวน กว่า 200 ครอบครัว ซึ่งทาง อบต.จะได้ทำเรื่องขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดในวันนี้ นายศุภกาณต์ กล่าว

--------------------------------------------------------------------------------------

สรุปอุทกภัยในเขตพื้นที่ จ.ขอนแก่น [สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ขอนแก่น : 25 ก.ย.]

ตั้งแต่วันที่ 14-25 ก.ย.ว่า ผลการสำรวจพื้นที่ประสบภัยพบว่า มีจำนวน 20 อำเภอ 152 ตำบล 1,302 หมู่บ้าน และอีก 35 ชุมชน โดยความเสียหายที่เกิดขึ้น พบว่า มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 120,989 ครัวเรือน 456,843 คน ถนน 594 สายชำรุดเสียหาย ฝาย 6 แห่ง คอสะพาน 3 แห่ง ส่วนพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 258,078 ไร่ บ่อปลาอีก 8,011 ไร่ รวมมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นกว่า 151 ล้านบาท ส่วนสถานการณ์ปัจจุบัน ขณะนี้น้ำในเขตชุมชนเมืองได้เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบริเวณซอยร้านร้านขายข้าวขาหมู ริมถนนมิตรภาพ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น และยังคงมีน้ำท่วมขังถนนทางเข้าหมู่บ้านบางแห่งในเขตพื้นที่ ต.ดอนหัน อ.เมืองขอนแก่น และ ต.ศรีบุญเรือง จ.ชนบท สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำชี ขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือจาก จ.ชัยภูมิ ที่ไหลลงมาตามแม่น้ำชีผ่าน อ.ชนบท และเข้าสู่แก่งละว้า อ.บ้านแฮด ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีระดับน้ำที่สูงขึ้น ซึ่งล่าสุดทางจังหวัดได้แจ้งเตือนให้อำเภอที่มีพื้นที่เสี่ยงภัย และอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำชีให้เฝ้าระวังปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น รวมถึงให้ระมัดระวังอันตรายด้วย เนื่องจากกระแสน้ำไหลเชี่ยว ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ วันนี้ (25 ก.ย.) ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ได้ขอปรับการระบายน้ำเพิ่มจากวันละ 10 ล้าน ลบ.ม.เพิ่มเป็น 15 ล้าน ลบ.ม.ทั้งนี้เพื่อปรับความสมดุลของน้ำในเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในลำน้ำพองมีระดับน้ำที่สูงขึ้นเล็กน้อย ขณะเดียวกันก็ได้ประสานไปยัง อบต.ในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบ ทั้ง อบต.บึงเนียม พระลับ ดอนหัน และศิลา ในเขต อ.เมืองขอนแก่น ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิดด้วย

ที่ลพบุรี นายไชยา หาญชนะ ปศุสัตว์อำเภอเมืองลพบุรี กล่าวว่า จากการที่น้ำท่วมในเขตจังหวัดลพบุรีทางปศุสัตว์อำเภอได้ทำการสำรวจเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในเขตอำเภอเมืองลพบุรีพบว่าใน 9 ตำบลของอำเภอเมือง ลพบุรี มี โคเนื้อจำนวน 1,000 ตัว แพะและสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่พื้นบ้านอีก 500 กว่าตัวที่ต้องให้การช่วยเหลือ โดยการแจกเวชภัณฑ์ และยารักษาสัตว์ พร้อมทั้งแจกฟางอักก้อนให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน250ก้อนๆละ 20 กิโลกรัมซึ่งทางปศุสัตว์จังหวัดลพบุรีได้สั่งฟางมาจากศูนย์วิจัยพืชและอาหารสัตว์ที่จังหวัดชัยนาท  นายประจวบ อรุณ ปศุสัตว์อำเภอบ้านหมี่ กล่าวว่า สำหรับอำเภอบ้านหมี่ที่ได้รับผลกระทบมีหลายตำบล มีโคเนื้อจำนวน 1,183 ตัว แพะจำนวน 150 ตัว สุกร จำนวน 603 ตัว สัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่เนื้อและไก่พื้นบ้านจำนวน 38,638 ตัว ทางปศุสัตว์ จังหวัดได้จัดเวชภัณฑ์และยารักษาสัตว์ พร้อมด้วยแร่ธาตุให้กับเกษตรกร เพื่อนำไปรักษาอาการขอโคเนื้อ และ สัตว์ปีกที่มีอาการป่วย พร้อมกันนั้นทางเกษตรกร ที่เลี้ยงโตเนื้อ ทางสำนักงานปศุสัตว์ก็ให้ฟางอักก้อนไปเลี้ยงโคเนื้อและแพะ

ที่บุรีรัมย ์ ขณะนี้ทางจังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว 21 อำเภอ 132 ตำบล  จำนวน 1,375 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อนกว่า 130,000  ครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ไร่นาของเกษตรกรถูกน้ำท่วมเสียหายแล้วกว่า 50,000 ไร่ บ่อปลากว่า 30 บ่อ และถนนทางเข้าหมู่บ้านถูกน้ำกัดเซาะชำรุดเสียหายกว่า 100 สาย สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ล่าสุด ระดับน้ำที่เอ่อท่วมถนนเชื่อมต่อสายลำปลายมาศ-ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา  และถนนสายบุรีรัมย์ ถึง จ.สุรินทร์ ระหว่างบ้านโนนแดง ต.หนองเต็ง อ.กระสัง ขณะนี้ระดับน้ำได้เริ่มลดลง รถใหญ่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้แล้ว ส่วนในพื้นที่ อ.ประโคนชัย ระดับน้ำที่ท่วมขังไร่นา และบ้านเรือนราษฎร ก็เริ่มคลี่คลายใกล้เข้าสู่สภาวะปกติแล้วเช่นกัน

ที่พิจิตร  น้ำป่าไหลจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลเข้ามาท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้นำยังคงท่วมขังสูงกว่า 1 เมตร ไม่สามารถระบายออกลงสู่น้ำในแม่น้ำน่านได้ นาข้าวได้รับความเสียหลายหมื่นไร่ เนื่องจากน้ำในแม่น้ำน่านมีปริมาณสูงเกือบล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนากแล้ว หลังจาก 4 ตำบล คือ ตำบลวังตระกกรู ตำบลภูมิ ตำบลลำปะดา ตำบลตำบลห้วยเขน อำเภอบางมูลนาก ถูกน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านกว่า 2,000 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก อีกทั้งนาข้าว ที่ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร กำลังเสียหายซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายอยู่ สำหรับสาเหตุที่น้ำท่วมขังนานเนื่องมาจากน้ำใน แม่น้ำน่านมีปริมาณสูง มาก จนใกล้ที่จะวิกฤติและจะล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนากแล้ว จึงไม่สามารถระบายน้ำที่ท่วมขังจาก 4 ตำบล ที่ถูกน้ำป่าท่วมลงสู่แม่น้ำน่านได้ ซึ่งคงต้องรอจนกว่าน้ำลด จึงจะรู้ความเสียหาย ว่ามีพื้นที่นาข้าวเท่าไหร่ ที่ได้รับความเสียหาย

--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมพิจิตรประชาชนยังได้ รับความเดือดร้อน [BEC News : 19 ก.ย. 51]

     
สถานการณ์น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ที่หลากเข้าท่วม หลายอำเภอของจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะ อำเภอบางมูลนาก
ชาวบ้านยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ยังมีฝนตกลงมากอีก ทำ ให้ 7 ตำบลคือ ตำบล วังกรด ตำบล
เนินมะกอก ตำบลลำปะดา ตำบลห้วยเขน หอไกรอำเภอบางมูลนาก จ. พิจิตร ตำบลภูมิ ยังมีน้ำท่วม บ้านเรือนราษฎร
กว่า 200 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน ไร่นากว่า 10,000 ไร่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิง ถนนที่ได้รับความเสียมีทั้ง
สิ้น 30 เส้นทาง ส่วนใหญ่เป็นลาดยางและถนนในหมู่บ้าน โดยในขณะนี้ระดับน้ำยังคงทรงตัว และลดลงบ้างในพื้นที่สูง
แต่ภาพรวมชาวบ้านส่วนใหญ่ยังได้รับความเดือร้อน จากการใช้ชีวิตประจำวัน



--------------------------------------------------------------------------------------

ขอนแก่น - ทางรถไฟขาดถูกกระแสน้ำพัดยังใช้การไม่ได้ [BEC news : 18 ก.ย. 51 ]

หลังจากที่ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้ทางรถไฟ
สายขอนแก่น - นครราชสีมาถูกน้ำพัดชำรุดเสียหายใช้การ
ไม่ได้ตั้งแต่เมื่อเย็นวานนี้ขณะนี้ จนท.กำลังเร่งสำรวจเพื่อ
ซ่อมแซมด่วน ขณะที่ถนนมิตรภาพสายขอนแก่น-บ้านไผ่
ที่ถูกน้ำท่วมพัดคอสะพานขอก็ยังใช้การไม่ได้เช่นกัน

เจ้าหน้าที่การทางรถไฟขอนแก่น นำโดยนายวรรณไชย พรมชาติ
วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางรถไฟขอนแก่น ได้นำ จนท.หน่วย
ซ่อมบำรุงทางออกสำรวจเส้นรถไฟทางบริเวณถูกกระแสน้ำพัด
ได้รับความเสียหาย จนรถไฟไม่สามารถวิ่งผ่านไปมาได้ ที่บริเวณ
อำเภอบ้านแฮด ห่างจากสถานีบ้านแฮดเพียง 2 กม.เท่านั้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า รางรถไฟได้รับความเสียหาย
อย่างมาก เนื่องจากคูคันดินที่รองรางรถไฟถูกน้ำพัดพังไปหมด ต้องใช้เวลาซ่อมไม่ต่ำกว่า 2 วันจึงจะสามารถ
เปิดให้รถไฟวิ่งผ่านได้

ส่วนเส้นทางมิตรภาพสายขอนแก่น-นครราชสีมา-กรุงเทพฯ ที่ถูกกระแสน้ำพัดคอสะพานขาดยาวเป็นระยะทาง
กว่า15 เมตร ที่บริเวณหลัก กม.ที่ 20 บ้านศรีสำราญ อ.บ้านแฮด เป็นเหตุให้รถวิ่งผ่านไม่ได้ตั้งแต่เมื่อช่วงบ่ายวานนี้
โดยรถยนต์ที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ต้องอ้อมไปใช้เส้นทางอื่นแทน ขณะนี้ จนท.กรมทางหลวงได้นำเครื่องมือ
อุปกรณ์ มาเร่งซ่อมแซม โดยจะทำเป็นสะพานเหล็กใช้การชั่วคราวไปก่อน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการณ์
คาดว่าช่วงเย็นของวันนี้น่าจะเสร็จทัน ซึ่งขณะนี้มีรถยนต์ส่วนตัว และรถบรรทุกสินค้าที่วิ่งขอนแก่น-กรุงเทพฯ
จอดติดอยู่จำนวนมากตั้งแต่เมื่อคืนนี้ จำนวนเกือบ 100 คันที่ยังไม่สามารถวิ่งไปมาได้

--------------------------------------------------------------------------------------

โคราช- น้ำท่วมเขตเทศบาลสูงถึง 1 เมตร [BEC news : 18 ก.ย. 51 ]

วันนี้ (18 ก.ย. 51) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาได้เกิด
ฝนตกหนักในเขตอ.เมืองนครราชสีมา ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมใน
เขตเทศบาลนครนครราชสีมาในหลายพื้นที่ อาทิ บริเวณสามแยก
หัวทะเลถนนราชสีมา-โชคชัย น้ำท่วมสูง 60 ซม. รถเล็กไม่สามารถ
สัญจรไปมาได้
ทำให้การจราจรติดขัดบริเวณดังกล่าวยาวกว่า 2 กม. ส่วนที่ชุมชนเบญจรงค์ ชุมชนท้าวสุระ น้ำท่วมสูง 80 ซม.ถึง
1 เมตร ชาวบ้านกว่า 1,000 ครอบครัวได้รับความเดือดร้อน ส่วนที่ตำบลหนองบัวศาลา อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งถูกน้ำท่วมมาก่อนหน้านี้แล้วก็ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำเป็น
รอบสอง โดยเฉพาะ 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหนองตะลุมปุ๊กเก่า หมู่ 2,บ้านหนองปลิง หมู่ 3,บ้านหนองตาคง
หมู่ 8,บ้านหนองปลิงใหม่ หมู่ 9 ,บ้านหนองตะลุมปุ๊กใหม่ หมู่ 10 ,หมู่บ้านจามจุรีและหมู่บ้านวรการ ระดับน้ำที่ท่วมสูง
ประมาณ 80 ซม.- 1.50 เมตร ราษฎรเดือดร้อนกว่า 300 หลังคาเรือน นายสุธี มากบุญ ผวจ.นครราชสีมา ได้สั่งการ
ให้ทุกหน่วยงานระดมการช่วยเหลือ

--------------------------------------------------------------------------------------

ลพบุรี- น้ำท่วมยังน่าห่วงหลังฝนตกหนัก [BEC news : 18 ก.ย. 51 ]

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดลพบุรียังน่าเป็นห่วงและยังไม่
คลีคลาย หลังจากที่ระดับที่ท่วมขังมานานกว่า1 อาทิตย์ เริ่มทรงตัว
ไปเมื่อวานนี้ แต่เมื่อคืนที่ผ่านมาได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักตลอด
เกือบทั้งคืน
ทำให้มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นมาอีกครั้งสูงกว่า 10 ซม.เลยที่เดียว ขณะที่น้ำที่ท่วมขังนานเริ่มเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว
บริเวณและน้ำที่ท่วมสูงก็ยังได้เข้าท่วมสถานที่ผลิตน้ำประปาหมู่บ้านจนไม่สามารถใช้ได้ ชาวบ้านต้องทนทุกเพราะ
ไม่มีน้ำอาบ และน้ำใช้กันแล้ว ขณะที่ชาวบ้านเริ่มป่วยจากอาการ เท้าเปื่อย ตาแดง ไข้หวัด และผู้สูงอายุเกิดอาการเครียดมากขึ้น เกือบทั้งหมู่บ้าน
โดยเฉพาะชาวบ้านที่ตำบลหนองเมือง และตำบลพุคาหลังนาข้าวก็เสียจนตนเองหมดตัวแถมน้ำที่ท่วมก็ท่วมสูง
และนานกว่าที่คิดไว้ ซึ่งทางโรงพยาบาลอนันทมหิดลร่วมกับธนาคารออมสินได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่แจกยา
และตรวจรักษาโรคให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมในตำบลหนองเมือง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีประชาชนทั้ง
เด็กและผู้สูงอายุมารอรับการรักษาจำนวนหลายร้อยคน โดยโรคที่พบมากที่สุดคืออาการเครียด ตามมาด้วยน้ำ
กัดเท้าและตาแดง ทำให้ทางสาธารสุขต้องออกประกาศเตือนชาวบ้านที่ต้องเดินลุยน้ำบ่อยหากหลีกเลี่ยงไม่ได้
ให้สวมรองเท้าบูลหรือไม่มีขอให้แจ้งมาที่สาธารณสุขหรือใช้ถุงพลาสติกสวมเท้าเพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ

--------------------------------------------------------------------------------------

พิษณุโลก- น้ำท่วมขังเน่าแล้ว [BEC news : 18 ก.ย. 51 ]

สถานที่ราชการเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ที่ถูกน้ำท่วมมา
ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ล่าสุดระดับน้ำลดลงบ้างแล้วแต่
ยังคงมีน้ำท่วมอยู่บางแห่ง โดยเฉพาะที่เรือนจำจังหวัดพิษณุโลกทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก ยังคงมีน้ำท่วมอยู่ภายใน ต้องเร่งสูบน้ำออกเป็น
วันที่ 6 เนื่องจากตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงเมื่อเช้าในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืน
ขณะที่สถานที่ราชการบางแห่งน้ำได้เริ่มเน่าส่งกลิ่นเหม็นสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่มาติดต่อราชการ
หรือพักอาศัยอยู่ใกล้เคียงแล้ว นางสาวแสงอรุณ อุบประเสริฐ พนักงานจำหน่ายร้านค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่าตั้งแต่มีน้ำท่วม
มาจนถึงปัจจุบันน้ำยังคงท่วมขังอยู่ในที่ราบลุ่มจนเป็นเหตุทำให้น้ำเริ่มเน่าเหม็น ขณะเดียวกันระบบน้ำประปาเริ่ม
ประสบปัญหาน้ำแดงขุ่น ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ ขณะเดียวกันทางด้าน ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค
12 กำแพงเพชร ได้นำรถน้ำมาบรรจุน้ำประปาสะอาดลำเลียงส่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในเขตตำบลวังทอง และ
ตำบลวังพิกุล พร้อมทั้งยังได้นำรถผลิตน้ำสะอาดเคลื่อนที่มาผลิตน้ำสะอาดแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบอุทกภัย
ในเขตพื้นที่อำเภอวังทองตลอดทั้งวันอีกด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------

อุดรธานี-น้ำป่าไหลทะลักท่วมไร่นากว่า 30,000 ไร่ [BEC news : 17 ก.ย. 51 ]

รายงานสถานน้ำท่วม ล่าสุดสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดอุดรธานี
แผ่วงกว้าง หลังจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ที่อ.บ้านผือ
จ.อุดรธานี น้ำป่าจากห้วยนาอ่าง ต.จำปาโมง อ.บ้านผือ ซึ่งเป็น
ลำห้วยขนาดใหญ่และเป็นต้นน้ำไหลมาจากจากอ.สุวรรณคูหา
จ.หนองบัวลำภูปริมาณน้ำได้เอ่อล้นทะลักไหลลงมาท่วมไร่นา
ของเกษตรกรใน 5 ตำบลเสียหายแล้วจำนวนกว่า 30,000 ไร่ แต่ที่เสียหายหนักมี 5 ตำบล คือ ต.จำปาโมง ต.เมืองพาน ต.บ้านผือ ต.กลางใหญ่ และต.คำด้วง โดยน้ำท่วมเอ่อน้ำท่วมมาแล้ว 3 วัน ขณะนี้ต้นข้าวที่ถูก
น้ำท่วมกำลังเน่าเสียหาย ทางด้านนายวศิน จันทพล ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ได้เปิดเผยว่า ทางอำเภอได้ร่วมกับ
สำนักงานเกษตรกรอำเภอเร่งออกสำรวจความเสียหายของเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากกรณีถูกน้ำเอ่อ
ท่วมไร่นาขณะนี้ พบความเสียหายแล้ว จำนวน 30,000 ไร่ แต่หากฝนยังตกหนักติดต่อกันหลาย เชื่อว่า พื้นที่
ไร่นาจะเสียหายเพิ่มเติม โดยการสำรวจเสียหายขณะนี้มูลค่าความเสียหาย 12,600,000 บาท โดยทางอำเภอ
เตรียมประสานความช่วยเหลือจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้แก่เกษตรกรไร่ละ 420 บาทแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------

นครสวรรค์-น้ำท่วมชาวบ้านขนของหนีน้ำ [BEC news : 17 ก.ย. 51 ]

ที่จังหวัดนครสวรรค์ ฝนที่ตกติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับน้ำ
เหนือที่ไหลลงมาสมทบทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณ
เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ติดแม่น้ำหลายชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กำลัง
ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ทำให้ชาวบ้านต้องนำเรือออกเพื่อไปขนข้าวของออกมาจากบ้าน และนำมาไว้ที่
พักชั่วคราวที่ทางเทศบาลนคร นครสวรรค์ได้สร้างไว้เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือนร้อน ขณะที่ในหลายอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน เนื่องจากฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมใน
หลายพื้นที่ อย่างที่ ชาวบ้านใน ต.ทำนบ ต. ดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ก็กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่าง
หนัก เนื่องจากน้ำได้ไหลเข้าท่วมถนนที่ใช้สัญจรไปมา รวมถึงโรงเรียนบ้านทำนบประกาศปิดโรงเรียนอย่างไม่มี
กำหนดจนกว่าระดับน้ำจะลดลง นอกจากนี้น้ำยังไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนกว่าครึ่งหลัง นอกจากนี้ยัง
ไหลเข้าท่วมนาข้าวหลายหมื่นไร่ของชาวบ้านได้รับความเสียหาย ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพทั้งคนและสัตว์มา
กลางเต็นท์และสร้างคอกวัว คอกหมูอยู่ริมถนน แต่ชาวบ้านบอกว่าถึงน้ำจะท่วม แต่ชีวิตก็ต้องเป็นอยู่ต่อไปต้อง
กินต้องใช้หากอยู่เฉยๆ นั่งดูน้ำท่วมนาข้าวคงอดตาย เลยเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสออกหากบ หาปลา เพื่อนำ
มาเป็นอาหาร และนำไปหายหารายได้เพื่อจุนเจือครอบครัวไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าให้
ความช่วยเหลือ


--------------------------------------------------------------------------------------

มหาสารคาม-สถานการณ์น้ำชีใกล้วิกฤต [BEC news : 17 ก.ย. 51 ]

นายวรรัตน์ ประวาลปัทมกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัด
มหาสารคาม กล่าวว่า จังหวัดมหาสารคามได้รับอิทธิพลร่องความกด
อากาศต่ำทำให้มีฝนตกระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ ในช่วง 3-4 วัน
ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร โดยเฉพาะ
ในเขตลุ่มน้ำชีเขตอำเภอโกสุมพิสัย เชียงยืน กันทรวิชัย และอำเภอเมืองมีปริมาณฝนตกหนัก วัดปริมาณน้ำฝน
ได้มากกว่า 100 มิลลิเมตร ส่งผลให้สถานการณ์น้ำในแม่น้ำชีเพิ่มสูงขึ้น สำนักชลประทานเขต 6 ได้ยกบานประตู
ระบายน้ำ ทั้ง 4 ฝาย ได้แก่ ฝายชนบท จังหวัดขอนแก่น ฝ่ายคุยเชือก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ฝายวังยาง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ และฝายเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อระบายน้ำออก และเตรียมรองรับ
น้ำก้อนใหม่ที่จะมาถึงในอีก 2 วันข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำที่เขตจังหวัดมหาสารคามเหนือฝายวังยางอยู่ที่ระดับ
137 ลูกบาศ์กเมตร ยังต่ำกว่าระดับตลิ่งเพียง 1 เมตร ระดับน้ำก็จะเข้าสู่ระดับวิกฤต จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน
เขตลุ่มน้ำชีตลอดสาย ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดกลางมีระดับเพิ่มขึ้น ล่าสุดปริมาณน้ำน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 17
แห่ง มีปริมาณน้ำเก็บกัก รวม 62.40 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 64 ของ ความจุอ่าง รวม 81.20 ล้านลูก-
บาศก์เมตร ซึ่งยังสามารถรองรับน้ำได้อีกระยะหนึ่ง ซึ่งพบว่าส่งผลดีต่อพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานที่
ก่อนหน้านี้กำลังประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงอย่างหนัก แต่มีน้ำฝนในช่วงนี้จึงทำให้ต้นข้าวฟื้นตัวและได้รับผลกระทบ
เพียงบางส่วนเท่านั้น

--------------------------------------------------------------------------------------



ภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

มื่อวันที่ 15 กันยายน ที่ จ.กาญจนบุรี น้ำป่าไหลท่วม ต.ทุ่งกระบ่ำ และ ต.หนองโสน อ.เลาขวัญ โรงเรียนต้องประกาศหยุด พระออกบิณฑบาตไม่ได้ ไร่นาจมน้ำหลายพันไร่ ถนนสายเลาขวัญ - ทุ่งกระบ่ำ และสายเลาขวัญ - หนองโสนขาด  ทั้งนี้ นายวินัย ถาวรนาน ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ เปิดเผยว่า น้ำในอ่างเก็บน้ำมี 85% สามารถรองรับน้ำได้อีก 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกัน ต้องชะลอการปล่อยน้ำ นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า จะมีฝนตกหนักมากในหลายพื้นที่ ขอแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมน้ำและที่ลาดเชิงเขา รวมถึงพื้นที่เสี่ยงภัยระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าและดินถล่ม สำหรับเขื่อนต่างๆ ใน จ.กาญจนบุรี ยังรองรับน้ำได้อีกมาก และปลอดภัย 100%  
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นายทศพล วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เปิดเผยว่า การเดินเรือขนส่งสินค้า โดยเฉพาะปูนซีเมนต์ ข้าว และถ่านหิน มาตามแม่น้ำป่าสักในเขต อ.นครหลวง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เรือสินค้าต้องจอดหลบไม่กล้าเสี่ยง เพราะท้ายขบวนอาจกระแทกกับสะพานข้ามแม่น้ำ บางลำผ่านสะพานไม่ได้เพราะระดับน้ำสูง นอกจากนี้ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก บนถนนสายเอเชียในเขต ต.บ่อโพง อ.นครหลวง คงเสร็จไม่ทันตามกำหนด เพราะน้ำท่วมตอม่อ  
ที่ จ.สระบุรี นายสรรเสริญ เอี่ยมกมล รองผู้อำนวยการแขวงการทางสระบุรี ตรวจถนนสายแก่งคอย - นครนายก ช่วงกิโลเมตรที่ 9 พบว่า บริเวณสะพานบ้านโคกกรุง หมู่ 7 ต.ชำผักแพว อ.แก่งคอย พื้นสะพานแตก ดินใต้ถนนถูกน้ำกัดเซาะเป็นโพรงใหญ่ ผิวถนนคอนกรีตเหลือเพียง 10 เซนติเมตร ไม่สามารถรับน้ำหนักรถได้ต้องปิดห้ามผ่าน 
ที่ จ.นครนายก ชาวบ้านต้องขนย้ายข้าวของไปไว้ที่สูง ขณะเดียวกัน มีงูมากับกระแสน้ำเข้าไปกินไก่ในบ้าน ส.ต.อาทิตย์ ชไมพรเลิศสกุล อายุ 47 ปี อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคนครนายก หน่วยกู้ภัยต้องเข้าไปจับออกมา เป็นงูเหลือมยาว 4.50 เมตร หนัก 25 กิโลกรัม  
ที่ จ.ปราจีนบุรี น้ำท่วมชุมชนตลาดเก่ากบินทร์บุรี เด็กๆ นำห่วงยางมาเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน และน้ำจาก อ.กบินทร์บุรี เริ่มไหลลง อ.ศรีมหาโพธิ และ อ.เมืองปราจีนบุรี ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีสูงมาก คาดว่าภายใน 2 วันจะล้นตลิ่ง เกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังต่างรีบจับปลาขายก่อนกำหนด เนื่องจากเกรงว่าโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งจะลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ 
อย่างไรก็ตาม นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า มี 22 จังหวัดประสบอุทกภัยอย่างหนัก กรมทรัพยากรน้ำได้วิเคราะห์สถานการณ์ น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่พบมี 3 แห่ง อยู่ในภาวะที่เกินความสามารถในการรองรับน้ำเข้าเขื่อนแล้ว เนื่องจากมีปริมาณน้ำในเขื่อนมากกว่า 80% ได้แก่ เขื่อนศรีนรินทร์ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำถึง 85% เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก และปราจีนบุรี 80% และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง 83% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์วิกฤติต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ขอเตือนประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ใต้เขื่อนทั้ง 3 แห่งรวมทั้งนักท่องเที่ยวต้องติดตามสถานการณ์ 

--------------------------------------------------------------------------------------

กรมอุตุฯเตือนรับมือน้ำท่วม 23จังหวัด [ไทยรัฐ : 14 ก.ย. 51]

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 13 ก.ย. นายปรีชา กมลบุตร ผวจ.พระนครศรีอยุธยา เดินทางไปตรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำป่าสัก บริเวณเขื่อนพระราม 6 อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ล่าสุด เขื่อนพระราม 6 ได้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 6 บาน ปริมาณการปล่อยน้ำอยู่ที่ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพราะต้องเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังใน จ.ลพบุรี และสระบุรี ทำให้แม่น้ำป่าสักท้ายเขื่อนพระราม 6 ตั้งแต่ อ.ท่าเรือ นครหลวง และพระนครศรีอยุธยา สูงขึ้นกว่า 2 เมตรภายในคืนเดียว  ผวจ.พระนครศรีอยุธยากล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงประชาชนที่อยู่ท้ายเขื่อนพระราม 6 เพราะฝนยังตกใน จ.ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และชัยนาท ทำให้น้ำไหลมาสมทบทั้งที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และเขื่อนพระราม 6 อาจทำให้บ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมในบางพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ได้ประกาศให้ทุกอำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว เพราะแต่ละอำเภอจะได้นำงบประมาณฉุกเฉินไปช่วยเหลือประชาชนได้ทัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเขื่อนพระราม 6 เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 6 บาน ส่งผลให้น้ำแม่ป่าสักบริเวณท้ายเขื่อนเอ่อล้นเข้าท่อระบายน้ำท่วมตลาด อ.ท่าเรือ ทางเทศบาลตำบลท่าเรือได้ประกาศเตือนชาวบ้านให้ขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ อ.บางบาล พระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อย ตั้งแต่ อ.ผักไห่ และ อ.เสนา เริ่มได้รับผลกระทบน้ำท่วมบางพื้นที่แล้ว เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำที่ 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 

 ที่ จ.ลพบุรี ล่าสุดมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมขยายวงกว้างเป็น 7 อำเภอแล้วจากทั้งหมด 11 อำเภอ โดยเฉพาะ อ.เมืองลพบุรี บ้านหมี่และโคกสำโรง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ระดับน้ำสูงกว่า 1.5 เมตร ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองลพบุรี นำเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำในเขตตัวเมืองตลอดทั้งวัน ขณะนี้มีเพียง อ.สระโบสถ์เท่านั้นที่สามารถเข้าสำรวจความเสียหายได้ โดยมีบ้านเรือนเสียหาย 7 หลัง เนื่องจากเพราะถูกน้ำป่าจากภูเขาไหลผ่าน ส่วนอีก 6 อำเภอยังตรวจสอบไม่ได้ประกอบด้วย อ.เมืองลพบุรี บ้านหมี่ โคกสำโรง หนองม่วง ชัยบาดาล และโคกเจริญ อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดได้ประกาศให้ 7 อำเภอที่เป็นเขตภัยพิบัติแล้ว   ส่วนชาวบ้านบ้านเขาสว่าง หมู่ 1 ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ที่ถูกน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลลงสู่คลองน้ำตกท่วมบ้านเรือนริมคลองกว่า 30 หลัง ล่าสุดน้ำแห้งเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ชาวบ้านช่วยกันทำความสะอาดและขนข้าวของเข้าไปอยู่ในบ้าน ขณะที่ร้านค้ารีสอร์ตบางแห่งที่อยู่ตามริมน้ำตกยังไม่สามารถเปิดบริการได้ เนื่องจากข้าวของหายไปกับกระแสน้ำ ส่วนถนนสายโคกกรุง-ห้วยแห้ง หมู่ 11 ต.ห้วยแห้ง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เกิดทรุดตัวกว้างกว่า 2 เมตรจนรถใหญ่ไม่สามารถวิ่งผ่านได้ 

ที่ จ.นครนายก นายเกษม วัฒนธรรม รอง ผวจ. นครนายก ออกตรวจพื้นที่น้ำท่วมใน ต.ป่าขะ อ.บ้านนา พบผักตบชวาลอยมาตามคลองบ้านนาติดราวสะพานวัดไม้รวก หมู่ 4 ทำให้น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางไปท่วมถนนสายบ้านนา-กระอาง และถนนสุวรรณศร กม.ที่ 121-124 หมู่ 10 ต.บ้านนา

ด้านนายวัลลภ เทพภักดี ผอ.ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 จ.นครราชสีมา กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.ปากช่อง เริ่มคลี่คลายแล้ว น้ำลดระดับลงบ้าง ถนนมิตรภาพก็เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม ได้ประกาศพื้นที่ให้ อ.ปากช่อง เป็นเขตภัยพิบัติ ส่วน อ.เมืองนครราชสีมา พื้นที่ ต.หนองบัวศาลา มีน้ำท่วม 3 หมู่บ้านคือหมู่ 2 หมู่ 8 และหมู่ 10 ถือว่าหนักสุดในรอบ 10 ปี ราษฎรเดือดร้อนประมาณ 200 หลังคาเรือน ได้ส่งเรือท้องแบนไปช่วยเหลือ 4 ลำ สำหรับอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ที่รองรับน้ำจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น ยังสามารถรับน้ำได้อีกมาก เพราะขณะนี้น้ำในอ่างมีอยู่ไม่ถึง 50% เท่านั้น 

ภาคเหนือ ที่ จ.พิษณุโลก ฝนที่ตกหนักตลอดทั้งคืน ส่งผลให้น้ำป่าไหลลงคลองชมพูเอ่อล้นท่วมพื้นที่หมู่ 2, 3, 4 และ 5 ต.ชมพู อ.เนินมะปราง ชาวบ้าน 22 ครอบครัวต้องขนข้าวของมาอาศัยที่ศาลาการเปรียญวัดชมพูโรงเรียนบ้านน้ำปาด และโรงเรียนบ้านปลวกง่าม ถูกน้ำท่วม ส่วนถนนสายกกไม้แดง-เนินมะปราง ช่วงหมู่ 4 และหมู่ 5 มีน้ำสูงกว่า 50 ซม. ส่วน อ.วังทอง น้ำป่าจากเขาฟ้าได้ไหลทะลักเข้าส่วนราชการหลายแห่งที่ตั้งอยู่ริมถนนสายพิษณุโลก-วังทอง โดยเฉพาะเรือนจำจังหวัด พิษณุโลกและทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก มีน้ำท่วมประมาณ 1 ฟุต ต้องย้ายผู้ต้องขังหนีน้ำ  ขณะเดียวกัน เมื่อช่วงบ่ายวันเดียวกัน น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ไหลบ่าเข้าท่วมนาข้าวและบ้านเรือนหมู่ 5, 10 และ 11 ต.เขาทราย อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ทำ ให้ราษฎรเดือดร้อนกว่า 100 ครอบครัว นาข้าวที่อยู่ระหว่างตั้งท้องจมน้ำกว่า 1,000 ไร่ ชาวบ้านได้นำรถแบ็กโฮขุดถนนคอนกรีตในหมู่บ้านเพื่อระบายน้ำ

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมพิจิตร เริ่มลดลงแล้ว [ INN news ]


สถานการณ์น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ได้ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ในเขตพื้นที่ จ.พิจิตร โดยเฉพาะที่ อ.ทับคล้อ น้ำได้เข้าท่วมในหลายตำบล ล่าสุดน้ำในชุมชนตลาดทับคล้อมีปริมาณลดลงบ้างแล้ว แต่ถนนสายเขาทราย-ตะพานหิน ยังคงถูกน้ำท่วมอยู่บนถนนสูงราว 10 เซนติเมตร ในส่วนของน้ำที่ท่วมใน ต.เขาเจ็ดลูก ต.เขาทราย บ้านวังแดง บ้านหนองพงษ์ บ้านหนองจะปราบ บ้านจิตเสือเต้น บ้านเขาทราย บ้านทับคล้อ และบ้านหนองจิกสี บ้านเรือนราฎรถูกน้ำท่วมเสียหายรวม 400 หลังคาเรือน พื้นที่ทำการเกษตรที่เป็นที่นาเกือบ 2 พันไร่ ถูกน้ำท่วมเสียหาย

--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมลพบุรีสูงกว่าเมตรตาย 1 ชาวบ้านอพยพหนี! [มติชน : 13 ก.ย. 51 ]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 13 ก.ย.51 นายธวัชชัย โสตเนียม นายอำเภอเมืองลพบุรี และนายสรรเสริฐ อินพักทัน นายกอบต.ท่าแค ได้รุดเยี่ยมชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมในเขต ต.ท่าแค เนื่องจากฝนที่ตกอย่างหนักติดต่อกัน ในช่วง 1- 2 วันที่ผ่านมา ส่งให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ของจังหวัดลพบุรี รวม 6 อำเภอ โดยเฉพาะ ต.ถนนใหญ่ ,ต.ทะเลชุบศร และ ต.ท่าแค อ.เมือง จ.ลพบุรี เนื่องจากอยู่ที่ต่ำ ซี่งในบางหมู่บ้านน้ำท่วมสูงถึง 1-2 เมตร อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านต้องอพยพขึ้นมากางเต็นท์ หุงอาหารและนอนบนถนนก่อนชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 15.00 น. ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักอีกครั้งหนึ่ง ทางจังหวัดได้ให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย อ.เมืองลพบุรี และเจ้าหน้าที่สำนักชลประทานที่ 10 ได้นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่กว่า 10 เครื่อง เร่งระบายสูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมแล้ว




ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการ : http://www.manager.co.th
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th
  • BEC News : http://www.becnews.com
  • INN News : http://www.innnews.co.th
  • คมชัดลึก : http://www.komchudluek.net
  • Nation Channel : http://www.nationchannel.com