บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดยะลา นราธิวาส ( ธ.ค. 50)


ภาพดาวเทียม GOES-9  


13/12/2007 : 10GMT


14/12/2007 : 11GMT


15/12/2007 : 11GMT


16/12/2007 : 11GMT

17/12/2007 : 11GMT

18/12/2007 : 15GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม Goes-9 จะเห็นได้ว่า มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมพืี้นที่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และครอบคลุมมาถึงบริเวณภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยในพื้นที่จังหวัด ยะลา สงขลา นราธิวาส ปัตตานี  ส่งผลกระทบทำให้เกิดฝนตกและน้ำท่วมในหลายบริเวณ  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ    

13/12/2007

14/12/2007

15/12/2007

16/12/2007

17/12/2007

18/12/2007
จากภาพแผนที่อากาศจะเห็นได้ว่าเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมทั้งพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 13-14 ธ.ค. ส่งผลให้เกิดฝนตก และน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ของจังหวัด ยะลา นราธิวาส และ ปัตตานี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา              

สงขลา : 13/12/2007

สงขลา : 14/12/2007

สงขลา : 15/12/2007

สงขลา : 16/12/2007

สงขลา : 17/12/2007
     
ภาพเรดาร์จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์สงขลา จะเห็นได้ว่ามีกลุ่มฝนเป็นจำนวนมาก เกาะกลุ่มอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลา นราธิวาส และ ปัตตานี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 

ปริมาณฝนสะสม        

13/12/2007 : 00am

14/12/2007 : 12am

15 /12/2007 : 00am

16/12/2007 : 12am

17/12/2007 : 12am

   
แผนภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าและสีเขียวแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน จะเห็นได้ว่าช่วงวันที่ 14-16 ธ.ค. มีปริมาณฝนสะสมค่อนข้างมาก บริเวณจังหวัด ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา

รายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพถ่ายดาวเทียม Radar-SAT-10/10/2007 (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 14 ธ.ค. 50 เวลา 18.16 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีพื้นที่น้ำท่วมขังในท้องที่อำเภอตากใบ บาเจาะ เมืองนราธิวาส สุไหงโกลก ยี่งอ ระแงะ เจาะไอร้อง สุไหงปาดี   และแว้ง รวมทั้งสิ้นประมาณ 44,165 ไร่ โดยที่อำเภอตากใบมีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุดรวมทั้งสิ้น 16,950 ไร่

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 20 ธ.ค. 50 เวลา 06.02 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ซึ่ีงมีพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด 228,110.665 ไร่


ปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

12/12/2007

13/12/2007

14/12/2007

15/12/2007

16/12/2007

18/12/2007
จากรายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสม 24 ชั่่วโมงสูงสุดอยู่ที่สถานียะลา ในวันที่ 17 ธ.ค. โดยมีปริมาณฝน 150.70 มิลลิเมตร รองลงมาคือ วันที่ 15 ธ.ค. ที่สถานียะลาอีกเ่ช่นกัน โดยมีปริมาณฝน 77.30 มิลลิเมตร
รายละเอียดเพิ่มเติม

 

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ

ปริมาณน้ำไหลลง-เขื่อนบางลาง

จากการรายงานสภาพน้ำในเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด ณ วันที่ 16 ธ.ค. ซึ่งมีปริมาณน้ำไหลลง 142.31 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจากนั้นปริมาณน้ำไหลลงอ่างได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

อุตุฯ เตือน จ.นราธิวาส - ยะลา ระวังน้ำท่วมต่อเนื่อง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 ธ.ค. 50 ]

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ.สงขลา รายงานสภาพอากาศ วันที่ 10 ธ.ค. ว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศด้วยเรดาร์ พบกลุ่มฝนกำลังอ่อนปกคลุมบางพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช และนราธิวาส คาดว่ากลุ่มฝนดังกล่าวจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก พร้อมกับอ่อนกำลังลง และจะมีกลุ่มฝนกำลังอ่อนเคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างอีกเป็นระยะๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะฝนตกหนักอีกในระยะนี้ ประกอบกับในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ตอนล่าง ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรงอยู่ ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้คลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง ความสูงของคลื่นประมาณ 2-3 เมตร ขอให้เรือประมงขนาดเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ส่วนลักษณะอากาศทั่วไปของภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค โดยเฉพาะ จ.นราธิวาส และยะลา ให้ระวังน้ำท่วมต่อเนื่องอีกในระยะนี้

น้ำท่วมหนักโรงเรียนในยะลา 72 แห่งปิดการเรียนการสอน [ผู้จัดการออนไลน์ : 18 ธ.ค. 50 ]
       
        วันนี้ (18 ธ.ค.) ความคืบหน้ากรณีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรในหลายอำเภอของ จังหวัดยะลายังคงมีฝนตกอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่ อ.รามัน บ้านเรือนราษฎร สถานที่ราชการหลายแห่ง ยังมีน้ำท่วมขัง ถนนสายรามัน-รือเสาะ หมู่ที่ 6 บ้านกายูบอเกาะ อ.รามัน จ.ยะลา ยังคงมีน้ำท่วม รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ถนนสายยะลา-บ้านเนียง มีน้ำท่วมขัง รถไม่สามารถสัญจรไปมาได้เช่นเดียวกัน
         จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดยะลา ทำให้โรงเรียนมีน้ำท่วมขัง ถนนในภายหมู่บ้านถูกตัดขาด นักเรียนไม่สามารถเดินทางมาโรงเรียน ทางโรงเรียนจึงประกาศปิดโรงเรียนเป็นการชั่วคราวจนกว่าน้ำจะลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ใกล้ริมแม่น้ำสายบุรีใน ต.บาลอ ต.กายูบอเกาะ ต.อาซ่อง ต.ท่าธง ต.เกะรอ และ ต.ตะโละหะลอ ของ อ.รามัน ต้องหยุดการเรียนการสอน 30 โรง สำหรับเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 2 มีรายงานว่าโรงเรียนในพื้นที่ อ.ยะหา อ.กาบัง และ อ.บันนังสตา กว่า 42 โรงต้องประกาศปิดเป็นการชั่วคราว เนื่องจากบริเวณโรงเรียนและถนนภายในหมู่บ้านถูกน้ำท่วม นักเรียนไม่สามารถเดินทางออกมาเรียนหนังสือได้ทั้ง 2 เขตที่ต้องปิดการเรียนการสอน 72 โรง

สธ.ส่งยาช่วยน้ำท่วมที่นราธิวาส-ยะลา พบผู้ป่วยแล้วกว่า 2 พันราย[ MSN News : 18 ธ.ค. 50 ]

สธ.จัดส่งยารักษาโรคจากน้ำท่วมให้ จ.ยะลา-นราธิวาส จำนวน 8,000 ชุด และสำรองยาน้ำกัดเท้าเพิ่มอีก 20,000 ตลับ เร่งจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการรักษาประชาชนทุกวัน ล่าสุดพบผู้ป่วยแล้วกว่า 2,300 ราย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดยะลา ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ น้ำท่วมทุกอำเภอ ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการวันละ 10 ทีม มีผู้ป่วยวันละประมาณ 200 ราย สำหรับที่จังหวัดนราธิวาส ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่วันละกว่า 20 ทีม ผลการให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในจังหวัดยะลา และนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 7-17 ธันวาคม 2550 มีประชาชนเจ็บป่วยแล้วกว่า 2,300 ราย โดยที่จังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วย 1,910 ราย ไม่มีผู้ป่วยอาการหนัก พบไข้หวัดมากที่สุด 1,030 ราย รองลงมาได้แก่ โรคน้ำกัดเท้า 327 ราย มีผื่นคันตามตัว 241 ราย และพบโรคตาแดง 16 ราย

ส่วนที่จังหวัดยะลา พบคนป่วยประมาณ 400 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคระบาดที่อาจมากับน้ำท่วม เช่น โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย แล้ว โรคตาแดงที่พบที่จังหวัดนราธิวาส นั้น เกิดจากการใช้น้ำไม่สะอาดล้างหน้า เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดในวงกว้างได้แล้ว

นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สธ.ได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านและยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจะมียาแก้ปวดหัว ปวดท้อง ผงน้ำตาลเกลือแร่แก้ท้องเสีย ย าลดไข้ ชุดทำแผล ให้จังหวัดนราธิวาส 4,000 ชุด และให้จังหวัดยะลา 4,000 ชุด ประกอบด้วย ยาสามัญประจำบ้าน 2,000 ชุด สเปรย์พ่นรักษาโรคน้ำกัดเท้า 1,200 ขวด และครีมทารักษาโรคน้ำกัดเท้า 1,200 ตลับ โดยได้สั่งการให้โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ผลิตครีมรักษาโรคน้ำกัดเท้าสำรองไว้อีก 20,000 ตลับ เพื่อจัดส่งให้พื้นที่น้ำท่วมต่อไป เ พราะหากน้ำท่วมนานหลายวัน ปัญหาโรคน้ำกัดเท้าก็จะมากขึ้น

น้ำท่วมยะลา-นราธิวาสยังรุนแรง ประชาชนไม่มีไฟฟ้าใช้ [ MCOT : 18 ธ.ค. 50 ]

สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดนราธิวาสยังรุนแรง โดยที่อำเภอสุไหงโก-ลก  ระดับน้ำยังท่วมสูง 1.5 - 3 เมตร โดยเฉพาะริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน  ร้านค้า  จำนวนมาก  ประชาชนหลายรายป่วยด้วยอาการน้ำกัดเท้า ไม่มีเสื้อผ้าแห้งสวมใส่ ส่วนเส้นทางการจราจร แม้เจ้าหน้าที่จะนำเครื่องจักรกลหนักเข้าเปิดเส้นทางที่จะเข้าอำเภอสุคิริน   ซึ่งมีดินพังลงมาปิดเส้นทาง   แต่เมื่อฝนตกลงมาก็มีดินถล่มซ้ำลงมาอีก ทำให้เส้นทางยังไม่สามารถใช้ได้ตามปกติ จนถึงวันนี้ สถานนี่ราชการ และประชาชนในพื้นที่ อำเภอสุคิริน จำนวน กว่า 3,000คน ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ติดต่อกันมานานถึง  3 วัน 3 คืนมาแล้ว  ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเร่งซ่อมแซมระบบจ่ายไฟที่ถูกน้ำป่าพัดจนเสาไฟฟ้าโค่นล้ม อย่างเร่งด่วนท่ามกลางความลักทุเล

ส่วนที่จังหวัดยะลา ยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะอำเภอรามัน บ้านเรือน สถานที่ราชการ  ถนนหลายแห่ง ยังอยู่ใต้น้ำ  และยังมีประชาชนถูกกระแสน้ำพัดหายไป  ขณะเดียวกัน  สำนักงานเขตการศึกษายะลา เขต 1 และเขต 2   ประกาศปิดเรียนชั่วคราวจากเหตุน้ำท่วมแล้ว  72 โรง  ซึ่งเป็นโรงเรียนในอำเภอรามัน  ยะหา  กาบัง และบันนังสตา กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่ายังจะมีฝนตกในพื้นที่จังหวัดปัตตานี  ยะลา และนราธิวาสอีกระยะ

ข้อมูลอ้างอิง
  • MSN News : http://www.msnth.com/msn/news/live/index.aspx
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th