บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดน่าน (17-18 กรกฎาคม2553)
ภาพเส้นทางพายุ |
พายุโซนร้อน “โกนเซิน” (CONSON) ในทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นในวันที่ 16 ก.ค. จากนั้นเคลื่อนตัวผ่านทางตอนใต้ของเกาะไหหลำเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 17 ก.ค. แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำในวันต่อมา ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ์ ที่มา : ภาพจากมหาวิทยาลัยฮาวาย เนื้อหาจากรายงานกรมอุตุนิยมวิทยา |
ภาพดาวเทียม GOES-9 | |||
16/07/2010 12GMTT |
17/07/2010 11GMT |
18/07/2010 11GMT |
19/07/2010 11GMT |
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่ามีกลุ่มเมฆหนาเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีฝนตกค่อนข้างมาก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ | |||
16/07/2010 |
17/07/2010 |
18/07/2010 |
19/07/2010 |
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าร่องมรสุมได้พาดผ่านประเทศไทยตอนบนและมีีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 13 ก.ค. โดยมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์และมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. จากอิทธิพลของพายโกนเซิน และส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก หนองคาย เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่านและหนองคายที่เกิดน้ำท่วมในหลายบริเวณ |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | |||
สกลนคร 16/7/2010 22.38:25GMT |
สกลนคร 17/7/2010 16:38GMT |
สกลนคร 18/7/2010 00:38GMT |
สกลนคร 19/7/2010 16:38GMT |
พิษณุโลก 16/7/2010 17:25GMT |
พิษณุโลก 17/7/2010 14:25GMT |
พิษณุโลก 18/7/2010 16:25GMT |
พิษณุโลก 19/7/2010 13:25GMT |
ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์พิษณุโลกและเรดาร์สกลนคร รัศมี 240 กม. ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า่ช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาึคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนค่อนข้างมาก อันเนื่องมาจากเป็นช่วงที่พายโกนเซิน ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. ที่อิทธิพลของพายุส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม เรดาร์พิษณุโลก เรดาร์สกลนคร |
ปริมาณฝนสะสม | ||
16/7/2010 [12:00] |
17/7/2010 [00:00] |
17/7/2010 [12:00] |
18/7/2010 [0000] |
18/7/2010 [1200] |
19/7/2010 [0000] |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในวันที่ 18 ก.ค.มีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างหนาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัด เลย หนองคาย น่าน อุตรดิตถ์ รายละเอียดเพิ่มเติม |
แผนภาพปริมาณฝนสะสมจาก NASA | |||
16/07/2010 [00Z-21Z] |
17/07/2010 [00Z-21Z] |
18/07/2010 [00Z-21Z] |
19/07/2010 [00Z-21Z] |
จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวค่อนข้างมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือฝั่งตะวันออก หลังจากนั้นปริมาณฝนได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง |
ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา | |||||||||||||||||||||||||||
16/7/2010 |
17/7/2010 |
18/7/2010 |
19/7/2010 |
||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. บริเวณจังหวัดน่านมีฝนตกค่อนข้างหนัก โดยวันที่ 17 ก.ค. ปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่สถานีท่าวังผา โดยมีปริมาณฝน 109.5 มิลลิเมตร ส่วนวันที่ 18 ก.ค. ปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่สถานีทุ่งช้าง โดยวัดปริมาณฝนได้ 103.9 มิลลิเมตร ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
การเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก
วันที่ |
เวลาเตือนภัย |
ช่วงเวลาฝนสะสม |
สถานที่ |
ปริมาณฝน (มม.) |
ระดับการเตือนภัย |
19/7/2010 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.ปอน จ.น่าน | 103.9 | วิกฤต |
18/7/2010 |
21:00:00 |
ฝน07-20น. |
ต.เปือ จ.น่าน | 65.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
17:00:00 |
ฝน07-17น. |
ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน | 80.8 | วิกฤต |
|
15:00:00 |
ฝน07-15น. |
ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน | 66.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.แสนทอง จ.น่าน | 109.5 | วิกฤต |
|
9:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.สะเนียน จ.น่าน | 65.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
5:00:00 |
ฝน18/07-19/05น. |
ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน | 65.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
17/7/2010 |
19:00:00 |
ฝน07-18น. |
ต.จอมพระ จ.น่าน | 67.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
19:00:00 |
ฝน17-18น. |
ต.ถืมตอง จ.น่าน | 26.8 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
18:00:00 |
ฝน17-18น. |
ต.หนองแดง จ.น่าน | 29.8 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
8:00:00 |
ฝน06-07น. |
ต.จอมพระ จ.น่าน | 40.4 | วิกฤต |
|
8:00:00 |
ฝน06-07น. |
ต.จอมพระ จ.น่าน | 26.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
6:00:00 |
ฝน17/07-18/05น. |
ต.ป่าคา จ.น่าน | 86.6 | วิกฤต |
|
6:00:00 |
ฝน17/07-18/05น. |
ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน | 100.8 | วิกฤต |
|
4:00:00 |
ฝน17/07-18/04น. |
ต.ดู่พงษ์ จ.น่าน | 83.4 | วิกฤต |
|
3:00:00 |
ฝน17/07-18/03น. |
ต.ป่าคา จ.น่าน | 66.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
3:00:00 |
ฝน17/07-18/03น. |
ต.ถืมตอง จ.น่าน | 65.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 |
ฝน17/07-18/00น. |
ต.ดู่พงษ์ จ.น่าน | 67.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 |
ฝน17/07-18/00น. |
ต.จอมพระ จ.น่าน | 80.8 | วิกฤต |
|
16/7/2010 |
6:00:00 |
ฝน05-06น. |
ต.เปือ จ.น่าน | 37.8 | วิกฤต |
3:00:00 |
ฝน02-03น. |
ต.บ่อเบี้ย จ.อุตรดิตถ์ | 25.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน | |
(N.64)บ้านผาขวาง อ.เมือง จ.น่าน (ระดับตลิ่ง 9.5 ม.) |
(N.1)หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน (ระดับตลิ่ง 7 ม.) |
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่าที่สถานีวัดน้ำท่าบริเวณจังหวัดน่านมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยในวันที่ 19 ก.ค. เวลา 06.00 น. ระดับน้ำที่สถานีบ้านผาขวาง อยู่ที่ 8.19 เมตร ส่วนที่หน้าสำนักงานป่าไม้ ระดับน้ำอยู่ที่ 6.95 เมตร |
ข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ | |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนสิริกิติ์ |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนแควน้อย |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิริกิติ์ |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแควน้อย |
จากการที่มีฝนตกค่อนข้างมากอันเป็นผลมาจากอิทธิพลของพายุโกนเซิน นั้น ทำให้ปริมาณไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนแควน้อย เพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างอยู่ในระดับต่ำตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเป็นต้นมา ส่วนปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายละเอียดตามตารางด้านล่าง |
เขื่อน |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสม ช่วงวันที่ 16-21 ก.ค.53 (ล้าน ลบ.ม.) |
ภาคเหนือ |
|
ภูมิพล (2) | 13.39 |
สิริกิติ์ (2) | 173.08 |
แม่งัด | 3.56 |
กิ่วลม | 3.07 |
แม่กวง | 0.85 |
กิ่วคอหมา | 0.36 |
แควน้อย | 17.22 |
รวมภาคเหนือ | 211.53 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
|
ลำปาว | 2.39 |
ลำตะคอง | 1.66 |
ลำพระเพลิง | 1.35 |
น้ำอูน | 0.43 |
อุบลรัตน์ (2) | 14.06 |
สิรินธร (2) | 5.46 |
จุฬาภรณ์ (2) | 1.61 |
ห้วยหลวง | 0.40 |
ลำนางรอง | 0.01 |
มูลบน | 0.15 |
น้ำพุง (2) | 0.44 |
ลำแซะ | 0.51 |
รวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 28.47 |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- น่านเร่งฟื้นฟูความเสียหายหลังน้ำลด [ โพสต์ทูเดย์ : 20 ก.ค. 53 ] สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดน่านได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยระดับน้ำน่านเมื่อเวลา 10.00 น. วัดได้เพียง 3.35 เมตร เท่านั้น แต่มีชุมชนในเขตเทศบาลบางแห่งที่อยู่ติดลำน้ำน่านยังมีน้ำท่วมขัง ได้แก่ ชุมชนบ้านท่าลี่ ระดับน้ำเหลือเพียง 50 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามชาวบ้าน กล่าวว่า แม้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติแล้วแต่ทำได้เพียงแค่ความสะอาดเท่านั้น ยังไม่ขนของเข้าที่เดิม เพราะกลัวน้ำจะท่วมอีกระลอก เนื่องจากมีบทเรียนทุกปีน้ำจะเข้าถึง 4 ครั้ง ต้องรอดูอีกสัก 3-4 วัน หากไม่มีฝนตกจริง ๆ ก็จะขนของกลับที่เดิมชั้นล่าง และยังเฝ้าระวังพายุลูกใหม่ที่จะเข้ามาด้วย ขณะที่จังหวัดน่านสรุปสถานการณ์ความเสียหายน้ำท่วมเบื้องต้นผลกระทบจากพายุโกเซิน พร้อมติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่องและกำหนดการซ้อมแผนรับอุทกภัยและดินโคลนถล่ม จากการที่มีฝนตกหนักติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 17-18 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากพายุโกเซิน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ฉับพลัน และน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ท่วมบ้านพักอาศัย พื้นที่ทางเกษตรของราษฎรเสียหายเป็นจำนวนมาก สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและเสียหายของจังหวัดน่านมี 4 อำเภอและ 1 เทศบาล คือ อำเภอปัว 10 ตำบล อำเภอสองแคว 2 ตำบล ๆ ละ 1 หมู่บ้าน อำเภอท่าวังผา 2 ตำบล อำเภอภูเพียง 5 ตำบล และชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่าน 2 ชุมชน จังหวัดน่านได้มีการสำรวจความเสียหายเบื้องต้นที่เกิดขึ้นและได้มีการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันในครั้งนี้แล้วในขั้นต้นได้มีการสร้างสะพานไม้ชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านสันเจริญ และบ้านน้ำกิ บ้านปางสา ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา ได้ใช้สัญจรได้สะดวกมากขึ้นเนื่องจากสะพานบ้านปางสักที่ใช้สัญจรเดิมถูกน้ำพัดเสียหายไม่สามารถใช้การได้อย่างถาวร ส่วนพืชผลทางการเกษตรมีข้าวที่กำลังปักดำ กล้าข้าว และไร่ข้าวโพด กำลังให้เกษตรจังหวัดสำรวจเพื่อหาทางช่วยเหลือ -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำท่วมในพื้นที่อ.ปัว และอ.ท่าวังผา ระดับน้ำได้ลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เหลือเพียงบ้านปางสา ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างอำเภอกับอีก 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปางสา บ้านสันเจริญ บ้านน้ำพุร้อน บ้านน้ำลักใต้ และบ้านน้ำกิ ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน ขาดจนไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ชาวบ้านจำนวน 2,437 คน ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่มีเส้นทางสัญจรออกมาจากหมู่บ้านได้ น้ำและไฟฟ้าถูกตัดขาด ขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ขณะที่โรงเรียน 3 แห่ง ได้แก่ รร.บ้านน้ำพุร้อน รร.บ้านสันเจริญ และ รร.บ้านน้ำลักใต้ ก็ต้องหยุดเรียนชั่วคราว เนื่องจากครูยังไม่สามารถข้ามฟากไปทำการเรียนการสอนได้ มีการประสานงานขอเรือพระราชทานจากจังหวัดทหารบกเพื่อใช้สำหรับเป็นพาหนะสัญจรให้ชาวบ้านใช้ข้ามแม่น้ำออกจากหมู่บ้านเป็นการชั่วคราว -------------------------------------------------------------------------------------- กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. จากอิทธิพลของพายุโกนเซินทำให้เกิดอุทกภัยในจังหวัดน่านและหนองคาย โดยมีพื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 5 อำเภอ 10 ตำบล ซึ่งในจังหวัดน่าน น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 9 ตำบล ได้แก่ อำเภอบ่อเกลือ ท่าวังผา ปัวและสองแคว ขณะที่จังหวัดหนองคาย น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งเคล้า ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหาย พร้อมนำสิ่งของอุปโภค บริโรคไปแจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง 'โกนเซิน'แผลงฤทธิ์ น่านโดนอ่วม ฝนหนักน้ำท่วมหมู่บ้าน [ ไทยรัฐ : 18 ก.ค. 53 ] |
ข้อมูลอ้างอิง |