บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย (17-18 มิถุนายน 2552)
ภาพดาวเทียม GOES-9 | |||||||||
|
16/6/2009 08GMT |
16/6/2009 09GMT |
16/6/2009 10GMT |
16/6/2009 11GMT |
16/6/2009 12GMT |
16/6/2009 13GMT |
16/6/2009 14GMT |
16/6/2009 15GMT |
16/6/2009 16GMT |
17/6/2009 08GMT |
17/6/2009 09GMT |
17/6/2009 10GMT |
17/6/2009 11GMT |
17/6/2009 12GMT |
|||||
18/6/2009 08GMT |
18/6/2009 09GMT |
18/6/2009 10GMT |
18/6/2009 11GMT |
18/6/2009 12GMT |
18/6/2009 13GMT |
18/6/2009 14GMT |
18/6/2009 15GMT |
18/6/2009 16GMT |
|
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าในช่วงวันที่ 16-18 มิถุนายน 2552 มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคเหนือที่มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และ สุโขทัย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ | |||||||||
16/6/2009 |
17/6/2009 |
18/6/2009 |
19/06/2009 |
||||||
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วงวันที่ 16-18 มิถุนายน 2552 มีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ สุโขัย ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | |||||||||
เรดาร์เชียงใหม่ รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||||||
วันที่ 16 มิถุนายน 2552 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และแพร่ มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 06:22GMT - 11:22GMT |
|||||||||
เชียงใหม่ 16/6/2009 06:22GMT |
เชียงใหม่ 16/6/2009 07:22GMT |
เชียงใหม่ 16/6/2009 08:22GMT |
เชียงใหม่ 16/6/2009 09:22GMT |
เชียงใหม่ 16/6/2009 10:22GMT |
เชียงใหม่ 16/6/2009 11:22GMT |
||||
วันที่ 17 มิถุนายน 2552 ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและแพร่ มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 16:22GMT - 23:22GMT |
|||||||||
เชียงใหม่ 17/6/2009 16:22GMT |
เชียงใหม่ 17/6/2009 17:22GMT |
เชียงใหม่ 17/6/2009 20:22GMT |
เชียงใหม่ 17/6/2009 21:22GMT |
เชียงใหม่ 17/6/2009 22:22GMT |
เชียงใหม่ 17/6/2009 23:22GMT |
||||
วันที่ 18 มิถุนายน 2552 ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย แพร่ และอุตรดิตถ์ มีกลุ่มฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 00:22GMT - 04:22GMT และช่วงเวลา 10:22GMT -15:22GMT | |||||||||
|
เชียงใหม่ 18/6/2009 01:22GMT |
เชียงใหม่ 18/6/2009 02:22GMT |
เชียงใหม่ 18/6/2009 03:22GMT |
เชียงใหม่ 18/6/2009 04:22GMT |
เชียงใหม่ 18/6/2009 10:22GMT |
||||
เชียงใหม่ 18/6/2009 11:22GMT |
เชียงใหม่ 18/6/2009 12:22GMT |
เชียงใหม่ 18/6/2009 13:22GMT |
เชียงใหม่ 18/6/2009 14:22GMT |
เชียงใหม่ 18/6/2009 15:22GMT |
|||||
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร |
|||||||||
วันที่ 16 มิถุนายน 2552 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และแพร่ มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 06:25GMT - 14:25GMT |
|||||||||
พิษณุโลก 16/6/2009 06:25GMT |
พิษณุโลก 16/6/2009 07:25GMT |
พิษณุโลก 16/6/2009 08:25GMT |
พิษณุโลก 16/6/2009 09:25GMT |
พิษณุโลก 16/6/2009 10:25GMT |
|||||
พิษณุโลก 16/6/2009 11:25GMT |
พิษณุโลก 16/6/2009 12:25GMT |
พิษณุโลก 16/6/2009 13:25GMT |
พิษณุโลก 16/6/2009 14:25GMT |
||||||
วันที่ 17 มิถุนายน 2552 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 15:25GMT - 23:25GMT | |||||||||
พิษณุโลก 17/6/2009 15:25GMT |
พิษณุโลก 17/6/2009 16:25GMT |
พิษณุโลก 17/6/2009 17:25GMT |
พิษณุโลก 17/6/2009 18:25GMT |
พิษณุโลก 17/6/2009 19:25GMT |
|||||
พิษณุโลก 17/6/2009 20:25GMT |
พิษณุโลก 17/6/2009 21:25GMT |
พิษณุโลก 17/6/2009 22:25GMT |
พิษณุโลก 17/6/2009 23:25GMT |
||||||
วันที่ 18 มิถุนายน 2552 ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 10:25GMT - 15:25GMT |
|||||||||
พิษณุโลก 18/6/2009 10:25GMT |
พิษณุโลก 18/6/2009 11:25GMT |
พิษณุโลก 18/6/2009 12:25GMT |
พิษณุโลก 18/6/2009 13:25GMT |
พิษณุโลก 18/6/2009 14:25GMT |
พิษณุโลก 18/6/2009 15:25GMT |
||||
|
ปริมาณฝนสะสม | ||||
16/6/2552 12am |
18/6/2552 00am |
19/6/2552 00am |
19/6/2552 12am |
20/6/2552 00am |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่า ในช่วงวันที่ 16-20 มิถุนายน 2552 บริเวณภาคเหนือตอนล่างมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่ 18 มิถุนายน ปริมาณฝนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ แพร่ อุตรดิตถ์ และ สุโขทัย รายละเอียดเพิ่มเติม |
ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16/6/2552 |
17/6/2552 |
18/6/2552 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จากตารางแสดงข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ภาคเหนือระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2552 พบว่าในวันที่ 18 มิถุนายน ปริมาณฝนสะสมที่สถานีอุตรดิตถ์และแพร่ อยู่ที่ 64.40 และ 51.00 มิลลิเมตรตามลำดับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ปริมาณฝนจากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก | ||
สถานีเด่นชัย จ.แพร่ |
สถานีร้องกวาง จ.แพร่ |
|
สถานี อ.สอง จ.แพร่ |
สถานีทุ่งแลง จ.แพร่ |
|
สถานีคุ้งตระเภา จ.อุตรดิตถ์ |
สถานีลับแล จ.อุตรดิตถ์ |
|
จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณฝนสะสมที่ตรวจวัดได้จากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก ที่ติดตั้งในพื้นที่จังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์ พบว่า ในวันที่ 18 มิถุนายน มีปริมาณฝนสะสมค่อนข้างมาก โดยในพื้นที่จังหวัดแพร่ ตรวจวัดปริมาณฝนได้ค่อนข้างมากที่สถานี เด่นชัย ร้องกวาง สองและ ทุ่งแลง ซึ่งมีปริมาณฝน 76.60, 20.20, 31.80 และ 64.00 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ตรวจวัดปริมาณฝนได้ค่อนข้างมากที่สถานีคุ้งตระเภา และ สถานีลับแล โดยมีปริมาณฝน 66.60 และ 111.00 มิลลิเมตร |
ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ |
ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ |
จากกราฟแสดงปริมาณไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ พบว่า การที่มีฝนตกอย่างหนักในพื้นที่จังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์ในช่วงวันที่ 17-18 มิถุนายน 2552 ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์เพิ่มสูงขึ้น โดยในวันที่ 18 มิถุนายน มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างอยู่ที่ 29.73 ล้าน ลบ.ม. |
ข้อมูลด้านความเสียหาย |
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ ๓ จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่และสุโขทัย รวม ๗ อำเภอ ๒๐ ตำบล ๑๓๖ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๕,๒๓๖ ครัวเรือน ๑๖,๘๗๙ คน สิ่งสาธารณประโยชน์เสียหายจำนวนมาก ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น พร้อมจัดเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือโดยด่วนแล้ว นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่างระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร และสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับความเสียหายจำนวนมาก มีพื้นที่ประสบภัย ๓ จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่และสุโขทัย รวม ๗ อำเภอ ๒๐ ตำบล ๑๓๖ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๕,๒๓๖ ครัวเรือน ๑๖,๘๗๙ คน สิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน ๒๑ สาย ฝาย ๖ แห่ง สะพาน/คอสะพาน ๘๔ แห่ง โรงเรียน ๑ แห่ง วัด ๑ แห่ง พื้นที่การเกษตร ๓,๔๐๐ ไร่ บ่อปลา ๖๐ บ่อ ได้รับความเสียหาย ดังนี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ๒ ตำบล (ตำบลบ้านด่านนาขาม และน้ำริด) และอำเภอลับแล ๖ ตำบล ๒ เทศบาล (ตำบลฝายหลวง นานกกก ชัยจุมพล ทุ่งยั้ง ไผ่ล้อม เทศบาลตำบลหัวดงและศรีพนมมาศ) ราษฎรเดือดร้อน ๑,๕๐๐ ครัวเรือน ๔,๓๗๐ คน ถนน ๑ สาย คอสะพาน ๖ แห่ง ฝาย ๒ แห่ง จังหวัดแพร่ ในพื้นที่ ๓ อำเภอได้แก่ อำเภอวังชิ้นที่ตำบลนาพูน อำเภอเด่นชัยที่ตำบลห้วยไร่ และอำเภอลองที่ตำบลต้าผามอก ราษฎรเดือดร้อน ๑,๙๗๗ ครัวเรือน ๖,๔๒๗ คน จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสัชนาลัย ๒ ตำบล (ตำบลบ้านตึกและดงคู่) และอำเภอทุ่งเสลี่ยม ๕ ตำบล (ตำบลกลางดง ทุ่งเสลี่ยม ไทยชนะศึก เขาแก้วศรีสมบูรณ์ และบ้านใหม่ไชยมงคล) ราษฎรเดือดร้อน ๑,๗๕๙ ครัวเรือน ๖,๐๘๒ คน โรงเรียน ๑ แห่ง วัด ๑ แห่ง พื้นที่การเกษตร ๓,๔๐๐ ไร่ บ่อปลา ๖๐ บ่อ ถนนลูกรัง ๒๐ สาย สะพาน/คอสะพาน ๗๘ แห่ง ฝาย ๔ แห่ง ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยใน ๓ จังหวัดได้คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติในทุกพื้นที่แล้ว สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัยนำรถบรรทุกและเครื่องจักรกลเข้าให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งนำถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค และน้ำดื่มไปมอบให้กับผู้ประสบภัย รวมถึงจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น จัดเจ้าหน้าที่ออกสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องแล้ว สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทั้ง ๗๕ จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตทั้ง ๑๘ เขต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือทางสายด่วนนิรภัย ๑๗๘๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำป่าทะลักท่วมแพร่-อุตรดิตถ์ บ้านจมน้ำนับพันหลัง [สำนักข่าวไทย : 18 มิ.ย. 52 ] ผู้สื่อข่าวรายงานถึงผลกระทบจากฝนตกมาตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 มิ.ย.52 ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้น้ำป่าไหลหลากลงสู่คลองแม่พร่องอย่างรวดเร็วจนเอ่อท่วมบ้านเรือน 300 หลังคาเรือน สูงกว่า 2 เมตร ในตำบลแม่พูล ตำบลฝายหลวง และเทศบาลตำบลหัวดง อำเภอลับแล นอกจากนี้ สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กระหว่างบ้านมหาราชกับบ้านแม่พูล ต.แม่พูล อ.ลับแล ถูกกระแสน้ำไหลเชี่ยวพัดขาด ชาวบ้านกว่า 60 ครอบครัว ไม่สามารถเดินทางเข้า-ออกนอกพื้นที่ได้ รวมถึงถนนสายลับแล-เทศบาลตำบลหัวดง จมน้ำ 1 เมตร ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ บางช่วงน้ำกัดเซาะถนนทรุดเป็นหลุมลึก ซึ่งล่าสุดระดับน้ำยังเพิ่มสูงขึ้น และมีแนวโน้มเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ หากฝนไม่หยุดตก ที่ จ.แพร่ ฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำป่าจากห้วยแม่พวก ห้วยข่วงบุก หลากท่วมบ้านเรือนในพื้นที่นหมู่ 1-10 ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย และท่วมโรงเรียนบ้านห้วยไร่ สูงกว่า 1 เมตร ต้องประกาศปิดโรงเรียนตั้งแต่ วันที่ 18 มิ.ย. 52 รวมทั้งน้ำกัดเซาะทางรถไฟสายเด่นชัย-อุตรดิตถ์ หลัก กม.ที่ 18-20 บ้านห้วยไร่ ไม่สามารถใช้การได้ต้องปิดเดินรถชั่วคราว นอกจากนี้ น้ำป่ายังหลากข้าท่วมบ้านนาพูน ต.นาพูน หมู่ 1-10 อ.วังชิ้น เบื้องต้นมีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมรวมแล้ว 800 หลังคาเรือน ------------------------------------------------------------------------------------- น้ำป่าไหลหลาก! รถไฟแพร่สายเหนือ - กรุงเทพหยุดวิ่ง [ INN News : 18 มิ.ย. 52 ] การรถไฟจังหวัดแพร่ ประกาศหยุดให้บริการขบวนรถไฟ ขาขึ้น-ขาล่อง ชั่วคราว หลังน้ำป่าไหลหลาก พัดพาหินถมรางรถไฟ ระหว่าง สถานีห้วยไร่ - เด่นชัย หายไปตลอดเส้นทาง สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก อ.วังชิ้น และ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ทำให้หลายหมู่บ้านได้รับความเสียหาย ทั้งทรัพย์สิน พืชผลทางการเกษตร และโรงเรียนปิดการเรียนการสอนที่ ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย น้ำป่าได้ไหลเข้าพัดหินถมรางรถไฟสถานีห้วยไร่ หายไปตลอดเส้นทาง ระหว่างสถานีเด่นชัย และสถานีห้วยไร่ กระแสน้ำยังคงไม่ลดระดับลง ทำให้การรถไฟต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาซ่อมแซมทาง และแจ้งผู้โดยสารยกเลิก หรือคืนตั๋วโดยสารการเดินทาง ในระยะเวลาตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา สำหรับประมาณการซ่อมแซมคาดว่า จะแล้วเสร็จในเวลา 16.00 น. ของวันนี้ รถไฟลำปาง ประกาศหยุดให้บริการชั่วคราว เส้นทางรถไฟสาย อ.เด่นชัย ไปยังสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเกิดน้ำท่วม และมีดินถล่มทับรางรถไฟ ที่หลักกิโลเมตรรถไฟที่ 18 – 20 บ้านห้วยไร่ จ.แพร่ ถูกตัดขาด ทำให้ทางสถานีรถไฟนครลำปาง ต้องประกาศหยุดเดินขบวนรถไฟ ที่จะสัญจรไปยังสถานีรถไฟ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ส่วนในช่วงเย็นวันที่ 18 มิ.ย. จะมีรถไฟโดยสารอีก 4 ขบวน ซึ่งเป็นขบวนหลัก ต้องออกให้บริการกับประชาชนจำนวนมาก ที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพ และหากในช่วงเย็นระดับน้ำยังไม่ลด หรือไม่สามารถซ่อมทางรถไฟได้ทัน ทางสถานีรถไฟลำปางจะต้องประกาศคืนตั๋วรถไฟ ให้ในราคาเต็ม กับผู้โดยสารที่มาซื้อตั๋วรถไฟไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรแล้ว สถานีรถไฟนครลำปาง จะติดตามสถานการณ์ และเฝ้าระวังระดับน้ำในพื้นที่จังหวัดลำปางอีกด้วย ------------------------------------------------------------------------------------- น้ำท่วมอุตรดิตถ์-สุโขทัย-เชียงใหม่กว่า 5 พันครัวอ่วม [ กรุงเทพธุรกิจ : 18 มิ.ย. 52 ] น้ำป่าท่วมกว่า 300 หลัง 6ตำบล อ.ลับแล สะพานขาด-คลองถนนทรุด ที่สุโขทัยท่วม20หมู่บ้าน 5พันครัวอ่วม ส่วนที่เชียงใหม่ น้ำท่วมทางรถไฟแพร่-อุตรดิตถ์ ผู้สื่อข่าวรายงานฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ชั่วโมง เกิดน้ำป่าไหลลงจากภูเขาซึ่งเคยเกิดดินโคลนถล่มเมื่อปี 2549 ทำให้คลองแม่พร่องเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและไหลเชี่ยว และมีท่อนไม้ขนาดใหญ่ ซากเศษไม้ไหลมากับน้ำจำนวนมาก อีกทั้งน้ำกัดเซาะตลิ่งคลองแม่พร่องทรุดเป็นแนวยาว ส่งผลให้คอสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เชื่อมหมู่ 11 บ้านมหาราช กับหมู่ 7 บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เสียหายทั้งหมด ชาวบ้านผามูบกว่า 60 หลังคาถูกตัดขาด ถนนภายในหมู่บ้านมหาราช ซึ่งเกษตรกรใช้สัญจรเข้าสู่สวนทุเรียน ลางสาด มีดินโคลนถล่มทับ อีกทั้งน้ำป่ายังทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านตำบลแม่พูล ตำบลฝายหลวง และเทศบาลตำบลหัวดง ความสูงกว่า 2 เมตร กว่า 300 หลังคา ถนนสายลับแล-เทศบาลตำบลหัวดง ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร ถูกน้ำท่วมสูงถนนขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ น้ำป่ายังได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านที่ ต.น้ำริด ต.บ้านด่านนาขาม อ.เมืองอุตรดิตถ์ มีสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่ 6, 7, 8 และหมู่ 10 หลายแหล่งคอสะพานทรุดไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ทางจังหวัดออกประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัย 240 หมู่บ้านเฝ้าระวังน้ำท่วมดินโคลนถล่ม นายเนตร คำเถื่อน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ต.แม่พูล อ.ลับแล กล่าวว่า น้ำป่าไหลหลากได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนตั้งแต่เมื่อเวลา 06.00 น.วันที่ 18 มิ.ย. แต่ด้วยกระแสไฟฟ้าดับจึงไม่สามารถใช้หอกระจายข่าวแจ้งเตือนภัยชาวบ้านได้ จำเป็นต้องใช้ไซเรนมือหมุนเปิดสัญญาเตือนภัยชาวบ้าน พร้อมนำใส่ท้ายรถกระบะ ตระเวนแจ้งเตือนภัยชาวบ้านให้เร่งเก็บสิ่งของ นำใส่รถยนต์และอพยพไปเก็บไว้ที่สูงที่เชื่อมั่นว่าปลอดภัย ชาวบ้านต่างตื่นตัวและหวาดกลัวกับเหตุการณ์ดินโคลนถล่มเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ได้มีการซ้อมแผนการอพยพเป็นประจำ จึงทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงอันตราย จึงทำให้ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ จะมีเพียงสิ่งของบางส่วนที่อาจถูกกระแสน้ำพัดเพราะเก็บไม่ทัน นายธวัชชัย ฟักอังกูร ผู้ว่าจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่สั่งการให้ความช่วยเหลือชาวบ้านอยู่ที่วัดศรีอุทุมภรณ์ ต.แม่พูล ซึ่งเป็นจุดศูนย์ในการรับผู้ประสบภัย ด้วยการสั่งระดมเจ้าหน้าที่ หน่วยแพทย์ พยาบาล เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ไว้คอยช่วยเหลือหากสถานการณ์รุนแรง นอกจากนี้ ได้ประสานอาสาสมัครกู้ภัย อปพร.และกำลังทหารจากค่าย ป.พัน 20 และจังหวัดทหารบก เข้าช่วยเหลือชาวบ้านในการอพยพสิ่งของออกจากพื้นที่ โดยอำเภอลับแลได้จัดเตรียมศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไว้หลายจุด ทั้งที่วัดศรีอุทุมภรณ์ หมู่ 7 ศูนย์เพื่อนพึ่งพายามยาก หมู่ 6 เทศบาลตำบลหัวดง ซึ่งสามารถรองรับชาวบ้านได้จำนวนมาก แต่ น้ำป่าไหลหลากท่วมศรีสัชนาลัย สุโขทัย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากปริมาณฝนที่ตกหนักวัดระดับได้ 199.5 ม.ม. ตลอดคืนที่ผ่านมา อ.ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ช่วงเช้าวันนี้(18มิ.ย.) น้ำป่าไหลหลากจากภูเขาม่อนฤาษีไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ต.บ้านตึก และอีก 3 หมู่บ้าน ต.ดงคู่ มีชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 2,000 ครัวเรือน โรงเรียนต้องปิดย่างน้อย 2 โรง เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงบางจุดเกือบ 2 เมตร โดยเฉพาะหมู่ 6 บ้านดงย่าปา และหมู่ 7 บ้านห้วยตรม ขณะนี้ นายปรีชา เรืองจันทร์ นายอำเภอศรีสัชนาลัย ต้องระดมกำลังเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่เกิดเหตุอย่างเร่งด่วน พร้อมสั่งการไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เร่งอพยพชาวบ้านพื้นที่เสี่ยงภัยให้อพยพขึ้นอยู่ในที่สูงเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วน นายโยธินคร์ สมุทรคีรีจ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้สั่งการด่วนถึงสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุโขทัย เร่งส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจความเสียหายในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อหาทางช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งให้อพยพชาวบ้านในพื้นที่เสี่ยงขึ้นอยู่ที่สูงพร้อมกล่าวเตือนประชาชนในจังหวัดสุโขทัยติดตามสถานะการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป น้ำป่าไหลท่วมทางรถไฟแพร่-อุตรดิตถ์ นายสิลรัตน์ ดีวาจี รักษาการนายสถานีรถไฟเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มีรายงานว่าฝนที่ตกลงอย่างต่อเนื่องในคืนวันที่ 17 มิ.ย. ทำให้เกิดน้ำป่าไหลท่วมทางรถไฟในช่วงเช้าวันที่ 18 มิ.ย. บริเวณรอยต่อระหว่าง อ.เด่นชัย จ.แพร่ กับ จ.อุตรดิตถ์ เป็นระยะทางประมาณ 20 เมตร แต่ยังไม่กระทบกับการเดินรถ เนื่องจากจะมีขบวนรถออกจากจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเย็น เที่ยวแรกเป็นขบวนด่วนนครพิงค์ในเวลา 17.55 น. ล่าสุด ฝ่ายช่างได้เดินทางเข้าไปซ่อมแซมทางอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันกับขบวนรถไฟเที่ยวแรกของช่วงเย็นนี้ แต่หากมีฝนตกและมีน้ำป่าไหลลงมาเพิ่มอีกในจุดเดียวกันหรือจุดอื่น ๆ ขบวนรถไฟอาจถูกยกเลิกเนื่องจากอุปสรรคในการซ่อมแซมในช่วงกลางคืน |
ข้อมูลอ้างอิง |