บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่ภาคใต้ (18-25 พฤศจิกายน 2552)
ภาพดาวเทียม GOES-9 | |||||||||
16/11/2009 11GMT |
17/11/2009 11GMT |
18/11/2009 11GMT |
19/11/2009 11GMT |
20/11/2009 11GMT |
|||||
21/11/2009 11GMT |
22/11/2009 11GMT |
23/11/2009 11GMT |
24/11/2009 11GMT |
25/11/2009 05GMT |
|||||
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าในช่วงวันที่ 17-24 พฤศจิกายน มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่อีกครั้งหลังจากที่เกิดน้ำท่วมในช่วงต้นเดือน โดยฝนยังคงตกหนักและเกิดน้ำไหลเข้าท่วมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ | |||||||||
16/11/2009 [07 UTC] |
17/11/2009 [01 UTC] |
18/11/2009 [07 UTC] |
19/11/2009 [01 UTC] |
20/11/2009 [01 UTC] |
|||||
21/11/2009 [01 UTC] |
22/11/2009 [07 UTC] |
23/11/2009 [07 UTC] |
24/11/2009 [07 UTC] |
25/11/2009 [19 UTC] |
|||||
จากภาพแผนที่อากาศจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่วันที่ 17-20 พฤศจิกายน เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | |||||||||
เรดาร์ภูเก็ต | |||||||||
16/11/2009 [13:30] |
17/11/2009 [11:30] |
18/11/2009 [05:30] |
19/11/2009 [23:30] |
20/11/2009 [01:30] |
21/11/2009 [02:30] |
22/11/2009 [04:30] |
23/11/2009 [07:30] |
24/11/2009 [03:30] |
25/11/2009 [17:30] |
เรดาร์สงขลา | |||||||||
16/11/2009 [11:03] |
17/11/2009 [19:03] |
18/11/2009 [03:03] |
19/11/2009 [21:03] |
20/11/2009 [08:03] |
21/11/2009 [07:03] |
22/11/2009 [07:03] |
23/11/2009 [02:03] |
24/11/2009 [09:03] |
25/11/2009 [17:03] |
ข้อมูลจากภาพเรดาร์ภูเก็ต และเรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้่ตอนล่าง จะเห็นได้ว่าช่วงวันที่ 18-21 พฤศจิกายน มีกลุ่มฝนค่อนข้างหนาปกคลุมในหลายพื้นที่ รายละเอียดเพิ่มเติม เรดาร์ภูเก็ต เรดาร์สงขลา |
ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19/11/2009 |
20/11/2009 |
21/11/2009 |
22/11/2009 |
23/11/2009 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายละเอียดเพิ่มเติม
|
ปริมาณฝนจากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก (คลิ๊กที่กราฟเพื่อแสดงภาพใหญ่) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อบต.ซากอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส |
อบต. จะแนะ จ.นราธิวาส |
บ้านแว้ง จ.นราธิวาส |
ต.ทุ่งขมิ้น จ.สงขลา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อบต.ปาล์มพัฒนา จ.สตูล |
อบต.ควนกาหลง จ.สตูล |
ที่ว่าการ อ.บันนังสตา จ.ยะลา |
หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านโตน จ.พัทลุง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายละเอียดเพิ่มเติม จากการตรวจวัดข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันของสถานีโทรมาตรขนาดเล็กในพื้นที่ภาคใต้ พบว่าปริมาณฝนที่ตรวจวัดได้ค่อนข้างมากในหลายสถานี โดยมีรายละเอียดตามตารางด้านล่าง
|
วันที่ |
เวลา |
ช่วงเวลา |
สถานที่ |
ปริมาณฝน(มม.) |
ระดับการเตือนภัย |
24/11/2009 | 10:00:00 |
24/11/2009 |
บางลางเพิ่มเป็นเฝ้าระวังพิเศษ 81% | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
22/11/2009 | 6:00:00 |
ฝน22/07-23/06น. |
ต.ทุ่งขมิ้น สงขลา | 69.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
22/11/2009 | 6:00:00 |
ฝน05-06น. |
ต.ทุ่งขมิ้น สงขลา | 40.2 |
วิกฤต |
21/11/2009 | 23:00:00 |
ฝน07-23น. |
ต.จะแนะ นราธิวาส | 91.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
21/11/2009 | 22:00:00 |
ฝน07-22น. |
ต.ทุ่งขมิ้น สงขลา | 111.8 |
วิกฤต |
21/11/2009 | 16:00:00 |
ฝน07-16น. |
ต.แว้ง นราธิวาส | 66.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
21/11/2009 | 10:00:00 |
ฝน07-10น. |
ต.ทุ่งขมิ้น สงขลา | 67.0 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
21/11/2009 | 5:00:00 |
ฝน21/07-22/05น. |
ต.จะแนะ นราธิวาส | 111.2 |
วิกฤต |
21/11/2009 | 4:00:00 |
ฝน21/07-22/03น. |
ต.แว้ง นราธิวาส | 111.0 |
วิกฤต |
21/11/2009 | 4:00:00 |
ฝน21/07-22/04น. |
สงขลา | 66.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
20/11/2009 | 4:00:00 |
ฝน20/07-21/04น. |
ต.แว้ง นราธิวาส | 110.8 |
วิกฤต |
20/11/2009 | 2:00:00 |
ฝน20/07-21/01น. |
ต.แว้ง นราธิวาส | 65.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
19/11/2009 | 3:00:00 |
ฝน19/07-20/03น. |
ต.ปาล์มพัฒนา สตูล | 65.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
19/11/2009 | 2:00:00 |
ฝน01-02น. |
ต.ปาล์มพัฒนา สตูล | 39.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
18/11/2009 | 2:00:00 |
ฝน18/07-19/02น. |
ต.เทพราช นครศรีธรรมราช | 71.0 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสม | |||||
16/11/2009 [1200] |
17/11/2009 [1200] |
18/11/2009 [0000] |
19/11/2009 [0000] |
||
20/11/2009 [0000] |
21/11/2009 [0000] |
22/11/2009 [0000] |
23/11/2009 [0000] |
||
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากและต่อเนื่่องในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะวันที่ 18-19 พฤศจิกายน ที่กลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างหนาและกระจายตัวค่อนข้างกว้างมากกว่าวันอื่น |
ข้อมูลน้ำในเขื่อน |
|
หลังจากวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนบางลางสูงสุด 91.60 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ต่อมาปริมาณน้ำไหลลงอ่างได้เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในวันที่ 21 พฤศจิกายน โดยมีปริมาณน้ำ 45.03 ล้าน ลูำกบาศก์เมตร อันเนื่องมาจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ |
ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่า-กรมชลประทาน | ||
สถานีบ้านปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส (ระดับตลิ่ง 6.2 เมตร) |
สถานีซากอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส (ระดับตลิ่ง 9.92 เมตร) |
|
สถาีนีบ้านฉลุงเหนือ อ.เมือง จ.สตูล (ระดับตลิ่ง 15.3 เมตร) |
สถานีบ้านศาลา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา (ระดับตลิ่ง 7.18 เมตร) |
|
ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งหลายจุดด้วยกัน โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดนราธิวาสที่มีน้ำท่วมหนัก |
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก สทอภ.(คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม) | |||||
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูล เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา 18.24 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัด พัทลุงและสงขลา |
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูล เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2552 เวลา 05.58 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากฝนที่ตกติดต่อกัน 2 วัน ทำให้วันนี้ (20 พ.ย.) น้ำได้เอ่อท่วมถนนหลายสายในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เช่น ถนนกาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ บริเวณหน้าวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ และสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยบางช่วงระดับน้ำสูงถึง 30 เซนติ เมตร ซึ่งล่าสุดหลายพื้นที่ยังมีฝนตกอยู่ วันเดียวกัน เวลา 11.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 16 ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงยังคงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป และอุณหภูมิจะลดลงอย่างต่อเนื่องอีก 1-3 องศา นอกจากนั้น มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนหนาแน่น และฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของ จ.สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตรัง สตูล ปัตตานี ยะ ลา และนราธิวาส ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กโดยเฉพาะในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย.นี้ -------------------------------------------------------------------------------------- วันนี้(21 พ.ย.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเดินทางกลับจากปฏิบัติภารกิจใน จ.สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จ.สงขลา ว่า ได้ประกาศให้เขตพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว และสั่งให้ ส.ส.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนเป็นการ เร่งด่วน ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ยังแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ติดริมคลองให้ระวังน้ำหลาก พร้อมแนะนำให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากพบว่าน้ำเพิ่มสูงขึ้นมากให้รีบอพยพไปบนที่สูง พร้อมแจ้งขอความช่วยเหลือไปยังที่ว่าการอำเภอหรือกำนันผู้ใหญ่บ้านทันที -------------------------------------------------------------------------------------- วันนี้ ( 21 พ.ย.) หลังจากที่จังหวัดยะลา ได้ประกาศเตือนประชาชน ที่อาศัยยังพื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมขังซ้ำซากให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำป่าไหลหลาก เนื่องจาก จังหวัดยะลาเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับอิทธิพล จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้หลายพื้นที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงเช้าวันนี้ -------------------------------------------------------------------------------------- วันนี้ (22 พ.ย.) ชายหาดแหลมสมิหลา ถ.ชลาทัศน์ ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา เกิดมรสุมพัด และคลื่นยักษ์ถล่มชายฝั่งทำให้เกิดความเสียหายตลอดแนว และทรายถูกพัดเซาะลงทะเล นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยรองผู้ว่าฯ และ นายประพร เอกอุรุ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายนิพนธ์ บุญญามณี เลขาธิการพรรคประชาธิปปัตย์ นายวิชากร บัวหอม ปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีเมืองสงขลา กรมโยธาจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้สำรวจความเสียหายชายหาดสมิหลาและใช้รถแมคโคร พนักงานเทศบาล อส.จังหวัด ใช้ยางรถยนต์ และไม้สนอัดลงในชายหาด แล้วใช้ห่วงยางทับป้องกันคลื่นทะเลที่พัดเอาทรายลงทะเลเป็นการป้องกันชั่วคราว -------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อวันที่ 22 พ.ย. สภาพอากาศโดยทั่วไปในพื้นที่จ.ยะลา ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝน ตกหนักในบางพื้นที่ จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา หรือที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลของจ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออกระมัดระวัง อันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่22-23 พ.ย. -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำท่วมสงขลาขยายวงกว้าง - ริมคลองอู่ตะเภา คลอง ร.1 ยังวิกฤต [ ผู้จัดการออนไลน์ : 22 พ.ย.52 ] เมื่อวันที่ 23 พ.ย. นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส นำเจ้าหน้าที่ออกแจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุดแก่ราษฎรในพื้นที่ประสบอุทกภัย 23 จุด ใน 13 ชุมชนรอบเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พร้อมเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัย จำนวน 39 ครัวเรือน รวม 193 คน ที่อพยพหนีน้ำท่วมมาอยู่ที่ศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราวโรงเรียนเทศบาล 4 จากระดับน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลก ท่วมบ้านเรือนราษฎรตลอดแนวริมฝั่ง แม่น้ำสุไหงโก-ลก ไม่สามารถพักอาศัยได้ตามปกติ -------------------------------------------------------------------------------------- วันนี้(23 พ.ย.)กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้มี 3 จังหวัด 24 อำเภอ 100 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสงขลา ที่น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังระบายไม่ทันในพื้นที่ลุ่มต่ำ 9 อำเภอ 40 ตำบล 241 หมู่บ้าน จังหวัดพัทลุง 4 อำเภอ 15 ตำบล 47 หมู่บ้าน และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ต้นน้ำของแม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำโก-ลก ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ริมตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำจำนวน 11 อำเภอ 57 ตำบล โดยระดับน้ำในคลองตันหยงมัส สูงกว่าตลิ่งเฉลี่ย 1.09 ม. (ตลิ่ง 15.58 ม.) ระดับน้ำแม่น้ำโก-ลก สูงกว่าตลิ่งเฉลี่ย 0.82 ม. (ตลิ่ง 8.20 ม.) ซึ่งแต่ละจังหวัดได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือ และเร่งสำรวจความเสียหาย -------------------------------------------------------------------------------------- -------------------------------------------------------------------------------------- สำหรับในพื้นที่ริมป่าเทือกเขาบรรทัด อำเภอกงหรา อ.ตะโหมด อ.ป่าบอน ระดับน้ำได้ลดลงเกือบเข้าสู่สภาวะปกติหลังฝนหยุดตก แต่น้ำที่ท่วมพื้นที่ดังกล่าวได้ไหลท่วมพื้นทีราบลุ่มของ อ.เมือง อ.ควนขนุน อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว และปากพะยูน ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาอย่างช้าๆ สาเหตุมาจากการสร้างถนนรอบทะเลสาบและไม่เปิดช่องระบายน้ำในพื้นที่ที่เหมาะสมและน้อยมาก จึงทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
โดยขณะนี้พบว่าชาวบ้านกว่า 5,000 ครอบครัว กำลังได้รับความเดือดร้อน พื้นที่ทางด้านการเกษตรสวนยางพาราและนาข้าว ได้รับความเสียหาย กว่า 20,000 ไร่ และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 นายสมปอง ชูนุ้ย อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 94/2 หมู่ที่ 4 ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จมน้ำเสียชีวิตขณะออกหาปลา -------------------------------------------------------------------------------------- -------------------------------------------------------------------------------------- นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ว่า ขณะนี้ในบางพื้นที่ของแต่ละจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว และจากการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว ทั้งสิ้น 6 จังหวัด จำนวน 37 อำเภอ ได้แก่ จ.สงขลา 9 อำเภอ นราธิวาส 11 อำเภอ พัทลุง 4 อำเภอ สตูล 3 อำเภอ ปัตตานี 6 อำเภอ และยะลา 4 อำเภอ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ด้วยการการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจำนวน 77 เครื่อง และสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 101.46 ตัน แร่ธาตุ และเวชภัณฑ์ 198 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 18,924 ตัว
ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (26 พ.ย.) ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ว่า ล่าสุด สถานการณ์ภาพรวมเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ยกเว้นบ้านเรือนประชาชนประมาณ 600 ครัวเรือนที่สร้างอยู่ตลอดแนวริมตลิ่งของแม่น้ำสุไหงโก-ลก ครอบคลุมพื้นที่ อ.แว้ง อ.สุไหงโก-ลก และอ.ตากใบซึ่งยังถูกน้ำท่วมขังระดับน้ำเฉลี่ย 80-100 เซนติเมตร ด้านศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันเหตุอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จ.นราธิวาส สรุปความเสียหายจากน้ำท่วมต่อทรัพย์สินของประชาชนและสิ่งสาธารณูปโภคคิดเป็นเงิน 57,217,209 ล้านบาท -------------------------------------------------------------------------------------- |
ข้อมูลอ้างอิง |