บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่ภาคใต้ (3-8 พฤศจิกายน 2552)
ภาพดาวเทียม GOES-9 | |||||||||
3/11/2009 21GMT |
4/11/2009 09GMT |
5/11/2009 08GMT |
6/11/2009 09GMT |
7/11/2009 11GMT |
8/11/2009 09GMT |
9/11/2009 08GMT |
|||
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าในช่วงวันที่ 13-8 พฤศจิกายน มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ | |||||||||
3/11/2009 [07 UTC] |
4/11/2009 [07 UTC] |
5/11/2009 [07 UTC] |
6/11/2009 [07 UTC] |
7/11/2009 [01 UTC] |
8/11/2009 [01 UTC] |
||||
จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยในช่วงวันที่ 3-8 พฤศจิกายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา | |||||||||
เรดาร์สุราษฎร์ธานี | |||||||||
3/11/2009 [19:03] |
4/11/2009 [08:03] |
5/11/2009 [05:03] |
6/11/2009 [03:03] |
7/11/2009 [22:03] |
8/11/2009 [02:03] |
||||
เรดาร์ภูเก็ต | |||||||||
3/11/2009 [21:30] |
4/11/2009 [06:30] |
5/11/2009 [19:30] |
6/11/2009 [04:30] |
7/11/2009 [23:30] |
8/11/2009 [00:30] |
||||
เรดาร์สงขลา | |||||||||
3/11/2009 [21:03] |
4/11/2009 [07:03] |
5/11/2009 [18:03] |
6/11/2009 [03:03] |
7/11/2009 [22:03] |
8/11/2009 [03:03] |
||||
ข้อมูลจากภาพเรดาร์สุราษฎร์ธานี เรดาร์ภูเก็ต และเรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้่ จะเห็นได้ว่าช่วงวันที่ 3-8 พฤศจิกายน มีกลุ่มฝนปกคลุมบริเวณภาคใต้อย่างต่อเนื่อง รายละเอียดเพิ่มเติม เรดาร์สุราษฎร์ธานี เรดาร์ภูเก็ต เรดาร์สงขลา |
ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3/11/2009 |
4/11/2009 |
5/11/2009 |
7/11/2009 |
8/11/2009 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายละเอียดเพิ่มเติม ภาพแสดงข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีจุดสีแดงกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคใต้อยู่หลายจุดด้วยกัน ซึ่งหมายถึงบริเวณดังกล่าวมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก โดยข้อมูลปริมาณฝนที่่ตรวจวัดได้จากแต่ละสถานี แสดงตามตารางด้านล่าง
|
ปริมาณฝนจากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก (คลิ๊กที่กราฟเพื่อแสดงภาพใหญ่) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายละเอียดเพิ่มเติม
จากการตรวจวัดข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันของสถานีโทรมาตรขนาดเล็กในพื้นที่ภาคใต้ พบว่าปริมาณฝนที่ตรวจวัดได้ค่อนข้างมากในหลายสถานี โดยมีรายละเอียดตามตารางด้านล่าง
|
รายงานข้อความแจ้งเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสม | |||||
4/11/2009 [0000] |
4/11/2009 [1200] |
5/11/2009 [0000] |
5/11/2009 [1200] |
6/11/2009 [0000] |
6/11/2009 [1200] |
7/11/2009 [0000] |
7/11/2009 [1200] |
8/11/2009 [0000] |
8/11/2009 [1200] |
9/11/2009 [0000] |
9/11/2009 [1200] |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากและต่อเนื่่องในบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะวันที่ 4-6 พฤศจิกายน ที่กลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างหนาและกระจายตัวค่อนข้างกว้างมากกว่าวันอื่น |
ข้อมูลน้ำในเขื่อน |
|
จากการที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา เพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยในวันที่ 7 พฤศจิกายน มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสูงสุด 91.60 ล้าน ลูกบาศก์เมตร |
ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่า-กรมชลประทาน | ||
สถานีบ้านปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส (ระดับตลิ่ง 6.2 เมตร) |
สถานีบ้านประดู่ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง (ระดับตลิ่ง 13.07 เมตร) |
สถานีบ้านศาลา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา (ระดับตลิ่ง 7.18 เมตร) |
สถานีบ้านท่าสาบ อ.เมือง จ.ยะลา (ระดับตลิ่ง 16.28 เมตร) |
สถานีซากอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส (ระดับตลิ่ง 9.92 เมตร) |
สถานีท้ายเขื่อนปัตตานี อ.เมือง จ.ยะลา (ระดับตลิ่ง 12.15 เมตร) |
ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งหลายจุดด้วยกัน โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดนราธิวาสที่มีน้ำท่วมหนัก |
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก สทอภ. | |||||
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูล เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา 18.33 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัด นครศรีธรรมราชและพัทลุง |
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูล เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา 18.33 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัด สุราษฎร์ธานี |
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูล เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 เวลา 06.06 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และสุราษฎร์ธานี |
|||
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูล เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 เวลา 06.06 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัด นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี |
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูล เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 เวลา 18.16 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี และยะลา |
ข้อมูลด้านความเสียหาย |
สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้และการให้ความช่วยเหลือ(ระหว่างวันที่ 4 – 9พฤศจิกายน 2552) การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน สิ่งของพระราชทาน การตรวจเยี่ยมประชาชนและติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บ่ายวันนี้ (4 พ.ย.) นายเอกรัฐ หลีเส็น นายอำเภอละแม จ.ชุมพร พร้อมด้วยนายฉัตรชัย พะลัง รองนายก อบจ.ชุมพร และคณะ ไปตรวจสอบเหตุคลื่นขนาดใหญ่ซัดถล่มชายฝั่งพื้นที่บ้าน ม.1 และ ม.5 ต.ละแม ม. 6 และ ม. 9 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร หลังมีฝนตกหนักและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงเกือบตลอดทั้งวันนี้ -------------------------------------------------------------------------------------- หลังเกิดฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลา 2 วัน ในพื้นที่ จ.นราธิวาส ล่าสุด ทำให้พื้นที่ อ.สุไหงปาดี เส้นทางระหว่างหมู่ 5 บ้านตาเซะเหนือ หมู่ 6 บ้านตาเซะใต้ ถึง หมู่ 7 บ้านปอเนาะ ต.ปะลุรู เกิดน้ำท่วมถนนเป็นระยะทางกว่า 600 เมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ -------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 5 พ.ย. นายสมพร สถิตย์ภูมิ นายอำเภอรัษฎา นำกำลังเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง และเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยอำเภอรัษฎา กว่า 50 คน ออกช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำบนเทือกเขาบรรทัด และน้ำจากอ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ไหลบ่าลงสู่ลำคลองในพื้นที่ อ.รัษฎา ทำให้เกิดภาวะน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่ทางการเกษตรที่อยู่บริเวณริมสองฝั่งคลอง ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา -------------------------------------------------------------------------------------- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (6 พ.ย.) มีฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรง น้ำท่วมฉับพลันและมีคลื่นทะเลสูงในหลายจังหวัดภาคใต้ โดยที่บริเวณท่าเทียบเรือประมงชายฝั่ง บ้านหินกบ ม. 6 ต.ชุมพร อ.ปะทิว จ.ชุมพรคลื่นได้ซัดกระหน่ำเขื่อนท่าจอดเรือประมงยาวกว่า 150 เมตรพังเสียหาย และทำให้มีเรือประมงขนาดเล็กถูกคลื่นซัดขึ้นไปอยู่บนชายหาดได้รับความเสียหายหลายลำ นอกจากนั้น เรือประมงในพื้นที่กว่า 5,000 ลำ ไม่สามารถออกทะเลได้ โดยต้องกระจายหาที่จอดตามท่าเรือต่างๆ ที่ จ.ตรัง ตลอดทั้งวันนี้ ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.รัษฎา ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมหนักที่สุดในจังหวัด ส่วน อ.กันตัง น้ำไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของ ต.ควนเมา ต.หนองบัว และ ต.คลองปาง รวมทั้งในเขตเทศบาลตำบลคลองปาง ล่าสุด เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งเข้าช่วยเหลือประชาชนแล้ว ส่วนที่ จ.พัทลุงกระแสน้ำจากเทือกเขาบรรทัดไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในท้องที่ อ.ตะโหมด อ.ป่าบอน อ.ควนขนุน อ.กงหรา และ อ.เมือง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย คือ ด.ช.วราเมศ วรรณมาโส อายุ 1 ปี 4 เดือน อยู่บ้านเลขที่ 145 ม.3 ต.โคกทราย อ.ป่าบอน และนายชาญวิทย์ ปานศิริ อายุ 35 ปี อยู่บ้านเลขที่ 114/1 ม.3 ต.นาโหนด อ.เมือง ขณะที่ จ.นครศรีธรรมราช รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก เป็นตัวแทนพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ และพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภามอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งหลังจากฝนตกหนักติดต่อกัน 3 วัน จ.นครศรีธรรมราช ได้ประกาศให้พื้นที่ 17 อำเภอจาก 23 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัย มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นกว่า 24 ล้านบาท -------------------------------------------------------------------------------------- จากกรณีที่ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลา 2 วัน ในพื้นที่จังหวัดยะลา ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ในหลายพื้นที่ ประกอบด้วย อำเภอยะหา จำนวน 6 ตำบล 13 หมู่บ้าน ทำให้ถนนทางเข้าหมู่บ้าน น้ำท่วมสูงรถยนต์ทุกชนิด ไม่สามารถผ่านไปมาได้ อำเภอกรงปินัง จำนวน 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน อำเภอธารโตจำนวน 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน อำเภอรามัน จำนวน 3 ตำบล 1 หมู่บ้าน อำเภอบันนังสตา จำนวน 1 ตำบล ได้รับความเสียหายคอสะพานขาด และ อำเภอเมืองยะลา จำนวน 5 ตำบล 6 หมู่บ้าน คอสะพานขาดจำนวน 1 แห่ง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนนับพันคน นายอภินันท์ กล่าวอีกว่า โรงเรียนกว่า 30 โรงเรียน ทั้งอำเภอต้องหยุดทำการสอนไปโดยปริยาย และมีรายงานว่า ที่ ร.ร.บ้านบาโงซิแน หมู่2 ต.บาโงซิแน กระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากได้พัดกำแพงรั้วจนเกิดพังทลายลงไปทั้งแถบได้รับ ความเสียหายเป็นแนวยาวกว่า 10 เมตร ส่วนพื้นที่ที่น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรในหลายหมู่บ้าน ทางอำเภอได้ส่งเรือท้องแบนพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ อส. ออกไปให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วนแล้ว ขณะที่ นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางไปตรวจราชการที่ อ.เบตง ในช่วงฝนตกหนัก ได้นำคณะเดินทางกลับผ่าน อ.บันนังสตา จึงได้เข้าไปตรวจพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมที่บ้านตะบิงติงงี หมู่ 1 ต.ตลิ่งชัน ซึ่งเป็นเส้นทางผ่าน มีราษฎรประสบปัญหาหลายครัวเรือน โดยเฉพาะบนถนนเส้นทางหลัก ทางหลวงสาย 410 (ยะลา-เบตง)มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก พัดผ่านถนนจนรถเล็กไม่สามารถแล่นไปมาได้ จึงได้สั่งการให้นายเมธี กาญจนภูวะ นายอำเภอบันนังสตา ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมเรือท้องแบนเข้าไปให้ความช่วยเหลือบ้านเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน พร้อมให้เตรียมรถยนต์ไปช่วยทำการขนย้ายสิ่งของชาวบ้านไปยังพื้นที่ปลอดภัยโดยเร่งด่วนต่อไปแล้ว ล่าสุด เมื่อเวลา 13.00 น. ได้เกิดเหตุดินภูเขาถล่มทับบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่บ้านตลาดนิคม หมู่ 6 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา เบื้องตันทราบว่า เป็นบ้านของนายปู ไม่ทราบชื่อจริง และนามสกุล ได้เสียชีวิต พร้อมภรรยาและลูกชาย วัยไล่เลี่ยกัน อีก 2 คน รวมทั้งหมด 4 คน -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ยังคงไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ อ.กงหรา อ.ตะโหมด อ.ศรีนครินทร์ อ.ศรีบรรพต อ.ป่าบอน และ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ถนนหลายสายถูกน้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้ โดยเฉพาะพื้นที่ ต.ตะโหมด ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด ต.ชะรัด อ.กงหรา ต.นาท่อม ต.พญาขัน ต.ชัยบุรี ต.โคกชะงาย ต.เขาเจียก ต.นาโหนด อ. เมืองพัทลุง น้ำป่าได้ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับความเดือดร้อนแล้ว กว่า 2,000 เรือน ล่าสุดนายวินัย ครุวรรณพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้ประกาศให้พื้นที่จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่เขตภัยพิบัติฉุกเฉินทุกอำเภอ พร้อมสั่งเจ้าหน้าที่เร่งให้การช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน -------------------------------------------------------------------------------------- นายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าฯ จ.สตูล ลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือราษฎร ที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ อ.ละงู จ.สตูล ขณะที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันอย่างหนักใน 5 อำเภอ ของ จ.สตูล อ.ควนโดน อ.ละงู อ.ทุ่งหว้า อ.มะนัง และ อ.ควนกาหลง บ้านเรือนราษฎร ถูกน้ำพัดพาและน้ำเข้าท่วมขังจำนวนกว่า 1,000 หลังคาเรือน ไร่นาเสียหายจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้เตรียมอพพยชาวบ้านในพื้นที่ ให้ไปอาศัยในที่ปลอดภัย พร้อมเร่งนำถุงยังชีพเข้าแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม นายอดินันท์ ปากบารา ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา จ.สตูล ได้สั่งการให้ทุกโรงเรียนเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด -------------------------------------------------------------------------------------- สถานการณ์น้ำและการช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมภาคใต้ [ กรมชลประทาน : 9 พ.ย. 52 ] นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ล่าสุด(9 พ.ย. 52) ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ดังนี้ จ.นครศรีธรรมราช มีพื้นที่น้ำท่วม 9 อำเภอ ได้แก่ ปากพนัง หัวไทร ลานสกา ร่อนพิบูลย์ สิชล ท่าศาลา พิบูน พระหรหม และจุฬาภรณ์ จ.สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่น้ำท่วม 8 อำเภอ ได้แก่ ท่าชนะ ดอนสัก ไชยา ชัยบุรี กาญจนดิษฐ์ วิภาวดี ท่าฉาง และพุนพิน สถานการณ์ฝนลดน้อยลง ส่งผลให้แนวโน้มสถานการณ์น้ำเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จ.พัทลุง มีพื้นที่น้ำท่วม 7 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง ป่าบอน ป่าพะยอม ควนขนุน เขาชัยสน บางแก้ว และปากพยูน สถานการณ์ฝนเริ่มตกน้อยลง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์นี้ จ.สงขลา มีพื้นที่น้ำท่วม 5 อำเภอ ได้แก่ สะบ้าย้อย นาทวี หาดใหญ่ คลองหอยใข่ง และบางกล่ำ จ.สตูล มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ มะนัง ละงู และควนกาหลง สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำคลองดุสนและคลองท่าแพ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนคลองละงู คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายในวันนี้ จ.นราธิวาส มีพื้นที่น้ำท่วม 12 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง ศรีสาคร จะแนะ บาเจาะ ตากใบ ระแงะ เจาะไอร้อง แว้ง สุคิริน รือเสาะ สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำสายบุรี เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนแม่น้ำบางนรา คาดว่าหากไม่มีฝนตกหนักลงมา จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วัน และที่แม่น้ำโก-ลก ระดับน้ำยังสูงกว่าตลิ่งในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อยู่ 1.30 เมตร คาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติมจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 3-5 วัน จ.ยะลา มีพื้นที่น้ำท่วม 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง ยะหา กรงปินัง ธารโต รามัน บันนังสะตา กาบัง และเบตง จ.ปัตตานี มีพื้นที่น้ำท่วม 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง แม่ลาน ไม้แก่น ยะรัง กะพ้อ หนองจิก ทุ่งยางแดง และสายบุรี สำหรับการช่วยเหลือ นั้น กรมชลประทานได้ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อเร่งระบายน้ำในแต่ละพื้นที่แล้ว ดังนี้ จ.นราธิวาส จำนวน 12 เครื่อง จ.สงขลา จำนวน 38 เครื่อง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 6 เครื่อง และจ.ยะลา จำนวน 8 เครื่อง รวมทั้งหมด 64 เครื่อง -------------------------------------------------------------------------------------- น้ำท่วมตรังสูญกว่า15ล. ปัตตานียังอ่วม [ เดลินิวส์ : 9 พ.ย. 52 ] วันนี้( 9 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระดับน้ำที่หมู่ 6 ต.นาโยงใต้ อ.เมือง จ.ตรัง ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรสูงกว่า 2 เมตร เนื่องจากอยู่ในที่ราบลุ่มและเป็นพื้นที่รับน้ำจากเทือกเขาบรรทัดและอำเภอนาโยง ส่วนสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ถ้ำเขาช้างหาย หมู่ที่ 6 ต.นาพละ อ.เมือง จ.ตรัง ยังคงถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะทางยาวกว่า 2 กิโลเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ โดยที่ ต.นาพละ อ.เมือง จ.ตรัง มีน้ำท่วมขังจำนวน 9 หมู่บ้านกว่า 160 หลังคาเรือน ชาวบ้านต้องลงขันกันทำอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัยน้ำท่วมในหมู่บ้านมาเป็นวันที่ 4 แล้ว โดยมีองค์การบริหารส่วน จ.ตรัง นำข้าวสารอาหารแห้งไปมอบให้เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนชั่วคราว ส่วนชุมชนควนขัน และชุมชนควนขนุนในเขตเทศบาลนครตรัง ระดับน้ำยังท่วมสูงกว่า 70 เซนติเมตร หลายหน่วยงานได้นำสิ่งของไปมอบให้ชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมใน ต.นาโยงใต้ อ.เมือง จ.ตรัง แล้วกว่า 300 ชุด นายโส เหมกุล หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง ได้เผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดตรังว่า ขณะนี้ระดับน้ำเริ่มเข้าภาวะปกติแล้วบางพื้นที่ คาดว่าถ้าไม่มีฝนตกลงมาอีกหรือน้ำทะเลไม่หนุน ภายใน วันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ ระดับน้ำคงจะเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรังได้ทำการสรุปพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม มีจำนวน 6 อำเภอ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท น้ำท่วมตรังขยายวงหลังฝนตกต่อเนื่อง [ ไทยรัฐ : 9 พ.ย. 52 ] ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (8 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดตรัง หลังจากเกิดปรากฎการณ์พายุฝนตกกระหน่ำลงมาอย่าง ต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืน ส่งผลให้ปริมาณน้ำขยายออกสู่วงกว้างไหลบ่าเข้าท่วมทะลักบ้านเรือนประชาชน สถานที่ราชการ โรงเรียน พื้นที่การเกษตร อาทิ สวนผลไม้ สวนยางพารา และสัตว์เลี้ยง ได้รับผลกระทบอย่างหนักในพื้นที่ 6 อำเภอ และจนถึงขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมยังน่าเป็นห่วง ทางจังหวัดได้สั่งการเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามดูปริมาณน้ำที่อาจจะเพิ่มขึ้นมา อีกตลอด 24 ชั่วโมง -------------------------------------------------------------------------------------- ยะลา-สรุปสถานการณ์น้ำท่วมเบื้องต้นราษฏรเดือดร้อนกว่า 3 หมื่นคน [ ครอบครัวข่าว : 9 พ.ย. 52 ] วันนี้ ( 10 พ.ย. 52) บรรยากาศทั่วไปในพื้นที่ จ.ยะลา มีท้องฟ้าโปร่งใสอากาศดีไม่มีฝนตกลงมา ประชาชนที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมได้เริ่มเก็บกวาดทำความสะอาดบ้านเรือนส่วน สถานศึกษาโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมขังในวันนี้ครูและนักเรียนต่างก็ได้ช่วย ทำความสะอาดเช่นกันโดยมีรถน้ำจากเทศบาลนครยะลาและจากองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นสนับสนุนรถน้ำและร่วมทำความสะอาด -------------------------------------------------------------------------------------- ล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา ทางจังหวัดแจ้งเตือนว่าเขื่อนปัตตานียังต้องเปิดประตูกั้นน้ำทั้ง 7 บาน เพื่อช่วยระบายน้ำจากพื้นที่ จ.ยะลา ให้ไหลลงสู่อ่าวไทย จึงเป็นเหตุทำให้น้ำหลากลงสู่แม่น้ำปัตตานี ที่กำลังเอ่อล้นตลิ่งอยู่แล้วไหลทะลักขยายวงกว้างเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 4 อำเภอใต้เขื่อนคือ อ.ยะรัง เพิ่มเป็น 6 ตำบล แม่ลาน 2 ตำบล หนองจิก 9 ตำบล โดยบ้านเรือนประชาชนที่อยู่หลังเขื่อน ซึ่งระดับน้ำที่สูงอยู่แล้วก็จะสูงเพิ่มขึ้นอีก 40 ซม. ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยขณะนี้น้ำมีปริมาณจุดสูงสุดได้ผ่านพื้นที่ ตำบลยาบี อ.หนองจิก และได้ไหลเจิ่งนองเข้าเขตพื้นที่ อ.เมือง ตั้งแต่เมื่อคืน เพิ่มเป็น 10 ตำบลรวมไปถึงเขตเทศบาลเมืองด้วย -------------------------------------------------------------------------------------- |
ข้อมูลอ้างอิง |