บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดพังงา ตรัง สตูล ระนอง ( กรกฎาคม 2552)

ภาพดาวเทียม GOES-9
่ 8 กรกฎาคม 52 มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้ันที่ภาคใต้่ค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 10GMT-19GMT


8/7/2009
10GMT


8/7/2009
11GMT

8/7/2009
12GMT

8/7/2009
13GMT

8/7/2009
14GMT

8/7/2009
15GMT

8/7/2009
16GMT

8/7/2009
17GMT

8/7/2009
18GMT

8/7/2009
19GMT
9 กรกฎาคม 52 มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้ันที่ภาคใต้่ค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 09GMT - 18GMT

9/7/2009
09GMT

9/7/2009
10GMT

9/7/2009
11GMT

9/7/2009
12GMT

9/7/2009
13GMT

9/7/2009
14GMT

9/7/2009
15GMT

9/7/2009
16GMT

9/7/2009
17GMT

9/7/2009
18GMT
10 กรกฎาคม 52 มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้ันที่ภาคใต้่ค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 12GMT - 20GMT

10/7/2009
12GMT

10/7/2009
13GMT

10/7/2009
14GMT

10/7/2009
15GMT

10/7/2009
16GMT

10/7/2009
17GMT

10/7/2009
18GMT

10/7/2009
19GMT

10/7/2009
20GMT
11 กรกฎาคม 52 มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้ันที่ภาคใต้่ค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 07GMT - 23GMT

11/7/2009
07GMT

11/7/2009
08GMT

11/7/2009
09GMT

11/7/2009
10GMT

11/7/2009
11GMT

11/7/2009
12GMT

11/7/2009
13GMT

11/7/2009
14GMT

11/7/2009
15GMT

11/7/2009
16GMT

11/7/2009
17GMT

11/7/2009
18GMT

11/7/2009
19GMT

11/7/2009
20GMT

11/7/2009
21GMT

11/7/2009
22GMT

11/7/2009
23GMT
12 กรกฎาคม 52 มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้ันที่ภาคใต้่ค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 00GMT - 11GMT

12/7/2009
00GMT

12/7/2009
01GMT

12/7/2009
02GMT

12/7/2009
03GMT

12/7/2009
04GMT

12/7/2009
05GMT

12/7/2009
06GMT

12/7/2009
07GMT

12/7/2009
08GMT

12/7/2009
09GMT

12/7/2009
10GMT

12/7/2009
11GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าบริเวณพื้นที่ภาคใต้มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. เป็นต้นมา จนถึงวันที่ 11 ก.ค. และ 12 ก.ค. ที่มีกลุ่มเมฆหนาปกคลุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทำให้ฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพังงา ตรัง สตูล และ ระนอง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ
   

8/7/2009

9/7/2009

10/7/2009

11/7/2009

12/7/2009
ช่วงวันที่ 8-12 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์สุราษฎร์ธานี รัศมี 240 กิโลเมตร        
11 กรกฎาคม 52 มีกลุ่มฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 03:03GMT - 12:03GMT และ 19:03GMT-23:03GMT
       

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
03:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
04:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
05:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
06:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
07:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
08:03GMT
       

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
09:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
10:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
11:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
12:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
19:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
20:03GMT
       

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
21:03GMT


สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
22:03GMT

สุราษฎร์ธานี
11/7/2009
23:03GMT
12 กรกฎาคม 52 มีกลุ่มฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 00:03GMT - 08:03GMT        

สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
00:03GMT

สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
01:03GMT

สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
02:03GMT

สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
03:03GMT

สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
04:03GMT

สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
05:03GMT


สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
06:03GMT


สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
07:03GMT

สุราษฎร์ธานี
12/7/2009
08:03GMT


13 กรกฎาคม 52 มีกลุ่มฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 00:03GMT - 05:03GMT        

สุราษฎร์ธานี
13/7/2009
00:03GMT

สุราษฎร์ธานี
13/7/2009
01:03GMT

สุราษฎร์ธานี
13/7/2009
02:03GMT

สุราษฎร์ธานี
13/7/2009
03:03GMT

สุราษฎร์ธานี
13/7/2009
04:03GMT

สุราษฎร์ธานี
13/7/2009
05:03GMT
เรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร        
วันที่ 11 กรกฎาคม 2552 มีกลุ่มฝนค่อนข้างมาก นช่วงเวลา 18:03GMT - 23:03GMT
       

สงขลา
11/7/2009
18:03GMT

สงขลา
11/7/2009
19:03GMT

สงขลา
11/7/2009
20:03GMT

สงขลา
11/7/2009
21:03GMT

สงขลา
11/7/2009
22:03GMT

สงขลา
11/7/2009
23:03GMT
 
วันที่ 12 กรกฎาคม 2552 มีกลุ่มฝนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา 00:03GMT - 10:03GMT        

สงขลา
12/7/2009
00:03GMT

สงขลา
12/7/2009
01:03GMT

สงขลา
12/7/2009
02:03GMT

สงขลา
12/7/2009
03:03GMT

สงขลา
12/7/2009
04:03GMT

สงขลา
12/7/2009
05:03GMT

สงขลา
12/7/2009
06:03GMT

สงขลา
12/7/2009
07:03GMT

สงขลา
12/7/2009
08:03GMT

สงขลา
12/7/2009
09:03GMT

สงขลา
12/7/2009
10:03GMT


ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์สุราษฎ์ธานีและเรดาร์สงขลาของกรมอุตุนิยมวิทยา รัศมี 240 ก.ม. ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา ตรัง สตูล พบว่า ช่วงวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2552 มีกลุ่มฝนกระจุกตัวค่อนข้างมากในพื้นที่ 4 จังหวัดดังกล่าวข้างต้น รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพังงา บริเวณอำเภอเมือง กะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง และ ตะกั่วป่า จังหวัดตรังบริเวณอำเภอย่านตาขาว กันตัง และ ปะเหลียน จังหวัดสตูล บริเวณอำเภอ ละงู มะนัง ควนกาหลง และ ทุ่งหว้า จังหวัดระนอง บริเวณอำเภอ สุขสำราญ และ กะเปอร์

รายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์สุราษฎร์ธาน
เรดาร์สงขลา


ปริมาณฝนสะสม

11/7/2552
12am

12/7/2552
00am

13/7/2552
00am

 
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่า ในช่วงวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2552 บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ในบริเวณดังกล่าว

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา

11/7/2552

12/7/2552
 
วันที่
สถานี
ปริมาณฝน
11/7/2009 สนามบินภูเก็ต     107.20
ระนอง     106.80
ภูเก็ต     104.90
สตูล      84.00
สะเดา (2)      47.40
ตรัง      40.00
หาดใหญ่      25.50
ชุมพล      25.40
12/7/2009 ตะกั่วป่า     126.80
ตรัง      50.10
สุราษฎร์ธานี      44.10
ฉวาง (2)      34.00
หาดใหญ่      28.40
สนามบินภูเก็ต      28.30
สตูล      27.90
พระแสง (2)      26.20
สะเดา (2)      25.10
คอหงษ์ (1)      23.40
ชุมพล      20.00

จากตารางแสดงข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2552 ซึ่งเป็นวันที่มีปริมาณฝนในพื้นที่ค่อนข้างมาก พบว่าในวันที่ 11 กรกฎาคม ปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่สถานี สนามบินภูเก็ต ระนอง และ ภูเก็ต โดยมีปริมาณฝนสะสม 107.20, 106.80 และ 104.90 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนวันที่ 12 กรกฎาคม ปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่สถานีตะกั่วป่า ซึ่งมีปริมาณฝน 126.80 มิลลิเมตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ปริมาณฝนจากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก

สถานีหาดส้มแป้น จ.ระนอง

สถานีควนกาหลง จ.สตูล
 

สถานีมะนัง จ.สตูล

สถานีปะเหลียน จ.ตรัง
 

สถานีทับละมุ จ.พังงา
   
 
จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณฝนสะสมที่ตรวจวัดได้จากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก ที่ติดตั้งในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล พังงา และ ระนอง พบว่า ในวันที่ 12 กรกฎาคม มีปริมาณฝนสะสมค่อนข้างมากที่สถานีควนกาหลง จ.สตูล สถานีมะนัง จ.สตูล และ สถานี
ปะเหลียน จ.ตรัง โดยมีปริมาณฝนสูงสุด 107.00, 99.20, 104.80 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนในวันที่ 13 กรกฎาคม มีปริมาณฝนสะสมค่อนข้างมากที่สถานีหาดส้มแป้น จ.ระนอง และ สถานีทับละมุ จ.พังงา โดยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 124.80 และ 100.00 มิลลิเมตร ตามลำดับ และจากการเกิดฝนตกหนักในครั้งนี้ ระบบโทรมาตรได้ส่งข้อความเตือนภัยในบริเวณที่มีฝนตกหนักผ่านระบบ sms โดยมีรายละเอียดการเตือนภัยดังนี้

วันที่
เวลาที่เตือนภัย
ระดับการเตือนภัย
ฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน(มม.)
12/7/2009 21:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน07-21น.  ต.บางหิน ระนอง                  65.2
  20:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน07-20น.  ต.หาดส้มแป้น ระนอง                  96.2
  14:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน07-13น.  ต.ลำแก่น พังงา                  93.8
11/7/2009 22:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน07-22น.  ต.ปะเหลียน ตรัง                  65.8
  18:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน07-18น.  ต.ลำแก่น พังงา                  68.0
  17:00:00
วิกฤต
ฝน07-17น.  ต.บางวัน พังงา                110.4
  17:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน07-17น.  ต.ปาล์มพัฒนา สตูล                  66.8
  16:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน07-15น.   ต.บางวัน พังงา                  78.8
  4:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน11/07-12/04น.  ต.ควนกาหลง สตูล                  65.4
  1:00:00
เฝ้าระวังสูงสุด
ฝน11/07-12/04น.  ต.เจ๊ะบิลัง สตูล                  65.8


ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรัชชประภา

จากกราฟแสดงปริมาณไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พบว่า การที่มีฝนตกอย่างหนักในหลายจังหวัดบริเวณพื้นที่ภาคใต้ ช่วงวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2552 ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรัชชประภาเพิ่มมากขึ้น โดยในวันที่ 12 กรกฎาคม มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างอยู่ที่ 95.35 ล้าน ลบ.ม.

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพใหญ่)

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 เวลา 18.41 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพังงา


ข้อมูลด้านความเสียหาย


สถานการณ์อุทกภัย
(ระหว่างวันที่ 7 -13 กรกฎาคม 52)

สาเหตุการเกิด ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2552 เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับ ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เกิดน้ำ ท่วมฉับพลันและน้ำ ป่าไหลหลาก เป็นเหตุให้ประชาชนประสบความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่การเกษตร และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งเตือนไปยังจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนแล้ว

พื้นที่ประสบภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ระนอง สตูล และจังหวัดตรัง รวม 14 อำเภอ 41 ตำบล 197 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 8,831 ครัวเรือน 30,044 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 58 หลัง วัด 1 แห่ง ถนน 45 สาย สะพาน 2 แห่ง บ่อปลา 9 บ่อ แยกเป็น
          1) จังหวัดพังงา ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2552 โดยมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยในพื้นที่ 200-293 มม. ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่
               - อำเภอกะปง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลกะปง ตำบลท่านา ตำบลเหมาะ ตำบล เหล และตำบลรมณีย์ และดินถล่มทำให้ถนนสายตะกั่วป่า – สุราษฎร์ธานี บริเวณเขาศก กม.ที่ 121 ถูก ตัดขาด รถไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ หมวดการทางคุระบุรีได้เข้าไปทำการเปิดเส้นทางแล้ว ความ
เสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                - อำเภอเมือง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งคาโงก (หมู่ที่ 1-5) ตำบลนบปริง (หมู่ที่ 1,7,8) ตำบลสองแพรก (หมู่ที่ 1-3) ตำบลบางเตย (หมู่ที่ 1-9) และตำบลถ้ำน้ำผุด (หมู่ที่ 2,3) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 45 ครัวเรือน 150 คน ถนนถูกน้ำท่วม 25 สาย สะพาน 2 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
                - อำเภอคุระบุรี 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลคุระ (หมู่ที่ 1-12) ตำบลบางวัน (หมู่ที่1-9) ตำบลแม่นางขาว (หมู่ที่ 1-8) และตำบลเกาะพระทอง (หมู่ที่ 1-4) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 554 ครัวเรือน 2,542 คน อพยพราษฎรไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                - อำเภอตะกั่วทุ่ง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกกลอย (หมู่ที่ 3-6,9,12) ตำบล หล่อยูง (หมู่ที่ 2) ตำบลกระโสม (หมู่ที่ 1) และตำบลกะไหล (หมู่ที่ 1) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 40 ครัวเรือน 220 คน ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                - อำเภอตะกั่วป่า 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกเคียน (หมู่ที่ 2-6) และตำบลบางนายสี (หมู่ที่ 2-5,9) ในเขตชุมชนตลาดเก่าเทศบาลเมืองตะกั่วป่า ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                        สถานการณ์ปัจจุบัน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 สุราษฎร์-ตะกั่วป่า บริเวณเขาศก ช่วง กม.113 -117 มีดินถล่มทับเส้นทางไม่สามารถสัญจรไปมาได้ สำหรับบริเวณรอบเขตเทศบาลเมืองตะกั่วป่ายังคงมีน้ำท่วมขังในเขตชุมชนตลาดเก่าและถนนหลายสาย บางแห่งมีน้ำท่วมสูงประมาณ 1 เมตร
                        การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อส. มูลนิธิ อปพร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือราษฎรในเบื้องต้น และอพยพราษฎร อำเภอคุระบุรี จำนวน 230 คน 50 ครัวเรือน ไปอยู่ในที่ปลอดภัย พร้อมเร่งสำรวจความเสียหาย
          2) จังหวัดระนอง ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2552 โดยมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยในพื้นที่ 170-310 มม.ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
                - อำเภอสุขสำราญ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลกำพวน (หมู่ที่ 1-7) และตำบล นาคา (หมู่ที่1-8) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,003 ครัวเรือน 8,812 คน บ้านพักอาศัยเสียหายบางส่วน 2 หลัง กระแสไฟฟ้าดับใช้การไม่ได้ทั้งอำเภอ เนื่องจากเสาไฟฟ้าแรงสูงโค่นล้มหลายต้น
                - อำเภอกะเปอร์ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางหิน (หมู่ที่ 2-5) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 231 ครัวเรือน 500 คน ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                        สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มการเกษตร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 เมตร
ถนนและชุมชนที่อำเภอสุขสำราญ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.80 เมตร
                        การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ
องค์กรปกครองท้องถิ่น อส. มูลนิธิ อปพร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลืออพยพราษฎรตำบลบางหิน มายังศูนย์อพยพหลบภัยโรงเรียนบ้านบางหิน อำเภอกะเปอร์ พร้อมกับดูแลด้านอาหารและน้ำดื่มให้แก่ผู้อพยพ และได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 430 ถุง ให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยที่อำเภอสุขสำราญ พร้อมทั้งสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 5 ลำ  อนึ่ง เนื่องจากสภาวะฝนตกหนัก ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 เมื่อเวลา 10.10 น. ได้เกิดเหตุรถกระบะอีซูซุ โฟร์วีล ทะเบียน บค 102 ระนอง ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดระนอง เสียหลักพุ่งชนประสานงากับรถสิบล้อ ทะเบียน 70-1235 ชุมพร ซึ่งบรรทุกไม้ยางพารามาเต็มคัน เหตุเกิดบนถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 4 ใกล้วัดทับจาก ตำบลบางใหญ่ อำเภอกระบุรี ทำให้นายสมบัติ ภูฮวด พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดหนัก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง คนขับรถกระบะเสียชีวิต ซึ่งผู้เสียชีวิตได้รับคำสั่งให้ไปช่วยแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอกระบุรี แต่ยังไม่ถึงที่หมาย สาเหตุเกิดจากสภาพถนนที่ถูกน้ำท่วมขังสูงประมาณ 30 เซนติเมตร จนทำให้รถเสียหลักพุ่งไปชนกับรถสิบล้อดังกล่าว
          3) จังหวัดสตูล ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องเมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2552 โดยมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยในพื้นที่ 130-270 มม. ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 4 อำเภอ 14 ตำบล 95 หมู่บ้าน ได้แก่
                - อำเภอละงู 6 ตำบล 29 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลน้ำผุด (หมู่ที่ 1-11) ตำบลกำแพง (หมู่ที่ 1,5,6,8,9,10) ตำบลเขาขวา (หมู่ที่ 2-5) ตำบลปากน้ำ (หมู่ที่ 4) ตำบลละงู (หมู่ที่ 11,13) และตำบลแหลมสน (หมู่ที่ 1-4,6) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,560 ครัวเรือน บ้านพักอาศัยเสียหาย 16 หลัง วัด 1 แห่ง ถนน 20 สาย บ่อปลา 9 บ่อ ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
                - อำเภอมะนัง 2 ตำบล 19 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลปาล์มพัฒนา (หมู่ที่ 1-10) และตำบลนิคมพัฒนา (หมู่ที่ 1-9) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 98 ครัวเรือน 290 คน บ้านพักอาศัยเสียหาย 40 หลัง อพยพไปพักบ้านญาติ 40 ครัวเรือน 80 คน ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
                - อำเภอควนกาหลง 3 ตำบล 32 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลควนกาหลง (หมู่ที่ 1-11) ตำบลทุ่งนุ้ย (หมู่ที่ 1-12) และตำบลอุใดเจริญ (หมู่ที่1-9) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                - อำเภอทุ่งหว้า 3 ตำบล 15 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลทุ่งหว้า (หมู่ที่ 5,7,8,9,10) ตำบลนาทอน (หมู่ที่ 1,2,8) และตำบลป่าแก่บ่อหิน (หมู่ที่ 1-7) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 300 ครัวเรือน 850 คน ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
                        สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.80 เมตร การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอองค์กรปกครองท้องถิ่น อส. มูลนิธิ อปพร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ ความช่วยเหลือราษฎรในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจ
          4) จังหวัดตรัง ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2552 โดยมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยในพื้นที่ 120-180 มม. ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอย่านตาขาว อำเภอกันตัง (ตำบลบางเป้า) และอำเภอปะเหลียน (ตำบลแหลมสอม และตำบลปะเหลียน) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                        สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีน้ำท่วมขังบริเวณถนนและเขตชุมชนในอำเภอทั้ง 3 แห่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.00 เมตร อนึ่ง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 เวลา 11.30 น. เกิดเหตุเรือโดยสารรับส่งนักท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ชื่อ “เรือคชามารีน” ได้ถูกคลื่นซัดอับปาง บริเวณรอยต่อจังหวัดภูเก็ต และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ขณะเดินทางกลับจากส่งนักท่องเที่ยวที่เกาะพีพีแล้วโดยเรือประมงที่ประสบเหตุได้ช่วยเหลือกัปตันและลูกเรือรวม 5 คน และนำไปขึ้นฝั่งที่ท่าเรืออ่าวปอ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต อย่างปลอดภัยทุกคนแล้ว

การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัยของหน่วยงาน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 (สุราษฎร์ธานี) เขต 12 (สงขลา) ได้ส่งเรือท้องแบน 20 ลำ เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตรวม 60 นาย เข้าไปช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย แล้ว

ที่มา : รายงานสรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์(ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2552) ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

พังงา-ฝนตกหนักน้ำป่าไหลเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านหลายอำเภอ [ครอบครัวข่าว : 12 ก.ค. 52 ]

จังหวัดพังงา ฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านหลายอำเภอ และถนนสายตะกั่วป่า- สุราษฎร์ธานี บนเขาสกทรุดตัวพังลงมาระยะทางกว่า 500 เมตร เจ้าหน้าที่สั่งปิดชั่วคราว รถทุกชนิดต้องใช้สัญจรเส้นทางอื่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันจนถึงขณะนี้ ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมตลาดสด บขส.บางเนียง ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า และถนนด้านหน้าสายตะกั่วป่า-ท้ายเหมือง สูงกว่า 50 เซนติเมตร จนทำให้การจราจรติดขัดรถวิ่งได้เส้นทางเดียว จนทางเจ้าหน้าที่ อบต.คึกคัก ได้นำรถแม็คโคมาขุดเปิดทางน้ำเพื่อให้น้ำระบายลงสู่ทะเลได้เร็วจนกระทั่งน้ำเริ่มแห้งลงบางแล้ว แต่ทางชาวบ้านก็ยังได้นำกระสอบทรายมากั้นน้ำไว้และเก็บข้าวของขึ้นไปไว้บนที่สูง
ส่วนถนนสายตะกั่วป่า-สุราษฎร์ธานี ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 117 กว่า 500 เมตร บริเวณเขาสก หมู่ที่ 2 ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานบำรุงทางพังงายังคงปิดไม่ให้รถผ่านได้เนื่องจากยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งวันส่งผลให้ดินสไลด์ลงมาเพิ่มเป็นบริเวณกว้างเสียหายอย่างหนัก คาดว่าต้องใช้เวลาซ่อมกว่า 15 วัน จึงแจ้งให้ผู้ที่จะเดินทางไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เปลี่ยนไปใช้เส้นทาง พังงา-ทับปุด-เขาต่อ แทน สาเหตุที่ถนนทรุดตัวพังลงนั้นเนื่องจากฝนตกติดต่อกันอย่างหนักทำให้ดินสไลด์จากภูเขา ทำให้เกิดเหตุถนนพังเป็นระยะทางยาว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตลอดทั้งวันฝกตกลงมาอย่างหนัก ทำให้น้ำป่าจากภูเขาได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดพังงาหลายอำเภอ นอกจากอำเภอตะกั่วป่าแล้ว มีอำเภอกะปง อำเภอคุระบุรี อำเภอเมืองพังงา และอำเภอท้ายเหมือง บ้านเรือนของชาวบ้านที่อยู่ในที่ราบลุ่ม ถูกน้ำท่วมกว่า 100 เรือน ทางจังหวัดได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วน


--------------------------------------------------------------------------------------

สตูล-น้ำท่วมยังไม่คลี่คลายโรงเรียนปิดเพิ่ม 8 แห่ง [ครอบครัวข่าว : 13 ก.ค. 52 ]

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สตูลยังไม่คลี่คลายถึงแม้นว่าฝนจะหยุดตกแล้ว แต่สถานการณ์ยังคงรุนแรง ตามลำคลองต่าง ๆ น้ำเริ่มเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร เรือกสวนไร่นา สัตว์เลี้ยงเช่นวัว แพะ เป็ดไก่ ชาวบ้านต้องนำสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงที่ปลอดภัยและนำหญ้ามาให้ โดยสถานการณ์ทั้ง 7 อำเภอน้ำยังอยู่ในสภาพทรงตัวโดยเฉพาะเขตพื้นที่อ.ละงู บางหมู่บ้านเช่นที่ม.1 บ้านสันติสุขและม.5 บ้านดาหลำ ระดับน้ำสูงประมาณ 1-1.50 เมตร เส้นทางถูกตัดขาดหลายแห่ง ชาวบ้านต้องลอยคอออกมาขอความช่วยเหลือซึ่งทหารได้นำเรือท้องแบนมาช่วยเหลือแต่ก็ไม่เพียงพอ

ล่าสุดชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน 7 อำเภอ กว่า 18,733 คน โรงเรียนปิดตัวเองไปโดยปริยาย 8 แห่งในพื้นที่อ.เมือง 2 แห่ง อ.ควนโดน 3 แห่งและอ.ละงู 3 แห่ง ซึ่งบางแห่งเช่นที่ร.ร.บ้านห้วยมะพร้าว อ.ละงู โรงเรียนไม่ได้ถูกน้ำท่วมแต่นักเรียนกว่า 80% บ้านถูกน้ำท่วมจึงไม่สามารถมาเรียนหนังสือได้ ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังรวบรวมความเสียหายเพื่อเร่งให้การช่วยเหลือต่อไป


--------------------------------------------------------------------------------------

สตูล-น้ำท่วมแล้วทุกอำเภอ [ครอบครัวข่าว : 13 ก.ค. 52 ]

น้ำท่วมแล้วทุกอำเภอเดือดร้อนกว่า 6,000 ครัวเรือน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหนักโดยเฉพาะพืชผลการเกษตรสวนยาง สวนผลไม้ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สตูล ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ท่วมไปแล้วใน 4 อำเภอ คือ อ.ควนกาหลง อ.ทุ่งหว้า อ.ละงู อ.มะนัง สำหรับความคืบหน้า ในเช้าวันที่ 13 ก.ค.2552 น้ำเหนือจาก อ.ควนกาหลง ได้ไหลลงคลองดูสน เข้าท่วม พื้นที่ อ.ควนโดน อ.เมืองสตูล โดย อ.ควนโดนน้ำได้เข้าท่วมบ้านเรือน ชาวบ้าน ถนนหนทาง สวนผลไม้ของชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ริม 2 ฝั่งคลอง ในหลายหมู่บ้านของ ต.ควนโดน ต.ย่านซื่อ และในเขตเทศบาล ต.ควนโดน ชาวบ้านต้องย้ายสิ่งของไปในที่ปลอดภัย ในขณะที่ถนนหนทางหลายสายไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากระดับน้ำได้ท่วมสูง ส่วน ร.ร.บ้านย่านซื่อ ถูกปิดไปโดยปริยาย เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูง นักเรียนไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้ ในขณะที่มัสยิดบ้านย่านซื่อ ก็เช่นเดียวกันน้ำท่วมเข้าไปในมัสยิดไม่สามารถประกอบกิจทางศาสนาได้เช่นกัน

ส่วนในเขตพื้นที่ อ.เมืองสตูล ระดับน้ำจากลำคลองดูสน ได้ไหลเข้าท่วม บ้านเรือนราษฎรในเขตพื้น 2 ตำบล ที่ ต.ฉลุง ต.บ้านควน โดยเฉพาะเทศบาล ต.ฉลุง เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนน้ำท่วมให้ชาวบ้านรีบขนย้ายข้าวของตั้งแต่เมื่อตอนดึกที่ผ่านมา น้ำได้ท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน สวนเงาะ สวนลองกอง ของชาวบ้าน นอกจากนี้น้ำยังได้ท่วมถนนในเขตเทศบาล ต.ฉลุง บางสายทำให้ การสัญจรไป-มา เป็นไปด้วยความลำบาก ในขณะที่ถนนสายสตูล-ตรัง ฝั่งขาเข้าไปยังเขตเทศาล ต.ฉลุง ถูกน้ำท่วม รถราสัญจรไป-มา ด้วยความลำบากเช่นกัน ทางจนท.เทศบาลรีบนำกระสอบทรายไปวางเพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งได้เพิ่มระดับสูงขึ้น นอกจากนี้ ร.ร.บ้านโคกประดู่อ.เมือง ถูกปิดเช่นกันเนื่องจากน้ำท่วมโรงเรียน

ในขณะที่ ต.บ้านควน อ.เมืองน้ำได้เริ่มท่วมบ้านชาวบ้านอยู่บริเวณริม 2 ฝั่งคลองดังกล่าวแล้วเช่นกัน และในช่วงเย็น-ค่ำวันนี้น้ำในลำคลอง ดังกล่าวจะไหลท่วมพื้นที่ ต.คลองขุด และ ต.ควนขัน อ.เมืองสตูลต่อไปส่วน อ.ท่าแพ น้ำเหนือได้ไหลเข้าท่วม หลายพื้น ที่ของ ต.ท่าแพ และ ต.แป-ระ ทางการเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไปสรุปสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สตูลในขณะนี้ท่วมหมดแล้วทั้ง 7 อำเภอ ทางป้องกันบรรเทาสาธารณภัยสำรวจเบื้องต้นเสียหาย 7 อำเภอ 20 ตำบล กว่า 100 หมู่บ้าน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 6,000 ครัวเรือน อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำท่วมส่งผลให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหนักโดยเฉพาะพืชผลการเกษตรสวนยาง สวนผลไม้ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ บางรายต้องนำอวนดักปลาบริเวณสวนเพื่อประทังชีวิต ซึ่งพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหลายพื้นที่ยังถูกตัดขาดจากโลกภายนอก



--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมสตูลลดลง ชาวบ้านออกมาทำความสะอาด [ครอบครัวข่าว : 14 ก.ค. 52 ]

น้ำป่าที่ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนใน จ.สตูล นาน 3 วัน เริ่มลดระดับลงในบางอำเภอเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ ความเสียหายเบื้องต้น 7 อำเภอ 30 ตำบล 218 หมู่บ้าน ชาวบ้านเดือดร้อน6,912 ครัวเรือน จำนวน 25,483 คน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จ.สตูลหลังจากน้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรวันนี้เข้าสู่วันที่ 3 ซึ่งเมื่อวานฝนได้หยุดตกทำให้บางพื้นที่ระดับน้ำเริ่มลดลง โดยเฉพาะที่อ.ควนกาหลง อ.ทุ่งหว้าและอ.มะนัง ระดับน้ำลดลงสู่ภาวะปรกติแล้ว ส่วนที่อ.ควนโดน อ.ท่าแพ และอ.เมืองระดับน้ำเริ่มลดลงบ้างแล้วคาดว่าพรุ่งนี้คงเข้าสู่ภาวะปรกติ ยกเว้นอ.ละงู ระดับน้ำในตำบลรอบนอกเช่นที่ต.เขาขาว ต.น้ำผุด ระดับน้ำเริ่มลดลงและน้ำได้ไหลเข้าสู่เขตเทศบาลต.กำแพงเพื่อไหลลงทะเล อย่างไรก็ตามขณะนี้น้ำทะเลหนุนทำให้น้ำไหลลงสู่ทะเลไม่ทันจึงเข้าท่วมบริเวณเขตรอบนอกเทศบาลต.กำแพงส่งผลให้บ้านเรือนราษฎร บริเวณดังกล่าวต้องขนย้ายข้าวของกันอลม่านโดยเฉพาะที่ร.ร.อนุบาลนิด้าศึกษาศาสตร์ น้ำไหลทะลักเข้าร.ร.อย่างรวดเร็วทำให้ผู้ปกครองต้องรีบนำบุตรหลานกลับบ้าน

สำหรับร.ร.ที่ปิดตอนนี้เพิ่มเป็น 9 แห่ง ซึ่งในอ.ควนโดน อ.เมือง คาดว่าจะเปิดเรียนได้ในวันพรุ่งนี้ และสำหรับพื้นที่ที่น้ำลดแล้วปรากฏว่าวันนี้ชาวบ้านได้เริ่มทำความสะอาดบ้าน นำผ้ามาตากหลังจากที่แสงแดดเริ่มส่องลงมา ซึ่งความเสียหายเบื้องต้นที่ได้รับรายงานเสียหาย 7 อำเภอ 30ตำบล 218 หมู่บ้าน ชาวบ้านเดือดร้อน6,912 ครัวเรือน จำนวน 25,483 คน ซึ่งพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมชาวบ้านต้องพลิกวิกฤติเป็นโอกาสดักปลาในสวนยาง สวนเงาะ และตามท้องนา เพื่อนำมาจำหน่ายและมาประกอบอาหารในช่วงน้ำท่วม



--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ครอบครัวข่าว : http://www.krobkruakao.com
  • ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย ปภ.: http://61.19.54.137/public/