บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ( 1-12 ธ.ค. 56 )
ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ
1/12/2556[10GMT] |
2/12/2556[11GMT] |
3/12/2556[11GMT] |
4/12/2556[11GMT] |
5/12/2556[11GMT] |
6/12/2556[10GMT] |
7/12/2556[11GMT] |
8/12/2556[11GMT] |
9/12/2556[11GMT] |
10/12/2556[11GMT] |
11/12/2556[11GMT] |
12/12/2556[11GMT] |
1/12/2556 |
2/12/2556 |
3/12/2556 |
4/12/2556 |
5/12/2556 |
6/12/2556 |
7/12/2556 |
8/12/2556 |
9/12/2556 |
10/12/2556 |
11/12/2556 |
12/12/2556 |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php
ช่วงวันที่ 3-6 ธ.ค. 56 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่
แผนที่ความกดอากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
1/12/2556 [07:00] |
1/12/2556 [19:00] |
2/12/2556 [07:00] |
2/12/2556 [19:00] |
3/12/2556 [07:00] |
3/12/2556 [19:00] |
4/12/2556 [07:00] |
4/12/2556 [19:00] |
5/12/2556 [07:00] |
5/12/2556 [19:00] |
6/12/2556 [07:00] |
6/12/2556 [19:00] |
7/12/2556 [07:00] |
7/12/2556 [19:00] |
8/12/2556 [07:00] |
8/12/2556 [19:00] |
9/12/2556 [07:00] |
9/12/2556 [19:00] |
10/12/2556 [07:00] |
10/12/2556 [19:00] |
11/12/2556 [07:00] |
11/12/2556 [19:00] |
12/12/2556 [07:00] |
12/12/2556 [19:00] |
แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
1/12/2556 [07:00] |
1/12/2556 [19:00] |
2/12/2556 [07:00] |
2/12/2556 [19:00] |
3/12/2556 [07:00] |
3/12/2556 [19:00] |
4/12/2556 [07:00] |
4/12/2556 [19:00] |
5/12/2556 [07:00] |
5/12/2556 [19:00] |
6/12/2556 [07:00] |
6/12/2556 [19:00] |
7/12/2556 [07:00] |
7/12/2556 [19:00] |
8/12/2556 [07:00] |
8/12/2556 [19:00] |
9/12/2556 [07:00] |
9/12/2556 [19:00] |
10/12/2556 [07:00] |
10/12/2556 [19:00] |
11/12/2556 [07:00] |
11/12/2556 [19:00] |
12/12/2556 [07:00] |
12/12/2556 [19:00] |
จากแผนภาพแสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล พบว่ามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง มีกำลังค่อนข้างแรงในช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร | |||||
1/12/2556 [07:03] |
2/12/2556 [05:03] |
3/12/2556 [05:03] |
4/12/2556 [05:03] |
5/12/2556 [05:03] |
6/12/2556 [11:03] |
7/12/2556 [07:03] |
8/12/2556 [07:03] |
9/12/2556 [20:03] |
10/12/2556 [08:03] |
11/12/2556 [07:03] |
12/12/2556 [02:03] |
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์สงขลา : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_skaradar.php
จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์สงขลา พบว่ามีกลุ่มฝนกระจายตัวอยู่บริเวณภาคใต้ตอนล่างในช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยเฉพาะช่วงวันที่ 3-6 ธ.ค. 56 และช่วงวันที่ 10-11 ธ.ค. 56
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย สถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา
1/12/2556 |
2/12/2556 |
3/12/2556 |
4/12/2556 |
5/12/2556 |
6/12/2556 |
7/12/2556 |
8/12/2556 |
9/12/2556 |
10/12/2556 |
|11/12/2556 |
12/12/2556 |
1/12/2556 |
2/12/2556 |
3/12/2556 |
4/12/2556 |
5/12/2556 |
6/12/2556 |
7/12/2556 |
8/12/2556 |
9/12/2556 |
10/12/2556 |
11/12/2556 |
12/12/2556 |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ GSMaP พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณภาคใต้ตอนล่างตั้งวันที่ 2 ธ.ค. 56 และปริมาณฝนเพิ่มขึ้นมากและขยายตัวขึ้นไปทางด้านบนช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 56
หลังจากนั้นกลุ่มฝนลดลงและเพิ่มขึ้นอีกครั้งช่วงวันที่ 9-10 ธ.ค. 56 หลังจากนั้นปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงกระจุกตัวเล็กน้อยบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA
1/12/2556[00Z] |
2/12/2556[00Z] |
3/12/2556[00Z] |
4/12/2556[00Z] |
5/12/2556[00Z] |
6/12/2556[00Z] |
7/12/2556[00Z] |
8/12/2556[00Z] |
9/12/2556[00Z] |
10/12/2556[00Z] |
11/12/2556[00Z] |
12/12/2556[00Z] |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ NASA พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณภาคใต้ตอนล่างตั้งวันที่ 2 ธ.ค. 56 และปริมาณฝนเพิ่มขึ้นมากและขยายตัวขึ้นไปทางด้านบนช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 56
หลังจากนั้นกลุ่มฝนลดลงและเพิ่มขึ้นอีกครั้งช่วงวันที่ 9-10 ธ.ค. 56 หลังจากนั้นปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงกระจุกตัวเล็กน้อยบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงวันที่ 1-12 ธ.ค. 56
บริเวณภาคใต้ พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 30 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง
ส่วนจังหวัดที่ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
1/12/2013 | นราธิวาส | บองอ | ระแงะ | นราธิวาส | 38.8 |
สงขลา | เกาะแต้ว | เมืองสงขลา | สงขลา | 33.1 | |
2/12/2013 | นราธิวาส | บองอ | ระแงะ | นราธิวาส | 33.6 |
คอหงษ์ (1) | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 32.2 | |
3/12/2013 | ยะลา | บันนังสตา | บันนังสตา | ยะลา | 33.5 |
ตรัง | บางหมาก | กันตัง | ตรัง | 33.2 | |
4/12/2013 | นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 117.5 |
พัทลุง | อ่างทอง | เมืองพัทลุง | พัทลุง | 104.0 | |
นครศรีธรรมราช (1) | ปากพนังฝั่งตะวันตก | ปากพนัง | นครศรีธรรมราช | 94.4 | |
ยะลา | บันนังสตา | บันนังสตา | ยะลา | 71.6 | |
คอหงษ์ (1) | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 49.4 | |
หาดใหญ่ | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 43.4 | |
ปัตตานี | เกาะจัน | มายอ | ปัตตานี | 34.2 | |
นราธิวาส | บองอ | ระแงะ | นราธิวาส | 30.9 | |
5/12/2013 | สงขลา | เกาะแต้ว | เมืองสงขลา | สงขลา | 290.5 |
พัทลุง | อ่างทอง | เมืองพัทลุง | พัทลุง | 121.8 | |
คอหงษ์ (1) | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 93.4 | |
หาดใหญ่ | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 81.6 | |
ตรัง | บางหมาก | กันตัง | ตรัง | 46.1 | |
นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 33.8 | |
6/12/2013 | นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 100.7 |
นครศรีธรรมราช (1) | ปากพนังฝั่งตะวันตก | ปากพนัง | นครศรีธรรมราช | 49.4 | |
ฉวาง (2) | สวนขัน | กิ่ง อ. ช้างกลาง | นครศรีธรรมราช | 47.7 | |
10/12/2013 | นราธิวาส | บองอ | ระแงะ | นราธิวาส | 94.8 |
11/12/2013 | เกาะสมุย | มะเร็ต | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 44.8 |
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
2013-12-01 | พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 63.2 |
2013-12-02 | พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 63.6 |
2013-12-03 | พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 63.8 |
ที่ว่าการอำเภอสุคีริน | สุคิริน | สุคิริน | นราธิวาส | 54.6 | |
สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดยะลา | ธารโต | ธารโต | ยะลา | 53.6 | |
2013-12-04 | ที่ว่าการอำเภอสุคีริน | สุคิริน | สุคิริน | นราธิวาส | 140.2 |
ขุนทะเล | ขุนทะเล | ลานสกา | นครศรีธรรมราช | 80.0 | |
สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดยะลา | ธารโต | ธารโต | ยะลา | 73.6 | |
เนินพิจิตร | พิจิตร | นาหม่อม | สงขลา | 61.8 | |
สถานีตำรวจภูธรอำเภอกะพ้อ | กะรุบี | กะพ้อ | ปัตตานี | 59.2 | |
2013-12-05 | เนินพิจิตร | พิจิตร | นาหม่อม | สงขลา | 67.0 |
พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 64.0 | |
2013-12-06 | พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 64.2 |
ขุนทะเล | ขุนทะเล | ลานสกา | นครศรีธรรมราช | 55.8 | |
บ้านถาวร | การะเกด | เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 55.6 | |
2013-12-10 | ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 68.4 |
บ้านป่าม่วง | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 56.8 | |
ที่ว่าการอำเภอยี่งอ | ยี่งอ | ยี่งอ | นราธิวาส | 54.4 | |
สถานีตำรวจภูธรอำเภอกะพ้อ | กะรุบี | กะพ้อ | ปัตตานี | 53.0 |
หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร
รายงานการเตือนภัยปริมาณฝนผ่าน sms โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
จากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์ฝนตกหนักในช่วงต้นเดือนธันวาคม มีการเตือนภัยปริมาณฝน
ในระดับเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤตบริเวณภาคใต้
วันที่ |
เวลา |
ระดับการเตือนภัย |
ข้อความ |
30/11/2013 | 9:00:00 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ พัทลุง จ.พัทลุง 95มม |
5/12/2013 | 8:00:00 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ พัทลุง จ.พัทลุง 104มม |
5/12/2013 | 8:00:00 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 117.5มม |
5/12/2013 | 8:00:00 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช (1) จ.นครศรีธรรมราช 94.4มม |
6/12/2013 | 8:00:00 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ คอหงษ์ (1) จ.สงขลา 93.4มม |
6/12/2013 | 8:00:00 | วิกฤต |
ฝนวานนี้ สงขลา จ.สงขลา 290.5มม |
6/12/2013 | 8:00:00 | วิกฤต |
ฝนวานนี้ พัทลุง จ.พัทลุง 121.8มม |
7/12/2013 | 8:00:00 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช 100.7มม |
11/12/2013 | 8:00:00 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ นราธิวาส จ.นราธิวาส 94.8มม |
2/12/56 19:00 น. -3/12/56 19:00 น. |
3/12/56 19:00 น. - 4/12/56 19:00 น. |
4/12/56 19:00 น. - 5/12/56 19:00 น. |
5/12/56 19:00 น. - 6/12/56 19:00 น. |
6/12/56 19:00 น. - 7/12/56 19:00 น. |
7/12/56 19:00 น. - 8/12/56 19:00 น. |
8/12/56 19:00 น. - 9/12/56 19:00 น. |
จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า
7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ
WRF
ผลการคาดการณ์เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 56 พบว่ามีกลุ่มฝนบริเวณภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่วันที่ 2-5 ธ.ค. 56 หลังจากนั้นปริมาณฝนลดลง
โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงเนื่องจากเกิดฝนตกบริเวณภาคใต้ตอนล่างจริง แต่ในช่วงวันที่ 2-6 ธ.ค. 56 ปริมาณฝนที่เกิดขึ้นจริง
แต่ในวันที่ 2 ธ.ค. 56 กลุ่มฝนที่ตกจริงครอบคลุมพื้นที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ และในวันที่ 3-4 ธ.ค. 56 ปริมาณฝนตกจริงเพิ่มขึ้นมากและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้ัน
แต่ผลคาดการณ์กลับมีปริมาณฝนลดลงเล็กน้อย
เมื่อเปรียบเทียบกับภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน GSMaP
และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
||
|
|
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางบาง ซึ่งเป็นเขื่อนที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์ฝนตกหนักช่วงวันที่ 3-6 ธ.ค. 56
พบว่ามีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนรัชชประภาอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นจากเดิมแต่อย่างใด ส่วนเขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำไหลเข้า
มากใ่นช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. 56 โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด 42.45 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 4 ธ.ค. 56
ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
สถานี STU001- เมืองสตูล ต. ฉลุง อ. เมืองสตูล จ. สตูล |
สถานี SLA002-คลองหอยโข่ง ต. ทุ่งลาน อ. คลองหอยโข่ง จ. สงขลา |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php
จากกราฟแสดงระดับน้ำที่ตรวจวัดจากระบบโทรมาตร บริเวณภาคใต้ตอนล่าง พบว่าจากเหตุการณ์ฝนตกหนักในช่วงต้นเดือนธันวาคม
ส่งผลให้มีปริมาณน้ำในลำน้ำเพิ่มขึ้นมาก และตรวจพบสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งที่สถานี STU001 บริเวณ ต.ฉลุง อ.เมือง จ.สตูล
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 1 ธันวาคม 2556 เวลา 06.12 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา รายละเ้อียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 2 ธันวาคม 2556 เวลา 19.18 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 3 ธันวาคม 2556 เวลา 17.42 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา พัทลุง และปัตตานี รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 3 ธันวาคม 2556 เวลา 06.17 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 06.24 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 7 ธันวาคม 2556 เวลา 18.30 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมRADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 7 ธันวาคม 2556 เวลา 18.40 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 05.48 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เวลา 05.42 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดปัตตานี สงขลา พัทลุง และยะลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เวลา 17.47 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เวลา 06.13 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และตรัง รายละเอียดเพิ่มเ้ติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เวลา 18.48 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัด สงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และพัทลุง รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 12 ธันวาคม 2556 เวลา 06.18 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี และยะลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 13 ธันวาคม 2556 เวลา 06.03 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 13 ธันวาคม 2556 เวลา 17.53 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 14 ธันวาคม 2556 เวลา 18.37 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานีและยะลา รายละเีอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมCOSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 15 ธันวาคม 2556 เวลา 18.28 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมCOSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 16 ธันวาคม 2556 เวลา 06.31 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และสุราษฏร์ธานี รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSATRADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 17 ธันวาคม 2556 เวลา 06.09 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง และสุราษฎร์ธานี รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 19 ธันวาคม 2556 เวลา 17.42 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุง รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSATRADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 21 ธันวาคม 2556 เวลา 18.32 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ปัตตานี และยะลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์
--------------------------------------------------------------------------------------
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครสงขลาหลายจุด เนื่องจากฝนตกหนักน้ำระบายไม่ทัน รวมทั้งน้ำทะเลหนุน เทศบาลนครสงขลาต้องเปิดประตูระบายน้ำ ใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เร่งสูบระบายน้ำออก
วันนี้ (5 ธ.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่เขตเทศบาลนครสงขลาหลายจุด โดยเฉพาะพื้นที่อยู่ติดริมฝั่งทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่ถนนแหล่งพระราม ถนนนครนอก และบริเวณท่าเทียบเรือ น้ำในท่วมถนน และบ้านเรือนประชาชน ระดับน้ำสูงกว่า 50 เซนติเมตร
เนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเช้า ทำให้น้ำระบายไม่ทัน และมีภาวะน้ำทะเลหนุน ทางเทศบาลนครสงขลาต้องระดมเจ้าหน้าที่ออกช่วยเหลือประชาชน และเปิดเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ทุกจุดในตัวเมืองเร่งระบายน้ำออกลงสู่ทะเลสาบ สงขลา เนื่องจากยังมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง
โดยเป็นผลมาจากจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้าง แรงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนถล่มยะลา แม่น้ำสายบุรีเอ่อท่วม 300 หลังคาเรือน [ ไทยรัฐ : 6 ธ.ค. 56 ]
ฝนตกติดต่อกันใน จ.ยะลา น้ำล้นแม่น้ำสายบุรี เอ่อท่วมบ้านเรือนประชาชน กว่า 300 หลัง ใน อ.รามัน โรงเรียน 2 แห่ง ปิดการเรียนไม่มีกำหนด พ่อเมืองลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม มอบถุงยังชีพ
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 56 มีรายงานว่า ภายหลังฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่ จ.ยะลา ส่งผลให้แม่น้ำสายบุรี อ.รามัน เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ราบ ประกอบด้วย บ้านปายอแง บ้านบูเกะซืองอ บ้านกำปงบาโง หมู่ 5 ต.อาซ่อง กว่า 100 หลังคาเรือน รวมถึงเส้นทางเข้าสู่หมู่บ้านตะโละสะดา หมู่ 1 ต.อาซ่อง และบ้านปายอยือนิ หมู่ 6 ต.กายูบอเกาะ กว่า 200 หลังคาเรือน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 56 ที่ผ่านมา
ขณะที่โรงเรียนบ้านตะโละสะดา หมู่ 1 ต.อาซ่อง ได้ประกาศหยุดการเรียนการสอนโดยไม่มีกำหนด เนื่องจากเส้นทางเข้าสู่โรงเรียนมีน้ำท่วมสูงราว 1 เมตร เป็นระยะทางยาวกว่า 1 กม. กระแสน้ำไหลเชี่ยว ทำให้ครูและนักเรียนไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้ เช่นเดียวกับโรงเรียนบ้านสะโต ต้องหยุดการสอน
ต่อมา นายเดชรัฐ สิมศิริ ผวจ.ยะลา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยที่บ้านกำปงบาโงและหมู่บ้านอื่นๆ เบื้องต้นได้ให้กำลังใจ พร้อมมอบยาเวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภค บริโภค และสิ่งของยังชีพ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าไปก่อน
--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนกระหน่ำพัทลุง-น้ำป่าไหลท่วมซ้ำบ้านเรือน อ.เขาชัยสน [ ไทยรัฐ : 6 ธ.ค. 56 ]
น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนใน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ชาวบ้านเดือดร้อนซ้ำ ร.ร.ริมทะเลสาบสงขลาปิดสอนกว่า 20 แห่ง หลายหมู่บ้านระดับน้ำไม่มีทีท่าลดลง ต้องใช้เรือสัญจร...
เมื่อวัน ที่ 6 ธ.ค. 56 มีรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พัทลุง โดยช่วงสายได้มีน้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดเข้าท่วมพื้นที่หมู่ 1 ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนมากกว่า 100 ครัวเรือน เส้นทางในหมู่บ้านถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ระดับน้ำสูงโดยเฉลี่ย 80-100 ซม. ในส่วนพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา ระดับน้ำได้สูงขึ้นต่อเนื่อง จากน้ำป่าเทือกเขาบรรทัดไหลมาสมทบ ทำให้โรงเรียนในพื้นที่ริมทะเลสาบ ปิดการเรียนการสอนมากกว่า 20 แห่ง ในส่วนชาวบ้านในพื้นที่ ต.นาโหนด ต.ปรางหมู่ ต.โคกชะงาย ต.ชัยบุรี ต.ลำปำ และ ต.พญาขัน อ.เมือง จ.พัทลุง ได้รับความเดือดร้อนเป็นรอบที่ 4 หลายพื้นที่ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ยกว่า 1 เมตร และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เนื่องจากยังมีฝนตกกระจายทั่วพื้นที่
ขณะที่พื้นที่ริมทะเลสาบสงขลาใน ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน และ ต.พนางตุง อ.ควนขนุน ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก บ้านเรือนกว่า 300 หลังคาเรือน ถูกน้ำท่วมขังมาแล้วประมาณ 1 เดือน การสัญจรไปมาใช้ได้เพียงเรือเท่านั้น ล่าสุด ชาวบ้านเริ่มมีอาการป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า
อย่างไรก็ตาม พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่บริเวณโรงเรียนบ้านปากประ หมู่ 8 ต.ลำปำ อ.เมือง เพื่อให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัย และมอบถุงยังชีพ จำนวน 200 ชุด ในพื้นที่หมู่ 8 และ 11 ต.ลำปำ ซึ่งชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านถูกน้ำท่วมมาประมาณ 3 เดือนแล้ว ระดับน้ำยังคงท่วมสูง 1.7 เมตร การสัญจรเข้า-ออก ยังต้องอาศัยเรือพายและเรือหางยาวเพียงเท่านั้น
--------------------------------------------------------------------------------------
พัทลุงน้ำป่าเขาบรรทัดท่วม1ม.-ริมทะเลสาบสงขลาอ่วม [ INN News : 7 ธ.ค. 56 ]
สถานการณ์ น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ยังมีน้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ไหลท่วมในพื้นที่ อ.ตะโหมด ป่าบอน กงหรา ศรีนครินทร์ ศรีบรรพต ป่าพะยอม เขาชัยสน บางแก้ว และพื้นที่ อ.เมืองพัทลุง มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว และระดับน้ำสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.โคกม่วง ต.ควนขนุน ต.เขาชัยสน และเขตเทศบาลตำบลเขาชัยสน อ.เขาชัยสน โดยระดับน้ำสูงเกือบ 1 เมตร เส้นทางระหว่างหมู่บ้านรถเล็กไม่สามารถใช้สัญจรไปมาชาวบ้านยังคงได้รับความ เดือดร้อน ส่วนพื้นที่ อ.ป่าบอน ที่สำนักสงฆ์โคกตะเคียน ท้องที่ ม.8 ต.ป่าบอน ฝนที่ตกลงมาหลายวัน บวกกับน้ำที่ไหลป่าเทือกเขาบรรทัด ใน อ.ป่าบอน ไหลลงมาสมทบทบ ทำให้มีน้ำท่วมสูงกว่า 120 ซ.ม. เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน 434 พัทลุง ได้ลงพื้นที่เพื่อช่วยขนย้ายสิ่งของภายในสำนักสงฆ์ ขึ้นไว้ในที่ปลอดภัยแล้วเช่นกัน
สำหรับในพื้นที่ราบลุ่มริมทะเลสาบใน 5 อำเภอ บ้านเรือนประชาชนยังคงมีน้ำท่วมสูง เนื่องจากน้ำทะเลหนุน และน้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดไหลลงมาสมทบชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนแล้วกว่า 10,000 ครัวเรือน พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 100,000 ไร่
น้ำท่วมพัทลุงยังไม่คลี่คลาย-บ้านอาพัดอ่วม
สถานการณ์ น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุง น้ำป่ายังหลากท่วมอย่างต่อเนื่อง โดยมวลน้ำก้อนใหญ่ได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่บ้านอาพัด ท้องที่ ม.4 ต.จองถนน อ.เขาชัยสน ชาวบ้านจำนวน 200 กว่าครัวเรือน ต้องเร่งอพยพสิ่งของ สัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูงเป็นการด่วน หลังปริมาณน้ำได้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา นอกจากนั้นแล้วยังมีบ้านเรือนหมู่บ้านดังกล่าวอีก 7 ครัวเรือน ที่อยู่ท้ายหมู่บ้านถนนถูกตัดขาด และไม่มีเรือใช้ในการสัญจร สำหรับบ้านอาพัด เป็นหมู่บ้านที่อยู่ริมทะเลสาบสงขลา ของ อ.เขาชัยสน โดยก่อนหน้านี้พื้นที่ดังกล่าว มีน้ำท่วมขังมานานแล้วกว่า 3 สัปดาห์ แต่ในช่วงเช้าที่ผ่านมาระดับน้ำได้ไหลหลากเพิ่มระดับขึ้นมามากเฉลี่ย 100 - 150 ซ.ม. ทำให้ชาวบ้านยังคงได้รับความเดือดร้อน
--------------------------------------------------------------------------------------
ชาวพัทลุง ริมทะเลสาบสงขลา ยังอ่วม [ INN News : 9 ธ.ค. 56 ]
ชาวพัทลุง ริมทะเลสาบสงขลา ยังอ่วม น้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร นานนับเดือน ขณะที่มียอดผู้เสียชีวิตแล้ว 2ราย
สถานการณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ริมทะเลสาบ จ.พัทลุง ยังไม่คลี่คลาย แม้ฝนได้หยุดตกลงมาแล้วก็ตาม หลายพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมสูงเฉลี่ยกว่า 80-100 เซนติเมตร โดยเฉพาะในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ต.จองถนน อ.เขาชัยสน ชาวบ้านที่มีบ้านเรือนอยู่ริมทะเลสาบสงขลา กว่า 25 ครัวเรือน มีน้ำท่วมสูง ถนนในหมู่บ้านยังไม่สมารถใช้สัญจรผ่านไปมาได้ ต้องใช้เรือในการเดินทางเข้าออกหมู่บ้านด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเป็นหมู่บ้านริมทะเลสาบ ที่น้ำได้เอ่อล้นและน้ำทะเลหนุนมานานนับเดือน และยังไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ นอกจากนั้น สัตว์เลี้ยง อาทิ โค กระบือ ของชาวบ้าน กว่า 5,000 ตัว ริมชายฝั่งทะเลสาบสงขลา เริ่มขาดแคลนอาหารสด เพราะแปลงหญ้าถูกน้ำท่วมสูง เกษตรกรต้องรวมกลุ่มกันเดินทางไปตัดหญ้าในต่างอำเภอ ซึ่งใช้ระยะทางหลายสิบกิโลเมตรเพื่อสำรองอาหารสัตว์ ซึ่งเริ่มหายากขึ้นทุกที
ในขณะที่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากสภาพน้ำท่วมแล้ว จำนวน 2 ราย สภาพน้ำท่วมในครั้งเป็นรอบที่ 2 ของ จ.พัทลุง ความเสียหายอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ
ส่วนด้าน นางยก หมุนนุ้ย อายุ 73 ปี บ้านเลขที่ 32/2 ม.11 ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง กล่าวว่า ปีนี้บ้านของตนถูกน้ำท่วมเป็นครั้งที่ 5 แล้ว ที่สำคัญ เริ่มเบื่อหน่ายกับสภาพน้ำท่วม เพราะทุกครั้งที่น้ำป่าลงมา จะท่วมบ้านตนเสมอ จึงฝากวอนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหา