บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ (22-28 กุมภาพันธ์ 2556 )
23/2/56 19.00 น. - 24/2/56 19.00 น. |
24/2/56 19.00 น. - 25/2/56 19.00 น. |
25/2/56 19.00 น. - 26/2/56 19.00 น. |
26/2/56 19.00 น. - 27/2/56 19.00 น. |
27/2/56 19.00 น. - 28/2/56 19.00 น. |
28/2/56 19.00 น. - 1/3/56 19.00 น. |
1/3/56 19.00 น. - 2/3/56 19.00 น. |
จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า
7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ
WRF
ผลการคาดการณ์เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 56 พบว่าช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 56 มีฝนมากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา
โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
เมื่อเปรียบเทียบกับภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
แผนภาพแสดงฝนสะสมของศูนย์วิจัยทหารเรืออเมริกา แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA และการตรวจวัดปริมาณฝนจากสถานีโทรมาตร
ภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ | |||||||||
22/2/2556[11GMT] |
23/2/2556[11GMT] |
24/2/2556[17GMT] |
25/2/2556[11GMT] |
26/2/2556[11GMT] |
27/2/2556[09GMT] |
28/2/2556[08GMT] |
|||
22/2/2556 |
23/2/2556 |
24/2/2556 |
25/2/2556 |
26/2/2556 |
27/2/2556 |
28/2/2556 |
แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร |
|||||||||
22/2/2556[07น.] |
22/2/2556[19น.] |
23/2/2556[07น.] |
23/2/2556[19น.] |
24/2/2556[07น.] |
24/2/2556[19น.] |
25/2/2556[07น.] |
|||
25/2/2556[19น.] |
26/2/2556[07น.] |
26/2/2556[19น.] |
27/2/2556[07น.] |
27/2/2556[19น.] |
28/2/2556[07น.] |
28/2/2556[19น.] |
|||
|
เรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร | ||||||
22/2/2556 [23:03GMT] |
23/2/2556 [23:03GMT] |
24/2/2556 [17:03GMT] |
25/2/2556 [05:03GMT] |
26/2/2556 [03:03GMT] |
27/2/2556 [07:03GMT] |
28/2/2556 [08:03GMT] |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม :http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_cmpradar.php |
||||||
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
22/2/2556 : 0000Z |
22/2/2556 : 1200Z |
23/2/2556 : 0000Z |
23/2/2556 : 1200Z |
24/2/2556 : 0000Z |
24/2/2556 : 1200Z |
25/2/2556 : 0000Z |
25/2/2556 : 1200Z |
26/2/2556 : 0000Z |
26/2/2556 : 1200Z |
27/2/2556 : 0000Z |
27/2/2556 : 1200Z |
28/2/2556 : 0000Z |
28/2/2556 : 1200Z |
mm.
|
22/2/56[00Z]-23/2/56[00Z] |
23/2/56[00Z]-24/2/56[00Z] |
24/2/56[00Z]-25/2/56[00Z] |
25/2/56[00Z]-26/2/56[00Z] |
26/2/56[00Z]-27/2/56[00Z] |
27/2/56[00Z]-28/2/56[00Z] |
28/2/56[00Z]-1/3/56[00Z] |
mm.
|
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. 56 หลังจากนั้นกลุ่มฝนกระจุกตัวเพิ่มขึ้นมากช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 56 หลังจากนั้นได้ลดปริมาณ
ลงอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 56
บริเวณภาคใต้ พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน
แสดงดังตารางด้านล่าง และสถานีที่ตรวจวัดปริมาณฝน
ได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน อยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลา พัทลุง และสงขลา
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
26/2/2013 | สะเดา (2) | สะเดา | สะเดา | สงขลา | 55.7 |
25/2/2013 | ยะลา | บันนังสตา | บันนังสตา | ยะลา | 115.6 |
พัทลุง | อ่างทอง | เมืองพัทลุง | พัทลุง | 75.1 | |
นราธิวาส | บองอ | ระแงะ | นราธิวาส | 68.9 | |
24/2/2013 | พัทลุง | อ่างทอง | เมืองพัทลุง | พัทลุง | 114.5 |
คอหงษ์ (1) | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 110.4 | |
นครศรีธรรมราช (1) | ปากพนังฝั่งตะวันตก | ปากพนัง | นครศรีธรรมราช | 95.0 | |
นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 72.5 | |
ตรัง | บางหมาก | กันตัง | ตรัง | 70.6 | |
สงขลา | เกาะแต้ว | เมืองสงขลา | สงขลา | 65.7 | |
หาดใหญ่ | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 63.4 | |
สะเดา (2) | สะเดา | สะเดา | สงขลา | 58.1 | |
ยะลา | บันนังสตา | บันนังสตา | ยะลา | 56.9 | |
ปัตตานี | เกาะจัน | มายอ | ปัตตานี | 54.8 |
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
2013-02-26 | สถานีประปาอำเภอศรีสาคร | ศรีสาคร | ศรีสาคร | นราธิวาส | 95.2 |
กาบัง | กาบัง | กาบัง | ยะลา | 91.6 |
|
อบต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี | ริโก๋ | สุไหงปาดี | นราธิวาส | 66.6 |
|
ที่ว่าการอำเภอตากใบ | เจ๊ะเห | ตากใบ | นราธิวาส | 54.0 |
|
โรงพยาบาลเจาะไอร้อง | จวบ | เจาะไอร้อง | นราธิวาส | 51.0 |
|
2013-02-25 | สถานีประปาอำเภอศรีสาคร | ศรีสาคร | ศรีสาคร | นราธิวาส | 157.4 |
อบต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี | ริโก๋ | สุไหงปาดี | นราธิวาส | 144.0 |
|
บูเก๊ะตา | โละจูด | แว้ง | นราธิวาส | 124.8 |
|
ที่ว่าการอำเภอตากใบ | เจ๊ะเห | ตากใบ | นราธิวาส | 90.6 |
|
เขาพระ | เขาพระ | รัตภูมิ | สงขลา | 90.4 |
|
กาบัง | กาบัง | กาบัง | ยะลา | 88.0 |
|
โรงพยาบาลเจาะไอร้อง | จวบ | เจาะไอร้อง | นราธิวาส | 85.2 |
|
ที่ว่าการอำเภอระแงะ | ตันหยงมัส | ระแงะ | นราธิวาส | 76.2 |
|
ที่ทำการสำนักงานแขวงการทางนราธิวาส | บางนาค | เมืองนราธิวาส | นราธิวาส | 60.6 |
|
เขาตูม | เขาตูม | ยะรัง | ปัตตานี | 52.6 |
|
2013-02-24 | เขาพระ | เขาพระ | รัตภูมิ | สงขลา | 131.2 |
ตลาดกงหรา | คลองทรายขาว | กงหรา | พัทลุง | 112.2 |
|
ขุนทะเล | ขุนทะเล | ลานสกา | นครศรีธรรมราช | 88.4 |
|
ปากพนัง | ปากพนัง | ปากพนัง | นครศรีธรรมราช | 85.8 |
|
บูเก๊ะตา | โละจูด | แว้ง | นราธิวาส | 85.2 |
|
บ้านเขาคา | เทพราช | สิชล | นครศรีธรรมราช | 64.6 |
|
บ้านป่าม่วง | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 61.2 |
|
เนินพิจิตร | พิจิตร | นาหม่อม | สงขลา | 56.0 |
|
ป่าพยอม | บ้านพร้าว | ป่าพะยอม | พัทลุง | 55.2 |
|
สถานีตำรวจภูธรอำเภอกะพ้อ | กะรุบี | กะพ้อ | ปัตตานี | 54.8 |
|
ที่ว่าการอำเภอยี่งอ | ยี่งอ | ยี่งอ | นราธิวาส | 53.6 |
|
ที่ว่าการอำเภอกรงปินัง | สะเอะ | กิ่งอำเภอกรงปินัง | ยะลา | 51.4 |
|
สถานีประปาอำเภอศรีสาคร | ศรีสาคร | ศรีสาคร | นราธิวาส | 51.2 |
|
2013-02-23 | บูเก๊ะตา | โละจูด | แว้ง | นราธิวาส | 55.6 |
วันที่เตือนภัย | เวลาที่เตือนภัย | ช่วงเวลาฝนสะสม | ตำบล | อำเภอ | จังหวัด | ปริมาณฝนสะสม(มม.) | ระดับการเตือนภัย |
26/2/2013 | 20:00:00 | ฝน07-20น. | ต.ริโก๋ | อ.สุไหงปาดี | จ.นราธิวาส | 66.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
9:00:00 | ฝน07-09น. | ต.กาบัง | อ.กาบัง | จ.ยะลา | 65.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
8:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.บันนังสตา | อ.บันนังสตา | จ.ยะลา | 115.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
25/2/2013 | 23:00:00 | ฝน07-23น. | ต.บาละ | อ.กาบัง | จ.ยะลา | 65.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
23:00:00 | ฝน07-23น. | ต.ตันหยงมัส | อ.ระแงะ | จ.นราธิวาส | 65.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
22:00:00 | ฝน07-22น. | ต.โละจูด | อ.แว้ง | จ.นราธิวาส | 65.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
21:00:00 | ฝน07-21น. | ต.บูกิต | อ.เจาะไอร้อง | จ.นราธิวาส | 66.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
19:00:00 | ฝน07-19น. | ต.ริโก๋ | อ.สุไหงปาดี | จ.นราธิวาส | 65.8 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
16:00:00 | ฝน07-16น. | ต.เขาพระ | อ.รัตภูมิ | จ.สงขลา | 65.8 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
8:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.คอหงส์ | อ.หาดใหญ่ | จ.สงขลา | 110.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
8:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก | อ.ปากพนัง | จ.นครศรีธรรมราช | 95.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
8:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.อ่างทอง | อ.เมืองพัทลุง | จ.พัทลุง | 114.5 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
5:00:00 | ฝน25/07-26/05น. | ต.กาบัง | อ.กาบัง | จ.ยะลา | 69.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
4:00:00 | ฝน25/07-26/04น. | ต.ริโก๋ | อ.สุไหงปาดี | จ.นราธิวาส | 113.0 | วิกฤต |
|
3:00:00 | ฝน25/07-26/03น. | ต.โละจูด | อ.แว้ง | จ.นราธิวาส | 111.0 | วิกฤต |
|
24/2/2013 | 23:00:00 | ฝน07-23น. | ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก | อ.ปากพนัง | จ.นครศรีธรรมราช | 69.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
23:00:00 | ฝน07-23น. | ต.โละจูด | อ.แว้ง | จ.นราธิวาส | 65.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
22:00:00 | ฝน07-22น. | ต.เขาพระ | อ.รัตภูมิ | จ.สงขลา | 66.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
7:00:00 | ฝนวานนี้ | ต.คลองเฉลิม | อ.กงหรา | จ.พัทลุง | 112.2 | วิกฤต |
|
1:00:00 | ฝน24/07-25/01น. | ต.คลองเฉลิม | อ.กงหรา | จ.พัทลุง | 74.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน24/07-25/00น. | ต.เขาพระ | อ.รัตภูมิ | จ.สงขลา | 129.6 | วิกฤต |
|
1:00:00 | ฝน24/07-25/00น. | ต.ขุนทะเล | อ.ลานสกา | จ.นครศรีธรรมราช | 71.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทาน |
|
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนบางลาง |
ปริมาณน้ำไหลเข้า้ำเขื่อนบางลาง |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html |
วันที่ |
X.119A |
X.73 |
||
ระดับน้ำ |
ปริมาณน้ำ |
ระดับน้ำ |
ปริมาณน้ำ |
|
ตลิ่ง 8.20 ม. |
ความจุ 225 ลบ.ม./วิ |
ตลิ่ง 15.58 ม. |
ความจุ 135 ลบ.ม./วิ |
|
23/2/2555 | 4.41 |
32 |
11.30 |
15 |
24/2/2555 | 4.50 |
36 |
11.30 |
15 |
25/2/2555 | 6.93 |
141 |
13.32 |
55 |
26/2/2555 | 8.68 |
268 |
15.59 |
135 |
27/2/2555 | 10.13 |
437 |
16.68 |
242 |
28/2/2555 | 10.01 |
421 |
16.05 |
173 |
1/3/2555 | 9.71 |
384 |
15.21 |
116 |
2/3/2555 | 9.12 |
314 |
14.40 |
84 |
3/3/2555 | 8.29 |
233 |
13.41 |
57 |
4/3/2555 | 7.40 |
167 |
13.01 |
47 |
ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) |
สถานีปัตตานี 2 ต.ตาเซะ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา |
สถานีทะเลสาบสงขลา 3 ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา จ.สงขลา |
จากการตรวจวัดระดับน้ำจากระบบโทรมาตร ของ สสนก. พบว่าจากเหตุการณ์ฝนตกหนักช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 56 ส่งผลให้ระดับในลำน้ำในภาคใต้เพิ่มสูงขึ้น
โดยที่สถานีปัตตานี 2 ต.ท่าแซะ อ.เมือง จ.ยะลา ปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. 55 และเพิ่มขึ้นสูงสุดในวันที่ 27-28 ก.พ. 55 ระดับน้ำ 12.82 ม.รทก.
ส่วนที่สถานีทะเลสาบสงขลา 3 ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา จ.สงขลา ปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. 55 และเพิ่มขึ้นสูงสุดในวันที่ 28 ก.พ. 55 ระดับน้ำ 14.54 ม.รทก.
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 18.25 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดพัทลุง และสงขลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-3 บันทึกภาพวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 18.26 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดพัทลุง และสงขลา สานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารส รายละเอียดเพิ่มเติม |
ข้อมูลด้านความเสียหาย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รายงานสถานการณ์สาธารณภัย ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16.30 น.
(ตัดมาเฉพาะรายงานสถานการณ์อุทกภัย)
สถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556 จนถึงปัจจุบัน จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ และเกิดอุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด 30 อำเภอ 133 ตำบล 642 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา พัทลุง นราธิวาส และจังหวัดสงขลา ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 28,365 ครัวเรือน 110,552 คน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (จ.พัทลุง)
ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่จังหวัดปัตตานี ยะลา พัทลุง และจังหวัดนราธิวาส (สำหรับจังหวัดสงขลา ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว)
1. จังหวัดปัตตานี วันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2556 เกิดฝนตกต่อเนื่อง (วัดปริมาณน้ำฝนมากสุดที่ อำเภอกะพ้อ 75.5 มม.) และมีน้ำเหนือจากจังหวัดยะลา ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 5 อำเภอ 21 ตำบล 55 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอกะพ้อ ยะรัง เมือง ทุ่งยางแดง และอำเภอสายบุรีไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ดังนี้ (รายงานเพิ่มเติม 3 อำเภอ คือ อำเภอยะรัง เมือง และอำเภอทุ่งยางแดง)
1) อำเภอกะพ้อ 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกะรุปี (หมู่ที่ 4-8) ตะโละดือรามัน (หมู่ที่ 1,2,5,6,8,9) ปล่องหอย (หมู่ที่ 4-8) ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง สถานการณ์คลี่คลายอยู่ระหว่งฟื้นฟู
2) อำเภอยะรัง 7 ตำบล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเขาตูม (หมู่ที่ 1) ปิตูมุดี (หมู่ที่ 4) ประจัน (หมู่ที่ 1,8,9) คลองใหม่ (หมู่ที่ 2,4,6) ยะรัง (หมู่ที่ 1) กอลำ (หมู่ที่ 5) เมาะมาวี (หมู่ที่ 1,6) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 173 ครัวเรือน ถนน 6 สาย คอสะพาน 1 แห่ง ปัจจุบันระดับน้ำลดลง สถานการณ์คลี่คลายอยู่ระหว่งฟื้นฟู
3) อำเภอเมือง 2 ตำบล 6 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลปะกาฮะรัง (หมู่ที่ 1,2,4) บาราเฮาะ (หมู่ที่ 2,5,8) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 568 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง สถานการณ์คลี่คลายอยู่ระหว่งฟื้นฟู
4) อำเภอทุ่งยางแดง 4 ตำบล 14 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลตะโละแมะมา (หมู่ที่ 1-4) น้ำดำ (หมู่ที่1,2,4,5) ปากู (หมู่ที่ 2,6,7) และตำบลพิเทน (หมู่ที่ 2,4,6) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 2,796 ครัวเรือน 11,245 คน
5) อำเภอสายบุรี 5 ตำบล 7 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลตะปิ้ง (หมู่ที่ 4) มะนังดาลำ (หมู่ที่ 3,4) บือเระ (หมู่ที่ 4) แป้น (หมู่ที่ 7,8) และตำบลปะเสยะวอ (หมูที่ 1) ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด อำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร และอาสาสมัครในพื้นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือและอพยพราษฎรเป็นการเบื้องต้นแล้ว
2. จังหวัดยะลา วันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2556 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และมีดินสไลด์ลงบนถนนมีพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน 7 อำเภอ 35 ตำบล 95 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,496 ครัวเรือน 11,391 คน ได้แก่ อำเภอบันนังสตา กาบัง ยะหา กรงปินัง รามัน เมือง และอำเภอธารโต อพยพ 50 ครัวเรือน 250 คน ถนนเสียหาย 8 สาย สะพาน 3 แห่ง ดังนี้ (เพิ่มเติม 2 อำเภอ คืออำเภอเมือง และอำเภอธารโต)
1) อำเภอบันนังสตา 5 ตำบล 14 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลตลิ่งชัน (หมู่ที่ 1,3,5,9,11,13) ตาเนาะปูเต๊ะ (หมู่ที่ 1,2,5) บันนังสตา (หมู่ที่ 4,9) บาเจาะ (หมู่ที่ 1,2) และตำบลถ้ำทะลุ (หมู่ที่ 1,5) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 620 ครัวเรือน 835 คน
2) อำเภอกาบัง 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกาบัง (หมู่ที่ 1,3) และตำบลบาละ (หมู่ที่ 7,8)
3) อำเภอยะหา 5 ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลยะหา (หมู่ที่ 1,6,8) ปะแต (หมู่ที่ 1,4) บาโงยซิแน (หมู่ที่ 1,2,5) บาโร๊ะ (หมู่ที่ 3-4) และตำบลตาชี (หมู่ที่ 1,2,5) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 100 ครัวเรือน 500 คน
4) อำเภอกรงปินัง 4 ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสะเอะ (หมู่ที่ 1-6) กรงปินัง (หมู่ที่ 5) ปุโรง (หมู่ที่ 1-4) และตำบลห้วยกระทิง (หมู่ที่ 1,2) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 442 ครัวเรือน 1,481 คน
5) อำเภอรามัน 7 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลย๊ะต๊ะ (หมู่ที่ 1,2,4,5) กอตอตือร๊ะ (หมู่ที่ 2) บาลอ (หมู่ที่ 3-5) กาลูปัง (หมู่ที่ 1) แกะรอ (หมู่ที่ 1,3,4,5) โล๊ะหะลอ (หมู่ที่ 3,4) และตำบลกายูบอเกาะ (หมู่ที่ 3 )
6) อำเภอเมือง 8 ตำบล 21 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสะเตงนอก (หมู่ที่ 3,12,13) บุดี (หมู่ที่ 1,3,6,7) ลำพะยา (หมู่ที่ 1) ยุโป (หมู่ที่ 1-3) บันนังสาเรง (หมู่ที่ 3-6) ลำใหม่ (หมู่ที่ 1 ) ท่าสาป (หมู่ที่ 1,3,4,6) และตำบลยะลา (หมู่ที่ 1) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 447 ครัวเรือน 1,030 คน
7) อำเภอธารโต 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลธารโต (หมู่ที่ 6,7) บ้านแหร (หมู่ที่ 1,5,9,11) แม่หวาด (หมู่ที่1,3,4,12) และตำบลคีรีเขต (หมู่ที่ 4,7) ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 727 ครัวเรือน 2,211 คน
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ฯ แขวงการทาง ทางหลวงชนนบท อำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร และอาสาสมัครในพื้นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือและอพยพราษฎรและแก้ไขปัญหาเส้นทางเป็นการเบื้องต้นแล้ว
ปัจจุบันในพื้นที่ไม่มีฝนตก ปริมาณน้ำท่าลดลงต่ำกว่าระดับวิกฤติ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำ หากฝนไม่ตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติในอีก 1-2 วัน
3. จังหวัดนราธิวาส วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 07.00 น. เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 6 อำเภอ 24 ตำบล 58 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,919 ครัวเรือน 7,803 คน ได้แก่ อำเภอสุไหงปาดี ศรีสาคร รือเสาะ แว้ง สุคิริน และอำเภอจะแนะ ความเสียหายน้ำท่วมขังถนน 16
สาย การอพยพประชาชนชุมชนหลังด่านในพื้นที่เทศบาลสุไหงโก-ลก 50 ครัวเรือน 114 คน ไปศูนย์อพยพโรงเรียนเทศบาล 4 โรงเรียนปิดจำนวน 8 แห่ง ตั้งแต่ 27 ก.พ. คาดว่าจะเปิดเรียนในวันพรุ่งนี้ 28 ก.พ.56 ไม่มีผู้เสียชีวิต ดังนี้
1) อำเภอสุไหงปาดี 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลปะลุรู (หมู่ที่ 6) สุไหงปาดี (หมู่ที่ 8) โต๊ะเด็ง (หมู่ที่ 4)
2) อำเภอศรีสาคร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีสาคร (หมู่ที่ 2,7,10) ศรีบรรพต (หมู่ที่ 1,2) เชิงคีรี (หมู่ที่ 2) ซากอ (หมู่ที่ 5)
3) อำเภอรือเสาะ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเรียง (หมู่ที่ 1) โคกสะตอ (หมู่ที่ 2,3) ลาโละ (หมู่ที่ 3) บาตง (หมู่ที่ 1,2) รือเสาะ (หมู่ที่ 8)
4) อำเภอแว้ง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลแว้ง (หมู่ที่ 1,2,3,7) กายูคละ (1,2,3,9) โละจูด (1,2,3,5,8,9) แม่ดง (หมู่ที่ 1,3,4) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง สถานการณ์คลี่คลายอยู่ระหว่งฟื้นฟู
5) อำเภอสุคิริน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลสุคิริน (หมู่ที่ 4) มาโมง (หมู่ที่ 6) ภูเขาทอง (หมู่ที่ 8) เกียร์ (หมู่ที่ 3) ร่มไทร (หมู่ที่ 3,5) อพยพ 26 ครัวเรือน 75 คน (ม.5 บ้านไอร์เจี้ยะ ต.ชากอ อ.ศรีสาคร 8 ครัวเรือน 25 คน ชุมชนหลังด่านเทศบาลเมืองสไหงโก-ลก 18 ครัวเรือน 50 คน)
6) อำเภอจะแนะ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลจะแนะ (หมู่ที่ 9) ดุชงญอ (หมู่ที่ 1,3,4,5,8) ช้างเผือก (หมู่ที่ 5)
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ อำเภอ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลา ส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบน จำนวน 30 ลำ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร และอาสาสมัครในพื้นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือและอพยพราษฎร แจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 100 ชุด พร้อมมอบเรือไฟเบอร์ จำนวน 2 ลำ
ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักลดลงต่ำกว่าตลิ่ง ยกเว้นแม่น้ำสุไหงโก-ลก อำเภอที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยคงเหลืออำเภอเมือง สุไหงโก-ลก และอำเภอตากใบ เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำที่จะไหลผ่านสู่ทะเล หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติมคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วัน
4. จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556 ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่า ไหลหลาก ในพื้นที่ 11 อำเภอ 48 ตำบล 407 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 22,490 ครัวเรือน 87,118 คน ได้แก่ อำเภอศรีนครินทร์ กงหรา ควนขนุน เมือง บางแก้ว ป่าบอน ตะโหมด ศรีบรรพต ปากพะยูน ป่าพะยอม และอำเภอเขาชัยสน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ด.ช.ขจรศักดิ์ แก้วสุข อายุ 3 ปี 19/1 หมู่ที่ 8 ตำบลนาโหมด อำเภอเมือง ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่ประสบภัย คือ
1) อำเภอควนขนุน 9 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลชะมวง (หมู่ที่ 9,11,13) ควนขนุน (หมู่ที่ 2,4,5,7,9) ดอนทราย (หมู่ที่ 1,2,4,5,10) โตนดด้วน (หมู่ที่ 2,3,5,6,7,9,11) แพรกหา (หมู่ที่ 1-7) นาขยาด (หมู่ที่ 2,3,5) นางตุง(หมู่ที่ 9) มะกอกเหนือ (หมู่ที่ 1-3,5,7) และตำบลพนมวังก์ (หมู่ที่ 1,2,5,8) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,436 ครัวเรือน 15,163 คน
2) อำเภอเมือง 8 ตำบล 96 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลพญาขัน (หมู่ที่ 1-10) ชัยบุรี (หมู่ที่ 1-13) นาโหนด (หมู่ที่ 1-11) ลำปำ (หมู่ที่ 1-11) ตำนาน (หมู่ที่ 1-15) ปรางหมู่ (หมู่ที่ 1-9) ควนมะพร้าว (หมู่ที่ 1-16) และตำบลเขาเจียก (หมู่ที่ 1-11) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,403 ครัวเรือน 22,336 คน และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ ด.ช.ขจรศักดิ์ แก้วสุข อายุ 3 ปี บ้านเลขที่ 19/1 หมู่ที่ 8 ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง สาเหตุเนื่องจาก ลงเล่นน้ำหน้าท่อระบายน้ำถูกน้ำพัดพาเสียชีวิต
3) อำเภอบางแก้ว 1 ตำบล 6 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลประขอ (หมู่ที่ 1,3,9,10,11,14) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 572 ครัวเรือน
4) อำเภอปากพะยูน 4 ตำบล 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลหารเทา (หมู่ที่ 2,4,5,6,8,10) ดอนทราย (หมู่ที่ 3) เกาะหมาก (หมู่ที่ 3,5) และตำบลฝาละมี (หมู่ที่ 6,11)
5) อำเภอเขาชัยสน 5 ตำบล 46 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลหารโพธิ์ (หมู่ที่ 1-12) เขาชัยสน (หมู่ที่ 1-14) ควนขนุน (หมู่ที่ 1-10) จองถนน (หมู่ที่ 2,4,5,6,7) โคกม่วง (หมู่ที่ 4,5,6,8,14) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 8,248 ครัวเรือน 25,662 คน
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ศาลากลางจังหวัดพัทลุง อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทหาร องค์กรเอกชน อปพร. อาสาสมัครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นการเบื้องต้นแล้ว และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง สนับสนุนเรือท้องแบน 15 ลำ
ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งทะเลสาบสงขลา หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติมคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 วัน
ข่าวจากหนังสือพิมพ์
--------------------------------------------------------------------------------------
ปัตตานีน้ำยังท่วมสูงนักเรียนต้องนั่งเรือไปโรงเรียน เดือดร้อนกว่า 600 หลังคาเรือน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 1 มี.ค. 56 ]
ปัตตานี - สถานการณ์น้ำท่วมปัตตานี 2 ตำบล อำเภอเมืองปัตตานี ยังมีระดับน้ำสูงและไหลเชี่ยว ผู้ปกครองต้องนำเรือไปส่งนักเรียน บ้านเรือราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 600 หลังคาเรือน
สถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดปัตตานีได้เพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อ เนื่อง หลังจากที่น้ำเหนือจากจังหวัดยะลาได้ไหลลงสู่แม่น้ำปัตตานี ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้แม่น้ำลำคลองที่อยู่ติดกับแม่น้ำปัตตานีเพิ่มระดับน้ำสูงขึ้นตามไป ด้วย โดยเฉพาะคลองบ้านปะกาฮารัง ต.ปะกาฮารัง จ.ปัตตานี ระดับเพิ่มสูงขึ้น และไหลเชี่ยวกราก ส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่ ม.2 บ้านยือโม๊ะ และ ม.2 บ้านจางา ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง ปัตตานี ที่ถูกน้ำเข้าท่วมตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา
โดยในวันนี้ (1 มี.ค.) มีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เส้นทางเข้าภายในหมู่บ้านระดับน้ำสูงกว่า 50 ซม. ขึ้นจากเดิม 20 ซม. รถยนต์ไม่สามารถเข้าออกได้ ส่วนภายในหมู่บ้านระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร จนชาวบ้านต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางเข้าออกหมู่บ้าน โดยเฉพาะในช่วงเช้า ผู้ปกครองต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการส่งบุตรหลานไปโรงเรียน ส่วนผู้ปกครองที่ไมมีเรือเด็กนักเรียนก็ต้องหยุดเรียนโดยปริยาย เนื่องจากไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้
นอกจากนี้ ระดับน้ำยังได้ทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ ม.8 บ้านปากาลีมาปูโระ และ ม.8 บ้านบลีดอ ต.บาราเฮาะ อ.เมือง จ.ปัตตานี ระดับน้ำได้เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้ทั้ง 2 ตำบลบ้านเรือนราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 600 หลังคาเรือนแล้ว
--------------------------------------------------------------------------------------
พัทลุงประกาศเขตภัยพิบัติน้ำท่วมย้อนหลัง ชาวบ้าน 3,500 ครัวเรือนยังเดือดร้อน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 28 ก.พ. 56 ]
พัทลุง - ชาวพัทลุงกว่า 3,500 ครัวเรือน ยังเดือดร้อนจากน้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ริมทะเลสาบใน ต.พนางตุง อ.ควนขนุน และ ต.ลำปำ อ.เมืองพัทลุง ทางจังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติย้อนหลังเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน
วันนี้ (28 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.พัทลุง ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พัทลุง เริ่มคลี่คลายหลังฝนได้หยุดตก แต่ระดับน้ำยังคงท่วมในพื้นที่หลายตำบลรอบๆ ทะเลสาบสงขลา เนื่องจากน้ำที่ไหลผ่านลำคลองปากประ คลองลำปำ และลำคลองสายอื่นระบายลงสู่ทะเลสาบได้อย่างช้าๆ ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่นาข้าว และสวนปาล์มใน ต.พญาขันต์ ต.ชัยบุรี ต.ลำปำ อ.เมือง และ ต.พนางตุง ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน
โดยพบว่า เช้าวันนี้ (28 ก.พ.) ในพื้นที่ ม.4-5 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน ม.4, 8, 11 ต.ลำปำ อ.เมือง ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำก่อนออกสู่ทะเลสาบ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากน้ำระบายออกสู่ทะเลไม่ทัน เป็นผลพวงมาจากการสร้างถนนเลียบริมทะเลสาบซึ่งไม่มีช่องทางระบายน้ำ ระหว่าง อ.ควนขนุน กับ อ.เมือง ระยะทางยาวกว่า 20 กม.
และชาวบ้านกว่า 3,500 ครัวเรือน ยังคงได้รับความเดือดจากสภาวะน้ำท่วม ส่วนพื้นที่การเกษตรถนนหนทางที่ได้รับความเสียหาย จนถึงขณะนี้ทางจังหวัดกำลังเร่งตรวจสอบ พร้อมประกาศเขตภัยพิบัติย้อนหลังเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยต่อ ไป
--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมยะลายังอ่วมเดือดร้อนกว่า 400 ครัวเรือน [ ไทยรัฐ : 28 ก.พ. 56 ]
น้ำท่วมยะลายังอ่วมชาวบ้านกว่า 400 ครัวเรือนเดือดร้อน เข้าท่วมบ้านเรือน สวนผลไม้ โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ 2 บ้านทุ่งเหรียง โรงเรียนปิดการเรียนการสอนเป็นวันที่ 2 ทหารหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 11 นำถุงยังชีพพระราชทานเข้าช่วยเหลือ...
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2556 ผู้สื่อข่าวรายงาน สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ยะลา ภายหลังฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 24 ก.พ.ถึงวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมเส้นทางการจราจร และบ้านเรือน ในพื้นที่ลุ่มบางพื้นที่ซึ่งอยู่ติดแม่น้ำสายบุรี ส่งผลให้มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากกว่า 400 ครัวเรือน
นอกจากนี้พื้นที่หมู่ 2 บ้านทุ่งเหรียง ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา พบว่า ระดับน้ำที่ไหลลงสู่เขื่อนชลประทานปัตตานี ได้เพิ่มปริมาณมากขึ้น และเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน สวนผลไม้ สวนยางพารา และโรงเรียน ซึ่งมีระดับน้ำสูงเกือบ 1 เมตร ส่งผลให้เช้าวันนี้โรงเรียนบ้านทุ่งเหรียง ต้องหยุดทำการเรียนการสอนเป็นวันที่ 2 แล้ว
ขณะที่ พ.ท.ชลัช ศรีวิเชียร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 11 ได้เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ประสบภัยที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม พร้อมนำถุงยังชีพพระราชทานมามอบเพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ 2 บ้านทุ่งเหรียง มีประชาชนกว่า 100 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน โดยทางกองทัพเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชม.
--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมถนนเลียบทะเลสาบสงขลายาว 20 กม. [ INN news : 28 ก.พ. 56 ]
พัทลุงฝนหยุดตกแล้ว น้ำยังท่วมถนนเลียบทะเลสาบสงขลา ยาวกว่า 20 กม. ด้านเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหาย
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พัทลุง เริ่มคลี่คลาย หลังฝนได้หยุดตก แต่ระดับน้ำยังคงท่วมในพื้นที่หลายตำบลริมทะเลสาบสงขลา เนื่องจากน้ำที่ไหลผ่านลำคลองปากประ คลองลำปำ และลำคลองสายอื่น ระบายลงสู่ทะเลได้อย่างช้าๆ ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่นาวข้าว สวนปาล์ม ของ ต.พญาขัน ต.ชัยบุรี ต.ลำปำ อ.เมือง และ ต.พนางตุง ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน โดยพบว่า เช้าวันนี้ ในพื้นที่ หมู่ 4-5 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน หมู่ 4, 8, 11 ต.ลำปำ อ.เมือง ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำก่อนออกสู่ทะเลสาบ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากน้ำระบายออกสู่ทะเลไม่ทัน ผลพวงมาจากการสร้างถนนเรียบริมทะเลสาบที่ไม่มีช่องทางระบายน้ำ ระหว่าง อ.ควนขนุน กับ อ.เมือง ระยะทางยาวกว่า 20 กม. และชาวบ้านกว่า 3,500 ครัวเรือน ยังคงได้รับความเดือดจากสภาวะน้ำท่วม
ส่วนพื้นที่การเกษตรถนนหนทาง ที่ได้รับความเสียหาย จนถึงขณะนี้ ทางจังหวัดกำลังเร่งตรวจสอบ พร้อมประกาศเขตภัยพิบัติย้อนหลัง เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมพัทลุงยังวิกฤต 1.8 หมื่นครัวเรือนจมใต้น้ำ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 26 ก.พ. 56]
พัทลุง - สถานการณ์น้ำท่วมพัทลุงยังวิกฤต น้ำป่าทะลักท่วมหลายอำเภอ ชาวบ้านได้รับผลกระทบแล้วกว่า 18,000 ครัวเรือน นาข้าวที่รอการเก็บเกี่ยวเสียหายแล้วกว่า 50,000 ไร่ ระดับสูงเฉลี่ย 80 ซม. โรงเรียนปิด 20 โรง ขณะที่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน
วันนี้ (26 ก.พ.) สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดที่ จ.พัทลุง ฝนยังคงตกลงมาอย่างต่อเนื่อง น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดยังคงไหลท่วมทะลักเข้าพื้นที่ลุ่มแถบเชิงเขาในพื้นที่ ต.คลองเฉลิม ต.ชะรัด ต.คลองทรายขาว อ.กงหรา ต.อ่างทอง อ.ศรีนครินทร์ ต.โคกม่วง ต.ควนขนุน ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต ต.ชะมวง ต.ควนขนุน ต.แพรกหา ต.พนมวังค์ ต.โตหนดด้วน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน ต.โคกชะงาย ต.เขาเจียก ต.ปรางหมู่ ต.พญาขันต์ ต.นาโหนด ต.ท่าแค อ.เมือง
โดยระดับน้ำไหลท่วมพื้นที่การเกษตรสวนยางพารา และนาข้าวที่กำลังรอการเก็บเกี่ยวเสียหายไปแล้วกว่า 50,000 ไร่ ระดับน้ำเฉลี่ยสูงกว่า 80 ซม.- 1 เมตร ถนนหลายสายรถเล็กไม่สามารถใช้สัญจรผ่านไปมาได้ โดยถนนสายเอเชีย ระหว่างจังหวัดพัทลุง-นครศรีธรรมราช ขาขึ้นตรงแยกโพทอง เจ้าหน้าที่ต้องใช้แผงกั้นปิดเส้นทางจราจร 1 ช่องทาง และเส้นทางเข้า อ.ศรีบรรพต ตรงหน้าวัดล้อ เนื่องจากมีน้ำไหลผ่าน ในขณะที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบแล้วกว่า 18,000 ครัวเรือน
ส่วนชาวบ้านในพื้นที่ ม.6. ม.8 ต.แพรกหา อ.ควนขนุน ม.2, 3, 8, 9, 10 ต.นาโหนด ต.ท่าแค อ.เมือง ต้องเร่งขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงหลังมวลน้ำป่าไหลทะลักท่วมกลางดึก และเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ ส่วนความช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ประสบภัย จนถึงขณะนี้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องยังคงเมินเฉยทำให้ชาวบ้านต้องเผชิญชะตากรรมด้วยตัวเอง
ขณะที่เช้าวันนี้ (26 ก.พ.) โรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยม จำนวนกว่า 20 โรง ต้องปิดการเรียนการสอน เนื่องจากระดับน้ำยังท่วมสูง ทั้งภายในโรงเรียน และเส้นทางระหว่างโรงเรียนกับบ้านเรือนประชาชน
--------------------------------------------------------------------------------------
ระทึกน้ำป่าเทือกเขาเเก้วไหลท่วมรัตภูมิ จ.สงขลา [ เดลินิวส์ : 26 ก.พ. 56]
เมื่อวันที่ 26 ก.พ. มีรายงานว่า ในพื้นที่ จ.สงขลา เกิดฝนตกหนักติดต่อกันมากว่า 3 วัน ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาแก้ว เขตรอยต่อ จ.สงขลา กับ จ.สตูล เอ่อล้นคลองภูมี และไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ หมู่ 3 และ หมู่ 4 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา โดยเฉพาะเส้นทางเข้าหมู่บ้านนาปาบ ถูกน้ำท่วมถนนระดับน้ำสูงประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นระยะทางเกือบ 1 กิโลเมตร การสัญจรเข้าออกทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นไปอย่างยากลำบาก นอกจากนี้น้ำป่ายังได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มได้รับความ เดือดร้อนกว่า 20 หลังคาเรือน และมีแนวโน้มระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้เส้นทางสายเอเชียบริเวณ 4 แยกคูหา อ.รัตภูมิ มุ่งหน้าไป จ.พัทลุง น้ำจากคลองภูมีได้เอ่อล้นท่วมผิวจราจร 1 ช่องทางการจราจร เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.รัตภูมิ ต้องนำแผงไฟสัญญาและกรวยจราจรมาวางกั้น เพื่ออำนวยความสะดวกการจราจร รวมทั้งบริเวณ 4 แยกคูหา ร้านค้าและบ้านเรือนประชาชนบางส่วนถูกน้ำท่วมขังเช่นกัน
ขณะที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สงขลา ได้เร่งสำรวจพื้นที่น้ำท่วม เนื่องจากสถานการณ์ยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่เชิงเขา 8 อำเภอ ทั้ง รัตภูมิ หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง สะเดา เทพา นาทวี สะบ้าย้อย และ จะนะ เสี่ยงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก
--------------------------------------------------------------------------------------