บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคใต้ (4 - 9 มกราคม 2554)

ภาพดาวเทียม GOES-9

4/1/2554

5/1/2554

6/1/2554

7/1/2554

8/1/2554

9/1/2554
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าช่วงวันที่ 4-9 ม.ค. มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างโดยเฉพาะวันที่ 5 6 และ 7 ม.ค.ที่กลุ่มเมฆค่อนข้างหนา ทำให้มีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เ่ช่น จังหวัดพัทลุง นราธิวาส ปัตตานี เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

4/1/2554

5/1/2554

6/1/2554

7/1/2554

8/1/2554

9/1/2554

จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดพัทลุงลงไปมีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดารสุราษฎร์ธานี รัศมี 240 กิโลเมตร

4/1/2554
19:03GMT

5/1/2554
19:03GMT

6/1/2554
01:03GMT

7/1/2554
07:03GMT

8/1/2554
08:03GMT

9/1/2554
19:03GMT
เรดาร์ภูเก็ต รัศมี 240 กิโลเมตร

4/1/2554
21:30GMT

5/1/2554
21:30GMT

6/1/2554
04:30GMT

7/1/2554
09:30GMT

8/1/2554
09:30GMT

9/1/2554
21:30GMT
เรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร

4/1/2554
22:03GMT

5/1/2554
16:03GMT

6/1/2554
04:03GMT

7/1/2554
08:03GMT
dBz

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ พบว่าช่วงวันที่ 4-9 ม.ค. มีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะวันที่ 5-8 ม.ค. มีฝนตกค่อนข้างหนักส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สุราษฎร์ธานี่ ภูเก็ต สงขลา

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา

4/1/2554 [00:00]

5/1/2554 [12:00]

6/1/2554 [12:00]

9/1/2554 [12:00]

mm.
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในวันที่ 5 และ 6 ม.ค. . มีกลุ่มฝนกระจุกตัวในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกที่มีการกระจุกตัวค่อนข้างหนา

รายละเอียดเพิ่มเติม


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจาก NASA

4/1/54[00Z]-5/1/54[00Z]

5/1/54[00Z]-6/1/54[00Z]

6/1/54[00Z]-7/1/54[00Z]

7/1/54[00Z]-8/1/54[00Z]

8/1/54[00Z]-9/1/54[00Z]

9/1/54[00Z]-10/1/54[00Z]
              mm.

จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุึกตัวกันค่อนข้างหนาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 5-7 ม.ค.

ข้อมูลฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

รายงานข้อมูลฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า มีฝนตกค่อนข้างหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ช่วงวันที่ 5-7 ม.ค. โดยปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่ 188.0 มิลลิเมตร ที่สถานีนราธิวาส ในวันที่ 6 ม.ค. โดยข้อมูลฝนสะสมรายวันจากสถานีอื่น ๆ ที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก แสดงตามตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
9/1/2554 นครศรีธรรมราช สกษ.                            74.2
8/1/2554 พัทลุง สกษ.                            81.4
  นครศรีธรรมราช สกษ.                            45.8
7/1/2554 สุราษฎร์ธานี สกษ.                          106.2
  ยะลา สกษ.                            87.7
  หาดใหญ่                            50.8
  นราธิวาส                            43.7
  ปัตตานี                            32.9
6/1/2554 นราธิวาส                          188.0
  นครศรีธรรมราช                            90.9
  นครศรีธรรมราช สกษ.                            85.4
  พัทลุง สกษ.                            77.7
  ปัตตานี                            66.7
  ยะลา สกษ.                            62.8
  สุราษฎร์ธานี สกษ.                            37.8
  สงขลา                            37.5
  เกาะสมุย                            32.8
5/1/2554 สงขลา                          136.2
  นครศรีธรรมราช สกษ.                          135.8
  นราธิวาส                            97.6
  พัทลุง สกษ.                            94.0
  นครศรีธรรมราช                            89.6
  ยะลา สกษ.                            86.3
  คอหงษ์ สกษ.                            36.4
4/1/2554 หาดใหญ่                            35.9
หมายเหตุ : สีแดง หมายถึง ข้อมูลฝนที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลฝน 80-99 มิลลิเมตร

การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันที่เตือนภัย
เวลา
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน(มม.)
ระดับการเตือนภัย
7/1/11
23:00:00 ฝน07-23น. ต.ทุ่งขมิ้น จ.สงขลา
69.2
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
23:00:00 ฝน07-23น. ต.จะแนะ จ.นราธิวาส
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
23:00:00 ฝน07-23น. ต.กรงปินัง จ.ยะลา
65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
23:00:00 ฝน07-23น. ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
68.4
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
22:00:00 ฝน07-22น. ต.รือเสาะ จ.นราธิวาส
110.6
วิกฤต
7/1/11
22:00:00 ฝน07-22น. ต.จวบ จ.นราธิวาส
111.4
วิกฤต
7/1/11
22:00:00 ฝน07-21น. ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
110.8
วิกฤต
7/1/11
20:00:00 ฝน07-20น. ต.บูกิต จ.นราธิวาส
66.4
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
20:00:00 ฝน07-20น. ต.ริโก๋ จ.นราธิวาส
68.6
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
18:00:00 ฝน07-18น. ต.จวบ จ.นราธิวาส
66.6
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
18:00:00 ฝน07-18น. ต.รือเสาะ จ.นราธิวาส
67.2
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
18:00:00 ฝน07-18น. ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
8:00:00 ฝนวานนี้ ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช
90.9
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
8:00:00 ฝนวานนี้ ต.บองอ จ.นราธิวาส
188
วิกฤต
7/1/11
4:00:00 ฝน07/07-08/03น. ต.ตันหยงมัส จ.นราธิวาส
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
2:00:00 ฝน07/07-08/02น. ต.ยี่งอ จ.นราธิวาส
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
1:00:00 ฝน07/07-08/01น. ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
1:00:00 ฝน07/07-08/01น. ต.โล๊ะจูด จ.นราธิวาส
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
7/1/11
1:00:00 ฝน07/07-08/01น. ต.ริโก๋ จ.นราธิวาส
120.6
วิกฤต
6/1/11
23:00:00 ฝน07-23น. ต.ริโก๋ จ.นราธิวาส
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
23:00:00 ฝน07-23น. ต.ละหาร จ.ปัตตานี
110.2
วิกฤต
6/1/11
22:00:00 ฝน07-21น. ต.จวบ จ.นราธิวาส
110.2
วิกฤต
6/1/11
21:00:00 ฝน07-21น. ต.ตันหยงมัส จ.นราธิวาส
65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
20:00:00 ฝน07-19น. ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี
66
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
19:00:00 ฝน07-19น. ต.บางนาค จ.นราธิวาส
111.4
วิกฤต
6/1/11
19:00:00 ฝน07-19น. ต.ยี่งอ จ.นราธิวาส
110.2
วิกฤต
6/1/11
18:00:00 ฝน07-17น. ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
67.2
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
17:00:00 ฝน07-17น. ต.ไทรทอง จ.ปัตตานี
66.4
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
17:00:00 ฝน07-16น. ต.บาละ จ.ยะลา
67
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
17:00:00 ฝน07-17น. ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
17:00:00 ฝน07-17น. ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
16:00:00 ฝน07-16น. ต.บูกิต จ.นราธิวาส
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
15:00:00 ฝน07-15น. ต.ละหาร จ.ปัตตานี
66.8
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
14:00:00 ฝน07-14น. ต.ยี่งอ จ.นราธิวาส
66.6
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
13:00:00 ฝน07-13น. ต.จวบ จ.นราธิวาส
67.6
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
11:00:00 ฝน07-11น. ต.บางนาค จ.นราธิวาส
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
8:00:00 ฝนวานนี้ ต.เกาะแต้ว จ.สงขลา
136.2
วิกฤต
6/1/11
8:00:00 ฝนวานนี้ ต.อ่างทอง จ.พัทลุง
94
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
8:00:00 ฝนวานนี้ ต.บองอ จ.นราธิวาส
97.6
เฝ้าระวังสูงสุด
6/1/11
8:00:00 ฝนวานนี้ ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก จ.นครศรีธรรมราช
135.8
วิกฤต
6/1/11
1:00:00 ฝน06/07-07/00น. ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
110.8
วิกฤต
6/1/11
1:00:00 ฝน06/07-07/01น. ต.รือเสาะ จ.นราธิวาส
68
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
18:00:00 ฝน07-18น. ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี
69.6
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
18:00:00 ฝน07-18น. ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา
69.6
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
18:00:00 ฝน07-18น. ต.ยี่งอ จ.นราธิวาส
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
13:00:00 ฝน07-13น. ต.รือเสาะ จ.นราธิวาส
68.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
13:00:00 ฝน07-13น. ต.บูกิต จ.นราธิวาส
66.4
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
11:00:00 ฝน07-11น. ต.จวบ จ.นราธิวาส
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
10:00:00 ฝน07-10น. ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
67
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
10:00:00 ฝน09-10น. ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
43.6
วิกฤต
5/1/11
10:00:00 ฝน08-09น. ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
37.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
7:00:00 ฝนวานนี้ ต.บาละ จ.ยะลา
110.6
วิกฤต
5/1/11
6:00:00 ฝน05/07-06/06น. ต.ยี่งอ จ.นราธิวาส
111
วิกฤต
5/1/11
6:00:00 ฝน05/07-06/06น. ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
66.8
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
6:00:00 ฝน05/07-06/06น. สงขลา
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
5:00:00 ฝน05/07-06/05น. ต.บางนาค จ.นราธิวาส
73.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
4:00:00 ฝน05/07-06/04น. ต.บาละ จ.ยะลา
66.6
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
4:00:00 ฝน05/07-06/04น. ต.ตันหยงมัส จ.นราธิวาส
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
3:00:00 ฝน05/07-06/03น. ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
114.2
วิกฤต
5/1/11
2:00:00 ฝน05/07-06/02น. ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
2:00:00 ฝน05/07-06/02น. ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
5/1/11
2:00:00 ฝน05/07-06/02น. ต.จวบ จ.นราธิวาส
115.8
วิกฤต
5/1/11
1:00:00 ฝน05/07-06/01น. ต.ริโก๋ จ.นราธิวาส
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
4/1/11
5:00:00 ฝน04/07-05/05น. ต.ริโก๋ จ.นราธิวาส
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด

ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน
ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

(X.149)บ้านหัวนา อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช
(ระดับตลิ่ง 33.96 ม.)

(X.203)บ้านนาป่า อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
(ระดับตลิ่ง 11 ม.)

(X.119A)บ้านปาเสมัส อ.สุไหง-โกลก จ.นราธิวาส
(ระดับตลิ่ง 9.28 ม.)

(X.68)บ้านท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง
(ระดับตลิ่ง 15.08 ม.)

(X.40A)บ้านท่าสาบ อ.เมือง จ.ยะลา
(ระดับตลิ่ง 16.28 ม.)

(X.55A)บ้านท่าใหญ่ อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
(ระดับตลิ่ง 22.23 ม.)
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทานในพื้นที่ภาคใต้ พบว่าหลังจากที่มีฝนตกหนักช่วงวันที่ 5 - 8 ม.ค. ส่งผลให้ระดับน้ำในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายจุด โดยเฉพาะช่วงวันที่ 6 และ 7 ม.ค. และบางจุดเกิดระดับน้ำตลิ่ง เช่น สถานีบ้านปาเสมัน อ.สุไหง-โกลก จ.นราธิวาส

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนรัชชประภา

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนรัชชประภา

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนบางลาง

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนบางลาง

จากการที่มีฝนตกในพื้นที่ภาคใต้ช่วงวันที่ 4-9 ม.ค. พบว่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งที่เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและที่เขื่อนบางลางจังหวัดยะลา มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยเืขื่อนรัชชประภามีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 13.82 ล้าน ลบ.ม.ทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 71% ที่ รนก. ส่วนเขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 86.22 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 89% ที่ รนก.

ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
4 อำเภอริมทะเลสาบของพัทลุงน้ำยังคงท่วมสูง 50 ซม. [ ผู้จัดการออนไลน์ : 12 ม.ค. 54 ]

พัทลุง - สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ของจังหวัดพัทลุง พื้นที่ลุ่มยังคงมีน้ำท่วมสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ในพื้นที่ลุ่มริมทะเลสาบ 4 อำเภอ เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่ม น้ำระบายช้าลงสู่ทะเลได้ช้า และการช่วยเหลือจากส่วนราชการก็ยังไม่ครอบคลุม ผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนมานานเกือบ 3 เดือน


วันนี้ (12 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ของจังหวัดพัทลุง พื้นที่ลุ่มยังคงมีน้ำท่วมสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ในพื้นที่บ้านปากคลองเก่า หมู่ที่ 2 บ้านชายคลอง ม.5, ม.6 และ ม.9 ตำบลพนางตุง บ้านหัวป่าเขียว ม.7 ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน บ้านโคลลุง ม.7 บ้านปากประหมู่ 11 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง บ้านหาดไข่เต่า ม.11 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว บ้านจองถนน ม.3 บ้านอาพัด ม.4 ต.จองถนน อ.เขาชัยสน เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่ม น้ำระบายช้าลงสู่ทะเลได้ช้า และการช่วยเหลือจากส่วนราชการก็ยังไม่ครอบคลุม ทำให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมยังได้รับความเดือดร้อน มานานเกือบ 3 เดือน

ในขณะที่ สำนักงานชลประทานจังหวัดพัทลุง ยังคงเฝ้าระวังน้ำในอ่าง 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน และอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมาฝนตกลงมาโดยวัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่สถานี อ่างฯป่าพะยอม 52.5 มม. โดยอ่างฯ ป่าพะยอม ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม ความจุ 20.50 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบัน มีความจุอยู่ที่ 20.97 ล้าน ลบ.ม. (102.27% ) ปริมาณน้ำที่ล้นผ่านทางระบายน้ำล้น (Spillway) 0.402 ล้าน ลบ.ม./วัน

อ่างฯ ป่าบอน ต.ทุ่งนารี อ.ป่าบอน มี ความจุ 20.00 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีความจุอยู่ที่ 20.19 ล้าน ลบ.ม. (100.95%) ปริมาณน้ำที่ล้นผ่านทางระบายน้ำล้น (Spillway) 0.337 ล้าน ลบ.ม./วัน ซึ่งยังคงจำเป็นต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมต่อไป


--------------------------------------------------------------------------------------

'นราธิวาส' ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วมยกจังหวัด [ ไทยรัฐ : 10 ม.ค. 54 ]
10 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวความคืบหน้ากรณีน้ำท่วมพื้นที่จ.นราธิวาส พบว่า ในวันนี้ท้องฟ้ายังมีเฆมฝนปกคลุมพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ และมีฝนตกลงมาหนักถึงหนักมากกระจายในบางพื้นที่ ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำสายหลักทั้ง 3 สายคือ แม่น้ำสุไหงโก-ลก แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำสายบุรี ยังท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎร ทำให้โรงเรียนในพื้นที่ต้องปิดการเรียนการสอนไปแล้ว 11 แห่ง

ด้าน ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จ.นราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ 13 อำเภอของนราธิวาส เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 284 หมู่บ้าน 62 ตำบล จำนวน 11,053 ครัวเรือน รวม 36,908 คน ถนนสายหลักและภายในหมู่บ้านถูกน้ำท่วมขัง รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านสัญจรไปมาได้ 46 สาย คอสะพานและท่อระบายน้ำถูกน้ำกัดเซาะ ได้รับความเสียหาย 9 แห่ง


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมพัทลุงชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 1 หมื่นครัวเรือน พื้นที่เกษตรจมใต้น้ำ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 ม.ค. 54 ]
พัทลุง - สถานการณ์น้ำท่วมในพัทลุง ระดับท่วมสูงประมาณ 80 ซม.ถึง 1 เมตร ส่งผลให้บ้านเรือนราษฎร ถนนสายหลักและสายรองในหมู่บ้านหลายสายไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ ขณะนี้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 10,000 ครัวเรือน พื้นที่ด้านการเกษตรยังคงจมอยู่ใต้น้ำ

วันนี้ (10 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พัทลุง ยังไม่พ้นวิกฤตแม้ฝนได้หยุดตกตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมาแล้วก็ตาม โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มริมทะเลสาบสงขลา ในพื้นที่ ต.มะกอกเหนือ ต.พนางตุง ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน ต.ชัยบุรี ต.พญาขันต์ ต.ลำปำ อ.เมือง ต.จองถนน อ.เขาชัยสน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำจากเทือกเขาบรรทัดที่ไหลผ่านลำคลอง 7 สาย ก่อนลงสู่ทะเลสาบสงขลา ระดับน้ำยังทรงตัวเนื่องจากน้ำทะเลหนุน ทำให้บ้านเรือนราษฎร ถนนสายหลักและสายรองในหมู่บ้านหลายสายไม่สามารถใช้สัญจรผ่านไปมาได้

โดยมีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 80 ซม.ถึง 1 เมตร และต้องใช้เรือในการเดินทาง ซึ่งชาวบ้านกว่า 10,000 ครัวเรือนยังคงได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ เนื่องจากพื้นที่ทางด้านการเกษตรสวนยางพารา สวนปาล์ม นาข้าว ที่สร้างรายได้หลักยังจมอยู่ใต้น้ำหลายหมื่นไร่ ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางน้ำที่ท่วมมานานเกือบ 3 เดือน

พร้อมร้องขอให้ทางหน่วย งานราชการเร่งให้การช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่มอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบบางครอบครัวต้องกู้เงินที่ดอกเบี้ยสูงจากนายทุนมาใช้จ่ายใน ชีวิตประจำวัน ส่งบุตรหลานไปโรงเรียน เพราะที่ผ่านมาไม่มีรายได้และรัฐบาลยังไม่ชดเชยช่วยเหลือ


--------------------------------------------------------------------------------------
ปัตตานียังอ่วมน้ำท่วมขยายวงกว้าง จนท.เร่งสำรวจแจกถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัย [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 ม.ค. 54 ]
ปัตตานี - สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ปัตตานียังอยู่ในขั้นวิกฤตจมอยู่ใต้น้ำอีกหลาย หมู่บ้าน ขยายวงกว้างประชาชนได้รับความเดือนร้อนกว่า 700 ครัวเรือน ขณะที่น้ำจากยะลายังคงไหลลงสู่แม่น้ำปัตตานีอย่างต่อเนื่อง รองผู้ว่าฯเร่งสำรวจพร้อมแจกถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย

วันนี้ (10 ม.ค.) สถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.ปัตตานี หลายพื้นที่ยังคงน่าเป็นห่วง ล่าสุดน้ำในแม่น้ำปัตตานี ที่เคยเอ่อล้นท่วมพื้นที่ ม.1 ม.2 บ.จางา ต.ปะกาฮะรัง ได้ขยายวงกว้างท่วมเพิ่มในพื้นที่ ม.8 จนชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 700 ครัวเรือนแล้ว นอกจากนี้น้ำยังเอ่อไหลเข้าท่วมพื้นที่ราบต่ำสองฝั่งแม่น้ำปัตตานี ในพื้นที่ ม.7 ต.ตะลุโบะ และที่ ม.8 บ.ปรีดอ ต.บาราเฮาะ อ.เมืองปัตตานี ร่วม 3 ตำบล จนหลายฝ่ายเริ่มวิตก เนื่องจากปริมาณน้ำอีกจำนวนมากจากพื้นที่ จ.ยะลา ยังคงไหลบ่าลงสู่แม่น้ำปัตตานีอย่างต่อเนื่อง เพื่อระบายลงสู่ทะเล

ในขณะที่ ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยทหารจากหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 23 เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และนายก อบต.พื้นที่น้ำท่วม นำเรือท้องแบบลงสำรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำปัตตานี เพื่อสำรวจแนวโน้มการไหลบ่าจนเกิดการเอ่อล้นตลิ่งตลอด 2 ฝังแม่น้ำ เพื่อเตรียมหาแนวทางป้องกันและการช่วยเหลือหากต้องมีการอพยพ พร้อมกันนี้ยังได้น้ำถุงยังชีพลงเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่อยู่ติด 2 ฝั่งแม่น้ำปัตตานี ซึ่งมีระดับน้ำที่ท่วมสูงกว่า 1 เมตร การสัญจรเข้าออกหมู่บ้านไม่สามารถทำได้ นอกจากการใช้เรือ แต่ก็ยังขาดแคลน เพื่อเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว

ใน ขณะที่ชาวบ้าน ม.1 บ้านจางา ที่เห็นเรือของเจ้าหน้าที่ต่างก็กรูนำเรือและเดินลอยคอลุยน้ำที่บางจุดระดับ น้ำมีความสูงกว่า 1 เมตร เพื่อมาขอรับถุงยังชีพที่ทางเจ้าหน้าที่นำมาแจกให้ ซึ่งก็ไม่เพียงพอและจะมีการมาแจกจ่ายให้ทั่วถึงหลังจากนี้อีกครั้ง

ส่วนพื้นที่ ม.1 และ ม. 8 บ.บือแต ต.ตะโล๊ะดือรามัน อ.กะพ้อ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเหนือจาก จ.นราธิวาส ไหลเอ่อล้นตลิ่งในแม่น้ำสายบุรีกว่า 20 หลัง จมอยู่ใต้น้ำที่ความสูงกว่า 1 เมตร ทางนายอำเภอได้ลงพื้นที่สำรวจและแจกจ่ายถุงยังชีพเพื่อเป็นการช่วยเหลือใน เบื้องต้นแล้วเช่นกัน



--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าทะลักท่วมนราฯ วิกฤตหนัก 3 ตำบลกว่า 500 ครัวเรือนเดือดร้อน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 9 ม.ค. 54 ]
นราธิวาส - น้ำป่าทะลักท่วมริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก และแม่น้ำบางนรา วิกฤตหนัก 3 ตำบล ระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร ชาวบ้านเดือดร้อนหนักกว่า 500 ครัวเรือน

วันนี้ (9 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสถาณการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ว่า วันนี้ฝนได้หยุดตกลงมาแล้ว ท้องฟ้ามืดยังคงครึ้มเป็นบางช่วง แต่ก้อนน้ำจำนวนมากได้ไหลทะลักลงมาจากต้นน้ำบนเทือกเขาสันการาคีรี ใน อ.สุคิริน ไหลลงมาสู่พื้นที่ราบตอนปลายของแม่น้ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลก และแม่น้ำบางนรา เพิ่มปริมาณสูงขึ้นเข้าท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง

โดยปริมาณน้ำจำนวนมากในแม่น้ำสุ ไหงโก-ลก ได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมหมู่บ้านในพื้นที่ราบลุ่มใน อ.สุไหงโก-ลก อย่างหนักแล้ว 2 จุด คือ ที่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีระดับน้ำสูง 1.70 เมตร บ้านเรื่อนของชาวบ้านใน 10 ชุมชนถูกน้ำท่วมประมาณ 300 ครัว เรือน และที่ชุมชนบ้านมะนังยอ หมู่ 3 ต.มูโนะ ระดับน้ำสูง 1.50 เมตร บ้านเรือนของชาวบ้านถูกน้ำท่วมประมาณ 120 ครัวเรือน

ส่วนปริมาณน้ำในแม่น้ำบางนรา ได้ล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำใน 3 ตำบล คือ
ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ, ต.มะนังตายอ และ ต.ลำภู อ.เมืองนราธิวาส ระดับน้ำท่วมสูง 1.20 เมตร โดยเฉพาะที่ชุมชนบ้านทุ่งบ่อทอง หมู่ 8 ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ ซึ่งมีสภาพคล้ายแอ่งกระทะ และถือเป็นพื้นที่ราบลุ่มมากที่สุด ในจำนวนของหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมในครั้งนี้มีระดับน้ำท่วมสูงถึง 2.00 เมตร ชาวบ้าน 41 ครัวเรือน จึงต้องใช้เรือท้องแบนในการสัญจรไปมา และต้องอพยพครอบครัวมาปลูกเพิงพักชั่วคราว เพื่อใช้เป็นที่ปรุงอาหาร และใช้เป็นที่หลับนอนกันในสวนสาธารณะวัชระ ของเทศบาล ต.ตันหยงมัส

ล่าสุด พ.ท.ธนิต แสงจันทร์ ผบ.ฉก.นราธิวาส 38 ได้นำเรือท้องแบนขนถุงยังชีพออกไปแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ชาว บ้านในหมู่บ้านนี้ในเบื้องต้นแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/