ข่าวจากหนังสือพิมพ์
--------------------------------------------------------------------------------------
ยะลา: สถานการณ์น้ำท่วม ระดับน้ำบางพื้นที่ลดลงแล้ว [ BEC News : 3 ธ.ค. 51 ]
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดยะลา ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อ
วันที่ 3 ธค.51 เวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นที่
อ.รามัน จ.ยะลา โดยเฉพาะ ต.ท่าธง ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา
ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่เป็นบริเวณกว้าง เป็นวันที่สาม โดยระดับน้ำที่บริเวณด้านหน้า สภ.ท่าธง สูงประมาณ 1 เมตร ส่วนระดับน้ำด้านหลังอาคาร สภ.ท่าธง สูง 1.80 เมตร ทำให้การปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ท่าธง ยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนั้นที่บริเวณโรงเรียนบ้านจาลังตาดง หมู่ 2 ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งถูกน้ำท่วมขังเป็นวันที่ 3 แล้วเช่นกัน ระดับน้ำภายในโรงเรียนยังคงท่วมสูงกว่า 1 เมตร รวมทั้งบ้านเรียนประชาชนในพื้นที่ ต.ท่าธง ยังได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง
โดยล่าสุดมีรายงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1 ว่า หลังจากฝนได้หยุดตกในพื้นที่ อ.รามัน ทำให้ระดับน้ำในโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมลดลงจนเข้าสูงสภาวะปกติจำนวนหลายแห่ง ทำให้สามารถเปิดการเรียนการสอน
ได้ตามปกติ เหลือเพียงโรงเรียน 10 แห่ง ที่ยังคงถูกน้ำท่วมขังและยังไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ส่วนโรงเรียนบ้านตาสา อ.เมือง จ.ยะลา สามารถเปิดเรียนได้ตามปกติแล้ว
นายเวโรจน์ สายทองแท้ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา กล่าวว่า ตามที่ได้เกิดฝนตก
หนักมาตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2551 นั้น เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัด
ปกคลุมอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง และในอีก 3 – 4 วัน นี้ คาดว่าจะมีพายุพัดเข้ามายังฝั่งอ่าวไทยอีกระลอก ซึ่ง
ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็คงจะไดรับผลกระทบอีกครั้ง ขณะนี้ก็ได้เฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนการ
ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาอุทกภัยใน 3 อำเภอ 14 ตำบล 47 หมู่บ้านได้แก่ อ.รามัน
อ.ธารโต และ อ.เมืองยะลา และเป็นพื้นที่ที่ทางจังหวัดได้ประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติแล้ว ส่งผลให้ราษฎรได้รับ
ความเดือดร้อน 2,926 ครัวเรือน 12,235 คน แบ่งเป็นอำเภอเมืองยะลา 2 ตำบล คือ ต.สะเตงนอก และ ต.พร่อน
จาก 5 หมู่บ้าน โดยมี ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 86 ครัวเรือน 790 คน , อำเภอรามัน มี 10 ตำบล คือ ต.กอ-
ยูบอเกาะ , ต.กอตอตือระ ,ต.ตะโละหะลอ , ต.วังพญา , ต.กาลูปัง , ต.เกะรอ , ต.ท่าธง , ต.อาซ่อง , ต.ยะต๊ะ
และ ต.บาลอ ราษฏรได้รับความเดือดร้อน 1,860 ครัวเรือน 8,095 คน และ ที่ อำเภอธารโตมี 2 ตำบล คือ
ต.คีรีเขต และ ต.แม่หวาด มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 980 ครัวเรือน ราษฎรเดือดร้อน 3,350 คน รวมถนน
ได้รับความเสียหายทั้งหมด 20 สาย มูลค่าความเสียหายขณะนี้ประมาณ 5 ล้านบาท
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ยังได้กล่าวอีกว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายไปบ้างแล้วหลังฝนหยุดตก ส่วนความช่วยเหลือทางผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาได้เร่งให้การดูแล และช่วยเหลือ
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นการด่วนทันที โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ตั้งอนุมัติงบประมาณ 50 ล้านบาท
โดยมอบหมายให้อำเภอละ 1,000,000 บาท ในการนำเงินดังกล่าวไปช่วยเหลือในเบื้องต้นหรือเหตุการณ์เฉพาะหน้า
ก่อน ส่วนการติดตามเฝ้าระวัง และประสานกับทางกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในระยะนี้ได้มีพายุได้ก่อตัวในทะเลจีนตอนใต้ขึ้นอีก ก็คงจะมีผลกระทบต่อในพื้นที่อยู่อีกในระยะนี้ จึงต้องมีการเฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิด
--------------------------------------------------------------------------------------
พัทลุง: น้ำยังท่วมหลายพื้นที่ [ BEC News : 3 ธ.ค. 51 ]
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุง น้ำยังคงท่วมสูงในหลายพื้นที่ของ
จังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะ ต.โคกม่วง ต.ควนขนุน ต.เขาชัยสน
ต.จองถนน ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน ต.ชัยบุรี ต.ปรางหมู่ ต.พญาขันต์ ต.โคกชะงาย ต.นาโหนด ต.นาท่อม ต.ตำนาน ต.ควนมะพร้าว
ต.ลำปำ อ.เมือง ต.พนมวังค์ ต.นาขยาด ต.โหนตด้วน ต.ปันแต
ต.แหลมตะโหนด ต.มะกอกเหนือ ต.พนางตุง ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน ต.ท่ามะเดื่อ ต.นาปะขอ ต.โคกสัก อ.บางแก้ว ต.ฝาละมี ต.หารเทา ต.ปากพะยูน ต.ดอนประดู่ ต.เกาะหมาก
ต.เกาะนางคำ อ.ปากพะยูน ระดับน้ำยังคงท่วมบ้านเรือน พื้นที่ทางด้านการเกษตร วัด โรงเรียน สูง 1-120 ซม. เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มริมทะเลสาบสงขลา และมีน้ำทะเลหนุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนวัดบางแก้ว และโรงเรียน อื่น กว่า 13 แห่ง น้ำยังท่วมโรงเรียนยังคงปิดอย่างไม่มีกำหนด
และหลังจากที่ฝนได้ลด 2 วันที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์ท่วมในพื้นที่ริมป่าเทือกเขาบรรทัด ใน อ.กงหรา
อ.ตะโหมด อ.ป่าบอน อ.ศรีนครินทร์ อ.ศรีบรรพต และ อ.ป่าพะยอม ระดับน้ำ ได้ลดลงเกือบเข้าสู่สภาวะปกติ
แต่ยังคงท่วมขังในที่ลุ่ม
ในขณะที่ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย และสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด ออกแจกจ่ายถุงยังชีพ
พร้อมยาเวชภัณฑ์ น้ำดื่ม ให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ อ.เขาชัยสน จำนวน 600 ถุงเพื่อเป็นการ
เทาความเดือดร้อนช่วยเหลือในเบื้องต้น
--------------------------------------------------------------------------------------
นราธิวาส: ทหารบินสำรวจน้ำท่วมพื้นที่จมใต้น้ำ [ 3 ธ.ค. 51 ]
แจ้งว่า ล่าสุดบรรยากาศโดยทั่วไปฝนที่ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ได้หยุดลงแล้ว ทำให้ท้องฟ้าเริ่มแจ่มใสแต่ยังคงมีเมฆฝนแพรปกคลุมท้องฟ้าบางพื้น แต่ปริมาณน้ำท่วมขังบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรของราษฏรในพื้นที่ ทั้ง 13 อำเภอ ยังคงมีปริมาณน้ำท่วมขังเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีก 10-
20 ซ.ม.โดยอยู่ในระดับน้ำท่วมขังสูงโดยเฉลี่ย 120 – 140 ซ.ม.
ซึ่งเป็นผลพวงจากประเทศมาเลเซีย ได้ทำการสูบน้ำระบายน้ำท่วมขังบ้านเรือนของราษฏรในพื้นที่บ้านปาเสมัส
และบ้านรันตูปันหยัง รัฐกลันตัน ซึ่งอยู่ตรงข้ามพรมแดนด้าน อ.สุไหงโก-ลก ไหลลงสู่แม่น้ำสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็น
1 ใน 3 แม่น้ำสายหลัก ที่มีปริมาณน้ำท่วมขังเลยเขตวิกฤตไปกว่า 3 เมตร
ซึ่งล่าสุด นาวาเอกนิเวช บุตรศรี ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะนาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ อ.เมือง จ.นราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยหน่วยนาวิกโยธินกองทัพเรือ ได้นำเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจสภาพ
น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส เพื่อหามาตรการณ์ในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งบางจุดในบางหมู่บ้าน
ทางการยังให้ความช่วยเหลือไม่ทั่วถึง จากกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากเป็นอุปสรรคต่อการนำเรือท้องแบนไปแจกจ่าย
อาหารรวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค
และพบว่าพื้นที่ร้อยละกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นบ้านเรือนของราษฏรและพื้นที่ทางการเกษตรถูกน้ำท่วมขัง จากอิทธิพลของน้ำป่าจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ อ.สุคิรินได้ไหลทะลักลงมาสมทบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลัก 3 สาย โดยอำเภอที่ราษฏรได้รับความเดือดร้อนที่สุดคือ อำเภอสุไหงโก-ลก
รองลงมาคือ อำเภอแว้ง ระแงะและยี่งอ
นอกจากนี้จากการบินสำรวจจุดวิกฤตต่างๆโดยเฉพาะประตูระบายน้ำบางนราตอนบนซึ่งตั้งอยู่พื้นที่ อ.เมือง และ
ประตูระบายน้ำตอนล่างซึ่งตั้งอยู่พื้นที่ อ.ตากใบ เจ้าหน้าที่ยังพบว่ามีความมั่นคงแข็งแรง และจะสามารถรองรับปริมาณน้ำที่จะระบายจากภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือนของราษฏรและพื้นที่ทางการเกษตร ไหลลงสู่ทะเลอีกทอดหนึ่ง
ได้
ด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นราธิวาสได้รายงานสรุปความเสียหายจากสถานการณ์อุทักภัย
เพิ่มเติมจากวานนี้ว่า ล่าสุดโรงเรียนในพื้นที่ 5 อำเภอ คือ เมือง รือเสาะ ตากใบ สุไหงปาดีและระแงะ จำนวน 26 โรงยังประกาศปิดการเรียนการสอนแบบไม่มีกำหนด เนื่องจากยังมีภาวะน้ำท่วมขังห้องเรียน รวมทั้งผู้ปกครอง
ไม่สามารถที่จะส่งบุตรหลานมาเรียนหนังสือได้ตามปกติ เนื่องจากถนนหนทางที่มุ่งสู่โรงเรียนยังมีภาวะน้ำท่วมขัง
สูงอีก
--------------------------------------------------------------------------------------
ปัตตานี: น้ำท่วมเดือดร้อน 11 อำเภอ ผบก.รุดเยี่ยม [ BEC News : 3 ธ.ค. 51 ]
พล.ต.ต.กรีรินทร์ อินทร์แก้ว ผบก.ภ.จ.ปัตตานี เดินทางตรวจสอบและเยี่ยมกำลังพลตามฐานปฏิบัติการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 1201
ตั้งอยู่ในวัดสันติการาม ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง ที่ได้รับผลกระทบ
จากเหตุน้ำท่วมขัง พร้อม ทั้งมอบยาเวชภัณฑ์ไว้รักษาหลังจากฐานปฏิบัติการมีระดับน้ำสูงและต้องเดินลุยน้ำตลอดเวลา ซึ่งส่งผลให้ส่วนใหญ่เกิดโรคน้ำกัดเท้าและโรคผิวหนัง อย่างไรก็ตามยังได้กำชับให้มีการระมัดระวังฐานที่มั่นเนื่องจากเกรงว่ากลุ่มก่อความไม่สงบอาจจะอาศัยช่วงที่เกิดเหตุน้ำท่วมฐานเข้ามาก่อเหตุสร้างสถานการณ์ นอกจากนี้ยังให้ช่วยสอดส่องดูแลสิ่งของรวมทั้งบ้านเรือนประชาชนที่
อพยพหนีน้ำไปอยู่บนที่สูงป้องกันการลักขโมย
นอกจากนี้ยังได้ตระเวนมอบยาเวชภัณฑ์และยาสามัญประจำบ้านให้กับประชาชนตามพื้นที่ต่างๆ ที่เกิดเหตุน้ำท่วมโดยมีประชาชนจำนวนมากมารอรับ ซึ่งขณะนี้พบว่าชาวบ้านจำนวนมากเริ่มเป็นไข้ ท้องเสีย รวมทั้งโรคน้ำกัดเท้าจำนวนมาก
ด้านนายแพทย์ยอร์น จิระนคร นายแพทย์สาธารณสุข จ.ปัตตานี ได้เตรียมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เร็วกว่า 10 ทีม
ออกให้บริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไป และเน้นการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่จำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง
ไม่ให้ขาดยาเพราะหากขาดยาอาจทำให้อาการของโรคกำเริบ นอกจากนี้หากพบว่าผู้ป่วยรายใดที่มีอาการหนัก
หรือรุนแรงก็จะส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลทันที
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมนั้นยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่ม ถึงแม้ว่าฝนได้หยุดตกมา 2 วัน เนื่องจากน้ำเหนือที่ไหล
มาจาก จ.ยะลาลงสู่แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรีเพื่อลงสู่ทะเล ทำให้น้ำในแม่น้ำทั้ง 2 สายเกิดล้นตลิ่งท่วม
พื้นที่ลุ่มหลายพื้นที่ โดยที่ ต.ปะกาฮารัง ต.ตะลุโบะ และ ต.บาราเฮาะ อ.เมือง ระดับสูงขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ 50-150
ซม. ประชาชนยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายหน่วยงานก็เร่งนำสิ่งของเข้ามาช่วยเหลือตลอดเวลา
ขยายวงกว้างประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 11 อำเภอ 60 ตำบล 206 หมู่บ้าน 13,763 ครัวเรือน 25,689 คน
พื้นที่การเกษตรเกือบ 40,000 ไร่เสียหาย
--------------------------------------------------------------------------------------
ึ้สงขลา: สรุปน้ำท่วมมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 รายสูญหาย 1 [ BEC News : 2 ธ.ค. 51 ]
ประชาชนได้รับความเสียหาย 169,502 คน 44,507 ครัว
เรือน มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 58 ล้านบาท ขณะที่น้ำที่ท่วมขังในตัวเมืองชั้นในซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจของหาดใหญ่
แห้งและกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนที่ยังได้รับผลกระทบคือ
ชุมชนท่าช้าง และหมู่บ้านลัดดา ที่ระดับน้ำยังคงสูงเกือบ 1
เมตร สถานการณ์ น้ำท่วมสงขลามีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 รายสูญหายอีก 1
ประชาชนได้รับความเสียหาย 169,502 คน 44,507 ครัวเรือน
มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 58 ล้านบาท ขณะที่น้ำที่ท่วมขัง
ในตัวเมืองชั้นในซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจของหาดใหญ่แห้งและกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนที่ยังได้รับผลกระทบคือชุมชนท่าช้าง และหมู่บ้านลัดดา ที่ระดับน้ำยังคงสูงเกือบ 1 เมตร
ความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สงขลา ล่าสุดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหา
อุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม จ.สงขลา สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ ระหว่างวันที่ 18 พ.ย.-
1 ธ.ค.จ.สงขลา มีพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 13 อำเภอจาก 16 อำเภอ ประกอบด้วย อ.ควนเนียง, ระโนด,กระแสสินธุ์,
สทิงพระ, เมืองสิงหนคร, หาดใหญ่, รัตภูมิ, เทพา, บางกล่ำ, คลองหอยข่าง, จะนะ และ อ.นาหม่อม 87 ตำบล 517
หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 169,502 คน 44,507 ครัวเรือน มีบ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,302 หลัง
ปศุสัตว์ 1,789 ตัว สัตว์ปีก 18,463 ตัว พื้นที่การเกษตร 51,216 ไร่ บ่อปลาบ่อกุ้งบ่อตะพาบน้ำ 6,056 บ่อ ถนน
678 สาย คอสะพาน 31 แห่ง เหมือง 6 แห่ง วัด 2 แห่งโรงเรียน 23 แห่ง สถานที่ราชการ 1 แห่ง มูลค่าความ
เสียหายกว่า 58 ล้านบาท ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 คนและสูญหายอีก 1 คน โดยเป็นชาวบ้านในพื้นที่ อ.ระโนด
1 คน เสียชีวิตจากการตกเหมืองชลประทาน และเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ต.นาทับ อ.จะนะ 2 คน เสียชีวิตจากเหตุเรือคว่ำขณะออกไปหาปลาในคลองนาทับโดยพบศพแล้ว 1 คนและยังหาศพไม่พบอีก 1 คน ส่วนสถานการณ์
น้ำท่วมในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย น้ำที่ท่วมขังในตัวเมืองชั้นในซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจแห้งและกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เหลือเพียงเฉพาะอุโมงค์ลอดทางรถไฟถนน
ศรีภูวนาถ ที่ยังมีน้ำขังรถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ นอกจากนี้ยังมีชุมชนท่ายาง หมู่บ้านลัดดาที่ระดับน้ำยังคงสูงเกือบ 1 เมตร ส่วนเส้นทางในพื้นที่รอบนอกของ อ.หาดใหญ่ซึ่งเชื่อมต่อกับอำเภอต่าง ๆ เช่น อ.เมือง อ.สะเดา อ.นาหม่อมและ อ.บางกล่ำ รถทุกประเภทสามารถสัญจรได้แม้บางจุดยังมีน้ำท่วมขังอยู่บ้าง ในขณะที่ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เปลี่ยนธงที่ป้ายเตือนภัยน้ำท่วมคลองอู่ตะเภา จากสีแดงเป็นสีเขียวแล้วเนื่องจาก
ระดับน้ำเริ่มลดลดอยู่ในระดับที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์น้ำท่วมในเมืองหาดใหญ่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติแต่โรงเรียนทุกแห่งในเมืองหาดใหญ่ยังคงประกาศหยุดเรียนอีก 1 วัน เช่นเดียวกับโรงเรียนในพื้นที่รอบ
นอกเช่นโรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 ประกาศหยุดเรียนไม่มีกำหนดเพระน้ำยังท่วมขัง รวมทั้งวัดควนลังที่
ยังมีน้ำท่วมสูง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อีกหลายจุดที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลควนลัง ที่บ้านเรือนประชาชนยังจม
อยู่ในน้ำ ในขณะที่หน่วยการป้องกันและบรรเทาทุกภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 6 แจ้งว่า
สถานการณ์น้ำฝนในขณะนี้ จากภาพถ่ายผ่านดาวเทียมของศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกพบว่ามีกลุ่ม
ฝนในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มฝนกระจาย ประกอบกับระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา คลองระบายน้ำ ร.1
และคลองเตย มีระดับต่ำกว่าตลิ่ง เฉลี่ย 1.00 เมตร จึงไม่ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมขังในเขตเทศบาล
นครหาดใหญ่แต่อย่างใด ประชาชนจึงไม่ต้องวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยให้ติดตามรับฟังสถานการณ์
จากประกาศของเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งจะมีการประกาศให้ประชาชนทราบทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
--------------------------------------------------------------------------------------
ยะลา: คืบหน้าน้ำท่วม ปิดเรียนแล้ว 19 โรง [ BEC News : 2 ธ.ค. 51 ]
สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดยะลา เช้าวันนี้ ( 2 ธค.51 ) ผู้สื่อข่าว
ได้เดินทางเข้าไปสำรวจ สภาพน้ำท่วมในเขต ต.ท่าธง ต.วังพญา
อ.รามัน จ.ยะลา พบว่า ระดับน้ำยังคงท่วมขังในพื้นที่ โดยเฉพาะ
ที่สถานีตำรวจภูธรท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา ที่มีระดับน้ำท่วมสูงกว่า
1 เมตร เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องนำรถยนต์ของ สภ.ขึ้นมาจอดบนถนน
และปฏิบัติงานด้วยความยากลำบาก ขณะเดียวกันบ้านพักใกล้
สภ.ก็ถูกน้ำท่วมสูง จนต้องขนย้ายสิ่งของขึ้นไปยังชั้น 2 ทั้งนี้พื้นที่ในเขต ต.ท่าธง ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา
ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ระดับน้ำก็ยังคงท่วมสูง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน รายงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1 ว่า โรงเรียนในพื้นที่ จ.ยะลา ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุ
อุทกภัย มีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา 18 แห่ง และ โรงเรียนในพื้นที่ อ.เมือง
จำนวน 1 แห่ง ซึ่งโรงเรียนทั้ง 19 แห่งนี้ ได้ประกาศปิดการเรียนไม่มีกำหนด
ทางด้านกองอำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทัยภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดยะลา ได้รายงาน
สถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ ว่า มีพื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ 14 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.รามัน
อ.เมือง และ อ.ธารโต มีราษฏรเดือดร้อน 2,926 ครัวเรือน 12,235 คน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ
2,180,000 บาท ส่วนทางด้านความช่วยเหลือนั้น ทางกองอำนวยการเฉพาะกิจฯ ได้สนับสนุนเรือท้องแบนให้แก่
อ.เมือง อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต อำเภอละ 1 ลำ
ี่-------------------------------------------------------------------------------------
นราธิวาส: อ่วมน้ำท่วมทั้งจังหวัดหลังฝนตกตลอดทั้งวัน [ BEC News : 2 ธ.ค. 51 ]
รายงานข่าวจากพื้นที่ จ.นราธิวาส เกี่ยวกับภาวะฝนหนักจากอิทธิพล
ของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและพื้นที่
ภาคใต้ แจ้งว่า ในช่วงตลอดทั้งวันและคืนที่ผ่านมา มีภาวะฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำท่วมขัง
บนถนนสายหลัก ทั้งในเขตชุมชนเมืองและเขตรอบนอก โดยมีความ
สูงเฉลี่ย 60 – 70 ซ.ม.ยานพาหนะชนิดเล็กไม่สามารถที่จะสัญจรไปมาได้ จนเกิดการจราจรติดขัดสร้างความโกลาหนให้กับผู้ขับและขี่ยวดยานพาหนะทุกชนิดเป็นอย่างมาก แถมย่านธุรกิจการค้าโดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาสและสุไหงโก-ลก ผู้ประกอบการต้องปิดกิจการไปโดยปริยาย เนื่องจากผู้บริโภคไม่ให้ความใจที่จะเดินทางไปใช้บริการ และจากการสอบถามพบว่า มีความเบื่อหน่ายต่อการจราจรที่ติดขัดจากภาวะน้ำท่วมขังถนนหนทาง และจากการตระเวนสำรวจเส้นทางสายหลักต่างๆ ในช่วงเช้าที่
ผ่านมา พบว่า ถนนหลายสายน้ำเริ่มลดระดับลงแล้วอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลพวงจากภาวะฝนที่ตกเบาบางลง ยกเว้นประชาชนที่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ที่ราบลุ่มตลอดแนวริมตลิ่งของแม่น้ำสายหลัก 3 สาย คือ แม่น้ำสุไหงโก-ลก
บางนราและแม่น้ำสายบุรี ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร ที่มีปริมาณน้ำท่วมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและขยายเป็นวงกว้างกินพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอแล้ว ซึ่งผลพวงที่สำคัญคือน้ำป่าซึ่งมีต้น
กำเนิดบนเทือกเขาสันกาลาคีรีในพื้นที่ อ.สุคิริน ได้ไหลทะลักเข้าสมทบกับปริมาณน้ำในแม่สายหลักทั้ง 3 สาย
ที่เอ่อล้นตลิ่งอยู่แล้ว มีปริมาณน้ำที่สูงขึ้นจากเดิมอย่างรวดเร็วโดยวัดระดับน้ำกลางแม่น้ำสายหลักทั้ง 3 สายอยู่
ที่ความสูงโดยเฉลี่ย 7.80 เมตรซึ่งเลยเขตวิกฤติไป ประมาณเกือบ 3 เมตรนอกจากนี้จากการตระเวนสำรวจภาวะน้ำท่วมขังตามสถานศึกษาและสถานที่ราชการต่างๆ ยังพบว่า โรงเรียนมีภาวะน้ำท่วมขังจนไม่สามารถทำการ
เรียนการสอนได้ จำนวน 12 โรง ในพื้นที่ อ.ระแงะ 8 โรงตากใบ 3 โรงและโรงเรียนในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี
1 โรง ส่วนสถานที่ราชการซึ่งเป็นสถานีอนามัยต้องปิดให้บริการประชาชน จำนวน 2 แห่งในพื้นที่อำเภอยี่งอ
ด้านนายเมธา เมฆารัฐ หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นราธิวาส ได้สรุปผลกระทบและความ
เสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ ล่าสุด มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 336 หมู่บ้าน 58 ตำบล 22,289
ครัวเรือน รวม 57,349 คน และเจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้านซึ่งมีภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือนทั้งหลัง จำนวน 2,000 คน
ในพื้นที่ 7 อำเภอ คือ เมือง เจาะไอร้อง แว้ง สุคิริน สุไหงโก-ลก ระแงะและอำเภอยี่งอ ไปอยู่ที่ปลอดภัยเป็นการ
ชั่วคราวแล้วนอกจากนี้นายเมธา หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นราธิวาส ยังรายงานเพิ่มเติม
อีกด้วยว่า จากกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากยังพัดพาบ้านเรือนของราษกรได้รับความเสียหาย จำนวน 780 หลัง พื้นที่ทาง
การเกษตรถูกน้ำท่วมขัง 7,516 ไร่ บ่อเลี้ยงปลากุ้งและตะพาบเสียหาย 257 บ่อ ถนนในหมู่บ้านถูกน้ำท่วมขังจ
ยานพาหนะทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ 165 สาย คอสะพานถูกกระแสน้ำกัดเซาะ 41 แห่ง
-------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมสงขลาคลี่คลาย ยันไม่ประกาศเป็นเขตประสบภัยพิบัติ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 25 พ.ย. 51 ]
วันนี้ (25 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมทั้ง 7 อำเภอของ จ.สงขลา เริ่มคลี่คลาย ยืนยันยังไม่มีพื้นที่ใดประกาศเป็นเขตประสบภัยพิบัติ ขณะที่หลายหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ด้านระดับน้ำในคลองอู่ตะเภาซึ่งตัดผ่าน 4 อำเภอ รวมถึงหาดใหญ่ ซึ่งเกรงว่าจะล้นตลิ่งยังติดธงเขียวอยู่ในระดับปกติ ในขณะที่ศูนย์อุตุฯยังคงประกาศเตือนว่ายังคงมีตกหนักในอีก 2-3 วันนี้พื้นที่เสี่ยงต้องระวัง
นอกจากนี้ในหลายพื้นที่ของ จ.สงขลา เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำสอง โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มซึ่งเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเทศบาลตำบลพะวง อ.เมือง ได้นำเครื่องจักรและเครื่องสูบน้ำเข้าเสริมบริเวณห้าแยกเกาะยอ หลังจากที่ถูกน้ำท่วมอย่างหนักเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาคูระบายน้ำให้สามารถระบายลงทะเลได้เร็วขึ้น และรองรับปริมาณน้ำฝนที่ยังคงตกหนักติดต่อกัน ส่วนสถานการณ์น้ำในคลองอู่ตะเภา ซึ่งเป็นคลองสายหลักที่ตัดผ่านพื้นที่ 4 อำเภอคือสะเดา คลองหอยโข่ง อ.หาดใหญ่ และ อ.เมือง ระดับน้ำยังอยู่ในสภาวะปรกติ โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่ไหลตัดผ่านตัวเมืองหาดใหญ่ และเกรงกันว่าน้ำอาจจะล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนทั้งสองฝั่ง คลอง เทศบาลนครหาดใหญ่ยังคงติดธงเขียวที่ป้ายบอกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม เพื่อแจ้งให้ประชาชนได้ทราบว่าสถานการณ์น้ำยังอยู่ในสภาวะปกติ แต่เทศบาลนครหาดใหญ่ยังคงเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ทางด้านภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สงขลา นายวิจิตร จันทรปาน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารภัย จ.สงขลา ออกมายืนยันว่า จ.สงขลายังไม่มีการประกาศให้พื้นที่ใดเป็นเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามที่มี ข่าวออกมา และพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอที่ถูกน้ำท่วม คือ อ.สะเดา ควนเนียง ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ รัตภูมิ และอ.เมืองสงขลา สถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้น อ.เมืองและอ.กระแสสินธุ์ที่ยังมีน้ำท่วมขังบางจุด
อย่างไรก็ตาม ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ยังคงแจ้งเตือนว่าจะมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ของ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณจ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งต่อไปอีก 2-3 วัน
-------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมสุราษฎร์ฯขยายวงกว้างดินถล่มทับบ้าน5หลัง [ ไทยรัฐ : 21 พ.ย. 51 - 09:55]
ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (21 พ.ย.) ว่า สถานการณ์น้ำป่าไหลหลากที่ จ.สุราษฎร์ธานี ได้ขยายวงกว้าง ล่าสุด น้ำป่าจากเทือกเขาอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ไหลเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อ.วิภาวดี คีรีรัฐนิคม ท่าฉางและ ไชยา โดยนายประเสริฐ จิตมุ่ง นายอำเภอวิภาวดี กล่าวว่า ได้เกิดดินโคลนถล่ม ทับบ้านเรือนราษฎรพื้นที่หมู่ 13 บ้านทับบริษัท ต.ตะกุกเหนือ 5 หลัง เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ เพราะถนนถูกตัดขาด นอกจากนี้ยังมีบ้านจมอยู่ใต้น้ำหลายหลัง โดยระดับน้ำสูงกว่า 3 เมตร เบื้องต้นยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือผู้บาดเจ็บ
ทางด้าน จ.ยะลา นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการ จ.ยะลา กล่าวว่า จากฝนที่ตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของ จ.ยะลา ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลปัญหาจุดนี้ โดยมีคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ซึ่งจะเข้าไปดูแลรับผิดชอบเครื่องมือ ชุดที่ 2 จะเข้าไปดูแลหากฝนตกหนัก จะต้องเตรียมเรือท้องแบน อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะต้องเข้าไปเตรียมพร้อมในพื้นที่ และชุดที่ 3 หลังจากเกิดอุทกภัยแล้ว ก็จะมีการฟื้นฟู ดูแล และช่วยเหลือเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี อ.รามัน จ.ยะลา
-------------------------------------------------------------------------------------
ผู้ว่าฯยะลาสั่งนอภ.พื้นที่เสี่ยง เตรียมรับมือน้ำท่วม-ดินถล่ม[ คมชัดลึก : 21 พ.ย. 51 ]
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าทางศูนย์วิทยุอาสาสมัครหน่วยกู้ภัยมูลนิธิกุศลศรัทธา จ.สุราษฎร์ธานี รับแจ้งจากชาวบ้านว่า เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ ม.13 บ้านควนมุ่ย ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี โดยน้ำป่าไหลหลากพัดพากระท่อมที่อยู่ในสวนยางขนาดเล็ก ริมภูเขาหายไปทั้งหลัง
ล่าสุดทางเจ้าหน้าที่อาสาสมัครหน่วยกู้ภัยมูลนิธิกุศลศรัทธาสุราษฎร์ธานี ประจำพื้นที่ อ.วิภาวดี จำนวนหนึ่งได้เดินเท้านำอุปกรณ์เข้าไปช่วยเหลือแล้ว แต่ยังไม่สามารถเข้าไปได้เพราะยังมีฝนตกหนักและกระแสน้ำเชี่ยว
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า สภาพน้ำท่วมขังพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี หลายอำเภอยังน่าห่วงโดยทุกอำเภอฝนตกต่อเนื่องเป็นระยะ โดยเฉพาะ อ.คีรีรัฐนิคม อ.ท่าฉาง อ.ดอนสัก และอ.กาญจนดิษฐ์ เบื้องต้นชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนถูกน้ำท่วมขังแล้วไม่ต่ำ 500 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 50-70 ซม. บางหลังท่วมสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวบ้านต้องอาศัยอยู่บนหลังคาบ้าน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ประสงค์อพยพไปอยู่ที่อื่นเพราะห่วงทรัพย์สินที่อยู่ในบ้าน
สำหรับเส้นทางสายสุราษฎร์ธานี-พุนพิน ระยะทางประมาณ 12 กม. กระแสน้ำยังไหลเชี่ยวกรากเป็นบางช่วง รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น ส่วนถนนสายสุราษฎร์ธานี-บ้านนาสาร บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระดับน้ำยังท่วมสูงเช่นกัน โดยท่วมสูงประมาณ 30-40 ซม. ประชาชนต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นเช่นกัน
ส่วนการช่วยเหลือในเบื้องต้น ทางเจ้าหน้าที่อาสาสมัครหน่วยกู้ภัยมูลนิธิกุศลศรัทธาสุราษฎร์ธานี ได้นำข้าวกล่องพร้อมน้ำดื่ม จำนวนหนึ่ง นั่งเรือท้องแบนออกไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ออกจากบ้านมาไม่ได้เพื่อบรรเทาไปก่อน เนื่องจากส่วนใหญ่ชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมไม่สามารถหุงหาอาหารได้
-------------------------------------------------------------------------------------
เหนือหนาวลงอีก กลางน้ำยังทะลัก ใต้ฝนถล่ม-จมต่อ [ไทยรัฐ : 12 พ.ย. 51 - 04:09]
ที่ จ.นครศรีธรรมราช นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผวจ. นครศรีธรรมราช แถลงว่า มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 8 อำเภอ 28 ตำบล 163 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.สิชล ท่าศาลาขนอม นบพิตำ ชะอวด พรหมคีรี เฉลิมพระเกียรติ และ อ.ร่อนพิบูลย์ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,272 ครัวเรือน จำนวน 21,535 คน ถนน สะพาน คอสะพาน ฝาย และท่อระบายน้ำพังเสียหาย 23 สาย นาข้าว เสียหาย 141 ไร่ นากุ้ง 141 บ่อ วัวควายไก่และเป็ด เสียชีวิต 121 ตัว ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ลดลงและทรงตัวในระดับปกติ ยกเว้นในพื้นที่ลุ่มและใกล้แหล่งน้ำที่ยังคงมีรายงานน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ทางสถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดนครศรีธรรมราช คาดการณ์จะมีฝนตกหนักอีกระลอก ช่วงระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย.นี้ จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับมือเต็มพิกัด ส่วน พ.ต.ต.ปานเทพ ปาณะดิษฐ์ ผบ.ร้อย ตชด.424 อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ได้นำกำลังออกช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขต อ.สิชล พร้อมนำสิ่งของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ไปช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมจำนวน 21 ครอบครัว จำนวน 70 คน
ที่ จ.ชุมพร นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผวจ.ชุมพร กล่าวว่า สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร รายงานพื้นที่น้ำท่วมมี 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สวี หลังสวน ทุ่งตะโก ละแม และ อ.พะโต๊ะ รวม 30 ตำบล 280 หมู่บ้าน ที่หนักที่สุดได้แก่ อ.หลังสวน ระดับน้ำสูงเฉลี่ย 1-5 เมตร และพื้นที่ อ.สวี เจ้าหน้าที่ต้องขอสนับสนุนเรือท้องแบนเข้าอพยพราษฎรในพื้นที่ไปอยู่ในที่ปลอดภัยอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ถนนสายหลังสวน-ระนอง บริเวณหมู่ 4 ต.พะรักษ์ อ.พะโต๊ะ ถูกกระแสน้ำกัดเซาะขาดเป็นระยะทางยาวกว่า 10 เมตร รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านไปมาได้ และถนนสายเอเชีย 41 ตั้งแต่เขต อ.สวี อ.ทุ่งตะโก อ.หลังสวน และ อ.ละแม มีน้ำท่วมขังเป็นช่วงๆ ซึ่งได้ประกาศให้พื้นที่ 5 อำเภอดังกล่าว เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ว ต่อมาเวลา 17.00 น. นายการัณย์ ได้ประกาศให้ อ.ปะทิว เป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ทำให้มีพื้นที่ประสบภัยพิบัติรวม 6 อำเภอ 42 ตำบล 304 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อนกว่า 5,400 ครัวเรือน
จ.สุราษฎร์ธานี นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ รอง ผว
จ.สุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง รวม 4 อำเภอ 13 ตำบล 41 หมูบ้าน ประกอบด้วย อำเภอเกาะสมุย เกาะพะงัน ดอนสัก และ อ.ท่าชนะ ทำให้สะพานคอนกรีตข้ามคลองเขาพา ต.ประสงค์ ขาด รถไม่สามารถสัญจรไป-มาได้ เจ้าหน้าที่ต้องนำเรือท้องแบนจำนวน 2 ลำ รถบรรทุกสิบล้อไปช่วยเหลืออพยพราษฎร ที่ อ.ดอนสัก มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 150 ครัวเรือน รวม 600 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 2,300 ไร่ ที่ อ.เกาะสมุย หมู่ที่ 4 ต.มะเร็ต ถนนลงหาดละไม-สะพานลากูน่า น้ำท่วมสูง 50 ซม. ระยะทางประมาณ 500 เมตร รถยนต์ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ หมู่ที่ 1 ต.แม่น้ำ บริเวณหน้าที่ทำการไปรษณีย์ และหมู่ที่ 1, 2 ต.บ่อผุด ซึ่งฝนยังคงตกหนักในหลายพื้นที่ ทางจังหวัดได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม และ พิจารณาให้ 4 อำเภอดังกล่าว เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ฉุกเฉินทางอุทกภัย ที่จะต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
ด้านการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.สาธารสุข กล่าวถึงการรับมือพายุโซนร้อน “ไม้สัก” ที่อาจเข้าภาคใต้ของไทย ใน 1-2 วันนี้ ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้สำรองยาและเวชภัณฑ์รวมกว่า 1 ล้านชุด พร้อมให้การสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยได้ทันที ขณะที่ นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพื้นที่ภาคกลางที่ประสบภัยน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี นครสวรรค์ ปทุมธานี ได้ออกหน่วยรวม 103 ครั้ง มีผู้ป่วย 5,510 ราย กว่าครึ่งป่วยด้วยโรคน้ำกัดเท้า รองลงมาเป็นโรคปวดเมื่อยทั่วๆไป ล่าสุดได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้าน 25,000 ชุด ให้ จ.นนทบุรี อ่างทอง และสิงห์บุรี
กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยเรื่อง “ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในภาคใต้ ส่วนประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น” ฉบับที่ 8 ว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศา ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้นในระยะ 1-2 วันนี้ และชาวเรือควรระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็ก ในอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ย. อนึ่ง พายุดีเปรสชั่น “ไม้สัก” ใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มอ่อนกำลังลงและสลายตัวในทะเล
--------------------------------------------------------------------------------------
สุราษฎร์-ความคืบหน้าน้ำท่วม
[ BEC News : 11 พ.ย. 51]
ความคืบหน้าสภาพน้ำท่วมขังที่ อ.ท่าชนะที่เกิดจากน้ำป่าไหลหลากจากฝนตกหนัก จำนวน 9 ตำบลบางแห่งระดับน้ำยังทรงตัวแต่บางแห่งเป็นที่ลุ่มน้ำยังท่วมขยายพื้นที่กว้างขึ้น โดยชาวบ้านได้รับความ
เดือดร้อนเพิ่มเป็นกว่า 50 หมู่บ้านแล้ว ไม่ต่ำกว่า 1,000 ครัวเรือน
โดยถนนเกือบทุกสายภายในหมู่บ้านน้ำยังท่วมสูง ทางอำเภอร่วม
กับเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ได้นำถุงยังชีพเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน ม.1 ต.ประสงค์ บางส่วนแล้ว โดยระดับน้ำสูงประมาณ 50 เซนติเมตรถึง 1
เมตร เนื่องจากถนนถูกตัดขาด ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้ทยอยแจกตามที่ได้รับแจ้งจากชาวบ้านเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นไปก่อน ส่วนสถานที่ราชการระดับน้ำยังทรงตัวเช่นกัน คาดว่าหากฝนหยุดตกระดับน้ำจะกลับเข้า
สู่ภาวะปกติในไม่ช้านี้
สำหรับพื้นที่อื่นๆ ระดับน้ำยังท่วมขังเช่นกัน ทางจังหวัดได้ประกาศพื้นที่ 4 อำเภอเป็นเขตภัยพิบัติแล้ว คือ อ.ท่าชนะ,
ดอนสัก,เกาะสมุยและเกาะพะงัน
-------------------------------------------------------------------------------------
|