บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคใต้ ( ต้นเดือนพฤศจิกายน 2553)

ภาพดาวเทียม GOES-9

26/10/2553

27/10/2553

28/10/2553

29/10/2553

30/10/2553

31/10/2553

1/11/2553

2/11/2553

3/11/2553

4/11/2553

5/11/2553

6/11/2553

7/11/2553

8/11/2553

9/11/2553

10/11/2553

11/11/2553

12/11/2553

13/11/2553

14/11/2553

15/11/2553

16/11/2553

17/11/2553

18/11/2553

จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่ามีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน โดยเฉพาะช่วงวันที่ 31 ต.ค. ถึง 1 พ.ย. ที่มีพายุดีเปรสชั่นพัดขึ้นฝั่งในพื้นที่ภาคใต้่ตอนล่าง บริเวณจังหวัีดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ หลังจากนั้นพายุได้สลายตัว แต่ยังคงมีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่อย่างต่อเนื่องและเลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ ปกคลุมพื้นที่ในหลายจังหวัดและส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนัก เช่น ตรัง พัทลุง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร พังงา เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

26/10/2553

27/10/2553

28/10/2553

29/10/2553

30/10/2553

31/10/2553

1/11/2553

2/11/2553

3/11/2553

4/11/2553

5/11/2553

6/11/2553

7/11/2553

8/11/2553

9/11/2553

10/11/2553

11/11/2553

12/11/2553

13/11/2553

14/11/2553

15/11/2553

16/11/2553

17/11/2553

18/11/2553


จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่างช่วงปลายเดือนตุลาคม ทำให้มีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคใต้ และในช่วงวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชั่นได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่าง ทำให้เกิดฝนตกหนัก หลังจากนั้นก็ยังคงมีฝนตกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และร่องความกดอากาศยังคงพาดผ่านพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่องตลอดเดือนพฤศจิกายน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดารสุราษฎร์ธานี รัศมี 240 กิโลเมตร

26/10/2553
10:03GMT

27/10/2553
08:03GMT

28/10/2553
22:03GMT

29/10/2553
04:03GMT

30/10/2553
20:03GMT

31/10/2553
20:03GMT

1/11/2553
17:03GMT

2/11/2553
04:03GMT

3/11/2553
01:03GMT

4/11/2553
01:03GMT

5/11/2553
18:03GMT

6/11/2553
09:03GMT

7/11/2553
10:03GMT

8/11/2553
21:03GMT

9/11/2553
05:03GMT

10/11/2553
02:03GMT

11/11/2553
07:03GMT

12/11/2553
13:03GMT

13/11/2553
14:03GMT

14/11/2553
20:03GMT

15/11/2553
00:03GMT

16/11/2553
03:03GMT

17/11/2553
03:03GMT

18/11/2553
20:03GMT
เรดาร์ภูเก็ต รัศมี 240 กิโลเมตร

26/10/2553
11:30GMT

27/10/2553
10:30GMT

28/10/2553
13:30GMT

29/10/2553
05:30GMT

30/10/2553
23:30GMT

31/10/2553
22:30GMT

1/11/2553
17:30GMT

2/11/2553
17:30GMT

3/11/2553
22:30GMT

4/11/2553
03:30GMT

5/11/2553
02:30GMT

6/11/2553
01:30GMT

7/11/2553
22:30GMT

8/11/2553
20:30GMT

9/11/2553
07:30GMT

10/11/2553
05:30GMT

11/10/2553
08:30GMT

12/10/2553
21:30GMT

13/10/2553
04:30GMT

14/10/2553
21:30GMT

15/10/2553
01:30GMT

16/10/2553
03:30GMT

17/10/2553
04:30GMT

18/10/2553
20:30GMT
เรดาร์กระบี่ รัศมี 120 กิโลเมตร

26/10/2553
10:03GMT

27/10/2553
10:03GMT

28/10/2553
14:03GMT

29/10/2553
07:03GMT

30/10/2553
21:03GMT

31/10/2553
22:03GMT

1/11/2553
17:03GMT

2/11/2553
15:03GMT

3/11/2553
22:03GMT

4/11/2553
20:03GMT

5/11/2553
02:03GMT

6/11/2553
01:03GMT

7/11/2553
21:03GMT

8/11/2553
19:03GMT

9/11/2553
05:03GMT

10/11/2553
04:03GMT

11/11/2553
09:03GMT

13/11/2553
17:03GMT

14/11/2553
21:03GMT

15/11/2553
01:03GMT

16/11/2553
04:03GMT

17/11/2553
09:03GMT

18/11/2553
23:03GMT

19/11/2553
01:03GMT
เรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร

26/10/2553
16:03GMT

27/10/2553
10:03GMT

28/10/2553
16:03GMT

29/10/2553
06:03GMT

30/10/2553
09:03GMT

31/10/2553
07:03GMT

1/11/2553
08:03GMT

2/10/2553
11:03GMT

3/11/2553
17:03GMT

4/11/2553
22:03GMT

5/11/2553
01:03GMT

6/11/2553
00:03GMT

7/11/2553
17:03GMT

8/11/2553
08:03GMT

9/11/2553
07:03GMT

10/11/2553
04:03GMT

11/11/2553
10:03GMT

12/11/2553
21:03GMT

13/11/2553
10:03GMT

14/11/2553
17:03GMT

15/11/2553
11:03GMT

16/11/2553
15:03GMT

17/11/2553
08:03GMT

18/11/2553
00:03GMT
dBz

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์สุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ พบว่าตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวันที่ 31 ต.ค., 1-2 พ.ย. , 4-5 พ.ย. , 8-9 พ.ย. และ 11-12 พ.ย. ที่มีฝนตกค่อนข้างหนัก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สุราษฎร์ธานกระบี่ ภูเก็ต สงขลา

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา

26/10/2553
[12:00]

27/10/2553
[00:00]

28/10/2553
[00:00]

29/10/2553
[00:00]

30/10/2553
[00:00]

31/10/2553
[12:00]

1/11/2553 [12:00]

2/11/2553
[00:00]

3/11/2553
[00:00]

4/11/2553
[00:00]

5/11/2553
[00:00]

6/11/2553
[00:00]

7/11/2553
[12:00]

8/11/2553
[12:00]

9/11/2553
[12:00]

10/11/2553
[00:00]

11/10/2553
[12:00]

12/10/2553
[00:00]

13/10/2553
[00:00]

14/10/2553
[12:00]

15/10/2553
[00:00]

16/10/2553
[00:00]

17/10/2553
[12:00]

18/10/2553
[00:00]


จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคใต้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย. ที่มีกลุ่มฝนกระจุกตัวหนาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดยะลา นราธิวาส สงขลา ปัตตานี พัทลุง สตูล และต่อมาในวันที่ 3-4 พ.ย. กลุ่มฝนยังคงกระจุกตัวหนาอยู่ แต่ได้เลื่อนขึ้นไปทางเหนือของภาค บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้จางลง และกลับมากระจุกตัุวหนาอีกครั้งช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. ในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร กระบี่ พังงา หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้จางลงอีกครั้ง แต่ยังคงมีการกระจุกตัวอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปลายเดือน

รายละเอียดเพิ่มเติม


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจาก NASA

26/10/53[00Z]-27/10/53[00Z]

27/10/53[00Z]-28/10/53[001Z]

28/10/53[00Z]-29/10/53[00Z]

29/10/53[00Z]-30/10/53[00Z]

30/10/53[00Z]-31/10/53[00Z]

31/10/53[00Z]-1/11/53[00Z]

1/11/53[00Z]-2/11/53[00Z]

2/11/53[00Z]-3/11/53[00Z]

3/11/53[00Z]-4/11/53[00Z]

4/11/53[00Z]-5/11/53[00Z]

5/11/53[00Z]-6/11/53[00Z]

6/11/53[00Z]-7/11/53[00Z]

7/11/53[00Z]-8/11/53[00Z]

8/11/53[00Z]-9/11/53[00Z]

9/11/53[00Z]-10/11/53[00Z]

10/11/53[00Z]-11/11/53[00Z]

11/11/53[00Z]-12/11/53[00Z]

12/11/53[00Z]-13/11/53[00Z]

13/11/53[00Z]-14/11/53[00Z]

14/11/53[00Z]-15/11/53[00Z]

15/11/53[00Z]-16/11/53[00Z]

16/11/53[00Z]-17/11/53[00Z]

17/11/53[00Z]-18/11/53[00Z]

18/11/53[00Z]-19/11/53[00Z]

จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมาก ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 4 พ.ย. , 8 - 9 พ.ย. โดยในวันที่ 31 ต.ค. และ 1 พ.ย. กลุ่มฝนกระจุกตัวกันอยู่ตอนล่างของภาคบริเวณจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล ตรัง ต่อมาในวันที่ 2-4 พ.ย. กลุ่มฝนได้เคลื่อนตัวขึ้นสู่ตอนบนของภาคบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร พังงา และในวันที่ 8-9 ต.ค. กลุ่มฝนยังคงกระจุกตัวอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช

ข้อมูลฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

รายงานข้อมูลฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าพื้นที่ภาคใต้มีฝนตกมากตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน โดยเฉพาะช่วงวันที่ 1-3 พฤศจิกายน
มีฝนตกหนักกระจายตัวในหลายจังหวัด เช่น สงขลา ปัตตานี สตูล ยะลา นราธิวาส ตรัง นครศรีธรรมราช

วันที่
สถานี
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสม
รายวัน(มม.) 
17/11/2010
เกาะสมุย
สุราษฎร์ธานี
52.7
16/11/2010
สวี (1)
ชุมพร
58.6
15/11/2010
สวี (1)
ชุมพร
191.6
14/11/2010
สวี (1)
ชุมพร
55.6
13/11/2010
สวี (1)
ชุมพร
177.8
 
ภูเก็ต
ภูเก็ต
71.2
 
ตะกั่วป่า
พังงา
62.9
 
สนามบินภูเก็ต
ภูเก็ต
57.5
 
สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี
55.9
12/11/2010
สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี
78.3
 
สนามบินภูเก็ต
ภูเก็ต
66.1
 
ภูเก็ต
ภูเก็ต
52.6
10/11/2010
ตรัง
ตรัง
118.6
 
นครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
111.2
 
นครศรีธรรมราช (1)
นครศรีธรรมราช
101.3
 
สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี
61.1
 
คอหงษ์ (1)
สงขลา
50.8
09/11/2010
เกาะสมุย
สุราษฎร์ธานี
69.2
08/11/2010
คอหงษ์ (1)
สงขลา
61.1
07/11/2010
ปัตตานี
ปัตตานี
82.1
05/11/2010
นครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
117.8
 
นราธิวาส
นราธิวาส
100.9
 
นครศรีธรรมราช (1)
นครศรีธรรมราช
90.3
 
สงขลา
สงขลา
73.4
 
สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี
51.3
04/11/2010
เกาะสมุย
สุราษฎร์ธานี
107.7
 
สวี (1)
ชุมพร
89.6
 
นครศรีธรรมราช (1)
นครศรีธรรมราช
53.6
03/11/2010
สวี (1)
ชุมพร
103.0
 
นครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
97.9
 
นครศรีธรรมราช (1)
นครศรีธรรมราช
85.0
 
ระนอง
ระนอง
76.8
 
นราธิวาส
นราธิวาส
65.2
 
ชุมพร
ชุมพร
51.4
02/11/2010
ปัตตานี
ปัตตานี
206.2
 
หาดใหญ่
สงขลา
188.8
 
นครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
187.1
 
สะเดา (2)
สงขลา
174.7
 
นครศรีธรรมราช (1)
นครศรีธรรมราช
164.2
 
ตรัง
ตรัง
144.5
 
ยะลา
ยะลา
134.4
 
นราธิวาส
นราธิวาส
132.9
 
สตูล
สตูล
116.8
 
สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี
90.8
 
เกาะสมุย
สุราษฎร์ธานี
83.7
 
พระแสง (2)
สุราษฎร์ธานี
79.0
 
ฉวาง (2)
นครศรีธรรมราช
78.3
 
เกาะลันตา
กระบี่
65.2
01/11/2010
หาดใหญ่
สงขลา
208.0
 
นราธิวาส
นราธิวาส
180.4
 
คอหงษ์ (1)
สงขลา
174.0
 
ยะลา
ยะลา
139.0
 
สตูล
สตูล
125.8
 
ปัตตานี
ปัตตานี
111.9
 
สงขลา
สงขลา
105.2
 
พัทลุง
พัทลุง
88.3
 
ตรัง
ตรัง
74.2
 
สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี
64.0
 
นครศรีธรรมราช (1)
นครศรีธรรมราช
63.5
 
นครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
62.6
31/10/2010
สงขลา
สงขลา
63.2
ยะลา
ยะลา
57.5
29/10/2010
ชุมพร
ชุมพร
58.8
28/10/2010
สวี (1)
ชุมพร
50.6
 
ฉวาง (2)
นครศรีธรรมราช
50.6
27/10/2010
คอหงษ์ (1)
สงขลา
136.1
นครศรีธรรมราช (1)
นครศรีธรรมราช
76.4
สงขลา
สงขลา
52.9
หมายเหตุ : สีแดง หมายถึง ข้อมูลฝนที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลฝน 80-99 มิลลิเมตร

การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันที่
เวลาที่เตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน(มม.)
ระดับการเตือนภัย
วันที่
เวลาที่เตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน(มม.)
ระดับการเตือนภัย
15/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สวี จ.ชุมพร
191.6
วิกฤต
01/11/2010
14:00:00
ฝน07-14น.
ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
14/11/2010
7:00:00
ฝน14/07-15/06น.
ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
13:00:00
ฝน07-13น.
ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
67
เฝ้าระวังสูงสุด
13/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สวี จ.ชุมพร
177.8
วิกฤต
01/11/2010
13:00:00
ฝน07-13น.
สงขลา
66.6
เฝ้าระวังสูงสุด
13/11/2010
4:00:00
ฝน13/07-14/04น.
ต.บาละ จ.ยะลา
75
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
13:00:00
ฝน07-13น.
ต.ละหาร จ.ปัตตานี
66.8
เฝ้าระวังสูงสุด
13/11/2010
4:00:00
ฝน03-04น.
ต.บาละ จ.ยะลา
48
วิกฤต
01/11/2010
12:00:00
ฝน07-12น.
ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
13/11/2010
4:00:00
ฝน02-03น.
ต.บาละ จ.ยะลา
38
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
11:00:00
ฝน07-10น.
ต.กาบัง จ.ยะลา
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
12/11/2010
23:00:00
ฝน07-22น.
ต.บางหิน จ.ระนอง
67.6
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
11:00:00
ฝน07-10น.
ต.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
12/11/2010
2:00:00
ฝน12/07-13/02น.
ต.ลำแก่น จ.พังงา
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
10:00:00
ฝน07-10น.
ต.จวบ จ.นราธิวาส
72.4
เฝ้าระวังสูงสุด
11/11/2010
22:00:00
ฝน07-22น.
ต.ราไวย์ จ.ภูเก็ต
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
10:00:00
ฝน07-10น.
ต.ตาชี จ.ยะลา
67.4
เฝ้าระวังสูงสุด
11/11/2010
13:00:00
ฝน07-13น.
ต.รือเสาะ จ.นราธิวาส
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
10:00:00
ฝน07-10น.
ต.กรงปินัง จ.ยะลา
66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
09/11/2010
22:00:00
ฝน07-22น.
ต.กรงปินัง จ.ยะลา
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
10:00:00
ฝน07-10น.
ต.กาบัง จ.ยะลา
66
เฝ้าระวังสูงสุด
09/11/2010
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
38
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
10:00:00
ฝน07-10น.
ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
09/11/2010
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.กรงปินัง จ.ยะลา
39.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
10:00:00
ฝน07-10น.
ต.ตันหยงมัส จ.นราธิวาส
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
09/11/2010
18:00:00
ฝน17-18น.
ต.แว้ง จ.นราธิวาส
35.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
9:00:00
ฝน07-09น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
09/11/2010
2:00:00
ฝน09/07-10/02น.
ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
7:00:00
ฝนวานนี้
ต.คลองขนาน จ.กระบี่
80
เฝ้าระวังสูงสุด
09/11/2010
1:00:00
ฝน09/07-10/01น.
ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
67.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
7:00:00
ฝนวานนี้
ต.จวบ จ.นราธิวาส
110.4
วิกฤต
04/11/2010
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
46
วิกฤต
01/11/2010
7:00:00
ฝนวานนี้
ต.เขาคราม จ.กระบี่
67.6
เฝ้าระวังสูงสุด
04/11/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
3:00:00
ฝน01/07-02/03น.
ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
116.4
วิกฤต
04/11/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
110.4
วิกฤต
01/11/2010
2:00:00
ฝน01/07-02/02น.
ต.กะลาเส จ.ตรัง
66
เฝ้าระวังสูงสุด
04/11/2010
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
39.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
1:00:00
ฝน01/07-02/00น.
ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช
75.8
เฝ้าระวังสูงสุด
04/11/2010
22:00:00
ฝน21-22น.
ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
36.6
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
1:00:00
ฝน01/07-02/01น.
ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช
110.8
วิกฤต
04/11/2010
21:00:00
ฝน07-21น.
ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
68
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
1:00:00
ฝน01/07-02/01น.
ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
04/11/2010
5:00:00
ฝน04/07-05/05น.
พัทลุง
112.2
วิกฤต
31/10/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.กาบัง จ.ยะลา
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
04/11/2010
5:00:00
ฝน04/07-05/05น.
ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง
66.8
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
70.8
เฝ้าระวังสูงสุด
04/11/2010
3:00:00
ฝน04/07-05/03น.
ต.ไทรทอง จ.ปัตตานี
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
22:00:00
ฝน07-22น.
ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
04/11/2010
1:00:00
ฝน00-01น.
พัทลุง
43.2
วิกฤต
31/10/2010
21:00:00
ฝน07-21น.
ต.แว้ง จ.นราธิวาส
112
วิกฤต
04/11/2010
1:00:00
ฝน04/07-05/01น.
พัทลุง
80
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
21:00:00
ฝน07-21น.
ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
110.8
วิกฤต
03/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สวี จ.ชุมพร
103
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
19:00:00
ฝน07-19น.
ต.ตันหยงมัส จ.นราธิวาส
66.4
เฝ้าระวังสูงสุด
03/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช
97.9
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
19:00:00
ฝน07-19น.
ต.จะแนะ จ.นราธิวาส
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
20:00:00
ฝน07-20น.
ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช
178.4
วิกฤต
31/10/2010
18:00:00
ฝน07-18น.
ต.ธารโต จ.ยะลา
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
20:00:00
ฝน07-20น.
ต.ริโก๋ จ.นราธิวาส
70.4
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
16:00:00
ฝน07-16น.
ต.จวบ จ.นราธิวาส
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
20:00:00
ฝน19-20น.
ต.ริโก๋ จ.นราธิวาส
49
วิกฤต
31/10/2010
16:00:00
ฝน07-16น.
ต.โล๊ะจูด จ.นราธิวาส
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
19:00:00
ฝน07-19น.
ต.ละหาร จ.ปัตตานี
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
15:00:00
ฝน07-15น.
ต.แว้ง จ.นราธิวาส
67.2
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.ริโก๋ จ.นราธิวาส
39
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
15:00:00
ฝน07-15น.
ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
19:00:00
ฝน17-18น.
ต.ละหาร จ.ปัตตานี
44
วิกฤต
31/10/2010
14:00:00
ฝน07-14น.
ต.ปะลุรู จ.นราธิวาส
70.4
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
13:00:00
ฝน07-13น.
ต.ปะเหลียน จ.ตรัง
70.8
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
7:00:00
ฝนวานนี้
ต.ไทรทอง จ.ปัตตานี
112.8
วิกฤต
02/11/2010
10:00:00
ฝน07-10น.
ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง
170.6
วิกฤต
31/10/2010
6:00:00
ฝน31/07-01/06น.
ต.ปะเหลียน จ.ตรัง
65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.บันนังสตา จ.ยะลา
134.4
วิกฤต
31/10/2010
6:00:00
ฝน31/07-01/06น.
ต.บาละ จ.ยะลา
113.2
วิกฤต
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช
187.1
วิกฤต
31/10/2010
6:00:00
ฝน31/07-01/06น.
ต.ละหาร จ.ปัตตานี
111.2
วิกฤต
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.เกาะจัน จ.ปัตตานี
206.2
วิกฤต
31/10/2010
5:00:00
ฝน31/07-01/05น.
ต.กรงปินัง จ.ยะลา
110.4
วิกฤต
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.บองอ จ.นราธิวาส
132.9
วิกฤต
31/10/2010
5:00:00
ฝน31/07-01/05น.
สงขลา
66.4
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก จ.นครศรีธรรมราช
164.2
วิกฤต
31/10/2010
5:00:00
ฝน31/07-01/05น.
ต.ตาชี จ.ยะลา
110.2
วิกฤต
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.บางหมาก จ.ตรัง
144.5
วิกฤต
31/10/2010
5:00:00
ฝน31/07-01/05น.
ต.เมาะมาวี จ.ปัตตานี
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สะเดา จ.สงขลา
174.7
วิกฤต
31/10/2010
4:00:00
ฝน31/07-01/03น.
ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง
66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.คอหงส์ จ.สงขลา
188.8
วิกฤต
31/10/2010
4:00:00
ฝน31/07-01/04น.
พัทลุง
66
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.กะเปา จ.สุราษฎร์ธานี
90.8
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
3:00:00
ฝน31/07-01/03น.
ต.จะแนะ จ.นราธิวาส
110.4
วิกฤต
02/11/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ควนกาหลง จ.สตูล
116.8
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
3:00:00
ฝน02-03น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
41.4
วิกฤต
02/11/2010
5:00:00
ฝน02/07-03/05น.
ต.บางริ้น จ.ระนอง
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
3:00:00
ฝน02-03น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
38
เฝ้าระวังสูงสุด
02/11/2010
4:00:00
ฝน02/07-03/04น.
ต.มะเร็ต จ.สุราษฎร์ธานี
65.6
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
3:00:00
ฝน31/07-01/03น.
ต.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
67.4
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง
111.2
วิกฤต
31/10/2010
3:00:00
ฝน31/07-01/03น.
ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี
66.6
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
พัทลุง
113.6
วิกฤต
31/10/2010
3:00:00
ฝน31/07-01/03น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
115.6
วิกฤต
01/11/2010
20:00:00
ฝน07-20น.
ต.กรงปินัง จ.ยะลา
110.2
วิกฤต
31/10/2010
3:00:00
ฝน31/07-01/02น.
ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
111
วิกฤต
01/11/2010
20:00:00
ฝน07-20น.
ต.กายูบอเกาะ จ.ยะลา
110.2
วิกฤต
31/10/2010
2:00:00
ฝน31/07-01/02น.
ต.ธารโต จ.ยะลา
112.8
วิกฤต
01/11/2010
19:00:00
ฝน07-19น.
สงขลา
111
วิกฤต
31/10/2010
2:00:00
ฝน31/07-01/02น.
ต.ละหาร จ.ปัตตานี
73.4
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
19:00:00
ฝน07-19น.
ต.ปาล์มพัฒนา จ.สตูล
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
2:00:00
ฝน31/07-01/01น.
ต.ไทรทอง จ.ปัตตานี
65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
19:00:00
ฝน07-19น.
พัทลุง
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
2:00:00
ฝน31/07-01/02น.
ต.จวบ จ.นราธิวาส
110.2
วิกฤต
01/11/2010
19:00:00
ฝน07-19น.
ต.ปะเหลียน จ.ตรัง
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
31/10/2010
2:00:00
ฝน31/07-01/02น.
ต.ตันหยงมัส จ.นราธิวาส
117.6
วิกฤต
01/11/2010
19:00:00
ฝน07-18น.
ต.กาบัง จ.ยะลา
112.2
วิกฤต
31/10/2010
1:00:00
ฝน31/07-01/01น.
ต.บาละ จ.ยะลา
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
18:00:00
ฝน16-17น.
ต.ละหาร จ.ปัตตานี
50.8
วิกฤต
31/10/2010
1:00:00
ฝน31/07-01/01น.
ต.ธารโต จ.ยะลา
72
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
18:00:00
ฝน07-18น.
ต.ตาเซะ จ.ยะลา
113.4
วิกฤต
31/10/2010
1:00:00
ฝน31/07-01/00น.
ต.โล๊ะจูด จ.นราธิวาส
111.8
วิกฤต
01/11/2010
17:00:00
ฝน07-17น.
ต.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
110.4
วิกฤต
31/10/2010
1:00:00
ฝน31/07-01/01น.
ต.ปาล์มพัฒนา จ.สตูล
68.6
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
17:00:00
ฝน07-16น.
ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี
111.4
วิกฤต
31/10/2010
1:00:00
ฝน31/07-01/00น.
ต.ตาชี จ.ยะลา
69.6
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.ไทรทอง จ.ปัตตานี
40.4
วิกฤต
31/10/2010
1:00:00
ฝน31/07-01/01น.
ต.กรงปินัง จ.ยะลา
76
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
17:00:00
ฝน07-17น.
ต.ไทรทอง จ.ปัตตานี
112
วิกฤต
31/10/2010
1:00:00
ฝน31/07-01/01น.
ต.กาบัง จ.ยะลา
65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.ตะโละแมะนา จ.ปัตตานี
35.2
เฝ้าระวังสูงสุด
28/10/2010
22:00:00
ฝน07-22น.
ต.ละหาร จ.ปัตตานี
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
44.6
วิกฤต
28/10/2010
2:00:00
ฝน00-01น.
ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง
43.8
วิกฤต
01/11/2010
17:00:00
ฝน07-17น.
ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
28/10/2010
2:00:00
ฝน28/07-29/02น.
ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง
67
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
16:00:00
ฝน07-16น.
ต.บางนาค จ.นราธิวาส
110.6
วิกฤต
27/10/2010
20:00:00
ฝน07-19น.
ต.ลำแก่น จ.พังงา
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
16:00:00
ฝน07-16น.
ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
112.6
วิกฤต
27/10/2010
18:00:00
ฝน07-18น.
ต.ถ้ำทองหลาง จ.พังงา
65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
16:00:00
ฝน07-16น.
ต.ตาชี จ.ยะลา
110.4
วิกฤต
27/10/2010
17:00:00
ฝน07-17น.
ต.ห้วยปริก จ.นครศรีธรรมราช
65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
16:00:00
ฝน07-16น.
ต.ละหาร จ.ปัตตานี
118.8
วิกฤต
27/10/2010
14:00:00
ฝน07-13น.
ชุมพร
110.2
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
15:00:00
ฝน07-15น.
ต.กาบัง จ.ยะลา
111.4
วิกฤต
27/10/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.คอหงส์ จ.สงขลา
136.1
วิกฤต
01/11/2010
15:00:00
ฝน07-15น.
ต.ไทรทอง จ.ปัตตานี
66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
26/10/2010
21:00:00
ฝน20-21น.
ต.กรงปินัง จ.ยะลา
36.6
เฝ้าระวังสูงสุด
01/11/2010
14:00:00
ฝน07-14น.
ต.เมาะมาวี จ.ปัตตานี
65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
26/10/2010
20:00:00
ฝน19-20น.
ต.คลองขนาน จ.กระบี่
41.8
วิกฤต
01/11/2010
14:00:00
ฝน07-14น.
ต.ตาเซะ จ.ยะลา
67.2
เฝ้าระวังสูงสุด
26/10/2010
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.คลองขนาน จ.กระบี่
36.4
เฝ้าระวังสูงสุด

ข้อมูลระดับน้ำล้นตลิ่งจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน
ลุ่มน้ำปัตตานี , ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก , ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

(X.40B)ท้ายเขื่อนปัตตานี อ.เมือง จ.ยะลา
(ระดับตลิ่ง 12.15 ม.)

(X.149)บ้านหัวนา อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช
(ระดับตลิ่ง 33.96 ม.)

(X.203)บ้านนาป่า อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
(ระดับตลิ่ง 11.0 ม.)

(X.119A)บ้านปางเสมัส อ.สุไหง-โกลก จ.นราธิวาส
(ระดับตลิ่ง 9.28 ม.)

(X.213)บ้านพะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร
(ระดับตลิ่ง 46.86 ม.)
(X.56)บ้านประดู่ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
(ระดับตลิ่ง 13.07 ม.)

(X.184)อ.บ้านซากอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส
(ระดับตลิ่ง 31.8 ม.)

(X.68)บ้านท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง
(ระดับตลิ่ง 15.08 ม.)

(X.150)บ้านท่าเคียน อ.ละงู จ.สตูล
(ระดับตลิ่ง 12.86 ม.)

(X.40A)บ้านท่าสาบ อ.เมือง จ.ยะลา
(ระดับตลิ่ง 16.28 ม.)

(X.55)บ้านท่าใหญ่ อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
(ระดับตลิ่ง 22.23 ม.)

(X.236)บ้านย่านตาขาว อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
(ระดับตลิ่ง 4.6 ม.)
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่าช่วงวันที่ 1-3 พ.ย. ปริมาณน้ำในหลายสถานีได้เพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก และเกิดการล้นตลิ่งในหลายจุด

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนรัชชประภา

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนบางลาง

จากการที่มีฝนตกค่อนข้างมากอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด อยู่ที่ 30.14 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ส่วนอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด อยู่ที่ 65.74 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 2 พฤศจิกายน

ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่


ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม ALOS ระบบ PALSAR
บันทึกภาพวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา 23.13 น. จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน ปากพะยูน เขาชัยสน ป่าบอน บางแก้ว กงหรา และตะโหมด จังหวัดสงขลา  มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอระโนด หาดใหญ่ ควนเนียง สิงหนคร รัตภูมิ กระแสสินธุ์ บางกล่ำ สทิงพระ คลองหอยโข่ง และสะเดา
อ่านรายงานเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา 18.29 น. จังหวัดนราธิวาส  มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอตากใบ บาเจาะ เมืองนราธิวาส ยี่งอ รือเสาะ ระแงะ สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอหนองจิก โคกโพธิ์   ยะหริ่ง   มายอ ยะรัง เมืองปัตตานี สายบุรี ปะนาเระ ทุ่งยางแดง แม่ลาน และไม้แก่น
อ่านรายงานเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา 18.29 น. จังหวัดตรัง มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง นาโยง วังวิเศษ และย่านตาขาว จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอชะอวด พระพรหม ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ และเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดพัทลุง มีีีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน ปากพะยูน เขาชัยสน ป่าบอน บางแก้ว ป่าพยอม และกงหรา
อ่านรายงานเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา 18.41 น. จังหวัดชุมพร  มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองชุมพร และสวี จังหวัดตรัง  มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง กันตรัง วังวิเศษ ห้วยยอด นาโยง และสิเกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอหัวไทร เมืองนครศรีธรรมราช เชียรใหญ่ ปากพนัง ชะอวด เฉลิมพระเกียรติ พระพรหม ร่อนพิบูลย์ ท่าศาลา จุฬาภรณ์ และพรหมคีรี
อ่านรายงานเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 เวลา 18.27 น. จังหวัดนราธิวาส มีีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอตากใบ บาเจาะ เมืองนราธิวาส ยี่งอ และระแงะ จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอหนองจิก ทุ่งยางแดง ยะหริ่ง เมืองปัตตานี โคกโพธิ์ ยะรัง สายบุรี และมายอ จังหวัดยะลา มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอรามัน เมืองยะลา และยะหา
อ่านรายงานเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา 18.37 น. จังหวัดชุมพร มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองชุมพร สวี และหลังสวน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอกุยบุรี สามร้อยยอด และเมืองประจวบคีรีขันธ์  จังหวัดตรัง มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง กันตรัง และห้วยยอด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอหัวไทร  ปากพนัง เชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ชะอวด ร่อนพิบูลย์ เมืองนครศรีธรรมราช และพระพรหม
อ่านรายงานเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2553 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา 06.08 น.จังหวัดตรัง มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง ห้วยยอด กันตรัง และวังวิเศษ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอหัวไทร เชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ชะอวด พระพรหม ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ เมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา พรหมคีรี จุฬาภรณ์ ถ้ำพรรณรา และทุ่งใหญ่
อ่านรายงานเพิ่มเติม

   

แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้เปรียบเทียบช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2553 (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

ตุลาคม 2553

พฤศจิกายน 2553
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมภาคใต้ พบว่าเดือนพฤศจิกายน มีน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างค่อนข้างมาก โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางด้านล่าง

จังหวัด
พื้นที่น้ำท่วม(ไร่)
นครศรีธรรมราช              642,943.28
สงขลา              453,675.08
พัทลุง              252,902.69
ปัตตานี              225,842.17
สุราษฎร์ธานี              198,489.12
นราธิวาส                87,946.14
ยะลา                64,062.67
ตรัง                47,128.70
ชุมพร                20,965.17
สตูล                 4,381.56

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
400 ครัวเรือนริมทะเลสาบสงขลายังจมน้ำ [ โพสต์ทูเดย์ : 17 พ.ย. 53 ]

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังไม่พ้นวิกฤตล่าสุดหลายพื้นยังคงถูกน้ำท่วมขัง เช่น หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 ต.จองถนน อ.เขาชัยสน  หมู่ที่ 4 ต.พนางตุง  หมู่ที่ 6 ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน และ ต.เกาะนางคำ ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่พื้นที่ลุ่มริมทะเลสาบสงขลายังคงได้รับความเดือนเรือนราษฎรกว่า 400 ครัวเรือน ส่วนถนเข้าหมู่บ้านยังถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 20-50 ซม. หลังฝนยังคงตกลงมาอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันทางจังหวัดพัทลุง ยังคงแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ริมป่าเทือกเขาบรรทัดในพื้นที่ อ.กงหรา อ.ตะโหมด อ.ศรีนครินทร์ อ.ป่าบอน และ อ.ศรีบรรพต ให้ระวังดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลากอีกระลอก ประกอบกับดินภูเขาอุ้มน้ำไว้มากจำนวนหลายวัน อาจเสี่ยงต่ออันตรายได้  ดังนั้นขอให้ประชาชนระมัดระวังและคอยฟังคำเตือนจากประสานอาสาสมัครมิสเตอร์เตือนภัยตลอด 24ชั่วโมง

--------------------------------------------------------------------------------------
สถานการณ์น้ำป่า-ดินถล่มที่สุราษฎร์ยังน่าห่วง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 16 พ.ย. 53 ]

สำหรับสถานการณ์น้ำป่าจากเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงไหลถล่มหมู่บ้านคลองมุ่ย บ้านบ่อน้ำร้อน หมู่ที่ 13 ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี ทำให้มีรถยนต์จำนวน 2 คัน จักรยานยนต์ 15 คันถูกกระแสน้ำพัดพาหายไป บ้านเรือนราษฎรพังเสียหายทั้งหลัง จำนวน 3 หลังและมี พระสงฆ์ 4 รูป ติดอยู่ที่สำนักปฏิบัติธรรมตะโปทาวัน สาขาของสวนโมกขพลาราม มาแล้วหลายวันเนื่องจากถนนถูกตัดขาดและน้ำไหลเชี่ยว
       
ล่าสุดวันนี้ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำโดยนายมนตรี เพชรขุ้ม นายก อบจ.สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยกำลังทหารอากาศจากกองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี และชาวบ้านเดินเท้าเข้าไปยังสำนักปฏิบัติธรรมดังกล่าว แต่จะต้องผ่านคลองมุ่ยซึ่งกระแสน้ำเชี่ยว ทางเจ้าหน้าที่ทหารจึงต้องทำสะพานไม้ไผ่เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถข้ามไป ได้และช่วยพระสงฆ์ทั้ง 4 รูปออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย
       
หลวงตาเงิน อายุ 75 ปี ระบุว่า ตั้งแต่เกิดมาเพิ่งเจอเหตุการณ์ที่รุนแรงอย่างนี้ขณะที่เกิดเหตุกระแสน้ำได้พัดพาท่อนไม้ขนาดใหญ่มากระแทกกับกุฎิ หอฉัน โรงครัวพังเสียหายไปในพริบตา นอกจากนั้นกระแสน้ำได้หอบเสบียงอาหาร เช่น ข้าวสารอาหารแห้ง พร้อมอุปกรณ์ในโรงครัวไปหมด ไม่สามารถประกอบอาหารได้ เส้นทางถูกตัดขาดหมดไม่สามารถออกบิณฑบาต ทำไห้อดหาหารมา 1 วัน ตอนเกิดเหตุคิดว่าไม่รอดแล้วได้แต่นึกถึงท่านพุทธทาส และอาจารย์ของตนเอง แต่ก็โชคดีผ่านวิกฤตมาได้
       
ส่วนการช่วยเหลือฟื้นฟูนั้น ทาง อบจ.ได้จัดส่งเครื่องมือหนักเข้าพื้นที่เพื่อทำการช่วยเหลือแล้ว ส่วนการติดตามรถยนต์ที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป พบแล้วแต่ยังไม่สามารถกู้ได้ จะต้องให้เครื่องหนักเข้าเก็บกู้ส่วนรถจักรยานยนต์พบเพียง 3 คัน
ขณะที่ผู้ประสพภัยในพื้นที่เกิดเหตุหมู่ที่ 7 ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา กว่า 400 คนยังคงพักอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพโรงเรียนบ้านคลองไม้แดง โดยมีดนตรีทหารอากาศจากกองบิน 7 ไปแสดงดนตรีขับกล่อมเพื่อให้ผู้ประสพภัยคลายเครียด ด้านทางจังหวัดยังคงประกาศเตือนให้ประชาชาชนในพื้นที่เกิดเหตุทั้ง 2 แห่ง เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มต่อไปอี 2-3 วันเนื่องจากยังมีฝนตกหนักในพื้นที่ต่อเนื่อง ในขณะที่สภาพอากาศมีเมฆปกคลุมหนาแน่นและมีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน



--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมหาดใหญ่ธุรกิจโรงแรมเจ๊ง 2,000 ล้าน [ เดลินิวส์ : 16 พ.ย. 53 ]
       
นายสมชาติ พิมพ์ธนะพูนพร นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา เปิดเผยว่า หลังจากเหตุน้ำท่วมจนถึงขณะนี้ โรงแรมต่างๆ ใน อ.เมืองหาดใหญ่ ได้ทยอยเปิดให้บริการแล้ว โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็กที่สามารถฟื้นตัวได้เร็วจากเหตุอุทกภัย ในขณะที่โรงแรมขนาดใหญ่ เช่น เซ็นทาร่า โนเวเทล หาดใหญ่, ลีการ์เด้น พลาซ่า, เจ.บี.หาดใหญ่ นั้นได้รับความเสียหายมาก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ต้องใช้เวลาซ่อมแซมและเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าโรงแรมในหาดใหญ่จะสามารถเปิดบริการได้ตามปกติทุกแห่งได้ในต้นเดือนธันวาคมนี้
       
ทั้งนี้ ความเสียหายในส่วนของทรัพย์สินโรงแรมและการขาดรายได้จากการท่องเที่ยวในห้วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่น้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ในคืนวันที่ 1 พ.ย. ประมาณ 2,000 ล้านบาท
       
“ตอนนี้โรงแรมที่เปิดบริการก็ยังไม่เต็มรูปแบบ มีบริการห้องพัก นวดแผนโบราณ คาราโอเกะ แต่บริการส่วนอื่นๆ เช่น ห้องอาหารต้องซ่อมแซมไปเรื่อยๆ รอการฟื้นฟูเมืองเมืองหาดใหญ่ในภาพรวมเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บกวาดขยะ หรือห้างสรรพสินค้า ตลาดชอปปิ้ง ที่จะต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ทันงานประเพณีลอยกระทงที่จะถึงในวันที่ 21 พ.ย. โดยปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เตรียมทุ่มจัดงานให้เมืองหาดใหญ่อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม และเราได้ประสานกับสำนักงานการท่องเที่ยวในประเทศมาเลเซีย เพื่อแจ้งรายชื่อโรงแรมที่พร้อมให้บริการนักท่องเที่ยว โดยบริษัททัวร์เริ่มติดต่อจองโรงแรมบ้างแล้ว” นายสมชาติ กล่าวต่อและว่า
       
แม้ว่าเมืองหาดใหญ่ซึ่งเป็นจุดขายของการท่องเที่ยวจะประสบภัยน้ำท่วม แต่เชื่อว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวหลังจากนี้จะยังคึกคักไม่แพ้ปีก่อนๆ อย่างแน่นอน เนื่องจากกิจกรรมที่เตรียมไว้มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทศกาลโคมไฟสีสันเมืองใต้ ที่ได้เปิดงานแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งปีนี้นอกจากจะมีโคมไฟที่สวยงามแล้ว ยังมีการเปิดโดมน้ำแข็งในห้องที่มีอุณหภูมิติดลบ โดยมีช่างแกะสลักน้ำแข็งจากประเทศจีนมาร่วมแสดงฝีมือ และเพิ่มการจัดให้มีการแสดงดอกไม้เมืองหนาวอีกด้วย
       
ขณะที่นางสาวสุภาวดี ศิริธร ผู้จัดการประชาสัมพันธ์ โรงแรมเจ.บี.หาดใหญ่ กล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้โรงแรมยังไม่เปิดให้บริการ เนื่องจากระดับน้ำได้สร้างความเสียหายให้แก่ชั้นล่างของโรงแรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นห้องอาหาร ห้องครัว แผนกซักรีด แต่มีลูกค้าโทร.มาติดต่อสอบถามเพื่อจะเข้าพัก เช่นเดียวกับกลุ่มจัดเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรสที่ต้องยกเลิกนับตั้งแต่เกิดเหตุน้ำท่วมซึ่งมีเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม โรงแรมพยายามเร่งฟื้นฟูเพื่อเปิดให้บริการลูกค้าดังเดิม โดยพนักงานทุกคนเริ่มกลับมาทำงานตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา


--------------------------------------------------------------------------------------
สวนยางที่ตรังถูกน้ำท่วม-พายุถล่มกว่า 1 หมื่นไร่ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 15 พ.ย. 53 ]
       
นายอำพล กิจไพฑูรย์ ผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) จังหวัดตรัง กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมและพายุที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 253 ที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบให้กับสวนยางพาราของเกษตรกรชาวจังหวัดตรังประมาณ 13,000 ไร่  แยกออกเป็นความเสียหายจากพายุ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอรัษฎาคือ ตำบลหนองปรือ ตำบลคลองปรือ ตำบลควนเมา ประมาณ 1,600 ไร่ ในจำนวนนี้ที่มีความเสียสภาพสวนอย่างรุนแรงถึงขั้นต้องรื้อปลูกใหม่ทั้งหมด มีประมาณ 20% หรือ 320 ไร่ ส่วนสวนที่เหลือน่าจะหาทางแก้ไขปัญหาได้ด้วยการค้ำยันต้นยางพาราให้กลับสู่สภาพเดิม
       
ต้นยางพาราที่หักโค่นลงทั้งหมดนั้น ทาง สกย.จะจ่ายค่าชดเชยให้ในอัตราไร่ละ 11,000 บาท และเกษตรกรสามารถยื่นเรื่องขอการสงเคราะห์เพื่อปลูกใหม่ได้เลย ยกเว้นในกรณีที่มีต้นยางพาราเสียหายบางส่วนทาง สกย.ก็จะจ่ายค่าชดเชยให้เป็นต้นๆ ไป
       
ส่วนต้นยางพาราที่เสียหายรุนแรงถึงขั้นขาดสะบั้นออกมา คงอนุญาตให้เกษตรกรนำส่งไปขายให้กับโรงงานรับซื้อไม้ยางพาราภายในระยะเวลา 10 วัน ตามวิธีการปฏิบัติโดยทั่วไป แต่ในกรณีที่ต้นยางพารายังไม่ตาย ขอให้เกษตรกรอย่ารีบร้อนดำเนินการอะไร เพื่อรอให้ทางเจ้าหน้าที่ สกย.ได้ลงไปสำรวจอย่างละเอียด และรอกรอบหรือกฎเกณฑ์ความช่วยเหลือที่ชัดเจนจากทางรัฐบาล
       
ส่วนพื้นที่สวนยางพาราที่ถูกน้ำท่วมขังนั้นมีประมาณ 13,000 ไร่ แต่คาดว่าคงจะเกิดความเสียหายที่รุนแรงจริงๆ ไม่มากนัก ยกเว้นในบางพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ในสวนยางพารา โดยเฉพาะที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำตรังใน 2-3 อำเภอ เช่น อำเภอเมือง อำเภอวังวิเศษ และอำเภอกันตัง ซึ่งคงจะต้องรอผลการสำรวจที่ชัดเจนหลังจากน้ำลดแล้ว
       
ในเบื้องต้นสำหรับต้นยางพาราที่มีขนาดใหญ่ และถูกน้ำท่วมขังไม่เกินระยะเวลา 30 วัน คาดว่าไม่ค่อยมีปัญหาอะไร ยกเว้นสวนริมฝั่งแม่น้ำที่อาจจะมีปัญหา เพราะถูกแช่น้ำอยู่หลายวัน
       
หลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือสวนยางพาราที่ถูกน้ำท่วมนั้น คงต้องดูกันตามสภาพไปว่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ถ้ารุนแรงถึงขั้นต้นยางพาราตาย ก็ต้องรอการปลูกซ่อมใหม่ในฤดูกาลหน้า ซึ่งทาง สกย.จะช่วยตั้งแต่ปลูกจนสามารถกรีดได้ตามหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ แต่ถ้าต้นยางพาราไม่ตาย เพียงแต่มีสภาพย่ำแย่ลง ก็จะช่วยฟื้นฟูจนกว่าสวนจะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ดั้งเดิม
       
ดังนั้น จึงอยากให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งได้รับความเสียหายในทุกกรณีและทุกราย ไม่ว่าปัจจุบันจะได้รับการสงเคราะห์หรือไม่ ขอให้ไปแจ้งเรื่องกับ สกย.จังหวัด หรือ สกย.อำเภอ เพื่อจะได้นำเข้าสู่การพิจารณาของทางรัฐบาลต่อไป
       
ทั้งนี้ สำหรับต้นยางพาราที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี หากได้รับความเสียหาย ต้องปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมในฤดูกาลถัดไป ขณะที่ต้นยางพาราที่มีอายุมากกว่า 1 ปี เกษตรกรต้องช่วยค้ำยันต้นให้มั่นคง และอัดดินโคนให้แน่น ส่วนกิ่งที่ฉีกขาดขอให้ตัดออก แล้วทายาป้องกันเชื้อรา พร้อมทั้งงดกรีดจนกว่าน้ำในดินจะแห้งหมด

       
ที่สำคัญหลังน้ำลดแล้วเกษตรกรอย่ารีบใส่ปุ๋ย ควรรออีกประมาณ 30 วัน เพราะเป็นช่วงที่ต้นยางพารากำลังอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สกย.กำลังเร่งส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจความเสียหาย พร้อมให้คำแนะนำแก่เกษตรกรตามสวนยางพาราในทุกๆ พื้นที่แล้ว



--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนตกถล่มนครศรีฯ ต่อเนื่องทั้งวันทำหลายพื้นที่จมรอบ 2 [ ผู้จัดการออนไลน์ : 9 พ.ย. 53 ]
       
วันนี้ (9 พ.ย.) ผู้สื่อข่าว จ.นครศรีธรรมราช รายงานสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.นครศรีธรรมราช ว่าตลอดทั้งวันได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันตลอดทั้งวัน กระจายไปทั่วทั้ง 23 อำเภอของ จ.นครศรีธรรมราช ทำให้ระดับน้ำในลำคลองต่างๆ ใน จ.นครศรีธรรมราช เริ่มมีระดับสูงขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากระดับน้ำได้เริ่มลดลงไปเมื่อ 2-3วันที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เช่น ชุมชนท่าโพธิ์ ชุมชนบ่อทรัพย์ ชุมชนเตาหม้อ รวมทั้งในหลายพื้นที่เริ่มจะมีน้ำท่วมสูงขึ้นมาอีก ในระดับที่ระดับน้ำในคลองนครน้อย ช่วงเขื่อนนครน้อย
       
ทางด้านเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้เข้าบริหารจัดการน้ำอีกครั้ง เพื่อป้องกันน้ำทะลักในตัวเมืองชั้นใน ขณะเดียวกันในอำเภอรอบนอกปริมาณน้ำในลำคลองสายต่างๆ เริ่มทะลักเข้าท่วมหลายจุด เช่น อ.พระพรหม อ.ร่อนพิบูลย์ เป็นต้น


--------------------------------------------------------------------------------------
ดีเปรสชันถล่มพัด"หมู่บ้านดาโต๊ะ"ราบเป็นหน้ากอง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 พ.ย. 53 ]
       
วันนี้ (8 พ.ย.) ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัด ยังคงเดินทางมาเยี่ยมดูความเสียหายจากเหตุพายุดีเปรสชันพัดถล่มเข้าหมู่บ้านดาโต๊ะ ม.4 ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ยังไม่ขาดสาย พร้อมทั้งนำข้าวของอาหารแห้ง มาแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบความเดือดร้อนจากอุทกภัยในครั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือในฐานะเป็นพี่น้องร่วมประเทศ
       
แม้ทางราชการได้พยายามให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากความเสียหายไม่สามารถที่จะประเมินค่าความเสียหายเป็นมูลค่าเงินได้เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะสภาพจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบคงต้องใช้เวลาอีกนาน การเข้ามาเยี่ยมของพี่น้องประชาชน เพื่อแสดงถึงความห่วงใย ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะสามารถบรรเทาได้ในระดับหนึ่ง
       
นายอัห์มัดซุกรี ต่วนมะเกะ อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 52/10 ม. 4 ต.แหลมโพธิ์ ได้เปิดเผยนาทีระทึกขวัญของพายุดีเปรสชั่น ที่พัดกระหน่ำเข้าหมู่บ้านดาโต๊ะ จนเป็นเหตุให้บ้านเรือนได้รับความเสียหายพังทั้งหลัง จำนวน 28 หลังไปในพริบตา รวมทั้งบ้านของตนเองต้องสูญหายไปกับพายุและน้ำอย่างไม่เหลือร่องรอยของบ้านให้เห็น นับเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดของชีวิต เพราะกว่าจะได้บ้านมาหลังหนึ่งต้องใช้เวลากับการทำงานมาเกือบครึ่งชีวิต
       
ช่วงเวลาประมาณ 18.00 น.ของวันที่ 1 พฤศจิกายน ผมกับนางอามีนะห์ ดอเลาะ อายุ 23 ปี กำลังนั่งพักอยู่ภายในบ้านพร้อมกับ น้องต่วนนูฮารีซา วัย 5 ขวบ และน้องต่วนนูรีซัน วัยเพียง 3 ขวบ ได้เกิดเหตุพายุเข้ามาอย่างแรง จนทำให้บ้านเรือนข้างเคียงล้มพังทั้งหลัง จึงบอกให้ภรรยารีบหนีออกจากบ้านเพื่อไปหาที่ปลอดภัย
       
จากนั้นตนและภรรยาได้รีบนำลูกขึ้นไปหลบในชุมชนที่อยู่สูงกว่า และขออาศัยอยู่ที่บ้านญาติก่อน เพราะไม่กล้าที่จะอยู่ในหมู่บ้านต่อ หลังจากนั้นตนจึงได้ชวนเพื่อนบ้านเพื่อมาเก็บของที่บ้าน ปรากฏว่าบ้านนั้นไม่อยู่แล้วถูกพายุพัดไปกับกระแสน้ำ จึงรีบหนีออกมาเพื่อเอาชีวิตรอด
       
จนกระทั่งเช้าของวันถัดมา หลังจากคลื่นพายุได้สงบลง จึงได้เดินไปดูบ้านอีกครั้ง ต้องตลึง ตกใจกับภาพความเสียหาย ซึ่งมีแต่ซากไม้ระเนระนาดกองเป็นขยะ มีทั้งเศษไม้ เศษข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน และซากเป็ด ไก่ แพะ กระจัดกระจายเต็มทั่วพื้นที่ จนทำให้ขาและเท้าสั่นไปหมด เพราะตกใจกับภาพที่เห็น
       
ด้านนาง แมะแย มูซอ อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 108/3 ม.4 บ้านดาโต๊ะ ได้เล่านาทีพายุกระหน่ำพัดเข้าหมู่บ้านว่า บ้านตัวเองตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งอ่าวปัตตานี เมื่อพายุพัดเข้ามาอย่างแรงจึงสามารถรับรู้ได้ถึงความรุนแรง ช่วงเวลา 16.00 น. ได้เกิดน้ำท่วมหนุนขึ้นสูงข้ามชายฝั่ง นายดอเลาะ(สามี) จึงได้รีบนำเรือประมงที่ผูกไว้กับเสาไม้ริมชายฝั่ง เพื่อนำไปไว้ที่สูงกว่า โดยปล่อยลูกชายวัย 9 ขวบ นั่งรอภายในบ้าน
       
ขณะเดียวกันน้ำทะเลหนุนขึ้นเร็วมาก จนทำให้บ้านในส่วนห้องครัวพังไปซีกหนึ่ง จึงรีบนำสิ่งของจำเป็นบางอย่างออกจากบ้านนำไปไว้ที่บ้านญาติ จากนั้นจึงมารับลูกชายออกจากบ้านเพราะน้ำทะเลเริ่มหนุนขึ้นและเชี่ยวมากขึ้น แต่พอมาถึงบ้านปรากฏว่า ห้องครัวในบ้านพังหมดทั้งหลัง โชคดีที่เพื่อนบ้านได้ช่วยลูกและพาหลบหนีน้ำไปอยู่ที่สูง
       
จากนั้นได้เกิดพายุเข้ากระหน่ำอย่างแรง ซึ่งจำได้เวลาประมาณ 1 ทุ่ม จึงได้รีบออกจากบ้านได้ไม่นานบ้านก็พังทลายลงต่อหน้าต่อตา ทำให้ตัวเองต้องรีบเร่งฝีเท้าหนีน้ำในสภาพที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง และน้ำท่วมเอว ไฟดับมืดสนิท แต่ช่วงที่กำลังหลบหนีน้ำและพายุ ได้เกิดเสียงหัวเราะเยาะเย้ย คล้ายเสียงผู้หญิงกลางทะเล ซึ่งน่ากลัวมาก
       
หลังจากเกิดเหตุเราไม่มีบ้านเหลือให้อยู่เลย ครอบครัวจึงได้อาศัยบ้านญาติที่อยู่ที่สูงกว่าภายในหมู่บ้านเดียวกัน ทุกวันนี้ได้มาดูสภาพร่องรอยของบ้าน ที่เหลือแต่เพียงพื้นทราย และได้หวังอย่างยิ่งว่าจะได้บ้านมาอีกครั้ง เพราะทางส่วนราชการรับที่จะมาช่วยสร้างบ้านให้ จึงทำให้สภาพจิตใจเริ่มดีขึ้นในระดับหนึ่ง
       
นาง แมะแย มูซอ ได้กล่าวอีกว่า แต่ความจริงแล้วเหตุอุทกภัยในครั้งนี้ แม้จะทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก แต่ก็โชคดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต ก็ต้องถือว่าพระเจ้ายังทรงเมตตาพวกเราอยู่ เนื่องจากในพื้นที่ก่อนเกิดเหตุได้มีการมั่วสุมของยาเสพติดเกือบทุกประเภท โดยใช้หมู่บ้านเป็นแหล่งมั่วสุม ไม่เพียงเฉพาะคนในชุมชน แต่ยังมีคนจากชุมชนอื่นก็ต่างมามั่วสุมยาที่นี่ และมีพฤติกรรมลักขโมยข้าวของ แล้วนำมาไว้ในหมู่บ้านเพื่อนำมาสังสรรค์ในช่วงที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์
       
โดยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง เพราะกำลังเจ้าหน้าที่เข้ามาไม่ถึง เพราะบ้านของกลุ่มที่มั่วสุมอยู่ปลายชุมชนติดริมอ่าวปัตตานีซึ่งมีสภาพที่เปลี่ยวมาก เป็นไปได้ที่พระเจ้าลงโทษ เพื่อให้เป็นบทเรียนที่อาจจะทำให้คนเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ จะเห็นได้ว่าเหลือเพียงมัสยิดหลังเดียวที่ไม่ถูกพายุพัด เหมือนกับบ้านเรือนรอบๆ มัสยิดที่พังทั้ง 28 หลัง


--------------------------------------------------------------------------------------
พื้นที่รอบเมืองปัตตานียังคงเผชิญภาวะน้ำยังท่วมขัง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 7 พ.ย. 53 ]
       
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปัตตานี ว่า วันนี้ (7 พ.ย.) หลังจากที่น้ำในแม่น้ำปัตตานีลดระดับลงจากเดิม ส่งผลให้สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดปัตตานีหลายพื้นที่เข้าสู่ภาวะปกติ มีเพียงน้ำท่วมขังบางแห่ง ซึ่งหลายหน่วยงานก็เร่งระบายน้ำแล้ว เช่นเดียวกับเขตเทศบาลเมืองปัตตานีที่มีน้ำท่วมสูงมา 3 วัน บริเวณ ต.จะบังติกอ ปรากฏว่า วันนี้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
       
สำหรับบรรยากาศในเขตเมืองปัตตานี ประชาชนต่างทำความสะอาดบ้านเรือน เจ้าหน้าที่เทศบาลก็เริ่มทำความสะอาดถนนทุกสายและสถานที่ต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 8 พ.ย.นี้ เช่นเดียวกับ ต.รูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี สถานการณ์น้ำท่วมก็เข้าสู่ภาวะปกติแล้วเช่นกัน
       
อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่ที่ยังน่าเป็นห่วงคือ ต.ปะกาฮารัง ต.บาราเฮาะ และ ต.ตะลุโบะ อ.เมืองปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆ ตัวเมืองนั้น ยังมีน้ำท่วมขังและน้ำล้นตลิ่งเข้าไปเติม โดยเฉพาะที่โรงเรียนบ้านปะกาฮารัง ซึ่ง 3 วันก่อนถูกน้ำทะลักเข้าท่วมบนท้องถนน ปรากฏว่าวันนี้น้ำได้ลดลงแล้ว
       
แต่ที่บ้านจางา บ้านยือโมะ ต.ปะกาฮารัง ถึงแม้ว่าระดับน้ำได้ลดลงไปบ้างแล้ว แต่ภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรก็ยังมีระดับสูงกว่า 1 เมตร ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ลุ่มติดแม่น้ำปัตตานี โดยกว่า 500 ครัวเรือนยังต้องประสบปัญหาน้ำท่วมต่อไปอีก แต่หากฝนหยุดตกและน้ำทะเลไม่หนุน เชื่อว่าอีก 2-3 วันน่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ


--------------------------------------------------------------------------------------
ดินถล่มซ้ำในเมืองคอน ชาวบ้านผวาไม่กล้าเข้าใกล้ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 7 พ.ย. 53 ]
       
วันนี้ (7 พ.ย.) ความคืบของสถานการณ์ล่าสุด โดยเฉพาะในเรื่องของโคลนถล่ม ในพื้นที่ปรากฏว่า สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยนครศรีธรรมราช ได้รับแจ้งเหตุดินและโคลนถล่มอีกจุดในพื้นที่ม.8 ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นวงกว้าง แต่ยังไม่ได้รับรายงานผู้สูญหายเสียชีวิตหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินแต่อย่างใด ในขณะที่ฝนยังคงตกหนักอย่างต่อเนื่อง
       
นายยงยุทธ กระจ่างโลก กำนันตำบลกำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าขณะนี้รับแจ้งแล้วแต่จุดที่เกิดเหตุนั้นโชคดีที่เป็นพื้นที่ป่าเขา ซึ่งอยู่ใกล้กับธารน้ำท่าหา ต.กำโลน ขณะนี้ยังไม่มีใครเข้าไปใกล้ได้เนื่องจากมีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา ส่วนดินที่ถล่มลงมานั้นได้ลงไปอยู่ในธารคลองท่าหา อย่างไรก็ตามพื้นที่ละแวกนั้นเป็นสวนของชาวบ้านที่ไม่มีคนอาศัย และเป็นพื้นที่ป่าสงวนติดต่อกันคาดว่าผ่านพ้นคืนนี้ไปก่อนจึงจะมีการตรวจสอบอีกครั้ง ส่วนพื้นที่จุดเสี่ยงดอื่นๆนั้นชาวบ้านต่างช่วยกันเฝ้าระวันอยู่ตลอดเวลา
       
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากจมน้ำอีก 1 รายสอบสวนทราบผู้จมน้ำสูญหายไปชื่อ นายแดง จัตุรัส อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 83 ม.4 ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช สอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ก่อนเกิดเหตุขณะที่ นายแดง ออกจากบ้านเดินฝ่ากระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากบริเวณริมทางรถไฟเพื่อจะไปหาซื้อของกินที่ในตัวตลาดทานพอ ปรากฏว่านายแดงได้ถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากพัดร่างจมหายไปกับกระแสน้ำ ญาติ และชาวบ้านได้ลงงมค้นหาอยู่นานตลอดทั้งวันก็ยังไม่พบร่างนายแดง


--------------------------------------------------------------------------------------
ปัตตานีน้ำเพิ่มสูงพบศพเอีก 1 ที่บ้านแหลมโพธิ์ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 5 พ.ย. 53 ]
       
วันนี้ (5 พ.ย.) สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.ปัตตานี ล่าสุดขณะนี้น้ำจากจังหวัดยะลาไหลลงสู่แม่น้ำปัตตานี ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานี เพิ่มสูงขึ้น เข้าท่วมบนถนน ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี และพื้นที่ ต.ตะลุโบ๊ะ ต.ปะกาฮะรัง อ.เมือง ต.ดอนรัก อ.หนองจิก มีระดับสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบผู้เสียชีวิต เป็นลูกเรือประมง (ต่างด้าว) กระแสน้ำพัดพาเข้าชายฝั่งบ้านแหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง อีก 1 ราย
       
สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ทางจังหวัดปัตตานี ได้เร่งให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทั้ง 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ บ้านแหลมนก บ้านบาราเฮาะ บ้านปะกาฮะรัง อ.เมืองปัตตานี บ้านแหลมโพธิ์ บ้านดาโต๊ะ บ้านตะโล๊ะกาโปร์ อ.ยะหริ่ง และบ้านตันหยงเปาว์ บ้านท่ากำชำ บางตาวา อ.หนองจิก ซึ่งเป็นพื้นที่ ติดทะเล พื้นที่เสียหายครอบคลุมใน 100 ตำบล 409 หมู่บ้าน 95,305 คน 23,694 ครอบครัว สำหรับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนัก ในเขต อ.เมือง หนองจิก ยะหริ่ง และสายบุรี บ้านเรือเสียหาย ทั้งหลัง 133 หลัง บางส่วน 4,917 หลัง อพยพประชาชนไปจุดปลอดภัย จำนวน 974 คน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย นาข้าว 47,530 ไร่ ปศุสัตว์ 35,805 ตัว สิ่งสาธารณประโยชน์ เช่น ถนน 182 สาย โรงเรียน 20แห่ง วัด/มัสยิด 18 แห่ง สถานที่ราชการ 21 แห่ง และบ่อน้ำ 1,649 บ่อ ซึ่งขณะนี้ กำลังสำรวจความเสียหาย เพื่อทำการซ่อมแซม และให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
       
ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า พี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หลังจาก ได้รับถุงยังชีพพระราชทาน ที่นำไปมอบให้ในพื้นที่ ต.ตันหยงเปาว์ อ.หนองจิก บ้านดาโต๊ะบ้านแหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี สำหรับการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น จังหวัดปัตตานี ได้นำถุงยังชีพ อาหารกล่องพร้อมน้ำดื่ม ไปมอบให้ผู้ประสบอุทกภัย เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนก่อนลำดับแรก อย่างไรก็ตาม ได้สำรองน้ำดื่ม 1,000 โหล เครื่องอุปโภค 2,000 ชุด และกระสอบทราย 1,000 ถุง
       
ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า จังหวัดปัตตานีขอ เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ได้ที่ บัญชีออมทรัพย์ “กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ธนาคารกรุงไทย สาขาปัตตานี เลขที่บัญชี 907-0-527480


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมสงขลาทำไร่-นา เสียหายเฉียดพันล้าน-เฝ้าระวัง 3 อำเภอรอบทะเลสาบ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 5 พ.ย. 53 ]
       
วันนี้ (5 พ.ย.) ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้มีประกาศเตือนว่า มรสุมตะวันออกเฉียงหนือกำลังค่อนข้างแรง พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย และมีร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องฝนพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ซึ่งจะทำให้จังหวัดสงขลา มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ประกอบกับมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ก่อนหน้านี้ จึงขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในระยะ 1-2 วันนี้
       
สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ขณะนี้สถานการณ์เกือบทุกพื้นที่ได้คลี่คลายลง ยกเว้นพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลา เช่น อำเภอบางกล่ำ ที่ยังคงต้องรองรับน้ำจากพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอรอบทะเลสาบสงขลา เช่น อ.สิงหนคร อ.สทิงพระ อ.กระแสสินธุ์ ที่กำลังจะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำที่ไหลลงมารวมกันในทะเลสาบสงขลา ประกอบกับมีน้ำทะเลหนุน จะต้องเฝ้าระวังน้ำที่จะเข้าท่วมพื้นที่รอบทะเลสาบ
       
โดยเมื่อค่ำวานนี้ (4 พ.ย.) นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมหารือ เพื่อสรุปสถานการณ์และรายงานผลการดำเนินงานตลอดจนปัญหาอุปสรรค พบว่า มียอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์อย่างไม่เป็นทางการ จากทุกอำเภอ รวมทั้งสิ้น 30 คน จากสาเหตุจมน้ำ ดินถล่มทับบ้านเรือน กระแสไฟฟ้าช็อต และตกใจช็อก มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 82 คน
       
ความต้องการเร่งด่วนขณะนี้ คือ ด้านไฟฟ้า และประปา ซึ่งการไฟฟ้าได้ทยอยจ่ายไฟเกือบทุกพื้นที่แล้ว ยกเว้นบางจุดที่จำเป็นจะต้องฟื้นฟูเสา-สายไฟ ที่ได้รับความเสียหายจากลมพายุพัดแรง ต้นไม้โค่นล้มทับก่อน จึงจะจ่ายกระแสไฟได้ ด้านน้ำประปาขณะนี้หลายพื้นที่ยังไม่มีน้ำใช้ เนื่องจากมอเตอร์เครื่องส่งน้ำขนาดใหญ่ของการประปาอยู่ในสภาพชำรุด จะต้องซ่อมแซมก่อน เพราะหากฝืนเดินเครื่องทำงาน จะเสี่ยงต่อการระเบิดของมอเตอร์ และจะต้องใช้เวลาในการรออะไหล่มาซ่อมแซมนาน 2-3 เดือน จึงจำเป็นจะต้องระงับการจ่ายน้ำไว้ก่อนในขณะนี้
       
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ ทั้ง 3 อ่าง ของจังหวัดสงขลา เต็มทุกอ่าง ทางชลประทานจำเป็นจะต้องพร่องน้ำทั้ง 3 อ่างเพื่อรองรับน้ำใหม่ที่กำลังจะมา แต่จะเป็นการพร่องน้ำทีละน้อย เพื่อไม่ให้ประชาชนท้ายอ่างได้รับผลกระทบมากนัก ความเสียหายของถนน ปรากฏว่าได้รับความเสียหายเกือบทุกเส้นทาง ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งซ่อมแซม ตัดต้นไม้ที่ล้มทำขวางทาง จนขณะนี้สามารถใช้เส้นทางได้ทุกเส้นทางแล้ว ด้านการประมง และปศุสัตว์ ปรากฏว่า เรือประมงขนาดใหญ่ได้รับความเสียหายและจมลง 14 ลำ ซึ่งกำลังรอการกู้ และยังมีเรือประมงขนาดเล็ก อีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถรวบรวมข้อมูล และประเมินความเสียหายได้
       
พื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 140,000 ไร่ ประเมินเป็นตัวเงินนาข้าว 902 ล้านบาท และสวนยางพารา 361 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ยังไม่มีตัวเลขจำนวนปศุสัตว์ที่ได้รับคามเสียหาย แต่ปัญหาเฉพาะหน้าคือการขาดแคลนหญ้าแห้ง และหญ้าสด จำเป็นจะต้องซื้ออาหารข้นเพิ่มเติมให้กับสัตว์ เช่น วัว และแพะ
       
ด้านสาธารณสุข ความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายลง คงเหลือการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยหลังน้ำลด ซึ่งขณะนี้หน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกที่จะไปโรงพยาบาลโดยจัดทีมแพทย์จากจังหวัดต่างๆ เข้ามาร่วมด้วย
       
นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานระดมความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ที่ความช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากพายุดีเปรสชัน ได้แก่ อ.สิงหนคร สทิงพระ กระแสสินธุ์ ระโนด เพราะพื้นที่ดังกล่าวประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากบ้านพัง ไร่นาได้รับความเสียหายอย่างหนัก สิ่งที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือขณะนี้คือวัสดุ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา วัสดุทำฝาบ้าน เพราะหากล่าช้า ฝนที่จะตกลงมาใหม่ จะทำให้ประชาชนในพื้นที่เหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนยิ่งขึ้น


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมเมืองคอนยังวิกฤตหนัก - เตือนซ้ำสถานการณ์น่าหวง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 5 พ.ย. 53 ]
       
ที่ จ.นครศรีธรรมราช ความคืบหน้าในสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ล่าสุดเมื่อ 5 พ.ย.53 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภาพรวมประชาชนยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากฝนยังคงตกในหลายพื้นที่สภาพอากาศมืดครึ้ม มีหมอกลงในหลายพื้นที่โดยเฉพาะใกล้กับป่าเขา และเมื่อเวลา 10.00 น.ของวันเดียวกัน นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เรียกประชุมด่วนเพื่อสรุปสถานการณ์อุกทกภัยและดินถล่มในจังหวัด โดยมีนายวิทยา แก้วภราดัย สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ นำทีมสส.นครศรีธรรมราช ประกอบด้วยนายประกอบ รัตนพันธ์ นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ดร.อภิชาต การิกาญจน์ น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธ์ เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ
       
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้สรุปถึงความเสียหายล่าสุดที่มีการรายงานอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วจำนวน 6 ราย ประชาชน 147, คนจาก 38,310 ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อน มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว 22 อำเภอ 149 ตำบล 949 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 23 อำเภอซึ่งคาดว่าจะประกาศครบในวันนี้เนื่องจากน้ำจากจังหวัดชั้นในได้ไหลเพิ่มระดับสูงขึ้นในลุ่มน้ำปากพนัง พื้นที่การเกษตรเสียหายไปแล้ว 77,574 ไร่ บ้านเสียหายบางส่วน 597 หลัง พังเสียหายทั้งหมด 5 หลัง ซึ่งมีการสำรวจเพิ่มเติมคาดว่าจะมีความเสียเพิ่มขึ้นกว่านี้จำนวนมาก ปศุสัตว์เสียหายไปแล้ว 3,677 ตัว ถนน 587 สาย สะพาน 29 แห่ง มีการจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคไปแล้วจำนวนมากจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์และหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนต่างๆบรรเทาความเดือดร้อนไปได้มาก
       
ขณะที่นายวิทยา แก้วภราดัย สส.นครศรีธรรมราช กล่าวว่าความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นนั้นประชาชนจะจับตามองฝ่ายข้าราชการประจำและนักการเมืองในการช่วยเหลือจะมีเสียงตำหนิตามมาเป็นธรรมดา แต่อย่างไรก็ตามนครศรีธรรมราชมีประสบการครั้งใหญ่คือที่ ต.กะทูน อ.พิปูน มาครั้งนี้ขอให้มีการเรียกข้าราชการในครั้งนั้นมาช่วย ขณะที่ผู้เสียชีวิตนั้นขอให้เร่งช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์รายละ 1 แสนบาทอย่างเร่งด่วน รวมทั้งบ้านเรือนราษฎรที่เสียให้เป็นไปตามระบบรัฐบาลชดเชยคือ 5,000 บาทตามลำดับ
       
        พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังจ่ออ่วม
       
        ส่วนสถานการณ์ของการระบายน้ำนั้นล่าสุดในเขตตัวเมืองนครศรีธรรมราช น้ำได้ระบายไปตามคลองสายหลักต่างๆส่งผลให้ระดับน้ำใน อ.เมืองเกือบทุกพื้นที่เข้าสู่ภาวะปกติ แต่อย่างไรก็ตามน้ำในตัวจังหวัดชั้นในโดยเฉพาะฝั่งตะวันออกของเทือกเขาหลวง คือ อ.เมือง อ.ร่อนพิบูลย์ อ.ลานสกา อ.จุฬาภรณ์ น้ำจากอำเภอเหล่านี้กำลังถ่ายเทไปเพิ่มระดับขึ้นในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังคือ อ.ปากพนัง อ.เมืองบางส่วน อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.หัวไทร และ อ.เชียรใหญ่ ทำให้ไหลเอ่อเข้าท่วมหลายพื้นที่ตามลำดับโดยทางกรมชลประทานได้เร่งบริหารจัดการน้ำผ่านประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์ในพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างเร่งด่วน
       
        ดินถล่มขนอมจ่อถล่มซ้ำอีก 2 จุด
        ผญบ.ยันไม่เคยเห็นในชีวิตชาวขนอม
       
        ส่วนในพื้นที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช หลังจากเกิดเหตุการณ์ดินโคลนถล่มลงจากเขาพลายดำวานนี้ ความช่วยเหลือได้หลังไหลเข้าสู่พื้นที่ไม่ขาดสาย สภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างระยะทางที่โคลนถล่มลงมานั้นมีความยาวราว 6-7 กิโลเมตร สวนยางพังราบเป็นหน้ากลองมีเพียงหินขนาดใหญ่น้อยที่ไหลลงมาพร้อมกับโคลนในพื้นที่บริเวณกว้างนับร้อยไร่ มีเศษซากของกงสีสวนยางพาราปะปนมาเป็นจำนวนมากในขณะที่ฝนยังคงตกอย่างต่อเนื่อง
       
        นายสุนทร ขนอม ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ต.ควนทอง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าเหตุการณ์นี้ชั่วชีวิตของคนขนอมไม่เคยเห็นไม่เคยมี ขนอมไม่เคยมีน้ำท่วมดินถล่มมาครั้งนี้ได้เห็น ครตั้งแรกของขนอมก็ว่าได้ช่วงเกิดเหตุเสียงดังครืนครามต่อเนื่องเสียงหินโคลนถล่มลงมาพร้อมกันดังสนั่นสวนยางพังราบไปทั้งหมดหายไปราวกับถูกกวาดด้วยพลังมหาศาล
       
        “ผมเชื่อว่าสาเหตุสำคัญคือการอุ้มน้ำอย่างต่อเนื่องจากฝนที่ตกลงมาหนักมากเป็นเวลาหลายวันติดต่อกันทำให้ภูเขาอุ้มน้ำไว้ไม่ไหวตอนนี้ไม่ห่างจากจุดเดิมมากนักพบธารน้ำใหม่อีก 2 สายซึ่งกำลังหวั่นเกรงว่าจะถล่มลงมาอีกรอบชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่กล้าเข้าใกล้จุดนั้น”


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมสุราษฎร์ฯ เสียชีวิตแล้ว 1 ราย กว่า 2.7 หมื่นครัวเรือน เดือดร้อนหนัา [ ผู้จัดการออนไลน์ : 4 พ.ย. 53 ]
       
นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากความเสียหายสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ที่เกิดขึ้น ได้มอบหมายให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งเจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นการเร่งด่วนแล้ว
       
ส่วนพื้นที่ได้รับความเสียหายได้แก่ อำเภอพนม จำนวน 3 ตำบล 19 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 495 ครัวเรือน 1,900 คน อำเภอเคียนซา จำนวน 2 ตำบล 15 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 460 ครัวเรือน 2,100 คน ความเสียหาย ถนนชำรุด 1 สาย คอสะพานหมู่ที่ 13 ชำรุด 1 แห่ง บ่อปลาเสียหาย จำนวน 1 บ่อ (มูลค่าความเสียประมาณ 20,560 บาท) อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 ตำบล 12 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 20 ชุมชน 1,000 ครัวเรือน 5,000 คน
       
        อำเภอพุนพิน จำนวน 9 ตำบล 23 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 170 ครัวเรือน 1,044 คน ความเสียหาย พืชสวนเสียหาย จำนวน 1,600 ไร่ บ่อปลาเสียหาย จำนวน 16 บ่อ (มูลค่าความเสียหายประมาณ 1,200,000 บาท) ถนนชำรุด 6 สาย (มูลค่าความเสียหาย2,900,000 บาท) อำเภอวิภาวดี จำนวน 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 360 ครัวเรือน 1,800 คน ถนนชำรุด 5 สาย
       
        อำเภอเวียงสระ จำนวน 5 ตำบล 19 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 360 ครัวเรือน 1,800 คน ถนนชำรุด 1 สาย พืชสวนเสียหาย จำนวน 1,200 ไร่ อำเภอพระแสง จำนวน 3 ตำบล 13 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 600 ครัวเรือน 1,200 คน ถนนชำรุด 2 สาย มูลค่าความเสียหาย เบื้องต้นประมาณ 800,000 บาท
       
        อำเภอท่าฉาง จำนวน 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน อำเภอดอนสักจำนวน 4 ตำบล 33 หมู่บ้าน อำเภอคีรีรัฐนิคม จำนวน 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 140 ครัวเรือน 470 คน สะพานชำรุด 1 แห่ง /คอสะพาน 1 แห่ง มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น ประมาณ 2,000,000 บาท
       
        อำเภอกาญจนดิษฐ์ จำนวน 13 ตำบล 117 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 6,548 ครัวเรือน 20,132 คน อำเภอท่าชนะจำนวน 6 ตำบล 81 หมู่บ้าน อำเภอไชยา จำนวน 9 ตำบล 54 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 17,235 ครัวเรือน 48,800 คน ความเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ชื่อนางเอียด เพชรชื่น อายุ 94 ปี บ้านเลขที่ 23 หมูที่ 4 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านพักอาศัยเสียหายทั้งหลัง จำนวน 1 หลัง มูลค่าความเสียหายประมาณ 300,000 บาท พืชไร่ 50 ไร่
       
        พืชสวน(ยางพารา) เสียหาย 100 ไร่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 500,000 บาท โค/กระบือ จำนวน 7 ตัว บ่อปลา 1 บ่อ มูลค่าความเสียหายประมาณ 500,000 บาท ถนนชำรุด 30 สาย สะพานไม้เสียหาย 5 แห่ง/คอสะพาน 5 แห่ง/ฝาย 2 แห่ง/ท่อลอดกลม 20 แห่ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 10,000,000 บาท
       
        อำเภอบ้านนาเดิม จำนวน 2 ตำบล 11 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 200 ครัวเรือน 900 คน อำเภอเกาะสมุยจำนวน 7 ตำบล 38 หมู่บ้าน อำเภอบ้านนาสาร จำนวน 7 ตำบล 27 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 78 ครัวเรือน 297 คน
       
        สำหรับการช่วยเหลือและฟื้นฟู ส่วนราชการและภาคเอกชนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนด้วยการนำสิ่งของอุปโภค บริโภค ไปแจกจ่าย พร้อมนำเครื่องจักรลงพื้นที่เพื่อซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม และอาคารบ้านเรือนของผู้ประสบอุทกภัย


--------------------------------------------------------------------------------------
ตรังฝนตกซ้ำหลายพื้นที่เตรียมรับมือน้ำทะลัก [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 พ.ย. 53 ]
      
เมื่อเวลา 16.30 น. วันนี้ (3 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดตรัง รายงานถึงสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดในพื้นที่ว่า หลังจากที่ฝนได้หยุดตกลงไปนานประมาณ 1 วัน และมีระดับน้ำโดยภาพรวมลดลงบ้างเล็กน้อย จนทำให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนรู้สึกดีขึ้น และคลายความวิตกกังวลไปในระดับหนึ่ง
       
ปรากฏว่า ได้เกิดฝนตกหนักขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเทศบาลนครตรัง อำเภอเมือง และพื้นที่เขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง ที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมอยู่ในช่วงขณะนี้ ซึ่งหลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง แม้ฝนจะหยุดตกลงไป แต่บนท้องฟ้าก็ยังมีเมฆมืดครึ้มไปทั่วบริเวณ ทำให้สถานการณ์ต่างๆ กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง ประกอบกับมีกระแสข่าวน้ำทางด้านทิศเหนือ ที่จะเอ่อล้นจากจังหวัดนครศรีธรรมราช สู่แม่น้ำตรัง ลงสู่พื้นที่จังหวัดตรัง ทางด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก เพื่อไหลไปออกยังทะเลอันดามัน
       
 ทั้งนี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตรัง และคลองสาขาต่างๆ ทั้งในอำเภอเมือง เช่น ตำบลทับเที่ยง ตำบลโคกหล่อ ตำบลควนปริง ตำบลบางรัก ตำบลนาตาล่วง ตำบลหนองตรุด อำเภอห้วยยอด เช่น ตำบลลำภูรา และอำเภอกันตัง เช่น ตำบลบางหมาก ตำบลควนธานี ตำบลโคกยาง ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม หรือประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ต้องอพยพข้าวของขึ้นมาไว้ยังบริเวณที่สูงเพื่อป้องกันเหตุ ในขณะที่หน่วยงานราชการ เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และตำรวจภูธร ต้องระดมกำลังจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ไว้เพราะคาดการณ์ว่าน้ำที่ไหลเข้าท่วมอย่างหนังในพื้นที่จังหวัดตรัง ฝั่งทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก ก่อนหน้านี้จะไหลทะลักเข้าสู่พื้นที่ด้านล่างออกออกสู่ทะเลอันดามัน ในวันที่ 4-5 พฤศจิกายนนี้



--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมนราฯทรงตัวกว่า 100 โรงเรียนปิดไม่มีกำหนด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 พ.ย. 53 ]
      
ความคืบหน้าเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมจากพื้นที่ จ.นราธิวาส ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดบรรยากาศโดยทั่วไปบนท้องฟ้าเริ่มแจ่มใส หลังจากที่ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องในพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ ส่งผลทำให้ปริมาณระดับน้ำท่วมขังบ้านเรือนของราษฎรและพื้นที่ทางการเกษตรยังคงมีระดับน้ำท่วมขังที่ทรงตัว โดยมีระดับน้ำท่วมสูงโดยเฉลี่ย 60-150 ซ.ม.
       
พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังสูงอยู่บริเวณชุมชนหัวสะพาน เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ซึ่งได้รับผลกระทบจากระดับน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลกที่ล้นตลิ่ง จากการไหลทะลักของน้ำป่าบนเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ อ.สุคิริน ทำให้ชาวบ้านโดยภาพรวมที่ประสบอุทกภัยต้องหันมาใช้เรือเป็นพาหนะ เพื่อเดินทางไปสู่โลกภายนอก
       
นอกจากนี้แล้ว จากสภาวะน้ำท่วมยังส่งผลทำให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา จ.นราธิวาสทั้ง 3 เขต ต้องประกาศปิดการเรียนการสอนเป็นการเพิ่มเติมจากวานนี้รวมแล้วทั้งสิ้นกว่า 100 โรง อันด้วยเหตุผลจาก 2 ประการคือ 1,สถานศึกษาถูกน้ำท่วมขัง 2.บ้านเรือนของนักเรียนและถนนถูกน้ำท่วมขัง จึงไม่สามารถที่จะเดินทางมาเรียนหนังสือได้สะดวก และต้องช่วยเหลือผู้ปกครองในการขนย้ายข้าวของหนีระดับน้ำท่วม
       
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สภาวะน้ำท่วมขังยังขยายผลไปสู่อุบัติเหตุบนท้องถนนไม่เว้นแต่ละวัน อันด้วยมาจากชาวบ้านได้อพยพสัตว์เลี้ยง จำพวกวัว ควาย แพะและแกะ ไปเลี้ยงไว้ตามไหล่ทาง จนชาวบ้านที่ใช้ยานพาหนะสัญจรไปมาบนท้องถนน โดยเฉพาะในเวลาค่ำคืนที่ทัศนะวิสัยการมองเห็นไม่ค่อยชัดเจนนักจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บไปเป็นจำนวนมาก
       
อนึ่งสำหรับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ยังขยายผลสู่สภาพคล่องด้านเศรษฐกิจและด้านการสื่อสารในพื้นที่ จ.นราธิวาสครั้งนี้ด้วย โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือระบบต่างๆเกิดขัดข้องใช้การได้เป็นช่วงๆ และในบางพื้นที่เท่านั้น แถมตู้ เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารต่างๆก็ใช้การไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนมาเป็นเวลานานกว่า 2 วันแล้ว


--------------------------------------------------------------------------------------
ชุมพรน้ำท่วมหนักทั้ง 8 อำเภอตายแล้ว 2 ศพ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 พ.ย. 53 ]
       
วันนี้ (3 พ.ย. 53) จังหวัดชุมพร หลังจากที่ได้เกิดฝนตกหนักลงมาตลอดทั้งคืนทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมเรือกสวนไร่นาและบ้านเรือนราษฎร โดยล่าสุดเกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าน้ำท่วม อ.เมือง อ.ท่าแซะ อ.ปะทิว อ.สวี อ.ทุ่งตะโก อ.หลังสวน อ.พะโต๊ะ และ อ.ละแม รวม 6 อำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่ 2 อำเภอที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้คือ อ.ละแม มีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 4 ตำบล 47 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 10,413 ครัวเรือน ถนนถูกกระแสน้ำกัดเซาะพังเสียหาย 233 สาย สะพานชำรุด 4 แห่ง และอำเภอพะโต๊ะ มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 30 ครัวเรือน
       
สำหรับถนนเพชรเกษม หมายเลข 4 จาก อ.หลังสวน จ.ชุมพร ไปยัง จ.ระนอง ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมถนนบริเวณหลัก กม.ที่ 29 และ หลัก กม. 32 พื้นที่ ต.พะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ และ บริเวณหลัก กม.39 ต.พระรักษ์ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ระดับน้ำสูงกว่า 80 ซม. รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านไปมาได้ ซึ่งทางแขวงการทางระนองและชุมพร ได้นำป้ายมาปิดกั้นห้ามผ่าน โดยให้เลี่ยงไปใช้ถนนเส้นอื่น ทำให้ราษฎรในเขตอำเภอพะโต๊ะ ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปโดยสิ้นเชิง
       
นอกจากนี้จากการตรวจสอบสภาพเส้นทางสายหลักบนถนนสายเอเชีย 41 จากสี่แยกปฐมพร เขต ต.วังไผ่ อ.เมืองชุพร ช่วงล่องใต้พบว่าถนนบางช่วงจะมีน้ำท่วมไหล่ทางและมีแนวโน้มว่าระดับน้ำจะสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บางช่วงรถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ จึง
       
ในขณะที่ นายพินิจ เจริญพานิช ผวจ.ชุมพร ได้สั่งการให้นายอำเภอทั้ง 8 อำเภอ พร้อมด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ หน่วยกู้ภัย พร้อมเรือท้องแบนเข้าไปอพยพราษฎรและสิ่งของที่จำเป็นอกมาพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะบ้านเรือนริมคลอง พื้นที่เชิงเขา เพราะหวั่นจะถูกกระแสน้ำซัดและดินถล่มให้มาอยู่ในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับรายงานให้จังหวัดทราบเป็นระยะ และขอให้ดำเนินการตามแผนป้องกันอุทกภัยที่มีการซักซ้อมไว้แล้ว
       
ด้านนายขันชัย เจริญจิต นายสถานีรถไฟชุมพร กล่าวว่าทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศหยุดเดินรถสายใต้ที่สถานีรถไฟชุมพร ไม่สามารถผ่านไปทางภาคใต้ได้ เนื่องจาก มีน้ำท่วมรางรถไฟในระดับสูง ระหว่างสถานีรถไฟละแม จ.ชุมพร ถึงสถานีรถไฟท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ผู้โดยสารที่จองตั๋วไว้แล้วสามารถคืนตั๋วเต็มราคาได้ที่สถานีรถไฟทุกแห่ง ส่วนผู้โดยสารที่จะเดินทางจากจังหวัดชุมพรขึ้นกรุงเทพฯยังคงเดินทางได้ตามปกติ
       
ด้านนายแพทย์ นฤมิตร เกียรติกำจร ผอ.รพ.หลังสวน เปิดเผยว่า จากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักน้ำได้ไหลเข้าท่วมบริเวณรอบๆ โรงพยาบาลหลังสวน ระดับน้ำสูงประมาณ 60 ซม. ทำให้การเดินทางเข้าออกเป็นไปด้วยความยากลำบาก รถเล็กๆไม่สามารถเข้าออกได้ แต่ห้องผู้ป่วยทั่วไปยังปลอดภัยไม่ต้องอพยพ ส่วนผู้ป่วยหนักได้พักอยู่ชั้น 2 อย่างไรก็ตามตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ขนเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ไปไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว
       
นอกจากนั้น ที่โรงพยาบาลหลังสวนมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ศพ โดยศพแรก นางสุลัดดา บ่วงลาบ อายุ 53 ปี อาชีพค้าขาย อยู่บ้านเลขที่ 59 หมุ่ 2 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร เปิดเผยว่า เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมาญาติตนชื่อ นางเอี๋ยม สมเรือง อายุ 85 ปี เสียชีวิตนั่งดูข่าวสถานการณ์น้ำท่วมใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เนื่องจากเป็นห่วงลูกสาว ที่ทำงานเป็นวิศวกรอยู่ในพื นที่น้ำท่วม และไม่สามารถติดต่อได้เป็นเวลา 2 วัน จึงเกิดอาการเครียดล้มลงหัวฟาดพื้นญาติได้นำตัวส่งโรงพยาบาลหลังสวน แต่แพทย์ไม่สามารถยื้อไว้ได้และเสียชีวิตในเวลาต่อมา และอีกรายเป็นศพของ ด.ช.มะ อายุ 4 ขวบ ชาวพม่าถูกนำส่งโรงพยาบาลหลังสวนในสภาพหมดสติ เนืองจากถูกกระแสน้ำป่าพัดจมในสวนปาล์ม หมู่ 8 ต.พระรักษ์ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ชาวบ้านช่วยกันค้นหาและนำส่งโรงพยาบาลและเสียชิวิตระหว่างทาง


--------------------------------------------------------------------------------------
สตูลวิกฤต! น้ำป่าทะลักเข้าสู่ย่านเศรษฐกิจในเมือง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 พ.ย. 53 ]
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (3 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสตูล ขณะนี้น้ำเริ่มไหลลงจากพื้นที่สูงลงมา 2 ทาง คือ พื้นที่ อ.ละงู และ อ.เมือง โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจ และบางพื้นที่มีน้ำขังเส้นทางส่งผลให้การจราจรติดขัดเป็นช่วงโดยเฉพาะเส้นทางเข้าเมือง
       
ด้านนายวินัย ครุวรรณพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่าการให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างเรียบร้อยไปตามแผน โดยส่วนท้องถิ่น อบต. อบจ. กำลังทหารหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 ทหารชุดเฉพาะกิจ ร้อย ร.5 ส่วนหน้า ได้เข้าช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พร้อมกล่าวฝากถึงพ่อแม่ ผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลาน อย่าให้ลงเล่นน้ำท่วมเพียงลำพัง เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต และหากอยู่หากน้ำเข้าท่วมบ้านเรือนก็ให้ดูแลความปลอดภัยของชีวิตเป็นอันดับแรก
       
ล่าสุดนายวินัย ครุวรรณพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมนายอุสมาน สะยะมิง ปศุสัตว์จังหวัดสตูล ปล่อยคาราวานรถขนหญ้าและเวชภัณฑ์ช่วยเหลือเกษตรกร ที่ประสบภาวะน้ำท่วมขัง เป็นหญ้าแห้งจำนวน จำนวน 400 ก้อน ยาและเวชภัณฑ์ เข้าแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในพื้นที่อ.มะนัง และอ.เมือง หลังน้ำท่วมกระจายวงกว้างในพื้นที่ 7 อำเภอของจังหวัดสตูล ส่งผลกระทบต่อสัตว์เศรษฐกิจอย่างวัว หมู และสัตว์ปีกมากกว่า 3 แสนตัว และต้องเข้าช่วยเหลือเร่งด่วนกว่า 1 แสนตัว
       
สำหรับความเสียอยู่ที่ 30 ตำบล 1 ชุมชน 239 หมู่บ้าน 35,626 ครัวเรือน 141,657 คน เสียชีวิต 1 คน เป็นข้อมูลล่าสุดจาก ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันอุทกภัย วาตภัย โคลงถล่ม จังหวัดสตูล โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลเป็นประธาน




--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/
  • โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th