บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ( 19-25 พ.ย. 56 )
ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ
19/11/2556[10GMT] |
20/11/2556[08GMT] |
21/11/2556[11GMT] |
22/11/2556[08GMT] |
23/11/2556[10GMT] |
24/11/2556[11GMT] |
25/11/2556[11GMT] |
19/11/2556 |
20/11/2556 |
21/11/2556 |
22/11/2556 |
23/11/2556 |
24/11/2556 |
25/11/2556 |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php
หยอ่มความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ได้เคลื่อนตัวเข้าปกคุลมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียในวันที่ 20 พ.ย. 56 และได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยในวันเดียวกัน ต่อจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทาง
ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและทะเลอันดามันในคืนวันที่ 21 พ.ย. 56 ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักอย่างต่้อเนื่องในบริเวณภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 56 ถึงวันที่ 23 พ.ย. 56
แผนที่ความกดอากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
19/11/2556 [07:00] |
19/11/2556 [19:00] |
20/11/2556 [07:00] |
20/11/2556 [19:00] |
21/11/2556 [07:00] |
21/11/2556 [19:00] |
22/11/2556 [07:00] |
22/11/2556 [19:00] |
23/11/2556 [07:00] |
23/11/2556 [19:00] |
24/11/2556 [07:00] |
24/11/2556 [19:00] |
25/11/2556 [07:00] |
25/11/2556 [19:00] |
จากภาพแผนที่ความกดอากาศระดับความสูง 1.5 กม. จากระดับน้ำทะเล พบว่าบริเวณความกดอากาศต่ำส่ิงอิทธิพลกับภาคใต้ตอนล่างของไทยตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 56 และทวีความรุนแรงขึ้นและเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. 56 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกผ่านภาคใต้ฝั่งตะวันตกลงสู่ทะเลอันดามันในวันที่ 23 พ.ย. 56 และได้ทวีกำลังเป็นพายุดีเปรสชันในเวลาต่อมา จากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน “เลฮาร์” (LEHAR) และเคลื่อนตัวไปประเทศอินเดีย
แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
19/11/2556 [07:00] |
19/11/2556 [19:00] |
20/11/2556 [07:00] |
20/11/2556 [19:00] |
21/11/2556 [07:00] |
21/11/2556 [19:00] |
22/11/2556 [07:00] |
22/11/2556 [19:00] |
23/11/2556 [07:00] |
23/11/2556 [19:00] |
24/11/2556 [07:00] |
24/11/2556 [19:00] |
25/11/2556 [07:00] |
25/11/2556 [19:00] |
จากแผนภาพแสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล พบว่าอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ที่เคลื่อนผ่านประเทศไทยใ่่นช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. 56 ส่งผลให้เกิดลมแรงเป็นบริเวณกว้างบริเวณภาคใต้
โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์ชุมพร รัศมี 240 กิโลเมตร | ||||||
19/11/2556 [08:38] |
20/11/2556 [09:38] |
21/11/2556 [21:38] |
22/11/2556 [20:38] |
23/11/2556 [17:38] |
24/11/2556 [03:38] |
25/11/2556 [09:38] |
เรดาร์สงขลา รัศมี 240 กิโลเมตร | ||||||
19/11/2556 [19:03] |
20/11/2556 [03:03] |
21/11/2556 [15:03] |
22/11/2556 [05:03] |
23/11/2556 [17:03] |
24/11/2556 [01:03] |
25/11/2556 [10:03] |
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์ชุมพร : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_cmpradar.php
เรดาร์สงขลา : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_skaradar.php
จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์ชุมพรและเรดาร์สงขลา พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนที่เกิดจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ตั้งแต่วันที่ 19-24 พ.ย. 56 โดยเริ่มกระจุกตัวกันมากบริเวณด้านตะวันออกของภาคใต้ตอนล่างและ
เคลื่อนตัวสูงขึ้นไปทางทิศตะวันตก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย สถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา
19/11/2556 |
20/11/2556 |
21/11/2556 |
22/11/2556 |
23/11/2556 |
24/11/2556 |
25/11/2556 |
19/11/2556 |
20/11/2556 |
21/11/2556 |
22/11/2556 |
23/11/2556 |
24/11/2556 |
25/11/2556 |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ GSMaP พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันมากตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 56 บริเวณด้านตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง หลังจากนั้นปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. 56 และกลุ่มฝนได้สลายตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 25 พ.ย. 56
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA
19/11/2556[00Z] |
20/11/2556[00Z] |
21/11/2556[00Z] |
22/11/2556[00Z] |
23/11/2556[00Z] |
24/11/2556[00Z] |
25/11/2556[00Z] |
mm.
|
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันมาทางด้านตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 56 ต่อมาในช่วงวันที่ 20-23 พ.ย. 56 กลุ่มฝนได้เพิ่มปริมาณขึ้นมากรวมทั้งครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้เป็นบริเวณกว้าง
ไปถึงบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง ตรัง ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ สตูล
ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงวันที่ 19-23 พ.ย. 56
บริเวณภาคใต้ พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง
ส่วนจังหวัดที่ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบด้วย นราธิวาส สงขลา นครศรีธรรมราช
ปัตตานี พัทลุง สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
19/11/2013 | นราธิวาส | บองอ | ระแงะ | นราธิวาส | 153.8 |
สงขลา | เกาะแต้ว | เมืองสงขลา | สงขลา | 147.8 |
|
นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 122.0 |
|
พัทลุง | อ่างทอง | เมืองพัทลุง | พัทลุง | 59.8 |
|
ยะลา | บันนังสตา | บันนังสตา | ยะลา | 57.8 |
|
คอหงษ์ (1) | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 50.0 |
|
20/11/2013 | นราธิวาส | บองอ | ระแงะ | นราธิวาส | 164.0 |
คอหงษ์ (1) | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 158.0 |
|
สงขลา | เกาะแต้ว | เมืองสงขลา | สงขลา | 125.1 |
|
ปัตตานี | เกาะจัน | มายอ | ปัตตานี | 124.8 |
|
หาดใหญ่ | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 95.6 |
|
พัทลุง | อ่างทอง | เมืองพัทลุง | พัทลุง | 95.0 |
|
ยะลา | บันนังสตา | บันนังสตา | ยะลา | 88.5 |
|
นครศรีธรรมราช (1) | ปากพนังฝั่งตะวันตก | ปากพนัง | นครศรีธรรมราช | 81.9 |
|
สะเดา (2) | สะเดา | สะเดา | สงขลา | 80.2 |
|
นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 56.5 |
|
สุราษฎร์ธานี | อรัญคามวารี | เคียนซา | สุราษฎร์ธานี | 56.0 |
|
21/11/2013 | นครศรีธรรมราช (1) | ปากพนังฝั่งตะวันตก | ปากพนัง | นครศรีธรรมราช | 257.1 |
นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 230.0 |
|
พัทลุง | อ่างทอง | เมืองพัทลุง | พัทลุง | 222.4 |
|
สงขลา | เกาะแต้ว | เมืองสงขลา | สงขลา | 127.8 |
|
นราธิวาส | บองอ | ระแงะ | นราธิวาส | 109.8 |
|
คอหงษ์ (1) | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 107.4 |
|
ปัตตานี | เกาะจัน | มายอ | ปัตตานี | 98.5 |
|
ตรัง | บางหมาก | กันตัง | ตรัง | 85.5 |
|
ฉวาง (2) | สวนขัน | กิ่ง อ. ช้างกลาง | นครศรีธรรมราช | 78.3 |
|
ยะลา | บันนังสตา | บันนังสตา | ยะลา | 71.8 |
|
หาดใหญ่ | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 60.6 |
|
พระแสง (2) | ไทรขึง | พระแสง | สุราษฎร์ธานี | 54.8 |
|
สุราษฎร์ธานี | อรัญคามวารี | เคียนซา | สุราษฎร์ธานี | 50.8 |
|
22/11/2013 | นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 215.5 |
นครศรีธรรมราช (1) | ปากพนังฝั่งตะวันตก | ปากพนัง | นครศรีธรรมราช | 157.0 |
|
สุราษฎร์ธานี | อรัญคามวารี | เคียนซา | สุราษฎร์ธานี | 141.0 |
|
เกาะสมุย | มะเร็ต | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 90.1 |
|
พัทลุง | อ่างทอง | เมืองพัทลุง | พัทลุง | 89.4 |
|
สวี (1) | สวี | สวี | ชุมพร | 85.8 |
|
ฉวาง (2) | สวนขัน | กิ่ง อ. ช้างกลาง | นครศรีธรรมราช | 82.6 |
|
ระนอง | ละอุ่นเหนือ | ละอุ่น | ระนอง | 80.7 |
|
สุราษฎร์ธานี | กะเปา | คีรีรัฐนิคม | สุราษฎร์ธานี | 74.4 |
|
หาดใหญ่ | คอหงส์ | หาดใหญ่ | สงขลา | 73.2 |
|
ชุมพร | ท่ายาง | เมืองชุมพร | ชุมพร | 61.5 |
|
พระแสง (2) | ไทรขึง | พระแสง | สุราษฎร์ธานี | 51.2 |
|
23/11/2013 | สวี (1) | สวี | สวี | ชุมพร | 250.0 |
ประจวบคีรีขันธ์ | อ่าวน้อย | เมืองประจวบคีรีขั | ประจวบคีรีขันธ์ | 166.7 |
|
ชุมพร | ท่ายาง | เมืองชุมพร | ชุมพร | 153.8 |
|
นครศรีธรรมราช | ขุนทะเล | ลานสะกา | นครศรีธรรมราช | 107.9 |
|
นครศรีธรรมราช (1) | ปากพนังฝั่งตะวันตก | ปากพนัง | นครศรีธรรมราช | 95.4 |
|
เกาะสมุย | มะเร็ต | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 88.0 |
|
สุราษฎร์ธานี | อรัญคามวารี | เคียนซา | สุราษฎร์ธานี | 57.5 |
|
สงขลา | เกาะแต้ว | เมืองสงขลา | สงขลา | 55.8 |
|
สนามบินภูเก็ต | ป่าคลอก | ถลาง | ภูเก็ต | 52.3 |
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
2013-11-19 | ที่ว่าการอำเภอระแงะ | ตันหยงมัส | ระแงะ | นราธิวาส | 95.8 |
กระแสสินทร์ | เชิงแส | กระแสสินธุ์ | สงขลา | 95.6 |
|
ที่ว่าการอำเภอยี่งอ | ยี่งอ | ยี่งอ | นราธิวาส | 91.0 |
|
ที่ว่าการอำเภอสุคีริน | สุคิริน | สุคิริน | นราธิวาส | 68.4 |
|
สถานีตำรวจภูธรอำเภอกะพ้อ | กะรุบี | กะพ้อ | ปัตตานี | 61.6 |
|
ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 58.2 |
|
บ้านป่าม่วง | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 56.4 |
|
บ้านเขาคา | เทพราช | สิชล | นครศรีธรรมราช | 54.8 |
|
2013-11-20 | เนินพิจิตร | พิจิตร | นาหม่อม | สงขลา | 155.8 |
ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 136.8 |
|
บ้านป่าม่วง | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 125.6 |
|
ชลประทานพรุสนอ | ยามู | ยะหริ่ง | ปัตตานี | 121.0 |
|
สถานีตำรวจภูธรอำเภอกะพ้อ | กะรุบี | กะพ้อ | ปัตตานี | 114.2 |
|
เขาตูม | เขาตูม | ยะรัง | ปัตตานี | 107.6 |
|
ฟาร์มตัวอย่างอำเภอแม่ลาน | ปากล่อ | โคกโพธิ์ | ปัตตานี | 87.4 |
|
ที่ว่าการอำเภอยี่งอ | ยี่งอ | ยี่งอ | นราธิวาส | 73.8 |
|
ที่ว่าการอำเภอระแงะ | ตันหยงมัส | ระแงะ | นราธิวาส | 70.6 |
|
บ้านถาวร | การะเกด | เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 62.0 |
|
เขาพระ | เขาพระ | รัตภูมิ | สงขลา | 59.8 |
|
ที่ว่าการอำเภอสุคีริน | สุคิริน | สุคิริน | นราธิวาส | 50.0 |
|
2013-11-21 | บ้านถาวร | การะเกด | เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 192.6 |
ป่าพยอม | บ้านพร้าว | ป่าพะยอม | พัทลุง | 165.2 |
|
ขุนทะเล | ขุนทะเล | ลานสกา | นครศรีธรรมราช | 144.0 |
|
ชลประทานพรุสนอ | ยามู | ยะหริ่ง | ปัตตานี | 105.4 |
|
ที่ทำการเกษตรอำเภอสายบุรี | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 103.0 |
|
บ้านป่าม่วง | มะนังดาลำ | สายบุรี | ปัตตานี | 98.0 |
|
เขาพระ | เขาพระ | รัตภูมิ | สงขลา | 79.0 |
|
ห้วยยอด | ห้วยยอด | ห้วยยอด | ตรัง | 73.8 |
|
สะพานวา | ป่าแก่บ่อหิน | ทุ่งหว้า | สตูล | 73.4 |
|
สถานีตำรวจภูธรอำเภอกะพ้อ | กะรุบี | กะพ้อ | ปัตตานี | 73.2 |
|
บางขัน | บ้านลำนาว | บางขัน | นครศรีธรรมราช | 67.0 |
|
ทุ่งคาวัด | ทุ่งคาวัด | ละแม | ชุมพร | 65.2 |
|
ฟาร์มตัวอย่างอำเภอแม่ลาน | ปากล่อ | โคกโพธิ์ | ปัตตานี | 61.4 |
|
เขาตูม | เขาตูม | ยะรัง | ปัตตานี | 54.8 |
|
บ้านเขาคา | เทพราช | สิชล | นครศรีธรรมราช | 51.6 |
|
พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 51.6 |
|
2013-11-22 | ทุ่งคาวัด | ทุ่งคาวัด | ละแม | ชุมพร | 171.4 |
บ้านเขาคา | เทพราช | สิชล | นครศรีธรรมราช | 128.8 |
|
บ้านถาวร | การะเกด | เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 128.6 |
|
บ้านพระรัก | พะโต๊ะ | พะโต๊ะ | ชุมพร | 127.4 |
|
ป่าพยอม | บ้านพร้าว | ป่าพะยอม | พัทลุง | 118.6 |
|
ขุนทะเล | ขุนทะเล | ลานสกา | นครศรีธรรมราช | 114.6 |
|
ชุมชนบ้านเขาพระ | เขาพระ | รัตภูมิ | สงขลา | 74.4 |
|
บางใหญ่ | บางใหญ่ | กระบุรี | ระนอง | 69.2 |
|
เขาพระ | เขาพระ | รัตภูมิ | สงขลา | 67.8 |
|
วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน | ทองมงคล | บางสะพาน | ประจวบคีรีขันธ์ | 65.0 |
|
บ้านควนไม้แดง | ห้วยปริก | ฉวาง | นครศรีธรรมราช | 64.2 |
|
บางสะพานน้อย | บางสะพาน | บางสะพานน้อย | ประจวบคีรีขันธ์ | 62.0 |
|
บางขัน | บ้านลำนาว | บางขัน | นครศรีธรรมราช | 60.2 |
|
โรงพยาบาลระนอง | บางริ้น | เมืองระนอง | ระนอง | 57.2 |
|
พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 53.2 |
|
ชุมชนซอยสิบเอ็ด | ท่าข้าม | ท่าแซะ | ชุมพร | 52.4 |
|
2013-11-23 | ท่าไม้ลาย | วังใหม่ | เมืองชุมพร | ชุมพร | 183.4 |
หงษ์เจริญ | หงษ์เจริญ | ท่าแซะ | ชุมพร | 134.2 |
|
ชุมชนซอยสิบเอ็ด | ท่าข้าม | ท่าแซะ | ชุมพร | 115.0 |
|
บางสะพานน้อย | บางสะพาน | บางสะพานน้อย | ประจวบคีรีขันธ์ | 112.4 |
|
แยกประจวบ | เกาะหลัก | เมืองประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 111.4 |
|
บ้านเขาคา | เทพราช | สิชล | นครศรีธรรมราช | 100.2 |
|
บ้านพาละ | เขาไชยราช | ปะทิว | ชุมพร | 80.4 |
|
วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน | ทองมงคล | บางสะพาน | ประจวบคีรีขันธ์ | 61.2 |
|
บ้านถาวร | การะเกด | เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 59.4 |
|
บ้านมะเดื่อทอง | เขาล้าน | ทับสะแก | ประจวบคีรีขันธ์ | 54.4 |
|
พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 54.4 |
|
2013-11-24 | ท่าไม้ลาย | วังใหม่ | เมืองชุมพร | ชุมพร | 183.4 |
พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 57.2 |
|
2013-11-25 | พรุกระจูด | ลิปะน้อย | เกาะสมุย | สุราษฎร์ธานี | 59.6 |
หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร
รายงานการเตือนภัยปริมาณฝนผ่าน sms โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
จากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่าช่วงที่เกิดฝนตกหนัก มีการเตือนภัยปริมาณฝนในระดับเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤตบริเวณภาคใต้
วันที่เตือนภัย |
เวลาที่เตือนภัย |
ช่วงเวลาฝนสะสม |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสม(มม.) |
ระดับการเตือนภัย |
19/11/2013 | 6:00:00 | ฝน19/07-20/06น. | ต.เชิงแส | อ.กระแสสินธุ์ | สงขลา | 91.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
20/11/2013 | 20:00:00 | ฝน07-20น. | ต.เขาตูม | อ.ยะรัง | ปัตตานี | 90.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
17:00:00 | ฝน07-17น. | ต.พิจิตร | อ.นาหม่อม | สงขลา | 120.6 | วิกฤต |
|
16:00:00 | ฝน07-16น. | ต.มะนังดาลำ | อ.สายบุรี | ปัตตานี | 90.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
13:00:00 | ฝน07-13น. | ต.พิจิตร | อ.นาหม่อม | สงขลา | 96.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
10:00:00 | ฝน09-10น. | ต.พิจิตร | อ.นาหม่อม | สงขลา | 47.2 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีสงขลา | อ.เมือง | จ.สงขลา | 147.8 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนครศรีธรรมราช-1 | อ.เมือง | จ.นครศรีธรรมราช | 122.0 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนราธิวาส | อ.เมือง | จ.นราธิวาส | 153.8 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝน08-09น. | ต.พิจิตร | อ.นาหม่อม | สงขลา | 38.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
5:00:00 | ฝน20/07-21/05น. | ต.มะนังดาลำ | อ.สายบุรี | ปัตตานี | 121.8 | วิกฤต |
|
21/11/2013 | 20:00:00 | ฝน07-20น. | ต.การะเกด | อ.เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 93.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
16:00:00 | ฝน07-16น. | ต.มะนังดาลำ | อ.สายบุรี | ปัตตานี | 90.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีคอหงษ์-1 | อ.หาดใหญ่ | จ.สงขลา | 158.0 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีสงขลา | อ.เมือง | จ.สงขลา | 125.1 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนราธิวาส | อ.เมือง | จ.นราธิวาส | 164.0 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีปัตตานี | อ.เมือง | จ.ปัตตานี | 124.8 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีหาดใหญ่ | อ.หาดใหญ่ | จ.สงขลา | 95.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีพัทลุง | อ.เมือง | จ.พัทลุง | 95.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
4:00:00 | ฝน21/07-22/03น. | ต.ขุนทะเล | อ.ลานสกา | นครศรีธรรมราช | 120.4 | วิกฤต |
|
2:00:00 | ฝน21/07-22/02น. | ต.ขุนทะเล | อ.ลานสกา | นครศรีธรรมราช | 92.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
2:00:00 | ฝน01-02น. | ต.บ้านพร้าว | อ.ป่าพะยอม | พัทลุง | 37.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน21/07-22/01น. | ต.บ้านพร้าว | อ.ป่าพะยอม | พัทลุง | 122.2 | วิกฤต |
|
1:00:00 | ฝน21/07-22/01น. | ต.บ้านพร้าว | อ.ป่าพะยอม | พัทลุง | 98.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน21/07-22/00น. | ต.การะเกด | อ.เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 127.4 | วิกฤต |
|
22/11/2013 | 20:00:00 | ฝน07-19น. | ต.บ้านพร้าว | อ.ป่าพะยอม | พัทลุง | 96.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
18:00:00 | ฝน07-18น. | ต.เทพราช | อ.สิชล | นครศรีธรรมราช | 90.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนครศรีธรรมราช-1 | อ.เมือง | จ.นครศรีธรรมราช | 257.1 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนราธิวาส | อ.เมือง | จ.นราธิวาส | 109.8 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีปัตตานี | อ.เมือง | จ.ปัตตานี | 98.5 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีพัทลุง | อ.เมือง | จ.พัทลุง | 222.4 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนครศรีธรรมราช | อ.เมือง | จ.นครศรีธรรมราช | 230.0 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีสงขลา | อ.เมือง | จ.สงขลา | 127.8 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีคอหงษ์-1 | อ.หาดใหญ่ | จ.สงขลา | 107.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
6:00:00 | ฝน22/07-23/06น. | ต.ทุ่งคาวัด | อ.ละแม | ชุมพร | 157.6 | วิกฤต |
|
4:00:00 | ฝน03-04น. | ต.บางสะพาน | อ.บางสะพานน้อย | ประจวบคีรีขันธ์ | 35.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
4:00:00 | ฝน03-04น. | ต.บางสะพาน | อ.บางสะพานน้อย | ประจวบคีรีขันธ์ | 40.8 | วิกฤต |
|
3:00:00 | ฝน22/07-23/03น. | ต.เทพราช | อ.สิชล | นครศรีธรรมราช | 120.8 | วิกฤต |
|
2:00:00 | ฝน22/07-23/02น. | ต.การะเกด | อ.เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 120.6 | วิกฤต |
|
1:00:00 | ฝน22/07-23/00น. | ต.ขุนทะเล | อ.ลานสกา | นครศรีธรรมราช | 100.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน22/07-23/00น. | ต.พะโต๊ะ | อ.พะโต๊ะ | ชุมพร | 103.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน22/07-23/01น. | ต.การะเกด | อ.เชียรใหญ่ | นครศรีธรรมราช | 109.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน22/07-23/01น. | ต.ทุ่งคาวัด | อ.ละแม | ชุมพร | 95.8 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
23/11/2013 | 20:00:00 | ฝน07-20น. | ต.ท่าข้าม | อ.ท่าแซะ | ชุมพร | 99.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
20:00:00 | ฝน07-19น. | ต.หงษ์เจริญ | อ.ท่าแซะ | ชุมพร | 99.2 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
18:00:00 | ฝน07-18น. | ต.เทพราช | อ.สิชล | นครศรีธรรมราช | 91.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
16:00:00 | ฝน07-16น. | ต.วังใหม่ | อ.เมืองชุมพร | ชุมพร | 152.4 | วิกฤต |
|
14:00:00 | ฝน07-14น. | ต.วังใหม่ | อ.เมืองชุมพร | ชุมพร | 101.8 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนครศรีธรรมราช-1 | อ.เมือง | จ.นครศรีธรรมราช | 157.0 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีเกาะสมุย | อ.เกาะสมุย | จ.สุราษฎร์ธานี | 90.1 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนครศรีธรรมราช | อ.เมือง | จ.นครศรีธรรมราช | 215.5 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีสุราษฎร์ธานี | อ.เมือง | จ.สุราษฎร์ธานี | 141.0 | วิกฤต |
|
4:00:00 | ฝน23/07-24/04น. | ต.เกาะหลัก | อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 95.8 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
4:00:00 | ฝน03-04น. | ต.เกาะหลัก | อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 38.6 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
1:00:00 | ฝน23/07-24/01น. | ต.บางสะพาน | อ.บางสะพานน้อย | ประจวบคีรีขันธ์ | 105.0 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
24/11/2013 | 10:00:00 | ฝน07-10น. | ต.วังใหม่ | อ.เมืองชุมพร | ชุมพร | 183.4 | วิกฤต |
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีประจวบคีรีขันธ์ | อ.เมือง | จ.ประจวบคีรีขันธ์ | 166.7 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนครศรีธรรมราช-1 | อ.เมือง | จ.นครศรีธรรมราช | 95.4 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีนครศรีธรรมราช | อ.เมือง | จ.นครศรีธรรมราช | 107.9 | เฝ้าระวังสูงสุด |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีชุมพร | อ.เมือง | จ.ชุมพร | 153.8 | วิกฤต |
|
9:00:00 | ฝนวานนี้ | สถานีสวี-1 | อ.สวี | จ.ชุมพร | 250.0 | วิกฤต |
18/11/56 19:00 น. -19/11/56 19:00 น. |
19/11/56 19:00 น. - 20/11/56 19:00 น. |
20/11/56 19:00 น. - 21/11/56 19:00 น. |
21/11/56 19:00 น. - 22/11/56 19:00 น. |
22/11/56 19:00 น. - 23/11/56 19:00 น. |
23/11/56 19:00 น. - 24/11/56 19:00 น. |
24/11/56 19:00 น. - 25/11/56 19:00 น. |
จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า
7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ
WRF
ผลการคาดการณ์เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 56 พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนทางด้านตะวันออกของภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 56 และเพิ่มปริมาณขึ้นในช่วงวันที่
20-23 พ.ย. 56 แต่ไม่สามารถเห็นถึงการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างด้านตะวันออกขึ้นไปสู่ตอนบนของภาค และไม่พบกลุ่มฝนทางด้าน
ตะวันตกของภาค
โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกรณีเฉพาะพื้นที่ด้านตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของปริมาณฝน
เมื่อเปรียบเทียบกับภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน GSMaP
และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
||
|
|
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางบาง ซึ่งเป็นเขื่อนที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง
พบว่ามีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนรัชชประภาค่อนข้างน้อย โดยปริมาณน้ำไหลเข้าสุดสุด อยู่ที่ 12.04 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 24 พ.ย. 56 ส่วนเขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำไหลเข้า
น้อยเช่นกัน โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด 13.98 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 21 พ.ย. 56
ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
สถานี CMP001-เมืองชุมพร ต. หาดพันไกร อ. เมืองชุมพร จ. ชุมพร |
สถานี KNO001-ทุ่งสง ต. ปากแพรก อ. ทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราช |
สถานี NPI002-นบพิตำ ต. สระแก้ว อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช |
สถานี SLA002-คลองหอยโข่ง ต. ทุ่งลาน อ. คลองหอยโข่ง จ. สงขลา |
สถานี STU001-เมืองสตูล ต. ฉลุง อ. เมืองสตูล จ. สตูล |
สถานี SVI001-สวี 1 ต. นาโพธิ์ อ. สวี จ. ชุมพร |
สถานี SVI002-สวี 2 ต. นาสัก อ. สวี จ. ชุมพร |
สถานี TNG001-ท่าสะบ้า ต. ท่าสะบ้า อ. วังวิเศษ จ. ตรัง |
สถานี TNG002-เมืองตรัง ต. บางรัก อ. เมืองตรัง จ. ตรัง |
สถานี TPI004-ท่าขนอม ต. ท่าขนอน อ. คีรีรัฐนิคม จ. สุราษฎร์ธานี |
สถานี TPI005-เวียงสระ ต. ทุ่งหลวง อ. เวียงสระ จ. สุราษฎร์ธานี |
สถานี TPI007- วิภาวดี ต. ตะกุกเหนือ อ. กิ่งอำเภอวิภาวดี จ. สุราษฎร์ธานี |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php
จากกราฟแสดงระดับน้ำที่ตรวจวัดจากระบบโทรมาตร บริเวณภาคใต้ตอนล่าง พบว่าอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำน้ำเพิ่มขึ้นมากในหลายจุด รวมทั้งตรวจวัดระดับน้ำล้นตลิ่งได้ที่ บริเวณ ต.หาดพันไกร อ.เมือง จ.ชุมพร
ต.นาโพธิ์ ต.นาสัก อ.สวี จ.ชุมพร ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ต.บางรัก อ.เมือง จ.ตรัง ต.ทุ่งหลวง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
ข้อมูลด้านความเสียหาย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม (รายงานวันที่ 28 พ.ย. 56 เวลา 08.00 น. )
รายงานสถานการณ์อุทกภัย จากฝนตกหนัก เนื่องจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกําลังแรงปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. 56 ถึงวันที่ 28 พ.ย. 56 รายละเอียดดังนี้
พื้นที่ประสบภัย ทั้งสิ้น 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง ปัตตานี ชุมพร ยะลา สตูล ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง รวมทั้งสิ้น 81 อําเภอ 496 ตําบล 3,072 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 196,444 ครัวเรือน 416,751 คน
ผู้เสียชีวิต รวม 11 ราย ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช 3 ราย ตรัง 3 ราย ชุมพร 2 ราย สุราษฎร์ธานี 1ราย พัทลุง 1 ราย และประจวบคีรีขันธ์ 1 ราย
สถานการณ์คลี่คลายแล้ว รวม 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดยะลา สตูล ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และปัตตานี
ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ รวม 6 จังหวัด 20 อําเภอ 135 ตําบล 862 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 38,642 ครัวเรือน 82,819 คน ดังนี้
1) จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 56 เกิดฝนตกหนักวัดปริมาณฝนได้สูงสุดที่ อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช 257.1 มม. ทําให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ประสบภัย รวม 22 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอชะอวด ลานสกา ทุ่งสง หัวไทร นาบอน บางขัน ท่าศาลา ช้างกลาง เมืองนครศรีธรรมราช จุฬาภรณ์ ปากพนัง นบพิตํา พระพรหม พิปูน สิชล เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ ร่อนพิบูลย์ พรหมคีรี ทุ่งใหญ่ ฉวาง และถ้ำพรรณรา รวมทั้งสิ้น 130 ตําบล 910 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 99,280 ครัวเรือน 158,800 คน พื้นที่การเกษตร 50,000 ไร่ ถนน 720 สาย สะพาน 30 แห่ง
ผู้เสียชีวิต รวม 3 ราย ประกอบด้วย อำเภอทุ่งสง 2 ราย และอำเภอร่อนพิบูลย์ 1 ราย
ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมขังบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรใน 6 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอเชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ปากพนัง ชะอวด ร่อนพิบูลย์ และจุฬาภรณ์
สถานการณ์ปัจจุบัน วันนี้ไม่มีฝนตกในพื้นที่ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
2) จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 56 เกิดฝนตกหนักวัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่ อําเภอเมืองพัทลุง 222.4 มม. ทําให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในหลายพื้นที่
พื้นที่ประสบภัย รวม 11 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองพัทลุง ปากพะยูน ควนขนุน กงหรา ศรีนครินทร์ ตะโหมด เขาชัยสน ป่าพะยอม บางแก้ว ป่าบอน และศรีบรรพต รวมทั้งสิ้น 64 ตําบล 590 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 30,539 ครัวเรือน 57,004 คน
ผู้เสียชีวิต รวม 1 ราย ที่อำเภอบางแก้ว
ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตรริมทะเลสาบสงขลา ใน 4 อําเภอ ประกอบด้วยอำเภอควนขนุน เมืองพัทลุง บางแก้ว และเขาชัยสน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่รับน้ำจะมีน้ำท่วมขังนานหลายเดือน ในช่วงฤดูฝน
สถานการณ์ปัจจุบัน วันนี้ไม่มีฝนตกในพื้นที่ สภาวะอากาศปิด ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
3) จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 56 ฝนตกหนัก วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่ อําเภอระโนด 328.3 มม. ทําให้เกิดอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งท่วมในพื้นที่
พื้นที่ประสบภัย รวม 10 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองสงขลา จะนะ สิงหนคร ระโนด สทิงพระ ควนเนียง กระแสสินธุ์ รัตภูมิ นาทวี และหาดใหญ่ รวมทั้งสิ้น 68 ตําบล 386 หมู่บ้าน 1 ชุมชน ราษฎรได้รับผลกระทบ 13,520 ครัวเรือน 37,688 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 23 หลัง โรงเรียน 19 แห่ง วัด 8 แห่ง สะพาน 16 แห่ง ถนน 187 สาย ท่อระบายน้ำ 25 แห่ง
ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มการเกษตรบริเวณอําเภอรอบทะเลสาบสงขลา 4 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอสิงหนคร ระโนด สทิงพระ และกระแสสินธุ์ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่รับน้ำจากจังหวัดนครศรีธรรมราช และพัทลุง จะมีน้ำท่วมขังนานหลายเดือนในช่วงฤดูฝน
สถานการณ์ปัจจุบัน เช้าวันนี้มีเริ่มมีฝนตกหนักในพื้นที่ ระดับน้ำทรงตัว
4) จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 56 เกิดฝนตกหนักวัดปริมาณน้ำฝนได้ที่ อําเภอท่าชนะ 138.5 มม. ทําให้เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่
พื้นที่ประสบภัย รวม 8 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอท่าชนะ ไชยา กาญจนดิษฐ์ พระแสง พนมบ้านนาเดิม ดอนสัก และบ้านนาสาร รวมทั้งสิ้น 42 ตําบล 266 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 5,765 ครัวเรือน 22,475 คน
ผู้เสียชีวิต รวม 1 ราย ที่อําเภอท่าชนะ
ยังคงมีถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน ในอำเภอพระแสง ส่วนอําเภออื่น ๆ สถานการณ์คลี่คลายแล้ว โดยมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มการเกษตรริมแม่น้ำตาปี
สถานการณ์ปัจจุบัน วันนี้มีฝนตกเล็กน้อยในพื้นที่ ระดับน้ำลดลง
5) จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 56 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่ อําเภอเมืองตรัง 85.5 มม. ทําให้เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่มริมคลองต่างๆ
พื้นที่ประสบภัย รวม 6 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองตรัง ห้วยยอด รัษฎา นาโยง ย่านตาขาว และวังวิเศษ รวมทั้งสิ้น 9 เทศบาล 9 ชุมชน 42 ตําบล 252 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 13,027 ครัวเรือน 40,025 คน
ผู้เสียชีวิต รวม 3 ราย ที่อำเภอรัษฎา
ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตร ใน 3 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองตรัง ห้วยยอด และวังวิเศษ
สถานการณ์ปัจจุบัน วันนี้ไม่มีฝนตกในพื้นที่ ระดับน้ำเริ่มลดลง
6) จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 56 เกิดฝนตกหนักวัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่ อําเภอทุ่งตะโก 240.0 มม. ทําให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่
พื้นที่ประสบภัย รวม 8 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอทุ่งตะโก ปะทิว ละแม หลังสวน พะโต๊ะ สวี เมืองชุมพร และท่าแซะ รวมทั้งสิ้น 61 ตําบล 354 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 19,393 ครัวเรือน 67,067 คน
ผู้เสียชีวิต รวม 2 ราย ที่อำเภอท่าแซะ
ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ลุ่มต่ำ 2 อําเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองชุมพร และท่าแซะ
สถานการณ์ปัจจุบัน วันนี้มีฝนตกในพื้นที่เล็กน้อย ระดับน้ำลดลง
สถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม (รายงานวันที่ 12 ธ.ค. 56 เวลา 08.00 น. )
เนื่องจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. 56 ถึงวันที่ 12 ธ.ค. 56 ส่งผลให้เกิดอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง รายละเอียดดังนี้
พื้นที่ประสบภัย รวมทั้งสิ้น 12 จังหวัด ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง ปัตตานี ชุมพร ยะลา สตูล ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และนราธิวาส จำนวน 95 อำเภอ 563 ตำบล 3,575 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 218,277 ครัวเรือน 648,806 คน
ผู้เสียชีวิต จำนวน 18 ราย ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช 4 ราย ตรัง 5 ราย ชุมพร 3 ราย ยะลา 2 ราย พัทลุง 2 ราย สุราษฎร์ธานี 1 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 1 ราย
สถานการณ์คลี่คลายแล้ว รวม 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสตูล ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร ยะลา สงขลา และนราธิวาส
ยังคงมีสถานการณ์ รวม 3 จังหวัด 12 อำเภอ 49 ตำบล 220 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 4,261 ครัวเรือน 13,567 คน
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-3 บันทึกภาพวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 เวลา 17.48 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา ปัตตานี และพัทลุง รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 เวลา 18.30 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-3 บันทึกภาพวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 เวลา 17.40 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา พัทลุง และปัตตานี รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 1 ธันวาคม 2556 เวลา 06.12 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 2 ธันวาคม 2556 เวลา 19.18 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 3 ธันวาคม 2556 เวลา 17.42 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา พัทลุง และปัตตานี รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 3 ธันวาคม 2556 เวลา 06.17 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 06.24 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 7 ธันวาคม 2556 เวลา 18.30 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 7 ธันวาคม 2556 เวลา 18.40 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 05.48 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เวลา 05.42 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดปัตตานี สงขลา พัทลุง และยะลา รายละเอียดเพิ่มเติม |
|||
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เวลา 17.47 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกภาพวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เวลา 06.13 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และตรัง รายละเอียดเพิ่มเติม |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์
--------------------------------------------------------------------------------------
นครศรีธรรมราช - น้ำป่าไหล หลากลงมาจากเทือกเขาหลวงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เมืองนครฯ ท่วมแล้วหลายจุด ทางอำเภอเร่งตรวจสอบพื้นที่ก่อนประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน
วันนี้ (22 พ.ย.) นายกิตติพันธ์ เพชรชู นายอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าตรวจสอบพื้นที่ที่ถูกน้ำป่าไหลหลาก โดยมีเส้นทางการจราจรได้รับผลกระทบโดยเฉพาะสายลานสกา-จันดี ถูกน้ำป่าเข้าท่วมเป็นระยะ ขณะที่ต้นน้ำคลองท่าดี ซึ่งเป็นต้นน้ำสายหลักที่ส่งผลกระทบต่อการไหลบ่าเข้าท่วมตัวเมืองนครศรี ธรรมราช พบว่าน้ำป่าได้ไหลหลากลงมาอย่างรุนแรง และต่อเนื่อง น้ำมีสีเข้มโดยมีระดับสูงถึง 4.70 ม. และมวลน้ำจำนวนมากที่หลากลงมาจากเทือกเขาหลวงจะส่งผลกระทบต่อตัวเขตเทศบาล นครนครศรีธรรมราช ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า ระดับน้ำที่ท่วมอยู่แล้วจะเพิ่มระดับสูงขึ้น
ขณะที่ นายเจษฎา วัฒนานุรักษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ฝนได้ตกหนักเกินกว่า 50 มิลลิเมตร ในทุกอำเภอ แต่ที่เกิน 100 มิลลิเมตร มี 7 อำเภอ คือ อ.ชะอวด 198 มิลลิเมตร อ.ร่อนพิบูลย์ 195.5 มิลลิเมตร อ.เชียรใหญ่ 195 มิลลิเมตร อ.ลานสกา 155 มิลลิเมตร อ.หัวไทร 150 มิลลิเมตร อ.พระพรหม 120 มิลลิเมตร และ อ.จุฬาภรณ์ 115 มิลลิเมตร ได้ส่งผลให้หลายพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และพื้นที่ทางการเกษตรของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ตั้งแต่ช่วงดึกเมื่อคืนที่ผ่านมา ในหลายอำเภอประชาชนต้องขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย เช่น อ.ทุ่งสง อ.เมือง อ.ชะอวด อ.ร่อนพิบูลย์ อ.ลานสกา อ.พระพรหม เป็นต้น โดยเฉพาะพื้นที่ อ.ชะอวด และ อ.ร่อนพิบูลย์ ถือว่าหนักมากที่สุด โรงเรียนบางแห่งถูกน้ำท่วม เช่น โรงเรียนวัดกาโห่ใต้ ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด ส่วนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีน้ำท่วมขังถนน ซอยต่างๆ หลายจุด นอกจากนั้น ในพื้นที่ตำบลรอบนอก เช่น ต.นาทราย ต.ไชยมนตรี ต. ม่วงสองต้น ต.โพธิ์เสด็จ ต.บางจาก ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากคลองท่าดี ที่ไหลลงมาจากอำเภอลานสกา ก่อนไหลออกอ่าวไทยผ่านคลองท่าซัก และคลองหัวตรุด-บางจาก
นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และคลื่นลมแรงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัตินั้นต้องรอให้แต่ละอำเภอสำรวจ พื้นที่ประสบภัยแล้วรายงานไปยังจังหวัดเพื่อประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัย พิบัติฉุกเฉินต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------------
หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง กระหน่ำฝนใส่ภาคใต้ น้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลากหลายจุด ทางการติดตามเฝ้าระวัง คาดสัปดาห์หน้าลมมรสุมอ่อนลง
(22 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดสงขลา เกิดน้ำท่วมฉับพลันบนถนนกาญจนวนิช เส้นทางเชื่อมอำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลาหลายจุด มีน้ำป่าจากเขาคอหงส์ได้ไหลเข้าท่วมถนนบริเวณหน้าสวนสาธารณะเทศบาลนคร หาดใหญ่ และหน้าวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ระดับน้ำสูงประมาณ 50 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่จึงต้องปิดถนนขาเข้าตัวเมืองหาดใหญ่หนึ่งช่องจราจร
ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาอุทกภัยจังหวัดสงขลา รายงานน้ำ ท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ 30 ตำบล 135 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมือง 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน อ.จะนะ 9 ตำบล 23 หมู่บ้าน อ.สิงหนคร 9 ตำบล 44 หมู่บ้าน อ.ระโนด 6 ตำบล 31 หมู่บ้าน และอ.สทิงพระ 3 ตำบล 27 หมู่บ้าน
ส่วนที่จังหวัดพัทลุง น้ำจากเทือกเขาบรรทัด ทำให้คลองสายหลักต่างๆในจังหวัดพัทลุง เริ่มมีปริมาณน้ำสูงขึ้น น้ำท่วมขยายวงกว้างทั้ง 11 อำเภอ กว่า 5,000 ครัวเรือน นาข้าว สวนยางพาราจมใต้น้ำกว่า 10,000 ไร่ โดยเฉพาะถนนสายพัทลุง-ตรัง น้ำป่าท่วมทั้งขาขึ้น-ขาล่อง หมู่ 1 ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ ระดับน้ำ 70 ซม. - 1 เมตร เส้นทางเข้าอำเภอศรีบรรพตถูกตัดขาดเนื่องจากมีระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร
ขณะที่จังหวัดตรัง น้ำป่าหลากท่วม 2 อำเภอ กว่า 500 หลังคาเรือน คือ อ.เมือง และ อ.นาโยง ถนนทางเข้าหมู่บ้านถูกน้ำกัดเซาะและไหลเชี่ยวขาดเป็นช่วง ๆ ชาวบ้านช่วยกันขนย้ายสิ่งของ สัตว์เลี้ยง เด็กและคนชราออกจากพื้นที่ชั่วคราว รวมทั้งน้ำไหลท่วมวัดสวัสดิ์รัตนาภิมุขและโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุขต้อง หยุดเรียน 1 วัน เช่นเดียวกับโรงเรียนเพาะปัญญา ต.นาโยงใต้ น้ำสูง 20-60 ซม. ท่ามกลางฝนตกหนักสลับเบาเป็นระยะ นอกจากนี้นาข้าวกว่า 700 ไร่ จมอยู่ใต้น้ำ
สภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเขตเทศบาลเมืองเกิดน้ำท่วมขังหลายจุด ทางการได้สั่งปิดโรงเรียนชั่วคราว ลำคลอง 5 สายที่ขุดลอกไว้ไม่สามารถระบาย น้ำได้ทัน เช่นเดียวกับ ทางเข้า โรงเรียนวัดมะม่วงตลอด ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม ที่ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น น้ำท่วมยังกระทบประชาชนในอำเภอนบพิตำ ต้องเร่งอพยพข้าวของหนีน้ำ ส่วนอำเภอลานสกา รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ เนื่องจากน้ำท่วมถนนหลายสาย อีกทั้งยังพบคนจมน้ำเสียชีวิตที่ ต.บ้านเกาะ อ.พรหมคีรี เจ้าหน้าที่กำลังเข้าไปตรวจสอบ
เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเหนื่อง ถนนทวีราษฏร์ภักดี ถนนสายหลักเกิดน้ำท่วมขังหลายจุด ระดับสูงประมาณ 20-30 ซม. นอกจากนี้ยังมีเสาไฟฟ้าแรงสูงติดตั้งหม้อแปลงล้ม 2 ต้น กีดขวางเส้นทางจราจร ทำให้ไฟฟ้าดับในพื้นที่โดยรอบ ส่วนคลื่นลมทะเลยังคงมีกำลังแรง
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรเป็นต้นไป ยังคงเผชิญกับอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก รวมทั้งปริมาณฝนสะสมต่อเนื่องที่มีปริมาณมากต่อไปจนถึงวันพรุ่งนี้ (23 พ.ย.) เนื่องจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งคาดว่าจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามันในวันนี้ (22 พ.ย.) คลื่นลมทะเลสูง 2-4 เมตร
ใน พื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำตาปี ในพื้นที่ของอำเภอทุ่งสง และอำเภอบางขัน เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่เทศบาลเมืองทุ่งสง สูงประมาณ 0.30 เมตร ถนน และพื้นที่การเกษตร บางพื้นที่เขตอำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยทั่วไปท่วมถนนหมู่บ้านสูงประมาณ 0.10 - 0.25 เมตร รถเล็กยังสัญจรไปมาได้ และอำเภอปากพนัง พื้นที่ในเขตเทศบาลปากพนังได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมถนนบางส่วนโครงการชลประทานนครศรีธรรมราช ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ไปติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยระบายน้ำดังนี้
1. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จำนวน 2 เครื่อง 2. เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จำนวน 2 เครื่อง
3. โครงการพัฒนาพื้นที่ทุ่งนาเมืองชัย อำเภอทุ่งใหญ่ จำนวน 2 เครื่อง
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครศรีธรรมราช ได้ประสานกับเทศบาลนำเครื่องสูบน้ำเข้าจุดสูบแล้วจำนวน12 เครื่อง ดังนี้ สะพานป่าเหล้า 2 เครื่อง ซอยลำเหมือง 1 เครื่อง สี่แยกถนนพัฒนาการคูขวาง 2 เครื่อง สะพานนครน้อย 5 เครื่อง และคลองท่าซัก 2 เครื่อง
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำปากพนังตอนล่างได้ดำเนินการเปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิขึ้นพ้นน้ำจำนวน 10 บาน ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ตามมติของคณะกรรมการบริหารจัดการประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ เพื่อเข้าสู่การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม (นิเวศ 3 น้ำ) และเป็นการเฉลี่ยน้ำให้ราษฎรทั้งที่อยู่ด้านเหนือและท้ายเขื่อนได้รับความ เดือดร้อนน้อยที่สุด
2. จังหวัดพัทลุง เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ มีปริมาณน้ำฝน 3 วัน (19-21 พฤศจิกายน 2556) สูงสุดวัดได้349.3 มม. ที่สถานีฝายควนกุฏิ อำเภอเขาชัยสน ส่งผลให้น้ำจากเขาบรรทัดไหลเข้าท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือน เป็นจำนวนมาก รวมพื้นที่ทั้งหมด 11 อำเภอ 64 ตำบล ได้แก่ 1. อำเภอศรีนครรินทร์ 2. อำเภอกงหรา 3. อำเภอควนขนุน 4. อำเภอเมือง 5. อำเภอเขาชัยสน 6. อำเภอป่าพะยอม 7. อำเภอศรีบรรพต 8. อำเภอป่าบอน 9. อำเภอปากพะยูน10. อำเภอตะโหมด 11. อำเภอบางแก้ว
โครงการชลประทานพัทลุง ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุงพร้อมทั้งสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 8 นิ้ว ในเขตเทศบาลตำบลแม่ครี จำนวน 1 เครื่อง และเทศบาลจองถนน จำนวน 1 เครื่อง
3. จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่เกษตรต่างๆ รวม อำเภอ ดังนี้
1. อำเภอบาเจาะ มีพื้นที่น้ำท่วมบางส่วนในตำบลบาเระใต้ มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.50-0.60 เมตร 2. อำเภอเมืองมีพื้นที่น้ำท่วมขังบางส่วนในตำบลโคกเคียน มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.50-0.60 เมตร
โครงการชลประทานนราธิวาส ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง และขนาด 10 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เพื่อสูบระบายน้ำที่ ทรบ.ยะกัง บ้านปลักปลา อำเภอเมือง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโก-ลก ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 8 เครื่อง เพื่อสูบระบายน้ำช่วยเหลือในเขตตำบลนานาค และตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ
4. จังหวัดตรัง เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยทางโครงการชลประทานตรัง ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 8 เครื่อง
5. จังหวัดสงขลา เนื่อง จากมีฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้ระดับน้ำในทะเสสาบสงขลาล้นตลิ่ง เข้าท่วมหมู่บ้านริมทะเลสาบสงขลา โครงการชลประทานสงขลา ได้ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 31 เครื่อง
6. จังหวัดชุมพร เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในเขตจังหวัดชุมพร บริเวณตั้งแต่ อ.สวี อ.ตะโก อ.พะโต๊ะ อ.หลังสวนและ อ.ละแม ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย.56 เป็นต้นมา น้ำฝนวัดได้ที่ อ.ละแม 80.5 มม. อ.หลังสวน 130.8 มม. เป็นเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลากล้นตลิ่งคลองดวดเข้าท่วมพื้นที่บริเวณ หมู่ 1, 2, 3, 4 ตำบลสวนแตง หมู่ 3, 5 ตำบลละแม และคลองขนาน หมู่ 8, 10 ตำบลบ้านควน หมู่ที่ 1, 2 ตำบลบางมะพร้าว อ.หลังสวน
โครงการชลประทานชุมพร ได้ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่
อนี่ง อาจเป็นไปได้ว่า น้ำจะท่วมหนักมากยิ่งขึ้น ภายหลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศแจ้งเตือนในเช้าวันนี้(23 พฤศจิกายน 56)ระบุ ว่า บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งต่อไปได้อีกในวันนี้ (23 พ.ย.56)
--------------------------------------------------------------------------------------