บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร (10-15 มิ.ย. 55 )

แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)
คาดการณ์เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 55

5/6/55 19.00 น. - 6/6/55 19.00 น.

6/6/55 19.00 น. - 7/6/55 19.00 น.

7/6/55 19.00 น. - 8/6/55 19.00 น.

8/6/55 19.00 น. - 9/6/55 19.00 น.

9/6/55 19.00 น. - 10/6/55 19.00 น.

10/6/55 19.00 น. - 11/6/55 19.00 น.

11/6/55 19.00 น. - 12/6/55 19.00 น.


    จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF
โดยคาดการณ์เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 55 ผลลัพธ์ที่ได้คือ ตั้งแต่วันที่ 5-11 มิ.ย. 55 มีฝนตกทางด้านตะวันออกของภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยมีฝนมากช่วงวันที่ 5-8 มิ.ย. 55
     โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เมื่อเปรียบเทียบกับภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA  


ภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ

1/7/2555[11GMT]

2/7/2555[11GMT]

3/7/2555[11GMT]

4/7/2555[11GMT]

5/7/2555[11GMT]

6/7/2555[11GMT]

7/7/2555[11GMT]

8/7/2555[11GMT]

9/7/2555[11GMT]

10/7/2555[11GMT]

11/7/2555[06GMT]

12/7/2555[11GMT]
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php

จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าช่วงวันที่ 1-9 มิ.ย. 55 มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยในหลายบริเวณรวมถึงทางด้านตะวันออกของภาคเหนือ
ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ดังกล่าว และเกิดน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำยม


แผนที่อากาศระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

1/6/2555[07น.]

1/6/2555[19น.]

2/6/2555[07น.]

2/6/2555[19น.]

3/6/2555[07น.]

3/6/2555[19น.]

4/6/2555[07น.]

4/6/2555[19น.]

5/6/2555[07น.]

5/6/2555[19น.]

6/6/2555[07น.]

6/6/2555[19น.]

7/6/2555[07น.]

7/6/2555[19น.]

8/6/2555[07น.]

8/6/2555[19น.]

9/6/2555[07น.]

9/6/2555[19น.]

10/6/2555[07น.]

10/6/2555[19น.]

11/6/2555[07น.]

11/6/2555[19น.]

12/6/2555[07น.]

12/6/2555[19น.]


รายละเอียดเพิ่มเติม : http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map.php

จากภาพแผนที่อากาศระดับสูง 1.5 ก.ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบว่ามีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวันที่ 2-11 มิ.ย. 55 โดยเฉพาะช่วงวันที่ 6-8 มิ.ย. 55 ค่าความกดอากาศต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 842-844 hPa


แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

1/6/2555[07น.]

1/6/2555[19น.]

2/6/2555[07น.]

2/6/2555[19น.]

3/6/2555[07น.]

3/6/2555[19น.]

4/6/2555[07น.]

4/6/2555[19น.]

5/6/2555[07น.]

5/6/2555[19น.]

6/6/2555[07น.]

6/6/2555[19น.]

7/6/2555[07น.]

7/6/2555[19น.]

8/6/2555[07น.]

8/6/2555[19น.]

9/6/2555[07น.]

9/6/2555[19น.]

10/6/2555[07น.]

10/6/2555[19น.]

11/6/2555[07น.]

11/6/2555[19น.]

12/6/2555[07น.]

12/6/2555[19น.]


รายละเอียดเพิ่มเติม : http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map.php

จากภาพความเร็วลมที่ระดับสูง 1.5 ก.ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบว่าตั้งแต่ช่วงวันที่ 1-12 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย.55 เป็นต้นมา ความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร

1/6/2555 [09:25GMT]

2/6/2555 [11:25GMT]

3/6/2555 [10:25GMT]

4/6/2555 [10:25GMT]

5/6/2555 [11:25GMT]

6/6/2555 [08:25GMT]

7/6/2555 [12:25GMT]

8/6/2555 [16:25GMT]

9/6/2555 [17:25GMT]

10/6/2555 [15.25GMT]

11/6/2555 [17:25GMT]

12/6/2555 [ 11:25GMT]

dBz               
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_phkradar.php

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์พิษณุโลกพบว่ามีฝนตกทางด้านตะวันออกของภาคเหนือตั้งแต่ช่วงต้นเดือนจนถึงกลางเดือน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA

1/6/55[00Z]-2/6/55[00Z]

2/6/55[00Z]-3/6/55[00Z]

3/6/55[00Z]-4/6/55[00Z]

4/6/55[00Z]-5/6/55[00Z]

5/6/55[00Z]-6/6/55[00Z]

6/6/55[00Z]-7/6/55[00Z]

7/6/55[00Z]-8/6/55[00Z]

8/6/55[00Z]-9/6/55[00Z]

9/6/55[00Z]-10/6/55[00Z]

10/6/55[00Z]-11/6/55[00Z]

11/6/55[00Z]-12/6/55[00Z]

12/6/55[00Z]-13/6/55[00Z]
mm.

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml

จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าช่วงวันที่ 5-8 มิ.ย. 55 มีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากทางด้านตะวันออกของภาคเหนือ บริเวณจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร


ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


         รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงวันที่ 1-12 มิ.ย.55
พบว่าพบว่าพื้นที่ภาคเหนือที่มีฝนตกเกิน 20 มิลลิเมตรต่อวัน
ดังตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
12/6/2012 แพร่ บ้านหนุน สอง แพร่                22.8
11/6/2012 เชียงราย แม่ข้าวต้ม เมืองเชียงราย เชียงราย                30.5
แพร่ บ้านหนุน สอง แพร่                24.2
9/6/2012 แม่สะเรียง แม่คง แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน                37.4
เขื่อนภูมิพล สามเงา สามเงา ตาก                26.0
แม่สอด แม่ท้อ เมืองตาก ตาก                21.1
8/6/2012 แม่สอด แม่ท้อ เมืองตาก ตาก                78.9
สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย                45.2
ลำปาง (1) บ้านเสด็จ เมืองลำปาง ลำปาง                39.0
แม่ฮ่องสอน ห้วยผา เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน                37.3
ตากฟ้า เขากะลา พยุหะคีรี นครสวรรค์                28.5
กำแพงเพชร ท่าไม้ พรานกระต่าย กำแพงเพชร                25.1
ดอยมูเซอ (1) แม่กาษา แม่สอด ตาก                23.8
พิษณุโลก หนองกะท้าว นครไทย พิษณุโลก                20.9
7/6/2012 สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย                28.0
นครสวรรค์ มหาโพธิ เก้าเลี้ยว นครสวรรค์                21.5
6/6/2012 สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย                29.9
แม่ฮ่องสอน ห้วยผา เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน                22.0
เชียงใหม่ บ่อแก้ว สะเมิง เชียงใหม่                21.5
5/6/2012 แม่ฮ่องสอน ห้วยผา เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน                51.9
กำแพงเพชร ท่าไม้ พรานกระต่าย กำแพงเพชร                51.0
สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย                49.6
บัวชุม (2) ท่าโรง วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์                31.0
4/6/2012 บัวชุม (2) ท่าโรง วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์                36.6
ตากฟ้า เขากะลา พยุหะคีรี นครสวรรค์                31.5
3/6/2012 เชียงราย (1) โป่งแพร่ แม่ลาว เชียงราย                37.4
อุตรดิตถ์ ขุนฝาง เมืองอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์                33.4
เชียงราย แม่ข้าวต้ม เมืองเชียงราย เชียงราย                28.3
ทุ่งช้าง (2) ปอน ทุ่งช้าง น่าน                24.5
2/6/2012 กำแพงเพชร ท่าไม้ พรานกระต่าย กำแพงเพชร                47.0
น่าน (1) สะเนียน เมืองน่าน น่าน                29.9
ตาก ตากออก บ้านตาก ตาก                26.0
1/6/2012 ตาก ตากออก บ้านตาก ตาก                33.0
เชียงราย (1) โป่งแพร่ แม่ลาว เชียงราย                28.8
เชียงราย แม่ข้าวต้ม เมืองเชียงราย เชียงราย                24.7
หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 20 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร



ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก

            รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรขนาดเล็กช่วงวันที่ 1-12 มิ.ย. 55
พบว่าพื้นที่ภาคเหนือที่มีฝนตกเกิน 40 มิลลิเมตรต่อวัน ดังตารางด้านล่าง
วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
2012-06-16 ดอยเวา เวียงพางคำ แม่สาย เชียงราย
58.4
2012-06-10 ยม5 หาดเสี้ยว ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
45.0
2012-06-08 วังชิ้น วังชิ้น วังชิ้น แพร่
53.8
2012-06-07 ขาณุวรลักษณ์บุรี ป่าพุทรา ขาณุวรลักษบุรี กำแพงเพชร
88.2

ปิง4 ป่าพุทรา ขาณุวรลักษบุรี กำแพงเพชร
80.6

ห้วยปลาหลด ด่านแม่ละเมา แม่สอด ตาก
55.2

ริมเมย ท่าสายลวด แม่สอด ตาก
59.4

เชียงคำ หย่วน เชียงคำ พะเยา
40.4

ยม5 หาดเสี้ยว ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
54.0

ดอยเต่า ท่าเดื่อ ดอยเต่า เชียงใหม่
50.4

วังชิ้น วังชิ้น วังชิ้น แพร่
48.0
2012-06-05 วังชิ้น วังชิ้น วังชิ้น แพร่
66.2
2012-06-04 ยม5 หาดเสี้ยว ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
51.2
หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 40 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร

ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

ปริมาณน้ำไหลเข้ารายวันเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลเข้่าสะสมเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลเข้ารายวันเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสมเขื่อนภูมิพล
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html

จากเหตุการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงกลางเดือนมิถุนายน พบว่า
มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพลสูงสุดเพียง 16.43 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 11 มิ.ย. 55 ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุดเพียง 18.58 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 11 มิ.ย. 55 เช่นเดียวกัน


ปริมาณน้ำไหลผ่านในแม่น้ำยม

(Y.3A) บ้านวังไม้ขอน อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 691.20 ลบ.ม./วิ วันที่ 11 มิ.ย. 55

(Y.6) บ้านแก่งหลวง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 694.80 ลบ.ม./วิ วันที่ 11 มิ.ย. 55

(Y.14) บ้านดอนระเบียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 784.00 ลบ.ม./วิ วันที่ 11 มิ.ย. 55

(Y.16) บ้านบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 311.60 ลบ.ม./วิ วันที่ 17 มิ.ย. 55

(Y.17) บ้านสามง่าม อ.สามง่าม จ.พิจิตร
ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 199.75 ลบ.ม./วิ วันที่ 15 มิ.ย. 55


(Y.33) บ้านคลองตาล อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย
ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 762.50 ลบ.ม./วิ วันที่ 12 มิ.ย. 55

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_itcwater.php
         
จากการตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำท่าในแม่น้ำยมพบว่า ช่วงวันที่ 11-12 มิ.ย. 55 บริเวณจังหวัดสุโขทัยมีปริมาณน้ำไหลผ่านค่อนข้างมาก (อ.สวรรคโลก อ.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสำโรง) หลังจากนั้นมวลน้ำบางส่วนได้เคลื่อนตัวลงสู่แม่น้ำยมตอนล่างบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. 55 โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่ตรวจวัดได้อยู่ที่ 784 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่บ้านดอนระเบียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ในวันที่ 11 มิ.ย. 55


ระดับน้ำในแม่น้ำยม

จากการตรวจวัดระดับน้ำผ่านระบบโทรมาตรในแม่น้ำยม พบว่าในวันที่ 11 มิ.ย. 55 บริเวณ อ.ศรีสัชนาลัย และ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยที่ อ.ศรีสัชนาลัย ระดับน้ำขึ้นสูงสุด 66.07 ม.รทก. ส่วนที่ อ.สวรรคโลก ระดับน้ำขึ้นสูงสุด 55.92 ม.รทก. หลังจากนั้นระดับน้ำได้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยไหลลงสู่ตอนล่างของแม่น้ำยมและโดยการผันน้ำเข้าสู่แม่น้ำน่าน จากราฟแสดงระดับน้ำบริเวณแม่น้ำยมตอนล่างพบว่าที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างช้า ๆ โดยระดับน้ำสูงสุด อยู่ที่ 43 ม.รทก. ในวันที่ 16 มิ.ย. 55 หลังจากนั้นระดับน้ำได้ลดลงอย่างช้า ๆ ส่วนที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เช่นกัน โดยระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 37.39 ม.รทก. ในวันที่ 16 มิ.ย. 55 หลังจากนั้นระดับน้ำได้ลดลงอย่างช้า ๆ


ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม จาก GISTDA


ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2555 เวลา 18.04 น.
แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วน
ของจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555 เวลา 06.10 น.
แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของ
จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 เวลา 06.04 น.
แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วน
ของจังหวัดสุโขทัย

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 เวลา 18.34 น.
แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย




ข้อมูลด้านความเสียหาย

สรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์ (ระหว่างวันที่ 12-18 มิ.ย. 55 ) รายงาน ณ วันที่ 19 มิ.ย. 55
สถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง  (ระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน - 18 มิถุนายน 2555)
(ตัดมาเฉพาะส่วนรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ)

จังหวัดสุโขทัย วันที่ 10 มิถุนายน 2555 เวลา 07.30 น.น้ำในแม่น้ำยมที่ไหลมาจากจังหวัดแพร่ ได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 12 ตำบล 69 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,564 ครัวเรือน 6,480 คน และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย นาข้าว 11,019 ไร่ พืชไร่ 489 ไร่ ถนนดินลูกรัง 20 สาย ท่อระบายน้ำ 6 แห่ง สะพาย 1 แห่ง
การให้ความช่วยเหลือ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุโขทัย เสริมกระสอบทราย แนวคันกั้นน้ำ จัดตั้งเต็นท์ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จัดทำประกอบอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัย เรือท้องแบน 2 ลำ จัดถุงยังชีพให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2555 เวลา 12.50 น. เกิดฝนตกหนักทำให้ น้ำท่วมขังและล้นตลิ่งในพื้นที่อำเภอบางระกำ ตำบลชุมแสงสงคราม นาข้าว 1,900 ไร่

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาไทย http://www.disaster.go.th/

     

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

สุโขทัย-2 หมู่บ้านในตัวเมืองน้ำท่วมหนัก [ ครอบครัวข่าว 3 : 12 มิ.ย. 55 ]

น้ำในแม่น้ำยมที่ไหลบ่าลงมากัดเซาะพนังกั้นน้ำหลายจุดทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมหนักในตัวเมืองสุโขทัย ต้องเร่งอพยพชาวบ้านเกือบ 100 คนใน 2หมู่บ้าน ออกมาพักอาศัยชั่วคราวในเต็นท์ที่จังหวัดจัดไว้ให้

นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เข้าเยี่ยมชาวบ้านที่อพยพออกมานอนอยู่ในเต็นท์ที่จังหวัดจัดไว้ให้กลางดึก และประกาศพื้นที่ภัยพิบัติอุทกภัย 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสุโขทัย ซึงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันใน 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน และ อำเภอกงไกรลาศ 6 ตำบล 36 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจากอำเภอลอง และ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำยมล้นตลิ่ง และกัดเซาะพนังกั้นน้ำหลายจุดตั้งแต่ตำบลปากแคว น้ำเริ่มเข้าท่วมถนนจรดวิถีถ่องสูง 30 เซนติเมตร ระยะทาง 500 เมตร และที่ไดรับผลกระทบอย่างหนักคือ หมู่ที่ 5 บ้านวังโพธิ์ ตำบลยางซ้าย และหมู่ที่ 2 บ้านลัดทรายมูล ตำบลลัดทรายมูล ตำบลปากพระ อำเภอเมืองสุโขทัย ต้องเร่งอพยพชาวบ้าน 20 ครอบครัว เกือบ 100 คน ขึ้นมาพักอาศัยชั่วคราวในเต็นท์ที่จังหวัดจัดไว้ เนื่องจากพนังดินกั้นน้ำที่ถูกกัดเซาะมาตั้งแต่ปีที่แล้ว อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถรับน้ำได้ น้ำที่เอ่อล้นจึงไหลบ่าเข้ามาอย่างรวดเร็ว ข้ามถนนและลอดท่อเหลี่ยมระบายลงพื้นที่การเกษตรอย่างต่อเนื่องเป็นวงกว้าง

ชาวบ้าน 100 ชีวิตที่ต้องอพยพขึ้นมาอาศัยกิน อยู่ หลับ นอน ในเต็นท์คืนวานนี้ ทางจังหวัดได้ประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่าง ให้จัดเตรียมอาหารโดยตั้งเป็นโรงครัวกลาง นำถังบรรจุน้ำสะอาด และน้ำดื่ม รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ มาคอยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัยแล้วอย่างทั่วถึง




--------------------------------------------------------------------------------------
“น้ำยม” เอ่อท่วมสุโขทัยบางจุดแล้ว พระสงฆ์-ชาวบ้านเร่งขนกระสอบทรายทำแนวกั้นจุดเสี่ยง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 11 มิ.ย. 55 ]
สุโขทัย - ระดับน้ำยมในเขตสุโขทัย เอ่อล้นหลายจุด ถนนสายสุโขทัย-ศรีสำโรงถูกน้ำท่วมบางส่วนทำให้การสัญจรลำบาก ถนนคอนกรีตเลียบฝั่งถูกน้ำเซาะเป็นโพรงยาวกว่า 300 เมตรรอวันถล่มแล้ว ขณะที่พระสงฆ์-ชาวบ้านริมน้ำเร่งขนกระสอบทรายทำแนวกั้นจุดเสี่ยง
       
        วันนี้ (11 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม จ.สุโขทัยว่า หลังน้ำยมจาก จ.แพร่ไหลลงมาสมทบทำให้ระดับน้ำที่มีสะสมปริมาณมากได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรหมู่ 4 ต.ปากแคว อ.เมืองสุโขทัย และท่วมถนนสายสุโขทัย-ศรีสำโรง ตรงบริเวณหน้าการประปาส่วนภูมิภาค ทำให้การสัญจรยากลำบาก
       
        ขณะที่หมู่ 1, 2, 4 และหมู่ 6 ต.ปากแคว ชาวบ้านพร้อมด้วยพระสงฆ์วัดปากแควต่างได้เร่งขนกระสอบทรายทำแนวกั้นตามจุดเสี่ยงต่างๆ ในพื้นที่เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในแม่น้ำยมทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนที่มีอยู่ประมาณ 3,000 หลัง
       
        ทั้งนี้ ชาวบ้านร้องเรียนว่า ที่หมู่ 1 เขตติดต่อกับหมู่ 7 ต.ปากแคว มีถนนคอนกรีตเลียบแม่น้ำยมถูกน้ำกัดเซาะใต้พื้นถนนจนเป็นโพรงขนาดใหญ่เสียหายเป็นทางยาวกว่า 300 เมตร โดยชาวบ้านบอกว่าไม่สามารถซ่อมแซม หรือทำอะไรได้แล้ว รอแต่ให้ถูกกระแสน้ำซัดพังไปเท่านั้น และถ้าน้ำทะลักผ่านไปได้จะทำให้บ้านเรือนราษฎรหลายพันหลังที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานีจะต้องถูกท่วมเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
       
        รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ขณะเดียวกัน ที่ชุมชนวัดคูหาสุวรรณ ต.ธานี อ.เมืองสุโขทัย น้ำยมได้กัดเซาะพนังกั้นน้ำจนพังเป็นทางยาว 10 เมตร ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำยมไหลลงสู่คลองแม่รำพัน ทำให้ 4 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ราษฎรกว่า 2,000 ครอบครัวต้องเสี่ยงภัยน้ำท่วมครั้งนี้



--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมสุโขทัยขยายวงกว้าง-พิจิตรยังวิกฤติ [ MCOT : 13 มิ.ย. 55 ]
สุโขทัย 13 มิ.ย.- เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เร่งซ่อมแซมขอบประตูระบายน้ำที่พังเสียหาย ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพิจิตรยังวิกฤติ

ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่จังหวัดสุโขทัย ลดลงอย่างช้าๆ ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมตามจุดต่างๆ เริ่มคลี่คลาย ยกเว้นบริเวณบ้านวังโพธิ ตำบลยางซ้าย และบ้านลัดทรายมูล ตำบลตากพระ อำเภอเมือง  ที่ถนนและคันดินริมตลิ่งพัง ทำให้น้ำในแม่น้ำยมยังทะลักเข้าท่วมพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และขยายวงกว้าง นาข้าวกว่าหมื่นไร่เสียหาย ขณะเดียวกันเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เร่งซ่อมแซมคอประตูระบายน้ำชุมชนวัดคูหาสุวรรณ ที่ถูกน้ำกัดเซาะจนพังเสียหายเมื่อ 2 วันก่อน ล่าสุดพบว่าดำเนินการได้แล้วเสร็จ ซึ่งอยู่ระหว่างสูบน้ำจากพื้นที่ท่วมขัง ระบายลงแม่น้ำยม

ส่วนที่จังหวัดพิจิตร น้ำท่วมยังวิกฤติ หลังน้ำในแม่น้ำยมจากภาคเหนือไหลลงมาสมทบกับน้ำป่า ที่หลากตามลำคลองจากจังหวัดกำแพงเพชร และเอ่อทะลักเข้าท่วมพื้นที่ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม บางจุดระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ชลประทานจังหวัดพิจิตร ได้ประสานไปยังสำนักชลประทานที่ 3 ให้เพิ่มระดับการผันน้ำจากแม่น้ำยม ให้ไหลลงคลองชลประทาน ที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำยมกับแม่น้ำน่าน หวังลดผลกระทบและคลี่คลายสถานการณ์.-สำนักข่าวไทย


ข้อมูลอ้างอิง
  • ครอบครัวข่าว 3 http://www.krobkruakao
  • ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th
  • สำนักข่าวไทย http://www.mcot.net