บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ "ไหหม่า" (24-30 มิถุนายน 2554)
ภาพเส้นทางพายุ โดย Unisys Weather |
|
ภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ | |||
23/6/2011[14GMT] |
24/6/2011[11GMT] |
25/6/2011[09GMT] |
26/6/2011[11GMT] |
27/6/2011[08GMT] |
28/6/2011[11GMT] |
29/6/2011[14GMT] |
30/6/2011[11GMT] |
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่ากลุ่มเมฆค่อนข้างหนา เริ่มเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน และเคลื่อนตัวพาดผ่านภาคเหนือตอนบน จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในบริเวณที่กลุ่มเมฆปกคุลม และเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด เช่น น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก ตาก ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน และหลังจากวันที่ 26 มิถุนายน ยังคงมีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. แต่มีปริมาณลดลง ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ภาพแผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา | |||
23/6/2011[13UTC] |
24/6/2011[13UTC] |
25/6/2011[13UTC] |
26/6/2011[07UTC] |
27/6/2011[13UTC] |
28/6/2011[07UTC] |
29/6/2011[19UTC] |
30/6/2011[13UTC] |
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง |
แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม) |
||||
km/hr
|
||||
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง |
แผนที่อากาศระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม) |
||||
hPa |
||||
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง |
แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวัน ล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 ก.ม. และ 9x9 ก.ม.
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model) โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร คาดการณ์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554 (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม) |
|||
precipitation(mm/day) |
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา | |||
เรดาร์เชียงราย รัศมี 240 กิโลเมตร | |||
23/6/2554 23:27GMT |
24/6/2554 22:27GMT |
25/6/2554 14:27GMT |
26/6/2554 02:27GMT |
27/6/2554 02:27GMT |
28/6/2554 19:27GMT |
29/6/2554 07:27GMT |
30/6/2554 13:27GMT |
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร | |||
24/6/2554 22:25GMT |
25/6/2554 09:25GMT |
26/6/2554 04:25GMT |
27/6/2554 02:25GMT |
28/6/2554 05:25GMT |
29/6/2554 17:25GMT |
30/6/2554 14:25GMT |
01/7/2554 06:25GMT |
dBz หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์เชียงราย และเรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง พบว่ามีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนตั้งแต่ช่วงวันที่ 24-27 มิถุนายน หลังจากนั้นปริมาณฝนได้ลดลงในช่วงวันที่ 28-29 มิถุนายน และกลับมามีฝนตกอีกครั้งช่วงวันที่ 30 มิถุนายน จนถึงต้นเดือนกรกฎาคม โดยมีฝนมากบริเวณภาคเหนือตอนล่างรวมถึงภาคกลางตอนบน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม เรดาร์เชียงราย เรดาร์ิพิษณุโลก |
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA | |||
23/6/54[00Z]- 24/6/54[00Z] |
24/6/54[00Z]- 25/6/54[00Z] |
25/6/54[00Z]- 26/6/54[00Z] |
26/6/54[00Z]- 27/6/54[00Z] |
27/6/54[00Z]- 28/6/54[00Z] |
28/6/54[00Z]- 29/6/54[00Z] |
29/6/54[00Z]- 30/6/54[00Z] |
30/6/54[00Z]-1/7/54[00Z] |
mm.
จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่วงวันที่ 24-26 มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุไหหม่า เข้าปกคลุมบริเวณพื้นที่ดังกล่าว หลังจากนั้นกลุ่มฝนในพื้นที่ภาคเหนือกระจุกตัวน้อยลงจนถึงสิ้นเดือน ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกลุ่มฝนกระจุกตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่ 28-30 มิถุนายน รายละเอียดเพิ่มเติม |
การเปรียบเทียบปริมาณฝนพื้นที่ภาคเหนือในเดือนที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม
โดยใช้แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนที่สังเคราะห์จากข้อมูลฝนของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
พ.ค. 49 |
ส.ค.53 |
พ.ค.54 |
ส.ค.49 |
ก.ย.53 |
มิ.ย.54 |
ก.ย.49 |
หมายเหตุ : กรอบสีแดงเข้ม หมายถึง เกิดน้ำท่วมหนักกระจายวงกว้างในหลายพื้นที่ และระยะเวลาที่น้ำท่วมขังค่อนข้างนาน, กรอบสีส้ม หมายถึง เกิดน้ำท่วมบางพื้นที่ในระยะเวลาสั้น |
|
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2554 พบว่าใีนเดือนพฤษภาคม ปี 2554 มีฝนตกมากเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่ และส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นระยะสั้น ๆ ในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น จ.ลำปาง และ จ.พิจิตร และต่อมาใน เดือนมิถุนายน 2554 อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ลดกำลังลงจากพายุ "ไหหม่า" ส่งผลให้มีฝนตกมากทางด้านทิศตะวันออกของภาคเหนือ บริเวณจังหวัดน่าน เชียงราย พะเยา และทางทิศตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ ตาก ส่งผลให้ในเบื้องต้นเกิดน้ำท่วมหนักบริเวณ จังหวัดตาก และ น่าน และเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา พิจิตร หลังจากนั้น น้ำท่วมได้แผ่วงกว้างลงสู่ตอนล่างของลุ่มน้ำยม บริเวณจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก หากพิจารณาถึงปริมาณฝนสะสมที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2554 โดยเปรียบเทียบกับปริมาณฝนสะสมในเดือนพฤษภาคม สิงหาคม กันยายน ปี 2549 และเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่เดียวกันกับเดือนมิถุนายน 2554 พบว่าฝนสะสมเดือนมิถุนายน 2554 มีปริมาณน้อยกว่า โดยที่เดือนสิงหาคม 2553 มีปริมาณฝนสะสมมากที่สุด รายละเอียดแสดงดังกราฟด้านล่าง |
วันที่ |
สถานี |
จังหวัด |
ปริมาณฝน สะสม 24 ช.ม.(มม.) |
26/06/2011 |
ทุ่งช้าง (2) |
น่าน |
107.1 |
แม่สอด |
ตาก |
83.3 |
|
ท่าวังผา (2) |
น่าน |
52.2 |
|
ดอยมูเซอ (1) |
ตาก |
51.6 |
|
25/06/2011 |
ทุ่งช้าง (2) |
น่าน |
153.4 |
ท่าวังผา (2) |
น่าน |
141.8 |
|
แม่สอด |
ตาก |
110.1 |
|
เชียงราย |
เชียงราย |
108.1 |
|
น่าน (1) |
น่าน |
104.3 |
|
น่าน |
น่าน |
103.3 |
|
พะเยา |
พะเยา |
93.6 |
|
แพร่ |
แพร่ |
58.1 |
|
เชียงราย (1) |
เชียงราย |
51.0 |
|
24/06/2011 |
น่าน (1) |
น่าน |
77.4 |
น่าน |
น่าน |
57.6 |
|
แม่สอด |
ตาก |
53.2 |
วันที่ |
รหัสสถานี |
ชื่อสถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
29/06/2011 | BPUG | บ้านผึ้ง | บ้านผึ้ง | เมืองนครพนม | นครพนม | 55.6 |
DIWO | ดอยเวา | เวียงพางคำ | แม่สาย | เชียงราย | 81.4 | |
28/06/2011 | BPUG | บ้านผึ้ง | บ้านผึ้ง | เมืองนครพนม | นครพนม | 63.0 |
26/06/2011 | CKLG | เชียงกลาง | เปือ | เชียงกลาง | น่าน | 52.6 |
CLPK | เฉลิมพระเกียรติ | ห้วยโก๋น | ทุ่งช้าง | น่าน | 75.0 | |
HR034 | อบต.น่าไร่หลวง | นาไร่หลวง | สองแคว | น่าน | 83.8 | |
HR075 | รร.ขุนห้วยตาก | ท้องฟ้า | บ้านตาก | ตาก | 63.6 | |
HR086 | อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ | สามหมื่น | แม่ระมาด | ตาก | 100.2 | |
MCRM | แม่จริม | หนองแดง | แม่จริม | น่าน | 54.2 | |
25/06/2011 | ANLI | อ่ายนาไลย | อ่ายนาไลย | เวียงสา | น่าน | 72.6 |
CGSN | เชียงแสน | เวียง | เชียงแสน | เชียงราย | 65.0 | |
CHUN | จุน | ห้วยข้าวก่ำ | จุน | พะเยา | 56.6 | |
CKLG | เชียงกลาง | เปือ | เชียงกลาง | น่าน | 133.2 | |
CLPK | เฉลิมพระเกียรติ | ห้วยโก๋น | ทุ่งช้าง | น่าน | 53.0 | |
HR003 | อบต.บ่อ | บ่อ | เมืองน่าน | น่าน | 138.4 | |
HR007 | อบต.ปอน | ปอน | ทุ่งช้าง | น่าน | 87.4 | |
HR010 | อบต.สวด | สวด | บ้านหลวง | น่าน | 69.8 | |
HR011 | อนามัยจอมพระ | จอมพระ | ท่าวังผา | น่าน | 122.6 | |
HR012 | อบต.ยาบหัวนา | ยาบหัวนา | เวียงสา | น่าน | 81.2 | |
HR018 | อบต.แม่สาคร | แม่สาคร | เวียงสา | น่าน | 59.4 | |
HR020 | อบต.ปิงหลวง | ปิงหลวง | นาหมื่น | น่าน | 84.0 | |
HR022 | อบต.บ่อเกลือ | บ่อเกลือใต้ | บ่อเกลือ | น่าน | 216.2 | |
HR023 | อบต.ขุนควร | ควร | ปง | พะเยา | 99.8 | |
HR026 | อบต.หนองแดง | หนองแดง | แม่จริม | น่าน | 155.2 | |
HR027 | อบต.บ่อเกลือใต้ | บ่อเกลือใต้ | บ่อเกลือ | น่าน | 194.0 | |
HR028 | อบต.ปง | ปง | ปง | พะเยา | 86.0 | |
HR034 | อบต.น่าไร่หลวง | นาไร่หลวง | สองแคว | น่าน | 97.6 | |
HR035 | อบต.น้ำมวบ | น้ำมวบ | เวียงสา | น่าน | 95.2 | |
HR041 | อบต.สะเนียน | ถืมตอง | เมืองน่าน | น่าน | 94.6 | |
HR045 | สายตรวจผาแดง | หนองผึ้ง | สารภี | เชียงใหม่ | 77.6 | |
HR054 | อบต.วังแก้ว | บ้านร้อง | งาว | ลำปาง | 60.4 | |
HR064 | ร.ร.ตชด.ยอดโพธิ์ทอง | บ่อเบี้ย | บ้านโคก | อุตรดิตถ์ | 93.0 | |
HR080 | รร.บ้านบ่อโพธิ์ | บ่อโพธิ์ | นครไทย | พิษณุโลก | 86.8 | |
HR086 | อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ | สามหมื่น | แม่ระมาด | ตาก | 66.6 | |
HR089 | บ้านผู้ใหญ่ | จำป่าหวาย | เมืองพะเยา | พะเยา | 52.0 | |
HR097 | อบต.ทุ่งน้าว | ทุ่งน้าว | สอง | แพร่ | 95.0 | |
HR102 | N13 บ้านไผ่งาม | ส้าน | เวียงสา | น่าน | 66.8 | |
LGTI | หลวงใต้ | นาแก | งาว | ลำปาง | 78.2 | |
MECN | แม่จัน | แม่จัน | แม่จัน | เชียงราย | 64.6 | |
NAMN | นาหมื่น | บ่อแก้ว | นาหมื่น | น่าน | 66.2 | |
NANI | นาน้อย | ศรีษะเกษ | นาน้อย | น่าน | 54.8 | |
NMKI | หนองม่วงไข่ | หนองม่วงไข่ | กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ | แพร่ | 65.8 | |
NOKW | โนนแก้ว | เหล่าทอง | โซ่พิสัย | หนองคาย | 78.2 | |
NONA | หนองนาง | หนองนาง | ท่าบ่อ | หนองคาย | 54.8 | |
PONG | ปง | นาปรัง | ปง | พะเยา | 76.8 | |
PPST | ภูผาสาด | ลาดค่าง | ภูเรือ | เลย | 52.2 | |
SGKM | สังคม | สังคม | สังคม | หนองคาย | 131.8 | |
STSK | สันติสุข | ดู่พงษ์ | สันติสุข | น่าน | 90.8 | |
WGNA | วังเหนือ | วังเหนือ | วังเหนือ | ลำปาง | 63.2 | |
WGSA | เวียงสา | กลางเวียง | เวียงสา | น่าน | 70.4 | |
24/06/2011 | ANLI | อ่ายนาไลย | อ่ายนาไลย | เวียงสา | น่าน | 51.0 |
SGKM | สังคม | สังคม | สังคม | หนองคาย | 86.0 |
การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก
จากรายงานการส่ง sms เพื่อเตือนภัยปริมาณฝนในช่วงวันที่ 24-27 มิถุนายน 2554 พบว่ามีการส่ง sms เพื่อเตือนภัยปริมาณฝนวิกฤต
บริเวณจังหวัดน่าน ตาก พะเยา อุตรดิตถ์ โดยเฉพาะจังหวัดน่าน ที่ปริมาณฝนวิกฤตในหลายพื้นที่ รายละเอียดดังตารางด้านล่าง
วันที่เตือนภัย |
เวลาเตือนภัย |
ช่วงเวลาฝนสะสม |
สถานที่ |
ปริมาณฝน(มม.) |
ระดับการเตือนภัย |
27/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน |
107.1 |
วิกฤต |
26/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน จ.น่าน |
104.3 |
วิกฤต |
26/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.ป่าแลวหลวง อ.สันติสุข จ.น่าน |
103.3 |
วิกฤต |
26/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.แม่ท้อ อ.เมืองตาก จ.ตาก |
110.1 |
วิกฤต |
26/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน |
153.4 |
วิกฤต |
26/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.จุน อ.จุน จ.พะเยา |
93.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
26/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย |
108.1 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
26/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน |
141.8 |
วิกฤต |
26/06/2011 |
3:00:00 |
ฝน26/07-27/03น. |
ต.ห้วยโก๋น อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน |
68 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
23:00:00 |
ฝน07-23น. |
ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน |
66.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
23:00:00 |
ฝน07-22น. |
ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน |
87.6 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
23:00:00 |
ฝน07-22น. |
ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน |
70 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
23:00:00 |
ฝน07-22น. |
ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน จ.น่าน |
68 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
23:00:00 |
ฝน07-22น. |
ต.ส้าน อ.เวียงสา จ.น่าน |
66.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
21:00:00 |
ฝน07-21น. |
ต.บ่อเบี้ย อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ |
88.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
21:00:00 |
ฝน07-21น. |
ต.บ่อเบี้ย อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ |
88.6 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
21:00:00 |
ฝน07-20น. |
ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ.น่าน |
108.2 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
21:00:00 |
ฝน07-20น. |
ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน |
101.8 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
21:00:00 |
ฝน07-20น. |
ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน |
73.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
21:00:00 |
ฝน07-21น. |
ต.ถืมตอง อ.เมืองน่าน จ.น่าน |
70.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
21:00:00 |
ฝน07-21น. |
ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน |
67 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
21:00:00 |
ฝน07-20น. |
ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน |
78.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
17:00:00 |
ฝน07-17น. |
ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน |
104.2 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
17:00:00 |
ฝน07-17น. |
ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน |
66.6 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
17:00:00 |
ฝน07-17น. |
ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน |
104.8 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
8:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน จ.น่าน |
77.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.บ่อโพธิ์ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก |
90.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.สามหมื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก |
97.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.ทุ่งน้าว อ.สอง จ.แพร่ |
99.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ |
94.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.นาไร่หลวง อ.สองแคว จ.น่าน |
119.6 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน |
103 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.ควร อ.ปง จ.พะเยา |
128 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝนวานนี้ |
ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน |
90.8 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.ปง อ.ปง จ.พะเยา |
98.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน |
96.6 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
7:00:00 |
ฝน25/07-26/06น. |
ต.ส้าน อ.เวียงสา จ.น่าน |
81.4 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
3:00:00 |
ฝน25/07-26/03น. |
ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน |
82.4 |
วิกฤต |
25/06/2011 |
1:00:00 |
ฝน25/07-26/00น. |
ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน |
70.8 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
1:00:00 |
ฝน25/07-26/00น. |
ต.กลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน |
66.4 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
25/06/2011 |
1:00:00 |
ฝน25/07-26/00น. |
ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น จ.น่าน |
66.2 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
24/06/2011 |
10:00:00 |
HAIMA-11 Typhoon is 248 km. toward Thailand. |
เฝ้าระวังสูงสุด |
ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต | |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนภูมิพล |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนภูมิพล |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนสิริกิติ์ |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิริกิติ์ |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแม่งัด |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแม่งัด |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแม่กวง |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแม่กวง |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแควน้อย |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแควน้อย |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนกิ่วลม |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนกิ่วลม |
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนกิ่วคอหมา |
ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนกิ่วคอหมา |
จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ และปริมาณน้ำกักเก็บของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 7 อ่าง ในพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่งัด เขื่อนแม่กวง เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนแควน้อย พบว่าช่วงวันที่ 27-28 มิถุนายน 2554 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 24-26 มิถุนายน 2554 จากอิทธิพลของหย่อม ความกดกาอาศต่ำกำลังแรงที่สลายตัวจากพายุ "ไหหม่า" โดยเฉพาะจังหวัดน่านที่เิกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในหลายอำเภอ และส่งผลให้ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุดถึง 214.42 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ช่วงที่เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดน่าน ในเดือนสิงหาคม ปี 2549 และ ปี 2553 และหากพิจารณาข้อมูลน้ำไหลลงอ่างฯ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนมิถุนายน 2554 พบว่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ แต่ละอ่างฯ ในพื้นที่ภาคเหนือ มีปริมาณมากกว่าปี 2549 และ 2553 ในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ |
ข้อมูลระดับน้ำตรวจวัด ณ เวลา 6.00 น. จากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน | ||
(N.64)บ้านผาขวาง อ.เมือง จ.น่าน (ระดับตลิ่ง 9.5 ม.) |
(N.1)หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน (ระดับตลิ่ง 7 ม.) |
|
(Y.20)บ้านห้วยสัก อ.สอง จ.แพร่ (ระดับตลิ่ง 8.1 ม.) |
(Y.1C)ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง อ.เมือง จ.แพร่ (ระดับตลิ่ง 8.2 ม.) |
|
|
(Y.4)ที่สะพานตลาดธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย (ระดับตลิ่ง 6.48 ม.) |
|
(Y.3A)บ้านวังไม้ขอน อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย (ระดับตลิ่ง 10.15 ม.) |
(Y.16)บ้านบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก (ระดับตลิ่ง 7.15 ม.) |
|
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน โดยตรวจวัด ณ เวลา 6.00 น. พบว่า หลังจากที่มีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 24-26 มิถุนายน 2554 ส่งผลให้ระดับน้ำในลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน เกิดล้นตลิ่งในหลายจุด โดยลุ่มน้ำน่านเกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่จังหวัดน่าน พิจิตร อุตรดิตถ์ และเป็นการเกิดน้ำล้นตลิ่งในช่วงหลังเกิดฝนตกหนักเพียง 3-4 วัน เท่านั้น หลังจากนั้นระดับน้ำก็เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำยม ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำได้เคลื่อนตัวลงสู่ตอนล่างทำให้เกิดน้ำท่วมต่อเนื่องในจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก โดยจังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลกมีน้ำท่วมต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2554 รายละเอียดเพิ่มเติม |
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 |
||
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 |
||
รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 |
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ -------------------------------------------------------------------------------------- (วันที่5 ก.ค. 54.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ น้ำท่วมที่จังหวัดพิษณุโลก กำลังได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำยมสายเก่า ที่รับน้ำจากแม่น้ำยมสายหลักจาก จ.สุโขทัย ระบายผ่าน อ.พรหมพิราม อ.เมือง และอ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่บ้านคลองเมม หมู่ 12 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อจาก จ.สุโขทัย ชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ได้รับความเดือดร้อน นายเลียบ พิมพ์สังข์ อายุ 80 ปี เปิดเผยว่า น้ำจาก จ.สุโขทัยได้ไหลเข้าท่วมบ้านของตนเองตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาเพียงข้ามคืน น้ำก็ท่วมสูงกว่า 1 เมตร อีกทั้ง นาข้าวส่วนใหญ่ ที่เหลืออีกเพียง 10 กว่าวันก็จะได้เก็บเกี่ยว ถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้ โรงเรียนวัดเมมสุวรรณาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนในหมู่บ้าน ก็ได้มีการสั่งปิดโรงเรียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมดังกล่าว ส่วนพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำในแม่น้ำยมสายหลักที่ไหลจาก จ.สุโขทัยได้เพิ่มสูงขึ้น น้ำได้ท่วมพื้นที่นาข้าว หมู่ 2 ม.9 ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เสียหายประมาณ 1,000 ไร่แล้ว ทางด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ระบุว่า จากพายุฝนที่ตกในพื้นที่ และสถานการณ์น้ำหลากจากทางภาคเหนือ จ.พิษณุโลก ได้รับผลกระทบไปแล้ว 9 อำเภอ 50 ตำบล 189 หมู่บ้าน และมีพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายไปแล้วกว่า 54,664 ไร่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 2 พันครัวเรือน ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้ประกาศทั้ง 9 อำเภอให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมแล้ว -------------------------------------------------------------------------------------- เกิดน้ำท่วมสูงกว่า 40 เซนติเมตร บนถนนหลายสายในเขตเทศบาลนครลำปาง เนื่องจากท่อระบายน้ำระบายน้ำไม่ทันหลังเกิดฝนตกหนักตลอดช่วงบ่ายวานนี้ (3 ก.ค.) ส่งผลให้รถยนต์ขนาดเล็กเครื่องยนต์ขัดข้อง ขณะที่ชาวบ้านต้องเร่งเก็บทรัพย์สินขึ้นที่สูง ล่าสุดระดับน้ำได้ลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว -------------------------------------------------------------------------------------- นายวิบูลย์ สงวน พงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)กล่าวว่า หลังจากเกิดฝนตกหนักมากเนื่องจากอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น"ไหหม่า" ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย จ.ตาก จ.พะเยา และ จ.น่าน ส่งผลให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนรวม 29 อำเภอ 133 ตำบล 896 หมู่บ้าน 37,147 ครัวเรือน รวม 118,856 คน และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก อีกทั้งมีผู้สูญหาย 1 ราย ที่ อ.เวียงสา จ.น่าน รวมถึงพื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 53,227 ไร่ และยังมีสิ่งปลูกสร้าง สะพาน และทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายอีกเป็นจำนวนมาก เมืองเหนืออ่วมอีกหลังฝนถล่มข้ามคืน น่านจมแล้ว 48 หมู่บ้านใน 4 อำเภอ สั่งปิดโรงเรียนชั่วคราวหลายโรง ผู้ว่าฯ สั่งตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยชาวบ้าน ชาวอุตรดิตถ์ผวาดินโคลนถล่มซ้ำ สั่งเฝ้าระวังแจ ส่วนที่ลำปางดินโคลนถล่มปิดเส้นทางเข้าหมู่บ้านหลายจุด "ศภช." เตือนเหนือ-อีสาน 17 จังหวัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน หลายจังหวัดในภาคเหนือต้อง ประสบภัยน้ำท่วมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน นายมนัส สิงห์ชัย ผู้ใหญ่บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ 7 ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง เปิดเผยว่า ตลอดทั้งคืนวันที่ 25 มิถุนายน เกิดฝนหนักและยังตกอย่างต่อเนื่อง จากการตรวจวัดปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่พบว่ามากกว่า 90 มิลลิเมตร จึงทำให้เกิดดินโคลนถล่มลงมาปิดทับเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านป่าเหมี้ยง 2 จุด ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถนำรถเข้าออกได้ โดยจุดแรกมีดินโคลนถล่มลงมามากจากดอยลาน ส่วนจุดที่ 2 เป็นทั้งดินโคลนและหิน ซึ่งมีหินก้อนใหญ่ขวางถนนเข้าหมู่บ้าน ขณะนี้ได้แจ้งไปยังอบต.แจ้ซ้อน เพื่อขอนำเครื่องจักรกลเปิดเส้นทางแล้ว หากฝนยังตกลงมาอย่างหนักอีก 1-2 วัน อาจจะทำให้ดินโคลนถล่มลงมาอีก นาย จีรพัฒน์ ตื้อตัน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ภายในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสำรวจพื้นที่ภายในโดย รอบอุทยาน หลังเกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก อาจจะเกิดน้ำป่าไหลทะลักลงมาตามน้ำตก ขณะนี้อุทยานฯ ได้ประกาศแจ้งเตือนไปยัง 10 หมู่บ้านในพื้นที่ ต.แจ้ซ้อน ที่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับทางน้ำไหลผ่านจากน้ำตกแจ้ซ้อน ให้เตรียมพร้อมรับมือกับภาวะน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน ใน ส่วนของ จ.อุตรดิตถ์ ก็ไม่ต่างกัน หลังฝนตกหนักต่อเนื่องทั่วพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะ อ.ลับแล อ.ท่าปลา และ อ.เมือง ซึ่งเคยเกิดดินโคลนถล่มเมื่อปี 2549 ได้จัดเวรยามเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่ นาย เนตร คำเถื่อน ผู้ใหญ่บ้านมหาราช หมู่ 11 ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง เพื่อความไม่ประมาท ประกอบกับบ้านมหาราช หมู่ 11 ต.แม่พลู เป็นพื้นที่สีแดง จุดเสี่ยงภัยดินโคลนถล่มสูงสุดของจังหวัด มีชาวบ้านอาศัยอยู่กว่า 60 หลังคาเรือน ขณะนี้ได้ใช้หอกระจายข่าวประกาศแจ้งเตือนให้เตรียมเก็บสิ่งของพร้อมจะอพยพ ออกจากหมู่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง และมีการจัดเวรยามซึ่งเป็นกลุ่มพ่อบ้าน ผ่านการอบรมกู้ชีพกู้ภัยมาแล้วติดตามตรวจสอบระดับน้ำที่ไหลจากภูเขาลงสู่ ลำห้วย และไหลผ่านหมู่บ้าน หากมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีสีขุ่นแดง ประกอบกับฝนยังตกหนักให้อพยพทันที นาย สุรชัย ธัชกวิน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ (ปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีพื้นที่เสี่ยงหลายจุด โดยเฉพาะ อ.ลับแล อ.ท่าปลา และ อ.เมือง 189 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ตามหุบเขา และเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยสีแดง จึงสั่งการให้เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง บ่ายวันเดียวกัน นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสถานการณ์และให้การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย หลังมีฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมใน อ.เมืองน่าน อ.เวียงสา อ.ปัว และ อ.ภูเพียง ล่าสุดพบว่ามีปริมาณฝนสะสมใน อ.บ่อเกลือ วัดได้ 223.4 มิลลิเมตร ส่วนที่ อ.ปัว 169.4 มิลลิเมตร ปริมาณฝนดังกล่าวทำให้เกิดน้ำท่วมใน อ.ทุ่งช้าง 1 หมู่บ้าน, อ.ภูเพียง 4 หมู่บ้าน, อ.เวียงสา 40 หมู่บ้าน ใน 5 ตำบล และ อ.ปัว 6 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้มีบ้านของนายสัมฤทธิ์ สุทธหลวง อายุ 48 ปี ถูกกระแสน้ำพัดหายไปทั้งหลัง ขณะที่ถนนสายปัว-อุทยานแห่งชาติดอยภูคาถูกน้ำพัดเสียหายจนถูกตัดขาด ส่วนในเขต เทศบาลเมืองน่านน้ำไหลเข้าท่วมในชุมชนบ้านดอนศรีเสริม บ้านท่าลี่-ภูมินทร์ และบ้านพวงพะยอม รวมถึงจวนผู้ว่าราชการเมืองน่าน และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองน่าน ขณะที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านยังเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีการประกาศปิดโรงเรียนบางส่วนแล้ว มีรายงาน ว่า ล่าสุดผู้ว่าราชการจังหวัดน่านได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจที่ศาลากลาง จังหวัด โดยมีตำรวจ อส. และเจ้าหน้าที่ ปภ. ประจำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อออกช่วยเหลือตามที่ได้รับการร้องขอ นอกจากนี้ยังเปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจที่ อ.ปัว อ.ท่าวังผา และ อ.เวียงสา เพื่อให้การช่วยเหลือชาวบ้านด้วยเช่นกัน เบื้องต้นกำลังพลจังหวัดทหารบกน่านได้นำเรือพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3 ลำ พร้อมรถบรรทุก เข้าช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ประสบภัยแล้ว วันเดียวกัน ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) แจ้งเตือนว่า วันที่ 26-27 มิถุนายน จะเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และหนองคาย ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนประชาชนให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทาง ราชการ พร้อมติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด -------------------------------------------------------------------------------------- |
ข้อมูลอ้างอิง |