บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ( 4-8 ต.ค. 56 )
ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ
4/10/2556[11GMT] |
5/10/2556[11GMT] |
6/10/2556[9GMT] |
7/10/2556[7GMT] |
8/10/2556[10GMT] |
4/10/2556 |
5/10/2556 |
6/10/2556 |
7/10/2556 |
8/10/2556 |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php
วันที่ 6 ต.ค. 56 มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทยใกล้กับจังหวัดาประจวบคีรีขันธ์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้เริ่มมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่าง และพื้นที่ใกล้เคียง ต่อมาในวันที่ 7 ต.ค. 56 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงดังกล่าวได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประจวบคีรีขันธ์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนยังมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และในวันที่ 8 ต.ค. 56 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามันตอนบน ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
แผนที่ความกดอากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
4/10/2556 [07:00] |
4/10/2556 [19:00] |
5/10/2556 [07:00] |
5/10/2556 [19:00] |
6/10/2556 [07:00] |
6/10/2556 [19:00] |
7/10/2556 [07:00] |
7/10/2556 [19:00] |
8/10/2556 [07:00] |
8/10/2556 [19:00] |
แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
4/10/2556 [07:00] |
4/10/2556 [19:00] |
5/10/2556 [07:00] |
5/10/2556 [19:00] |
6/10/2556 [07:00] |
6/10/2556 [19:00] |
7/10/2556 [07:00] |
7/10/2556 [19:00] |
8/10/2556 [07:00] |
8/10/2556 [19:00] |
จากแผนภาพแสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล พบว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรงตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค. 56 เป็นต้นมา โดยเฉพาะวันที่ 7-8 ต.ค. 56
ที่มีกำลังแรงค่อนข้างมาก และครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตลอดแนว โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์หัวหิน รัศมี 240 กิโลเมตร | ||||
4/10/2556 [19:29] |
5/10/2556 [17:29] |
6/10/2556 [09:29] |
7/10/2556 [02:29] |
8/10/2556 [14:29] |
เรดาร์ชุมพร รัศมี 240 กิโลเมตร | ||||
4/10/2556 [02:38] |
5/10/2556 [19:38] |
6/10/2556 [15:38] |
7/10/2556 [04:38] |
8/10/2556 [09:38] |
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์หัวหิน : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_hhnradar.php
เรดาร์ชุมพร : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_cmpradar.php
จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์หัวหินและเรดาร์ชุมพร พบว่าอิทธิพลจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
มีกำลังค่อนข้ัางแรงต่อเนื่องในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2556 ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 4-8 ตุลาคม 2556 และเกิดน้ำท่วมหนักบริเวณ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน สังเคราะห์จากข้อมูลปริมาณฝนรายชั่วโมงของ GSMaP
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
4/10/2556 |
5/10/2556 |
6/10/2556 |
7/10/2556 |
8/10/2556 |
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ GSMaP พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคใต้ตอนบนตั้งแต่วันที่ 4-8 ต.ค. 56 โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีปริมาณฝนเกิน 100 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบริเวณอำเภอหัวหิน
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA
4/10/2556[00Z] |
5/10/2556[00Z] |
6/10/2556[00Z] |
7/10/2556[00Z] |
8/10/2556[00Z] |
||
mm.
|
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุุกตัวกันมากบริเวณภาคใต้ตอนบนตั้งแต่วันที่ 4-6 ต.ค. 56 หลังจากนั้นปริมาณฝนลดลง
แต่ในวันที่ 8 ต.ค. 56 ยังคงมีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและราชบุรี
ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหารชน)
รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร ช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. 56
บริเวณภาคใต้ตอนบนและด้านตะวันตกของประเทศ พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 30 มิลลิเมตรต่อวัน
แสดงดังตารางด้านล่าง
ส่วนสถานีที่มีฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ ที่สถานีแยกประจวบ ต.เกาะหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ
ที่สถานีไร่ใหม่พัฒนา ต.ไร่ใหม่พัฒนา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
วันที่ |
สถานี |
ตำบล |
อำเภอ |
จังหวัด |
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) |
2013-10-04 | เขาสก | คลองศก | พนม | สุราษฎร์ธานี | 57.2 |
เขานาใน | บ้านเสด็จ | เคียนซา | สุราษฎร์ธานี | 40.0 | |
บ้านพระรัก | พะโต๊ะ | พะโต๊ะ | ชุมพร | 31.4 | |
คลองหินขาว | พรุไทย | บ้านตาขุน | สุราษฎร์ธานี | 30.0 | |
2013-10-05 | หัวหินเมาทท์เทนวิวล์ | หัวหิน | หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 30.8 |
2013-10-06 | แยกประจวบ | เกาะหลัก | เมืองประจวบคีรีขันธ์ | ประจวบคีรีขันธ์ | 111.2 |
ไร่ใหม่พัฒนา | ไร่ใหม่พัฒนา | ชะอำ | เพชรบุรี | 103.4 | |
หัวหินเมาทท์เทนวิวล์ | หัวหิน | หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 93.6 | |
ป่าละอู | ห้วยสัตว์ใหญ่ | หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 79.2 | |
บ้านมะเดื่อทอง | เขาล้าน | ทับสะแก | ประจวบคีรีขันธ์ | 62.8 | |
เขาสก | คลองศก | พนม | สุราษฎร์ธานี | 56.8 | |
วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน | ทองมงคล | บางสะพาน | ประจวบคีรีขันธ์ | 55.6 | |
บางสะพานน้อย | บางสะพาน | บางสะพานน้อย | ประจวบคีรีขันธ์ | 40.4 | |
ท่าไม้ลาย | วังใหม่ | เมืองชุมพร | ชุมพร | 34.2 | |
ท่าตะคร้อ | ท่าตะคร้อ | หนองหญ้าปล้อง | เพชรบุรี | 32.4 | |
2013-10-07 | ป่าละอู | ห้วยสัตว์ใหญ่ | หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 31.8 |
บ้านจะโปร่ง | หนองหญ้าปล้อง | หนองหญ้าปล้อง | เพชรบุรี | 31.0 | |
ท่าตะคร้อ | ท่าตะคร้อ | หนองหญ้าปล้อง | เพชรบุรี | 30.0 | |
2013-10-08 | ป่าละอู | ห้วยสัตว์ใหญ่ | หัวหิน | ประจวบคีรีขันธ์ | 49.4 |
เขื่อนเพชร | ท่ายาง | ท่ายาง | เพชรบุรี | 34.2 |
หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 30 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร
รายงานการเตือนภัยปริมาณฝนผ่าน sms โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
จากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่าช่วงที่เกิดฝนตกหนัก มีการเตือนภัยปริมาณฝนในระดับเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤตบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชบุรี
รวมทั้งมีการเตือนภัยน้ำในเขื่อนแก่งประจานและปราณบุรี
วันที่เตือนภัย |
เวลาเตือนภัย |
ระดับการเตือนภัย |
ข้อความ |
9/10/2013 |
12:00:00 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
เขื่อนแก่งกระจาน เพิ่มเป็นเฝ้าระวังพิเศษ 82% |
9/10/2013 |
12:00:00 |
วิกฤต |
เขื่อนปราณบุรี เพิ่มเป็นวิกฤต 76% |
7/10/2013 |
9:00:00 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ หนองพลับ (1) จ.เพชรบุรี 119.8 มม |
7/10/2013 |
9:00:00 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝนวานนี้ ประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 129.7 มม |
7/10/2013 |
9:00:00 |
วิกฤต |
ฝนวานนี้ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 153.4 มม |
6/10/2013 |
22:00:00 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝน07-22น. ต.ไร่ใหม่พัฒนา อ.ชะอำ เพชรบุรี 97.2 มม |
6/10/2013 |
1:00:00 |
เฝ้าระวังสูงสุด |
ฝน06/07-07/00น. ต.เกาะหลัก อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์ 101.2 มม |
แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)
คาดการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 56
6/10/56 19:00 น. - 7/10/56 19:00 น. |
7/10/56 19:00 น. - 8/10/56 19:00 น. |
8/10/56 19:00 น. - 9/10/56 19:00 น. |
9/10/56 19:00 น. - 10/10/56 19:00 น. |
10/10/56 19:00 น. - 11/10/56 19:00 น. |
11/10/56 19:00 น. - 12/10/56 19:00 น. |
12/10/56 19:00 น. - 13/10/56 19:00 น. |
จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า
7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ
WRF
ผลการคาดการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 56 พบว่ามีกลุ่มฝนขนาดใหญ่ปกคลุมตั้งแต่ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. 56
และปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบนต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 9 ต.ค. 56 หลังจากนั้นได้สลายตัวลงอย่างต่อเนื่อง
โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่ปริมาณฝนที่ตกหนักครอบคลุมพื้นที่ค่อนข้างกว้างกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับ
ภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน GSMaP
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
||
|
ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนปราณบุรี |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนปราณบุรี ซึ่งเป็นเขื่อนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดฝนตกหนัก พบว่าเขื่อนแก่งกระจานมีปริมาณน้ำไหลเข้า
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในวันที่ 7-9 ต.ค. 56 โดยมี ปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด 40.73 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 9 ต.ค. 56
ส่วนเขื่อนปราณบุรี มีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นมากต่อเนื่องในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. 56
ปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด 33.84 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 7 พ.ย. 56
ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
สถานี PCH001-เมืองเพชรบุรี ต. ต้นมะม่วง อ. เมืองเพชรบุรี จ. เพชรบุรี |
สถานี BSP001-บางสะพาน ต. ร่อนทอง อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ |
สถานี PRN001-ปราณบุรี ต. วังก์พง อ. ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ |
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php
จากกราฟแสดงระดับน้ำที่ตรวจวัดจากระบบโทรมาตร บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ พบว่ากรณีเกิดฝนตกหนักตั้งแต่ช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. 56 ส่งผลให้ระดับน้ำำในแม่น้ำเพชรบุรีและ
แม่น้ำปราณบุรีเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ไม่พบสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง
ข่าวจากหนังสือพิมพ์
--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนตกหนักน้ำท่วมในเมืองหัวหิน [ โพสต์ทูเดย์ : 6 ต.ค. 56 ]
ประจวบฯเจอฝนตกหนักต่อเนื่อง หัวหินน้ำท่วถนนหลายสายสูง 10-50ซม. ผู้ว่าฯสั่งเร่งระบายน้ำเมื่อวันที่ 6 ต.ค. ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา
ส่งผลให้เกิดน้ำฝนสะสมในเขตเทศบาลเมืองหัวหินเนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ได้แก่ถนนสายเดชานุชิต, บริเวณตลาดโต้รุ่งหัวหิน, หน้าตลาดฉัตร์ไชย , ถนนสายดำเนินเกษม, บริเวณ
ทางลงทะเลหัวหิน, ถนนแนบเคหาสน์บริเวณสี่แยกสมาคมประมง โดยเส้นทางทั้งหมดมีน้ำท่วมเป็นระยะสูง10-50 ซม. ทำให้รถยนต์เคลื่อนตัวได้ช้า อย่างไรก็ตามหากปริมาณฝนลดลง และ
ไม่มีน้ำทะเลหนุนสูงก็คาดว่าจะสามารถเร่งระบายน้ำบริเวณตลาดหัวหินได้รวดเร็ว
--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนตกหนักต่อเนื่อง เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมชุมชน บริเวณหมู่บ้านรอยัลโอมวิลเลจ ซอย 102 เขตเทศบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
จากฝนตกติดต่อกันทั้งวันทั้งคืน ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองหัวหินหลายจุด โดยเฉพาะที่หมู่บ้านหัวนาที่ระดับน้ำยังท่วมสูง ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเทศบาลเมืองหัวหิน ต้องเร่งระบายน้ำอย่างเร่งด่วน
กำลังทหารได้เข้าให้การช่วยเหลือ ประชาชนในหมู่บ้านพงษ์นเรศน์ ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการขนย้ายข้าวของ และแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็น หลังเกิดฝนตกหนักติดต่อกันทั้งวัน ทำให้น้ำท่วมในหลายจุด
โดยจุดที่เกิดน้ำท่วมในตัวเมืองท่องเที่ยวอย่างหัวหิน ได้แก่ บริเวณถนนเพชรเกษม ด้านหน้าตลาดฉัตรไชย ถ.เดชานุชิต หรือตลาดโต้รุ่งหัวหิน มีน้ำท่วมขังผิวการจราจรฝั่งขาเข้าเกือบ 20-50 ซม. ทำให้รถยนต์ที่ใช้เส้นทางนี้ต้องชะลอความเร็วในการขับขี่ บางช่วงที่มีน้ำท่วมสูง จะสัญจรได้เพียง 2 ช่องจราจร
ส่วนที่ ถ.แนบเคหาสน์ บริเวณสี่แยกสมาคมประมง,ถนนดำเนินเกษม ทางลงชายหาดหัวหิน ก็มีน้ำท่วมขังผิวการจราจร เป็นระยะๆเช่นเดียวกัน แต่ยังสามารถใช้การได้ตามปกติ เบื้องต้น คาดว่าหากปริมาณฝนลดลง และไม่มีน้ำทะเลหนุนสูง จะสามารถเร่งระบายน้ำบริเวณตลาดหัวหินได้รวดเร็ว
นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางลงพื้นที่ ซอยหัวหิน 112 หมู่บ้านหัวนา เนื่องจากพบว่า มีน้ำป่าจากเทือกเขาทิศตะวันตก ไหลมาสมทบกับน้ำฝน เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และผิวการจราจร ระดับน้ำสูงประมาณ 20-50 ซม.
นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน ระบุว่า จะต้องเร่งระบายน้ำ จากหมู่บ้านหัวนาออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด ด้วยการยกแท่งปูนกั้นถนน หรือแบริเออร์ ที่ขวางทางน้ำบริเวณเกาะกลางถนนออก เพิ่มการเร่งระบายน้ำลงคลองระบายน้ำสายหลักโดยเร็ว หากสามารถแก้ไขปัญหาในจุดนี้ได้สำเร็จ จะช่วยให้ระดับน้ำในพื้นที่ส่วนอื่น เช่น หมู่บ้านพงศ์นเรศ ในซอยหัวหิน 102 ลดระดับลงด้วยเช่นเดียวกัน
--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองหัวหินยังน่าห่วง น้ำบนถนนลดระดับแล้วส่วนในหมู่บ้านยังท่วม [ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : 7 ต.ค. 56 ]
--------------------------------------------------------------------------------------