บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากพายุดีเปรสชั่นกีสน่า (30 กันยายน - 1 ตุลาคม 2552)

ภาพเส้นทางพายุ
พายุหมุนเขตร้อนลูกนี้เป็นพายุลูกแรกในปี 2552 ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย โดยเริ่มจากหย่อมความกดอากาศต่ำในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่น เมื่อตอนค่ำวันที่ 25 กันยายน บริเวณละติจูด 16.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 129.5 องศาตะวันออก จากนั้นพายุนี้เคลื่อนตัวทางตะวันตกพร้อมกับทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในช่วงเช้าของวันที่ 26 กันยายน บริเวณละติจูด 15.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 123.0 องศาตะวันออก และยังคงเคลื่อนตัวทางตะวันตกผ่านตอนกลางของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางและทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นลำดับ โดยเมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 28 กันยายน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่น บริเวณละติจูด 16.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.9 องศาตะวันออก และ มีกำลังแรงสูงสุดเมื่อเวลา 07.00 น.ของวันที่ 29 กันยายน ขณะมีศูนย์กลางที่ละติจูด 15.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.4 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แล้วเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกขึ้นฝั่งเมืองดานัง ประเทศเวียดนามเมื่อเวลา 16.00 น.ของวันเดียวกัน จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน แล้วเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวพร้อมกับอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นและเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบริเวณอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันที่30 กันยายน แล้วปกคลุมบริเวณดังกล่าวอยู่ระยะหนึ่งจนเมื่อเวลา 04.00 น.วันที่ 1ตุลาคมพายุนี้ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และ ศรีสะเกษ ด้วยเหตุที่หย่อมความกดอากาศต่ำนี้วางตัวอยู่ในแนวของร่องความกดอากาศต่ำที่พาดภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จึงเคลื่อนตัวตามแนวร่องความกดอากาศต่ำผ่านจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ลพบุรี สระบุรีและกาญจนบุรี ตามลำดับ
ที่มา : ภาพจากมหาวิทยาลัยฮาวาย เนื้อหาจากรายงานกรมอุตุนิยมวิทยา
รายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพดาวเทียม GOES-9

27/09/2009
22GMT

28/09/2009
19GMT

29/09/2009
13GMT

30/09/2009
09GMT

1/10/2009
12GMT

2/10/2009
17GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่ามีกลุ่มเมฆหนาเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านทิศตะวันออกในวันที่ 30 ก.ย. ส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนค่อนข้างมาก หลังจากนั้นกลุ่มเมฆได้สลายตัวลง แต่ยังคงมีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

27/09/2009

28/09/2009

29/09/2009

30/09/2009



1/10/2009

2/10/2009

3/10/2009

4/10/2009
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าก่อนที่พายุดีเปรสชั่นกีสนาจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยในวันที่ 30 ก.ย. พื้นที่ตอนบนของประเทศบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านพาดผ่านอยู่ก่อนแล้ว ทำให้มีฝนตกและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ และเมื่อพายุพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง ทำให้เกิดฝนตกหนักซ้ำและเกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบตามไปด้วย เช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ในบางพื้นที่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
   

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 240 กิโลเมตร      

อุบลราชธานี
27
/9/2009
09:40GMT

อุบลราชธานี
28/9/2009
23:40GMT

อุบลราชธานี
29/9/2009
17:40GMT

อุบลราชธานี
30/9/2009
02:40GMT

อุบลราชธานี
1/10/2009
09:40GMT

อุบลราชธานี
2/10/2009
21:40GMT

อุบลราชธานี
3/10/2009
08:40GMT
     
เรดาร์สกลนคร รัศมี 240 กิโลเมตร      

สกลนคร
27
/9/2009
11:38GMT

สกลนคร
28
/9/2009
22:38GMT

สกลนคร
29
/9/2009
09:38GMT

สกลนคร
30
/9/2009
02:38GMT

สกลนคร
1
/10/2009
02:38GMT

สกลนคร
2
/10/2009
17:38GMT

สกลนคร
3
/10/2009
10:38GMT
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร      

พิษณุโลก
27
/9/2009
17:25GMT

พิษณุโลก
28
/9/2009
07:25GMT

พิษณุโลก
29
/9/2009
23:25GMT

พิษณุโลก
30
/9/2009
23:25GMT

พิษณุโลก
1
/10/2009
11:25GMT

พิษณุโลก
2
/10/2009
17:25GMT

พิษณุโลก
3
/10/2009
11:25GMT
เรดาร์เชียงใหม่ รัศมี 240 กิโลเมตร      

เชียงใหม่
27
/9/2009
20:22GMT

เชียงใหม่
28
/9/2009
16:22GMT

เชียงใหม่
29
/9/2009
16:22GMT

เชียงใหม่
30
/9/2009
17:22GMT

เชียงใหม่
1
/10/2009
13:22GMT

เชียงใหม่
2
/10/2009
14:22GMT

เชียงใหม่
3
/10/2009
14:22GMT
เรดาร์ดอนเมือง รัศมี 240 กิโลเมตร      

ดอนเมือง
27
/9/2009
13:03GMT

ดอนเมือง
28
/9/2009
13:03GMT

ดอนเมือง
29
/9/2009
11:03GMT

ดอนเมือง
30
/9/2009
17:03GMT

ดอนเมือง
1
/10/2009
01:03GMT

ดอนเมือง
2
/10/2009
08:03GMT

ดอนเมือง
3
/10/2009
09:03GMT
เรดาร์สุราษฎร์ธานี รัศมี 240 กิโลเมตร      

สุราษฎร์ธานี
27
/9/2009
03:03GMT

สุราษฎร์ธานี
28
/9/2009
01:03GMT

สุราษฎร์ธานี
29
/9/2009
23:03GMT

สุราษฎร์ธานี
30
/9/2009
17:03GMT

สุราษฎร์ธานี
1
/10/2009
17:03GMT

สุราษฎร์ธานี
2
/10/2009
17:03GMT

สุราษฎร์ธานี
3
/10/2009
23:03GMT
ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยาเรดาร์อุบลราชธานีและเรดาร์สกลนคร รัศมี 240 กม. ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า่ช่วงวันที่ 28-30 ก.ย. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างมาก อันเนื่องมาจากเป็นช่วงที่พายุกีสนา ได้เริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นพายุได้สลายตัวลงและเคลื่อนที่ไปทางด้านทิศตะวันตก ผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ทำให้ช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 2 ต.ค. มีฝนตกค่อนข้างหนักในบริเวณดังกล่าว ดังเห็นได้จากภาพเรดาร์เชียงใหม่และเรดาร์พิษณุโลก โดยการเคลื่อนตัวของพายุกีสนาในครั้งนี้ ยังส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่นของประเทศเช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงภาคใต้ในบางพื้นที่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์อุบลราชธานี   เรดาร์สกลนคร
เรดาร์เชียงใหม่        เรดาร์พิษณุโลก
เรดาร์ดอนเมือง        เรดาร์สุราษฎร์ธาน
     

ปริมาณฝนสะสม

28/9/2009

29/9/2009

30/9/2009

2/10/2009

3/10/2009
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในวันที่ 29 ก.ย. เริ่มมีกลุ่มฝนกระุจุกตัวกันค่อนข้างหนาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวันที่ 30 ก.ย. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวเต็มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางภาคเหนือตอนล่างและด้านตะวันตกของประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม
แผนภาพปริมาณฝนสะสมจาก NASA

28/09/2009 [00Z-21Z]

29/09/2009 [00Z-21Z]
 

30/09/2009 [00Z-21Z]

1/10/2009 [00Z-21Z]
 


ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา

30/9/2009

1/10/2009

2/10/2009

3/10/2009
วันที่
สถานี
ปริมาณฝนสะสม
24 ชม.(มม.)
27/9/2009 คลองใหญ่                         101.7
อยุธยา (1)                           77.4
ตากฟ้า                           68.4
กำแพงแสน (1)                           59.5
กาญจนบุรี                           55.2
ท่าเรือกรุงเทพฯ                           50.2
29/9/2009 อุบลราชธานี                           92.8
อุบลราชธานี (1)                           77.7
30/9/2009 นางรอง (2)                           78.0
โชคชัย (2)                           77.2
นครราชสีมา                           63.4
ระยอง                           61.8
ระนอง                           61.1
คลองใหญ่                           60.9
สุรินทร์                           60.9
ปากช่อง (1)                           58.5
ชุมพล                           54.4
ศูนย์สิริกิตต์                           51.3
บุรีรัมย์                           51.0
1/10/2009 ระนอง                           79.6
ดอยมูเซอ (1)                           75.0
ชัยนาท                           63.0
โชคชัย (2)                           58.4
คลองใหญ่                           57.7
ตากฟ้า                           51.9
เขื่อนภูมิพล                           50.2
2/10/2009 เขื่อนภูมิพล                           93.2
สุโขทัย                           91.5
ระนอง                           80.9
ตาก                           73.2
ดอยมูเซอ (1)                           62.3
3/10/2009 ตาก                           52.2

ภาพแสดงข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีจุดสีแดง(ซึ่งหมายถึงปริมาณฝนที่ตรวจวัดได้มีค่ามาก)กระจายตัวอยู่เต็มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง หลังจากนั้น จุดสีแดงได้ปรากฎอยู่ที่ภาคเหนือตอนล่างและด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งหมายถึงกลุ่มฝนได้เคลื่่อนที่ไปยังพื้นที่ดังกล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลน้ำล้นตลิ่งจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน

บ้านเมืองคง จ.ศรีสะเกษ
(ระดับตลิ่ง 8.1 ม.)

บ้านหนองหญ้าปล้อง จ.ศรีสะเกษ
(ระดับตลิ่ง 7.78 ม.)

บ้านโนนศรีไศล จ.ศรีสะเกษ
(ระดับตลิ่ง 9.49 ม.)

ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ
(ระดับตลิ่ง 6.0 ม.)


สะพานเสรีประชาธิปไตย จ.อุบลราชธานี
(ระดับตลิ่ง 6.3 ม.)


บ้านลำชี จ.สุรินทร์
(ระดับตลิ่ง 7.46 ม.)


บ้านสะตึก จ.บุรีรัมย์
(ระดับตลิ่ง 5.42 ม.)

บ้านไผ่น้อย จ.บุรีรัมย์
(ระดับตลิ่ง 6.2 ม.)

บ้านค่าย จ.ชัยภูมิ
(ระดับตลิ่ง 8.3 ม.)


บ้านโจด จ.ขอนแก่น
(ระดับตลิ่ง 10.3 ม.)


บ่อวัง จ.เพชรบูรณ์
(ระดับตลิ่ง 10.2 ม.)

บ้านวังหมัน จ.ตาก
(ระดับตลิ่ง 6.03 ม.)
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งอยู่หลายจุดด้วยกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีน้ำท่วมค่อนข้างหนัก ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และ ชัยภูมิ และจากที่พายุกีสน่าได้เคลื่อนตัวไปทางด้านตะวันตก ทำให้ตรวจพบได้อีกว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งที่จังหวัดตาก

ข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

เขื่อนภูมิพล

เขื่อนสิริกิติ์

เขื่อนแควน้อย

ลำปาว

เขื่อนสิรินธร

เขื่อนอุบลรัตน์

เขื่อนศรีนครินทร์

เขื่อนวชิราลงกรณ์

เขื่อนป่าสัก

จากกราฟแสดงปริมาณไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่พายุเคลื่อนตัวผ่านพบว่า จากการที่มีฝนตกหนักทำให้ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มสูงขึ้นในหลายอ่าง เช่น อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนแควน้อย เขื่อนสิรินธร เืขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนป่าสัก เป็นต้น ส่วนอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในขั้นวิกฤติ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว สิรินธร จุฬาภรณ์ วชิราลงกรณ์ ป่าสัก ประแสร์ และ หนองปลาไหล (รายละเอียดตามตารางด้านล่าง)

รายละเอียดเพิ่มเติม


อ่างเก็บน้ำ
%ที่ รนก.
ณ วันที่ 4 ต.ค.
เพิ่มขึ้นจาก
วันที่ 28 ก.ย.(%)
ปริมาณน้ำไหลลงสะสม
ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย.-4 ต.ค.
ภูมิพล (2)
60
7
                              
908.98
สิริกิติ์ (2)
62
1
                              
115.55
กิ่วคอหมา
56
3
                                  
8.11
แควน้อย
44
5
                                
59.00
ลำปาว
91
2
                              
124.88
ลำตะคอง
56
9
                                
26.75
ลำพระเพลิง
54
17
                                
24.41
อุบลรัตน์ (2)
40
7
                              
164.17
สิรินธร (2)
92
12
                              
305.21
จุฬาภรณ์ (2)
87
15
                                
30.52
ห้วยหลวง
55
4
                                
12.85
น้ำพุง (2)
57
9
                                
14.07
ลำแซะ
76
10
                                
28.51
ป่าสักฯ
92
18
                              
206.86
กระเสียว
56
16
                                
39.97
ทับเสลา
45
16
                                
25.73
วชิราลงกรณ (2)
89
2
                              
230.85
บางพระ
47
5
                                  
5.55
หนองปลาไหล
87
6
                                
11.58
คลองสียัด
61
6
                                
24.41
ประแสร์
107
14
                                
40.28

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม (คลิ๊กเพื่อแสดงภาพใหญ่)
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 เวลา 18.14 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2552 เวลา 18.27 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์และพิจิตร
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2552 เวลา 18.27 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตรและพิษณุโลก ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2552 เวลา 05.43 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญและอุบลราชธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2552 เวลา 05.43 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2552 เวลา 05.43 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2552 เวลา 17.58 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2552 เวลา 17.58 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี

ข้อมูลด้านความเสียหาย

สรุปสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากอิทธิพลของพายุ “กิสนา (KETSANA)” (ระหว่าง
วันที่ 29 กันยายน - 5 ตุลาคม 2552)
พื้นที่ประสบภัย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ พิษณุโลก พิจิตร เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ ลำพูน เพชรบูรณ์ เลย ตาก ลพบุรี ชัยนาท ระนอง นครราชสีมา สุโขทัย กาฬสินธุ์ และจังหวัดกำแพงเพชร รวม 87 อำเภอ 503 ตำบล 3,584 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 1 คน (จ.ลำปาง) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 394,752 คน 105,155 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 3 หลัง เสียหายบางส่วน 100 หลัง ถนน 547 สาย สะพาน 22 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 712 บ่อ พื้นที่การเกษตรเสียหายเบื้องต้นประมาณ 133,253 ไร่
สรุปความเสียหาย
                อุทกภัย 20 จังหวัด (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ พิษณุโลก พิจิตร เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ ลำพูน เพชรบูรณ์ เลย ตาก ลพบุรี ชัยนาท ระนอง นครราชสีมา สุโขทัย กาฬสินธุ์  กำแพงเพชร) 87 อำเภอ 503 ตำบล 3,584 หมู่บ้าน  ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 394,752 คน 105,155 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 คน (อ.แม่พริก จ.ลำปาง) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 3 หลัง  บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 100 หลัง ถนนเสียหาย 547 สาย สะพาน 22 แห่ง บ่อปลา/กุ้ง 712 บ่อ พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเบื้องต้นประมาณ 133,253 ไร่  มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น อยู่ระหว่างการสำรวจ
สถานการณ์ปัจจุบัน
            คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง นครสวรรค์ ลพบุรี เลย และ จังหวัดเพชรบูรณ์ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ พิษณุโลก พิจิตร เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ชัยนาท ตาก นครราชสีมา สุโขทัย กาฬสินธุ์ และจังหวัดกำแพงเพชร ดังนี้
                1) จังหวัดศรีสะเกษ ยังคงมีน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนสะพานขาว ชุมชนโนนสวรรค์ ชุมชนโนนงาม และชุมชนพันทาน้อย ระดับน้ำที่สถานี บ้านหนองหญ้าปล้อง วัดได้ 9.55 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.55 เมตร (ตลิ่ง 9 เมตร) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูสิงห์ ห้วยทับทัน ปรางค์กู่ และอำเภอเมือง
                2) จังหวัดอุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมในขังในพื้นที่อำเภอเมือง (เทศบาลนคร อุบลราชธานี 17 ชุมชน 401 ครัวเรือน 1,665 คน) และอำเภอวารินชำราบ (เทศบาลเมืองวารินชำราบ 11 ชุมชน 389 ครัวเรือน 1,335 คน) ระดับน้ำมูลที่สะพานเสรีประชาธิปไตย (M 7) วัดได้ 7.50 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.50 เมตร (ตลิ่ง 7 เมตร) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
                3) จังหวัดชัยภูมิ ระดับน้ำชีได้เพิ่มสูงขึ้นเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่อำเภอบ้านเขว้า (ตำบลลุ่มน้ำชี) และอำเภอจัตุรัส (ตำบลส้มป่อย ตำบลบัวบาน และตำบลละหาน) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                4) จังหวัดบุรีรัมย์ น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรที่ลุ่มต่ำ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนางรอง ลำปลายมาศ สตึก พลับพลาชัย ประโคนชัย และอำเภอเมือง
                5) จังหวัดพิษณุโลก น้ำท่วมพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเนินมะปราง และอำเภอวังทอง รวมประมาณ 10,000 ไร่ ระดับน้ำทรงตัว
                6) จังหวัดพิจิตร น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดงเจริญ เมือง วชิรบารมี วังทรายพูน สากเหล็ก ทับคล้อ บางมูลนาก และอำเภอโพทะเล คาดว่าระดับน้ำมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในสัปดาห์นี้
                7) จังหวัดเชียงใหม่ เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภออมก๋อย (ตำบลแม่ตื่น ตำบลม่อนจอง และตำบลยางเปียง) อำเภอดอยเต่า (ตำบลโป่งทุ่ง และตำบลดอยเต่า) ในช่วงกลางดึกของวันที่ 2 ตุลาคม 2552 ปัจจุบันจังหวัดได้ส่งเรือท้องแบนไปช่วยแล้ว 2 ลำ ถุงยังชีพ 3,000 ชุด มทบ.33 และสำนักงานพัฒนาภาค 3 ส่งกำลังพลทหารเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัย ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการเก็บล้างดินโคลนตามบ้านเรือนราษฎร และจะได้ช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป (งบ 50 ล้านบาท)
                8) จังหวัดลำปาง เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่พริก 4 ตำบล (ตำบลแม่พริก ตำบลผาปัง ตำบลพระบาทวังดวง และตำบลแม่ปุก)อำเภอเถิน 3 ตำบล (ตำบลเวียงมอก ตำบลแม่วะ และตำบลแม่ปุ) มีผู้เสียชีวิต 1 คน คือนายเปี้ย สุยะทาอายุ 63 ปี (ตาบอด พิการไม่สมประกอบ) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 3 หลัง ราษฎรเดือดร้อน 2,731 ครัวเรือน 8,193 คน สะพานข้ามห้วยแม่พริกขาด 5 แห่ง ไม่สามารถสัญจรไป-มาได้ ถนนสาย ห้วยขี้นก-แม่พริกถูกกระแสน้ำพัดขาด หมู่บ้านที่ยังเข้าไปช่วยเหลือไม่ได้มี 3 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 7,8,11ตำบลแม่พริก จังหวัดลำ ปางร่วมกับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำ ปาง
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง มณฑลทหารบกที่ 32 ลำปาง อส.จ.ลำปาง สมาคมกู้ภัย ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว พร้อมมอบถุงยังชีพ 750 ถุง ข้าวกล่อง 8,500 กล่อง และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าช่วยเหลือที่ตำบลแม่พริก ปัจจุบันระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จังหวัดได้ระดมเครื่องจักรกลจากหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกชนเข้าให้การช่วยเหลือซ่อมแซมเส้นทางที่ชำรุดเสียหายเบื้องต้น เก็บล้างดินโคลนตามบ้านเรือนราษฎร และจะได้สำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
                9) จังหวัดลำพูน เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอลี้ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลก้อ (หมู่ที่ 1-4) ตำบลแม่ลาน ตำบลนาทราย (หมู่ที่4,6,15,16) ตำบลลี้ (หมู่ที่ 1,5,6,7,8,11,12) และตำบลป่าไผ่ (หมู่ที่ 3,4,5,8) ราษฎรเดือดร้อน 970 ครัวเรือน 3,500 คน ปัจจุบันจังหวัดได้ส่งเรือท้องแบนไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย 8 ลำ และอพยพราษฎรไปในที่ปลอดภัย 200 ครัวเรือน 750 คน มอบถุงยังชีพ 1,000 ชุด และแขวงการทางลำพูนจัดทำสะพานชั่วคราวและซ่อมคอสะพานถนนลี้-บ้านก้อทุ่ง (สาย 1087) ที่ถูกน้ำพัดเสียหาย โดยวางสะพานแบลี่ย์ ซึ่งเปิดให้ผ่านได้ ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 4 ตุลาคม 2552 ปัจจุบันระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว อยู่ระหว่างเก็บล้างดินโคลนตามบ้านเรือนราษฎร และจะได้ช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป (งบ 50 ล้านบาท)
                10) จังหวัดชัยนาท น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นการเกษตรและบ้านเรือนราษฎร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองมะโมง 4 ตำบล คือ ตำบลหนองมะโมง ตำบลสะพานหิน ตำบลวังตะเคียนและตำบลกุดจอก อำเภอเนินขาม 3 ตำบล คือ ตำบลเนินขาม ตำบลกะบกเตี้ย และตำบลสุขเดือนห้าอำเภอวัดสิงห์ 2 ตำบล คือ ตำบลวังหมัน และตำบลหนองขุ่น อำเภอหันคา 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเด่นใหญ่ ตำบลวังไก่เถื่อน ตำบลไพรนกยูง ตำบลหนองแซง และตำบลหันคา รวม 162 หมู่บ้าน ราษฎร เดือดร้อน 8,692 ครัวเรือน 24,554 คน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมนาข้าว 27,000 ไร่ พืชไร่ 13,420 ไร่ บ่อปลา 17 บ่อ จังหวัดได้ส่งเรือท้องแบนเข้าช่วยเหลือ จำนวน 20 ลำ และมอบถุงยังชีพ 1,270 ชุด
ระดับน้ำที่อำเภอวัดสิงห์ หนองมะโมง และอำเภอหันคา ลดลง หากไม่มีฝนตกเพิ่มสถานการณ์จะเข้าสู่
ภาวะปกกติใน 1-2 วันนี้
                11) จังหวัดตาก เกิดอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 2 ตุลาคม 2552 ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงา 4 ตำบล คือ ตำบลสามเงา ตำบลวังหมัน ตำบลวังจันทร์ และ ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านตาก 2 ตำบล คือ ตำบลแม่สลิด และตำบลท้องฟ้า และอำเภอแม่ระมาด ที่ตำบลแม่ตื่น ระดับน้ำที่ท่วมอำเภอแม่ระมาด อำเภอบ้านตาก และบางส่วนของอำเภอสามเงา ลดลง เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว คงเหลือในพื้นที่ ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา ยังคงมี น้ำท่วมเนื่องจากระดับ น้ำในแม่น้ำวังสูงล้นตลิ่ง จังหวัดได้ระดมเครื่องจักรกลจากหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำคันดินกั้นน้ำเพื่อป้องกันพื้นที่การเกษตรแล้ว
                12) จังหวัดนครราชสีมา มีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตอำเภอเมือง บริเวณสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (ท้ายอ่างเก็บน้ำเถกิงพล เดิม) และตำบลหนองบัวศาลา แนวโน้มลดลง หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3 วัน ส่วนอำเภอพิมายที่สถานีวัดน้ำ M.184 น้ำเอ่อล้นตลิ่ง 0.35 ม. ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
                13) จังหวัดสุโขทัย แม่น้ำ ยมน้ำ ล้นตลิ่งเพิ่มขึ้นในพื้นที่อำ เภอกงไกรลาศ (ฝั่งขวาแม่น้ำยม) ท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมตลิ่งในเขตตำบลปากพระ ตำบลยางซ้าย และมีปริมาณน้ำไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง เพิ่มขึ้น สรุปได้ดังนี้
(1) อ่างเก็บน้ำแม่มอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีระดับน้ำสูงกว่าระดับเก็บกัก1.48 ม. (เพิ่มขึ้น 0.04 ม.) ปริมาณน้ำไหลล้นออกทางระบายน้ำล้น อัตราการไหล 364.44 ลบ.ม./วินาที(31.49 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน) ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่ 106.0 มม. ทำให้น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร 20 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 500 ไร่ ในพื้นที่ตำ บลเวียงมอก     อำ เภอเถิน และน้ำ ไหลเข้าสู่อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย (2) อ่างเก็บ้ำห้วยท่าแพ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระดับน้ำสูงกว่าระดับเก็บกัก 0.49 ม. (เพิ่มขึ้น 0.01 ม.) ปริมาณน้ำไหลล้นออกทางระบายน้ำล้น อัตราการไหล 60.75 ลบ.ม./วินาที(5.24 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน)
                14) จังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ทำให้มีน้ำท่วมพื้นที่ชลประทานในเขตโครงการส่งน้ำฯ ลำปาว รวม 2,045 ไร่ ได้แก่พื้นที่ในเขตอำเภอเมือง ประกอบด้วย บริเวณบ้านดอนสนวนตำบลหลุบ พื้นที่น้ำท่วม 210 ไร่ ตำบลห้วยโพธิ์ พื้นที่น้ำท่วม 1,485 ไร่ (ตำบลหลุบ และตำบลห้วยโพธิ์เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก) ในพื้นที่อำเภอยางตลาด บริเวณบ้านปอแดง ตำบลนาดี 150 ไร่ บ้านขมิ้นตำบลอุ่มเม่า 200 ไร่ หากไม่มีฝนตกเพิ่ม คาดว่าจะเริ่มลดลงใน 1-2 วันนี้
                15) จังหวัดกำแพงเพชร น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ในพื้นที่อำเภอพรานกระต่ายที่ตำบลวังตะแบก และตำบลคุยบ้านโอง ท่วมที่นาประมาณ 5,000 ไร่ ระดับน้ำสูง 0.30-0.50 ม.ปริมาณน้ำได้ไหลลงคลองธรรมชาติและคลองส่งน้ำชลประทาน เข้าสู่อำเภอคีรีมาศ หากไม่มีฝนตกเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3 วัน

การให้ความช่วยเหลือ
สิ่งของพระราชทานผู้ประสบภัยพายุ “กิสนา”
1) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ รวม 6,000 ชุด ดังนี้
- วันที่ 2 ตุลาคม 2552 จังหวัดมหาสารคาม ที่หอประชุม อำเภอโกสุมพิสัยจำนวน 1,000 ชุด
- วันที่ 3 ตุลาคม 2552 จังหวัดร้อยเอ็ด ที่หอประชุม อำเภอ ทุ่งเขาหลวงจำนวน 1,000 ชุด และที่หอประชุม อำเภอเสลภูมิ จำนวน 1,000 ชุด และจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่วัดบ้านโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 500 ชุด
- วันที่ 4 ตุลาคม 2552 จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ อบต.สะแก อำเภอสตึก จำนวน 500 ชุด ที่วัดประชาชาติ ตำบลดงพลอง อำเภอแคนดง จำนวน 500 ชุด ที่ อบต.หนองคู อำเภอลำปลายมาศ จำนวน 500 ชุด ที่หอประชุม อำเภอหนองกี่ จำนวน 500 ชุด และที่หอประชุม อำเภอปะคำ จำนวน 500 ชุด
2) สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำชุดธารน้ำใจฯ พระราชทาน จำนวน 400 ชุด ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 260 ชุด และน้ำดื่ม จำนวน9,600 ขวด จากโครงการน้ำทิพย์ปันน้ำใจให้กาชาด มอบให้ผู้ประสบอุทกภัย บ้านโพธิ์กลางอำเภอโขงเจียม และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยณ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 2 ตุลาคม 2552
- เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2552 นำเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขตตำบลหนองเมือง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เพื่อช่วยบรรทุกคนและขนสิ่งของที่ประสบน้ำท่วม
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมทั้งได้ระดมเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป

ที่มา : ตัดเฉพาะส่วนมาจากรายงานสรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์(ระหว่างวันที่ 29 ก.ย. - 5 ต.ค. 52) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย http://www.disaster.go.th/
         

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
“กิสนา” ถล่มบุรีรัมย์ฝนตกทั้งวัน - โวยน้ำเน่าท่อเทศบาลทะลักเหม็นทั่วเมือง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 30 ก.ย. 52 ]

พายุ “กิสนา” ถล่มบุรีรัมย์ ฝนตกทั้งวันต่อเนื่องเป็นวันที่สอง น้ำท่วมไร่นา-ถนนหลายสาย ปชช.โวยน้ำเสียท่อระบายน้ำเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ทะลักส่งกลิ่นเหม็นเน่าทั้งเมือง ขณะเทศบาลเพิ่งตื่นนำ จนท.ออกสำรวจคลองกำจัดสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ และเร่งแก้น้ำท่วมขังถนนสายต่างๆ ด้าน ปภ.จังหวัด เตือน ปชช.ในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
       
วันนี้ (30 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.บุรีรัมย์ ว่า หลังจากได้รับผลกระทบจากอิทธิพลพายุ “กิสนา” ทำให้มีฝนตกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในหลายพื้นที่ของ จ.บุรีรัมย์ ส่งผลให้นาข้าวของเกษตรกรที่ต้นข้าวกำลังตั้งท้องถูกน้ำท่วม ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ถนนหลายสายถูกน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์เกิดน้ำท่วมขังหลายสาย เช่น ถ.จิระ, ถ.อินทร์จันทร์ณรงค์, ถ.ทางเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสาร และ ถ.แสนสุข โดยมีระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร รถยนต์และรถจักรยายนต์ประชาชนสัญจรไปมาด้วยความลำบาก ประกอบกับน้ำเสียจากท่อระบายน้ำของเทศบาล ไหลทะลักออกมาส่งกลิ่นเหม็น เข้าบ้านเรือนประชาชนต้องพานำกระสอบทรายมาวางกั้น สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเป็นอย่างมาก ชาวบ้านทั้ง 2 ข้างถนนที่ถูกน้ำท่วมเรียกร้องให้เทศบาล เร่งออกมาสำรวจ สาเหตุการเกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกิดจากท่อระบายน้ำมีขนาดเล็กและมีส่งปฏิกูลอุดตัน ทำให้น้ำระบายไม่ทันจึงเกิดน้ำท่วมขังทุกครั้งที่มีฝนตก จึงขอให้เทศบาลเร่งสำรวจและจัดสรรงบประมาณขยายท่อระบายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านและประชาชนที่สัญจรไปมา
       
ทางด้าน นางปาลีรัตน์ สมานประธาน นายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ วันนี้ (30 ก.ย.) ได้ระดมเจ้าหน้าที่ออกสำรวจคลอง และท่อระบายน้ำในเขตเทศบาลเมือง พร้อมเร่งกำจัดผักตบชวา ขยะมูลฝอย และสิ่งกีดขวางทางน้ำ ที่เป็นต้นเหตุทำให้ท่อระบายน้ำอุดตันเพื่อให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองได้อย่างสะดวก ป้องกันปัญหาน้ำฝนเอ่อท่วมถนน บ้านเรือนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน
นางปาลีรัตน์ สมานประธาน นายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ กล่าวยอมรับว่า ภายในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีพื้นที่หลายจุดที่เกิดน้ำท่วมขังหากฝนตกหนัก แต่ก็ไม่นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งสำรวจ และรีบดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้อง ประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนต่อไป
อย่างไรก็ตาม อยากให้พี่น้องประชาชนได้ช่วยกันรักษาความสะอาดไม่ทิ้งขยะ และถุงพลาสติกลงบนถนน เพราะสิ่งเหล่านี้จะไปอุดตันการระบายน้ำ และทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ขณะที่ นายพรเชษฐ์ แสงทอง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม ติดริมน้ำ และที่ลาดเชิงเขา ให้ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงที่พายุกิสนา ได้เคลื่อนตัวผ่าน ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 2 ต.ค.นี้

--------------------------------------------------------------------------------------
"พายุกิสนา"แผงฤทธิ์ที่อุบลฯ น้ำท่วมหลายจุด [เดลินิวส์ : 30 ก.ย. 52 ]

วันนี้(30ก.ย.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พายุกิสนา ที่อ่อนกำลังลงได้เคลื่อนตัวเข้า จ.อุบลราชธานี ตั้งแต่เช้าวันนี้  ทำให้มีฝนตกไม่ขาดสายตลอดเวลา ส่งผลเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี หมู่บ้านจัดสรรโสภณ ขณะนี้น้ำท่วมถนน ลึกประมาณ 50 ซม.และที่บริเวณหน้าโรงเรียนกีฬา จ.อุบลราชธานี  ด้านนายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการ จ.อุบลราชธานี ได้สั่งให้ ป้องกันจังหวัดบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเตรียมพร้อมให้ตั้งศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยทุกอำเภอ ไว้เรียบร้อย ส่วนทางด้าน ดร.วิเศษ ภูมิชัย
ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเขต 4 อุบลราชธานี ได้แจ้งทุกโรงเรียนในเขต 16 โรง เตรียมพร้อมระวังน้ำท่วมหากฝนตกลงมาไม่ขาดสาย

ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ของพายุไต้ฝุ่นกฤษณา ที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศเวียดนาม หลังจากนั้นจะเคลื่อนตัวผ่านลาว เข้ามายังประเทศไทย ว่า อิทธิพลของพายุดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกำลังลมที่อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตร ได้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ไว้แล้ว โดยสั่งการให้ กรมชลประทาน เตรียมเครื่องสูบน้ำ และพร่องน้ำในเขื่อนขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ให้มีความเหมาะสม แม้ความจุของน้ำในเขื่อนทั้งหมดจะอยู่ในปริมาณน้อย คือ ร้อยละ 71 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 75 ก็ตาม ขณะที่มอบหมายให้ กรมปศุสัตว์ เตรียมเสบียงอาหารสัตว์ รวมทั้ง สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่แต่ละจังหวัด พร้อมรายงานความเคลื่อนไหวให้ทันต่อสถานการณ์ด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมรับมือกับสถานการณ์หลังเกิดภัยพิบัติ ด้วยการเร่งสำรวจพื้นที่ และพืชผลทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ได้ในทันที

--------------------------------------------------------------------------------------
พายุกฤษณาถล่มอีสานอ่างเก็บน้ำแตก-23อำเภออุบลภัยพิบัติ [ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : 30 ก.ย. 52 ]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 01.45 น. อิทธิพลพายุกฤษณาฝนตกหนักน้ำป่าบนเทือกเขาภูแลนคา อ.หนองบัวแดง ชัยภูมิ หลากทะลักล้นอ่างเก็บน้ำห้วยต้อน ต.ห้วยต้อน อ.เมือง ทะลักเข้าสู่เมืองชัยภูมิ และทำให้อ่างเก็บน้ำห้วยยางบ่า บ้านโคกสูง รับน้ำไม่ไหวต้องเร่งระบายน้ำออกเข้าท่วมหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านหนองโสมอง บ้านโคกสูง ต.โคกสูง ชุมชนโนนสาทร, สวท.ชัยภูมิ, ศูนย์วิทยุสมัครเล่น ถนน อบจ.ชัยภูมิ หน้าเรือนจำชัยภูมิ, สนามกีฬากลาง,ชุมชนหนองหลอด, ขี้เหล็กใหญ่, กุดแคน, หนองบ่อ, คลองเรียง, เมืองเก่า, หลายร้อยหลังคาเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหายไม่น้อยกว่า 3,000 ไร่ รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านไปมาได้โดยเฉพาะชุมชนโนนสาทร ผ่าน สวท.ชัยภูมิ และชุมชนหนองหลอด 
นอกจากนี้ปริมาณน้ำที่เร่งระบายออกจากอ่างเก็บน้ำห้วยยางบ่า ยังทะลักไปผ่านเข้าท่วมในเขต อ.บ้านเขว้า ในโซนทิศใต้ ทำให้มีบ้านเรือนราษฎรถูกท่วมไปแล้วไม่น้อยกว่า 100 หลังคาเรือน พื้นที่นาข้าวเสียหายอีกไม่น้อยกว่า 3,000 ไร่ ด้วยเช่นกัน
ไต้ฝุ่นกฤษณาซัดเรือคว้างชนร้านอาหารพัง
เมื่อเวลา 00.15 น. หน่วยกู้ภัยทางทะเลเมืองพัทยา อ.บางละมุง ชลบุรี ได้รับแจ้งเกิดเหตุเรือนำเที่ยวขนาดใหญ่จำนวน 2 ลำซึ่งเป็นของผู้มีชื่อเสียงในท้องถิ่นเมืองพัทยา อยู่ในสภาพเก่าไม่ได้ใช้งานนำมาจอดทอดสมอไว้ที่บริเวณทะเลใกล้กับชายหาดหาดถนนวอล์คกิ้งสตรีท พัทยาใต้ ถูกคลื่นพายุ”กิสนา” พัดกระหน่ำเรือ 1ลำเชือกสมอหลุด เรือลอยเคว้งชนกระแทกกับหลังร้านหลังร้านอาหาร ซีโซน ขณะที่ชาวต่างชาตินั่งรับประทานอาหารอยู่ โดนกระแทกจนระเบียงร้านที่ทำจากไม้พังเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีลูกค้าหรือพนักงานบาดเจ็บ คาดมูลค่าความเสียหายประมาณ 5 แสนบาท แต่
เขื่อนลำปาวกาฬสินธุ์เร่งปล่อยน้ำ
นายเดชา ตันติยวรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ขอความร่วมมือกับข้าราชการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะนายอำเภอทั้ง 18 อำเภอ ให้กำชับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและมิสเตอร์เตือนภัยรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ อสม.กว่า 5 หมื่นคน ให้ช่วยกันรับมือปัญหาน้ำไหลบ่าที่อาจจะเกิดจาพายุกิสนาที่จะพาดผ่านเข้ามาในพื้นที่กาฬสินธุ์วันนี้ เนื่องจากทราบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนลำปาวมีปริมาณมากถึงร้อยละ 90 ของความจุอ่าง หรือ 1,280 ล้าน ลบ.ม.และเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากน้ำไหลบ่าเข้าตัวเขื่อนจากหลายจังหวัดจึงต้องเร่งทำการระบายน้ำลงลำน้ำปาว ลำน้ำชี ทั้งนี้คาดว่าในแต่ละวันจะมีน้ำไหลจากเขื่อนมาถึงวันละ 15 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งหากมีปริมาณน้ำมากก็จะทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมทันที 
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ แจ้งว่า สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมจะมี 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ.กมลาไสย อ.ร่องคำ อ.ฆ้องชัย อ.ยางตลาด และอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ติดกับลำน้ำต้องระวัง และเป็นไปได้ในช่วงนี้ไม่สำหรับชาวประมงในพื้นที่ลำน้ำควรงดหาปลาเพื่อป้องกันปัญหากระแสน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้
อุบลฯ ประกาศ 23อำเภอภัยพิบัติ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบจากพายุกฤษณา เกิดฝนตกหนักปกคลุมทั่วทั้งจังหวัด พายุโซนร้อนกฤษณาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้วเมื่อเวลา 07.00 น. มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ฝนตกปกคลุมและมีลมกระโชกแรงทั่วทั้งจังหวัดอุบลราชธานี 
นายบพิตร พันธ์พินิจ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่าจังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 23 อำเภอ ผลกระทบและเกิดความเสียหายแล้วมีโรงเรียน 1 แห่ง ถนน 250 สาย สะพาน 9 แห่ง ท่อระบายน้ำ 63 แห่ง ฝาย 4 แห่ง บ่อปลา 36 บ่อ พื้นที่การเกษตร 23,617 ไร่ จากอิทธิพลของพายุกิสนา(กฤษณา) เกิดลมกระโชกแรงในพื้นที่ของอำเภอโขงเจียม แรงลมได้พัดต้นไม้ล้มทับบ้านชาวบ้านที่บ้านปลากลา แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และที่ อ.นาจะหลวย มีน้ำป่าไหลหลากลงมาจากเทือกเขาพนมดงรัก ไหลเข้าท่วมพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย  ขณะนี้มีราษฎรเดือดร้อน 122 ตำบล 2 เทศบาล 890 หมู่บ้าน 38,855 ครัวเรือน 147,306 คน และมีราษฎรอพยพ จำนวน 135 ครัวเรือน 460 คน
นายอภิวุฒิ เตชวิฑูรย์วงศ์ นอภ.นาตาล อุบลราชธานี เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงน่าเป็นห่วงมาก เพราะเพียงแค่คืนเดียวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดจะกระทบ 2 ตำบลพื้นที่เสี่ยงภัยประมาณ 1 พันไร่จะจมน้ำเร็วขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------
“พายุกิสนา” ทำสุรินทร์ฝนตกต่อเนื่องทั้งวัน - น้ำท่วมหลายพื้นที่ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 30 ก.ย. 52 ]

สุรินทร์ – อิทธิพล “พายุกิสนา” ส่งผลเมืองช้างฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งวัน เกิดปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่ ผู้ว่าฯสุรินทร์ เตือน ปชช.พื้นที่เสี่ยงริมแม่น้ำมูลระวังน้ำท่วมฉับพลัน สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมช่วยเหลือปชช.ประสบภัยน้ำท่วม
       

วันนี้ (30 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดสุรินทร์ ว่า จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน กิสนา เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ จ.สุรินทร์ ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้ทุกพื้นที่ของสุรินทร์มีฝนตกอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันนี้ ส่งผลให้การเดินทางไปทำงานและเรียนหนังสือของประชาชนและเด็กนักเรียนเต็มไปด้วยความลำบาก บรรดาผู้ปกครองทุกคนต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวไปส่งและรับบุตรหลานที่โรงเรียนแทนการใช้บริการโดยสารประจำทาง ทำให้เกิดปัญหาจราจรรถติดยาวทั่วเมืองนานนับชั่วโมง
       
นอกจากนี้ ยังมีรายงานเกิดน้ำท่วมขึ้นในหลายพื้นที่ เช่น ถนนในเขตตำบลนอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ บริเวณด้านหน้าสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดสุรินทร์ เกิดน้ำท่วมขังระดับน้ำสูง 20-30 เซนติเมตร (ซม.) เนื่องจากการระบายน้ำไม่ดีพอและระดับน้ำท่วมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       
ขณะที่ นายวิเชียร ชวลิต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ได้แจ้งไปยังนายอำเภอและ ผู้นำท้องถิ่น ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล เขต อ.ท่าตูม และ อ.รัตนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มถูกน้ำท่วมเป็นประจำ ให้เฝ้าระวังสำรวจระดับน้ำแม่น้ำมูลซึ่งในช่วงนี้มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างใกล้ชิด โดยหากเกิดน้ำท่วมฉับพลันให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน และขอรับการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ช่วยเหลือ ทั้งเรือท้องแบน และอุปกรณ์กู้ชีพ ได้จากหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประจำอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ จังหวัดสุรินทร์ได้ตลอดเวลา



--------------------------------------------------------------------------------------
"กิสนา" ส่งผลกทม. มีฝนตกต่อเนื่องถึงบ่ายวันนี้ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 1 ต.ค. 52 ]

บรรยากาศช่วงเช้า จากอิทธิพลพายุ “กิสนา” ส่งผลให้กทม.มีฝนตกลงมาตลอดทั้งคืนจนถึงขณะนี้ ทำให้พท.ทั่วกทม.รถติดอย่างหนัก และบางส่วนมีน้ำท่วม โดยคาดว่าจะตกไปจนถึงช่วงบ่าย ด้านสนง.ระบายน้ำ กทม.ได้เปิดศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังปัญหาน้ำท่วมขัง เพื่อเร่งระบายน้ำทันที หากมีพท.ใดประสบปัญหาน้ำท่วม

วันนี้ (1 ต.ค.) นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ผลกระทบจากอิทธิพลของพายุกิสนา (กฤษณา) ส่งผลให้กรุงเทพมหานครมีปริมาณฝนตกตั้งแต่คืนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ทำให้บรรยากาศตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา การจราจรได้ติดขัดทั่วกรุงเทพมหานคร และคาดว่าจะตกไปจนถึงช่วงบ่าย โดยทางสำนักการระบายน้ำ กทม.ได้เปิดศูนย์ประสานงานไปยังศูนย์ปฏิบัติการการติดตามสถานการณ์น้ำฝนทุกเขต เพื่อเฝ้าระวังปัญหาน้ำท่วมขังแล้ว ซึ่งหากมีพื้นที่ใดประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ก็จะเร่งระบายน้ำทันที
       
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พายุกิสนาได้อ่อนกำลังลงแล้ว และคาดว่าปริมาณน้ำฝนจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ทางกรุงเทพมหานครก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก มีเพียงเขตบางบอน 3 และบริเวณถนนเพชรเกษม ที่อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ



--------------------------------------------------------------------------------------

เกิดพายุลมแรงด้านฝั่ง จังหวัดตราด อย่างรุนแรงจากอิทธิพลกิสนา [ ผู้จัดการออนไลน์ : 1 ต.ค. 52 ]
ตราด-เกิดพายุลมแรงด้านฝั่ง จังหวัดตราด อย่างรุนแรงจากอิทธิพลกิสนา, เจ้าท่าฯเตือนชาวเรือระวัง ขณะชาวบ้าน, ชาวประมงริมฝั่ง อ.แหลมงอบงดออกจากฝั่งหลังลม, ฝนตกหนักรุนแรง
       
อิทธิพลของลมพายุกิสนา ส่งผลให้บริเวณช่องช้างระหว่างทะเลฝั่ง อ.เกาะช้าง และฝั่ง อ.แหลมงอบ และ อ.เมือง จ.ตราด เกิดพายุพัดผ่านมาตั้งแต่เวลา 19.00 น. ทำให้บ้านเรือนประชาชนในเขตเทศบาล ต.แหลมงอบ เช่น ชุมชนยายม่อม ชุมชนหินดาษ ต้องนำผ้าใบมาปิดกั้นเพื่อไม่ให้ลมที่กรรโชกแรงทำความเสียหายให้กับทรัพย์สิน ขณะที่ความแรงของลมยังส่งผลให้เกิดคลื่นทะเลพัดเข้ามายังบ้านเรือนในชุมชนหินดาษ และชุมชนยายม่อม ทำให้ประชาชนต้องนำผ้าใบมาปิดเพื่อให้ไม่ให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สิน
       
ขณะที่สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 6 (ตราด) ได้ออกประกาศเตือนชาวประมงที่มีเรือขนาดเล็ก และเรือโดยสารท่องเที่ยว รวมทั้งเรือเฟอร์รี่ ให้ระมัดระวังในการออกจากฝั่ง เนื่องจากเกรงว่าคลื่น ลม ฝนที่ตกแรงอาจจะเป็นอุปสรรคในการเดินเรือ หรืออาจจะอับปางลงได้เช่นกัน หากไม่ระมัดระวัง พร้อมขอให้ชาวเรือได้ฟังข่าวจรากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เพื่อระมัระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ในส่วนของประชาชนได้นำผ้าใบเท่าที่มีอยู่มาปิดกั้นป้องกันลมพายุที่จะเกิดขึ้น เพราะหากมีจริงจะได้รับความเสียหายมากกว่านี้

--------------------------------------------------------------------------------------
กาฬสินธุ์-น้ำปาวล้นฝั่งท่วมแปลงหญ้าโครงการพระราชดำริ [ ครอบครัวข่าว : 1 ต.ค. 52 ]
แม่น้ำปาวซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดกาฬสินธุ์ ส่งผลให้น้ำล้นฝั่ง น้ำหนุนเข้าท่วมแปลงหญ้าโครงการพระราชดำริ

เช้าวันนี้ (1 ก.ย. 2552) ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพภูมิอากาศ ท้องฟ้ายังคงมีกลุ่มเมฆฝนลอยต่ำ กระจายเป็นวงกว้างทั่วทั้งจังหวัด แต่มีความบางเบากว่าเมื่อวานมากและมีฝนตกกระจายตลอดเวลา

ขณะนี้มีปริมาณน้ำฝนได้ไหลลงสู่แม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำยัง แม่น้ำปาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอด้านล่างที่ติดกับแม่น้ำชี จะถูกแม่น้ำชีหนุนทำให้กระแสน้ำไหลระบายช้าและ หนุนเข้าท่วมพื้นที่การเกตษร

นายวันดี พาธาณี บ้านแลขที่ 85 หมู่ 1 ชาวบ้านโนนศิลาเลิง ตำบลโนนศิลาเลิง กล่าวว่า  แปลงเกษตรถาวรนิมิตในโครงการเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม ที่สนับสนุนโดย พระเดชพระคุณพระราชพิพัฒนาธร (ถาวร จิตตถาวโร) และสวนหญ้า ธนาคาร โค-กระบือ โครงการเมืองสหกรณ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ 10ไร่ ขณะนี้ถูกน้ำท่วมหมดแล้ว พร้อมกันนั้น พื้นที่นาข้าวของหมู่บ้านก็ ถูกน้ำจากแม่น้ำปาว ล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตตำบลโนนศิลาเลิง แล้วกว่า 1,000 ไร่


--------------------------------------------------------------------------------------
“กิสนา” พ่นพิษใส่เมืองระนองน้ำท่วมหลายจุด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 2 ต.ค. 52 ]
ระนอง - ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักจากอิทธิพลของพายุ “กิสนา” ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมหลายพื้นที่เขตอำเภอเมืองระนอง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เจ้าหน้าที่เร่งให้การช่วยเหลือแล้ว
       

วันนี้ (2 ต.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดระนอง ว่า หลังจากที่ฝนตกหนักต่อเนื่องกันหลายวันจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชันกิสนา ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในหลายชุมชน ของเขตเทศบาลเมืองระนอง จ.ระนอง โดยเฉพาะถนนกำลังทรัพย์ หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ถนนชลระอุ ถนนดับคดี และถนนผาดาด ระดับน้ำสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร แต่รถยังสามารถผ่านไป-มา ได้
       
นอกจากนี้ น้ำป่ายังได้ไหลหลากเข้าท่วมในหลายหมู่บ้านของตำบลบางนอน อ.เมือง ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดระนอง เจ้าหน้าที่กู้ภัยมูลนิธิระนองสงเคราะห์ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางนอน ได้เข้าไปช่วยขนสิ่งของและอพยพประชาชนที่อยู่ริมคลองบางนอนไปอยู่ในที่ปลอดภัย
       
 ขณะเดียวกัน ได้เกิดดินภูเขาเลื่อนไหลปิดทับถนนเพชรเกษม ใกล้กับหมวดการทางบางนอน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านไป-มาได้ ขณะนี้แขวงการทางระนองได้ระดมเครื่องจักรกลหนัก เข้าตักดินออกเป็นการด่วนแล้ว ส่วนความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ เบื้องต้นยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด แต่กระแสน้ำป่าเข้าท่วมบ้านเรือนหลายสิบหลัง สิ่งของเครื่องใช้ได้รับความเสียหายหลายราย


--------------------------------------------------------------------------------------
ศรีสะเกษท่วมอ่วม 19 อำเภอ เดือดร้อน 7 หมื่นครัวเรือน-ไร่นาจม 1.7 แสนไร่ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 2 ต.ค. 52 ]
ศรีสะเกษ – จังหวัดศรีสะเกษ ประสบภัยน้ำท่วม 19 อำเภอ 1,316 หมู่บ้าน รวมกว่า 70,000 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรจมบาดาลกว่า 1.7 แสนไร่ ขณะที่หมู่บ้านก่อ อ.ขุขันธ์ ท่วมรุนแรงมากสุด ชาวบ้านกว่า 130 หลังคาเรือนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
       
วันนี้ (2 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.30 น.นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ที่หมู่บ้านก่อ ต.ห้วยใต้ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ที่ประสบภัยน้ำท่วมรุนแรงที่สุดของ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งน้ำจากห้วยสำราญได้ไหล่บ่าเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวจมน้ำมากกว่า 1 พันไร่ รวมทั้งท่วมบ้านเรือน และถนนทางเข้าหมู่บ้านก่อ ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร เป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร (กม.) ทำให้ชาวบ้านก่อกว่า 130 หลังคาเรือน ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ ขณะที่ทางอำเภอขุขันธ์ ได้นำเรือท้องแบนไปให้บริการในการเดินทางเข้าออกหมู่บ้าน
       
นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ กล่าวว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนำถุงยังชีพ ไปให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านก่อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหมู่บ้านที่ประสบอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดของ จ.ศรีสะเกษ ในขณะนี้ รวมทั้งได้ขอให้หน่วยทหารในพื้นที่นำรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ จำนวน 1 คัน เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางเข้าออกหมู่บ้าน โดยเฉพาะการเดินทางไปโรงเรียนของเด็กนักเรียนและประชาชนที่เจ็บป่วย สามารถเดินทางได้ทันท่วงที
       
จากนั้น นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ ได้นำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค และยาเวชภัณฑ์ประจำบ้าน ไปมอบให้แก่ชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่บ้านทามจาน ต.สมอ อ.ปรางค์กู่ ที่ประสบภัยน้ำท่วมจากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่นกิสนาทำให้มีฝนตกหนักในช่วง 2-3 วันนี้เช่นกัน
       
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ล่าสุด มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ รวม 19 อำเภอ 145 ตำบล 1,316 หมู่บ้าน มีราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 70,000 ครัวเรือน และมีพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมกว่า 170,000 ไร่

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำวังล้นตลิ่ง-ทะลักท่วมตาก/บ้านเรือนกว่า 400 หลังจม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 ต.ค. 52 ]

ตาก - น้ำท่วม 2 อำเภอของเมืองตาก ชาวบ้านเรือนกว่า 400 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน
       

 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตาก ว่า วันนี้(3 ต.ค.) ได้เกิดน้ำจากแม่น้ำวังไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ ต.ยกกระบัตร ต.วังหมัน และ ต.วังจันทร์ ของ อ.สามเงา จ.ตาก บ้านเรือนราษฎรกว่า 300 หลังคาเรือนได้รับความเสียหาย ชาวบ้านต้องขนของหนีอย่างโกลาหล และต้องต้อนสัตว์เลี้ยงไปไว้บนถนนที่น้ำท่วมไม่ถึง พร้อมกันนั้นกระแสน้ำที่ล้นจากตลิ่งยังเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรจำนวนมากได้รับความเสียหาย
       
 นอกจากนี้ บ้านยางโอง ต.แม่สลิด อ.บ้านตาก ซึ่งรองรับน้ำจาก อ.สามเงา น้ำก็ได้เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ริมแม่น้ำกว่า 100 หลังคาเรือน บางจุดสูงกว่า 50 เซนติเมตร ทาง อบต.ในพื้นที่ต่างระดมกระสอบทรายไปกั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ในขณะนี้ที่ระดับน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       
นายสามารถ ลอยฟ้า ผวจ.ตาก ได้สั่งทั้งสองอำเภอเข้าช่วยเหลือราษฎรที่ประสบน้ำท่วม โดยให้เบิกเงินช่วยเหลือได้ทันที โดยเบื้องต้นได้ระดมถุงยังชีพเข้าแจกจ่ายราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม 1,500 ชุด


--------------------------------------------------------------------------------------
เมืองชาละวันประกาศเพิ่มพื้นที่ภัยพิบัติ-น้ำท่วม 12 อำเภอ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 ต.ค. 52 ]

พิจิตร - ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากสภาวะน้ำท่วมเพิ่มเติมรวม 12 อำเภอ 46 ตำบล 271 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 7,349 ครัวเรือน
       

จากกรณีที่มีฝนตกหนักติดต่อกันมาตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2552 ที่ผ่านมาประกอบกับมีพายุฝนกิสนา หรือ พายุกฤษณา เข้าปกคลุมประเทศไทยทำให้มีฝนตกหนักติดต่อกันอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลบ่าเข้าพื้นที่จังหวัดพิจิตร และเกิดน้ำล้นตลิ่งไหลท่วมอย่างฉับพลันในหลายพื้นที่ของจังหวัดพิจิตร ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก ส่งผลให้จังหวัดพิจิตร ต้องประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากสภาวะน้ำท่วมเพิ่มเติมอีก 6 อำเภอ ประกอบไปด้วยอำเภอบางมูลนาก อำเภอตะพานหิน อำเภอบึงนาราง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอ วชิรบารมี และอำเภอสามง่าม
       
จังหวัดพิจิตรสรุปสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดมีพื้นที่ 12 อำเภอ 46 ตำบล 271 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,349 ครัวเรือน สถานที่ราชการ 4 แห่ง ถนนจำนวน 46 แห่ง พื้นที่การเกษตรนาข้าวได้รับผลกระทบ 33,595 ไร่ บ่อปลาเสียหาย 13 บ่อ ทั้งนี้จังหวัดพิจิตรได้อนุมัติให้แต่ละอำเภอได้ใช้งบฉุกเฉินอำเภอละ 5 แสนบาทนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที

--------------------------------------------------------------------------------------

กิสนายังมีฤทธิ์พัดต้นไม้หักน้ำท่วม รร.อุบลฯ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 ต.ค. 52 ]
อุบลราชธานี-อิทธิพลพายุกิสนาที่พัดผ่านจังหวัดอุบลราชธานี และอ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ยังแผงฤทธิ์พัดต้นไม้หักทำไฟฟ้าดับและน้ำท่วมโรงเรียน ครูชาวบ้านต้องช่วยตัวเอง เร่งซ่อมแซมรับการสอบกลางเทอมของนักเรียนในสัปดาห์หน้า ส่วนหน่วยผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ยังจับตาระดับน้ำแม่น้ำมูล หากน้ำขึ้นสูงสามารถช่วยได้ทันที 24 ชั่วโมง
       
วันนี้( 3 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อิทธิพลของพายุกิสนาที่อ่อนกำลังลงเป็นลำดับ แต่ยังมีฝนตกและลมพัดแรงในหลายพื้นที่ของ จ.อุบลราชธานี ทำให้พื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง โดยที่โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง หมู่ 2 ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ ถูกอิทธิพลของน้ำฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องไหลท่วมถนนในโรงเรียนและสนามหญ้า รวมทั้งลมได้พัดต้นไม้ขนาดใหญ่หักโค่นลงมาทับสายไฟฟ้า ทำให้ไฟฟ้าในหมู่บ้านดับตลอดวันศุกร์ที่ผ่านมา
       
นายวัชรินทร์ สาระ ผู้อำนวยการโรงเรียน จึงนำครูและชาวบ้านในหมู่บ้าน ช่วนกันตัดต้นไม้ที่ล้มขวางทาง และเชื่อมต่อระบบสายไฟฟ้าให้กลับมาใช้ได้ตามปกติ เพื่อรองรับการจัดสอบกลางเทอมของนักเรียนในวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม
       
ขณะเดียวกันน้ำฝนยังทำให้ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านหนองสองห้องไปยังหมู่บ้านอื่นๆในตำบลธาตุ กลายเป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้การสัญจรของยานพาหนะในเส้นทางดังกล่าวเป็นไปด้วยความยากลำบากด้วย
       
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมบ้านเรือนตามริมฝั่งแม่น้ำมูล ระดับน้ำมูลที่ปรับตัวขึ้นวันละ 10-15 เซนติเมตร ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เริ่มชะลอตัว แต่หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งสนธิกำลังระหว่างหน่วยพลเรือน ตำรวจ ทหาร ยังเฝ้าระวังระดับน้ำที่กำลังไหลจากด้านเหนือมารวมที่จังหวัดอุบลราชธานี และพร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
       
ขณะเดียวกันศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จ.อุบลราชธานี ระบุว่าในพื้นที่มีปริมาณฝนลดลง โดยมีฝนกระจายร้อยละ 40 ใน จ.ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ พร้อมเฝ้าจับตาการเคลื่อนไหวพายุลูกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในระยะนี้แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมหนักสะพาน “ลำมาศ” บุรีรัมย์ ระดมทหารช่วย ผวาทรุดพังอันตราย [ ผู้จัดการออนไลน์ : 4 ต.ค. 52 ]

บุรีรัมย์ - พิษพายุ “กิสนา” น้ำเอ่อท่วมสะพาน “ลำมาศ” อ.ลำปลายมาศ บุรีรัมย์ สูงร่วม 1 เมตร สร้างความเดือดร้อนประชาชนที่สัญจรไปมา ระดมกำลังทหารบรรจุกระสอบทรายปิดกั้นป้องกันกระแสน้ำเซาะคอสะพานทรุดหรือขาดพังเสียหายเป็นอันตราย
       
วันนี้ (4 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.บุรีรัมย์ ว่า จากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่นกิสนาพัดผ่านประกอบกับน้ำจาก จ.นครราชสีมา ไหลลงมาสมทบกับน้ำลำมาศ เป็นปริมาณมากทำให้น้ำเอ่อสวมสะพานลำมาศ บริเวณระหว่าง บ.แท่นพระ กับ บ.ผักกาดหญ้า ต.หนองคู อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์สูงร่วม 1 เมตร เป็นระยะทางยาวกว่า 50 เมตร
       
ล่าสุด พล.ต.วิชัย แชจอหอ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ ได้ระดมกำลังพล กว่า 30 นาย ร่วมกับทางอำเภอลำปลายมาและชาวบ้าน ช่วยกันเร่งบรรจุกระสอบทราย นำไปปิดกั้นบริเวณคอสะพานลำมาศ เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสน้ำไหลบ่ากัดเซาะคอสะพานทรุดหรือขาดพังเสียหาย ซึ่งจะสร้างเทาความเดือดร้อนและเป็นอันตรายแก่ประชาชน ที่สัญจรผ่านไปมา เนื่องจากบริเวณสะพานดังกล่าวได้ถูกน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี เพราะเป็นพื้นที่ต่ำ และนอกจากนี้ในพื้นที่ ต.หนองคู อ.ลำปลายมาศ ยังมีถนนถูกน้ำท่วมอีกหลายสายด้วย
       
พล.ต.วิชัย แชจอหอ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ ได้ตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยขึ้น หากประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลใด ที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถร้องขอความช่วยเหลือหรือขอสนับสนุนกำลังพลมายังจังหวัดทหารบกฯ หรือผ่านทางอำเภอ จังหวัด ได้ทันที
       
ด้าน นายโสภณ ห่วงญาติ นายอำเภอลำปลายมาศ กล่าวว่า สะพานดังกล่าวเป็นพื้นที่ต่ำจะเกิดน้ำท่วมทุกปี เช่นเดียวกับปีนี้ที่มีฝนตกหนัก ประกับน้ำเหนือจาก จ.นครราชสีมา ได้ไหลมาสมทบลงสู่ลำน้ำมาศ ทำให้น้ำเอ่อท่วมสะพานดังกล่าว
       
“ทางอำเภอลำปลายมาศได้เตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมลำน้ำมาศ ให้เร่งขนย้ายข้าวของ สัตว์เลี้ยงขึ้นสู่ที่สูง ป้องกันอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันที่อาจเกิดขึ้น เพราะช่วงนี้ยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง และทางอำเภอได้เร่งให้เจ้าหน้าที่ออกสำรวจราษฎร ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว เพื่อเตรียมให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าวต่อไป” นายโสภณ กล่าว


--------------------------------------------------------------------------------------
บ้านแม่ตื่น อ.แม่สอด น้ำยังท่วมหนัก เสี่ยงดินโคลนถล่ม [ ครอบครัวข่าว : 4 ต.ค. 52 ]
สะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำแม่ตื่นใน อ.แม่ละมาด จ.ตาก ถูกน้ำป่าไหลกัดเซาะจนคอสะพานขาดออกเป็น 2 ท่อน ทำให้ประชาชนใน 10 หมู่บ้านใน ต.แม่ตื่น ถูกตัดขาด ทางการยังไม่สามารถหาทางเข้าไปช่วยเหลือได้เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงมาก และยังเสี่ยงดินโคลนถล่ม

เหตุน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก กัดเซาะสะพานยาว 100 เมตร ข้ามแม่น้ำแม่ตื่น บริเวณบ้านโบเส่ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ตื่น พังขาดออกเป็น 2 ท่อน ทำให้ประชาชน ราว 9 หมู่บ้าน 1,700 ครอบครัว ประมาณ 7,000 คน ในพื้นที่ตำบลแม่ตื่น ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำแม่ตื่น มีเป็นเพียงสะพานเดียวที่ข้ามแม่น้ำ เข้าไปสู่ยังหมู่บ้านต่างๆ กว่า 9 หมู่บ้าน

ล่าสุดวันนี้(4 ต.ค.) ฝ่ายปกครองอำเภอแม่ระมาดประสานไปยังทหารหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 ให้นำเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจความเสียหาย และความเดือดร้อนของประชาชน เนื่องจากได้รับรายงานจากตำรวจตะเวนชายแดนว่า ประชาชนหลายหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก บางหมู่บ้านถนนใช้การไม่ได้ เนื่องจากถูกดินทับถมยาวกว่า 2-3 กิโลเมตร บางจุดมีโคลนดินอ่อน แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่สามารถยืนยันอะไรได้

สำหรับหมุ่บ้านทั้งหมดอยู่ในเขตป่าสงวนและเขรักษาพันธ์สัตว์ป่า มีโรงเรียน สถานที่ราชการ และบ้านเรือนจำนวนมาก ซึ่งยังไม่รู้ชะตากรร ทางการจึงเร่งระดมสมาชิกกองร้อยอาสารักษาดินแดน เข้าไปประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น เพื่อให้ความช่วยเหลือชาวบ้านแล้ว

สำหรับน้ำท่วมในแม่น้ำแม่ตื่นยังอยู่ในระดับสูงมาก ทำให้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหา หรือ ซ่อมเชื่อมต่อสะพานให้ชาวบ้านสัญจรไปมาได้ ต้องรอให้น้ำลดต่ำลงก่อน โดยเตรียมเรือ และเสื้อชูชีพ ไปช่วยชาวบ้านออกมาชั่วคราวก่อน แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้เช่นกัน

นอกจากนี้ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ป่าเขตรอยต่อ อ.ออมก๋อย จ.เชียงใหม่ และเขตตำบลบแม่ตื่น จ.ตาก มีปริมาณมาก ทำให้น้ำกวาดเสาดิน และเศษไม้ที่ถูกตัดไว้ไหลมาทับสะพานจนเสียหาย

โดยหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนคือ บ้านโบเก่ , บ้านคำหวัน , บ้านแพะ , บ้านห้วยพลู , บ้านทีนามู , บ้านหมาบ้า , บ้านสินา และบ้านห้วยน้ำเย็น ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อน้ำโคลนถล่มอีกรอบ



--------------------------------------------------------------------------------------
ลำพูน-คืบหน้าน้ำท่วมบ้านโฮ่ง ยังอ่วม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 4 ต.ค. 52 ]
น้ำป่าไหลท่วม อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน แล้ว  3 หมู่บ้าน เสียหายอย่างหนัก บางจุดน้ำท่วมสูงถึง 2 เมตร ขณะที่ อ.ลี้ น้ำเริ่มลดสู่ระดับปกติแต่ยังมีฝนตก ผู้ว่าฯลำพูน ลงพื้นที่มอบสิ่งของช่วยเหลือชาวบ้าน พร้อมระดมเจ้าหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน

เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ นายดิเรกกช ภณก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อช่วยชาวบ้านระดมกำลังนำกระสอบทรายทำแนวพนังกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน หลังจาหน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนแล้วกว่า 400 หลังคาเรือน นาข้าว สวนหอม สวนลำไย เสียหาย กว่า 1,200 ไร่ ถนนสายเข้าหมู่บ้านป่าพลู และบ้านห้วยแทง ถูกน้ำท่วมจนรถไม่สามารถวิ่งผ่านเข้าไปได้

ผู้ว่าฯลำพูน ยังนำคณะเข้าตรวจสอบพบว่าน้ำป่าจากอำเภอลี้สมทบกับฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมสูง ประกอบกับฝายเก็บน้ำ 2 แห่ง ที่กั้นน้ำที่ช่วงบริเวณบ้านโฮ่งระบายไม่ทัน จนทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน โดยเฉพาะที่บ้านป่าพลู หมู่ 1 ต. ป่าพลู พนังกั้นน้ำถูกน้ำกัดเซาะ และทรุดตัว เกือบขาด ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ระดับน้ำสูงกว่า 1- 2 เมตร ประชาชนต้องหนีน้ำขึ้นอยู่ที่สูง และบางแห่งที่น้ำกำลังไหลเข้าบ้านเรือนของชาวบ้าน ทำให้ต้องเร่งนำกระสอบทรายมาปิดเป็นพนังกั้นน้ำเอาไว้ไม่ให้น้ำไหลเข้าบ้านเรือนของตน นอกจากนี้ยังพบว่าแปลงพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านได้รับความเสียหายจำนวนมาก

ส่วนอำเภอลี้ที่ถูกน้ำท่วมสูงตั้งแต่เมื่อวานนี้  ทางป้องกันสาธารณภัยจังหวัดลำพูนกำลังเร่งเข้าไปสำรวจความเสียหายแล้ว  ส่วนสถานการณ์ล่าสุดยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ระดับน้ำลดลงเกือบเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยจังหวัดลำพูน อำเภอ กาชาดจังหวัด เข้าไปมอบสิ่งของแจกจ่ายให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นการเฉพาะหน้า

ล่าสุดผู้ว่าฯลำพูน ได้ลงพื้นที่พบปะชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน หลังพบว่าระบบการระบายน้ำของฝายกั้นน้ำมีปัญหาต้องเร่งแก้ไขด่วน ไม่ให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการระบายน้ำที่ไหลมาอย่างรวดเร็วไปกว่านี้ โดยที่อำเภอบ้านโฮ่งน้ำป่ากำลังไหลเข้าท่วมบ้านชาวบ้านอย่างหนัก


--------------------------------------------------------------------------------------
ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ อ.แม่พริก คาดเสียหาย100ล. [ ไทยรัฐ : 4 ต.ค. 52 ]
ผู้ว่าฯลำปาง ประกาศให้พื้นที่ อ.เถิน และ อ.แม่พริก เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติแล้ว หลังน้ำป่าลำห้วยแม่พริกไหลเปลี่ยนทิศทางเข้ากัดเซาะที่ดินของชาวบ้าน จนทำให้บ้านพักอาศัยถูกกระแสน้ำพัดพังเสียหาย...

วันนี้(4 ต.ค.)นายศุภกิจ บุญญฤาทธิพงษ์ ผวจ.ลำปาง พร้อมด้วย พล.ต.นิธินันท์ ไชยวัฒนพันธ์ ผบ.มณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี, นายสุรพล บุรินทราพันธ์ นายอำเภอแม่พริก, นายนคร คำวงศ์ หน.ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง,นายวัชรินทร์ วงศ์ชัยสิทธิ์ กำนันตำบลแม่ปุ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เดินทางลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม อ.แม่พริก จ.ลำปาง และได้นำถุงยังชีพสิ่งของอุปโภคบริโภค และน้ำดื่ม จำนวนกว่า 5,000 ถุง เข้าแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมใน พื้นที่ ต.แม่ปุ,แม่พริก,ผาปัง และ ต.พระบาทวังตวง จำนวน 4 ตำบล ของ อ.แม่พริก ที่หมู่ 1 บ้านแม่พริกลุ่ม,หมู่ 10 บ้านสันขี้เหล็ก และ หมู่ 2 บ้านต้นธง เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
โดยนายศุภกิจ ผู้ว่าฯ ลำปาง กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น ทางจังหวัดจะเร่งให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้ได้ประกาศให้พื้นที่ อ.เถิน และ อ.แม่พริก เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติแล้ว เพื่อจะได้นำงบประมาณเข้าช่วยเหลือ เนื่องจากมีระบบสาธารณูปโภค และที่พักอาศัยของชาวบ้านได้รับความเสียหายหลายจุด ประเมินความเสียหายโดยรวมคาดว่าน่าจะมีมูลค่าสูงเกือบ 100 ล้านบาท โดยเฉพาะปัญหาราษฎรขาดแคลนที่พักอาศัย และพื้นที่ดินทำกิน จากผลกระทบน้ำป่าลำห้วยแม่พริกไหลเปลี่ยนทิศทางเข้ากัดเซาะที่ดินของชาวบ้าน จนทำให้บ้านพักอาศัยถูกกระแสน้ำพัดพังเสียหายไปด้วย ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้ทาง นายสุรพล บุรินทราพันธ์ นายอำเภอแม่พริก เร่งสำรวจความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อสรุปความเสียหายทั้งหมดส่งให้ทางจังหวัดพิจารณา เพื่อจะได้เร่งประสานขอความช่วยเหลือจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยให้ความช่วยเหลือ และฟื้นฟูสภาพพื้นที่ให้กลับคืนสภาพปกติโดยเร็วที่สุด.


--------------------------------------------------------------------------------------

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มอบถุงยังชีพพระราชทานช่วย ปชช.น้ำท่วมบุรีรัมย์ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 5 ต.ค. 52 ]

บุรีรัมย์ - มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบถุงยังชีพพระราชทานช่วยเหลือราษฎรประสบภัยน้ำท่วมใน 5 อำเภอ จ.บุรีรัมย์ จำนวน 3,000 ครัวเรือน จากทั้งจังหวัดมีผู้ได้รับผลกระทบจากพายุฝน“กิสนา”พัดกระหน่ำ 15 อำเภอกว่า 27,000 ครัวเรือน
       

วันที่ 4 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยนายประสงค์ พิฑูรย์กิจจา รองเลขาธิการมูลนิธิฯ และนายพร อุดมพงษ์ คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้นำถุงยังชีพพระราชทานมามอบให้กับราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ที่ จ.บุรีรัมย์ ประกอบด้วย อ.สตึก แคนดง ลำปลายมาศ หนองกี่ และ อ.ปะคำ รวมจำนวน 3,000 ครัวเรือน เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎรที่ประสบอุทกภัย พร้อมกันนี้ราษฎรที่มารับมอบถุงยังชีพพระราชทาน ได้พร้อมใจกันถวายพระพร ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงโดยเร็วด้วย
       
ทั้งนี้จากรายงานข้อมูลของจังหวัดบุรีรัมย์ มีราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชั่น กิสนาพัดกระหน่ำฝนตกหนักประสบปัญหาน้ำท่วมจำนวน 15 อำเภอ 110 ตำบล 1,145 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 27,000 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรกรถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายกว่า 4,000 ไร่ และ ถนนทางเข้าหมู่บ้าน 139 สาย นอกจากนั้นยังมีฝายกักเก็บน้ำขนาดเล็กในหมู่บ้าน ถูกกระแสน้ำกัดเซาะได้รับความเสียหายอีกกว่า 20 แห่ง ประเมินมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นกว่า 3,800,000 บาท ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการสำรวจและให้ความช่วยเหลือ

--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/
  • ครอบครัวข่าว : http://www.krobkruakao.com