บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และราชบุรี จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น 30W ( 7-9 พ.ย. 56 )

เส้นทางพายุ โดย University College London



รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.tropicalstormrisk.com/

พายุดีเปรสชัน 30W ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของเวียดนามในวันที่ 6 พ.ย. 56 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็น
หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมประเทศกัมพูชา ก่อนเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทยและปกคลุมภาคใต้ตอนบน
ช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 56



ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ


5/11/2556[11GMT]

6/11/2556[11GMT]

7/11/2556[9GMT]

8/11/2556[8GMT]

9/11/2556[10GMT]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php

จากภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT พบว่ากลุ่มเมฆค่อนข้างหนาที่เกิดจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น 30W ได้เคลื่อนตัวมาทางทิศตะวันตก ผ่านประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลงสู่อ่าวไทย และปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 56 โดยเฉพาะวันที่ 8 พ.ย. 56 กลุ่มเมฆค่อนข้างหนามาก ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่



แผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา


5/11/2556

6/11/2556

7/11/2556

8/11/2556

9/11/2556

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php


วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 เวลา 10:00 น. พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 400 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกของเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งเหนือเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามในเย็นวันที่ 6 พ.ย. 56 จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศกัมพูชา และเคลื่อนลงสู่อ่าวไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2556 ส่งผลให้ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร

 

แผนที่ความกดอากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


5/11/2556 [07:00]

5/11/2556 [19:00]

6/11/2556 [07:00]

6/11/2556 [19:00]

7/11/2556 [07:00]

7/11/2556 [19:00]

8/11/2556 [07:00]

8/11/2556 [19:00]

9/11/2556 [07:00]

9/11/2556 [19:00]


แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


5/11/2556 [07:00]

5/11/2556 [19:00]

6/11/2556 [07:00]

6/11/2556 [19:00]

7/11/2556 [07:00]

7/11/2556 [19:00]

8/11/2556 [07:00]

8/11/2556 [19:00]

9/11/2556 [07:00]

9/11/2556 [19:00]

จากแผนภาพแสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล พบว่าอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น 30W ที่เคลื่อนผ่านประเทศไทยใ่่นช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 56 ส่งผลให้เกิดลมแรงเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง



ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

เรดาร์ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร  

5/11/2556 [09:03]

6/11/2556 [21:03]

7/11/2556 [19:03]

8/11/2556 [04:03]

9/11/2556 [04:03]


เรดาร์ชุมพร รัศมี 240 กิโลเมตร  

5/11/2556 [10:38]

6/11/2556 [22:38]

7/11/2556 [20:38]

8/11/2556 [03:38]

9/11/2556 [08:38]



หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 
เรดาร์ระยอง : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rygradar.php
เรดาร์ชุมพร : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_cmpradar.php

จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์ระยองและเรดาร์ชุมพร พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนที่เกิดจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น 30W ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. 56 และ
กระจุกตัวกันมากช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 56 และเริ่มสลายตัวในวันที่ 9 พ.ย. 56 


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน สังเคราะห์จากข้อมูลปริมาณฝนรายชั่วโมงของ GSMaP
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร



5/11/2556

6/11/2556

7/11/2556

8/11/2556

9/11/2556



จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ GSMaP พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันมากในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 56
โดยเฉพาะวันที่ 8 พ.ย. 56 กลุ่มฝนได้กระจายตัวครอบคลุมไปถึงจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่




แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA


5/11/2556[00Z]

6/11/2556[00Z]

7/11/2556[00Z]

8/11/2556[00Z]

9/11/2556[00Z]
   
mm.

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. 56 หลังจากนั้นในวันที่ 7 พ.ย. 56 กลุ่มฝนได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคใต้ตอนบนบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์
โดยกลุ่มฝนกระจายตัวถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ต่อมาในวันที่ 8 พ.ย. 56 กลุ่มฝนยังคงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างและกระจายตัวไปถึงบริเวณจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี และสลายตัวในวันที่ 9 พ.ย. 56



ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

         รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 56
บริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากพายุ 30W (ภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันตก) พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน
แสดงดังตารางด้านล่าง
ส่วนสถานีที่มีฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน คือ สถานีเพชรบุรี ต.ช่องสะแก อ.เมือง จ.เพชรบุรี

วันที่ สถานี ตำบล อำเภอ จังหวัด ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
7/11/2013 ประจวบคีรีขันธ์ อ่าวน้อย เมืองประจวบคีรีขั ประจวบคีรีขันธ์                               90.8
หัวหิน หนองพลับ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                               72.3
ราชบุรี (1) ด่านทับตะโก จอมบึง ราชบุรี                               28.8
เพชรบุรี ช่องสะแก เมืองเพชรบุรี เพชรบุรี                               21.0
8/11/2013 เพชรบุรี ช่องสะแก เมืองเพชรบุรี เพชรบุรี                              139.6
หัวหิน หนองพลับ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                               81.8
ราชบุรี (1) ด่านทับตะโก จอมบึง ราชบุรี                               79.0
ประจวบคีรีขันธ์ อ่าวน้อย เมืองประจวบคีรีขั ประจวบคีรีขันธ์                               19.4

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร



ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหารชน)

            รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร ช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 56
บริเวณภาคใต้ตอนบนและด้านตะวันตกของประเทศ พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง
ส่วนสถานีที่มีฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ สถานีเทศบาลตำบลทุ่งหลวง ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
สถานีหัวหินเมาท์เทนวิวล์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ สถานีท่าตะคร้อ ต.ท่าตะคร้อ อ.หนองหญ้าปล้อง
จ.เพชรบุรี


วันที่ สถานี ตำบล อำเภอ จังหวัด ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
2013-11-07 แยกประจวบ เกาะหลัก เมืองประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์                               81.0
2013-11-08 เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ทุ่งหลวง ปากท่อ ราชบุรี                              128.0
  หัวหินเมาทท์เทนวิวล์ หัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                              108.8
  ท่าตะคร้อ ท่าตะคร้อ หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี                              102.6
  ป่าละอู ห้วยสัตว์ใหญ่ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                               90.4
  บ้านลาด บ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี                               84.6
  บ้านจะโปร่ง หนองหญ้าปล้อง หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี                               83.6
  ห้วยกะทะทอง ศรีมงคล ไทรโยค กาญจนบุรี                               82.0
  เมนรูทปราณบุรี เขาน้อย ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์                               75.2
  น้ำตกเก้าชั้น สวนผึ้ง สวนผึ้ง ราชบุรี                               67.8
  สถานีน้ำตก ท่าเสา ไทรโยค กาญจนบุรี                               65.4
  บ้านปากคลอง บ้านกุ่ม เมืองเพชรบุรี เพชรบุรี                               61.2

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร

 


รายงานการเตือนภัยปริมาณฝนผ่าน sms โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

จากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่าช่วงที่เกิดฝนตกหนัก มีการเตือนภัยปริมาณฝนในระดับเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤตบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชบุรี

วันที่
เวลา
ช่วงเวลาฝนสะสม
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสม(มม.)
ระดับการเตือนภัย
8/11/2013 10:00:00 ฝน09-10น. ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                       40.2
วิกฤต
  10:00:00 ฝน07-10น. ต.หัวหิน อ.หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                       95.6
เฝ้าระวังสูงสุด
  5:00:00 ฝน08/07-09/05น. ต.ท่าตะคร้อ อ.หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี                       96.0
เฝ้าระวังสูงสุด
9/11/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีเพชรบุรี อ.เมือง จ.เพชรบุรี                     139.6
เฝ้าระวังสูงสุด

 


แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)


คาดการณ์เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 56


6/11/56 19:00 น. - 7/11/56 19:00 น.

7/11/56 19:00 น. - 8/11/56 19:00 น.

8/11/56 19:00 น. - 9/11/56 19:00 น.

9/11/56 19:00 น. - 10/11/56 19:00 น.

10/11/56 19:00 น. - 11/11/56 19:00 น.

11/11/56 19:00 น. - 12/11/56 19:00 น.

12/11/56 19:00 น. - 13/11/56 19:00 น.


     จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF
ผลการคาดการณ์เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 56 พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. 56 และมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและ
ประจวบคีรีขันธ์ช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 56
    โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกรณีพื้นที่บริเวณภาคใต้ตอนบน แต่ฝนที่กระจายตัวบริเวณอ่าวไทย ภาคตะวันออก
ด้านตะวันตกของประเทศบริเวณจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรีมีปริมาณค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA และแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน GSMaP

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนแก่งกระจาน


ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนปราณบุรี
 

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html

จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนปราณบุรี ซึ่งเป็นเขื่อนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดฝนตกหนัก พบว่าเขื่อนแก่งกระจานมีปริมาณน้ำไหลเข้า
เพิ่มขึ้นในช่วงวันที่า 8-10 พ.ย. 56 ปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด
21.19 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 9 พ.ย. 56 ส่วนเขื่อนปราณบุรี มีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. 56
ปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด 54.16 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 8 พ.ย. 56 ส่วนเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณในจังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาณน้ำไหลเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น



ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)


สถานี PCH001-เมืองเพชรบุรี
ต. ต้นมะม่วง อ. เมืองเพชรบุรี จ. เพชรบุรี

เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 9-13 พ.ย. 56
ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 6.48 ม.รทก. วันที่ 11 พ.ย. 56

สถานี PCH002-แก่งกระจาน
ต. วังจันทร์ อ. แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี
เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. 56
ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 23.64 ม.รทก. วันที่ 9 พ.ย. 56

สถานี PRN001-ปราณบุรี
ต. วังก์พง อ. ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์
ไม่เกิดน้ำล้นตลิ่ง แต่ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นมาก
ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 6.12 ม.รทก. วันที่ 10 พ.ย. 56

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php

จากกราฟแสดงระดับน้ำที่ตรวจวัดจากระบบโทรมาตร บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีน้ำล้นตลิ่งที่แม่น้ำเพชรบุรี บริเวณ ต.ต้นมะม่วง อ.เมืองเพชรบุรี และ ต.วังจันทร์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
ส่วนบริเวณต.วังก์พง อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไม่เกิดน้ำล้นตลิ่ง แต่ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนที่แม่น้ำแม่กลอง อ.บ้านโป่ง และ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ล้นตลิ่ง ส่วนแม่น้ำแม่กลอง
บริเวณจังหวัีดกาญจนบุรี สถานการณ์น้ำปกติ ไม่ได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชั่น



ข้อมูลด้านความเสียหาย
โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

สรุปสถานการณ์อุทกภัย ประจำวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556
        
อุทกภัยจากอิทธิพลพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนตัวจากประเทศกัมพูชา และภาคตะวันออกของประเทศไทย มาปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบนมีฝนหนาแน่น ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 รวมทั้งสิ้น 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี รายละเอียดดังนี้
1. จังหวัดเพชรบุรวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 เกิดฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบุรี บ้านลาด บ้านแหลม ท่ายาง ชะอำ แก่งกระจาน หนองหญ้าปล้อง และอำเภอเขาย้อย รวม 40 ตำบล
2. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหัวหิน กุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด ประชาชนได้รับผลกระทบ 350 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย สูญหาย 1 คน สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2556
3. จังหวัดราชบุรี วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองราชบุรี สวนผึ้ง บ้านคา จอมบึง และอำเภอปากท่อ รวม 22 ตำบล 89 หมู่บ้าน สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2556
4. จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในทุกพื้นที่ วัดปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 มม. ทำให้ระดับน้ำในลำน้ำชีมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี และอำเภอด่านมะขามเตี้ย รวม 6 ตำบล 33 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 230 ครัวเรือน 570 คน สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556




ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

เมืองเพชรบุรีอ่วมจมทั้งเมืองหลังฝนหนัก อช.แก่งกระจานงดรับนักท่องเที่ยว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 พ.ย. 56 ]

เพชรบุรี - เมืองเพชรบุรีอ่วม น้ำท่วมฉับพลันถนนทุกสายในตัวเมืองเพชรบุรี รวมถึงสถานที่ราชการหน้าศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี หน้าสถานีตำรวจ และโรงเรียนหลายแห่ง หลังเกิดพายุฝนตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ด้านอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานประกาศงดรับนักท่องเที่ยวชั่วคราว
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่เวลา 21.00 น. ของคืนวันที่ 7 พ.ย.56 ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนัก และมีพายุลมแรงในพื้นที่ จ.เพชรบุรี อย่างต่อเนื่อง จนถึงเวลานี้ฝนก็ยังไม่หยุดตก ทำให้มีน้ำฝนจำนวนมากเกิดมีน้ำท่วมขังถนนทุกสายในตัวเมืองเพชรบุรี โดยรถเล็กสัญจรลำบาก รวมถึงตามสถานที่ราชการหน้าศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี หน้าสถานีตำรวจ และโรงเรียนหลายแห่งมีน้ำท่วมสูง นักเรียนต้องเดินลุยน้ำเพื่อไปเรียนรายวิชาตามอาคารต่างๆ โดยสาเหตุหลักเกิดจากน้ำระบายไม่ทัน ประกอบกับฝนตกต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอุโมงค์ทางลอดทุกจุดรถทุกชนิดไม่สามารถใช้เส้นทางสัญจรไปมาได้ เนื่องจากมีน้ำท่วมทุกอุโมงค์ทางลอด
       
       เช่นเดียวกับพื้นที่ อ.ชะอำ ที่ฝนตกหนักมาตั้งแต่ในเวลาไล่เลี่ยกันทำให้น้ำท่วมเมืองชะอำแล้วทุกสาย โดยเฉพาะสี่แยกชะอำมีน้ำท่วมขังสูงทำให้รถติดหนัก น้ำท่วมสูงเกือบ 70 ซม. นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักทำให้มีต้นไม้ใหญ่น้อยหักโค่น และมีป้ายขนาดใหญ่ล้มขวางถนนหลายแห่ง โดยเฉพาะเส้นทางถนนเพชรเกษม สายบายพาส-ชะอำ-ปราณบุรี ที่มีต้นไม้ใหญ่ล้มขวางทาง และทับรถของเจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างสรรเพชญธรรมสถานเพชรบุรี ได้รับความเสียหาย ขณะจอดรถเพื่อเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากสาเหตุรถตกถนนพลิกคว่ำตกไหล่ทาง
       
       ทั้งนี้ ขณะเกิดเหตุมี นายชูชาติ บุญมี เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างสรรเพชญธรรมสถาน จุดชะอำ นามเรียกขานสรรเพชญ 1125 นั่งอยู่ในรถด้วยแต่โชคดีที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ และติดอยู่ในตัวรถ แต่รถยนต์กระบะได้รับความเสียหาย โดยเจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันตัดต้นไม้ใหญ่ที่ทับรถออก และนำตัวออกมาได้โดยใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง และในทะเลมีคลื่นสูง และลมแรงทำให้การท่องเที่ยวทะเลหาดชะอำต้องปิดสนิทในการให้บริการเตียง เต็นท์ผ้าใบ
       
       ด้านนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดเผยว่า ขณะ นี้มีลมพายุในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน ทำให้ต้นไม้บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานโค่นล้มกว่า 30 ต้น ส่วนเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างเขาสามร้อยยอด จนถึงบ้านกร่างแคมป์ และเส้นบ้านกร่างแคมป์ ถึงเขาพะเนินทุ่ง ขณะนี้มีฝนตก และลมพายุพัดแรงทำให้ต้นไม้ล้มขวางเส้นทางจำนวนมาก ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จึงของดรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าชมธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน ตั้งแต่เขาสามร้อยยอด จนถึงเขาพะเนินทุ่งอย่างไม่มีกำหนด
       
       หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ขณะยังต้องรอให้พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้สงบเสียก่อน ซึ่งเมื่อลมพายุสงบ ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการตัดต้นไม้ที่ล้ม ขวางเส้นทาง อย่างไรก็ตาม หากนักท่องเที่ยวต้องการสอบถามความคืบหน้า ก็สามารถติดต่อได้ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน หมายเลขโทรศัพท์ 0-3245-9291




--------------------------------------------------------------------------------------
พายุฝนถล่ม “หัวหิน-สามร้อยยอด-ปราณบุรี” เกิดน้ำท่วมฉับพลัน บ้านเรือน-เรือประมงพังยับ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 8 พ.ย. 56 ]

ประจวบคีรีขันธ์ - พายุฝนถล่มประจวบฯ ต้นไม้หักโค่นล้มขวางถนน เกิดอุบัติเหตุนับสิบจุด น้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมเขตเทศบาลเมืองหัวหิน-สามร้อยยอด-ปราณบุรี ทั้งหมู่บ้านพงษ์นเรศ หมู่บ้านรอยัลโฮม ถนนเพชรเกษมได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่เรือประมงโดนคลื่นซัดจนแตกจมลงทะเลหลายลำ บ้านเรือนประชาชน และร้านค้าพังกว่า 10 หลัง รถปิกอัพตกฝาย 1 คัน ผู้ว่าฯ ประจวบ นายกเล็กหัวหิน เจ้าหน้าที่ศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ ระดมกำลังเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วนแล้ว

       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (8 พ.ย.) จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนเรื่อง “พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้” ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 โดยระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น.หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชันได้เคลื่อนจาก ประเทศกัมพูชา และภาคตะวันออกของประเทศไทย มาปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนแล้ว ส่งผลทำให้ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้มีฝนหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
       
       สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และคลื่นลมที่แรงขึ้นในวันนี้ไว้ด้วย ส่วนในวันพรุ่งนี้ (9 พ.ย.) หย่อมความกดอากาศนี้จะเคลื่อนตัวไปปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนนั้น
       
       ปรากฏว่า ลักษณะดังกล่าวทำให้ฝนได้ตกหนักในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะที่ อ.หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด และกุยบุรี ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา จนกระทั่งเช้าวันนี้วัดน้ำฝนได้เฉลี่ยแต่ละอำเภออยู่ที่ 140-160 มิลลิเมตร นอกจากนั้น ประกอบกับมีลมกระโชกแรง จึงทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ปลูกอยู่ริมถนนสายบายพาสปราณบุรี-ชะอำ และถนนเส้นเพชรเกษมสายเก่าหัวหิน-ปราณบุรี มีต้นไม้หัก และโค่นล้มนับ 10 แห่ง และมีรายงานงานการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ตกร่องกลาง และเสียหลักพลิกคว่ำอีกหลายจุด
       
       โดยที่ อ.ปราณบุรี พบว่า ฝนตกหนักได้ทำให้เกิดน้ำท่วมภายในหมู่บ้านการเคหะปราณบุรี มีน้ำท่วมถนนทุกเส้นในหมู่บ้านเนื่องจากน้ำระบายลงท่อไม่ทัน และพบว่าน้ำจำนวนมากได้ไหลทะลักท่วมบ้านประชาชน โดยไหลเข้ามาทางกำแพงด้านหลังหมู่บ้าน ซึ่งแนวกำแพงความยาวหลายเมตร ได้พังทลายลง ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้น รวมไปถึงต้นไม้หักโค่นทับบ้านเรือนประชาชน และมีเรือประมงเล็กจม และแตกจากถูกคลื่นซัด ซึ่งทางอำเภอปราณบุรี อยู่ระหว่างเร่งให้การช่วยเหลือ และสำรวจความเสียหาย
       
       ส่วนที่ อ.หัวหิน พบว่าฝนที่ตกหนัก และลมกระโชกแรงทำให้น้ำท่วมถนนสายสำคัญภายในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน และย่านการค้า โดยเฉพาะเส้นทางเพชรเกษม ที่ผ่านในตัวชั้นในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ระดับน้ำสูงบนถนนประมาณ 30-70 เซนติเมตร และเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนจุดลุ่มต่ำของเมืองหัวหิน และเกิดน้ำท่วมต่อเนื่อง ถึง 4 ครั้งในรอบเดือนที่ผ่านมาได้แก่ หมู่บ้านพงศ์นเรศ หมู่บ้านคันทรีฮิวล์ หมู่บ้านรอยัลโฮม น้ำได้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านแล้ว ทำให้ชาวบ้านต้องเร่งขนย้ายทรัยย์สินไปไว้ในที่สูง
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นอกจากนี้ ในพื้นที่บ้านใหม่ ต.สามร้อยยอด อ.สามร้อยยอด ก็มีบ้านพังไปแล้ว 11 หลังคาเรือน
       
       ทั้งนี้ นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน พร้อมคณะผู้บริหาร แขวงการทางหัวหิน และป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งกำลังเจ้าหน้าที่จากผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ จำนวน 4 กองร้อย พร้อมเรือท้องแบนได้เข้าช่วยเหลือประชาชนตามจุดต่างๆ ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วนแล้ว
       
       นอกจากนั้น นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน และคณะเจ้าหน้าที่ยังได้เดินทางไปตรวจสอบบริเวณสะพานปลาหัวหิน หลังชาวประมงแจ้งว่าเรือจม และแตกเนื่องจากคลื่นและลมทะเลมีกำลังแรงคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร ทำให้เรือประมงเล็กที่หัวหินจอดหลบคลื่นลม แต่ก็ยังถูกคลื่นซัดจม และเสียหายประมาณ 10 ลำ นอกจากนั้น ยังมีร้านอาหารริมทะเลได้รับความเสียหายด้วย
       
       ขณะที่ล่าสุด นายเสริม เต็มฟอง นายก อบต.บึงนคร อ.หัวหิน แจ้งผ่านสื่อมวลชนว่า ขณะนี้น้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรี ได้ไหลทะลักลงแม่น้ำปราณบุรี ทั้งสะพาน ฝายในตำบล ถูกกระแสน้ำป่าพัดพังจนไม่สามารถใช้การได้ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนักกว่า 5,000 คน และมีรถยนต์ปิกอัพตกฝายที่บริเวณหมู่ 4 บ้านเนินทราย ต.บึงนคร อ.หัวหินด้วย
       
       อย่างไรก็ตาม พล.ต.นพดล ยิ้มถนอม ผบ.ศร.ได้ส่งทหารพร้อมอุปกรณ์ และเรือท้องแบนขึ้นไปที่ ต.บึงนคร และ ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน เพื่อหาทางช่วยเหลือชาวบ้านต่อไปแล้ว



--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนถล่มเพชรบุรีอ่วม น้ำท่วมขัง-ไฟดับหลายจุด [ ไทยรัฐ : 8 พ.ย. 56 ]

เพชรบุรีฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ "ชัยวัฒน์" สั่งปิดบริการชั่วคราว อช.แก่งกระจาน หวั่นนักท่องเที่ยวได้รับอันตรายจากน้ำป่า และดินโคลนถล่ม ...

ผู้ สื่อข่าวรายงานผลกระทบของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมพื้นที่จังหวัด เพชรบุรี ทำให้เกิดภาวะฝนที่ตกหนักมา ตั้งแต่เมื่อเวลา 22.00 น. วานนี้ (7 พ.ย.) จนกระทั่งถึงบ่ายของวันนี้ (8 พ.ย.) ว่า ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขัง ในหลายพื้นที่ของ จ.เพชรบุรี ทั้งในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี เขตเทศบาลเมืองชะอำ มีระดับน้ำท่วมขังตั้งแต่ 0.20 – 0.30 ม.อีกทั้งยังเกิดภาวะน้ำป่าไหลหลาก ต้นไม้โค่นล้ม กระแสไฟฟ้าดับเป็นบางจุดซึ่งหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบุรี และป้องกันภัยอำเภอทั้ง 8 อำเภอ ได้กระจายกำลังกันเพื่อสูบน้ำที่ท่วมขัง แต่ตัดต้นไม้ที่โค่นล้มกีดขวางการจราจรอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หน.อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ประกาศปิดการท่องเที่ยวในพื้นที่ของอุทยาน แห่งชาติแก่งกระจานทุกจุดแล้วเนื่องจากมีสภาพต้นไม้โค่นล้ม และน้ำป่าไหลบ่า ตลอดเส้นทางไปเขาพะเนินทุ่งบ้านโป่งลึก-บางกลอย และน้ำตกป่าละอู อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ อีกทั้งยังมีความไม่ปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวในขณะนี้

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าทะลักท่วม 4 อำเภอราชบุรี [ โพสต์ทูเดย์ : 8 พ.ย. 56 ]

ฝนตกหนักนํ้าป่าทะลักท่วม 4 อําเภอของราชบุรีกระแสน้ำยังพัดวัวสูญหายหลายตัว                         
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. เกิดฝนตกหนักตลอดทั้งวันทั้งคืนจนขณะนี้ในพื้นที่ จ.ราชบุรี ก็ยังไม่หยุดส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลลากท่วมฉับพลันใน 4 อำเภอ  เช่น ต.น้ำพุ อ.เมือง ถนนสายห้วยไผ่ – น้ำพุ มีต้นไม้หักโค่นล้มขวางถนนทำให้รถสัญจรไปมาลำบาก 
ที่ต.อ่างหิน อ.ปากท่อ มีน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาตะนาวศรี ท่วมถนนถนนสายนํ้าพุ - ห้วยต้นห้าง – หนองเต่าดํา หลายช่วงรถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ส่วนที่ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ พบมีบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมหลายหมู่บ้าน   
นอกจากนี้ที่บริเวณวัดพุพลับและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพบมีน้ำเอ่อเข้าท่วมระดับนํ้าประมาณ 50 – 60 เชนติเมตร ขณะเดียวกันยังได้รับแจ้งว่ามีวัวของชาวบ้านถูกน้ำป่าพัดลอยตามน้ำสูญหายไปหลายตัว ส่วนฟาร์มไก่ในต.ทุ่งหลวง พบว่าฟาร์มเลี้ยงไก่ถูกน้ำท่วม
ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ส่วนที่อ.บ้านคา ฝนตกหนักส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นทำให้ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ทำให้อ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคยที่ใช้ไฟฟ้าในการควบคุมการปิดเปิดไม่ทำงาน ส่งผลให้น้ำปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขณะนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ส่วนที่ อ.สวนผึ้ง น้ำป่าได้ไหลตัดคอสะพานขาดหลายแห่ง ซึ่งทางอำเภอสวนผึ้งได้ให้ทางกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้เร่งออกไปทำการสำรวจความเสียหายรวมทั้งสั่งอพยพประชาชนที่อยู่ใกล้สองฝั่งลำห้วยและริมแม่น้ำภาชี ได้ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงเพื่อความปลอดภัยแล้ว
 ด้านนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผวจ.ราชบุรี กล่าวว่า ได้สั่งการให้นายอําเภอทุกอําเภอที่มีเหตุนํ้าท่วม ได้เดินทางไปลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุน้ำท่วมเพื่อเร่งช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนแล้ว



--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมเมืองโอ่งเริ่มคลี่คลาย [ เดลินิวส์ : 10 พ.ย. 56 ]

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 10 พ.ย. นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผวจ.ราชบุรี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในจ.ราชบุรี ขณะนี้ว่าในพื้นที่ ต.อ่างทอง อ.เมืองราชบุรี รวมทั้งต.ทุ่งหลวง ต.ยางหัก ต.วังมะนาว ต.อ่างหิน อ.ปากท่อ ต.ตะนาวศรี ต.สวนผึ้ง ต.ท่าเคย ต.ป่าหวาน อ.สวนผึ้ง ต.ด่านทับตะโก ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง ที่มีการประกาศภัยพิบัติอุทกภัยนํ้าท่วม วันนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายใกล้สู่สภาวะปกติระดับนํ้าลดลงแล้ว

เนื่องจากน้ำท่วมในราชบุรีเป็นน้ำป่าไหลหลากมาเร็วและไปเร็ว ที่อำเภอบ้านคา อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอจอมบึง ยังมีน้ำท่วมขังอยู่หลายแห่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ท้ายน้ำกำลังรอการระบายอยู่ ได้มอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละคนลงไปดูในพื้นที่แต่ละอำเภอ ส่วนตนจะไปดูที่อำเภอปากท่อ ไปช่วยสั่งการแก้ไขปัญหาเป็นรายตำบล โดยร่วมกับกรมการทหารช่างราชบุรี และกองพลพัฒนาที่ 1 และได้รับความร่วมมือรองเจ้ากรมการทหารช่างราชบุรี ได้โทรศัพท์มาบอกว่าทางอำเภอสวนผึ้งมีสะพานขาด 5 แห่ง ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนอำเภอปากท่อได้สั่งการไปเมื่อวานนี้เรื่องสะพานขาดหลายแห่ง จะได้ติดตามกันในวันนี้ว่าจะแก้ไขปัญหากันอย่างไร

ขณะนี้ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากโครงการชลประทานราชบุรี ว่าจะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจ.กาญจนบุรี ประมาณ 1,100-1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงในแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ได้ประเมินสถานการณ์ร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัด ว่าในพื้นที่ตำบลที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมหากมีการปล่อยน้ำขนาดนี้จะเข้าท่วม พื้นที่ไหนบ้าง จากการประชุมเป็นพื้นที่อำเภอเมืองที่จะได้รับผลกระทบ แถววัดมหาธาตุ วัดช่องลม เขตต.คุ้งกระถิน และต.คุ้งน้ำวน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำติดแม่น้ำแม่กลอง จะได้รับผลกระทบ ตอนนี้ได้แจ้งทางหน่วยราชการที่จะต้องไปแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำแม่กลองไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจ แต่ให้เตรียมขนของขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหายด้วย ส่วนสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต้องคอยดูกันต่อไป

อย่างไรก็ตามเทศบาลเมืองโพธาราม จ.ราชบุรี ได้จัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 56 ที่บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำแม่กลอง (หาดทรายโพธาราม) เทศบาลเมืองโพธาราม จำนวน 9 วัน 9 คืน ระหว่างวันที่ 9 – 17 พ.ย.56 มีขบวนแห่นางนพมาศ จากหน่วยงาน ต่างๆ ทั้งห้างร้านและชุมชน ส่งเข้าประกวดถึง 20 ขบวน อาทิ ขบวนแห่ค้างคาวร้อยล้าน ขบวนแห่สิงโต ขบวนชุมชนไทยรามัญ ขบวนแฟนซีสาวประเภทสอง ยามค่ำคืนเพลิดเพลินกับการแสดงดนตรีและรำวงย้อนยุค หลังจากวันแรกของงาน ปรากฏว่านํ้าได้เอ่อล้นตลิ่งจากแม่น้ำแม่กลอง เข้าท่วมพื้นที่จัดงานประเพณีดังกล่าว ทําให้พ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าราคาถูก โต๊ะ เต๊นฑ์ เก้าอี้ และเวทีกลาง ถูกนํ้าท่วมสูง 50-80 ซม.ต้องขนของหนีนํ้ากันอย่างวุ่นวาย


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วม'ด่านมะขามเตี้ย'ดีขึ้น-'ท่าม่วง'ยังขังพื้นที่เกษตร [ ไทยรัฐ : 12 พ.ย. 56 ]

น้ำท่วมที่ด่านมะขามเตี้ยดีขึ้น แต่ที่ ต.รางสาลี่ อ.ท่าม่วง มีน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตรเสียหายคลุมพื้นที่ 6 หมู่บ้าน จ่อประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ความคืบหน้าการ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำป่าไหลบ่า เข้าท่วมพื้นที่ 3 ตำบล อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี โดยเมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 12 พ.ย. 2556 นายเอกภพ จันทร์เพ็ญ ปภ.กาญจนบุรี เปิดเผยสถานการณ์น้ำในพื้นที่กาญจนบุรีว่า สถานการณ์น้ำป่าไหลบ่าจากเทือกเขาตะนาวศรี ที่ไหลลงสู่แม่น้ำภาชีและไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ 3 ตำบลใน อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี สถานการณ์เริ่มดีขึ้น โดยน้ำได้ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำแม่กลองตามลำดับ โดยเขื่อนแม่กลอง ต.ท่าม่วง ก็ได้เร่งระบายจากจุดสูงสุดเมื่อวานซืน ที่ปล่อยน้ำปริมาณ 1,200 ลบ.เมตร/วินาที จนสถานการณ์ดีขึ้น ขณะนี้ปล่อยน้ำแค่ 600 ลบ.เมตร/วินาที คาดว่า สถานการณ์น้ำในพื้นที่ อ.ด่านมะขามเตี้ย จะเข้าสู่ภาวะปกติในวันสองวันนี้

ส่วนในพื้นที่อื่น ที่รายงานเข้ามาเพิ่มเติม คือพื้นที่ ต.รางสาลี่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรจำนวน 6 หมู่บ้าน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างที่จังหวัดกาญจนบุรีจะทำการประกาศ เขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย



--------------------------------------------------------------------------------------
  ข้อมูลอ้างอิง

  • ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th
  • เดลินิวส์ http://www.posttoday.com
  • ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th
  • เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th