ภาพเคลื่อนไหวแสดงปริมาณฝนสะสม
             ช่วงวันที่ 29 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน 2559

                        ช่วงวันที่ 25-30 ตุลาคม 2559 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางอย่างต่อเนื่อง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงเช่นกัน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง รวมทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างที่ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศมาเลเซียแล้วเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยในวันที่ 30 ตุลาคม 2559 ส่งผลทำให้เกือบทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในช่วงวันที่ 31 ตุลาคม ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่ใกล้เคียง
              โดยเหตุการณ์ฝนตกหนักในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ทำให้ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำแม่ประจันต์มีปริมาณมาก เนื่องจากมีน้ำจาก จ.ราชบุรี เข้ามาสมทบเพิ่มมากขึ้น ทำให้อ่างเก็บน้ำแม่ประจันต์ น้ำเต็มอ่างเกินจำนวนที่จะรับได้ จึงมีการระบายน้ำจากห้วยแม่ประจันต์ลงในแม่น้ำเพชรบุรีมากขึ้น ส่งผลทำให้เขื่อนเพชรต้องเปิดการระบายน้ำในอัตรา 190 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และต้องเร่งผลักดันน้ำระบายออกทะเลโดยเร็ว เนื่องจากอำเภอเมือง ในพื้นที่ 4 ตำบล คือ บ้านกุ่ม บ้านหม้อ หนองโสน ต้นมะม่วง มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเดือดร้อนรวม 1,880 หลังคาเรือน อำเภอบ้านแหลม 2 ตำบล คือ บางครกและท่าแร้ง รวม 880 หลังคาเรือน น้ำได้ไหลเข้าท่วมที่นาและบ้านเรือน ตลอดจนถนนหนทางในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี และต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 ชลประทานจังหวัดเพชรบุรีได้เพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเพชร จากวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 ระบายอยู่ที่ 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 228 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลบ่าเข้าท่วม 2 อำเภอ ประกอบด้วย 1) อำเภอเมือง ทั้งหมด 5 ตำบล 1 เทศบาลเมือง 2) อำเภอบ้านแหลม 3 ตำบล โดยปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก














ข้อมูลโดย : Kochi University

                    จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Himawari-8 พบว่าตั้งแตวันที่ 25 ตุลาคม ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 มีกลุ่มเมฆปกคลุมประเทศไทยค่อนข้างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกหนัก ถึงหนักมากในบางพื้นที่


25/10/59 15GMT

26/10/59 10GMT

27/10/59 10GMT

28/10/59 8GMT

29/10/59 10GMT

30/10/59 10GMT

31/10/59 10GMT

1/11/59 10GMT

2/11/59 5GMT

3/11/59 10GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php






 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา          

               ช่วงวันที่ 25-30 ตุลาคม 2559 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางอย่างต่อเนื่อง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงวันที่ 25-27 ตุลาคม 2559 จากนั้นได้อ่อนกำลังลง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง และหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างที่ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศมาเลเซียแล้วเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยในวันที่ 30 ตุลาคม 2559 ส่งผลทำให้เกือบทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในช่วงวันที่ 31 ตุลาคม ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน


25/10/59

26/10/59

27/10/59

28/10/59

29/10/59

30/10/59

31/10/59

1/11/59

2/11/59

3/11/59

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/hmain.php?page=/TyphoonTracking/show_weather_map.php






 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

จากแผนที่แสดงความกดอากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล พบว่าบริเวณความกดอากาศสูงได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2559
โดยมีค่าความกดอากาศสูงสูดประมาณ 854-856 hPa ปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2559


25/10/59

26/10/59

27/10/59

28/10/59

29/10/59

30/10/59

31/10/59

1/11/59

2/11/59

3/11/59

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map.php, http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map_latest.php?img=pressure_upperwind_1500m_low_latest.flv






 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

จากภาพแผนที่แสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล พบว่าอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและพายุดีเปรสชั่นที่เคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ ส่งผลให้เกิดลมพัดแรงบริเวณทะเลอันดามัน อ่าวไทย ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ในช่วงวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2559 โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง



25/10/59

26/10/59

27/10/59

28/10/59

29/10/59

30/10/59

31/10/59

1/11/59

2/11/59

3/11/59



ข้อมูลเพิ่มเติม : http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map.php, http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map_latest.php?img=pressure_upperwind_1500m_low_latest.flv






ข้อมูลโดย : Ocean Weather Inc.

                    แผนภาพแสดงความสูงของคลื่นและทิศทางของคลื่นแสดงให้เห็นว่า จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำส่งผลให้ความสูงของคลื่นในทะเลเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันบริเวณทะเลจีนใต้มีคลื่นสูงเพิ่มขึ้นมาก จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นที่เคลื่อนตัวอยู่บริเวณดังกล่าว


25/10/59

26/10/59

27/10/59

28/10/59

29/10/59

30/10/59

31/10/59

1/11/59

2/11/59

3/11/59


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_wave.php?zone=Ind






 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

                    จากข้อมูลเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจวัดปริมาณฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เรดาร์สัตหีบและเรดาร์สุราษฎร์ธานี รัศมี 240 กิโลเมตร ช่วงวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน 2559 พบว่าจากอิทธิพลของหบย่อมความกดอากาศต่ ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริเวณใกล้เคียงในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ภาคตะวันออก และพื้นที่ภาคกลางตอนล่างบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เรดาร์สัตหีบ

25/10/59 11:00GMT

26/10/59 12:00GMT

27/10/59 04:00GMT

28/10/59 15:00GMT

29/10/59 16:00GMT

30/10/59 15:00GMT

31/10/59 11:00GMT

1/11/59 02:00GMT

2/11/59 15:00GMT

3/11/59 02:00GMT


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rm_satradar.php

เรดาร์สุราษฎร์ธานี

25/10/59 06:03GMT

26/10/59 04:03GMT

27/10/59 07:03GMT

28/10/59 23:03GMT

29/10/59 00:03GMT

30/10/59 02:03GMT

31/10/59 03:03GMT

1/11/59 02:03GMT

2/11/59 07:03GMT

2/11/59 07:03GMT


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_srtradar.php






 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

          รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาบน)  ช่วงวันที่ 25 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 ตรวจพบฝนตกหนักจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะในวันที่ 26-29 ตุลาคม 2559 และช่วงวันที่ 31 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2559 โดยสถานีที่มีฝนตกเกิน 30 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง และตรวจพบปริมาณฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน บริเวณ อำเภอเกาะหลัก และอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


25/10/59

26/10/59

27/10/59

28/10/59

29/10/59

30/10/59

31/10/59

1/11/59

2/11/59

3/11/59

วันที่
ชื่อสถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
2016-10-26 บ้านปากคลอง บ้านกุ่ม เมืองเพชรบุรี เพชรบุรี 51.6











อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ ห้วยสัตว์ใหญ่ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 50.6
แยกยางชุม หาดขาม กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 49.6
ไร่ใหม่พัฒนา ไร่ใหม่พัฒนา ชะอำ เพชรบุรี 44.4
บ้านลาด บ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี 43.4
อบต.ทับใต้ ทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 38.4
อบต.บางกระเจ้า บางกระเจ้า เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร 38.0
แยกชะอำ ชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 37.8
เขื่อนเพชร ท่ายาง ท่ายาง เพชรบุรี 37.6
น้ำตกเก้าชั้น สวนผึ้ง สวนผึ้ง ราชบุรี 37.6
วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 36.4
บ้านมะเดื่อทอง เขาล้าน ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ 33.6
2016-10-27 บ้านปากคลอง บ้านกุ่ม เมืองเพชรบุรี เพชรบุรี 50.4




แยกชะอำ ชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 42.4
อบต.ปลายโพงพาง ปลายโพงพาง อัมพวา สมุทรสงคราม 34.0
เขื่อนเพชร ท่ายาง ท่ายาง เพชรบุรี 32.6
อบต.ทับใต้ ทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 32.0
2016-10-28 ขุนทะเล ขุนทะเล ลานสกา นครศรีธรรมราช 62.6




อบต.บางกระเจ้า บางกระเจ้า เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร 38.2
ศาลาดิน มหาสวัสดิ์ พุทธมณฑล นครปฐม 33.2
อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ถนนพญาไท ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 30.4
กระทรวงวิทยาศาสตร์ ถนนพญาไท ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 30.4
2016-10-29 น้ำตกเก้าชั้น สวนผึ้ง สวนผึ้ง ราชบุรี 58.8









แยกยางชุม หาดขาม กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 54.8
อบต.ทับใต้ ทับใต้ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 44.8
อบต.บางกระเจ้า บางกระเจ้า เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร 35.8
อบต.ปลายโพงพาง ปลายโพงพาง อัมพวา สมุทรสงคราม 35.2
บ้านหนองตาจอน ทุ่งหลวง ปากท่อ ราชบุรี 35.0
กุยบุรี กุยบุรี กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 34.0
โป่งกระทิง บ้านบึง บ้านคา ราชบุรี 32.0
ศาลาดิน มหาสวัสดิ์ พุทธมณฑล นครปฐม 31.0
บ้านลาด บ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี 30.4
2016-10-30 บางสะพานน้อย บางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 42.4

ทุ่งคาวัด ทุ่งคาวัด ละแม ชุมพร 30.0
2016-10-31 อบต.เกาะหลัก เกาะหลัก เมืองประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์ 115.4








แยกยางชุม หาดขาม กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 66.8
ท่าไม้ลาย วังใหม่ เมืองชุมพร ชุมพร 59.0
วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 55.2
น้ำตกเก้าชั้น สวนผึ้ง สวนผึ้ง ราชบุรี 55.2
โป่งกระทิง บ้านบึง บ้านคา ราชบุรี 52.0
บางสะพานน้อย บางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 35.4
กุยบุรี กุยบุรี กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 34.6
บ้านหนองตาจอน ทุ่งหลวง ปากท่อ ราชบุรี 31.0
2016-11-01 บางสะพานน้อย บางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 33.6

วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 32.0
2016-11-02 อบต.เกาะหลัก เกาะหลัก เมืองประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์ 72.2


แยกยางชุม หาดขาม กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 46.8
วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 33.4
2016-11-03 วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ทองมงคล บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 104.0

บางสะพานน้อย บางสะพาน บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ 57.2

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 30 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร 
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร 


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://tiwrmdev.hii.or.th/Interpolated/ShowImg.php


 
 
 






 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา

          รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงวันที่ 25 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 ตรวจพบฝนตกหนักจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะในวันที่ 26-28 ตุลาคม 2559 และช่วงวันที่ 30 ตุลาคม -1 พฤศจิกายน 2559 โดยสถานีที่มีฝนตกเกิน 30 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง


25/10/59

26/10/59

27/10/59

28/10/59

29/10/59

30/10/59

31/10/59

1/11/59

2/10/59

3/10/59

วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
2016-10-25 กรุงเทพฯ ท่าเรือคลองเตย คลองเตย คลองเตย กรุงเทพมหานคร                          131.0
สนามบินดอนเมือง สีกัน ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร                            63.0
หนองคาย โพธิ์ชัย เมืองหนองคาย หนองคาย                            53.6
2016-10-26 นครสวรรค์ นครสวรรค์ออก เมืองนครสวรรค์ นครสวรรค์                          118.4
2016-10-27 กระบี่ เหนือคลอง เหนือคลอง กระบี่                            69.8
พลิ้ว สกษ. ตะปอน ขลุง จันทบุรี                            69.2
หนองพลับ สกษ. หนองพลับ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                            64.2
พัทยา หนองปรือ บางละมุง ชลบุรี                            63.6
กาญจนบุรี บ้านเหนือ เมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรี                            61.1
หัวหิน หัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                            54.2
เขื่อนภูมิพล สามเงา สามเงา ตาก                            51.1
เพชรบุรี หาดเจ้าสำราญ เมืองเพชรบุรี เพชรบุรี                            50.1
2016-10-28 จันทบุรี วัดใหม่ เมืองจันทบุรี จันทบุรี                            67.7
หัวหิน หัวหิน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                            52.4
2016-10-29 ภูเก็ต ตลาดใหญ่ เมืองภูเก็ต ภูเก็ต                            81.8
พัทลุง สกษ. ลำปำ เมืองพัทลุง พัทลุง                            61.2
นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช                            60.8
2016-10-30 ราชบุรี อ่างทอง เมืองราชบุรี ราชบุรี                            63.9
ตราด (คลองใหญ่) คลองใหญ่ คลองใหญ่ ตราด                            61.8
เกาะสีชัง ท่าเทววงษ์ เกาะสีชัง ชลบุรี                            60.9
กาญจนบุรี บ้านเหนือ เมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรี                            57.8
2016-10-31 สุราษฎร์ธานี สกษ. ท่าอุแท กาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี                            80.5
นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช                            65.6
นครศรีธรรมราช สกษ. บางจาก เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช                            61.4
เกาะสมุย มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี                            54.1
ชุมพร ท่าตะเภา เมืองชุมพร ชุมพร                            52.8
2016-11-01 สวี สกษ. วิสัยใต้ สวี ชุมพร                            72.0
เกาะสมุย มะเร็ต เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี                            66.1
หนองพลับ สกษ. หนองพลับ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์                            57.9
2016-11-02 นครศรีธรรมราช ปากพูน เมืองนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช                            78.3

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร 
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร 


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/thaiwater_l5/public/weather_daily/tmd




 ข้อมูลโดย : NARVAL

          จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา (NARVAL) ช่วงวันที่ 25 ตุลาคม ถึง วันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวอยู่บริเวณภาคใต้ตอนบน โดยเฉพาะช่วงวันที่ 26-28 ตุลาคม 2559 และช่วงวันที่ 30 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2559


25/10/59

26/10/59

27/10/59

28/10/59

29/10/59

30/10/59

31/10/59

1/11/59

2/11/59

3/11/59
mm.

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_ssta.php







 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

จากรายงานการส่ง SMS เพื่อเตือนภัยปริมาณฝน พบว่ามีการแจ้งเตือนภัยฝนตกหนักบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งในระดับการเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤต รายละเอียดดังตารางด้านล่าง


วันที่เตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ช่วเวลาฝนสะสม
ตำบล/สถานี
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสม(มม.)
ระดับการเตือนภัย
1/11/2016 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 144.0
เฝ้าระวังสูงสุด
1/11/2016 4:00:00 ฝน31/07-01/04น. ต.เกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 107.2
เฝ้าระวังสูงสุด
3/11/2016 11:00:00 ฝน07-11น. ต.ทองมงคล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 103.2
เฝ้าระวังสูงสุด
3/11/2016 9:00:00 ฝน3วัน ต.เกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 192.4
เฝ้าระวังสูงสุด
3/11/2016 2:00:00 ฝน01-02น. ต.เกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 61.2
วิกฤต







 ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

          อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำชนาดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรีเพิ่มมากขึ้น โดยที่เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีปริมาณน้ำไหลงสูงสุด 19.37 ล้านลูกบาศกเมตร ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 ส่วนเขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าสูงสุด 9.02 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 เช่นกัน

ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนแก่งกระจาน

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนแก่งกระจาน

ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนปราณบุรี

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนปราณบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html







 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) , กรมชลประทาน

               อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ที่ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่ใกล้เคียง ส่งผลทำให้เกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและน้ำไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ สถานีโทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ตรวจพบสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งบริเวณ ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต.ต้นมะม่วง อ.เมืองเพชรบุรี ต.วันจันทร์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดยมีลักษณะเป็นน้ำท่วมฉับพลัน สามารถกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติได้โดเร็ว รายละเอียดตามกราฟด้านล่าง


สถานี BSP001-บางสะพาน ต. ร่อนทอง อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์

สถานี PCH001-เมืองเพชรบุรี ต. ต้นมะม่วง อ. เมืองเพชรบุรี จ. เพชรบุรี

สถานี PCH002-แก่งกระจาน ต. วังจันทร์ อ. แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php








               จากการติดตามพื้นที่น้ำท่วม โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม COSMOS-SkyMed-1 , 2 , 3 และข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-8 ในวันที่ 3 5 6 และ 7 พฤศจิกายน 2559 บริเวณจังหวัดเพชรบุรี พบว่ามีพื้นที่ถูกน้ำท่วมในเขตอำเภอท่ายาง บ้านลาด บ้านแหลม เขาย้อย เมืองเพชรบุรี โดยเฉพาะในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2559 ที่ตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด ทั้งสิ้น 42,536 ไร่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 736 หลังคาเรือน โดยอำเภอที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดคือ อำเภอเมืองเพชรบุรี


รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วมปี2559 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมCOSMO-SkyMed-3 บันทึกภาพวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 เวลา 06.16น.
บริเวณบางส่วนของจังหวัดเพชรบุรี



ข้อมูลเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วมปี2559 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมCOSMO-SkyMed-1 บันทึกภาพวันที่ 5 พฤศจิกายน 2559 เวลา 06.22 น.
บริเวณบางส่วนของจังหวัดเพชรบุรี



จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมพบว่า พื้นที่น้ำท่วมขังส่วนใหญ่เป็นบริเวณพื้นที่ราบต่ำและพื้นที่ลุ่มการเกษตร บริเวณริมแม่น้ำสายหลักและลำน้ำย่อย ข้อมูลเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วมปี 2559 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 บันทึกภาพวันที่ 6 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10.38 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดเพชรบุรี


ข้อมูลเพิ่มเติม

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วมปี2559 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมCOSMO-SkyMed-2 บันทึกภาพวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 06.10 น.
บริเวณบางส่วนของจังหวัดเพชรบุรี



ข้อมูลเพิ่มเติม







สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบุรี ได้สรุปข้อมูลสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ประจำ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ดังนี้
          อำเภอเมืองเพชรบุรี 1) ตำบลบ้านกุ่ม หมู่ที่ 1-13 น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเพชรบุรี เข้าบ้านเรือนราษฎร ประมาณ 150 หลังคาเรือน 2) ตำบลบ้านหม้อ หมู่ที่ 1-4 น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเพชรบุรี เข้าบ้านเรือนราษฎร ประมาณ 1,500 หลังคาเรือน 3) ตำบลหนองโสน หมู่ที่ 1,2,5 และ 7 น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเพชรบุรี เข้าบ้านเรือนราษฎร ประมาณ 100 หลังคาเรือน 4) ตำบลต้นมะม่วง หมู่ที่ 1,3 และ 6 น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเพชรบุรี เข้าบ้านเรือนราษฎร ประมาณ 130 หลังคาเรือน 5) เทศบาลเมืองเพชรบุรี น้ำท่วมขังจากน้ำฝนและน้ำล้นตลิ่ง บริเวณถนนราชดำเนิน จากแยกบริเวณสหกรณ์การเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ถึงบริเวณวัดยาง น้ำท่วมขังระดับฟุตบาท ถนนดำเนินเกษมบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัย และบริเวณหน้าสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ถึงหน้าวัดอัมพวัน น้ำท่วมขังระดับฟุตบาท แยกต้นมะม่วง น้ำท่วมขังระดับฟุตบาท
          อำเภอบ้านแหลม
1) ตำบลบางครก หมู่ที่ 1-4,6,7,10,12 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรประมาณ 730 หลังคาเรือน 2) ตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 1-3 และ 6,7 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรประมาณ 150หลังคาเรือน นอกจากนี้โรงเรียนอนุบาลจังหวัดเพชรบุรี โรงเรียนราษฎร์วิทยา และโรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส ได้ประกาศหยุดเรียนเป็นเวลา 4 วัน และจะเปิดการเรียนการสอนตามปกติในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559






น้ำตอนบนยังเพิ่ม เร่งระบายผ่านเขื่อนเพชร พื้นที่ลุ่มต่ำเตรียมรับมือ [ ไทยรัฐ : 31 ตุลาคม 2558 เวลา 15.48 น.]

ตอนบนลุ่มน้ำเพชรบุรี ฝนยังตกหนัก กระทบปริมาณน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเพชรเพิ่มมากขึ้น ต้องเพิ่มการระบายน้ำด้านท้ายเขื่อน ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีสูงขึ้น เตือนประชาชนที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำรับมือน้ำเอ่อล้นตลิ่ง

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 59 นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีบริเวณด้านเหนือเขื่อนเพชร ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี จำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเพชรมากขึ้น ในอัตรา 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะเริ่มตั้งแต่ในช่วงบ่ายวันนี้ (31 ต.ค. 59) จะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีบริเวณด้านท้ายเขื่อนเพชรลงมา ตั้งแต่บริเวณ อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 1.50 เมตร แต่ยังต่ำกว่าตลิ่ง ส่วนพื้นที่ด้านท้ายตั้งแต่ อ.เมืองเพชรบุรี และอ.บ้านแหลม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล จะมีระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง และอาจจะมีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเพชรบุรี ในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงในบริเวณอำเภอบ้านแหลมได้

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว และ 10 นิ้ว จำนวน 30 เครื่อง ขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งไปแล้ว จำนวน 9 เครื่อง สำหรับสูบน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกับติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำอีกจำนวน 2 เครื่อง บริเวณแม่น้ำเพชรบุรีก่อนออกทะเล เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด

อนึ่ง กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 14 ได้แจ้งเตือนไปยังจังหวัดเพชรบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เฝ้าระวังเพิ่มการป้องกันตลิ่งในจุดที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ พร้อมทั้งขอให้ปิดประตูปากคลองธรรมชาติที่เชื่อมกับแม่น้ำเพชรบุรี และขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเพชรบุรี ตั้งแต่บริเวณอำเภอเมืองเพชรบุรี และอำเภอบ้านแหลม ยกสิ่งของและทรัพย์สินไว้บนที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหาย รวมทั้งเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไปแล้ว






สถานการณ์น้ำท่วมสายใต้-เอ่อล้นยังน่าห่วง ทั้งเพชรบุรี-ประจวบ-ชุมพร [ ไทยรัฐ : 1 พฤศจิกายน 2559 เวลา 20.14 น. ]

สถานการณ์น้ำยังน่าห่วงหลายจังหวัด!! ผู้ว่าฯ เมืองเพชรบุรี ให้ชาวนารีบเกี่ยวข้าวก่อนถูกน้ำท่วม ขณะที่ชุมพรฝนตกน้ำหลาก เร่งกำจัดเศษวัชพืช กิ่งไม้ ทำน้ำระบายไม่ทัน ส่วนที่ประจวบฯ ฝนหยุดแต่น้ำยังท่วมขังเอ่อล้นเส้นทางลอดใต้ทางรถไฟ ไหลเข้าลำน้ำสาธารณะ

เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่มีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ทำให้ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำแม่ประจันต์มีปริมาณมาก เนื่องจากมีน้ำจาก จ.ราชบุรี เข้ามาสมทบเพิ่มมากขึ้น ทำให้อ่างเก็บน้ำแม่ประจันต์ น้ำเต็มอ่างเกินจำนวนที่จะรับได้ จึงมีการระบายน้ำจากห้วยแม่ประจันต์ลงในแม่น้ำเพชรบุรีมากขึ้น ทำให้เขื่อนเพชรต้องเปิดระบายน้ำในอัตรา 190 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ต้องเร่งผลักดันน้ำระบายออกทะเลโดยเร็ว เนื่องจากในพื้นที่อำเภอเมือง 4 ตำบลคือ บ้านกุ่ม บ้านหม้อ หนองโสน ต้นมะม่วง มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเดือดร้อนรวม 1,880 หลังคาเรือน อำเภอบ้านแหลม 2 ตำบล คือ บางครกและท่าแร้ง รวม 880 หลังคาเรือน น้ำได้ไหลเข้าท่วมที่นาและบ้านเรือน ตลอดจนถนนหนทางในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี

นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผวจ.เพชรบุรี พร้อมด้วย พ.ต.ท.ม.ล.กิติบดี ประวิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้เรียกประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมปฏิบัติการ ศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี เพื่อหารือการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย โดยทางกรมชลประทานได้ให้เครื่องผลักดันน้ำเพิ่มมาอีกจำนวน 6 เครื่องจากเดิม 2 เครื่อง ในส่วนของเกษตรกรชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนานั้น หากข้าวสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้วขอให้เก็บเกี่ยวได้เลยอย่ารอเวลา เพราะกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะมีฝนตกลงมามากอีกในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย.นี้

อย่างไรก็ดีขณะนี้ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพชรบุรี จัดหากระสอบทราย 80,000 ถุง ไม้สน 150 ท่อน ถุงยังชีพ 500 ชุด เพื่อเตรียมการในการช่วยเหลือประชาชน และสนับสนุนทาง มทบ.15 ในการซ่อมคันดินกั้นน้ำที่แตกเสียหาย ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพชรบุรี สนับสนุนเครื่องปั่นไฟกำลังสูง 6 เครื่อง สำหรับใช้กับเครื่องผลักดันน้ำ นอกจากนี้ยังได้เตือนประชาชนในแนวถนนราชดำเนินเขตเทศบาลเมือง หากน้ำสูงกว่านี้ต้องตัดคัตเอาต์ที่เสาไฟฟ้ากิ่งริมทาง ซึ่งอยู่ด้านล่างเสาไฟ เพื่อตัดกระแสไฟฟ้ามิให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนน

ผวจ.เพชรบุรี กล่าวว่า จากการรายงานของทางชลประทานระบุว่า ยังมีมวลน้ำก้อนใหญ่ที่จะไหลลงมาอีก ซึ่งจะผ่านเขื่อนเพชรในอัตรา 250 ลบ.ม./วินาที และยังมีมรสุมที่ทางอุตุนิยมวิทยารายงานว่าจะมีพายุเข้าอีกระหว่างวันที่ 4-6 พ.ย.นี้ จึงขอให้เกษตรกรที่ทำนา หากสามารถเกี่ยวข้าวได้ในช่วงนี้ ก็ขอให้เร่งเกี่ยวข้าวเสียก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.บ้านลาด อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม เพราะหากมรสุมเข้าอีก ประกอบกับมวลน้ำก้อนใหญ่ที่จะลงมา อาจทำให้นาข้าวล่มได้ จึงฝากประชาสัมพันธ์และได้มอบหมายให้นายอำเภอแต่ละอำเภอไปพูดคุยกับชาวนา เพราะช่วงนี้ข้าวก็ราคาไม่ดี หากนาล่มอีก จะเป็นการซ้ำเติมเข้าไปอีก ดังนั้นอันไหนทำได้ ให้ทำก่อน ทางราชการจะเข้าไปคอยช่วยเหลือและสนับสนุนต่อไป

ขณะที่ จ.ชุมพร ปริมาณน้ำฝนไหลหลากท่วมขังในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ อ.เมือง อ.สวี อ.ท่าแซะ และ อ.ปะทิว ส่วนใหญ่น้ำฝนไหลหลากมาจากเทือกเขากระบุรีและเทือกเขาตะนาวศรีแนวชายแดนไทย-เมียนมา ไหลเอ่อท่วมขังบ้านเรือนพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มติดริมแม่น้ำลำคลอง และไหลข้ามถนนทั้งสายหลักสายรองหลายแห่งนาน 1-2 ชั่วโมง น้ำได้ลดลงเนื่องจากระบายไม่ทัน ส่วนการสัญจรยังเป็นปกติ

ขณะที่นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ รอง ผวจ.ชุมพร ได้ออกประกาศเตือนภัยถึงนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน ผู้นำชุมชน เตรียมพร้อมรับสถานการณ์และป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากฝนตกน้ำป่าไหลหลากไปจนถึงวันที่ 5 พ.ย.59 ตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนกองอำนวยการป้องกันและสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) แจ้งเตือนให้ จ.ชุมพร เฝ้าระวังดินโคลนถล่มในพื้นที่ อ.หลังสวน อ.สวี อ.ท่าแซะ อ.ปะทิว โดยให้กำนันผู้ใหญ่บ้านและท้องถิ่นประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ระมัดระวังเตรียมความพร้อมและติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด

ด้าน นายวัชรินทร์ สุวพิศ ปลัด อบต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร เปิดเผยว่าในส่วนพื้นที่รับผิดชอบได้รับผลกระทบในหมู่ 2, 4, 7, 10, 11 ตำบลสะพลี ถนนเข้าหมู่บ้านได้รับความเสียหาย 4 สาย ส่วนพื้นที่การเกษตรอยู่ระหว่างการสำรวจ ซึ่งเป็นน้ำหลากที่ระบายไม่ทัน เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางทางน้ำจำนวนมาก ได้แก่ เศษขยะจากวัชพืช ทางปาล์ม กิ่งไม้ จึงได้นำรถแบ็กโฮ เครื่องจักร ออกจัดเก็บสิ่งกีดขวางออกจากทางน้ำไหล จากนั้น 1-2 ชั่วโมงน้ำก็ลดลง แต่ก็ต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะฝนยังตกๆ หยุดๆ อย่างต่อเนื่อง

ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ภายหลังฝนหยุดตกในช่วงสายของวันนี้ เริ่มมีน้ำไหลบ่าจากฝั่งตะวันตกเข้าสู่ตัวเมืองตามเส้นทางธรรมชาติ น้ำท่วมถนนในจุดที่พื้นที่ต่ำ ซึ่งท่วมซ้ำซากทุกปี เอ่อล้นทางลอดใต้ทางรถไฟ มวลน้ำมหาศาลไหลเข้าลำน้ำสาธารณะ จุดล่อแหลมยังไม่มีเครื่องสูบ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเร่งแจกข้าวแจกน้ำ อาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิสว่างประจวบธรรมสถาน ได้นำน้ำบรรจุขวดและอาหารกล่องตระเวนแจกจ่ายยังบ้านเรือนประชาชนที่ถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะบริเวณ หมู่บ้านนิวนิเวศน์ หลังโรงเรียนกิตติคุณ ถนนสุขสมบูรณ์ในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ในละแวกดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัยบ้านปูนชั้นเดียว ประมาณ 30 หลังคาเรือนอยู่ในระดับต่ำที่น้ำท่วมถึง พร้อมทั้งนำกระสอบทรายวางกั้นทางน้ำในบางจุด

นอกจากนี้ที่โรงเรียนกิตติคุณ เจ้าหน้าที่ทหารอากาศกองบิน 5 นำกระสอบทรายปิดประตูทางเข้าโรงเรียนฝั่งถนนประจวบศิริ และฝั่งถนนสุขสมบูรณ์ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าโรงเรียน เนื่องจากมีพื้นที่ต่ำกว่าถนน ส่วนภายในโรงเรียนได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำนำน้ำออกไปทิ้งที่ถนนที่เป็นเส้นทางน้ำไหลผ่าน ทั้งนี้โรงเรียนได้ประกาศปิดการเรียนการสอนตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมขังจะคลี่คลาย

สำหรับมวลน้ำที่ไหลจากฝั่งตะวันตกผ่านถนนเพชรเกษม ไหลลงสู่ที่ต่ำตามทางน้ำไหลตามธรรมชาติได้มารวมตัวในจุดพื้นที่ต่ำบริเวณหมู่บ้านนิวนิเวศน์ และไหลผ่านใต้ทางรถไฟ ทำให้เส้นทางจราจรลอดทางรถไฟ ที่ประชาชนในสัญจรถูกปิดไม่สามารถใช้ได้ โดยระดับน้ำมีความสูง 2 เมตร ทั้งนี้เครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งอยู่ของเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ เพราะเครื่องเสียก่อนหน้านี้ ทั้งนี้สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศเตือนว่า ในพื้นที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ ตั้งแต่ปริมาณน้ำฝน 144.3 มิลลิลิตร






น้ำท่วมเพชรบุรี อ่วม หลายโรงเรียนประกาศหยุดเรียน-ชาวบ้านนำเรือออกมาสัญจร [ TNN : 1 พฤศจิกายน 2559 ]

สถานการณ์น้ำท่วม ใน จ.เพชรบุรี มีน้ำท่วมสูงหลายพื้นที่โดยเฉพาะ อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม บางพื้นที่รถเก๋งขับลุยน้ำท่วมจมหายเกือบมิดคัน ล่าสุด ชาวบ้านนำเรือออกสัญจรแล้ว ขณะที่โรงเรียนประกาศหยุดเรียน  

            หลังจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เกิดฝนตกอย่างหนักใน จ.เพชรบุรี ทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก ส่งผลให้รถที่สัญจรไปมาไม่สามารถสัญจรได้ รวมทั้งมีรถบางคันขับฝ่าน้ำท่วมจนจมน้ำเกือบมิดคัน บริเวณทางลอดสะพานยกระดับเขาบันไดอิฐ-เพชรรัช โรงพยาบาลเพชรรัชต์ อ.เมืองเพชรบุรี ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถช่วยคนขับออกมาได้อย่างปลอดภัย แต่รถยังคงจมอยู่ในน้ำนั้น ล่าสุด (2 พฤศจิกายน 2559) มีรายงานว่า ชาวบ้านใน อ.เมืองเพชรบุรี บางส่วนได้นำเรือมาใช้ในการสัญจร หลังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.เมืองเพชรบุรี และ อ.บ้านแหลม ซึ่งชาวบ้านต่างเร่งขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง และคาดว่าน้ำอาจท่วมตลอดทั้งสัปดาห์นี้
            ทั้งนี้พบว่าระดับน้ำในถนนสายต่าง ๆ ในพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีอยู่ที่ 10-20 เซนติเมตร บางจุดน้ำท่วมสูง 30 เซนติเมตร ทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ รวมทั้งหลายโรงเรียนได้ประกาศหยุดเรียนจนกว่าสถานการณ์น้ำจะคลี่คลาย 
            ขณะที่ นายสันต์ จรเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ชลประทานได้ระบายน้ำจากอ่างเก็นน้ำห้วยแม่ประจันต์ ลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี ผ่านเขื่อนเพชร ในอัตราประมาณ 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หลังเกิดฝนตกต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำล้นตลิ่งแม่น้ำเพชรบุรี เข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.บ้านแหลม และ อ.เมืองเพชรบุรี บางส่วน โดยคาดว่าหาก 1-2 วันนี้ถ้าไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม ทางชลประทาน จ.เพชรบุรี มีแนวโน้มจะลดการระบายน้ำลง แต่หากกรณีที่มีฝนตกลงมาก็จะพยายามคงเกณฑ์การระบายไว้ให้อยู่ในระดับดังกล่าว
 เบื้องต้น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เพชรบุรี รายงานสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมล่าสุดว่า ขณะนี้ อ. เมืองเพชรบุรี มีทั้งหมด 6 ตำบล ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำเพชรบุรี ประกอบด้วย 
           1. ต.บ้านกุ่ม หมู่ 1-13 ประมาณ 150 ครัวเรือน 
           2. ต.บ้านหม้อ หมู่ 1-4 ประมาณ 1,500 ครัวเรือน น้ำท่วมขัง ถ.เพชรเกษมขาล่องใต้ ช่วงโรงพิมพ์เพชรภูมิ-แยกทางไปบ้านลาด 500 เมตร สูง 30 เซนติเมตร 
           3. ต.หนองโสน หมู่ 1, 2, 5 และ 7 ประมาณ 100 ครัวเรือน 
           4. ต.ต้นมะม่วง หมู่ 1, 3 และ 6 ประมาณ 130 ครัวเรือน 
           5. ต.ธงชัย หมู่ 2 ประมาณ 80 ครัวเรือน 
           6. เทศบาลเมืองเพชรบุรี ถ.ดำเนินเกษม, มาตยาวงษ์, เพชรพลี, บริพัตร, คีรีรัถยา, ราชวิถี และสี่แยกโรงเรียนอรุณประดิษฐมีน้ำท่วมขังระดับฟุตปาธ ส่วนที่ อ.บ้านแหลมพบ 3 ตำบล คือ ต.บางครก ประมาณ 150 ครัวเรือน, ต.ท่าแร้ง ประมาณ 150 ครัวเรือน และ ต.ท่าแร้งออก 







แม่น้ำเพชรล้นตลิ่งท่วมหลายพื้นที่ใน จ.เพชรบุรี [ บ้านเมือง : 1 พฤศจิกายน 2559 เวลา 16.40 น. ]

ตามที่มีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่งคืออ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน แม่ประจันต์ และห้วยผาก เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่ประจันต์ขณะนี้น้ำเต็มอ่างเกินจำนวนที่จะรับได้ จึงมีการระบายน้ำจากห้วยแม่ประจันต์และห้วยผากลงในแม่น้ำเพชรบุรี มากขึ้น จึงต้องมีการบริการจัดการน้ำให้เร่งระบายออกทะเลโดยเร็ว เนื่องจากในบางพื้นที่น้ำได้ไหลเจ้าท่วมที่นาและบ้านเรือนประชาชนไปบางส่วนแล้วบ้างนั้น โดยรองอธิบดีกรมชลประทานได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจ.เพชรบุรีพร้อมกับติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 2 เครื่องเมื่อวันที่ 31 ต.ค.59 ที่ผ่านมา ความคืบหน้า เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ (1 พ.ย.2559) นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานการจัดประชุมวาระเร่งด่วนเรื่องสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยที่ประชุมได้มีการพูดคุยถีงแนวทางการบริหารจัดการน้ำ และแนวทางการดูแลให้ความช่วยเหลือประชาชน

ทั้งนี้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบุรีได้สรุปข้อมูลสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ดังนี้ อำเภอเมืองเพชรบุรี 1.ตำบลบ้านกุ่ม หมู่ที่ 1-13น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเพชรบุรี เข้าบ้านเรือนราษฎร ประมาณ 150 หลังคาเรือน 2.ตำบลบ้านหม้อ หมู่ที่ 1-4น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเพชรบุรี เข้าบ้านเรือนราษฎร ประมาณ 1,500 หลังคาเรือน 3.ตำบลหนองโสน หมู่ที่ 1,2,5 และ 7น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเพชรบุรี เข้าบ้านเรือนราษฎร ประมาณ 100 หลังคาเรือน 4.ตำบลต้นมะม่วง หมู่ที่ 1,3 และ 6 น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเพชรบุรี เข้าบ้านเรือนราษฎร ประมาณ 130หลังคาเรือน 5.เทศบาลเมืองเพชรบุรี น้ำท่วมขังจากน้ำฝนและน้ำล้นตลิ่ง บริเวณถนนราชดำเนิน จากแยกบริเวณสหกรณ์การเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ถึงบริเวณวัดยาง น้ำท่วมขังระดับฟุตบาท,ถนนดำเนินเกษมบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัย และบริเวณหน้าสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ถึงหน้าวัดอัมพวัน น้ำท่วมขังระดับฟุตบาท,แยกต้นมะม่วง น้ำท่วมขังระดับฟุตบาท อำเภอบ้านแหลม 1. ตำบลบางครก หมู่ที่ 1-4,6,7,10,12 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรประมาณ 730 หลังคาเรือน 2. ตำบลท่าแร้ง หมู่ที่ 1-3 และ 6,7 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรประมาณ 150หลังคาเรือน ขณะเดียวกันที่Facebook งานจราจร สภ.เมืองเพชรบุรีได้ทำอินโฟกราฟิคแจ้งประชาสัมพันธ์ เส้นทางที่มีน้ำท่วมพื้นผิวการจราจรในเขตรับผิดชอบของ สภ.เมืองเพชรบุรี กรอบสีเขียว - มีน้ำท่วมขังเล็กน้อย รถทุกชนิดสามารถผ่านได้ กรอบสีเหลือง - มีน้ำท่วมปานกลาง รถเล็ก(รถเก๋ง)ไม่สามารถผ่านได้  กรอบสีแดง - มีน้ำท่วมมาก ปิดการจราจร ทางลอดบันไดอิฐและทางลอดบ้านลาดน้ำท่วมขังไม่สามารถผ่านได้ ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนกรุณาหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว นอกจากนี้โรงเรียนอนุบาลจังหวัดเพชรบุรี โรงเรียนราษฎร์วิทยา และโรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส ได้ประกาศหยุดเรียนเป็นเวลา 4 วัน และจะเปิดการเรียนการสอนตามปกติในวันที่ 7 พ.ย.59

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อไปว่าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี ได้รายงานสถานการณ์น้ำในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เวลา 12.00 น. ดังนี้ เขื่อนแก่งกระจาน 319.337 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44.97 % ปิดการระบายน้ำ อ่างฯห้วยแม่ประจันต์ 49.728 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 117.83 % เปิดระบายน้ำ 80.00 ลบ.ม./วินาที อ่างฯห้วยผาก 21.072 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 76.63 % ปิดการระบายน้ำ เขื่อนเพชรระบายน้ำลงแม่น้ำเพชรบุรี ในอัตรา 188.76 ลบ.ม./วินาที เข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 ในอัตรา 5.69 ลบ.ม./วินาที คลองส่งน้ำสายใหญ่ 2 ในอัตรา 2.84 ลบ.ม./วินาที คลองส่งน้ำสายใหญ่ 3 ในอัตรา 5.59 ลบ.ม./วินาที และคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ในอัตรา 3.65 ลบ.ม./วินาที







น้ำท่วมเพชรบุรียังวิกฤติ 2 อำเภอ ระดับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง [ INN : 3 พฤศจิกายน 2559 ]

สถานการณ์น้ำท่วมเพชรบุรี ยังวิกฤติ 2 อำเภอ ล่าสุดปรับระดับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะชลประทาน เตรียมลดการปล่อย

นายเรวัตร ผ่องสุวรรณ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบุรี (ปภ.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ในวันนี้ ชลประทานจังหวัดเพชรบุรีได้ระบายน้ำผ่านเขื่อนเพชรเพิ่มจากเมื่อวาน ที่ 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 228 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลบ่าเข้าท่วม 2 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง 5 ตำบล 1 เทศบาลเมือง, อ.บ้านแหลม 3 ตำบล อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก

เบื้องต้นหลัง 20.00 น. ชลประทานแจ้งว่าจะทำการพร่องน้ำที่ระบายผ่านเขื่อนเพชร เพื่อกระจายไปยัง อ.บ้านลาด รวมถึงพื้นที่ทางการเกษตรบางส่วนในเขตชลประทาน สำหรับลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยทันทีที่มีการลดปริมาณน้ำลงสถานการณ์น่าจะดีขึ้น แต่ต้องจับตาว่าวันที่ 5 - 6 พ.ย. 2559 จะมีฝนตกลงมาเติมน้ำเขื่อนหรือไม่ ทั้งนี้หากไม่มีฝน ปัญหาน้ำท่วมขังตามจุดต่าง ๆ น่าจะคลี่คลายได้เร็ว

อย่างไรก็ตาม นายเรวัตร ระบุว่า ปัจจุบันทางจังหวัดได้เตรียมความพร้อม ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ประสบอุทกภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่ง นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้มีการเรียกประชุมติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ




ฝนท่วมจอมบึง อ่วมสุดใน 30 ปี อุโมงค์ลอดทางรถไฟประจวบฯ ยังจมมิด จับตาพายุลูกใหม่ [ ข่าวสด : 3 พฤศจิกายน 2559 ]

ร.ร.ในเพชรบุรีประกาศปิดเรียนต่อ เนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมถนนในเขตเมืองยังไม่ลดลง ด้าน ทบ. ส่งกำลังช่วยชาวบ้านน้ำท่วม ส่วนที่จอมบึง ราชบุรี ก็อ่วมถูกน้ำท่วมกว่า 100 ไร่ ขณะที่อุโมงค์ลอดทางรถไฟประจวบฯ ยังจมมิด ประกาศปิดน้ำตกป่าละอู ปภ.ประจวบฯ จับตาพายุลูกใหม่ในอ่าวตังเกี๋ย ปภ.ระบุสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ยังน่าเป็นห่วง ประสาน 7 จังหวัดเฝ้าระวังน้ำป่า- ดินถล่ม อุตุฯชี้ 6-8 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระวังอันตรายฝนตกหนักถึงหนักมาก

ปภ.สรุปสถานการณ์น้ำ
วันที่ 2 พ.ย. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่งใน 7 จังหวัด รวม 21 อำเภอ 128 ตำบล 618 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคกลาง 4 จังหวัด 13 อำเภอ 100 ตำบล 494 หมู่บ้าน ได้แก่ จ.นครสวรรค์ จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.กาญจนบุรี ภาคเหนือ 1 จังหวัด 3 อำเภอ 12 ตำบล 48 หมู่บ้าน ได้แก่ จ.พิจิตร ภาคใต้ 2 จังหวัด 5 อำเภอ 17 ตำบล 82 หมู่บ้าน ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.เพชรบุรี ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางเริ่มคลี่คลาย เนื่องจากมีปริมาณฝนลดลง ขณะที่ภาคใต้สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้ลำน้ำสายสำคัญมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนจึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหารและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว พร้อมเร่งซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสิ่งสาธารณประโยชน์ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว และจากการตรวจสอบสภาพอากาศ พื้นที่ภาคใต้ยังมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ปภ.จึงได้ประสาน 7 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา และภูเก็ต ให้เฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมพร้อมรับมือดินถล่ม ดินไหล และน้ำป่าไหลหลากในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. โดยจัดเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญเหตุ ชุดเคลื่อนที่เร็ว และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย

อุตุฯ เตือนใต้ระวังฝนหนัก
ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2 – 6 พ.ย.นี้ โดยบริเวณประเทศไทยตอนบน มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 7 – 8 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 2-8 พ.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 6-8 พ.ย. ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วน ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในขณะที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในบริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วม ฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ในระยะนี้ สำหรับประเทศไทยตอนบนมีฝนลดน้อยลง กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีฝนลดน้อยลง

ทบ.ช่วยชาวบ้านถูกน้ำท่วม
ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า จากที่เกิดฝนตกหนักในจ.เพชรบุรี ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก โดยมณฑลทหารบกที่ 15 และกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ได้นำกำลังพลกว่า 300 นาย เข้าช่วยประชาชนขนย้ายสิ่งของไปยังพื้นที่ปลอดภัย ก่อกระสอบทรายทำทำนบกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมเขตชุมชนในพื้นที่ หมู่ 1,2,5 และ 8 ต.บ้านกุ่ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี รวมถึงช่วยประชาชนสูบน้ำออกจากบ้านเรือน ขณะนี้ระดับน้ำยังทรงตัว หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม ล่าสุดในวันนี้หน่วยทหารในพื้นที่ยังคงร่วมกับทางจังหวัดออกให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเข้าก่อกระสอบทรายทำเป็นแนวกั้นน้ำในแหล่งชุมชน และบ้านเรือนประชาชนในเขตอ.เมือง และ อ.บ้านแหลม รวมถึงได้เข้าทำทำนบกั้นน้ำบริเวณโดยรอบพระรามราชนิเวศน์ (พระราช วังบ้านปืน) นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพชรบุรี นำอาหารและน้ำแจกจ่ายให้กับประชาชน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบด้วย

เพชรบุรีน้ำท่วมยังทรงตัว
บรรยากาศน้ำท่วมจ.เพชรบุรี บริเวณถนนเพชรเกษมขาล่องใต้ตั้งแต่แยกโรงพยาบาล เพชรรัชต์ ยังมีน้ำท่วมผิวจราจรสูงจนถึง4 แยกทางหลวง ใช้ได้ 1 ช่องทางจราจร ส่วนขาเข้ากทม ยังใช้การได้ดี ขณะที่ถนนหลายสายในเขตตัวเมืองเพชรบุรี ทั้งถนนทางไปสถานีรถไฟเพชรบุรี ถนนหน้าโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี แยกสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ถนนแยกหน้าอำเภอเมืองเพชรบุรี ถนนเส้นหน้าเขาวัง ตลอดสาย ถนนหน้าโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ ถนนหน้าวัดถ้ำแก้วผ่านท่ารถตู้โดยสารประจำทาง ถนนบันไดอิฐ ถนนราชดำเนิน ถนนหน้าวัดมหาธาตุและอีกหลายสายยังมีระดับน้ำขึ้นสูง แต่บางเส้นทางรถยนต์ยังสามารถใช้สัญจรไปได้ แต่หลายเส้นทางต้องปิดการจราจรเนื่องจากระดับน้ำสูง

นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผวจ.เพชรบุรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ โดยขณะนี้อำเภอเมืองมีพื้นที่น้ำท่วม 5 ตำบล มีครัวเรือนเดือด ร้อน 2,000 กว่าหลังคาเรือน อ.บ้านแหลม 21 หมู่บ้านใน 4 ตำบล รวม 1,200 ครัวเรือน การระบายน้ำจากเขื่อนเพชร 210 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะนี้น้ำทรงตัวและยังไม่มีน้ำฝนตกลงมาเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีการระบายน้ำออกทางคลองส่งน้ำสายหลัก 1-3 และฝั่งซ้ายเหนือเขื่อนเพชร 30 ลบ.ม. ต่อวินาที อีกทางหนึ่งด้วย หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มหรือน้ำทะเลหนุนน่าจะระบายลงทะเลได้เร็วขึ้น

ร.ร.ประกาศหยุดต่อ
ขณะที่โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเพชรประกาศหยุดเรียนดังนี้ ร.ร.พรหมานุสรณ์ ร.ร.เบญจมเทพอุทิศ ร.ร.คงคาราม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี หยุด 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 – 3 พ.ย. ร.ร.วัด จันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) ร.ร.อรุณประดิษฐ หยุด 1 วัน คือ วันที่ 2 พ.ย. ร.ร.วัดดอนไก่เตี้ย ร.ร.อนุบาลเพชรบุรี ร.ร.ราษฎร์ วิทยาและร.ร.ปริยัติรังสรรค์ หยุด 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 – 4 พ.ย.

คันกั้นน้ำพังกลางดึก
ด้านนายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ ผอ.สนง.ชลประทานที่ 14 กล่าวว่าเมื่อคืนวันที่ 1 พ.ย. 59 คันกั้นน้ำริมแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณค่ายทหาร มทบ.15 ได้ขาดลง ทำให้มีน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี นั้น ตนจึงได้สั่งการให้ ผอ.ชล ประทานเพชรบุรี และผอ.ส่งน้ำเพชรบุรี ส่งเจ้าหน้าที่ชลประทานไปช่วย ทหารจาก มทบ.15 และ สนง.ป้องกันสาธารณภัยจังหวัดเพชรบุรี ในการสร้างทำนบชั่วคราวปิดกั้นช่องขาด สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ ในเวลาประมาณ 22.00 น.

นอกจากนี้ยังได้ออกติดตามผลการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ ที่นำมาเพิ่มในแม่น้ำเพชรบุรีบริเวณหลังวัดเขาตะเครา จำนวน 6 เครื่อง รวมของเดิมเป็น 8 เครื่อง เพื่อเร่งผลักดันน้ำออกสู่ทะเล และสั่งการให้นำเครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีเพิ่มขึ้น เพื่อเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ต่อไป

อุโมงค์ประจวบฯ ยังจมมิด
ส่วนสถานการณ์ล่าสุด ในเขตตัวเมือง ประจวบฯ บริเวณถนนสุขสมบูรณ์และถนนประจวบศิริ หน้าโรงเรียนกิตติคุณ ปริมาณน้ำป่าที่ไหลท่วมลดลงจนแห้งเหลือน้ำท่วมขังเล็กน้อย ส่วนในโรงเรียนกิตติคุณยังมีน้ำท่วมขังจุดที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ อาทิ ห้องเรียนของเด็กชั้น ป. 1 และป. 2 ทางโรงเรียนได้ติดตั้งท่อสูบน้ำขนาด 3 นิ้วเร่งระบายน้ำเป็นการเร่งด่วน จึงให้หยุดเรียนเป็นการชั่วคราวไปอีกระยะ นอกจากนี้บริเวณทางลอดใต้อุโมงค์รถไฟที่เป็นเส้นทางใช้สัญจรเชื่อมต่อกันระหว่างถนนมหาราช 1 และมหาราช 2 ยังไม่สามารถใช้งานได้ยังคงมีปริมาณน้ำที่ท่วมสูงกว่า 2 เมตร เนื่องจากยังไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้

ประกาศปิดน้ำตกป่าละอู
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน ได้ประกาศปิดน้ำตกป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นการชั่วคราวโดยไม่มีกำหนด เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในแนวป่าเทือกเขาตะนาวศรี ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากลงสู่น้ำตกป่าละอู ระดับน้ำเพิ่มสูงและเชี่ยวกรากอย่างมาก ทางอช.แก่งกระจานจึงประกาศปิดน้ำตกเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทุกคน โดยขณะนี้พบว่าน้ำป่าได้หลากท่วมเส้นทางเดิน และทำให้สะพานไม้บริเวณป้ายชื่อน้ำตกหักเสียหาย รวมถึงมีต้นไม้หักโค่นหลายจุด ส่วนจะใช้เวลานานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับปริมาณฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ป่าชั้นใน ทั้งนี้ทางอุทยานได้จัดเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเข้าประจำจุด เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

จับตาพายุลูกใหม่
ที่ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายทวี นริสศิริกุล ผวจ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม โดยนายกิตติกรณ์ เทพอำนวย ปภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่าล่าสุดในเขตอ.เมือง ใกล้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว และแต่ยังต้องจับตามรสุมที่ก่อตัวเป็นพายุไซโคลน กำลังจะพัดเข้ามาในประเทศไทย

นายกิตติกรณ์กล่าวอีกว่า จากการติดตามรายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วง 1-2 วันนี้ จ.ประจวบคีรีขันธ์ อาจได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมซึ่งได้ก่อตัวเป็นพายุบริเวณทางใต้ของอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม ด้วยความเร็วแรงลม 300 ก.ม./ช.ม. กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยขึ้นอยู่กับทิศทางลม หากลมพัดมาทางตะวันตกก็จะเข้าสู่ประเทศไทย แต่ถ้าพัดขึ้นเหนือประเทศไทยก็จะได้รับผลกระทบน้อยลง จึงอยากฝากเตือนถึงประชาชนอย่าตื่นตระหนก ให้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์จากรายงานสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมยกสิ่งของขึ้นไว้บนที่สูงด้วย

จอมบึงท่วมหนัก 30 ปี
ขณะที่ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ถูกน้ำท่วมหนักเต็มพื้นที่เป็นวงกว้างนับ 100 ไร่ หลายพื้นที่ ถนนสายหลักจากตลาดจอมบึง จนถึงที่บริเวณหน้าที่ทำการไปรษณีย์จอมบึง น้ำเอ่อล้นท่วมรถเล็กต้องสัญจรกันอย่างระมัดระวัง ขณะที่ฝูงลิงภายในสวนรุกขชาติอำเภอจอมบึง ต้องอพยพมาอยู่รวมกันที่บริเวณพื้นที่สูงเพื่อหนีน้ำ โดยเฉพาะเมื่อช่วงเวลา 17.00 น. ของวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา เกิดฝนตกอย่างหนักทำให้เกิดมวลน้ำจำนวนมาก และไหลเข้าท่วมในพื้นที่บริเวณเขตเทศบาลตำบลจอมบึง ระดับน้ำสูง 20 เซนติเมตร ชาวบ้านในเขตตลาดเทศบาลต่างตื่นตระหนกเพราะกว่า 30 ปีที่ผ่านมาไม่เคยเจอน้ำท่วมหนักเช่นนี้ จนถึงช่วงเช้าวันนี้จึงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ที่บริเวณถนนหน้าธนาคารกรุงเทพ สาขาอำเภอจอมบึง ยาวไปจนถึงหน้าที่ทำการไปรษณีย์จอมบึง ประมาณ 20 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ต้องนำเรือท้องแบนมาช่วยในการขนสัมภาระและพัสดุ เพื่อนำส่งยังรถบรรทุกออกส่งให้กับประชาชน นอกจากในเขตตลาดแล้ว น้ำยังไหลเข้าท่วมตามถนนสายเข้าหมู่บ้านต่างๆ ในเขต ต.จอมบึง บางจุดน้ำทะลักเข้าภายในบ้านและร้านค้าตลอดทั้งสองฝั่งของถนน รวมทั้งพื้นที่นาข้าวและพืชไร่ของเกษตรกร ขณะที่วัดเขาปิ่นทองและพื้นที่ ต.ปากช่อง อ.จอมบึง ปริมาณน้ำยังคงทรงตัวประกอบกับยังคงมีฝนตกอยู่ในช่วงนี้






ตลิ่งริมแม่น้ำเพชรบุรี ทรุดพังลงกว่า 100 เมตร หลายพื้นที่ใน อ.บ้านลาด [ ไทยรัฐ : 8 พฤศจิกายน 2559 เวลา 20.14 น. ]

ตลิ่งริมแม่น้ำเพชรบุรี เขตอำเภอบ้านลาด พังเป็นระยะทางยาวกว่า 100 เมตร หลายจุด เกิดจากแก้น้ำท่วมเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี จนลดฮวบอย่างรวดเร็ว

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 8 พ.ย. นายธีรพงศ์ เกียรติทวีนนท์ ปลัดอำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี ได้รายงานไปยังชลประทานจังหวัดเพชรบุรี ว่า ได้เกิดเหตุตลิ่งริมแม่น้ำเพชรบุรีทรุดตัวและพังทลายลงเป็นระยะทางเกือบ 100 เมตร ในพื้นที่หมู่ 1, 2, 3, 4 และ 8 ต.บ้านลาด ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการลดระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี และขอให้ไปทำการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตามภายหลังชลประทานเพชรบุรีได้เข้าไปตรวจสอบพบว่า มีสาเหตุมาจากระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีลดลงอย่างรวดเร็ว จากการเร่งระบายออกสู่ทะเลเพื่อแก้ปัญหาน้ำที่ท่วมสูง จึงได้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ซึ่งต่อมาได้มีการปรับเพิ่มระดับการระบายน้ำจากเขื่อนเพชร เพื่อแก้ปัญหาตลิ่งที่เกิดการทรุดตัวเป็น 40 ลบ.ม./วินาที จากเดิมที่ระบายน้ำอยู่ที่ 33 ลบ.ม./วินาทีแล้ว