ช่วงวันที่ 16-18 สิงหาคม 2561 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน "เบบินคา" (BEBINCA) ที่เคลื่อนตัวผ่านตอนบนของจังหวัดน่าน เชียงราย และเชียงใหม่ ในวันที่ 17 สิงหาคม 2561 ในขณะที่ความแรงของพายุอยู่ในระดับดีเปรสชัน ก่อนจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศพม่าและลดกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในวันที่ 18 สิงหาคม 2561 ซึ่งอิทธิพลของพายุส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่าน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ นอกจากนี้อิทธิพลของพายุยังส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ซึ่งทำให้ด้านรับลม ทั้งทางด้านตะวันตกของภาคใต้และบริเวณภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น
              จากสถานการณ์ฝนตกหนักดังกล่าวส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักในพื้นที่ภาคเหนือมีระดับเพิ่มสูงขึ้นและบางจุดเกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ซึ่งจากการตรวจวัดระดับผ่านระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร พบสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งที่แม่น้ำน่าน บริเวณ อ.ท่าวังผา อ.ภูเพียง และอ.เวียงสา น้ำเงิน บริเวณ อ.ปง จ.พะเยา น้ำม่าว บริเวณ อ.ปง จ.พะเยา น้ำคูณ บริเวณ อ.ปง จ.พะเยา น้ำแม่จั๊วะ บริเวณ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา แม่น้ำวังทอง บริเวณ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก น้ำปาด บริเวณ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ แม่น้ำลาว บริเวณ อ.เมือง จ.เชียงราย น้ำแม่จัน บริเวณ อ.แม่จัน จ.เชียงราย และ แม่น้ำยม บริเวณ อ.หนองม่วงไข่ และ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่  ทั้งนี้สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละจุด เป็นการล้นตลิ่งเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และสามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว
              นอกจากนี้ฝนที่ตกหนักยังส่งผลทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ เพิ่มสูงขึ้น โดยเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสุดสุด 66.87 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 20 สิงหาคม 2561 แต่ยังคงมีการระบายน้ำอยู่ที่วันละประมาณ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในเขื่อนยังคงอยู่ในสถานการณ์น้ำปานกลาง จึงไม่จำเป็นต้องเร่งระบายน้ำ ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุด 171.02 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 19 สิงหาคม 2561 ซึ่งเป็นปริมาณน้ำไหลลงอ่างที่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้อิทธิพลจากพายุส่งผลทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนค่อนข้างมาก เกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2561 และแม้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนจะลดลง แต่ยังคงอยู่ที่ประมาณ 97 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งยังถือเป็นปริมาณน้ำค่อนข้างมากต่อเนื่อง จึงได้มีการการระบายน้ำเพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงวันที่ 21-31 สิงหาคม 2561 ส่วนเขื่อนแม่กวง เขื่อนแม่งัด บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ และเขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา บริเวณจังหวัดลำปาง ที่ถึงแม้จะมีปริมาณน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นมาก แต่สถานการณ์น้ำไม่ได้อยู่ในสภาวะวิกฤตแต่อย่างใด โดยเฉพาะเขื่อนแม่กวงและเขื่อนแม่งัด เนื่องจากปริมาณน้ำที่กักเก็บอยู่ในเขื่อนมีค่อนข้างน้อย
              เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เบบินคา” (BEBINCA) และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่ม โดยตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม 2561 เกิดสถานการณ์ใน 6 จังหวัด ได้แก่ น่าน เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องงสอน รวม 38 อำเภอ 146 ตำบล 6,002 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลลกระทบ 9,1106 ครัวเรือน 21,286 คน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ในพื้นที่จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน และจังหวัดเชียงราย จังหวัดละ 1 ราย ทั้งนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำปาง และยังคงมีสถานการณ์ใน 3 จังหวัด ได้แก่ น่าน พะเยา และเชียงราย รวม 24 อำเภอ 119 ตำบล 5,339 หมู่บ้าน ประชาาชน ได้รับผลกระะทบ 8,979 ครัวเรือน 200,964 คน










ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา


          พายุโซนร้อน เบบินคา" (BEBINCA) ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในวันเดียวกัน โดยพายุลูกนี้มีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตอนเหนือ ผ่านบริเวณนอกชายฝั่งทางด้านตะวันออกของเกาะไหหลำเข้าสู่ตอนใต้ของประเทศจีนบริเวณเมืองหยางเจียง ในวันที่ 11 สิงหาคม 2561 หลังจากนั้นพายุดังกล่าวได้เคลื่อนตัววกกลับลงทะเลอีกครั้ง และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561 โดยมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก และเคลื่อนตัววกกลับมาทางทิศตะวันตกในวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ในขณะที่ยังอยู่ในระดับพายุโซนร้อน หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวมาทางทิศตะวันตกอย่างต่อเนื่องผ่านเกาะไหหลำในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 และเคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ยจนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2561 ก่อนจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณตอนเหนือของประเทศเวียดนามในวันที่ 17 สิงหาคม 2561 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวผ่านไปยังตอนบนของประเทศลาวพร้อมลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และเคลื่อนตัวผ่านตอนบนของจังหวัดน่าน เชียงราย และเชียงใหม่ ในวันเดียวกัน หลังจากนั้นพายุดังกล่าวได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศพม่าและลดกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในวันที่ 18 สิงหาคม 2561


ข้อมูลเพิ่มเติม : https://en.wikipedia.org/wiki/2018_Pacific_typhoon_season#/media/File:Bebinca_2018_track.png





ข้อมูลโดย : Kochi University

                    ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Himawari-8 แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลจากพายุ "เบบินคา" (ฺBEBINA) ส่งผลทำให้มีกลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 15-19 สิงหาคม 2561 ประกอบกับพายุดังกล่าวยังส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นทำให้มีกลุ่มเมฆหนาปกคลุมบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ด้วยเช่นกัน โดยหลังจากวันที่ 19 สิงหาคม 2561 ตอนบนของประเทศมีปริมาณเมฆลดลง แต่บริเวณภาคใต้ยังคงมีกลุ่มเมฆหนาปกคลุมในหลายพื้นที่


15/8/61

16/8/61

17/8/61

18/8/61

19/8/61

20/8/61

21/8/61

22/8/61

23/8/61

24/8/61

25/8/61

26/8/61

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php







 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา          


                 จากภาพแผนที่อากาศ จะเห็นได้ว่าพายุโซนร้อน "เบบินคา" ได้เคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ทางด้านตะวันออกของเกาะไหหลำ และในวันที่ 16 สิงหาคม 2561 พายุดังกล่าวได้เคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ยและเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนบนของประเทศเวียดนามในวันที่ 17 สิงหาคม 2561 ส่วนภาพแผนที่อากาศวันที่ 18 สิงหาคม 2561 แสดงให้เห็นว่าพายุเบบินคา ได้สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอยู่บริเวณตอนบนของประเทศพม่า ซึ่งอิทธิพลของพายุส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของภาคเหนือโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ และแม้พายุจะสลายตัวไป แต่ต่อมาในช่วงวันที่ 22-26 สิงหาคม 2561 ได้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทย ส่งผลให้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่


15/8/61

16/8/61

17/8/61

18/8/61

19/8/61

20/8/61

21/8/61

22/8/61

23/8/61

24/8/61

25/8/61

26/8/61

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/hmain.php?page=/TyphoonTracking/show_weather_map.php







 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

                    แผนที่แสดงความกดอากาศที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนตัวของพายุโซนร้อน "เบบินคา" ซึ่งในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 พายุดังกล่าวได้เคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนใกล้กับเกาะไหหลำ (พื้นที่วงกลมสีแดง) ค่าความกดอากาศอยู่ที่ประมาณ 838-840 hPa และหลังจากนั้นพายุดังกล่าวได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันหลังจากเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามในวันที่ 17 สิงหาคม 2561 และได้เคลื่อนตัวต่อเนื่อง ผ่านไปยังประเทศลาวและภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ ในวันเดียวกัน และในวันที่ 18 สิงหาคมา 2561 พายุดังกล่าวได้สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศพม่าและภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย (วงกลมสีส้ม) โดยค่าความกดอากาศอยู่ที่ประมาณ 840-842 hPa


15/08/61

16/08/61

17/08/61

18/08/61

19/08/61

20/08/61

21/08/61

22/08/61

23/08/61

24/08/61

25/08/61

26/08/61


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map.php, http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map_latest.php?img=pressure_upperwind_1500m_low_latest.flv







 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

                    ภาพแผนที่แสดงความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของพายุโซนร้อน "เบบินคา" ไม่เพียงส่งผลทำให้เกิดลมแรงในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน แต่ยังส่งผลทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นมากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2561 จนถึงประมาณวันที่ 21 สิงหาคม 2561 โดยความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


15/08/61

16/08/61

17/08/61

18/08/61

19/08/61

20/08/61

21/08/61

22/08/61

23/08/61

24/08/61

25/08/61

26/08/61



ข้อมูลเพิ่มเติม : http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map.php, http://live1.hii.or.th/wrf_image/weather_map_latest.php?img=pressure_upperwind_1500m_low_latest.flv








ข้อมูลโดย : Ocean Weather Inc.

                    แผนภาพแสดงความสูงของคลื่นและทิศทางของคลื่นแสดงให้เห็นว่า จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "เบบินคา" (BEBINCA) ส่งผลให้ความสูงของคลื่นบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน เพิ่มขึ้นเป็น 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 15-21 สิงหาคม 2561 หลังจากนั้นความสูงของคลื่นที่ได้ลดลงเหลือ 1-2 เมตร และกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่ 25-26 สิงหาคม 2561 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของอ่าวเบงกอล


15/08/61

16/08/61

17/08/61

18/08/61

19/08/61

20/08/61

21/08/61

22/08/61

23/08/61

24/08/61

25/08/61

26/08/61



ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_wave.php?zone=Ind







 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

                    เครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจวัดปริมาณฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้แก่ เรดาร์น่าน เรดาร์เชียงราย เรดาร์สกลนคร เรดาร์ขอนแก่น และเรดาร์สัตหีบ ตรวจพบกลุ่มฝนตกหนักกระจุกตัวบริเวณภาคเหนือตอนบนในวันที่ 16-17 สิงหาคม 2561 หลังจากนั้นถึงแม้กลุ่มฝนจะลดน้อยลง แต่ยังคงมีกลุ่มฝนตกหนักกระจุกตัวในบางพื้นที่ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2561 ส่วนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบกลุ่มฝนตกหนักในบางพื้นที่ทางด้านตอนบนของภาคในช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากพายุ "เบบินคา" 15-19 สิงหาคม 2561 รวมถึงอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านในช่วงวันที่ 22-26 สิงหาคม 2561 ทำให้มีฝนตกหนักกระจายตัวในหลายพื้นที่ สำหรับภาคกลางตอนล่างพบกลุ่มฝนตกหนักในบางพื้นที่ยกเว้นช่วงวันที่ 24-26 สิงหาคม 2561 ที่มีกลุ่มฝนตกหนักกระจายตัวในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้ตอนบนพบกลุ่มฝนตกหนักช่วงวันที่ 15-20 และ 24-26 สิงหาคม 2561 สำหรับภาคตะวันออกพบกลุ่มฝนตกหนักในวันที่ 15 19-22 และ 26 สิงหาคม 2561

เรดาร์เชียงราย

15/8/61 22:27GMT

16/8/61 15:27GMT

17/8/61 17:27GMT

18/8/61 20:27GMT

19/8/61 18:27GMT

20/8/61 12:27GMT

21/8/61 13:27GMT

22/8/61 13:27GMT

23/8/61 03:27GMT

24/8/61 13:27GMT

25/8/61 13:27GMT

26/8/61 11:27GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_criradar.php


เรดาร์น่าน

15/8/61 06:45GMT

16/8/61 19:00GMT

17/8/61 14:45GMT

18/8/61 18:45GMT

19/8/61 07:00GMT

20/8/61 15:00GMT

21/8/61 15:00GMT

22/8/61 14:45GMT

23/8/61 14:00GMT

24/8/61 15:30GMT

25/8/61 22:30GMT

26/8/61 23:30GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/v3/image/radar/tmd/nan120

เรดาร์สกลนคร

15/8/61 06:38GMT

16/8/61 17:38GMT

17/8/61 03:38GMT

18/8/61 15:38GMT

19/8/61 20:38GMT

20/8/61 14:38GMT

21/8/61 12:38GMT

22/8/61 05:38GMT

23/8/61 17:38GMT

24/8/61 17:38GMT

25/8/61 14:38GMT

26/8/61 14:38GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_sknradar.php


เรดาร์ขอนแก่น

15/8/61 30:30GMT

16/8/61 20:30GMT

17/8/61 03:30GMT

18/8/61 16:30GMT

19/8/61 17:30GMT

20/8/61 15:30GMT

21/8/61 17:30GMT

22/8/61 16:30GMT

23/8/61 17:30GMT

24/8/61 17:30GMT

25/8/61 15:30GMT

26/8/61 15:30GMT


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_kkn_radar.php


เรดาร์สัตหีบ

15/8/61 11:00GMT

16/8/61 07:00GMT

17/8/61 04:00GMT

18/8/61 08:00GMT

19/8/61 03:00GMT

20/8/61 06:00GMT

21/8/61 07:00GMT

22/8/61 07:00GMT

23/8/61 08:00GMT

24/8/61 14:00GMT

25/8/61 11:00GMT

26/8/61 08:00GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rm_satradar.php







 ข้อมูลโดย : คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ

          รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ในช่วงวันที่ 15-26 สิงหาคม 2561 พบฝนตกหนักถึงหนักมากกระจุกบริเวณภาคเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 16-18 สิงหาคม 2561 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "เบบินคา" หลังจากนั้นปริมาณฝนลดลง แต่กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่ 22-26 สิงหาคม 2561 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศไทย ส่วนบริเวณพื้นที่รับลมของภาคใต้และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ช่วงวันที่ 17-21 สิงหาคม 2561 ต่อมาในช่วงวันที่ 22-23 สิงหาคม 2561 ด้านตะวันตกของภาคใต้มีฝนตกหนักกระจายตัวเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่ สำหรับจังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ปริมาณฝนสะสมเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ จังหวัดน่าน เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน เลย นครสวรรค์ สระบุรี นครนายก พังงา ภูเก็ต สตูล และระนอง รายละเอียดเพิ่มเติม ดังแผนที่และตารางด้านล่าง


15/8/61

16/8/61

17/8/61

18/8/61

19/8/61

20/8/61

21/8/61

22/8/61

23/8/61

24/8/61

25/8/61

26/8/61

ตารางแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันช่วงวันที่ 15-26 ส.ค. 61
วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
2018-08-16 บ้านสกาดกลาง สกาด ปัว น่าน                                                     153
บ้านเต๋ยกิ๋วเห็น ภูคา ปัว น่าน                                                     144
บ้านห้วยหลักลาย อวน ปัว น่าน                                                     143
บ้านนาฝ่า จอมพระ ท่าวังผา น่าน                                                     127
บ้านหัวนา พงษ์ สันติสุข น่าน                                                     120
บ้านสันติสุข แสนทอง ท่าวังผา น่าน                                                     114
บ้านห้วยละเบ้ายา สะเนียน เมือง น่าน                                                     108
บ้านผาเวียง ภูคา ปัว น่าน                                                     103
บ้านนาหนุน 3 ผาตอ ท่าวังผา น่าน                                                     102
บ้านลาน ม่อนปิ่น ฝาง เชียงใหม่                                                        91
2018-08-17 บ้านห้วยละเบ้ายา สะเนียน เมือง น่าน                                                     334
บ้านท่าล้อ แงง ปัว น่าน                                                     258
บ้านหนองปลา เชียงกลาง เชียงกลาง น่าน                                                     243
บ้านปางยาง ภูคา ปัว น่าน                                                     225
บ้านน้ำกิใต้ ผาทอง ท่าวังผา น่าน                                                     214
บ้านผาเวียง ภูคา ปัว น่าน                                                     184
บ้านสกาดกลาง สกาด ปัว น่าน                                                     180
สะพานบ้านขุนควร ควร ปง พะเยา                                                     167
บ้านปางแก ทุ่งช้าง ทุ่งช้าง น่าน                                                     167
บ้านนาฝ่า จอมพระ ท่าวังผา น่าน                                                     157
บ้านงอบเหนือ งอบ ทุ่งช้าง น่าน                                                     156
บ้านน้ำมีด เปือ เชียงกลาง น่าน                                                     153
บ้านปงถ้ำ วังทอง วังเหนือ ลำปาง                                                     152
บ้านเต๋ยกิ๋วเห็น ภูคา ปัว น่าน                                                     149
บ้านกอก อวน ปัว น่าน                                                     147
บ้านปางน้ำฮ้าย ท่าก๊อ แม่สรวย เชียงราย                                                     146
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำแม่ปุง บ้านปิน ดอกคำใต้ พะเยา                                                     142
บ้านน้ำไคร้ ยม ท่าวังผา น่าน                                                     141
บ้านสบขาม ควร ปง พะเยา                                                     141
บ้านน้ำสอด และ ทุ่งช้าง น่าน                                                     140
สะพานน้ำงิม ผาช้างน้อย ปง พะเยา                                                     139
อบต.นาไร่หลวง นาไร่หลวง สองแคว น่าน                                                     137
บ้านนาหนุน 3 ผาตอ ท่าวังผา น่าน                                                     137
ทต.ปง ปง ปง พะเยา                                                     131
บ้านปางกลาง แม่พริก แม่สรวย เชียงราย                                                     129
บ้านส้อ เปือ เชียงกลาง น่าน                                                     129
บ้านปางเป๋ย สะเนียน เมือง น่าน                                                     128
บ้านผาน้ำย้อย พญาแก้ว เชียงกลาง น่าน                                                     128
บ้านน้ำต้ม ผาช้างน้อย ปง พะเยา                                                     128
สถานีโทรมาตรฯ สะพานน้ำแม่จั้วะ สระ เชียงม่วน พะเยา                                                     125
บ้านน้ำปาน ชนแดน สองแคว น่าน                                                     124
บ้านสองแคว นาไร่หลวง สองแคว น่าน                                                     124
บ้านตีนธาตุ สันทราย พร้าว เชียงใหม่                                                     123
บ้านห้วยตรึม ป่าคาหลวง บ้านหลวง น่าน                                                     122
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำดอยกาด ผาช้างน้อย ปง พะเยา                                                     122
บ้านห่างทางหลวง ภูฟ้า บ่อเกลือ น่าน                                                     120
บ้านห้วยโก๋น ห้วยโก๋น เฉลิมพระเกียรติ น่าน                                                     120
บ้านใหม่เจริญไพร ฝายกวาง เชียงคำ พะเยา                                                     120
บ้านปางเปา ขี้เหล็ก แม่แตง เชียงใหม่                                                     118
บ้านก้อ แม่จริม แม่จริม น่าน                                                     118
บ้านแม่หีด วังแก้ว วังเหนือ ลำปาง                                                     117
สะพานน้ำเงิน ออย ปง พะเยา                                                     115
บ้านศรีดอนชัย ป่าแงะ ป่าแดด เชียงราย                                                     114
บ้านต้นผึ้ง ร่มเย็น เชียงคำ พะเยา                                                     113
บ้านเวียงสา สันกลาง พาน เชียงราย                                                     113
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำดอยผาจิ ควร ปง พะเยา                                                     112
บ้านกาใส สะเนียน เมือง น่าน                                                     112
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำงิม ผาช้างน้อย ปง พะเยา                                                     108
บ้านบาหรา ท่าก๊อ แม่สรวย เชียงราย                                                     106
บ้านขุนกำลัง ควร ปง พะเยา                                                     105
บ้านกลาง เชียงม่วน เชียงม่วน พะเยา                                                     105
บ้านนาหนุน ภูซาง ภูซาง พะเยา                                                     104
บ้านตึงเหนือ วังทอง วังเหนือ ลำปาง                                                     103
บ้านอุมุง บุฮม เชียงคาน เลย                                                     100
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำเงิน ผาช้างน้อย ปง พะเยา                                                     100
ที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง ทุ่งช้าง ทุ่งช้าง น่าน                                                        99
บ้านหนองเลา ภูซาง ภูซาง พะเยา                                                        99
อบต.ป่าคา ป่าคา ท่าวังผา น่าน                                                        97
บ้านห้วยป่าซาง กื้ดช้าง แม่แตง เชียงใหม่                                                        97
บ้านพิทักษ์ไทย ตับเต่า เทิง เชียงราย                                                        96
บ้านสบสา ร่มเย็น เชียงคำ พะเยา                                                        96
บ้านแม่เตาดิน ห้วยแก้ว แม่ออน เชียงใหม่                                                        95
บ้านน้ำลาว แม่ลาว เชียงคำ พะเยา                                                        94
บ้านแม่อ้อใน แม่นะ เชียงดาว เชียงใหม่                                                        94
บ้านห้วยข้าวก่ำเหนือ ห้วยข้าวก่ำ จุน พะเยา                                                        94
บ้านแม่ต๋อมใน สันป่าม่วง เมืองพะเยา พะเยา                                                        94
บ้านสหกรณ์แปลง 5 ป่าตุ้ม พร้าว เชียงใหม่                                                        94
บ้านห้วยหลักลาย อวน ปัว น่าน                                                        93
บ้านป่าเหมี้ยง แจ้ซ้อน เมืองปาน ลำปาง                                                        92
สะพานน้ำปี้ เชียงม่วน เชียงม่วน เชียงม่วน พะเยา                                                        92
บ้านกะไหล กะไหล ตะกั่วทุ่ง พังงา                                                        92
บ้านแม่ออ แม่ยวมน้อย ขุนยวม แม่ฮ่องสอน                                                        92
บ้านสา ทุ่งกล้วย ภูซาง พะเยา                                                        91
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำพี้ บ้านพี้ บ้านหลวง น่าน                                                        90
2018-08-18 บ้านโป่งก้อนเส้า ท่ามะปราง แก่งคอย สระบุรี                                                        91
2018-08-19 บ้านโรงกลวง นบปริง เมืองพังงา พังงา                                                     123
2018-08-20 บ้านตลิ่งสูง แม่เล่ย์ แม่วงก์ นครสวรรค์                                                        92
2018-08-21 บ้านบางหวาน กมลา กะทู้ ภูเก็ต                                                     121
2018-08-22 บ้านบางหลาโอน คึกคัก ตะกั่วป่า พังงา                                                     218
บ้านกะไหล กะไหล ตะกั่วทุ่ง พังงา                                                     130
ละงู ละงู ละงู สตูล                                                     126
ทต.เจ๊ะบิลัง เจ๊ะบิลัง เมืองสตูล สตูล                                                     125
บ้านบูเก็ตยามู ควนโดน ควนโดน สตูล                                                     119
บ้านแหลมหิน หล่อยูง ตะกั่วทุ่ง พังงา                                                     119
บ้านทุ่งทราย เวียง เชียงของ เชียงราย                                                     115
บ้านบางหวาน กมลา กะทู้ ภูเก็ต                                                     109
บ้านโกตา กำแพง ละงู สตูล                                                     108
2018-08-23 บ้านเหมาะ (บ้านในหนด) เหมาะ กะปง พังงา                                                     194
บ้านหินขาว กะเปอร์ กะเปอร์ ระนอง                                                     162
บ้านเหนือ ตำตัว ตะกั่วป่า พังงา                                                     123
ทต.บ่อเกลือใต้ บ่อเกลือใต้ บ่อเกลือ น่าน                                                     104
อบต.บางวัน บางวัน คุระบุรี พังงา                                                     101
บ้านเมืองแพม ถ้ำลอด ปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน                                                     100
2018-08-24 บ้านวังไผ่ นาไร่หลวง สองแคว น่าน                                                     133
บ้านกอกหลวง แม่นาจาง แม่ลาน้อย แม่ฮ่องสอน                                                     131
บ้านนาฝ่า จอมพระ ท่าวังผา น่าน                                                     104
2018-08-26 บ้านหนองเขียว แม่กรณ์ เมืองเชียงราย เชียงราย                                                     109
2018-08-27 ที่ทำการน้ำตกนางรอง หินตั้ง เมืองนครนายก นครนายก                                                        96

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 90 มิลลิเมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ฝนตกหนักมากตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนจากอิทธิพลของพายุ "เบบินคา" ช่วงวันที่ 15-26 สิงหาคม 2561






 
ข้อมูลโดย : NARVAL, GSMaP


          จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา (NARVAL) พบมีกลุ่มฝนตกหนักกระจุกตัวอยู่บริเวณภาคเหนือและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 17-18 สิงหาคม 2561 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "เบบินคา" โดยตรง นอกจากนี้อิทธิพลของพายุยังส่งผลทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น หลังจากพายุได้สลายตัวไป ปริมาณฝนบริเวณตอนบนของประเทศได้ลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่เนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับในช่วงตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2561 ไปจนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2561 ได้มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศส่งผลให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก กระจายตัวเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่ ยกเว้นในช่วงวันที่ 22-23 สิงหาคม 2561 ที่บริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง


14/8/61

15/8/61

16/8/61

17/8/61

18/8/61

19/8/61

20/8/61

21/8/61

22/8/61

23/8/61

24/8/61

25/8/61
mm.
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/show_ssta.php


         แผนภาพแสดงข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากดาวเทียม GSMaP แสดงให้เห็นว่าในวันที่ 16 สิงหาคม 2561 กลุ่มฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุ "เบบินคา" เริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาส่งผลกระทบให้กับประเทศไทยบริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และในวันที่ 17 สิงหาคม 2561 กลุ่มฝนดังกล่าวได้เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือเป็นบริเวณกว้าง และสลายตัวไปในวันที่ 18 สิงหาคม 2561


15/8/61

16/8/61

17/8/61

18/8/61

19/8/61

20/8/61

21/8/61

22/8/61

23/8/61

24/8/61

25/8/61

26/8/61







 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

         จากรายงานการส่ง SMS เพื่อเตือนภัยสถานการณ์น้ำช่วงวันที่ 15-28 สิงหาคม 2561 พบว่ามีการเตือนภัยพายุ เขื่อน และปริมาณฝนในบริเวณที่เกิดฝนตกหนัก ทั้งในระดับการเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤต จำนวนทั้งสิ้น 80 ครั้ง โดยมีการเตือนภัยในระดับเฝ้าระวังสูงสุด จำนวน 43 ครั้ง ระดับวิกฤต 37 ครั้ง และหากแบ่งตามประเภทข้อมูล มีการเตือนภัยพายุที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย จำนวน 10 ครั้ง เตือนภัยปริมาณน้ำในเขื่อน 6 ครั้ง และเตือนภัยปริมาณฝน 64 ครั้ง รายละเอียดดังกราฟและตารางด้านล่าง


วันที่ / เวลา
ช่วงเวลาฝนสะสม / เขื่อน
ตำบล
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสม(มม.)
ระดับการเตือนภัย
15/8/2018 9:00 น. เขื่อนขุนด่าน 
เพิ่มเป็นวิกฤต 82%
17/8/2018 8:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 8:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 9:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 9:00 น. ฝนวานนี้ ท่าวังผา จ.น่าน 126.1
วิกฤต
17/8/2018 9:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 10:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 10:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 11:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 11:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 12:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 13:00 น. Tropical Storm BEBINCA is hitting Thailand.
วิกฤต
17/8/2018 15:00 น. ฝน07-15น. ต.ปง จ.พะเยา 87
เฝ้าระวังสูงสุด
17/8/2018 17:00 น. ฝน07-17น. ต.ป่าคาหลวง จ.น่าน 65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
17/8/2018 19:00 น. ฝน07-19น. ต.ป่าคา จ.น่าน 82.4
วิกฤต
17/8/2018 21:00 น. ฝน07-21น. ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 67.8
เฝ้าระวังสูงสุด
17/8/2018 22:00 น. ฝน07-22น. ต.ทุ่งช้าง จ.น่าน 75.2
เฝ้าระวังสูงสุด
17/8/2018 22:00 น. ฝน07-22น. ต.นาไร่หลวง จ.น่าน 87
วิกฤต
17/8/2018 23:00 น. ฝน07-23น. ต.ทุ่งช้าง จ.น่าน 90
วิกฤต
17/8/2018 23:00 น. ฝน07-23น. ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 83.2
วิกฤต
17/8/2018 23:00 น. ฝน07-23น. ต.ป่าคาหลวง จ.น่าน 81.6
วิกฤต
18/8/2018 0:00 น. ฝน17/07-18/00น. ต.ทุ่งช้าง จ.น่าน 92.6
วิกฤต
18/8/2018 0:00 น. ฝน17/07-18/00น. ต.นาไร่หลวง จ.น่าน 133.2
วิกฤต
18/8/2018 0:00 น. ฝน17/07-18/00น. ต.ปง จ.พะเยา 116
เฝ้าระวังสูงสุด
18/8/2018 0:00 น. ฝน17/07-18/00น. ต.ป่าคา จ.น่าน 95.6
วิกฤต
18/8/2018 0:00 น. ฝน17/07-18/00น. ต.เชียงกลาง จ.น่าน 67
เฝ้าระวังสูงสุด
18/8/2018 0:00 น. ฝน17/07-18/00น. ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 84
วิกฤต
18/8/2018 0:00 น. ฝน17/07-18/00น. ต.ป่าคาหลวง จ.น่าน 82.2
วิกฤต
18/8/2018 1:00 น. ฝน17/07-18/01น. ต.ปง จ.พะเยา 124.6
วิกฤต
18/8/2018 3:00 น. ฝน17/07-18/03น. ต.ห้วยโก๋น จ.น่าน 68.8
เฝ้าระวังสูงสุด
18/8/2018 7:00 น. ฝนวานนี้ ต.บ้านโป่ง จ.เชียงใหม่ 86.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.ทุ่งช้าง จ.น่าน 105
เฝ้าระวังสูงสุด
18/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.นาไร่หลวง จ.น่าน 144.8
เฝ้าระวังสูงสุด
18/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.ป่าคา จ.น่าน 175.4
วิกฤต
18/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 136.2
เฝ้าระวังสูงสุด
18/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.ป่าคาหลวง จ.น่าน 98.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18/8/2018 12:00 น. ฝนวานนี้ ทุ่งช้าง จ.น่าน 106.1
วิกฤต
18/8/2018 12:00 น. ฝนวานนี้ น่าน สกษ. จ.น่าน 87
วิกฤต
18/8/2018 12:00 น. ฝนวานนี้ ท่าวังผา จ.น่าน 126.1
วิกฤต
18/8/2018 12:00 น. ฝนวานนี้ น่าน จ.น่าน 71.5
เฝ้าระวังสูงสุด
19/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.ทุ่งช้าง จ.น่าน 124.8
เฝ้าระวังสูงสุด
19/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.นาไร่หลวง จ.น่าน 148.2
เฝ้าระวังสูงสุด
19/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.ป่าคา จ.น่าน 174.6
วิกฤต
19/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.เชียงกลาง จ.น่าน 102.4
เฝ้าระวังสูงสุด
19/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 160.2
วิกฤต
19/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.ป่าคาหลวง จ.น่าน 99.2
เฝ้าระวังสูงสุด
19/8/2018 11:00 น. เขื่อนขุนด่าน
ลดเป็นเฝ้าระวังพิเศษ 86%
19/8/2018 11:00 น. เขื่อนปราณบุรี
เพิ่มเป็นวิกฤต 81%
20/8/2018 0:00 น. ฝน19/07-20/00น. ต.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ 72.4
เฝ้าระวังสูงสุด
20/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.ทุ่งช้าง จ.น่าน 119
เฝ้าระวังสูงสุด
20/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.นาไร่หลวง จ.น่าน 141
เฝ้าระวังสูงสุด
20/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.ป่าคา จ.น่าน 97.4
เฝ้าระวังสูงสุด
20/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.เชียงกลาง จ.น่าน 114.2
เฝ้าระวังสูงสุด
20/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 116.2
เฝ้าระวังสูงสุด
22/8/2018 1:00 น. ฝน21/07-22/01น. ต.ท่าโรง จ.เพชรบูรณ์ 71.4
เฝ้าระวังสูงสุด
22/8/2018 2:00 น. ฝน21/07-22/02น. ต.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ 73
เฝ้าระวังสูงสุด
22/8/2018 10:00 น. เขื่อนขุนด่าน 
เพิ่มเป็นวิกฤต 87%
22/8/2018 10:00 น. ฝนวานนี้ บัวชุม จ.ลพบุรี 73.5
เฝ้าระวังสูงสุด
22/8/2018 10:00 น. ฝนวานนี้ วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ 84.2
เฝ้าระวังสูงสุด
23/8/2018 1:00 น. ฝน22/07-23/01น. ต.บ่อแก้ว จ.น่าน 76.4
เฝ้าระวังสูงสุด
23/8/2018 5:00 น. ฝน22/07-23/05น. ต.เจ๊ะบิลัง จ.สตูล 90.4
เฝ้าระวังสูงสุด
23/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.บ่อแก้ว จ.น่าน 112.8
เฝ้าระวังสูงสุด
23/8/2018 9:00 น. ฝนวานนี้ สตูล จ.สตูล 126.5
วิกฤต
23/8/2018 9:00 น. ฝนวานนี้ ภูเก็ต จ.ภูเก็ต 102.2
เฝ้าระวังสูงสุด
23/8/2018 9:00 น. ฝนวานนี้ ตะกั่วป่า จ.พังงา 110.4
เฝ้าระวังสูงสุด
23/8/2018 18:00 น. ฝน07-18น. ต.บางวัน จ.พังงา 90.2
เฝ้าระวังสูงสุด
24/8/2018 0:00 น. ฝน23/07-24/00น. ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 71.4
เฝ้าระวังสูงสุด
24/8/2018 0:00 น. ฝน23/07-24/00น. ต.บางวัน จ.พังงา 93.4
เฝ้าระวังสูงสุด
24/8/2018 1:00 น. ฝน23/07-24/01น. ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 84.8
วิกฤต
24/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.บ่อแก้ว จ.น่าน 103.6
เฝ้าระวังสูงสุด
24/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 121.6
เฝ้าระวังสูงสุด
24/8/2018 9:00 น. ฝนวานนี้ ระนอง จ.ระนอง 158.3
วิกฤต
24/8/2018 10:00 น. เขื่อนปราณบุรี
ลดเป็นเฝ้าระวังพิเศษ 84%
25/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 125.2
เฝ้าระวังสูงสุด
26/8/2018 7:00 น. ฝน3วัน ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 145.2
เฝ้าระวังสูงสุด
26/8/2018 16:00 น. ฝน15-16น. ต.โตนด จ.สุโขทัย 39
วิกฤต
27/8/2018 11:00 น. ฝนวานนี้ บัวชุม จ.ลพบุรี 88.3
เฝ้าระวังสูงสุด
27/8/2018 12:00 น. ฝน11-12น. ต.โพทะเล จ.พิจิตร 35.6
วิกฤต
28/8/2018 10:00 น. เขื่อนวชิราลงกรณ 
เพิ่มเป็นเฝ้าระวังพิเศษ 93%








 ข้อมูลโดย : กรมชลประทาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อิทธิพลจากพายุโซนร้อน "เบบินคา" (BEBINA) ที่ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้น้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดยเขื่อนที่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้นมาก มีรายละเอียดดังนี้                   

ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนภูมิพล


ปริมาณน้ำระบายเก็บน้ำ เขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำระบายเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนแม่กวง

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนแม่กวง

ปริมาณน้ำระบายเก็บน้ำ เขื่อนแม่กวง
ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำระบายเก็บน้ำ เขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนกิ่วลม

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนกิ่วลม

ปริมาณน้ำระบายเก็บน้ำ เขื่อนกิ่วลม
ปริมาณน้ำกักเก็บอ่างเก็บน้ำ เขื่อนกิ่วคอหมา

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เขื่อนกิ่วคอหมา

ปริมาณน้ำระบายเก็บน้ำ เขื่อนกิ่วคอหมา

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html






 ข้อมูลโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

             สถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงวันที่ 16-18 สิงหาคม 2561 จากอิทธิพลของพายุ "เบบินคา" ส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักในพื้นที่ภาคเหนือมีระดับเพิ่มสูงขึ้นและบางจุดเกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ซึ่งจากการตรวจวัดระดับผ่านระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร พบสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ได้แก่
             1) แม่น้ำน่าน บริเวณ อ.ท่าวังผา อ.ภูเพียง และอ.เวียงสา
             2) น้ำเงิน บริเวณ อ.ปง จ.พะเยา
             3) น้ำม่าว บริเวณ อ.ปง จ.พะเยา
             4) น้ำคูณ บริเวณ อ.ปง จ.พะเยา
             5) น้ำแม่จั๊วะ บริเวณ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา
             6) แม่น้ำวังทอง บริเวณ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
             7) น้ำปาด บริเวณ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์
             8) แม่น้ำลาว บริเวณ อ.เมือง จ.เชียงราย
             9) น้ำแม่จัน บริเวณ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

             10) แม่น้ำยม บริเวณ อ.หนองม่วงไข่ และ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
             ทั้งนี้สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละจุด เป็นการล้นตลิ่งเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และสามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว รายละเอียดเพิ่มเติมดังกราฟด้านล่าง


สถานี NAN001- ท่าวังผา ต. ท่าวังผา อ. ท่าวังผา จ. น่าน
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 225.90 ม.รทก. วันที่ 18 ส.ค. 61

สถานี NAN002-ภูเพียง ต. เมืองจัง อ. ภูเพียง จ. น่าน
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 207.55 ม.รทก. วันที่ 18 ส.ค. 61

สถานี NAN003- เมืองน่าน ต. ท่าน้าว อ. ภูเพียง จ. น่าน
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 197.58 ม.รทก. วันที่ 18 ส.ค. 61

สถานี NAN009-เวียงสา ต. ส้าน อ. เวียงสา จ. น่าน
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 187.92 ม.รทก. วันที่ 19 ส.ค. 61

สถานี DNP004-สะพานน้ำเงิน ต. ออย อ. ปง จ. พะเยา
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 315.34 ม.รทก. วันที่ 18 ส.ค. 61

สถานี DNP006-สะพานบ้านขุนควร ต. ควร อ. ปง จ. พะเยา
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 319.99 ม.รทก. วันที่ 18 ส.ค. 61

สถานี DNP008-สะพานน้ำม่าว ต. ปง อ. ปง จ. พะเยา
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 295.46 ม.รทก. วันที่ 18 ส.ค. 61

สถานี DNP022-สถานีโทรมาตรฯ สะพานน้ำแม่จั้วะ ต. สระ อ. เชียงม่วน จ. พะเยา
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 275.33 ม.รทก. วันที่ 18 ส.ค. 61

สถานี NAN005-แม่น้ำเข็ก (ว้งทอง) ต. วังนกแอ่น อ. วังทอง จ. พิษณุโลก
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 137.17 ม.รทก. วันที่ 21 ส.ค. 61

สถานี NAN010-น้ำปาด ต. บ้านฝาย อ. น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 158.68 ม.รทก. วันที่ 24 ส.ค. 61

สถานี CHR001-เมืองเชียงราย ต. ป่าอ้อดอนชัย อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 404.96 ม.รทก. วันที่ 20 ส.ค. 61

สถานี CHR003-แม่จัน ต. แม่จัน อ. แม่จัน จ. เชียงราย
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 411.59 ม.รทก. วันที่ 18 ส.ค. 61

สถานี YOM003-หนองม่วงไข่ ต. น้ำรัด อ. หนองม่วงไข่ จ. แพร่
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 158.21 ม.รทก. วันที่ 19 ส.ค. 61

สถานี YOM010-เมืองแพร่ ต. ป่าแมต อ. เมืองแพร่ จ. แพร่
วัดระดับน้ำได้สูงสุด 150.75 ม.รทก. วันที่ 20 ส.ค. 61
 
     

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/v3/telemetering/wl/warning







ข้อมูลโดย : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)


         ดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 ได้บันทึกภาพบริเวณบริเวณบางส่วนของจังหวัดน่านและพะเยา  ในวันที่ 18 สิงหาคม 2561 และจากการวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียมพบพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่านและพะเยา รวมพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 56,807 ไร่  จังหวัดน่าน 36,117 ไร่ และจังหวัดพะเยา 20,691 ไร่ โดยบริเวณ อ.ปง จ.พะเยา มีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุด รองลงมาคือบริเวณ อ.เวียงสา และ อ.ท่าวังผา จ.น่าน รายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางและแผนที่ด้านล่าง

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วมปี 2561 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 บันทึกภาพวันที่ 18 สิงหาคม 2561 เวลา 18.04 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดน่าน และพะเยา พบพื้นที่น้ำท่วม ดังรายละเอียดตามตาราง


รายละเอียดเพิ่มเติม



 
 
ข้อมูลโดย : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


  
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัย ประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2561 โดยตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม 2561 อิทธิพลจากพายุโซนร้อน “เบบินคา” (BEBINCA) และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่ม ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ น่าน เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องงสอน รวม 38 อำเภอ 146 ตำบล 6,002 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลลกระทบ 9,1106 ครัวเรือน 21,286 คน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ในพื้นที่จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน และจังหวัดเชียงราย จังหวัดละ 1 ราย
      สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำปาง และยังคงมีสถานการณ์ใน 3 จังหวัด ได้แก่ น่าน พะเยา และเชียงราย รวม 24 อำเภอ 119 ตำบล 5,339 หมู่บ้าน ประชาาชน ได้รับผลกระะทบ 8,979 ครัวเรือน 200,964 คน รายละเอียดดังนี้
1) จังหวัดน่าน วันที่ 17 สิงหาคม 2561 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลลลากในพื้นที่ 9 อำเภอ 48 ตำบล 191 หมู่บ้าน ได้แก่
- อ.สันติสุข ต.ป่าแลวหลวง (ม.1,2,3,4,5,6,9) ต.ดู่พงษ์ (ม.1,2,3,5) ต.พงษ์ (ม.3,4,5,7,13)
- อ.แม่จริม ต.หมอเมือง (ม.1-5) ต.นาปาย (ม.1,2,3,5,6) ต.แม่จริม (ม.1,4,5) ต.หนองแดง
- อ.ท่าวังผา ต.ท่าวังผา (ม.2,3,5,6) ต.จอมพระ ต.ตาลม ต.ยม ต.ป่าคา ต.แแสนทอง ต.ผาทอง ต.ผาตอ
- อ.ปัว ต.สถาน ต.ศิลาแลง ต.วรนคร ต.เจดีย์ชัย ต.ภูคา ต.อวน ต.ศิลาเพพชร
- อ.เมืองฯ ต.เรือง ต.กองควาย ต.ถืมตอง ต.สะเนียน ต.ไชยสถาน ต.ดู่ใต้ ต.บ่อ
- อ.เชียงกลาง ต.เชียงกกลาง ต.เปือ ต.พระพุทธบาท ต.พระธาตุ
- อ.ภูเพียง ต.ฝายแก้ว ต.ท่านาว ต.ม่วงติ๊ด ต.นาปัง ต.เมืองจัง
- อ.เวียงสา ทต.เวียงสา ต.ไหล่น่าน ต.กลางเวียง ต.ตามชุม ต.น้ำปั้ว ต.ซึ่ง ต.นาเหลือง
- อ.ทุ่งช้าง ต.และ ต.งออบ ต.ปอน
ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,613 ครัวเรือน 12,3348 คน เสียชีวิต 1 ราย บ้านเสียหายบางส่วน 228 หลัง วัด 4 แแห่ง ถนน 6 แแห่ง สะพาน 4 แแห่ง บ่อปลา 123 บ่อ สัตว์เลี้ยง 1,6441 ตัว สิ่งสาธารณประโยชน์ 102 แห่ง พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 4,020 ไร่ ( ณ วันที่รายงาน ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มขึ้น)



2) จังหวัดพะเยา วันที่ 18 สิงหาคม 2561 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากดินสไลด์ในพื้นที่ 6 อำเภอ 25 ตำบล 154 หมู่บ้าน 3 ชุมชน ได้แก่
- อ.ปง ต.ปง (ม.5,7,8,11,12) ต.ขุนควร (ม.1,2,3,4,5,8,9,10,12) ต.งิม (ม.1,2,3,5,11,18) ต.ควร (ม.1,3,4,5,9,10) ต.ออย (ม.1,2,3,4,5,7,8,9,10,11,12,13) ต.ผาช้างน้อย (ม.8) 9”นาปรัง (ม.1,2,3,4,7,9)
- อ.เชียงม่วน ต.เชียงม่วน (ม.1-4,7,9,10) ต.สระ (ม.1,2,6,7,11)
- อ.เชียงคำ ต.เวียง (ม.1-10) ต.แม่ลาว (ม.1-14) ต.เชียงบาน (ม.3,4,5,6,8,10) ต.ฝายกวาง (ม.1-17) ต.เจดีย์คำ (ม.1,3,7,8,9,11) ต.ร่มเย็น (ม.1,2,5,18) ต.หย่วน (ม.5,8,9,14) ต.อ่างทอง (ม.8)
- อ.แม่ใจ ต.ป่าแฝก (ม.2,3,4,5,7,8) ต.เจริญราษฎร์ (ม.3,4)
- อ.เมืองฯ ต.จำป่าหวาย (ม.3,10) ต.แม่ต่ำ 3 ชุมชน (ชุมชนวัดอินทร์ฐาน ชุมชนวัดภูมินทร ์ชุมชน วัดป่าลานคำ)
- อ.ดอกคำใต้ ต.บุญเกิด (ม.1,2,3,4,6,7,8,9) ต.ดอนศรีชุม (ม.1,56,7,8,9,10) ต.ดอกคำใต้ (ม.1,2,7) ต.สว่างอารมณ์ (ม.1-8)
ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,680 ครัวเรือน 6,970 คน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บ้านเสียหาย 46 หลัง ถนน 14 แห่ง สะพาน 2 แห่ง คอสะพาน 1 แห่ง ฝาย 4 แห่ง บ่อปลา 10 บ่อ พื้นที่การเกษตร 2,500 ไร่ (ณ วันที่รายงาน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น)

3) จังหวัดเชียงราย วันที่ 17 สิงหาคม 2561 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากในพื้นที่ 9 อำเภอ 46 ตำบล 194 หมู่บ้าน ได้แก่
- อ.แม่ลาว ต.โป่งแพร่ (ม.3) ต.จอมหมอกแก้ว (ม.8) ต.ดงมะดะ (ม.2)
- อ.เทิง ต.หงาว (ม.2,3,4,5,6,7,8,11,12,13,18,20) ต.งิ้ว (ม.16,24) ต.เชียงเคี่ยน (ม.6,7,8,9) ต.ศรีดอนไชย (ม.3) ต.สันทรายงาม (ม.2)
- อ.พาน ต.แม่อ้อ (ม.3,5,14,12) ต.เมืองพาน (ม.4,6,7) ต.ทรายขาว (ม.9) ต.แม่เย็น (ม.3,4,5) ต.ทานตะวัน (ม.1,2,4,6,7,9,10) ต.ป่าหุ่ง (ม.3)
- อ.แม่สรวย ต.แม่พริก (ม.1,3,9,11,13) ต.ท่าก๊อ (ม.1,6,12,14,16) ต.ศรีถ้อย (ม.1,3,5) ต.เจดีย์หลวง (ม.5,7)
- อ.เวียงป่าเป้า ต.แม่เจดีย์ใหม่ (ม.1,2,4,6,7,8,9) ต.แม่เจดีย์ ( ม.4,7,15) ต.สันสลี ( ม.11) ต.ป่างิ้ว (ม.9) ต.บ้านโป่ง ( ม.1,6)
- อ.แม่จัน ต.ป่าตึง (ม.1-20) ต.แม่จัน (ม.1-9,20) ต.ป่าซาง (ม.7,9,11) ต.สันทราย (ม.2,3,6,8,9,12)
ต.จอมสวรรค์ (ม.1,10) ต.แม่คำ (ม.4,9,11,13) ต.จันจว้าใต้ (ม.7) ตำบลจันจว้า (ม.3,11)
- อ.เวียงแก่น ต.ปอ (ม.1,9)
- อ.แม่ฟ้าหลวง ต.แม่สลองนอก (ม.5,10) ต.เทอดไทย (ม.1)
- อ.เมืองฯ ต.ห้วยชมพู (ม.4)
ประชาชนได้รับผลกระทบ 686 ครัวเรือน 1,646 คน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย

 

 







‘เบบินคา’ฟาดหาง! เตือน 35 จว.ระวังฝนชุก 6 เขื่อนใหญ่เร่งพร่องน้ำ [ แนวหน้า : 16 ส.ค. 61 เวลา 14.15 น. ]

16 ส.ค.61 นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ ออกประกาศฉบับที่ 6/2561 เรื่องสถานการณ์น้ำ เนื่องจากผลกระทบจากพายุเบบินคา ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เพิ่มมากขึ้น ดังนี้

+ ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลาพูน ลาปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และตาก

+ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย สกลนคร และนครพนม

+ ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก จันทบุรี และตราด

+ ภาคตะวันตก: จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ทั้งนี้ มีเขื่อนที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนวชิราลงกรณ และ เขื่อนแก่งกระจาน มีแนวโน้มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการระบายน้ำมากขึ้น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ให้หน่วยงานที่มีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ เร่งดำเนินการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มโดยให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด ตลอดจนตรวจสอบความมั่นคงของอาคาร พร้อมกับประสานจังหวัดและประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบให้รับทราบต่อไป

นายสำเริง กล่าวว่า พายุโซนร้อน “เบบินคา” ส่งผลต่อไทยโดยตรงวันที่ 18 ส.ค.61 ในพื้นที่ตอนบนจะมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบตามภาคต่างๆ จากวันนี้ถึง 19 ส.ค. ทางศูนย์ฯ ได้เน้นย้ำ9 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพร่องน้ำให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากอิทธิพลของฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และหน่วยงานระดับพื้นที่เร่งแจ้งเตือนและการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงการติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ และปรับแผนการระบายให้มีผลกระทบด้านท้ายน้ำน้อยที่สุด 

ทั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1). เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปริมาณน้ำ 732 ล้าน ลบ.ม. จากเมื่อวาน 729 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 49 ซม. สูงกว่าเมื่อวาน 6 ซม. แนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้น ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ให้เต็มศักยภาพลำน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อน

2). เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ปริมาณน้ำ 533 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% ปริมาณน้ำไหลเข้าแนวโน้มลดลง ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง บริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม บ้านพอกใหญ่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

3). เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำ 7,759 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 88% ขณะนี้ยังไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำ

4). เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำ 189 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 84%

ส่วนอีกกลุ่มที่เฝ้าระวัง คือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 2 แห่ง คือ 1). เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี ปัจจุบันได้มีการปรับแผนการระบายน้ำจากเดิม 20 ล้าน ลบ.ม ให้มากขึ้นเต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่ 2. อ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี ติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 30 ชุด และขอเพิ่มจำนวนกาลักน้ำเพื่อเร่งระบายเพิ่มขึ้น

วันเดียวกัน ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ สทนช. สรุปสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ระบุว่า พายุโซนร้อน “เบบินคา” ขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน 17 ส.ค.61 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศ สปป.ลาว ในวันที่ 18 ส.ค. 61 ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่16-19ส.ค. 61 มีฝนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ทั้งนี้ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงดินโคลนถล่มได้ โดยเฉพาะ35 จังหวัด ที่ต้องเฝ้าระวัง ภาคเหนือ แม่ฮ่องสอนเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย หนองบัวลำภู หนองคายบึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่นกาฬสินธุ์มุกดาหาร ภาคตะวันตก เพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก นครนายกปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราดภาคใต้ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ มีปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มีจำนวน 4 แห่ง ดังนี้1.เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรีมีปริมาณน้ำ 732 ล้าน ลบ.ม. หรือ103% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 49 ซม. มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้นช่วงสัปดาห์นี้ ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

2.เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีน้ำ 533 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% เร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่ การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้ติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดสกลนคร บึงกาฬ นครพนม ซึ่งลำน้ำอูนและลำน้ำสงคราม ไหลผ่าน

3.เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี  มีปริมาณน้ำ 7,759 ล้าน ลบ.ม.  88% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 132.05 ล้าน ลบ.ม.มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 41.42 ล้าน ลบ.ม. เร่งพร่องน้ำโดยเพิ่มการระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนทีเพิ่มขึ้น

4.เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีน้ำ 189 ล้าน ลบ.ม. หรือ 84%  ต้องเร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากอิทธิพลของฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่ ปรับแผนการระบายให้มีผลกระทบด้านท้ายน้ำน้อยที่สุด

ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่/กลางที่มีปริมาณน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 2 แห่ง คือ

1.เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี น้ำ 4,884 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 4,890) คิดเป็น 87% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 15.41 (เมื่อวาน 31.75) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 19.97 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 11.24) การบริหารจัดการน้ำ ปรับแผนการระบายน้ำจากเดิม 20 ล้าน ลบ.ม ให้มากขึ้นเต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่ การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับเพิ่ม/ลดการระบายให้มีผลกระทบด้านท้ายน้ำน้อยที่สุด

2.อ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 74 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 97% ปริมาณน้ำที่ระบาย 0.66ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำอยู่ที่ระดับ 204.8 ม.รทก. การบริหารจัดการน้ำ ติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 30 ชุด มีการประสานขอเพิ่มจำนวนกาลักน้ำเพื่อเร่งระบาย

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ/ลำน้ำ ปัจจุบันมีน้ำล้นตลิ่งบริเวณ แม่น้ำสงคราม จังหวัดบึงกาฬ แม่น้ำชีจ.อุบลราชธานี ลำน้ำอูน และลำน้ำก่ำ จ.สกลนครแม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี แม่น้ำตาปี ท้ายเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี แม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี

แม่น้ำระหว่างประเทศ : แม่น้ำโขง บริเวณที่ติดกับประเทศไทยมีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง แต่ระดับน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำที่ไหลจากประเทศจีนเพิ่มขึ้น และจากการคาดการณ์ฝนในช่วงวันที่ 16-18 ส.ค. 61 มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศ สปป.ลาว และบริเวณจังหวัดชายแดนของประเทศไทย ทั้งนี้อาจส่งผลต่อการไหลของแม่น้ำสงครามลงแม่น้ำโขง

สำหรับอ่างเฝ้าระวัง ขนาดกลาง 56 แห่ง แยกเป็นภาคเหนือ 4 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 43 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันออก 5แห่ง (ลดลง 3 แห่ง) ภาคกลาง 1 แห่ง (เท่าเดิม)และภาคใต้ 3 แห่ง (เพิ่มขึ้น 2 แห่ง)







‘พายุเบบินคา’ เข้าใกล้ภาคเหนือ จนท.เร่งระบายน้ำในเขื่อนหลัก [ สำนักข่าวอิศรา : 16 ส.ค. 61 เวลา 19.30 น.]

เลขาธิการ สทนช. เผยสถานการณ์อิทธิพลจากพายุโซนร้อน “เบบินคา” กำชับหน่วยงานเร่งระบายน้ำในเขื่อนหลักและแจ้งเตือนประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

วันที่ 16 ส.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมเกียรติ ประจำวงศ์ เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดว่า พายุโซนร้อน “เบบินคา” ได้เข้ามาใกล้ประเทศไทยตอนเหนือ ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยพื้นที่ที่เฝ้าระวังและมีฝนตกหนักคือพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และ แม่ฮ่องสอน โดยสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ เหตุการณ์ดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และยังคงมีบางพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ด้วย คือ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี

สำหรับสถานการณ์น้ำที่เขื่อนแก่งกระจาน ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาน้ำในเขื่อนได้ลดลง แต่ล่าสุดพบว่ามีปริมาณน้ำไหลเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ขณะเดียวกันกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้น้ำไหลเข้าเขื่อนแก่งกระจานมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องเร่งดำเนินการพร่องน้ำและระบายน้ำ พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบล่วงหน้า 3 วัน สำหรับเขื่อนวชิราลงกร จ.กาญจนบุรี ปัจจุบันมีอัตราการระบายน้ำอยู่ที่ 43 ล้าน ลบ.ม./วินาที ซึ่งอาจจะต้องมีการระบายน้ำเพิ่ม โดยต้องดูความสามารถในการรับน้ำของลำน้ำแม่กลองกับลำน้ำแควน้อย ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องปรับแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้เพิ่มมากขึ้น

สำหรับสถานการณ์น้ำที่เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก หลังจากฝนตกหนักเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ได้ทำหน้าที่จัดการจราจรน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำในเขื่อน ปัจจุบันระดับอยู่ที่ร้อยละ 85 ของความจุเขื่อน ขณะที่ปริมาณน้ำในวังตะไคร้ ที่ไหลผ่านตัวเมืองนครนายก ยังมีระดับสูงในเกณฑ์ต้องควบคุมและจะต้องเร่งระบายน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยการระบายน้ำในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 80-90 มิลลิเมตรต่อวินาที ในขณะที่เกณฑ์ความสามารถในการระบายน้ำ อยู่ที่ 180-200 มิลลิเมตรต่อวินาที ส่วนสถานการณ์น้ำที่แม่น้ำโขง จะมีปริมาณน้ำที่สูงขึ้นเนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มระบายน้ำมาด้วย ประกอบกับฝนที่ตกในภาคอีสาน อาจจะทำให้การระบายน้ำลำบากเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำพร้อมให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ให้ดูประสิทธิภาพการรองรับน้ำของลำน้ำด้วย อย่างไรก็ตาม ให้หน่วยงานและประชาชนเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด



'เบบินคา' ถล่ม 'น่าน-พะเยา' อ่วม!! [ คมชัดลึก : 17 ส.ค. 61 ]

พายุเบบินคา ส่งผลกระทบ น่าน-พะเยา อ่วม น้ำป่าไหลหลากท่วมพื้นที่ ชาวบ้านเดือดร้อนนับพันคน



               พายุโซนร้อนเบบินคา ส่งผลกระทบ 2 จังหวัดอ่วม! น้ำป่าไหลหลากท่วมพื้นที่การเกษตรและท่วมถนนทางหลวง อ.ปง จ.พะเยา ขณะที่ จ.น่าน น้ำป่าหลากเข้าท่วม 4 อำเภอ เดือดร้อน 800 หลังคาเรือน ผู้ว่าฯ ประกาศเตือนภัยเตรียมพร้อมชุดกู้ภัย ตลอด 24 ชั่วโมง 

                เมื่อวันที่ 17 สค 61 จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเบบินคา ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่อง ทำให้น้ำจากลำน้ำงิม ,น้ำลู, น้ำปุก, น้ำคาง, น้ำควร, ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา  มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจนล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและท่วมถนนทางหลวง 1188 สาย ปง –ปางปุก  กิโลเมตรที่  12+825-12+ 900 และ กิโลเมตร ที่  13+340- 13+400 ใน อ.ปง จ.พะเยา

                ซึ่งทางฝ่ายปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย ยังกังวลว่าอิทธิพลของพายุจะทำให้น้ำเพิ่มขึ้นอีกเพื่อความปลอดภัยให้ผู้ที่ใช้เส้นทางเลี่ยงใช้เส้นทางบ้านวังบง บ้านสบเกี๋ยง และสบขาม อ.ปง จ.พะเยาแทน เพราะว่าน้ำได้ไหลเอ่อท่วมไหลผ่าน

               ทั้งนี้ อิทธิพลของพายุเบบินคา ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น โดยที่ อ.ปง  จ.พะเยา พบว่ามีน้ำจากลำน้ำใหญ่ในเขต อ.ปง ไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่าง ส่งผลทำให้ถนนในหมู่บ้านรวมทั้งบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรและบ้านเรือนประชาชนเป็นบางส่วน โดยระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มต่ำได้พากันอพยพขึ้นมาอยู่ในที่สูงล่วงหน้าแล้ว
                สำหรับเทศบาลตำบลปง , เทศบตำบลงิม อ.ปง จ.พะเยา ได้มีการประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านที่อยู่ท้ายน้ำให้เก็บข้าวของทรัพย์สินเก็บไว้ขึ้นที่สูง และยังคงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่เสี่ยงภัย  เพราะว่าปริมาณน้ำสายหลักที่อยู่ใกล้กับ อ.ปง ขณะนี้มีปริมาณน้ำมาก รับน้ำได้อีกเพียง 20 เปอร์เซนต์เท่านั้น หากมีฝนตกลงมาสมทบอีก จะทำให้น้ำล้นตลิ่ง จึงประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง เพื่อเตรียมความพร้อมช่วยเหลือชาวบ้าน และประกาศเตือนให้ชาวบ้าน ทราบแล้ว

               สำหรับสภาพอากาศทั่วไปในจังหวัดพะเยา ยังมีฝนตกกระจายไปทั่วบริเวณและฝนตกตลอดทั้งวัน

               ขณะที่ จ.น่าน เมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. วันที่ 17 ส.ค.61 ได้มีเหตุน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่จังหวัดน่านจำนวน 4 อำเภอ 24 ตำบล 83 หมู่บ้าน 800 หลังคาเรือน 

               ภายใต้การอำนวยการของนายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วย นายณรงค์ อินโส หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน นายทอมสันต์ ชัยศรี นายช่างเครื่องกลชำนาญงาน นายเกรียงไกร วรรณโกฏิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นำรถกู้ภัยพร้อมกำลังออกตรวจสถานการณ์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยท่วม อิทธิพล โซนร้อนเบบินคา ทำให้เกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่จังหวัดน่าน 4 อำเภอ  24 ตำบล 83  หมู่บ้าน 800 หลังคาเรือน น้ำป่าไหลล้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร 4 อำเภอ ได้แก่ อ.สันติสุข , ปัว , ท่าวังผา และ อ.แม่จริม รวม 24 ตำบล 83 หมู่บ้าน 800 หลังคาเรือน

               พื้นที่อำเภอสันติสุข 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,500 คน 400 ครัวเรือน บ้านพักอาศัย 18 หลัง ที่ทำการเกษตร 3,700 ไร่ บ่อปลา 120 บ่อ สัตว์เลี้ยง 1,620 ตัว สิ่งสาธารณประโยชน์ 70 แห่ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,830,000 บาท 
               บ้านป่าอ้อย หมู่ 4 ได้รับผลกระทบ ที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิง บ้านของ นายพรม โวหาร อายุ 80 บ้านเลขที่ 70 หมู่ 4 บ้านป่าอ้อย ต.ป่าแลว อ.สันติสุข ถูกน้ำพัดหายไป 1 หลัง โชคดีที่ ลูกสาวของ นายพรม โวหาร พาพ่อออกไปก่อนที่บ้านจะถูกน้ำพัดบ้านหายไปกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก เมื่อเวลา 01.00 น. ก่อนที่จะถูกน้ำพัดบ้านหายไปเมื่อเวลา 02.00 น. นอกจากนี้ยังมี สัตว์เลี้ยง แพะวัวควาย ถูกพัดไปกับกระแสน้ำยังไม่ทราบจำนวน สะพาน 1 แห่ง

       

               อำเภอแม่จริม จำนวน 4 ตำบล 20 หมู่บ้าน ค่าเสียหายอยู่ระหว่างทำการสำรวจ , อำเภอท่าวังผา จำนวน 8 ตำบล 14 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 800 คน 215 ครัวเรือน บ้านพักอาศัย 200 หลัง วัด 2 แห่ง ที่ทำการเกษตร 100 ไร่ สิ่งสาธารณประโยชน์ 5 แห่ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 400,000 บาท

               อำเภอปัว จำนวน 9 ตำบล 39 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 850 คน 150 ครัวเรือน บ้านพักอาศัย 10 หลัง วัด 2 แห่ง ที่ทำการเกษตร 220 ไร่ บ่อปลา 3 บ่อ สัตว์เลี้ยง 21 ตัว สิ่งสาธารณประโยชน์ 27 แห่ง ค่าเสียหายอยู่ระหว่างทำการสำรวจ

               การช่วยเหลือในเบื้องต้น นายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พล.ต.ธวัธ ศรีสว่าง ผบ.มทบ.38 นายณรงค์ อินโส ปภ.จังหวัดน่าน ปภ.จังหวัดน่าน สาขานาน้อย ฝ่ายปกครองทั้ง 4 อำเภอ นายก อบต.ในพื้นที่และใกล้เคียง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  พร้อมด้วยกำลังฝ่ายทหารในพื้นที่ กรมทหารม้าที่ 2 กองพันทหารม้าที่ 10 , 15  ฝายปกครอง  อปพร. เข้าช่วยเหลือชาวบ้านทั้ง 4 อำเภอ ทำความสะอาดบ้านเรือน ถนนสะพาน ในหมู่บ้า  ซ่อมแซมบ้าน บรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น อพยพบ้านเรือนสัตว์เลี้ยงในพื้นที่เสียงอันตรายไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย จนกว่าเหตุการณ์จะปกติ

               ด้านศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคเหนือตอนบน กรมชลประทาน รายงานว่าระดับน้ำน่าน วันศุกร์ ที่ 17 สิงหาคม 2561 เมื่อเวลา 19.00 น. สถานวัดน้ำ สถานี N 49 บ้านน้ำยาว อ.ปัว ระดับวิกฤติ ที่ 4.50 ม. ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 3.25 ม. ปริมาณการไหลของน้ำวิกฤติที่ 490 ลบ.ม./วินาที ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 144.90 สถานี N 64 สะพานบ้านผาขวาง อำเภอเมืองน่าน ระดับวิกฤติ ที่ 9.50 ม. ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 8.27 ม. ปริมาณการไหลของน้ำวิกฤติที่ 1060 ลบ.ม./วินาที ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 1018.50 ลบ.ม./วินาที สถานี N 1 สะพานพัฒนาภาคเหนือ  อำเภอเมืองน่าน ระดับวิกฤติ ที่ 7.00 ม. ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 7.50 ม. ปริมาณการไหลของน้ำวิกฤติที่ 1265 ลบ.ม./วินาที ขณะนี้อยู่ที่ระดับ 1191.00 ลบ.ม./วินาที  สถานี N 13 A บ้านบุญนาคอำเภอเวียงสา ระดับวิกฤติ ที่ 6.50 ม. ระดับน้ำเวลา 18.00 น.อยู่ที่ระดับ 4.25 ม. ปริมาณการไหลของน้ำวิกฤติที่ 1506 ลบ.ม./วินาที ปริมาณการไหลเวลา 18.00 น. อยู่ที่ 904.25 ลบ.ม./วินาที

               ด้านนายณรงค์ อินโส  หน.สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำจ.น่าน ยังไม่เข้าขั้นวิกฤต แต่ระดับน้ำสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้ 7 เมตร ขณะนี้ระดับน้ำอยู่ 7 เมตร 50 ซม. ทาง ปภ.ได้ตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร จำนวนสามเครื่องบริเวณบ่อบำบัดน้ำ และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว อีก 2 เครื่องบริเวณ ต้นโพธิ์ เพื่อเร่งสูบน้ำ อีกทั้งยังได้ทำพนังกั้นน้ำสูง 1 เมตร ทำให้น้ำจากลำน้ำน่านยังไม่เข้าท่วมตัวเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ

               นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน เปิดเผยว่า หลังจากพายุ เบบินคา เริ่มพัดเข้ามาในพื้นที่จังหวัดน่าน ทำให้หลายพื้นที่ได้รับความเสียหาย ในส่วนของเทศบาลเมืองน่านเองได้ประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เก็บของขึ้นไว้บนที่สูง โดยใช้เกณฑ์ระดับน้ำในปี 2554  ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ปริมาณน้ำอยู่ที่ ระดับ 7.60 เมตร และเกิดการรั่วซึ่มของผนังกั้นน้ำบริเวณบ้านสวนตาล อ.เมือง จ.น่าน

               ขณะนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารของ ม.พัน 15 เข้ามาช่วยนำกระสอบทรายกั้นน้ำ คาดว่าจะสามารถผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ สำหรับพายุเป็นเพียงส่วนหัวของพายุ ส่วนแกนกลางยังมาไม่ถึง แต่ได้ส่งผลกระทบกับจังหวัดน่าน อย่างมาก ระดับน้ำขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันได้เตรียมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงออกมาอยู่ในพื้นปลอดภัย และเตรียมเครื่องสูบน้ำ ไว้พร้อมหมดแล้ว

                ทั้งนี้ ได้ประกาศยกเลิกถนนคนเดินเมืองน่าน ในวันที่ 17 – 19 ส.ค.นี้ เนื่องจากเกรงว่าหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน อาจก่อให้เกิดปัญหาการจราจรได้ จึงได้ประกาศยกเลิก สำหรับการเฝ้าระวัง ได้เตรียมเจ้าหน้าเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง




พายุ “เบบินคา” ถล่มทางหลวงชนบท 13 สายทางจมน้ำ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 18 ส.ค. 61 เวลา 15.34 น.]

กรมทางหลวงชนบทแจ้ง ถนน 13 สายทางได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน “เบบินคา” เผยดินไหล่เขาสไลด์ ถนนช่วงอำเภอสบเมย แม่ฮ่องสอน เร่งเคลียร์เปิดเส้นทาง

รายงานข่าวจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) แจ้งสถานการณ์อุทกภัย ผลกระทบจากพายุโซนร้อน “เบบินคา” ว่า ขณะนี้มีถนนที่ประสบอุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ น่าน, แม่ฮ่องสอน, นครพนม, สระแก้ว โดยได้รับผลกระทบจำนวน 13 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 9 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 4 สายทาง ดังนี้ 

จังหวัดน่าน
- ทางหลวงชนบทสาย นน.3019 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101-บ้านเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน (กม.ที่ 7+000-8+000) ระดับน้ำท่วมสูง 150 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบทสาย นน.3008 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101-บ้านศาลา อำเภอปัว จังหวัดน่าน (กม.ที่ 3+000-3+500) ระดับน้ำท่วม 20 เซนติเมตร (กม.8+750-8+760) ดินไหล่เขาสไลด์ (สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบท นน.3007 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105-บ้านนาหนุน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (กม.ที่ 18+400-18+550) ระดับน้ำท่วม 30 เซนติเมตร (สามารถสัญจรผ่านได้) 

จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ทางหลวงชนบท มส.3004 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105-บ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (กม.ที่4+600-4+630), (กม.16+500-16+550) ดินไหล่เขาสไลด์ (สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบท มส.3017 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105-บ้านสบโขง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (กม.ที่ 41+500-41+900) ดินไหล่เขาสไลด์ (สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบท มส.4006 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1226-บ้านห้วยผักไผ่ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (กม.ที่.41+500-41+900) ดินไหล่เขาสไลด์ (สามารถสัญจรผ่านได้) 

จังหวัดนครพนม
- ทางหลวงชนบทสาย นพ.3065 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212-บ้านหนองสาหร่าย อำเภอบ้านแพง, ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (กม.ที่ 2+200-3+300) ระดับน้ำท่วม 17 เซนติเมตร (กม.ที่ 7+300-7+350) ระดับน้ำท่วม 29 เซนติเมตร (สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบทสาย นพ.3042 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212-บ้านคำสะอาด อำเภอท่าอุเทน, ศรีสงคราม จังหวัดนครพนม (กม.ที่ 3+700-5+850) ระดับน้ำท่วม 22 เซนติเมตร (สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบทสาย นพ.4059 แยกทางหลวงชนบทสาย 2032-บ้านไทยสบาย อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม (กม.ที่ 9+850-10+025) ระดับน้ำท่วม 38 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบทสาย นพ.4061 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2417-บ้านข่า อำเภอนาทม, ศรีสงคราม, อากาศอำนวย (กม.ที่ 6+400-8+500) ระดับน้ำท่วม 36 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบทสาย นพ.4067 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2028-บ้านหนองปลาดุก อำเภอโพนสวรรค์, เมือง (กม.ที่ 0+450-0+750) ระดับน้ำท่วม 60 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้) (กม.ที่ 1+050-1+100) น้ำกัดเซาะผิวจราจร (กม.ที่ 5+650-5+950) ระดับน้ำท่วม 60 เซนติเมตร (ไม่สามารถสัญจรผ่านได้) 

จังหวัดสระแก้ว
- ทางหลวงชนบทสาย สก.3008 แยกทางหลวงหมายเลข 317-บ้านหนองใหญ่ อำเภอเขาฉกรรจ์,วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว (กม.ที่ 20+150-20+650) ระดับน้ำท่วม 4 เซนติเมตร (สามารถสัญจรผ่านได้) 
- ทางหลวงชนบทสาย สก.2004 แยกทางหลวงหมายเลข 33-คลองหาด อำเภอวัฒนานคร,คลองหาด จังหวัดสระแก้ว (กม.ที่ 13+250-13+750) ระดับน้ำท่วม 4 เซนติเมตร (สามารถสัญจรผ่านได้) 

สำหรับในส่วนของหมวดบำรุงทางหลวงชนบทแม่สะเรียง เข้าดำเนินการเปิดเส้นทางเนื่องจากดินไหล่เขาสไลด์บนทางหลวงชนบทสาย มส.3004 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105-บ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (กม.ที่4+000-5+000) เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางสัญจรผ่านได้

ทั้งนี้ หน่วยงานในพื้นที่ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และติดตั้งป้ายเตือนประชาชนในการสัญจรด้วยความระมัดระวังแล้ว ในส่วนของมาตรการการเฝ้าระวังกรมฯ ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ สะพานเบลีย์ พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดภัย โดยประชาชนสามารถติดต่อสอบถามเส้นทางหรือแจ้งเหตุ รวมทั้งขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146 ตลอด 24 ชั่วโมง







“พายุเบบินคา” ห่าง จ.น่าน 250 กม. อ่อนกำลังยังทำไทยตอนบนฝนหนัก [ สปริงนิวส์ : 17 ส.ค. 61 เวลา 17.37 น. ]

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุ“เบบินคา””  ฉบับที่ 29 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2561 เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (17 ส.ค. 61) พายุโซนร้อน “เบบินคา” (BEBINCA) บริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศลาว และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 250 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกของจังหวัดน่าน ประเทศไทย หรือที่ละติจูด 19.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 103.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อยทางใต้เล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 18 กม./ชม. คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาว ในคืนนี้ ลักษณะเช่นนี้ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบตามภาคต่างๆ ดังนี้

ในวันที่ 17 สิงหาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร

สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย และชัยภูมิ

ภาคกลาง จังหวัดราชบุรี และกาญจนบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด

ในวันที่ 18 สิงหาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และหนองคาย

ภาคกลาง จังหวัดราชบุรี และกาญจนบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต

ในวันที่ 19 สิงหาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ สุโขทัย และตาก

ภาคตะวันออก: จังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง ทำให้ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2561 ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกให้ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และติดตามข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.tmd.go.th หรือ สายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา 23.00 น.