บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วม ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 31 ตุลาคม 2545

ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำสาขา เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้างในบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสานบางส่วน รวม 58 จังหวัด มูลค่าความเสียหาย 6,200 ล้านบาท โดยมองภาพรวมเริ่มตากการติดตามกลุ่มฝนด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพ ตรวจอากาศด้วยเรดาห์ จนถึงปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ เข้าสู่ลำน้ำ ผ่านเขื่อนเพื่อกักเก็บและระบาย จากภาคเหนือลงภาคกลาง ผ่านลุ่ม น้ำเจ้าพระยา ที่นครสวรรค์ จนถึงเขื่อนเจ้าพระยาและป่าสัก เข้าพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าพื้นที่กรุงเทพ ออกทะเลที่ อ่าวไทย และบางส่วนผันออกแก้มลิงฝั่งตะวันออก ระบายลงทะเลที่คลองด่านและลุ่มน้ำบางประกง            
 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

ลพบุรีเจอน้ำป่าทะลักจากเพชรบูรณ์ ส่วนน้ำที่ไหลมาจากภาคเหนือ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาตามแม่น้ำป่าสักเข้าเขตจังหวัดลพบุรีท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรเมื่อวันที่ ๗ กันยายนที่ผ่านมา ขณะนี้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก แม่น้ำป่าสักระดับน้ำสูงเกือบ ๑๒ เมตรทะเลน้ำ โดยได้ท่วมเข้าถึงเขตเทศบาลตำบลลำนารายณ์ น้ำสูงเกือบ ๒ เมตร ชาวบ้านต้องอพยพหนีน้ำ ราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า ๙๐๐ ครัวเรือน ๓,๐๐๐ คน


ปริมาณฝน

      
ภาพถ่ายจากดาวเทียม GMS-5 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าในมีกลุ่มเมฆฝนทั่วทั้งภาคเหนือ และภาคกลาง ซึ่งมีฝนตกเป็นบริเวณ กว้าง และเป็นระยะเวลานาน

ดูรายละเอียด เพิ่มเติม

 

การติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ โดยใช้สถิติของการ กระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ใช้ภาพตรวจ


ดูรายละเอียด เพิ่มเติม

อากาศด้วยเรดาห์ และค่าปริมาณฝนที่ตก ในพื้นที่ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจ อากาศ ของกรมอุตุนิยมวิทยา

ผังน้ำ

ผังน้ำ แผนผังแสดงสภาพน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเริ่มจากปริมาณฝนสะสม 14 วันสูงสุดเหนือเขื่อน และปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ จากนั้นแสดงภาพการไหลไปยังประตูระบายน้ำต่าง ๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เขื่อนเจ้าพระยา และลงสู่อ่าวไทย

 

ปริมาณน้ำ

ปริมาณน้ำในเขื่อน เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ ช่วงต้นเดือนกันยายน จนถึงระดับกักเก็บ สูงสุดประมาณวันที่ 15 กันยายน และคงระดับกักเก็บโดยเขื่อนไม่สามารถ กักน้ำส่วนเกินไว้ได้ซึ่งระบายออกทั้งหมด

ดูรายละเอียด เพิ่มเติม

 

ระดับน้ำ

เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดปริมาณน้ำไหลหลาก แต่เนื่องจากลุ่มน้ำไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำและระบายได้ทันจึงไหลท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ และเป็นช่วงที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงขึ้น

 

  

ในลำน้ำป่าสัก ซึ่งพบว่าระดับน้ำสูงอย่างรวดเร็วตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน และเกินระดับกัก เก็บตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน ทำให้มีบางส่วนล้นไหลท่วมพื้นที่เหนือเขื่อน

และไม่สามารถกักเก็บน้ำเพื่อชลอการเข้าท่วมของพื้นที่ภาคกลาง ตอนล่างได้ เนื่องจากต้องระบายน้ำเต็มที่เพื่อ ป้องกันเขื่อนทำให้น้ำจากแม่น้ำป่าสักไหลรวม กับแม่น้ำเจ้าพระยาและเกิดน้ำท่วมในบริเวณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ในลำน้ำเจ้าพระยา พบว่าปริมาณน้ำเพิ่ม ขึ้นตลอดช่วงผนวกกับมีปริมาณน้ำสมทบ จากลุ่มน้ำป่าสักและฝนที่ตกทำให้เกิดน้ำ ท่วมในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง และระดับน้ำ จึงเริ่มลดลงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
   

 

ในลำน้ำสาขาและคลองระบายน้ำ ช่วงก่อนเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งมีการ ระบายน้ำไป แก้มลิงฝั่งตะวันออก คลองด่านและ ลุ่มน้ำบางปะกง เพื่อ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กรุงเทพฯ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ระดับน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ.คันกั้นน้ำ ช่วงตอนบนและตอนล่างของกรุงเทพฯ ซึ่งเสริมคันป้องกันน้ำท่วมไว้ที่ 2.4 เมตร และระดับน้ำทะเลหนุนสูงไม่ มากนักในช่วงเกิดน้ำท่วมจึงลดปัญหา น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

  


ความเสียหาย

   

จากข้อมูลที่รวบรวมโดยกรมการปกครอง ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2545 เกิดความเสียหายในพื้นที่ 526 อำเภอ ใน 58 จังหวัด ครบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน สรุปยอดผู้เสียชีวิต 200 คน
ราษฎรเดือดร้อน 3,944,163 คน
จำนวน 1,091,663 ครัวเรือน
พื้นที่การเกษตรเสียหาย 9,392,044 ไร่
ถนนเสียหาย 10,391 สาย
รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 6,200 ล้านบาท

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ภาพแสดงพื้นที่น้ำท่วม (ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ)

ภาพสีผสมข้อมูลดาวเทียม RADARSAT-1 (11 ก.ย.2545) และดาวเทียม LANDSAT-7 (9 ก.พ. 2545) แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณภาคเหนือตอนล่างและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ จ.อุตรดิตถ์จนถึงกรุงเทพมหานคร

รายละเอียดเพิ่มเติม
ภาพสีผสมข้อมูลดาวเทียม RADARSAT-1(4 พ.ย. 2545) และดาวเทียม LANDSAT-7 (9 ก.พ. 2545) แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาและบริเวณใกล้เคียง

รายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพน้ำท่วมจากการบินถ่ายทางอากาศ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545

พบพื้นที่น้ำท่วมเป็นปริมาณกว้างโดยขยายวงกว้างจากริมแม่น้ำ และบางส่วนเข้าท่วมเขตตัวเมือง



อ.คีรีมาส

อ. เมือง เลย

อ.หล่มสัก