ในช่วงต้นสัปดาห์ บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยและบริเวณทะเลจีนใต้ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว และอ่อนกำลังลงในปลายสัปดาห์ ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็น และในบางพื้นที่มีอากาศหนาว สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบทั้งสัปดาห์ โดยเฉพาะทางด้านฝั่งตะวันออกของภาค เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกำลังค่อนข้างแรง พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดสัปดาห์ โดยช่วงวันที่ 5-6 ธ.ค. 60 เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจุกตัวอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ส่วนในวันที่ 7 ธ.ค. 60 มีฝนตกหนักถึงหนักมากทางด้านตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัด ระนอง ตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ต
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2017 เวลา 17:37 น. |
|
ช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงแต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณเกาะบอร์เนียวทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนตัวขึ้นมาปกคลุมภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 29 พ.ย. และเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามันในช่วงวันที่ 30 พ.ย. ช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. 60 หย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามมันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ ทำให้ยังคงมีกระแสลมพัดผ่านภาคใต้เข้าสู่ศูนย์กลางของพายุ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกได้เริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้ง ทำให้ยังคงมีกระแสลมพัดพาความชื้นผ่านภาคใต้เข้าสู่ศูนย์กลางหย่อมความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้ภาคใต้จะยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 632 มิลลิเมตร จังหวัดพัทลุง 423 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 411 มิลลิเมตร ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 07 ธันวาคม 2017 เวลา 09:49 น. |
ช่วงวันที่ 21-23 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่วนพายุ “คีโรกี” (KIROGI) บริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศเวียดนามได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น ช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลอันดามันได้เคลื่อนตัวไปทิศตะวันตกออกห่างจากภาคใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 490 มิลลิเมตร จังหวัดปัตตานี 386 มิลลิเมตร และจังหวัดพัทลุง 376 มิลลิเมตร ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 09 ธันวาคม 2017 เวลา 12:38 น. |
ช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชันที่ปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตอนล่าง และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดชุมพรในวันที่ 7 พ.ย. 60 และเคลื่อนสู่ทะเลอันดามันในระยะต่อไป ช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนยังคงมีกำลังอ่อนลง ทำให้สัปดาห์ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 212 มิลลิเมตร ปัตตานี 181 มิลลิเมตร และสุราษฎร์ธานี 146 มิลลิเมตร ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2017 เวลา 14:55 น. |
ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีการปะทะกันระหว่างความกดอากาศสูงและความชื้นบริเวณภาคเหนือตอนบน กับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีกำลังแรงต่อเนื่อง ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 140 มิลลิเมตร จังหวัดนราธิวาส 140 มิลลิเมตร และจังหวัดเชียงราย 128 มิลลิเมตร ตามลำดับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2017 เวลา 14:53 น. |
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 42 จาก 84 |